แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น
@ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก
ฐิตา:
๗๔. ๒ สมบูรณ์แบบ
เณรน้อยรูปหนึ่งนั่งร้องไห้อยู่กับพื้น และที่พื้นมีกระดาษที่เขียนแล้วทิ้งเต็มไปหมด
พระอาจารย์จึงถามว่า “เป็นอะไรไปล่ะ?”
“เขียนได้ไม่ดี”
พระอาจารย์จึงหยิบกระดาษขึ้นมาดู
“เขียนได้ไม่เลวนี่ ทำไมถึงต้องโยนทิ้ง แล้วร้องไห้ทำไม” พระอาจารย์ถาม
“ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเขียนได้ไม่ค่อยดี” เณรน้อยยังคงร้องต่อไป
“ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ชอบทำอะไรให้ดีพร้อม พลาดแม้แต่นิดเดียวก็ไม่ได้”
“ปัญหาก็คือ ผู้คนในโลกนี้ มีใครที่จะไม่ผิดแม้แต่นิดเดียวล่ะ?”
พระอาจารย์ตอบแล้วตบหลังเณรน้อยเบาๆ แล้วพูดว่า
“เจ้าต้องการแต่ความดีพร้อม พอพลาดอะไรเล็กน้อยก็รู้สึกเคือง
ก็จะร้องไห้ ลักษณะอย่างนี้ก็ไม่ใช่ความดีพร้อมแล้ว”
ฐิตา:
๗๔. ๓ รักสะอาด
เณรน้อยก้มลงเก็บกระดาษบนพื้นขึ้นมาจนหมด แล้วก็ไปล้างมือ
ส่องกระจก ล้างหน้า ถอดจีวรมาซักแล้วซักอีก
“เจ้าทำอะไร? ซักแล้วซักอีก เสียเวลาไปตั้งครึ่งวันแล้ว” พระอาจารย์ถาม
“ข้าพเจ้ารักสะอาด ทนไม่ได้ที่จะมีสิ่งสกปรกแม้แต่นิดเดียว
พระอาจารย์ไม่ได้สังเกตหรือว่า หลังจากที่โยมๆทั้งหลายกลับไปแล้ว
ข้าพเจ้าจะต้องเช็ดเก้าอี้ที่โยมๆนั่งแล้วทุกตัว”
“อย่างนี้เรียกว่ารักสะอาดหรือ? เจ้าคิดแต่จะตำหนิฟ้าสกปรก
ดินสกปรก คนสกปรก ภายนอกแม้จะดูสะอาด
แต่ในจิตกลับผิดปกติ ไม่ใช่การรักความสะอาดแล้ว
ฐิตา:
๗๔. ๔ บิณฑบาต
เมื่อเณรน้อยจะออกบิณฑบาต ตั้งใจเลือกสวมใส่จีวรที่เก่าและขาด
“ทำไมถึงเลือกชุดนี้” พระอาจารย์ถาม
“ท่านเคยบอกว่าไม่ต้องสนใจรูปลักษณ์ภายนอกไม่ใช่หรือ?
ดังนั้นข้าพเจ้า จึงเลือกชุดที่เก่าและขาด และเพื่อจะได้ให้ญาติโยมเห็นใจ
จะได้บริจาคเงินเยอะๆ”
“เจ้าไปบิณฑบาตหรือไปขอทาน เจ้าหวังจะให้ผู้อื่นสงสาร บริจาคทาน
หรือหวังให้ญาติโยมเห็นว่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หวังจะให้ท่านเป็นเนื้อนาบุญ”
ฐิตา:
๗๔. ๕ มีชีวิตอยู่อย่างดี
ในวันที่อากาศร้อน ดอกไม้รอบๆบริเวณวัดโดนแดดจนแห้งเหี่ยวไปหมด
“แย่แล้ว ต้องรีบรดน้ำแล้ว”เณรน้อยอุทานแล้วรีบยกถังน้ำมา
“อย่าเพิ่งใจร้อน ตอนนี้พระอาทิตย์กำลังส่องแสงอยู่ เดี๋ยวเย็น
เดี๋ยวร้อน ต้นไม้ตายแน่ต้องรอให้เย็นกว่านี้ถึงจะรดน้ำได้”
ช่วงเย็น ต้นไม้เหล่านั้นเหมือนกับผักตากแห้ง เณรน้อยเลยบ่น
พึมพำๆว่า “ป่านนี้คงตายหมดแล้ว รดน้ำยังไงก็คงไม่รอด”
“บ่นให้น้อยหน่อย รดน้ำไปเถิด “ พระอาจารย์สั่ง
ไม่นาน ต้นไม้ที่ดูแห้งเหี่ยว เหมือนกับฟื้นชีพขึ้นมาใหม่ที่ดูสดใสกว่าเดิม
“โอ้ พวกมันนี้เก่งจริงๆ อดกลั้น ค้ำอยู่ตรงนั้นไม่ยอมตาย”
“เหลวไหล ไม่ใช่ค้ำอยู่ตรงนั้นไม่ยอมตาย แต่คือการมีชีวิตอยู่อย่างดี”
“แล้วมันจะต่างกันอย่างไร” เณรน้อยถาม
“ไม่เหมือนกันแน่นอน ข้าขอถามเจ้า ปีนี้ข้าอายุแปดสิบกว่าแล้ว
ข้าค้ำไว้ไม่ยอมตาย หรือว่ามีชีวิตอยู่อย่างดี?”
หลังจากทำวัตรเย็นแล้ว พระอาจารย์ถามเณรน้อยว่า
“เป็นยังไง คิดตกลงยัง?”
“ยังครับ” พระอาจารย์ตบหลังเณรน้อยเบาๆแล้วพูดว่า
“เด็กโง่ คนที่กลัวตายตั้งแต่เช้ายันค่ำ เป็นการค้ำไว้ไม่ยอมตาย
คนที่มองไปข้างหน้าทุกวัน เป็นการมีชีวิตอยู่อย่างดี
มีชีวิตอยู่มาอีกวัน ก็ใช้ชีวิตหนึ่งวันนั้นอย่างคุ้มค่า
พวกที่มีชีวิตอยู่ แต่เพราะกลัวตายจึงไหว้พระสวดมนต์
หวังจะให้ตายแล้วกลายเป็นพุทธะ ไม่มีทางได้เป็นพุทธะ”
ฐิตา:
๗๔. ๖ ฟ้าดินก็คือวัด
หลังจากที่พระอาจารย์มรณภาพแล้ว เณรน้อยนั้นก็ได้กลายเป็นเจ้าอาวาส
ท่านมักจะครองจีวรอย่างเรียบร้อย ถือหีบยาแล้วไปในที่ๆสกปรกและยากจนที่สุด
เพื่อช่วยคนไข้เช็ดแผลเปลี่ยนยา แล้วกลับวัดด้วยจีวรที่เปรอะเปื้อนไปหมด
ท่านมักจะออกไปบิณฑบาตด้วยตนเอง แต่เมื่อมือขวารับเงินบริจาคมา
มือซ้ายท่านก็ส่งมอบไปช่วยเหลือคนยากไร้ ท่านมักจะไม่ค่อยอยู่ที่วัด
แล้วก็ไม่เคยก่อสร้างวัดเพิ่มเติม แต่มีศาสนิกชนศรัทธาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ท่านกล่าวว่า “ขณะที่พระอาจารย์มีชีวิตอยู่ ท่านสอนว่า อะไรคือสมบูรณ์แบบ
สมบูรณ์แบบคือขอให้โลกนี้ดีพร้อม
อะไรคือ รักสะอาด รักสะอาดคือช่วยเหลือคนที่ไม่สะอาด ให้สะอาดขึ้นมา
ท่านยังชี้แนะเรื่องการบิณฑบาต คือการช่วยให้คนจับมือกัน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างบุญสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
อะไรคือวัด วัดไม่จำเป็นต้องอยู่บนเขา แต่ควรอยู่ในหมู่มนุษย์
ทิศเหนือใต้ออกตก ก็เป็นที่ๆจะแสดงธรรมได้
ที่ไหนๆก็เป็นวัดของข้า”
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชาวนาคนหนึ่งมีธุระจะต้องเดินทางไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง
ขณะที่เดินทางรอนแรมอยู่กลางป่าพบว่า การจะไปอีกหมู่บ้านหนึ่งนั้น
จะต้องข้ามแม่น้ำ หรือไม่ก็ปีนข้ามเขาสูงไป
ขณะที่กำลังคิดว่าจะข้ามแม่น้ำไปดีหรือจะปีนเขาดี
พลันก็เห็นต้นไม้ใหญต้นหนึ่ง จึงใช้ขวานที่นำติดตัวมาโค่นต้นไม้นั้นลงมา
แล้วก็ทำเป็นเรือชาวนาคนนั้นรู้สึกดีใจมาก
และนึกชมเชยถึงความสามารถของตัวเองอยู่ในใจ
แล้วก็นั่งเรือนั้นข้ามฟากไป
เมื่อข้ามฝั่งไปได้ ชาวนานั้นรู้สึกว่าเรือนี้มีประโยชน์มาก ถ้าหากทิ้งไว้ที่นี่ คงจะ
น่าเสียดาย และหากข้างหน้ามีแม่น้ำอีก ก็คงจะต้องตัดต้นไม้ทำเรืออีก กว่า
จะต่อเรือเสร็จ ต้องเสียแรงและเวลาอีกไม่น้อย ชาวนานั้นจึงตัดสินใจแบก
เรือนั้นติดตัวไปด้วย เผื่อจะได้ใช้ยามต้องการ
ชาวนาแบกเรือนั้นด้วยความเหน็ดเหนื่อยและมีเหงื่อท่วมตัว
ทำให้ยิ่งเดินยิ่งช้าลงเรื่อยๆ เพราะเรือนั้นหนักเหลือเกิน
และกดทับทับเขาจนแทบจะหายใจไม่ออก
ชาวนานั้นเดินไปพักไป บางทีก็คิดจะทิ้งเรือนั้นไป แต่อีกใจหนึ่งก็รู้สึกเสียดาย
คิดในใจว่า “แบกมาตั้งไกลแล้ว แบกต่อไปเถิด บางทีถ้าเจอแม่น้ำอีก ก็จะได้ใช้
และแล้ว ขณะที่แบกจนเหงื่อท่วมตัว จนถึงใกล้จะมืดค่ำ เพิ่งจะรู้สึกว่า หนทางที่
เดินผ่านมาเป็นทางที่ราบเรียบ จนถึงอีกหมู่บ้านก็ไม่เห็นมีแม่น้ำอีก การแบกเรือ
มาด้วย ทำให้เขาต้องเสียเวลาเดินทางเพิ่มขึ้นอีกเป็นสามเท่า
มนุษย์เราไม่มีใครจะรู้ล่วงหน้าได้ว่า เส้นทางเดินของชีวิตตัวเองจะเป็นทางที่
ราบเรียบ หรือขรุขระ หรือจะพบกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราด หรือว่าจะต้อง
ปีนขึ้นไปบนภูเขา แต่ไม่ว่าทางเดินชีวิตจะเป็นเช่นใด เราก็จำเป็นจะต้องเลือกวิธีที่
ทำตัวตามสบาย เดินไปอย่างมีความสุข หรือจะแบกเรืออันหนักอึ้งไปด้วย
บางครั้งสภาวะจิตของเราที่พบกับเหตุการณ์ต่างๆ ก็เหมือนกับการแบกเรือ
ลำหนึ่งไว้ การแบกอย่างนั้นก็เหมือนกับการผูกมัด เราจำเป็นต้องวางลงเสียบ้าง
เพื่อให้จิตได้พบกับความเบิกบาน ความสบาย ความปลดปล่อย เดินไป
บนทางเดินชีวิตอย่างสบายใจและมีความสุข
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version