ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา  (อ่าน 8696 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 01, 2013, 08:50:46 am »
ยาแก้ปวด ‘ทรามาดอล’ - คุณหมอขอบอก
วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/1490/229733-



จากกรณีที่มีวัยรุ่นนำยาแก้ปวด “ทรามา ดอล” มาผสมน้ำอัดลม หรือผสมเหล้าดื่ม เพื่อให้เกิดอาการมึนเมา ล่าสุดมีข่าวนักเรียน ม.2 ใน จ.สมุทรปราการ ดื่มแล้วช็อกหมดสติ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตื่นตัว คุมเข้มไม่ให้มีการนำยานี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์จนเกิดอันตราย

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า  “ทรามาดอล” เป็นยาแก้ปวดอย่างแรง จัดอยู่ในประเภท “ยาอันตราย” ที่ต้องควบคุมการขายโดยเภสัชกร ร้านขายยาต้องมีการจัดทำบัญชีควบคุมการครอบครอง การจำหน่ายให้ชัดเจน เมื่อมีการนำไปใช้ผิดวัตถุ ประสงค์คงต้องเข้มงวดร้านขายยามากขึ้น

ยานี้เพิ่งมีปัญหาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะมีการยกระดับยาหลายชนิดทำให้หาซื้อไม่ได้ในร้านขายยา เช่น ซูโดอีเฟดรีน อัลปราโซแลม  คนที่เสพก็เลยเปลี่ยนไปหายาตัวใหม่อยู่เรื่อย ๆ พอคุมทรามาดอลก็คงจะไปหายาตัวอื่นมาใช้อีกเช่นกัน

หลังจากเกิดปัญหาขึ้นมา  อย. ได้เชิญ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สภาเภสัชกรรม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน สมาคมร้านขายยา ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย และผู้รับอนุญาต ผลิต นำเข้า มาร่วมประชุมปรึกษาหารือ

ปกติ อย.ขอให้ผู้ผลิตรายงานยอดการจำหน่ายยาทุก 4 เดือนเพื่อจะได้รู้ปริมาณการใช้  แต่ระยะเวลา 4 เดือนอาจช้าไป ดังนั้นคงต้องดูว่าควรรายงานทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน และต้องแจ้งด้วยว่าส่งไปที่ไหนบ้าง จะทำให้รู้จังหวัด หรือร้านขายยาที่รับยาไป จากนั้นก็แจ้งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) รับทราบเพื่อตรวจสอบการนำไปใช้ ในปัจจุบันมีผู้ผลิตประมาณ 20-30 แห่ง โดยปริมาณการผลิตยานี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างผิดสังเกต

ขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือให้สภาเภสัชกรรมย้ำกับเภสัชกรเรื่องการจำหน่ายยาดังกล่าวแก่คนไข้ที่จำเป็นต้องใช้ยา  ไม่จ่ายยาให้กับคนที่จะนำยาไปใช้ในทางที่ผิด โดยเฉพาะเยาวชน ห้ามจำหน่ายให้แก่ผู้ที่ไม่มีอาการปวดรุนแรง และต้องจ่ายยาในปริมาณที่เหมาะสม

คิดว่ามาตรการดังกล่าวคงคุมได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าไม่ได้ผลก็ต้องมาคุยกันว่าจะจำกัดการขายเฉพาะในร้านยาคุณภาพซึ่งผ่านการรับรองจาก อย.และสภาเภสัชกรรมเท่านั้น ขณะนี้ร้านยาคุณภาพมีอยู่ประมาณ 600-7,000 แห่งจากกว่า 1 หมื่นแห่ง

หรืออาจพิจารณาว่าจะยกระดับเป็น “ยาควบคุมพิเศษ”หรือไม่ ความจริงยานี้ยังมีประโยชน์อยู่  คนที่มีอาการปวดกินพาราเซตามอลแล้วเอาไม่อยู่ อาจใช้ยานี้ ดังนั้นการยกระดับจาก “ยาอันตราย” เป็น “ยาควบคุมพิเศษ” อาจไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสม  เพราะจะทำให้การเข้าถึงยายากขึ้น ดังนั้นต้องชั่งน้ำหนักให้ดี  แม้ในบางประเทศจะจัดเป็นยาควบคุมพิเศษแล้วก็ตาม

ภก.วินิต อัศวกิจวิรี  ผอ.สำนักยา กล่าวว่า “ทรามาดอล” เป็นยาแก้ปวดที่ค่อนข้างจะได้ผลกับอาการปวดมาก ๆ หากกินยานี้ในปริมาณที่มากจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้มึนงง ระยะหลังพบว่ามีการนำยานี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะร้านขายยาบางแห่งเห็นแก่ได้มุ่งขายยาไปในปริมาณมาก ๆ การกินยาในปริมาณมาก ๆ อาจเป็นอันตรายได้ แม้ยานี้จะมีความปลอดภัยไม่ค่อยมีฤทธิ์เสพติด แต่ฤทธิ์ของมันไปกดประสาทส่วนกลาง  ถ้ากินมาก ๆ อาจไปกดการหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้

ขอเตือนไปยังวัยรุ่นว่า ยาพวกนี้ไม่ใช่ว่ากินแล้วไม่เป็นอันตรายอะไร ถ้ากินมาก ๆ อาจไปกดการหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้  นอกจากนี้ยังไปทำอันตรายต่อตับ ไต ดังนั้นอย่าเห็นแก่ความสนุกชั่ววูบ

ภก.ประพนธ์ อางตระกูล ผอ.กองควบคุมวัตถุเสพติด  กล่าวว่า  “ทรามาดอล”  มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เรียกว่ายากลุ่มโอปิออยด์ โครงสร้างทางเคมีคล้ายกับยาเสพติดประเภทมอร์ฟีน ใช้แล้วทำให้มึน ๆ เมา  ๆ  เหมือนคนเมาเหล้า  บางคนกินแล้วรู้สึกเคลิ้ม หากใช้นาน ๆ จะเสพติด   วัยรุ่นที่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์อาจผสมกับยาตัวอื่น หรือเครื่องดื่ม มีหลายสูตรด้วยกันแล้วแต่ใครอยากกินอะไรก็ใส่ลงไป เช่น ผสมกับยาแก้แพ้  ผสมน้ำอัดลม

สำหรับอาการไม่พึงประสงค์เมื่อกินเข้าไปแล้ว  อาจไปกดศูนย์การหายใจ คนแพ้ยาตัวนี้อาจทำให้เกิดอาการชักได้ ขณะเดียวกันยาจะสะสมในร่างกาย ขับออกได้ช้า  อย่างน้อยต้องใช้เวลาขับออก 5-6 ชม. ถ้ากินเข้าไปมาก ๆ ร่างกายขับออกไม่ทัน ฤทธิ์ยาจะสะสมไปเรื่อย ๆ เป็นอันตราย  ทั้งนี้การนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดความเชื่อที่ผิด ๆ แล้วนำไปเผยแพร่ต่อ ๆ กัน พอมีปัญหาทำให้คนจำเป็นต้องใช้ยาพลอยลำบากไปด้วย ร้านขายยาบางร้านตัดสินใจไม่ขายยาตัวนี้เลย ทั้งที่ยานี้ยังมีประโยชน์สำหรับคนไข้ที่ต้องใช้ยา.

นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2013, 07:27:32 am »
วัคซีน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  23 ตุลาคม 2556 06:14 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000132432-

 รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์
       ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
       
        ปัจจุบันมีวัคซีนอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับ เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยโดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์ ทุกรายควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แต่มีบางรายที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อนที่จะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดโรค

     ซึ่งวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดมีดังนี้
        1.วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เป็นวัคซีนที่จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน ถึงแม้ว่า
       หญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ตาม โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดเพื่อให้ภูมิคุ้มกันไปสู่ลูกได้มากที่สุดคือ ขณะอายุครรภ์ 27 - 36 สัปดาห์ เป็นวัคซีน 3 ชนิด ที่ฉีดพร้อมกันใน 1 เข็ม สาเหตุที่ต้องฉีด เพราะขณะนี้โรคคอตีบได้กลับมาระบาดอีก ในรายที่รุนแรงอาจทำให้แม่และลูกในท้องเสียชีวิตได้ ส่วนโรคไอกรน พบว่าลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรนจะติดเชื้อมาจากแม่ ถ้าฉีดให้แม่ก็จะป้องกันให้ลูกที่คลอดออกมาได้ประมาณ 6 เดือน และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก จะช่วยป้องกันการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรด้วย
        2.วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากเป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องมากกว่าคนธรรมดา หากเป็นแล้วจะ
       ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจวาย วัคซีนนี้ฉีด 1 เข็ม ป้องกันได้ 1 ปี
        3. วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ในรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่เคยฉีดวัคซีนดังกล่าว หรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้าน ทาน โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสเสี่ยง เช่น สามีเป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี ก็อาจจะรับการฉีดวัคซีนนี้ได้
        4. หากคุณแม่ตั้งครรภ์ถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขจะบ้าหรือไม่ ให้ฉีดวัคซีนทันที
       นอกจากนี้ยังมีวัคซีนหลายชนิดที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทราบ โดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ หัด คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ วัณโรค เพราะวัคซีนเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสอบถามรายละเอียดได้จากแพทย์ที่ดูแลการตั้งครรภ์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2013, 07:28:40 am »
อันตรายจากการใช้ยา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    16 ตุลาคม 2556 08:04 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000129499-


อ.พญ.พิณพิไล จูทะ สมพากร
       ภาควิชาเภสัชวิทยา
       
       ยาจัดเป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิต แต่การใช้ยาพร่ำเพรื่อ ก็เป็นอันตายได้เช่นกัน กล่าวว่า อันตรายจากการใช้ยาพบได้ทุกเพศทุกวัย อาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาด ผลข้างเคียงของยา การแพ้ยา รวมถึงการดื้อยาด้วย

   
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
อันตรายจากการใช้ยาในเด็ก พบได้แม้ในยาที่ใช้บ่อยและหาซื้อง่าย เช่น ยาแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง ซึ่งนิยมใช้สำหรับบรรเทาอาการหวัด นอกจากไม่ช่วยให้หายเร็วขึ้น อาจกดการหายใจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และได้รับยาเกินขนาด นอกจากนี้การใช้ยาแอสไพรินลดไข้ในเด็กที่เป็นไข้หวัด ยังอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น เป็นพิษต่อตับและสมอง
       
       ส่วนผู้ใหญ่ก็อาจได้รับอันตรายเช่นกัน หากใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น ยาพาราเซตามอล เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะมีความปลอดภัยสูง แต่หากใช้ยาเกินขนาดก็อาจเกิดพิษต่อตับได้ โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มสุราปริมาณมากร่วมด้วย อาจเกิดพิษต่อตับได้แม้กินยาในขนาดปกติ ยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านจุลชีพ (antimicrobial) ที่มักเรียกกันผิดว่า ยาแก้อักเสบ เป็นยาอีกกลุ่มที่ใช้กันแพร่หลาย แต่มักใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ใช้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาไข้หวัด (common cold) ซึ่งไม่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อ ทำให้เสี่ยงต่อการแพ้ยา และเพิ่มโอกาสต่อการดื้อยาอีกด้วย
       
       ในผู้สูงอายุนั้น ร่างกายเสื่อมถอยลง มีโรคภัยมากขึ้น อาจจำเป็นต้องกินยาหลายชนิด จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าวัยอื่น เช่น ยาแก้ปวดลดอักเสบ (NSAID) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย อาจทำให้เกิดแผลและเลือดออกในทางเดินอาหาร หรืออาจทำให้เกิดไตวายได้ในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีโรคประจำตัว ฉะนั้นก่อนใช้ยาทุกชนิดจึงต้องปรึกษาแพทย์
       
       สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก ยาหลายชนิดสามารถผ่านรก ผ่านน้ำนม ทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
       
       เรื่องของการใช้ยาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งวัย โรคประจำตัว หรืออาจมีการทำงานของตับ ไตบกพร่อง เหล่านี้มีผลต่อการใช้ยาทั้งสิ้น ดังนั้นควรกินยาตามที่แพทย์สั่งและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสเกิดอันตรายจากการใช้ยา

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2013, 05:35:25 am »
กิน “ยา” แบบไหน ให้มีคุณภาพ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    24 ตุลาคม 2556 17:13 น.
-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9560000130083-

 เวลาป่วยแล้วต้องกินยา บางครั้งก็มียาหลายขนานมาให้กิน ทั้งก่อนอาหาร หลังอาหาร บางครั้งก็มียาก่อนนอน ซึ่งยาที่จะต้องกินเหล่านี้ก็มีกำหนดเวลาที่จะต้องกินตามที่แพทย์สั่ง เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของยานั้นทำงานได้อย่างเต็มที่ ช่วยรักษาอาการป่วยต่างๆ ได้ดี
       
       แต่หลายคนคงจะสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ยาก่อนอาหารนั้นต้องกินก่อนอาหารนานแค่ไหน แล้วหลังอาหารจะกินอย่างไร ยาก่อนนอนนั้นกินแล้วต้องนอนเลยหรือไม่ “108 เคล็ดกิน” ได้ไปหาคำตอบมาให้จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       
       ยาก่อนอาหาร เป็นยาที่กินในช่วงที่ท้องว่าง คือ กินยาก่อนกินอาหารอย่างน้อย 30 นาที (จะกินก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมงก็ได้) เนื่องมาจากการกินยาประเภทนี้ในช่วงที่ท้องว่าง จะทำให้ประสิทธิภาพของยาไม่ลดลง เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหาร อาหาร และส่วนประกอบอื่นๆ อาจจะไปลดการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าหากลืมกินยาก่อนอาหาร ก็ให้กินอาหารไปก่อนได้เลย แล้วรอให้กระเพาะย่อยให้เสร็จก่อน (ประมาณ 2 ชั่วโมง) จึงค่อยกินยานั้นทีหลัง
       
       ยาหลังอาหาร สามารถกินได้พร้อมกับอาหาร หรือก่อนกินอาหารคำแรก หรือกินหลังอาหารทันทีก็ได้ แต่ไม่ควรกินหลังอาหารเกิน 15 นาที เนื่องจากว่ายาชนิดนี้ต้องการกรดในกระเพาะไปช่วยในการดูดซึมตัวยา สำหรับใครที่ลืมกินยาหลังอาหาร ควรจะรอกินหลังอาหารในมื้อถัดไป หรืออาจจะกินอาหารว่างไปรองท้องก่อนแล้วค่อยกินยาตามก็ได้
       
       ยาก่อนนอน ควรกินก่อนนอนประมาณ 15-30 นาที เนื่องจากยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอนหรือเวียนหัวมากๆ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที จึงจะออกฤทธิ์
       
       ยารับประทานเวลามีอาการ ก็ควรจะกินเวลาที่มีอาการจริงๆ เท่านั้น โดยในฉลากยามักระบุไว้ว่า ให้กินยาทุก 4-6 ชั่วโมง หรือทุก 8 ชั่วโมง เวลามีอาการ ซึ่งเมื่อมีอาการก็สามารถกินยาได้เลยโดยไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหาร สามารถกินยาซ้ำได้หากยังมีอาการอยู่โดยมีระยะเวลาห่างกันตามที่ฉลากระบุไว้ และเมื่อหายจากอาการแล้วสามารถหยุดยาได้เลย
       
       แต่ที่สำคัญ ไม่ว่าจะกินยาชนิด หรือประเภทไหนก็ตาม เมื่อได้รับการแจกยามาแล้วควรสอบถามวิธีการกินยาชนิดนั้นๆ จากเภสัชกรอย่างละเอียด เพราะยาบางชนิดอาจมีวิธีการกินนอกเหนือไปจากยาทั่วไป เพื่อจะให้การกินยาแต่ละเม็ดนั้นได้ประสิทธิภาพสูงสุด

http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9560000130083

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2013, 05:43:13 am »
6 เรื่องควรรู้วิธีดูฉลาก ไม่ตกเป็นเหยื่อ “ยาเถื่อน-เครื่องสำอางปลอม”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 พฤศจิกายน 2556 23:20 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000139120-




    เห็นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกมาแถลงข่าวการจับกุมสินค้าผิดกฎหมายคราใด ก็ให้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตแทบทุกครั้ง เพราะสินค้าผิดกฎหมายที่อยู่ในความดูแลของ อย.นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของคนไทยเราแทบทั้งสิ้น ไล่ตั้งแต่อาหาร ยา เครื่องสำอาง ไปจนถึงเครื่องมือทางการแพทย์

       ล่าสุด ก็เพิ่งมีข่าวบุกทลายโรงงานยาเถื่อนย่านสายไหม มูลค่ารวมราว 10 ล้านบาท พบว่า ไม่มีการขึ้นทะเบียนตำรับยาตามกฎหมาย รวมไปถึงจับกุมฝรั่งชาวเดนมาร์กนำเข้ายาฮอร์โมนเพิ่มกล้ามเนื้อ ที่ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยาเช่นกัน และเวย์โปรตีนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร และที่ผ่านๆ มา ก็มีทั้งเครื่องสำอางที่มีสารพิษอย่างพวก สารตะกั่ว สารไฮโดรควิโนน เป็นส่วนประกอบ รวมถึงไม่มีเครื่องหมาย อย.มีการสวมเลขทะเบียน เป็นต้น ซึ่ง อย.ก็ทำได้แค่ออกเตือนให้ระวังสินค้าเหล่านี้ ด้วยวิธีการดูฉลาก เพราะหากซื้อมาอุปโภคหรือบริโภคก็คงจะอันตรายมิใช่น้อย
       
       แม้ อย.พยายามแนะนำให้ประชาชนดูฉลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีระบุถึงเครื่องหมาย อย.ข้อมูลต่างๆ ของสินค้าไปจนถึงผู้ผลิต เพื่อช่วยสกรีนเบื้องต้นว่าสินค้านั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร ถึงกระนั้นก็ยังคงมีการสวมเลขทะเบียน หรือทำทะเบียนปลอมขึ้นมาหลอกลวง แล้วประชาชนจะรู้ได้อย่างไรว่าฉลากแบบไหนคือของจริง เพราะที่ผ่านมา อย.ก็แทบไม่เคยออกมาให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าว หรือมีแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเป็นความรู้ให้แก่ประชาชน
       
       อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แม้ อย.จะสร้างแอปพลิเคชันให้ตรวจสอบเลขทะเบียนสินค้าได้ แต่ก็เป็นเพียงในส่วนของเครื่องสำอางเท่านั้น ดังนั้น การสร้างความรู้ติดอาวุธให้สมองด้วยตัวเราเอง ก็น่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เราไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของสินค้าอันตรายและหลอกลวงผู้บริโภคอีกต่อไป
       
       ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับฉลากผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในความดูแลของ อย.ก่อนว่า สินค้าเหล่านั้นมันมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะสมัยนี้ก็ไว้ใจไม่ได้ มีการเอาเครื่องหมาย อย.สำหรับอาหาร มาใส่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางก็มี ทั้งนี้ในคู่มือ “กินดี ใช้เป็น คนไทยไกลโรค” จัดทำโดย อย.ได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้
       
       
       
       1.ฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร
       
       หากได้รับอนุญาตจาก อย.แล้ว จะต้องแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก เรียกว่า “เลขสารบบอาหาร” ซึ่งจะมีตัวเลข 13 หลัก อยู่ในกรอบเครื่องหมาย อย.เช่นนี้ xx-x-xxxxx-x-xxxx ส่วนข้อความอื่นๆ ในฉลาก ได้แก่ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือแบ่งบรรจุ หรือสำนักงานใหญ่ของสถานที่ผลิตหรือแบ่งบรรจุ วันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ น้ำหนักสุทธิ ส่วนประกอบที่สำคัญ เลขสารบบอาหาร คำเตือน คำแนะนำในการเก็บรักษา และวิธีปรุงเพื่อรับประทาน
       
       แต่หากเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย อาหารทั่วไป เช่น กะปิ พริกไทย เครื่องปรุงรส เป็นต้น สถานที่ผลิตต้องผ่านหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่กำหนดให้ต้องขอเลขสารบบอาหาร แต่หากต้องการแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก ก็สามารถยื่นขอได้ ตามสมัครใจ
       
       
       
       
       2.ฉลากผลิตภัณฑ์ยา
       
       ผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิดทั้งยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณ จะไม่มีเครื่องหมาย อย.แสดงบนฉลาก แต่จะแสดงเลขที่รหัสใยบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือที่เรียกว่า “เลขทะเบียนตำรับยา” เช่น 1A12/35 G 99/55 โดยฉลากยาและเอกสารกำกับยาจะต้องแสดงรายละเอียดดังนี้ ชื่อยา เลขทะเบียนตำรับยา ชื่อและปริมาณ หรือความแรงของสารออกฤทธิ์ที่เป้นส่วนประกอบ (กรณียาแผนปัจจุบัน) เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรือวิเคราะห์ หรือ Lot. Number ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร วันเดือนปีที่หมดอายุ เช่น Exp. หรือ Exp date หรือข้อความว่า “ยาสิ้นอายุ” แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่หมดอายุ นอกจากนี้ ยังมี คำว่า “ยาอันตราย” “ยาควบคุมพิเศษ” “ยาใช้เฉพาะที่” “ยาใช้ภายนอก” ตามแต่กรณี คำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” “ยาแผนโบราณ” “ยาสำหรับสัตว์” ตามแต่กรณี วิธีใช้ และคำเตือน
       
       ทั้งนี้ ตัวเลขที่นำหน้าตัวอักษรจะมีเฉพาะยาแผนปัจจุบันเท่านั้น มีความหมายดังนี้ เลข 1 หมายถึง ยาที่มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว เลข 2 หมายถึงยาที่มีตัวยาสำคัญออกฤทธิ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
       
       ตัวอักษร A-F เป็นตัวอักษรสำหรับยาแผนปัจจุบัน มีความหมายดังนี้ A คือ ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ B คือ ยามนุษย์แบ่งบรรจุ C คือ ยามนุษย์น้ำหรือสั่งเข้า D คือ ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ E คือ ยาสัตว์แบ่งบรรจุ F คือ ยาสัตว์น้ำหรือสั่งเข้า ส่วนตัวอักษร G-N เป็นตัวอักษรสำหรับยาแผนโบราณ โดย G คือ ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ H คือ ยามนุษย์แบ่งบรรจุ K คือ ยามนุษย์น้ำหรือสั่งเข้า L คือ ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ M คือ ยาสัตว์แบ่งบรรจุ N คือ ยาสัตว์น้ำหรือสั่งเข้า
       
       
       
       3.ฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
       
       ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดจะไม่มีเครื่องหมาย อย.แสดงบนฉลาก แต่จะต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง เป็นตัวเลข 10 หลัก เช่น 10-1-5512345 พร้อมทั้งฉลากภาษาไทยมีรายละเอียดดังนี้ ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง (ต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น) ชื่อสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม เรียงลำดับจากสารที่มีปริมาณมากไปสารที่มีปริมาณน้อย วิธีใช้ คำเตือน ชื่อ-ที่ตั้งของผู้ผลิต ปริมาณสุทธิ เลขที่แสดงครั้งที่ผลิตเครื่องสำอาง เดือน/ปีที่ผลิต เดือน/ปีที่หมดอายุ (กรณีมีอายุการใช้งานน้อยกว่า 30 เดือน) และเลขที่ใบรับแจ้ง
       
       
       
       4.ฉลากเครื่องมือแพทย์
       
       เครื่องมือแพทย์ มี 3 ประเภท มีการแสดงเครื่องหมาย อย.ที่แตกต่างกัน
       
       -เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต ได้แก่ ถุงยางอนามัย ถุงมือสำหรับศัลยกรรม ชุดตรวจที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี คอนแทกต์เลนส์ เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องแสดงข้อความบนฉลากเป็นภาษาไทย เช่น ชื่อเครื่องมือแพทย์ ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิต ปริมาณที่บรรจุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต เลขที่ใบอนุญาตหรือเลขที่ใบรับแจ้งรายละเอียด ข้อบ่งใช้ วิธีการใช้ และวิธีการเก็บรักษา ให้แสดงข้อความว่า “ใช้ได้ครั้งเดียว” คำเตือนและข้อควรระวัง อายุการใช้งาน และเครื่องหมาย อย.บนฉลาก โดยตัวอย่างเครื่องหมายจะมีข้อความ ผ 999/2550 ในเครื่องหมาย อย ซึ่งหมายถึงผลิต หรือ น 999/2550 ในเครื่องหมาย อย หมายถึงนำเข้า
       
       -เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด ได้แก่ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจวัดระดับหรือปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย เป็นต้น เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องแสดงฉลากเหมือนกัน แต่ไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.ให้แสดงเลขที่ใบรับแจ้งบนฉลาก
       
       -เครื่องมือแพทย์ทั่วไป ได้แก่ เตียงผ่าตัด เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ไม่มีการบังคับให้แสดงฉลากภาษาไทย และไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.หรือเลขที่รับแจ้งบนฉลาก
       
       
       
       5.ฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน
       
       ผลิตภัณฑ์นี้จะมีการแสดงฉลาก 3 แบบ โดย วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ที่ฉลากต้องมีเลขทะเบียนในกรอบเครื่องหมาย อย. เช่น วอส.999/2550 เช่น ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัด/ไล่แมลง ผลิตภัณฑ์กำจัดหนู ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิวประเภท กรด-ด่าง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ในบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด เป็นต้น
       
       ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย.แต่ต้องมีเลขที่รับแจ้งข้อเท็จจริง ตัวอย่าง 999/2550 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์และวัสดุต่างๆ ที่มีเฉพาะสารลดแรงตึงผิวบางชนิดเป็นสารสำคัญ ผลิตภัณฑ์ประเภทคลอรีนที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคหรือกำจัดกลิ่นในสระว่ายน้ำ เป็นต้น
       
       สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.ได้แก่ ก้อนดับกลิ่น/ลูกเหม็น
       
       
       
       และ 6.ตรวจผ่านแอปพลิเคชัน Oryor Smart Application
       
       แอปพลิเคชันนี้มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะสามารถเข้ามาเช็กข้อมูลได้ว่า ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ขึ้นทะเบียนรับรองจาก อย.หรือผลิตภัณฑ์ใดปลอมเลขทะเบียน โดยการคีย์ตัวเลขสารบบว่า ถูกต้องกับระบบของ อย.หรือไม่ ก็จะทราบทันที โดย นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย.กล่าวว่า อย.เตรียมพัฒนาแอปพลิเคชันเวอร์ชัน 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพให้มากขึ้น ซึ่งเวอร์ชันแรกจะเน้นตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้งกลุ่มเครื่องสำอางเป็นหลัก แต่เวอร์ชัน 2 จะครอบคลุมทั้งเลขทะเบียนตำรับยา เลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย เป็นต้น เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนในการตรวจสอบข้อมูลมากขึ้น เพราะปัจจุบันสินค้าแม้จะมีเลข อย.แต่ก็อาจเป้นการสวมทะเบียนหรือเป็นเลขปลอมก็ได้ จึงต้องมีช่องทางในการตรวจสอบให้รับรู้ ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถตรวจเช็กข้อมูลได้รวดเร็ว ตลอด 24 ชั่วโมง

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2013, 12:01:55 pm »
แนะ 5 เทคนิคง่ายๆ กินยาไม่สับสน

-http://campus.sanook.com/1370226/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0-5-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99/-


หมอชี้กินยา"มาก-ซ้ำซ้อน"สุดอันตราย ตับวาย ไตพัง ถึงชีวิตได้ แนะ 5 เทคนิคง่ายๆ กินยาไม่สับสน

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ภายใต้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวแสดงความห่วงใยการบริโภคยาที่มากเกินความจำเป็น ว่า ปัจจุบันมียาจำนวนมาก และยาหลายชนิดมีฤทธิ์ซ้ำและก้ำกึ่งกัน เช่น ยาลดไข้ก็สามารถแก้ปวดได้ หรือยาละลายลิ่มเลือดก็แก้ปวดได้ด้วย ทำให้เกิดปัญหายาเป็นพิษ ปัญหานี้มักพบได้กับคนที่ใช้ยาเยอะอยู่แล้ว หรือมียาประจำตัวอยู่แล้ว ต่อไปก็จะเจอปัญหาสับสนกับการใช้ยาเพราะประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมอุดมยา

"กฎข้อห้ามข้อหนึ่งคือการกินยายิ่งมาก ยิ่งเสี่ยงมาก ทั้งพิษจากยาและยาออกฤทธิ์ตีกัน อีกข้อหนึ่งคือ กินยามากไม่ได้ช่วยให้หายมากขึ้น ตรงข้ามอาจทำให้ตับวายมากกว่า" น.พ.กฤษดากล่าว

น.พ.กฤษดากล่าวว่า เพื่อระงับปัญหาจากการกินยามาก เวชศาสตร์อายุรวัฒน์มี 5 เทคนิคจัดโปรแกรมกินยาไม่สับสน แบบง่ายๆ สำหรับคนกินยาเยอะ คือ

1.แยกยาเป็นชนิดเขียนชื่อกำกับไว้ให้ชัดเจน

2.เขียนฉลากโดยเขียนฤทธิ์ยาสั้นๆ ติดไว้ พร้อมวิธีรับประทาน

3.ใช้ตลับแบ่งยา ข้อนี้ช่วยคนกินยาเยอะไม่ให้กินยาซ้ำ เช่น ยาละลายลิ่มเลือดหากกินซ้ำเข้าไปก็อาจทำให้ตกเลือดจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

4.พกยาติดตัวไปหาหมอเพื่อไม่ให้เกิดการจ่ายยาซ้ำ

5.ขอให้ถามหากสงสัย โดยเฉพาะเรื่องของยาซ้ำ ให้ถามแพทย์หรือเภสัชกร

ผู้อำนวยการศูนย์ เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ กล่าวว่า จากประสบการณ์การรักษาคนไข้ ได้รับคำถามมากมายเกี่ยวกับภาษาทางเคมีและปฏิกิริยาในทางเภสัชวิทยา ทำให้เกิดความสับสนในเรื่องของการใช้ยา คือ ยาลดความดันกับยาโรคหัวใจ ยากลุ่มนี้มีอยู่มาก บางตัวลดความดันและทำให้หัวใจเต้นช้าลง แต่ถ้ารับประทานผิดคือซ้ำซ้อนจนทำให้มากเกินไปอาจทำให้ หัวใจเต้นช้า มึนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยไม่รู้สาเหตุ ยิ่งกว่านั้นถ้าเป็นภูมิแพ้หอบหืดอยู่จะถึงขั้นหลอดลมตีบเสียชีวิตได้ ยาลดไขมันคอเลสเตอรอลกับยาลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ถูกเรียกให้สับสนว่า "ยาลดไขมัน" เหมือนๆ กัน

การรับประทานที่มากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะส่งผลให้มึนศีรษะ ไม่สบายตัว ปวดตามร่างกายและทำให้ตับทำงานหนักถึงขั้นเสื่อมเร็วได้ ยาแก้ปวดกับ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาประเภทนี้มักถูกจ่ายคู่กันซึ่งในหลายครั้งไม่จำเป็นต้องกินควบเลย เพราะการได้รับมากไปใช่ว่าจะทำให้ดีขึ้น หลักง่ายคือห้ามคิดว่า ปวดมากต้องกินยามาก อันนี้จะอันตรายหนักขึ้น

"ยาแก้แพ้กับยาแก้หวัด เป็นยาที่ถูกจ่ายบ่อยมากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีหลักง่ายคือ ยาแก้แพ้บางชนิดไม่ใช่ยาแก้หวัด และยาแก้หวัดบางชนิดก็ไม่อาจแก้แพ้ได้ ข้อสำคัญคืออย่าใช้ซ้ำซ้อนกันมาก หากเป็นหวัดไปหาคุณหมอขอให้บอกว่าท่านใช้ยาเหล่านี้อยู่ครับจะได้ไม่ถูกจ่าย ยาซ้ำ ยาแก้อักเสบกับยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) ยา 2 ชนิดนี้ไม่ใช่ยาตัวเดียวกันเลย แต่ถูกจับมาเรียกจนคุ้นปากคุ้นหู ขอให้ทราบว่ายาแก้อักเสบมีอยู่กว้างมากและฆ่าเชื้อไม่ได้

ส่วนยาฆ่าเชื้อนั้นก็ใช่ว่าจะแก้อักเสบได้เสมอไป ถ้าใช้ยาฆ่าเชื้อนานไปจะเสี่ยงเชื้อดื้อยา มากขึ้นด้วย ยาคลายเครียดกับยานอนหลับ ยากลุ่มคลายเครียดอาจมีฤทธิ์ง่วงก็จริงแต่ไม่ใช่ยาช่วยให้หลับเพราะยาคลาย เครียดหรือต้านซึมเศร้ามีฤทธิ์ไปกวนสารเคมีในสมองทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ การรับประทานคู่กันจะยิ่งอันตรายต่อเคมีในสมองมากขึ้น

ยาลดไข้กับยาแก้ปวด ท่านที่ทานยาแก้ปวดเป็นประจำอยู่ เมื่อมีไข้ขอให้ระวังการทานยาลดไข้เพิ่ม และให้หยุดยาแก้ปวดก่อน เพราะยาทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ซ้ำซ้อนกันมาก และพิษก็ซ้ำซ้อนกันมากด้วย

ยาโรคกระเพาะกับยาแก้ปวดบิดไส้ เวลาปวดท้องหมออาจจะให้ยาร่วมกันมาทั้ง 2 ชนิด ขอให้ดูให้ดีก่อนรับประทาน หากเป็นโรคกระเพาะไม่มากอาจไม่ต้องกินยาแก้ปวด หรือท่านที่ปวดท้องแต่ไม่แน่ใจว่าจากลำไส้ขอให้เลี่ยงยาแก้ปวดบิดไส้ไว้ก่อนยาช่วยระบายกับยาถ่าย ยกตัวอย่างยาช่วยระบายเช่น ใยอาหาร มะขามแขก ส่วนยาถ่ายคือแบบที่ทำให้ปวดลำไส้ถ่ายเหลวคล้ายท้องเสีย หากรับประทานร่วมกันจะทำให้เกิดอันตรายถ่ายจนถึงขั้นช็อกได้

ยาละลายลิ่มเลือดกับยาช่วยเลือดไหลคล่อง ยาละลายลิ่มเลือดอย่าง "แอสไพริน" ถ้ากินกับยาที่ทำให้เลือดไหลคล่องอย่าง "วาร์ฟาริน" จะทำให้เกิดเลือดออกได้มากหากไม่ระวัง ดังนั้น เทคนิคคือไม่ควรรับประทานร่วมกันและหมั่นเจาะเลือดดูการแข็งตัวของเลือดอยู่เสมอ

ยาสร้างเม็ดเลือดกับยาธาตุเหล็ก ยา 2 ชนิดนี้บางทีถูกจ่ายคู่กัน แม้จะทานร่วมกันได้แต่มันมีพิษโดยเฉพาะกับ "ธาตุเหล็ก" ในกรณีที่โลหิตจางอย่างไม่แน่ใจขอให้เลี่ยงธาตุเหล็กไว้ก่อนเพราะมันเป็นพิษ กับโลหิตจางชนิด "ธาลัสซีเมีย" ส่วนยาสร้างเม็ดเลือดที่เป็น "โฟลิก" นั้นปลอดภัยรับประทานได้ในเลือดจางทุกประเภท
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 05:53:13 am »
อย.แฉ! 5 ยาสมุนไพรอันตรายอ้างสรรพคุณโอเวอร์-ไม่ขึ้นทะเบียนยา
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000144444-

   อย.เผยรายชื่อยาสมุนไพรอันตราย 5 ผลิตภัณฑ์ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ชี้เฉพาะ “ยาสมุนไพร JIE DU DAN ชนิดแคปซูล” นำเลขผลิตภัณฑ์อื่นมาใส่ฉลากแทน เตือนประชาชนอย่าหลงกลและหลงเชื่อ ข้อความอวดอ้างสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค เพราะอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อน
       
       ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้รับเรื่องร้องเรียนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีและผู้บริโภคให้ตรวจสอบยาสมุนไพรแผนโบราณ 5 รายการ ได้แก่ 1.ยาสมุนไพร ZIA TU WAN (เซีย ทู หวัน) 2.ผลิตภัณฑ์ พญาดงชุดชะลอความแก่ 3.ผลิตภัณฑ์ตายสิบปี ดีเหมือนเดิม 4.ผลิตภัณฑ์ฮับบาตุส เซาดาห์ “786” เนื่องจากฉลากแสดงข้อความโอ้อวดสรรพคุณรักษาสารพัดโรค อาทิ แก้หัด อีสุกอีใส ป้องกันและรักษานิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี ต่อมลูกหมากโต มะเร็ง บำรุงกำหนัด บำรุงหัวใจ รักษาโรคเกาต์ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน เป็นต้น และ 5.ยาสมุนไพร JIE DU DAN ชนิดแคปซูล ระบุเลขทะเบียนตำรับยา สรรพคุณไม่ระบุข้อความภาษาไทย
       
       หลังรับเรื่องร้องเรียน อย.ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรทั้ง 5 รายการดังกล่าวยังไม่ได้ ขึ้นทะเบียนตำรับยา และยังพบว่ายาสมุนไพร JIE DU DAN ได้นำเลขทะเบียนยาผลิตภัณฑ์อื่นมาใส่บนฉลาก จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อและซื้อมาใช้โดยเด็ดขาด เนื่องจากมักพบว่าผลิตภัณฑ์ที่แสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริงมักลักลอบใส่ยาหรือสารที่เป็นอันตรายลงไป และการผลิตผลิตภัณฑ์มักไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน จึงอาจทำให้ได้รับอันตรายจากการปนเปื้อน ดังนั้น ขอฝากเตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อยาสมุนไพรแผนโบราณใดๆ ที่แสดงสรรพคุณเกินจริงว่าสามารถรักษาได้สารพัดโรค เพราะนอกจากจะเสียเงินทองโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังอาจได้รับอันตรายอย่างคาดไม่ถึง มิหนำซ้ำยังอาจเสียโอกาสในการรักษาโรคอย่างถูกต้องอีกด้วย
       
       รองเลขาธิการ อย.กล่าวต่อว่า ก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ยาใดๆ ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาและอ่านฉลากให้ถ้วนถี่เสียก่อน โดยยาแผนโบราณ ฉลากต้องระบุ ชื่อยา เลขทะเบียนตำรับยา เช่น ทะเบียนยาเลขที่ G 888/50 ปริมาณของยาที่บรรจุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตยา และแสดงคำว่า “ยาแผนโบราณ” ให้เห็นได้ชัด รวมทั้งแสดงคำว่า “ยาใช้ภายนอก” “ยาใช้เฉพาะที่” ด้วยตัวอักษรสีแดงเห็นได้ชัดเจน แล้วแต่กรณี หรือแสดงคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” กรณีเป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือแสดงคำว่า “ยาสำหรับสัตว์” กรณีเป็นยาสำหรับสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้ผ่านการขออนุญาตจาก อย.หรือโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย.โทร.1556 หรืออีเมล : 1556@fda.moph.go.th หรือส่งจดหมายไปที่ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตัวเองพร้อมตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาที่ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย.อาคาร 1 ชั้น 1 ได้ทุกวันในเวลาราชการ เพื่อ อย.จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวด และเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2013, 06:51:35 am »
3 โรคหายเองได้ ไม่ต้องใช้ "ยาปฏิชีวนะ"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    24 พฤศจิกายน 2556 19:00 น.

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000145976-

โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์



       สถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทยถือว่าค่อนข้างน่าเป็นห่วง ซึ่งข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า อัตราการเกิดเชื้อดื้อยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญมาจาก...การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผล
       
       ไม่สมเหตุสมผลในที่นี้คือ มีการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นอย่างมากทั้งในคนและในสัตว์ ยกตัวอย่าง เมื่อเวลาเจ็บคอ ก็มักจะนิยมรับประทานยา "อะม็อกซี" หรือ Amoxicillin ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ "แบคทีเรีย" เท่านั้น แต่สาเหตุของการเจ็บคอมากกว่า 75% เกิดจากเชื้อไวรัสที่ยาปฏิชีวนะไม่สามารถช่วยรักษาให้หายได้ มีเพียงน้อยกว่า 15% เท่านั้นที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
       
       นอกจากนี้ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทยื ได้กล่าวไว้ในการแถลงข่าวเรื่อง “การรณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในเด็ก : Antibiotics Smart Use in Children (ASU KIDs)” เนื่องในวัน Antibiotic Awareness Day ว่า การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินจำเป็นส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากผู้ปกครองด้วย
       
       "ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการไข้หวัด-เจ็บคอ ซึ่งมักพบบ่อยในเด็ก 2-5 ปี เป็นโรคที่สามารถหายเองได้โดยภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กรับประทานยามากเกินไป โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถรักษาอาการไข้หวัด-เจ็บคอ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้ อีกทั้งยังเป็นอันตรายอาจทำให้เด็กแพ้ยาเพิ่มความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ในเด็ก ที่สำคัญคืออาจเหนี่ยวนำให้เด็กเกิดเชื้อดื้อยาซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้"

การรับประทานยาปฏิชีวนะโดยที่ไม่จำเป็นนั้น นอกจากจะมีอันตรายคือทำให้เด็กแพ้ยา มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แล้ว ยังทำให้เชื้อดื้อยาจนรักษายากขึ้นด้วย รวมไปถึงทำให้มูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะในไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ จากรายงานการผลิตและนำเข้ายาประจำปี 2552 พบว่า ประเทศไทยใช้ยาปฏิชีวนะมูลค่าปีละกว่า 10,000 ล้านบาท มีผู้ติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะมากกว่า 100,000 คน อยู่โรงพยาบาลนานขึ้นกว่า 1 ล้านวัน และเสียชีวิตมากกว่า 30,000 คน
       
       ดังนั้น การใช้ยาปฏิชีวนะจึงควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น หากมีอาการเจ็บคอ ทางที่ถูกต้องคือควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องก่อนใช้ยาปฏิชีวนะ
       
       ทั้งนี้ ล่าสุด กลุ่มนักศึกษาแพทย์ทั่วประเทศกว่า 150 คน จาก 6 สถาบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสถาบันพระบรมราชชนก ได้ออกมาทำแฟลชม็อบ เพื่อร่วมต้านการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผล เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา ณ Digital Gateway สยามสแควร์ ซึ่งภายในงานมีการรณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล เพื่อลดการดื้อยา
       
       โดยโรคที่ทำการรณรงค์ว่าสามารถหายเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งยาปฏิชีวนะมีทั้งหมด 3 โรคด้วยกันคือ 1.ท้องเสีย ซึ่ง 99% เกิดจากเชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ เพียงดื่มน้ำเกลือแร่ก็หายได้ เพียงแต่ต้องจำกัดการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารแข็งและนม แล้วรับประทานผงเกลือแร่และน้ำ เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป นอกจากนี้ หากอุจจาระมีมูกเลือดปน และอาการท้องเสียไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์
       
       ซึ่งกลุ่มที่ท้องเสียมีการถ่ายเหลวและมีมูกเลือดปน มีไข้ ตรวจพบเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ กลุ่มนี้จึงจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้ออะมีบา หรือที่มักวินิจฉัยกันว่าเป็นโรคบิด ต้องกินยาฆ่าเชื้อ แต่ควรจะไปพบแพทย์ก่อนที่จะซื้อมารับประทานเอง เพราะจากข้อมูลทางสถิติโดยกรมควบคุมโรคได้รับรายงานจากสถานพยาบาลต่างๆ ในปี 2550 พบว่า ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงมี1,433,230 ราย มีผู้ป่วยเพียง 19,026 รายที่เข้าข่ายโรคบิด จึงมีผู้ป่วยที่ควคกินยาปฏิชีวนะเพียง 1.3% เท่านั้น
       
       2.หวัด-เจ็บคอ อย่างที่กล่าวไปแล้วนั้นว่ามากกว่า 80% เกิดจากเชื้อไวรัส การพักผ่อนและทำร่างกายให้อบอุ่น ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายแข็งแรง กำจัดไวรัสได้เร็วขึ้น จึงหายป่วยเร็วขึ้น และ 3.แผลเลือดออก โดยเกิดจากมีดบาด แผลถลอก ถ้าทำความสะอาดอย่างถูกวิธีและป้องกันไม่ให้แผลโดนน้ำ แผลก็จะหายเองได้
       
       ทั้ง 3 โรคที่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อย จึงไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้นแต่อย่างใด เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังเป็นการสิ้นเปลืองและเพิ่มความเสี่ยงต่อการดื้อยาด้วย ดังนั้น ก่อนใช้ยาปฏิชีวนะควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าโรคที่เป็นนั้นจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่
       
       ขอบคุณข้อมูลจากแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.)

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2013, 09:24:49 am »
ถ้าลืม “กินยา” ทำไงดี

-http://club.sanook.com/16145/%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%A1-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5-



ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ลืมกินยาตามเวลา อันตรายหรือไม่

ภก. ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัญหาที่มักพบเสมอเวลาจะรับประทานยา คือ ต้องรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร และก่อนอาหารนานเท่าไหร่ หลังอาหารกี่นาที ก่อนนอนนานแค่ไหน ถ้าลืมแล้วจะทำอย่างไร บทความนี้จึงขอสรุปหลักการและหลักปฏิบัติที่ถูกต้องทั่วไปของวิธีการรับประทานยาเหล่านี้

1. ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหาร อย่างน้อย ๓๐ นาที

ยาที่รับประทานก่อนอาหาร ควรรับประทานในช่วงที่ท้องว่าง ยังไม่ได้รับประทานอาหาร ซึ่งก็คือก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย ๓๐ นาที เนื่องจากยาอาจถูกทำลายและเสียประสิทธิภาพในการรักษา เมื่อพบกับกรดปริมาณมากที่กระเพาะอาหารจะหลั่งออกมาหลังมื้ออาหาร การรับประทานยาในช่วงที่ท้องว่าง ทำให้ยาไม่ถูกทำลาย และประสิทธิภาพของยาไม่ลดลง

อาหารและส่วนประกอบของอาหารอาจลดการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่สามารถรับประทานยาพร้อมหรือหลังอาหารได้

ยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการหลั่งอินซูลิน จะใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาทีก่อนที่จะออกฤทธิ์ การรับประทานยาก่อนอาหารจึงเป็นเสมือนการเตรียมพร้อมให้ระบบทางเดินอาหาร ก่อนจะรับประทานอาหาร

การลืมรับประทานยาก่อนอาหาร

ถ้าลืมรับประทานยาก่อนอาหาร หรือนึกได้ว่าต้องรับประทานยาก่อนที่จะทานอาหารไม่ถึงครึ่งชั่วโมง การทานยาก่อนอาหารทันที จึงไม่ต่างกับการรับประทานยาหลังอาหาร ควรข้ามยามื้อที่ลืมไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการหลั่งอินซูลิน กรณียาที่รับประทานก่อนอาหารเพราะยาจะถูกทำลายหรืออาหารอาจลดการดูดซึมของยา อาจรอให้กระเพาะอาหารว่างก่อนแล้วค่อยรับประทานยาก็ได้ ซึ่งก็คือประมาณ ๒ ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร แต่ยาที่ต้องรับประทานในมื้อถัดไปอยู่แล้ว ให้ทานยาก่อนอาหารมื้อถัดไปแทนได้เลย ไม่ต้องทานยาซ้ำ

2. ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารทันทีและไม่ควรนานเกิน ๑๕ นาทีหลังอาหาร

ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารทันที อาจทานพร้อมอาหารหรือก่อนรับประทานอาหารคำแรกก็ได้ เพราะไม่ว่าจะกรณีใด ยาจะเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหารพร้อมกับอาหารที่รับประทานเหมือนๆ กัน ยาที่ควรรับประทานหลังอาหาร เนื่องจาก

ยามีผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้

ต้องการกรดในกระเพาะอาหารช่วยในการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งกรดในกระเพาะอาหารจะหลั่งสูงสุดในระหว่างที่รับประทานอาหารเท่านั้น

การลืมรับประทานยาหลังอาหาร

ถ้าลืมรับประทานยาหลังอาหาร สามารถรับประทานยาได้ทันทีที่นึกได้และไม่เกิน ๑๕ นาที แต่ถ้านึกได้หลังจากรับประทานอาหารมากกว่า ๑๕ นาทีแล้ว ควรรอรับประทานหลังอาหารในมื้อถัดไปแทน หรืออาจรับประทานอาหารมื้อย่อยแทนมื้อหลักก่อนรับประทานยาก็ได้ กรณีที่ยานั้นมีความสำคัญมาก

3. ยาก่อนนอน ควรรับประทานยาก่อนเข้านอน ๑๕ – ๓๐ นาที

ยาที่แนะนำให้รับประทานก่อนนอนมีหลายประเภท แต่โดยทั่วไป ควรรับประทานก่อนนอน ๑๕ – ๓๐ นาที เนื่องจาก

ยามีผลข้างเคียงสำคัญคือทำให้ง่วงนอนหรือวิงเวียนศีรษะมาก ถ้ารับประทานก่อนนอนนานเกินไป อาจส่งผลต่อให้ผู้รับประทานยาทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กรณีที่ยังไม่พร้อมจะเข้านอน

ยาที่ช่วยให้นอนหลับ มักใช้เวลาประมาณ ๑๕ – ๓๐ นาทีก่อนที่จะออกฤทธิ์ช่วยให้หลับ

การลืมรับประทานยาก่อนนอน

ถ้าลืมรับประทานยาก่อนนอน มักนึกได้เมื่อถึงเช้าของวันรุ่งขึ้นแล้ว ไม่ควรรับประทานยานั้นอีก ควรรอให้ถึงเวลาก่อนเข้านอนในคืนถัดไปค่อยรับประทานยานั้น

4. ยารับประทานเวลามีอาการ ควรรับประทานเมื่อมีอาการจริงๆ

ยาในกลุ่มนี้ มักระบุในฉลากว่ารับประทานทุก ๔ – ๖ ชั่วโมง ทุก ๘ ชั่วโมง หรือทุก ๑๒ ชั่วโมง เวลามีอาการ เมื่อมีอาการสามารถรับประทานยาได้เลย ไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหาร เนื่องจากไม่ว่าจะรับประทานอาหารหรือไม่ ก็ไม่ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หลังรับประทานยาแล้วถ้ายังมีอาการอยู่สามารถทานยาซ้ำได้ ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ ไม่ควรรับประทานบ่อยกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก เมื่อหายแล้วสามารถหยุดยาได้เลย

หมายเหตุ ยาบางประเภท อาจมีวิธีรับประทานยานอกเหนือไปจากยาโดยทั่วๆ ไปข้างต้น รวมทั้งยาบางประเภทอาจรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แล้วแต่สะดวก เนื่องจากยาอาจมีการออกฤทธิ์ที่พิเศษหรือมีผลข้างเคียงอื่นๆ ซึ่งผู้ทำหน้าที่ส่งมอบยาเหล่านี้จะอธิบายวิธีการรับประทานเป็นกรณีๆ ไป

เอกสารอ้างอิง

Larry AB, editors. Applied clinical pharmacokinetics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill Medical; 2008.

Joseph TD, editors. Concepts in clinical pharmacokinetics. 5th ed. American Society of Health-System Pharmacists; 2010.

 

Credit : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=83




คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: มกราคม 25, 2014, 08:54:15 pm »
อย.เตือนกินยาแก้ปวดพร่ำเพื่ออาจตายได้

-http://news.springnewstv.tv/42209/%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-


นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข้อมูลการใช้ยาพาราเซตามอลของคนไทยพบว่า ส่วนใหญ่มักใช้ยาพาราเซตามอล เกินกว่าปริมาณที่กำหนด เพราะมองว่าเป็นยาพื้นฐาน มีความปลอดภัย และเข้าใจว่าสามารถรักษาได้ทุกอาการปวด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากยาแก้ปวดแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษา และความปลอดภัยในการใช้ยาแตกต่างกัน โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้ระงับปวดที่รุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด แต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ เช่น มอร์ฟีน ทรามาดอล ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ใช้ระงับความเจ็บปวดที่รุนแรงจากอวัยวะภายใน เช่นปวดนิ่วในไต ปวดกล้ามเนื้อหัวใจจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ปวดจากบาดแผลที่มีขนาดใหญ่ เช่น หลังการผ่าตัด การคลอดลูก โรคมะเร็ง ยาประเภทนี้ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อ จึงมักใช้กับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลินิกเป็นส่วนใหญ่

สำหรับยากลุ่มดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงสูง หากได้รับยาเกินขนาดจะทำให้เกิดภาวะอื่นๆ ตามมาเช่น อาเจียน ระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว ชักและระบบหายใจทำงานช้าลงจนถึงขั้นหยุดหายใจได้
 
ผู้สื่อข่าว : ทีมข่าวสปริงนิวส์

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)