ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อไม่มีมา ไม่มีไป ย่อมไม่มีเกิด และไม่มีดับ  (อ่าน 1261 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



อาการ เกิด ดับ แห่งเวทนา
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้
เกิดมาจาก ผัสสะ มี ผัสสะ เป็นมูล
มี ผัสสะ เป็นเหตุ มี ผัสสะ เป็นปัจจัย.
๓ อย่างเหล่าไหนเล่า ? ๓ อย่างคือ :-

สุขเวทนา, ทุกขเวทนา, อทุกขมสุขเวทนา.



ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะ อาศัย ผัสสะ อันเป็น ที่ตั้ง
แห่ง สุขเวทนา
สุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น;
เพราะ ความดับแห่งผัสสะ อันเป็น ที่ตั้งแห่ง สุขเวทนานั้น
สุขเวทนา อันเกิดขึ้นเป็น เพราะอาศัย ผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา นั้น ย่อมดับไป ย่อมระงับไป.
(ในกรณีแห่ง ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา ก็ได้
ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำมีนัยยะอย่างเดียวกัน
).

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เปรียบ เหมือน เมื่อไม้สีไฟ สองอัน
สีกัน ก็เกิด ความร้อน และ เกิดไฟ, เมื่อไม้สีไฟ สองอัน
แยกกัน ความร้อน ก็ดับไป สงบไป.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ฉันใดก็ ฉันนั้น :
เวทนา ทั้งสามนี้ ซึ่งเกิดจาก ผัสสะ
มีผัสสะ เป็นมูล มีผัสสะ เป็นเหตุ มีผัสสะ เป็นปัจจัย
อาศัยผัสสะ แล้ว ย่อมเกิดขึ้น,
ย่อมดับไป เพราะผัสสะดับ, ดังนี้แล.


-สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๖/๓๘๙-๓๙๐..
*******************




เมื่อไม่มีมา ไม่มีไป ย่อมไม่มีเกิด และไม่มีดับ
พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้ทรง ชักชวนภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยธัมมิกถา อันเนื่อง เฉพาะด้วย นิพพาน
,
ได้ทรงเห็นว่า ภิกษุทั้งหลาย สนใจฟัง อย่างยิ่ง จึงได้
ตรัส พระพุทธ อุทานนี้ขึ้น ในเวลานั้น ว่า :-

ความ หวั่นไหว ย่อมมี แก่ บุคคลผู้อัน ตัณหา
และ ทิฏฐิ อาศัยแล้ว
(นิสฺสิตสฺส จลิตํ)
ความ หวั่นไหว ย่อมไม่มี แก่บุคคล ผู้อันตัณหา
และ ทิฏฐิไม่ อาศัยแล้ว
(อนิสฺสิตสฺส จลิตํ นตฺถิ)
เมื่อ ความหวั่นไหว ไม่มี, ปัสสัทธิ (ความสงบระงับ) ย่อมมี
(จลิเต อสติ ปสฺสทฺธิ)

เมื่อปัสสัทธิ มี, นติ (ความน้อมไป) ย่อมไม่มี
(ปสฺสทฺธิยา สติ นติ น โหติ)
เมื่อ นติไม่มี, อาคติ คติ (การมา และ การไป) ย่อมไม่มี
(นติยา อสติ อาคติคติ น โหติ)
เมื่อ อาคติ คติไม่มี,
จุตูปปาตะ (การเคลื่อน และ การเกิดขึ้น) ย่อมไม่มี
(อาคติคติยา อสติ จุตูปปาโต น โหติ)
เมื่อ จุตูปปาตะ ไม่มี, อะไรๆ ก็ไม่มี ในโลกนี้
ไม่มี ในโลกอื่น ไม่มีใน ระหว่าง แห่งโลกทั้งสอง

(จุตูปปาเต อสติ เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเร)
นั่นแหละ คือ ที่สุด แห่งทุกข์ละ.
(เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส)

อุ.ขุ. ๒๕ / ๒๐๘ / ๑๖๑.

               
                      facebook.com /pages/พระพุทธเจ้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2014, 12:28:24 pm โดย ฐิตา »