ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
ร่วมกัน รณรงค์ขับรถ ถูก กฎจราจร กัน
sithiphong:
รถกับอันตรายจากมือถือ !!
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1396802268&grpid=&catid=19&subcatid=1904-
รถกับอันตรายจากมือถือ
คอลัมน์ ไซเบอร์ทีน
โดย พี่ศรีหนุ่ย
นับตั้งแต่มีการนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือที่เราเรียกว่าโทรศัพท์มือถือมาใช้ อันตรายอันเกิดจากการใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถก็ดูเหมือนจะมีเพิ่มมากขึ้น สมัยก่อน ก่อนที่จะใช้มือถือ เราก็อาจจะเตือนกันว่า อย่าหันไปเปิดเพลง เปลี่ยนคลื่นวิทยุบ่อยๆ หรือก้มลงเก็บของ เพราะอาจจะทำให้เราเสียสมาธิในการขับรถได้
แต่พอมีมือถือใช้ ก็เริ่มต้องเปลี่ยนการเตือนเป็นว่า อย่าคุยโทรศัพท์ขณะขับรถ เพราะอาจทำให้เราเสียสมาธิได้ ยิ่งวิวัฒนาการมากขึ้น มาเป็นการส่งข้อความสั้น หรือเอสเอ็มเอส ก็ยิ่งทำให้เราต้องละสายตาจากการมองข้างหน้ารถ มาเป็นมองแป้นพิมพ์บนมือถือ ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้น
จนมาถึงตอนนี้ การส่งข้อความยิ่งนิยมมากขึ้น รวมไปถึงการเปิดดูเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ก็แล้วแต่ ในช่วงที่กำลังขับรถอยู่ ก็ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายระหว่างการขับรถมากขึ้น
มีรายงานข่าวของเอ็นบีซีนิวส์ ที่นำตัวเลขน่าสนใจของสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับเรื่องการใช้โทรศัพท์เพื่อส่งข้อความระหว่างการขับรถ ระบุไว้ว่า แต่ละปีมีรถที่เกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างขับรถ มากถึงราว 1.6 ล้านครั้งในสหรัฐ !!
ขณะที่เราต้องใช้เวลาในการเหลือบไปอ่านข้อความบนมือถือแต่ละครั้งอยู่ที่ประมาณ 4.6 วินาที เท่ากับเราต้องละสายตาจากการขับรถไปชั่วขณะ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างยิ่ง
ตอนนี้ในสหรัฐ ซึ่งมีรัฐทั้งหมดอยู่ 50 รัฐ มีอยู่กว่า 40 รัฐแล้วที่ออกกฎหมายให้การส่งข้อความไปและขับรถไปเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และบทลงโทษก็มีความรุนแรงมากขึ้น
และว่า ตัวเลขของการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้นถึง 1 ใน 4 เชื่อว่าเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม แต่ตอนนี้สหรัฐเองก็ยังไม่มีมาตรฐานในการสอบสวนอุบัติเหตุเหล่านี้ขึ้นมาอย่างจริงจัง เพื่อตั้งเป็นกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์มือถือทั้งหลายในขณะขับรถ
เชื่อแน่ว่า ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยที่นิยมการใช้มือถือขณะขับรถ รวมทั้งการอ่านข้อความหรือส่งข้อความขณะขับรถ ก็น่าจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่ไม่ใช่น้อย
เช่นนั้นแล้วก็ฝากเตือนฝากบอกกันไปนะจ๊ะว่าขับรถต้องมีสมาธิอยู่ที่การขับ อย่าเพิ่งวอกแวกไปกับข้อความที่ส่งเข้ามามาก เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้ว จะไม่คุ้ม
sithiphong:
อภ.เตือนกินยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ก่อนขับรถ ระวังง่วง
-http://club.sanook.com/28965/%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5-
ช่วงวันหยุดยาวนี้หลายท่านคงมีแผนเดินทางเพื่อกลับบ้านหรือท่องเที่ยวต่างจังหวัดกันใช่ไหมคะ การเดินทางไกลด้วยการขับรถนานๆในสภาพอากาศร้อนจัดแบบนี้อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและไม่สบายได้ง่าย ทางแก้ที่ง่ายคือหายามารับประทาน แต่การทานยานั้น ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยองค์การเภสัชกรรมได้มีคำเตือนเกี่ยวกับการทายยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อมาดังนี้
องค์การเภสัชกรรมเตือนประชาชนที่ต้องเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ให้ระวังการทานยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ ก่อนขับรถ อาจทำให้ง่วง หลับในและเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
ภญ.นิภาพร ชาตะวิริยะพันธ์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนจำนวนมากต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถยนต์จำนวนมาก และปีนี้จากการคาดการณ์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนประมาณ 268-334คน ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน หนึ่งในนั้นคืออาการง่วงนอนหรือหลับใน องค์การฯจึงขอเตือนผู้ที่ต้องขับรถเดินทางควรระมัดระวังในการรับประทานยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ อาทิ ยาแก้ปวดทรามาดอล(Tramadol), ยาแก้ปวดอะมิทริปทัยลีน(Amitriptyline) และยาแก้ปวดกาบ้าเพนติน(Gabapentin) เป็นต้น ซึ่งยาเหล่านี้มีฤทธิ์ในการกดประสาทส่วนกลาง เพื่อบรรเทาอาการปวด ส่วนยาคลายกล้ามเนื้อ อาทิ ยาโทลเพอริโซน (Tolperisone) และยาออเฟเนดรีน (Orphenadrine) ยาเหล่านี้มีฤทธิ์ในการลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการปวดตึงทั้งร่างกาย ซึ่งยาทั้ง 2กลุ่มนี้ มีผลข้างเคียงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล อาจจะทำให้ลดประสิทธิภาพในการขับขี่ ทำให้ตัดสินใจได้ช้าลง มองเห็นเป็นภาพเบลอ ไม่ชัด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้
รองผู้อำนวยการฯ กล่าวอีกว่า ไม่เพียงยาทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว ยังมียาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนชนิดอื่นๆ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงเมื่อต้องขับรถเช่นกัน อาทิ ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก, ยาแก้แพ้ แก้คัน, ยากล่อมประสาท, ยาคลายกังวล, ยาแก้เวียนศีรษะ และยาแก้เมารถ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ทานยาลดน้ำตาลในเลือด และต้องขับรถ หากระหว่างการเดินทางไม่สามารถทานอาหารได้ตรงเวลา อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด เหงื่อออกมาก ใจสั่น และอาจหมดสติได้ จึงจำเป็นต้องเตรียมอาหาร ลูกอม น้ำหวานไว้ระหว่างการเดินทาง เพื่อป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว นอกจากนี้ไม่ควรทานยาร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาลดน้ำมูก จะทำให้อาการง่วงของยาเพิ่มขึ้น ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาบรรเทาปวด ลดไข้ จะทำให้ตับเสียหายได้มากขึ้น เป็นต้น
ดังนั้น ก่อนการเดินทางทุกครั้ง ควรมีการวางแผนการเดินทาง และวางแผนการทานยาก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทาง ว่ายาแต่ละชนิดที่ต้องทานในระหว่างการเดินทางนั้น มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง โดยปรึกษาแพทย์, เภสัชกร หรือโทรปรึกษาปัญหาการใช้ยาได้ที่ Call Center องค์การเภสัชกรรม 1648 ฟรี
ที่มา :: สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
sithiphong:
มาเช็คสภาพรถแบบง่ายๆรับสงกรานต์ 2557 กันดีกว่า
-http://auto.sanook.com/6642/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-2557-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2/-
ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2557 ถือเป็นช่วงเวลาที่หลายคนออกเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัด และอีกหลายครอบครัวก็ใช้เวลานี้ในการเดินทางท่องเที่ยว ฉะนั้นสิ่งสำคัญในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องความพร้อมของรถยนต์ที่จะใช้เดินทางนั่นเอง หากรถเสียกลางทางขึ้นมาคงหมดสนุกแย่
วันนี้ Sanook!Auto มีข้อแนะนำการตรวจเช็ครถอย่างง่ายๆ เพื่อให้พร้อมสำหรับการเดินทางไกลมาฝากครับ
1.ตรวจสอบไฟส่องสว่างทุกดวง
ให้เปิดไฟหน้า ไฟฉุกเฉิน และไฟตัดหมอกทุกดวง แล้วเดินตรวจสอบภายนอกว่่าหลอดไฟทุกจุดทำงานปกติ ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง หากหลอดใดขาดควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที โดยสามารถซื้อมาเปลี่ยนได้ด้วยตัวเองตามคำแนะนำในคู่มือ หรือนำรถเข้าศูนย์บริการก็ย่อมได้
2.ตรวจสอบรอยรั่วในเครื่องยนต์
หากรถใช้งานมาแล้วหลายปี อาจมีการเสื่อมสภาพของซีลน้ำมันต่างๆบริเวณห้องเครื่องได้ ให้จอดรถทิ้งไว้หนึ่งคืน แล้วก้มลงตรวจสอบบริเวณพื้นว่ามีคราบน้ำมันหยดลงมาหรือไม่ (หรือหากจอดไว้ตำแหน่งเดิมเป็นประจำอยู่แล้วสามารถตรวจสอบได้ทันที) หากพบว่ามีคราบน้ำมันใดๆก็ตาม แสดงว่าอาจมีอาการรั่วจากซีลหรือปะเก็นต่างๆ ให้นำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการให้เรียบร้อยเสียก่อน
3.ตรวจสอบระดับของเหลวต่างๆในเครื่องยนต์
ให้ทำการตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันเกียร์ น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ รวมไปถึงระดับน้ำล้างกระจก ระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ (กรณีใช้แบตฯแบบเปียก) ระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ โดยรถแต่ละรุ่นจะมีวิธีการตรวจเช็คต่างกันไป ให้ปฏิบัติตามตามคำแนะนำในคู่มือ หากพบว่าอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน ควรหาซื้อน้ำมันที่ตรงตามสเป็คเดิมมาเติมเมื่อมีโอกาส
4.ตรวจสอบความดันลมยาง
ยางเป็นสิ่งเดียวที่สัมผัสกับพื้นถนน ดังนั้นจึงควรตรวจสอบสภาพยางก่อนออกเดินทาง ดอกยางควรมีความลึกไม่ต่ำกว่า 2 มม. และควรสึกเท่ากันทั้งเส้น หากสึกไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะความผิดปกติของช่วงล่าง หรือความดันลมยางที่มากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไปมาก และควรตรวจสอบด้วยสายตาว่ามียางบวมหรือไม่ ทั้งบริเวณหน้ายางและแก้มยางด้านใน-นอก รวมไปถึงยางอะไหล่ด้วย
ระดับความดันลมยางมาตรฐานมักระบุไว้บริเวณด้านล่างของเสากลางรถ ควรเติมลมยางตามที่กำหนดไว้
5.ตรวจสอบสภาพยางที่ปัดน้ำฝน
ยางใบปัดน้ำฝนอาจมีอาการเสื่อมสภาพได้เมื่อไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ขณะที่รถคุณผู้อ่านมีโอกาสเปียกจากเทศกาลสงกรานต์นี้ จึงควรตรวจสอบสภาพใบปัดด้วยการฉีดน้ำล้างกระจก หากมีรอยน้ำค้างอยู่บนกระจก ควรเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนใหม่
6.ตรวจสอบอุปกรณ์ติดรถ
ตรวจสอบอุปกรณ์ติดรถว่ายังอยู่ครบถ้วนหรือไม่ เช่น แม่แรง, ประแจขันน็อตล้อ, ไขควง, ชุดปฐมพยาบาล ฯลฯ นอกจากนั้นยังควรหาซื้ออุปกรณ์ฉุกเฉินเช่น สายพ่วงแบต, สายลากจูง ,ป้ายสะท้อนแสง หรือไฟฉายตามความเหมาะสมเผื่อในกรณีฉุกเฉิน
สิ่งต่างๆเหล่านี้ ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานความปลอดภัยในการขับขี่อยู่แล้ว ซึ่งควรหมั่นตรวจสอบเป็นระยะไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเทศกาลหรือไม่ก็ตาม นอกจากนั้น ความพร้อมของผู้ขับขี่ถือเป็นสิ่งสำคัญ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันขาด และเคารพกฎจราจร เพื่อช่วยให้ทุกชีวิตบนท้องถนน เดินทางไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย
sithiphong:
‘ขับรถชนคนตาย‘ ไม่ต้องติดคุกจริงหรือ..?
-http://auto.sanook.com/6672/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD/-
จากกรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาสาวซีวิคชนรถตู้บนโทลเวย์เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2553 ให้รับโทษรอลงอาญา 4 ปี และบำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมง ทำให้ชาวโซเชียลหลายคนข้องใจเกี่ยวกับบทลงโทษของผู้ก่อเหตุ ซึ่งบ้างก็ว่าโทษนั้นเบาเกินไป บ้างก็ว่าเหมาะสมดีแล้ว บ้างก็สงสัยว่าคดีนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 9 ศพ แล้วทำไมผู้ก่อเหตุไม่ต้องเข้าคุก
วันนี้ Sanook!Auto จะมาไขข้อข้องใจว่าทำไม 'ขับรถชนคนตาย' ถึงไม่ติดคุก..?
การขับรถด้วยความเร็วแล้วเกิดอุบัติเหตุ ถือว่าเป็นการ 'ขับรถโดยประมาท' ซึ่งผลจากอุบัติเหตุมักก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นคดีอาญาที่ไม่สามารถยอมความได้ โดยอุบัติเหตุขับรถชนคนนั้น เกี่ยวข้องกับความผิดตามกฎหมายอาญา 2 มาตราด้วยกัน ได้แก่
1. ป.อ.มาตรา 291 ระบุว่า "ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท"
2. ป.อ.มาตรา 300 ระบุว่า "ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
สรุปคือ หากขับรถโดยประมาทจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และ/หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท แต่หากมีผู้เสียชีวิต ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และ/หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท
เห็นแบบนี้แล้วสงสัยไหมครับว่า ทำไมคดีสาวซีวิคจึงไม่ต้องติดคุก?
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฐานขับรถโดยประมาท มาตรา 78 ระบุไว้ว่า หากผู้ใดขับรถแล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของฝ่ายใด ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที ซึ่งถือเป็นสามัญสำนึกของผู้กระทำการที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ ไม่หลบหนี
ซึ่งจุดนี้เอง ศาลจะพิจารณาจากพยานหลักฐานต่างๆว่าผู้กระทำผิดกระทำการโดยประมาทหรือไม่ แสดงความรับผิดชอบต่อผู้ประสบเหตุอย่างไร นำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือไม่ เข้าไปเยี่ยมอาการตามสมควรหรือเปล่า มีการชดใช้ค่าเสียหายตามสมควรเพียงใด สิ่งเหล่านี้ตำรวจจะรวบรวมหลักฐานส่งให้อัยการ เพื่อให้ศาลปราณีลดโทษจำคุก รอลงอาญา ทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์แทน เป็นต้น
แต่หากผู้กระทำการหลบหนีไป (แม้ว่าตกใจหนีกลับบ้านแล้วเปลี่ยนใจกลับมาที่หลัง ก็ถือว่าหลบหนี) กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำผิด และตำรวจมีอำนาจยึดรถไว้ได้จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับขี่หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้กระทำผิดจะได้รับการพิพากษารอลงอาญา โดยไม่ต้องถูกจำคุก ผู้กระทำผิดยังคงต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฐานละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ ทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต รวมถึงทรัพย์สินที่เสียหายอยู่ดี
ทางออกที่ดีที่สุด คือการปฏิบัติตามกฏจราจร เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยที่สุด แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ควรให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บอย่างเต็มกำลัง ห้ามหลบหนี เพื่อโทษหนักจะได้เป็นเบานั่นเอง
ขอบคุณภาพประกอบจาก Sanook News
sithiphong:
บก.02 ย้ำชัด ตร.สามารถยึดใบขับขี่ได้
-http://auto.sanook.com/6696/%E0%B8%9A%E0%B8%81.02-%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%95%E0%B8%A3.%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%B6%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89/-
บก.02 ระบุกรณีผู้ขับขี่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย พนักงานจราจรสามารถเรียกเก็บใบขับขี่ชั่วคราวได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ เมื่อผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที
ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร หรือ บก.02 โพสต์ข้อความยืนยันกรณีที่ผู้ขับขี่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ในการออกใบสั่งเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายใน 8 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่งใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่
เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับและผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที รายละเอียดทั้งหมด มีดังนี้
"แชร์กันมาเป็นสิบๆปีแล้ว กฏหมายมีระบุไว้ชัดครับ ต้องคอยตอบทุกวัน"
"มาตรา ๑๔๐ เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย"
"สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๕๗/๑ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐ ทวิ และมาตรา ๑๖๐ ตรี ห้ามมิให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบ"
"ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง"
"ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับและผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที"
"ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้กระทำผิดดังกล่าวเว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่
การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด"
"ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด"
ขอบคุณเนื้อหาจาก VoiceTV
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version