ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา  (อ่าน 8532 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2014, 05:30:09 pm »
สธ. ห่วงวัยรุ่นคลั่งผอม กินยาลดน้ำหนัก-รีดไขมัน ชี้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

-http://health.kapook.com/view82323.html-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          สธ. ห่วงวัยรุ่นคลั่งผอม กินยาลดน้ำหนัก-รีดไขมัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วนจริง เพียงแค่อยากผอมเหมือนดาราและใส่เสื้อผ้าขนาดเล็กได้เท่านั้น ชี้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

          วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข แสดงความเป็นห่วงวัยรุ่นไทยที่ไม่ได้อ้วนจริง แต่ใช้ยาลดความอ้วน เพราะคลั่งความผอม ความสวย อยากมีหุ่นเพรียวลมเหมือนการ์ตูนญี่ปุ่นและดารา และนิยมสั่งซื้อยาลดความอ้วนผ่านอินเทอร์เน็ต เข้าสถานบริการลดความอ้วนตามตลาดมืด หรือหลงเชื่อโฆษณาน้ำผลไม้สารสกัดลดน้ำหนัก

         ทั้งนี้ เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้วัยรุ่นหญิงไทยและหญิงข้ามเพศ มีค่านิยมว่าจะต้องมีรูปร่างที่ผอมมาก เพราะคิดว่าผอม ๆ เช่นนั้นแล้วสวย ใส่เสื้อผ้าที่มีขนาดเล็กมากได้ ทำให้วัยรุ่นที่อ้วนหรือแค่รู้สึกว่าตัวเองอ้วน หันมาใช้ยาลดน้ำหนัก ใช้ทางลัดต่าง ๆ ทั้งเข้าสถานบริการลดความอ้วน ทานยา อดอาหารอย่างผิดวิธี โดยไม่คิดที่จะออกกำลังกายสลายไขมัน นอกจากนี้ ยังใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาหารเสริม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ที่โฆษณาว่ามีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ทำให้ได้รับผลข้างเคียงหรือพิษภัยจากการลักลอบใส่ยาลดความอยากอาหารดังกล่าว  จนบางรายถึงกับเสียชีวิต

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่อว่า ยาลดความอ้วนที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบลำไส้  ยับยั้งการดูดซึมของสารอาหาร  และยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง  เพื่อลดความอยากอาหารกินแล้วไม่หิวง่าย เช่นเฟนฟลูรามีน (Fenfluramine), เด็กซ์เฟนฟลูรามีน (Dexfenfluramine), ไซบูทรามีน (Sibutramine)  โดยตัวยาเหล่านี้ ทาง อย. ได้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนยาทุกตำรับที่มีส่วนผสมของยาชนิดนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2553 ตามลำดับ

         พร้อมกันนี้ เภสัชกรประพนธ์  เผยต่อว่า ขณะนี้ประเทศไทยก็ไม่ได้มีการใช้ยาดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลการใช้ยาไซบูทรามีนในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) และการเกิดหลอดเลือดในสมองแตก (stroke) ได้

         ในส่วนของผลิตภัณฑ์ยาลดความอ้วนที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ตนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโดดเด็ดขาดและขอให้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงในการลักลอบใส่สารลดน้ำหนักที่เป็นอันตราย แม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์อาจจะบอกว่าเป็นน้ำผลไม้ หรือเป็นสารสกัดก็ตาม ถือว่าเป็นการแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง หรือแสดงสรรพคุณที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือว่าเป็นความผิด







         สำหรับคนที่ใช้ยาลดความอ้วนขณะนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่กลุ่มคนที่อ้วนจริง เนื่องจากวัดค่าดัชนีมวลกายมักพบว่าคนเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ที่ต้องการลดความอ้วนเพราะอยากเลียนแบบดาราหรือต้องการทำตามเพื่อน ส่วนผลข้างเคียงที่พบบ่อยก็คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่า ท้องผูก  และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดการติดยาได้

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่ออีกว่า ยาลดความอ้วนห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากฤทธิ์ยาจะกระตุ้นอาการซึมเศร้าให้รุนแรงขึ้น และห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปี เนื่องจากเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต ซึ่งยาอาจจะส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ในวัยหนุ่มสาว รวมทั้งห้ามใช้ในหญิง มีครรภ์ด้วย เนื่องจากจะส่งผลถึงเด็กในครรภ์  ทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้

         ทั้งนี้ การใช้ยาลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จะต้องอยู่ภายใต้การสั่งใช้และการควบคุมโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพราะยาลดน้ำหนักไม่สามารถรักษาโรคอ้วนให้หายขาด เมื่อหยุดยา น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นได้อีก 

        อย่างไรก็ดี หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ปรึกษาสายด่วน อย. 1556 หรือสามารถไปร้องเรียนได้ด้วยตนเองพร้อมนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปด้วย ที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. อาคาร 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุข อ.เมือง จ.นนทบุรี ส่วนภูมิภาคติดต่อได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          สธ. ห่วงวัยรุ่นคลั่งผอม กินยาลดน้ำหนัก-รีดไขมัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วนจริง เพียงแค่อยากผอมเหมือนดาราและใส่เสื้อผ้าขนาดเล็กได้เท่านั้น ชี้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

          วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข แสดงความเป็นห่วงวัยรุ่นไทยที่ไม่ได้อ้วนจริง แต่ใช้ยาลดความอ้วน เพราะคลั่งความผอม ความสวย อยากมีหุ่นเพรียวลมเหมือนการ์ตูนญี่ปุ่นและดารา และนิยมสั่งซื้อยาลดความอ้วนผ่านอินเทอร์เน็ต เข้าสถานบริการลดความอ้วนตามตลาดมืด หรือหลงเชื่อโฆษณาน้ำผลไม้สารสกัดลดน้ำหนัก

         ทั้งนี้ เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้วัยรุ่นหญิงไทยและหญิงข้ามเพศ มีค่านิยมว่าจะต้องมีรูปร่างที่ผอมมาก เพราะคิดว่าผอม ๆ เช่นนั้นแล้วสวย ใส่เสื้อผ้าที่มีขนาดเล็กมากได้ ทำให้วัยรุ่นที่อ้วนหรือแค่รู้สึกว่าตัวเองอ้วน หันมาใช้ยาลดน้ำหนัก ใช้ทางลัดต่าง ๆ ทั้งเข้าสถานบริการลดความอ้วน ทานยา อดอาหารอย่างผิดวิธี โดยไม่คิดที่จะออกกำลังกายสลายไขมัน นอกจากนี้ ยังใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาหารเสริม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ที่โฆษณาว่ามีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ทำให้ได้รับผลข้างเคียงหรือพิษภัยจากการลักลอบใส่ยาลดความอยากอาหารดังกล่าว  จนบางรายถึงกับเสียชีวิต

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่อว่า ยาลดความอ้วนที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบลำไส้  ยับยั้งการดูดซึมของสารอาหาร  และยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง  เพื่อลดความอยากอาหารกินแล้วไม่หิวง่าย เช่นเฟนฟลูรามีน (Fenfluramine), เด็กซ์เฟนฟลูรามีน (Dexfenfluramine), ไซบูทรามีน (Sibutramine)  โดยตัวยาเหล่านี้ ทาง อย. ได้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนยาทุกตำรับที่มีส่วนผสมของยาชนิดนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2553 ตามลำดับ

         พร้อมกันนี้ เภสัชกรประพนธ์  เผยต่อว่า ขณะนี้ประเทศไทยก็ไม่ได้มีการใช้ยาดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลการใช้ยาไซบูทรามีนในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) และการเกิดหลอดเลือดในสมองแตก (stroke) ได้

         ในส่วนของผลิตภัณฑ์ยาลดความอ้วนที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ตนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโดดเด็ดขาดและขอให้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงในการลักลอบใส่สารลดน้ำหนักที่เป็นอันตราย แม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์อาจจะบอกว่าเป็นน้ำผลไม้ หรือเป็นสารสกัดก็ตาม ถือว่าเป็นการแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง หรือแสดงสรรพคุณที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือว่าเป็นความผิด

ยาลดความอ้วน

         สำหรับคนที่ใช้ยาลดความอ้วนขณะนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่กลุ่มคนที่อ้วนจริง เนื่องจากวัดค่าดัชนีมวลกายมักพบว่าคนเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ที่ต้องการลดความอ้วนเพราะอยากเลียนแบบดาราหรือต้องการทำตามเพื่อน ส่วนผลข้างเคียงที่พบบ่อยก็คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่า ท้องผูก  และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดการติดยาได้

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่ออีกว่า ยาลดความอ้วนห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากฤทธิ์ยาจะกระตุ้นอาการซึมเศร้าให้รุนแรงขึ้น และห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปี เนื่องจากเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต ซึ่งยาอาจจะส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ในวัยหนุ่มสาว รวมทั้งห้ามใช้ในหญิง มีครรภ์ด้วย เนื่องจากจะส่งผลถึงเด็กในครรภ์  ทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้

         ทั้งนี้ การใช้ยาลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จะต้องอยู่ภายใต้การสั่งใช้และการควบคุมโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพราะยาลดน้ำหนักไม่สามารถรักษาโรคอ้วนให้หายขาด เมื่อหยุดยา น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นได้อีก 

        อย่างไรก็ดี หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ปรึกษาสายด่วน อย. 1556 หรือสามารถไปร้องเรียนได้ด้วยตนเองพร้อมนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปด้วย ที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. อาคาร 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุข อ.เมือง จ.นนทบุรี ส่วนภูมิภาคติดต่อได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          สธ. ห่วงวัยรุ่นคลั่งผอม กินยาลดน้ำหนัก-รีดไขมัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วนจริง เพียงแค่อยากผอมเหมือนดาราและใส่เสื้อผ้าขนาดเล็กได้เท่านั้น ชี้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

          วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข แสดงความเป็นห่วงวัยรุ่นไทยที่ไม่ได้อ้วนจริง แต่ใช้ยาลดความอ้วน เพราะคลั่งความผอม ความสวย อยากมีหุ่นเพรียวลมเหมือนการ์ตูนญี่ปุ่นและดารา และนิยมสั่งซื้อยาลดความอ้วนผ่านอินเทอร์เน็ต เข้าสถานบริการลดความอ้วนตามตลาดมืด หรือหลงเชื่อโฆษณาน้ำผลไม้สารสกัดลดน้ำหนัก

         ทั้งนี้ เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้วัยรุ่นหญิงไทยและหญิงข้ามเพศ มีค่านิยมว่าจะต้องมีรูปร่างที่ผอมมาก เพราะคิดว่าผอม ๆ เช่นนั้นแล้วสวย ใส่เสื้อผ้าที่มีขนาดเล็กมากได้ ทำให้วัยรุ่นที่อ้วนหรือแค่รู้สึกว่าตัวเองอ้วน หันมาใช้ยาลดน้ำหนัก ใช้ทางลัดต่าง ๆ ทั้งเข้าสถานบริการลดความอ้วน ทานยา อดอาหารอย่างผิดวิธี โดยไม่คิดที่จะออกกำลังกายสลายไขมัน นอกจากนี้ ยังใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาหารเสริม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ที่โฆษณาว่ามีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ทำให้ได้รับผลข้างเคียงหรือพิษภัยจากการลักลอบใส่ยาลดความอยากอาหารดังกล่าว  จนบางรายถึงกับเสียชีวิต

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่อว่า ยาลดความอ้วนที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบลำไส้  ยับยั้งการดูดซึมของสารอาหาร  และยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง  เพื่อลดความอยากอาหารกินแล้วไม่หิวง่าย เช่นเฟนฟลูรามีน (Fenfluramine), เด็กซ์เฟนฟลูรามีน (Dexfenfluramine), ไซบูทรามีน (Sibutramine)  โดยตัวยาเหล่านี้ ทาง อย. ได้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนยาทุกตำรับที่มีส่วนผสมของยาชนิดนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2553 ตามลำดับ

         พร้อมกันนี้ เภสัชกรประพนธ์  เผยต่อว่า ขณะนี้ประเทศไทยก็ไม่ได้มีการใช้ยาดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลการใช้ยาไซบูทรามีนในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) และการเกิดหลอดเลือดในสมองแตก (stroke) ได้

         ในส่วนของผลิตภัณฑ์ยาลดความอ้วนที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ตนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโดดเด็ดขาดและขอให้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงในการลักลอบใส่สารลดน้ำหนักที่เป็นอันตราย แม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์อาจจะบอกว่าเป็นน้ำผลไม้ หรือเป็นสารสกัดก็ตาม ถือว่าเป็นการแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง หรือแสดงสรรพคุณที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือว่าเป็นความผิด

ยาลดความอ้วน

         สำหรับคนที่ใช้ยาลดความอ้วนขณะนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่กลุ่มคนที่อ้วนจริง เนื่องจากวัดค่าดัชนีมวลกายมักพบว่าคนเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ที่ต้องการลดความอ้วนเพราะอยากเลียนแบบดาราหรือต้องการทำตามเพื่อน ส่วนผลข้างเคียงที่พบบ่อยก็คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่า ท้องผูก  และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดการติดยาได้

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่ออีกว่า ยาลดความอ้วนห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากฤทธิ์ยาจะกระตุ้นอาการซึมเศร้าให้รุนแรงขึ้น และห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปี เนื่องจากเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต ซึ่งยาอาจจะส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ในวัยหนุ่มสาว รวมทั้งห้ามใช้ในหญิง มีครรภ์ด้วย เนื่องจากจะส่งผลถึงเด็กในครรภ์  ทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้

         ทั้งนี้ การใช้ยาลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จะต้องอยู่ภายใต้การสั่งใช้และการควบคุมโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพราะยาลดน้ำหนักไม่สามารถรักษาโรคอ้วนให้หายขาด เมื่อหยุดยา น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นได้อีก 

        อย่างไรก็ดี หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ปรึกษาสายด่วน อย. 1556 หรือสามารถไปร้องเรียนได้ด้วยตนเองพร้อมนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปด้วย ที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. อาคาร 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุข อ.เมือง จ.นนทบุรี ส่วนภูมิภาคติดต่อได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=218993&catid=176&Itemid=524#.UwCTmoWbyZR-

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: เมษายน 04, 2014, 10:37:29 pm »
คุยกับหมอพิณ ยาสามัญประจำทริป

-http://men.sanook.com/2137/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%93-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9B/-


สวัสดีค่ะ ใกล้จะถึงเดือนเมษายน เดือนแห่งวันเทศกาล วันหยุดหลาย ๆ ท่านคงวางแผนที่จะออกไปเที่ยวในหรือต่างประเทศกันแล้วนะคะ

สัปดาห์นี้จะขอคุยเกี่ยวกับการเตรียมตัวออกไปเที่ยวละกันค่ะ

ถ้าไปเที่ยวแล้วเกิดป่วยระหว่างการเดินทาง ทริปของเราอาจจะไม่น่าจดจำเท่าไหร่ใช่ไหมคะ

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า ข้อมูลอาจจะไม่ค่อยครบถ้วน

เพราะอ้างอิงจากประสบการณ์ส่วนตัวของหมอเองค่ะ

1.ยารักษาโรคประจำตัว : หากคุณ (หรือผู้ร่วมทริป เช่น คุณพ่อคุณแม่) มีโรคประจำตัว เอายาไปให้ครบ
เอาไปเผื่อด้วยจะปลอดภัยกว่านะคะ เกิดยาหล่น หรือแผนเปลี่ยน เช่น ตกรถ ตกเรือ (หรือโดน Hijack เครื่องบิน)
กลับบ้านช้ากว่ากำหนด อย่างน้อยยังมียาประจำตัวไว้ให้ทาน จดชื่อยาพกไว้ด้วยก็ดีนะคะ เกิดยาหายจะได้ซื้อทานได้

2.ยารักษาโรคประจำการเดินทาง : บางคนเดินทางทีไร อาการไม่พึงประสงค์มาเยี่ยมทุกที เช่น

-เมารถ : ยาแก้เมารถ เมาเรือ มีหลายกลุ่มค่ะ เช่น ยา Dimenhydrinate ทานก่อนออกเดินทางซัก 30-60 นาที

ทานซ้ำได้ทุก 6-8 ชั่วโมงค่ะ

-แพ้อากาศ : บางคนอากาศเปลี่ยนก็คัดจมูก น้ำมูกไหล

ไอเจ็บคอ ขอแนะนำให้พกยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ยาอมแก้เจ็บคอไปด้วยค่ะ

-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ : ยาแก้ปวด Paracetamol ไม่ควรลืมนะคะ เกิดมีใครปวดแข้งปวดขาก็สามารถรับประทานได้
ถ้าคิดว่าจะปวดมาก ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID เช่น Ibuprofen ก็สามารถพกพาไปได้ แต่ควรระวังด้วยนะคะ เพราะหลายคนแพ้ยากลุ่มนี้
ถ้าเคยทานแล้วไม่แพ้ก็จัดเลยค่ะ อ้อ อย่าลืมพกยานวดไปซักหลอดนะคะ

-อาหารเป็นพิษ ถ้าทริปไหนท้องเสีย อาเจียน อ่อนเพลีย ทานอะไรก็ไม่ได้ มันน่าเศร้านะคะ
อย่าลืมพกผงเกลือแร่ ยากันอาเจียน เช่น Motilium ยาปฏิชีวนะ เช่น Norfloxacin, Ciprofloxacin

ถ้าท้องเสียรุนแรง มีไข้ อ่อนเพลียมาก แนะนำให้ไปพบแพทย์ค่ะ

ในกรณีที่อาหารไม่เป็นพิษ แต่อาหารเป็นมิตรทานจนแน่น แนะนำแอร์-เอ็กซ์ หรืออีโนนะคะ

3. อื่น ๆ เช่น

-พลาสเตอร์แปะแผล แอลกอฮอล์ล้างแผลขวดเล็ก สำหรับแผลถลอกเล็ก ๆ น้อย ๆ

-ยากันแดด ยากันยุง ยาทาแก้คันแมลงสัตว์กัดต่อย

-หน้ากากอนามัย เผื่อไว้เกิดเราเป็นหวัด เราจะได้ไม่ไปแพร่ใส่ใคร หรือสมมติที่ที่เราไปเที่ยวเกิดมีโรคระบาด
เช่น มีไข้หวัดหมู ไข้หวัดหมี อย่างน้อยก็อาจจะป้องกันได้บ้าง (มีทริปหนึ่งของหมอช่วงไข้หวัดหมูระบาด หมอพกหน้ากาก N95 ไปเที่ยวด้วยนะคะ)

-สำหรับสุภาพสตรี หากระยะที่จะไปเที่ยวเกิดมีประจำเดือน อย่าลืมพกยาแก้ปวดประจำเดือนไปเผื่อด้วยนะคะ ผ้าอนามัยควรเอาไปเผื่อด้วยค่ะ

-ยาระบาย สำหรับคนที่ไปเที่ยวต่างที่ ถ้าห้องน้ำไม่ใช่ที่บ้านหรือที่ทำงาน บรรยากาศมันไม่ใช่แล้วถ่ายไม่ออก ขอแนะนำพกยาระบายไปเผื่อด้วยค่ะ

ถ้าไปเที่ยวต่างประเทศแนะนำทำประกันก่อนเดินทางก็ดีนะคะ เพราะ 30 บาทรักษาทุกโรคไม่ใช่รักษาได้ทั่วโลก เกิดเจ็บป่วยอะไรอุ่นใจกว่าค่ะ

สุดท้ายนี้ขอย้ำนะคะ ว่ายาแต่ละชนิดที่พกไป ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าเราไม่ได้แพ้ยาหรือข้อห้ามในการใช้ยาเหล่านี้หรือกลุ่มนี้มาก่อน
เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองนะคะ

ขอให้คุณผู้อ่านมีวันหยุดที่สนุกสนานและปลอดภัยค่ะ

สวัสดีค่ะ


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: เมษายน 12, 2014, 07:39:09 pm »
อภ.เตือนกินยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ก่อนขับรถ ระวังง่วง

-http://club.sanook.com/28965/%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5-


ช่วงวันหยุดยาวนี้หลายท่านคงมีแผนเดินทางเพื่อกลับบ้านหรือท่องเที่ยวต่างจังหวัดกันใช่ไหมคะ การเดินทางไกลด้วยการขับรถนานๆในสภาพอากาศร้อนจัดแบบนี้อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและไม่สบายได้ง่าย ทางแก้ที่ง่ายคือหายามารับประทาน แต่การทานยานั้น ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยองค์การเภสัชกรรมได้มีคำเตือนเกี่ยวกับการทายยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อมาดังนี้

 

องค์การเภสัชกรรมเตือนประชาชนที่ต้องเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ให้ระวังการทานยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ ก่อนขับรถ อาจทำให้ง่วง หลับในและเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้



ภญ.นิภาพร ชาตะวิริยะพันธ์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนจำนวนมากต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถยนต์จำนวนมาก และปีนี้จากการคาดการณ์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนประมาณ 268-334คน  ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน หนึ่งในนั้นคืออาการง่วงนอนหรือหลับใน องค์การฯจึงขอเตือนผู้ที่ต้องขับรถเดินทางควรระมัดระวังในการรับประทานยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ อาทิ ยาแก้ปวดทรามาดอล(Tramadol), ยาแก้ปวดอะมิทริปทัยลีน(Amitriptyline) และยาแก้ปวดกาบ้าเพนติน(Gabapentin) เป็นต้น ซึ่งยาเหล่านี้มีฤทธิ์ในการกดประสาทส่วนกลาง เพื่อบรรเทาอาการปวด  ส่วนยาคลายกล้ามเนื้อ อาทิ ยาโทลเพอริโซน (Tolperisone) และยาออเฟเนดรีน (Orphenadrine)   ยาเหล่านี้มีฤทธิ์ในการลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการปวดตึงทั้งร่างกาย ซึ่งยาทั้ง 2กลุ่มนี้ มีผลข้างเคียงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล อาจจะทำให้ลดประสิทธิภาพในการขับขี่ ทำให้ตัดสินใจได้ช้าลง มองเห็นเป็นภาพเบลอ ไม่ชัด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้

 

รองผู้อำนวยการฯ กล่าวอีกว่า ไม่เพียงยาทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว ยังมียาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนชนิดอื่นๆ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงเมื่อต้องขับรถเช่นกัน อาทิ ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก, ยาแก้แพ้ แก้คัน, ยากล่อมประสาท, ยาคลายกังวล, ยาแก้เวียนศีรษะ และยาแก้เมารถ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ทานยาลดน้ำตาลในเลือด และต้องขับรถ หากระหว่างการเดินทางไม่สามารถทานอาหารได้ตรงเวลา อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด เหงื่อออกมาก ใจสั่น และอาจหมดสติได้ จึงจำเป็นต้องเตรียมอาหาร ลูกอม น้ำหวานไว้ระหว่างการเดินทาง เพื่อป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว นอกจากนี้ไม่ควรทานยาร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาลดน้ำมูก จะทำให้อาการง่วงของยาเพิ่มขึ้น ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาบรรเทาปวด ลดไข้ จะทำให้ตับเสียหายได้มากขึ้น เป็นต้น

 

ดังนั้น ก่อนการเดินทางทุกครั้ง ควรมีการวางแผนการเดินทาง และวางแผนการทานยาก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทาง ว่ายาแต่ละชนิดที่ต้องทานในระหว่างการเดินทางนั้น มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง โดยปรึกษาแพทย์, เภสัชกร หรือโทรปรึกษาปัญหาการใช้ยาได้ที่ Call Center องค์การเภสัชกรรม 1648 ฟรี

 

ที่มา :: สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2014, 06:23:47 am »
“ด้วงกระเบื้อง” บุกบ้าน กำจัดอย่างไร?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    29 พฤษภาคม 2557 15:14 น.

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000060101-


 บ้านสกปรกระวัง “ด้วงกระเบื้อง” บุกรุก เสี่ยงภูมิแพ้ทางเดินหายใจ-ผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร แนะทำบ้านให้สะอาด โล่ง เผยกวาดรวบตัวด้วงลงกะละมังใส่น้ำผสมผงซักฟอกช่วยกำจัดได้ หรือใช้สารไซฟลูทรินผสมน้ำฉีดพ่นฆ่าตัวด้วงและตัวหนอน ป้องกันได้ 6 เดือน ไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์เลี้ยง

“ด้วงกระเบื้อง” บุกบ้าน กำจัดอย่างไร?
       วันนี้ (29 พ.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีพบแมลงกระเบื้องจำนวนมากในบ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 11 ต.ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี นานกว่า 3 เดือน ว่า กลุ่มกีฏวิทยาและควบคุมแมลงนำโรค สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้เข้าไปตรวจสอบและกำจัดแมลงดังกล่าวแล้ว โดยแมลงกระเบื้องจัดเป็นด้วงปีกแข็งขนาดเล็กอยู่ในวงศ์เดียวกันกับด้วงมอดแป้ง แต่ความเป็นอยู่สกปรกกว่า ลักษณะลำตัวกลมรี มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ เปลือกค่อนข้างแข็ง ชอบอยู่ตามพื้นดินในที่ต่างๆ เช่น ใต้ไม้ผุๆ ใต้ก้อนหิน ตามรังมด รังปลวก ตามต้นพืชหลายชนิด หรือตามบ้านเรือน ตามกองใบไม้ทับถม และตามที่ที่มีเชื้อรา หรือซากสัตว์เน่าเปื่อย ตัวหนอนของด้วงชนิดนี้สามารถเดินได้เร็วและชอนไชเก่งมาก ชอบดินชื้นๆ โดยจะออกหาอาหารในเวลากลางคืน
       
       นพ.โสภณ กล่าวว่า ส่วนด้วงตัวแก่ที่เข้ามาอาศัยภายในบ้าน หากเข้าหูอาจทำให้หูอักเสบ หรือเกิดโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ หรือผิวหนังจากกลิ่น เกล็ดและขนที่หลุดร่วง หรือหนามที่ขา นอกจากนี้ ยังสามารถนำโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งติดมาตามขาและลำตัวด้วย จึงขอแนะนำประชาชนหากพบจะต้องรีบกำจัดทันที โดยลดหรือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ด้วยการรักษาความสะอาดบ้านเรือน และบริเวณบ้านให้โล่งเตียน กำจัดเศษใบไม้ทับถม ส่วนเศษมูลสัตว์ที่จะทำเป็นปุ๋ยคอก ควรตากแดดให้แห้ง แล้วเก็บไว้ในถุงที่มิดชิดหรือนำไปใช้ใส่ต้นไม้ทันที
       
       “หากต้องการป้องกันและกำจัดไม่ให้ด้วงเข้าไปอยู่ในบ้าน ให้ต่อหลอดไฟนีออนห่างจากตัวบ้าน 5-10 เมตร สูง 2 เมตร เพื่อล่อด้วงตัวแก่ เพราะชอบเล่นไฟนีออนตอนกลางคืน โดยทำโคมสังกะสีโค้งๆ ครอบเหนือหลอดไฟ แล้ววางกะละมังบรรจุน้ำผสมผงซักฟอกแบบไม่ต้องมีฟองไว้บนพื้นใต้หลอดไฟ เมื่อฝูงด้วงเล่นไฟแล้วบินชนโคมไฟก็จะตกลงในกะละมัง เมื่อปีกเปียกน้ำผสมผงซักฟอกจะไม่สามารถไต่หรือบินขึ้นมาได้และจมน้ำตายในที่สุด” อธิบดี คร. กล่าว
       
       นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า แต่หากด้วงบุกเข้าไปอยู่ในบ้านแล้ว ให้ใช้ไม้กวาดและที่ตักผงกวาดรวบรวมตัวด้วงนำไปใส่ในกะละมังบรรจุน้ำผสมผงซักฟอกดังกล่าวเพื่อฆ่าฝูงด้วง แต่หากจะกำจัดแบบถาวรให้ใช้สารเคมีชื่อไพรีทรอยด์ ชนิดไซฟลูทริน (cyfluthrin) สูตรน้ำมันละลายน้ำ (สูตร EC) ผสมกับน้ำแล้วนำไปฉีดพ่นใส่ตัวด้วง หรือพื้นผิวที่ด้วงอาศัย เพื่อฆ่าระยะตัวหนอน โดยพ่นในปริมาณ 50 มิลลิลิตรต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตร แต่หากจะพ่นตามผนังอาคารที่ด้วงเคยเกาะให้ใช้สูตรผงละลายน้ำ (สูตร WP) ทั้งนี้ ฤทธิ์ของสารเคมีดังกล่าวเมื่อถูกตัวด้วงจะทำให้ด้วงตายภายใน 24 ชั่วโมง มีฤทธิ์ตกค้างบนผนังอาคาร 6 เดือน ด้วงจะได้ไม่มาเกาะอีก แต่สารดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง พ่นซ้ำได้ทุก 6 เดือน หาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์การเกษตรทั่วไป



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)