แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น

@ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก

<< < (14/31) > >>

ฐิตา:



๖๑.๕ ปัญญาที่ปล่อยวางจิต

ทุกครั้งที่เรามองกระจก เราหวังจะได้เห็นตัวเองเป็นคนที่...
... พิเศษมาก.. คนหนึ่ง...
และไม่อยากเห็นเป็นเช่นคนทั่วไป ที่มีแต่ความทุกข์กังวล
เราหวังว่าจะได้เห็นคนที่มีแต่ความสุข
แต่ก็ได้เห็นแต่คนที่ดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่อย่างลำบากยากเย็น

ในความคิดของเราคิดว่าตัวเองเป็นคนมีเมตตา
แต่มองไม่เห็นความเห็นแก่ตัวของตัวเอง เราอยากจะให้ตัวเองดูสง่ามีราศี
แต่ความเย่อหยิ่งของเราทำให้เรากลายเป็นคนหยาบ
เราอยากเห็นคนที่เข้มแข็งไม่ยอมแพ้
แต่ได้เห็นแต่คนที่ล่วงเลยวัยไปกับกาลเวลา
ที่ทำให้กลายเป็นคนที่เมื่อยล้าและอ่อนแอ และกลายเป็นคนแก่ ป่วย และตาย

ช่องว่างระหว่างความหวังและความจริงที่เกิดขึ้นมา ทำให้
จิตวิญญาณของเราเจ็บปวดอย่างมหันต์ ปล่อยวางไม่ได้กับมายา
ที่หลอกว่าเป็นตัวเราของเรา
การจะเห็นตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ต้องอาศัยความกล้า
เป็นอย่างมาก และนั่นคือหนทางเดินของนักภาวนา

การจะภาวนาต้องเริ่มต้นจากการพิจารณาตนเอง จิตของเรา
เหมือนภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ความคิดที่มีต่อความเป็นไปต่างนานา
และความเป็นไปของโลก ก็เป็นเพียงมายา รวมทั้งการเวียนว่ายตายเกิด
หรือนิพพานก็เพียงส่วนหนึ่งของบทภาพยนตร์
หากเราสามารถที่จะมองชีวิตตัวเองเหมือนภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง
ก็จะทำให้จิต ปล่อยวาง ได้อย่างสบายๆ
ชื่นชมกับการดำเนินเรื่องของบทบาทแต่ละตอน
และสามารถมองทะลุถึง แก่นแท้ของความเป็นจริง ให้จิตดำเนินไป
ตามครรลองของธรรมชาติ




ไก่ป่าครอบครัวหนึ่ง หนีการไล่ล่าของผู้บุกรุกทำลายป่า
และก็ต้องหนีการไล่ล่าตลอดเวลาไม่ว่าจะหนีไปอยู่ตรงไหน
เพราะจากความเชื่อของผู้คนที่ว่า
เนื้อไก่ป่าเป็นยาและเป็นของบำรุงชั้นยอด

ที่สุดก็มาอยู่ในที่รกร้างใกล้สวนของผู้อารีแห่งหนึ่งในเขตชานเมือง
แต่ยังไงก็หนีการไล่ล่าไม่พ้น ผู้คนที่ได้ยินเสียงขันในช่วงเช้าแล้ว
ต่างลือกันไปทั่วว่า มีไก่ป่ามาอยู่ในบริเวณนั้น จึงทำให้มีผู้จะมาไล่ล่าทุกวัน

แต่น้องสาวเจ้าของสวนมักจะมาคอยกีดกันไม่ให้ผ่านสวนเข้าไป
ประจวบกับความไวและสัญชาติญาณของไก่ป่าเองที่ไม่ค่อยไว้ใจใคร
จึงทำให้หนีรอดไปได้ทุกครั้ง จนผู้คนยอมแพ้ และไม่มารบกวนอีก
ไก่ป่าครอบครัวนั้น จึงอยู่อย่างสงบสุขตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทุกๆเช้าไก่ป่า จะร้องขันส่งเสียงกังวานไปทั่ว
ความไพเราะของน้ำเสียงไก่ป่าผู้เป็นลูกสาว ได้แว่วเข้าหู..
..ไก่บ้านตัวผู้ตัวหนึ่ง ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
ทันทีที่ได้ยินเสียงขันของไก่ป่าสาวนั้น ก็รู้สึกนึกรักขึ้นมาทันที

นิยายรักของไก่ป่าและไก่บ้านจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทั้งสองส่งเสียงขับขานเป็นทำนองเพลงรักโต้ตอบกันไปมาทุกๆเช้า
ต่างเข้าใจความรักความผูกพันในกันและกัน

แต่อนิจจา ความรักที่ผิดเชื้อชาติ ผิดธรรมเนียมและประเพณี
ทั้งสองจึงเป็นได้เพียงเส้นขนาน ที่สามารถเดินเคียงคู่กันไปได้
แต่ไม่มีทางที่จะมาบรรจบเป็นเส้นเดียวกันได้

แม้จะเป็นเพียงเส้นขนาน แต่ทั้งสองก็สามารถเห็นกันได้
ส่งเสียงถ่ายทอดความรักและความรู้สึกถึงกันได้ ซึ่งก็จะคงเป็น
เช่นนี้ตลอดไป จนกว่ากาลเวลาและอนิจจังของชีวิต
มาพลัดพรากทั้งสองให้จากกันไปคนละทิศทางตามวิถีทางของตน

เรื่องนี้เขียนจากเหตุการณ์และสถานที่จริง
อาจจะดูแปลกๆไปบ้าง
ต้องขออภัยและให้โอกาสกับมือใหม่หัดเขียนด้วยค่ะ




ข้อคิดจากนก
1. เมื่อนกเริ่มกระพือปีกที่จะบิน พวกที่ต่อแถวตามมาจะมีอากัปกิริยาดัง
เหมือนมีกลองที่ดังบรรเลงขึ้นเพื่อกระตุ้นเตือนให้รู้ว่าเริ่มมีการแสดงแล้ว
เมื่อฝูงนกเรียงแถวเป็นรูปตัว V จะมีพละกำลังเพิ่มจากการบินเดี่ยวถึง
เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ข้อคิด หากเราร่วมเดินทางกับผู้ที่มีอุดมการณ์ในแนวเดียวกัน ก็จะสามารถ
ไปได้เร็วขึ้น และถึงจุดหมายปลายทางได้ง่ายขึ้น เพราะเราสามารถช่วยเหลือ
จุนเจือซึ่งกันและกันได้

2. ไม่ว่าเวลาไหน เมื่อนกตัวใดตัวหนึ่งพลัดหลงไปจากฝูง มันจะรับรู้ได้ทันทีว่า
มีพลังต่อต้านอย่างหนึ่งไม่ให้จากฝูงไป และอาศัยแรงประคองที่ส่งมาจากนกอีกตัว
มันจะกลับมาเข้ากลุ่มได้อย่างรวดเร็ว

ข้อคิด หากเราฉลาดได้เหมือนนก เราก็จะยินดีที่จะอยู่ร่วมกับกลุ่มคนที่มี
อุดมการณ์เดียวกับตนเอง พร้อมกับยินดีรับความช่วยเหลือจากผู้อื่น
และก็ยินดีจะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเช่นกัน



3. เมื่อนกที่เป็นหัวหน้าเหนื่อยแล้ว มันจะถอยกลับไปรวมกลุ่ม
แล้วให้นกตัวอื่นนำหน้าแทน

ข้อคิด เมื่อประสบปัญหาในการทำงาน ผลัดเปลี่ยนและแบ่งปันการ
เป็นผู้นำบ้างก็เป็นสิ่งที่จะทำได้ เพราะเรายังมีความจำเป็นในการพึ่งพา
อาศัยซึ่งกันและกัน

4. นกตัวที่อยู่ด้านหลัง จะร้องส่งเสียงเป็นแรงเชียร์ให้ตัวที่อยู่ข้างหน้า
มุ่งหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ

ข้อคิด เราจำเป็นต้องคิดว่าเสียงเบื้องหลังที่ส่งเสียงมา เป็นเสียงที่เชียร์
ให้มุ่งมั่นไปข้าง และไม่คิดว่าเป็นเสียงอื่นใด

5 . เมื่อนกในกลุ่มเป็นไข้หรือได้รับบาดเจ็บ จะมีนกสองตัวมาช่วยเหลือและคุ้มครอง
นกสองตัวนี้จะอยู่เคียงข้างตลอดเวลา จนมันแข็งแรงหรือตายไป หลังจากนั้นนกสอง
ตัวนั้นจะบินพร้อมกันไปเป็นกลุ่มย่อย หรือตามไปให้ทันกับกลุ่มเดิม

ข้อคิด หากเราฉลาดเหมือนนก เราก็จะรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาแห่งความลำบากหรือช่วงที่ยังแข็งแรงอยู่
ความทุกข์ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการไม่ยอมรับความจริงที่เปลี่ยนแปลง
ความทุกข์ของมนุษย์ส่วนมาก มักเกิดจากต้องการเปลี่ยนแปลงแต่เปลี่ยนไปไม่ได้
หรือไม่ต้องการ การเปลี่ยนแปลง แต่กลับเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น




ถามว่าการให้อภัยในความผิดพลาดของคนๆหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทำยากหรือง่าย
คำตอบคือ ทำง่าย หากเราฝึกหัดทำเป็นประจำ

ขอให้เราฝึกเสมอๆว่า ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรกับเรา ขอให้เราฝึกให้อภัยทุกวัน
ทำเหมือนที่เราแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ ขอให้เราทำทุกครั้ง ทำทุกวินาที
ทำเหมือนกรวดน้ำให้หลังทำบุญ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่

เมื่อเราสร้าง ”อภัยทาน” ให้เป็นลักษณะนิสัยตลอดเวลาได้แล้ว
เราจะรู้สึกว่าการให้อภัยแก่ใครนั้น เป็นเรื่องง่ายดาย เป็นเรื่องธรรมดาๆ
คือทำได้โดยไม่ต้องฝืนใจทำ

ขอให้เราทราบไว้ว่า เมื่อเราหัดสร้าง “อภัยทาน”เป็นปกติแล้ว
เศษกรรมต่างๆแทนที่จะติดตามเราไปข้ามภพข้ามชาติ
ก็จะถูกสลัดออก คือตามไปไม่ได้ เพราะมิได้เป็นกรรมอีกต่อไป
หากแต่เป็นแต่เพียงกิริยาที่แสดงออก เพราะเราให้อภัยเสียแล้ว



เมื่อเราให้อภัยเสียแล้ว ใครๆที่ผูกอาฆาตพยาบาทเราไว้ แรงพยาบาท
ของเขา ก็จะหมดโอกาสติดตามเรา เพราะกรรมนั้นหมดแรงส่ง
เนื่องจากเราได้ “อโหสิ” เสียแล้ว

จึงขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มาฝึกปฏิบัติ “อภัยทาน” และ “อโหสิกรรม”
ตั้งแต่บัดนี้เถิด เพื่อยุติสนิมในใจ คือความอาฆาต พยาบาท เพื่อยุติแรงส่ง
ของกรรม ที่ตามไปเผล็ดผลอันเผ็ดร้อนข้ามภพข้ามชาติ

พึงหลับตาให้ใจสงบครู่หนึ่งก่อน แล้วตั้งใจกล่าวคำแผ่เมตตาเบาๆ ดังนี้

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
อเวรา โหนตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ จงเป็นผู้มีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญฯ

ที่มา หนังสือเรื่อง อภัยทาน รักบริสุทธิ์ โดย ปิยโสภณ วัดพระราม๙ กาญจนาภิเษก

ฐิตา:

         

๖๑. ๖ จดหมายจากดวงดาวถึงนายต้นไม้

นายต้นไม้ที่รัก
ฉันเป็นเพียงกลุ่มก้อนหินที่รวมตัวกัน ไม่มีแม้แต่แสงสว่างในตัวเอง
ที่มองดูสุกสกาววาววับ กระพริบไปมาอย่างเป็นสุข ก็เพราะได้แสงสว่าง
จากดวงอาทิตย์ และก็เป็นสภาพที่เป็นอยู่ได้ไม่นาน ก็ต้องร่วงหล่น
ไปตามวาระ กลายเป็นเศษดาวตกจากฟากฟ้าไป

ถ้าฉันเล่าความเป็นมาระหว่างเราแล้ว นายก็คงจะเข้าใจความผูกพัน
และความเป็นไประหว่างเราได้ดีขึ้น

หลายพันปีก่อน นายเป็นอำมาตย์ใหญ่อยู่ในวัง ด้วยความคึกคะนอง
และหลงในความสามารถของตัวเอง จึงถูกย้ายไปอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ
แต่นายก็เป็นคนเก่งรอบด้านเลยนะ ทั้งแต่งหนังสือ เขียนบทกลอน
เล่นดนตรี พิณลายจิ้งจกเป็นพิณที่นายรักมากที่สุด ถึงกับแต่งกลอน
บรรยายความรักและความรู้สึกที่มีต่อพิณนี้เลยทีเดียว



นายเป็นคนรักสนุก คึกคะนองหลงตัวเอง ชอบเสียดสีผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว
แต่ส่วนดีที่สุดของนายคือใฝ่ธรรมะชอบสนทนาธรรมกับพระภิกษุเป็นประจำ
แต่งานเขียนของนายก็ค่อนข้างหมิ่นเหม่อยู่เหมือนกัน ซึ่งหลายๆท่าน
อาจไม่พอใจ หรือบอกว่าไม่ถูกต้อง

ชีวิตราชการของนายต้องย้ายไปอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ จนในที่สุดก็ได้พบ
กับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง นายสนิทสนมและผูกพันกับพระอาจารย์ท่านนี้มาก
เรียกว่าทุกครั้งที่มีเวลาว่าง จะต้องไปหาทันที ทั้งๆที่ระยะทางก็ไม่ใช่ใกล้ๆ
ไปถึงก็สนทนาธรรมบ้าง เล่นพิณบ้าง กึ่งเล่นกึ่งหยอกล้อพระอาจารย์เป็นประจำ
วันไหนได้หยอกล้ออย่างสนุกถึงใจ ถึงกับดีใจออกนอกหน้าเมื่อกลับถึงบ้าน
ยังมีรายละเอียดอีกมากมายซึ่งคงจะเล่าไม่หมดในที่นี้

         

แต่ความอาฆาตที่ฝังลึกโดยที่นายไม่รู้ตัวคือ ครั้งหนึ่งนายเดิมพันกับพระอาจารย์
ด้วยเข็มขัดหยก แต่นายแพ้เดิมพัน ถึงกับต้องเสียเข็มขัดสุดรักสุดหวงไปเลย
ครั้งนั้นนายรู้สึกเสียหน้ามาก เพราะเดิมพันต่อหน้าฝูงชนที่มาปฏิบัติธรรมด้วยกัน

มีเรื่องหนึ่งที่อยากขอเตือนคือ เมื่อนายอายุจะเข้าเลขสี่ สุขภาพนายจะเริ่มเสื่อมถอย
จนเห็นได้ชัดและรู้สึกได้ แต่ความเจ็บป่วยและสุขภาพที่ไม่ดี จะทำให้นายเข้าใจ
สัจธรรมของชีวิตได้เป็นอย่างดี ในอดีตนายเป็นทุกข์เพราะสุขภาพอย่างแสนสาหัส

เล่ามาถึงตอนนี้ นายคงจะรู้แล้วซินะ ในอดีต ใครคือนาย ใครคือฉัน
ยังมีเรื่องเล่าอีกมากมาย ซึ่งต่อไป นายอาจจะรู้เห็นได้ด้วยตัวเองก็เป็นได้
จาก
ดวงดาวที่อยู่ไกลโพ้นนั้น

       

ฐิตา:


   

๖๑.๗ ผู้เปิดประตูนั้นยังเหมือนเป็นผู้ปิดประตู

หวางหยังหมิง (1472-1529) เป็นนักปรัชญาและนักการศึกษา
ครั้งหนึ่งได้ไปที่วัด จินซานเพื่อไปไหว้พระ รู้สึกว่า คุ้นเคยกับสถานที่
และสภาพแวดล้อมภายในวัดเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ต้นไม้และต้นหญ้าก็
เหมือนกับเคยรู้จักกันมาก่อน

ขณะที่เดินผ่านห้องๆหนึ่งเห็นมีกระดาษปิดหน้าห้องไว้เหมือนกับบอกให้รู้ว่า
ห้องนี้ปิดตาย เขามองซ้ายมองขวาไปมาก็เหมือนกับเคยอยู่ที่นี่มาก่อน
ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่า ข้างในมีอะไรบ้าง จึงขอให้ท่านเจ้าอาวาส
ช่วยเปิดห้องให้ดู แต่ท่านเจ้าอาวาสปฏิเสธแล้วพูดว่า
“ต้องขออภัย ห้องนี้เป็นห้องที่พระอาจารย์ท่านหนึ่งมรณภาพเมื่อห้าสิบปีก่อน
ข้างในเป็นที่เก็บศพของท่าน ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ท่านสั่งไว้ว่า ให้ปิดตายห้องนี้
ต้องขออภัยท่านจริงๆ เปิดให้ท่านดูไม่ได้”



“ห้องนี้มีทั้งประตูและหน้าต่าง ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะบอกว่าเปิดไม่ได้ตลอดไป
วันนี้ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ก็ขอให้ท่านเมตตาช่วยเปิดให้ดูสักครั้งเถิด”
      หวางหยางหมิงวิงวอนร้องขออยู่นาน จนท่านเจ้าอาวาสทนรบเร้าไม่ไหว
จึงเปิดให้อย่างฝืนทนเต็มที ช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาเย็น แสงอาทิตย์สาดส่อง
ไปที่ศพพระอาจารย์ที่ยังนั่งสมาธิอยู่ โดยที่ร่างยังไม่เน่าเปื่อย

หวังหยางหมิงรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งที่หน้าตาของพระอาจารย์ท่านนั้น
คล้ายกับตัวเองไม่มีผิด มองเลยขึ้นไปที่กำแพง ยังเห็นบทกลอนเขียนไว้ว่า

ห้าสิบปีผ่านไปหวังหยางหมิง
ผู้เปิดประตูยังเหมือนเป็นผู้ปิดประตู
จิตวิญญาณลับแล้วย้อนหวนคืน
ยังเชื่อว่าชาวเซนนี้ร่างไม่เน่า

ที่แท้ชาติก่อนของหวางหยังหมิงคือพระอาจารย์ที่นั่งสมาธิแล้ว
มรณภาพแล้วนั่นเอง ในกาลก่อนเป็นผู้ปิดประตู วันนี้ยังเป็นผู้มาเปิดประตู
ด้วยตนเอง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันให้กับชนรุ่นหลัง
และหวังหยางหมิงยังได้เขียนบทกลอนไว้ที่วัดจินซาน ซึ่งยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้



ฐิตา:

         

๖๑.๘ หมั่นนึกถึงส่วนดีไว้

มีคำพังเพยบทหนึ่งกล่าวว่า
“เรื่องราวไม่สมหวังในชีวิตคนเรา มีมากถึงแปดถึงเก้าในสิบส่วน”
ในชีวิตของคนเรามีเรื่องราวที่ไม่สมหวัง มากเกินกว่าครึ่งของความสมหวัง
ด้วยเหตุนี้ การมีชีวิตอยู่จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเจ็บปวด แต่เมื่อหักความไม่
สมหวังออกแล้ว อย่างน้อยก็ยังมีอีกหนึ่งหรือสองส่วนซึ่งเป็นความสมหวัง
เป็นความสุข เป็นความปลาบปลื้ม

หากเราอยากมีความสุข ก็ต้องหมั่นนึกถึงเรื่องดีๆของหนึ่งหรือสองส่วนนั้น
คิดอย่างนั้นจะรู้สึกความโชคดี และรู้จักถนอมสองส่วนนั้นไว้
ไม่ถูกแปดหรือเก้าส่วนนั้น โค่นจนล้มลง

เมื่อผ่านความเจ็บปวดและอุปสรรคในชีวิตไปแล้ว
ผ่านความรู้สึกของการพบแล้วพรากแล้ว
ก็ค่อยๆแสวงหาสิ่งที่เคยขวนขวายมาในชีวิต
สิ่งที่เป็นความสุข เป็นความคิดอ่านที่ถูกต้อง

ความคิดลักษณะนี้คือ
ความคิดหนึ่งกับสองส่วนที่ดีที่ต้องคิดบ่อยๆ

ความคิดหนึ่งกับสองที่ต้องคิดบ่อยๆ เป็นแสงสว่างลำเดียวที่จะแสวงหาได้
ในเมฆหมอกที่หนาทึบ และยังเป็นสิ่งที่เงียบสงบในห้วงกิเลสใหญ่น้อยทั้งหลาย
และยามเมื่อลมหายใจติดขัด จะได้หายใจยาวๆสักครั้ง

ชีวิตก็ทุกข์แสนสาหัสอยู่แล้ว หากเราเรานำสิ่งที่ไม่สมหวังที่ผ่านมาเป็นสิบปีมา
รวมกัน ย่อมจะนำความเป็นอยู่และความรู้สึกเข้าไปอยู่ในห้วงทุกข์
เป็นการเพิ่มทุกข์เข้าไปในทุกข์อีก

เรือชีวิตที่เดินไปท่ามกลางคลื่นที่ถาโถมเข้ามา
ต้องรู้จักวิธีที่จะเผชิญกับความทุกข์
ยามเมื่อความทุกข์เข้ามาเยือน หากยังคงดำรงไว้ซึ่งความคิดที่ถูกต้อง
หมั่นนึกถึงส่วนดีหนึ่งและสอง ก็จะสามารถผ่านพ้นทุกข์ไปได้
ความทุกข์ยากจะกลายเป็นปุ๋ยบำรุงชีวิตที่ดีที่สุด
และปัญญาย่อมจะบังเกิดในที่


ฐิตา:



๖๑.๙ ยืนหยัดอยู่ในคุณค่าของตัวเอง

มีลูกศิษย์คนหนึ่งมักจะคอยถามพระอาจารย์ด้วยคำถามเดิมๆทุกวัน
“อาจารย์ครับ อะไรคือคุณค่าของชีวิตที่แท้จริงครับ?”
วันหนึ่งพระอาจารย์นำก้อนหินก้อนหนึ่ง แล้วพูดกับศิษย์ว่า
“เจ้าจงนำก้อนหินก้อนนี้ไปขายที่ตลาด แต่ไม่ต้องขายจริงๆหรอกนะ
เพียงแต่ให้คนตีราคาก็พอ แล้วคอยดูว่า แต่ละคนจะตีราคาก้อนหิน
ก้อนนี้สักเท่าไร?”

ลูกศิษย์นั้นจึงนำก้อนหินไปขายที่ตลาด บางคนก็บอกว่าก้อนหินก้อนนี้
ใหญ่ดี สวยดีให้ราคาสองบาท บางคนก็บอกว่าก้อนหินก้อนนี้มาทำเป็น
ลูกตุ้มชั่งน้ำหนักได้ ก็ตีราคาให้สิบบาท ที่สุดแต่ละคนก็ตีราคาไปต่างๆ
นานา แต่ราคาที่ให้สูงสุดคือสิบบาท ลูกศิษย์รู้สึกดีใจ กลับไปบอกอาจารย์ว่า
“ก้อนหินที่ไม่มีประโยชน์อะไรนี้ ยังขายได้ถึงสิบบาท น่าจะขายออกไปจริงๆ”
อาจารย์พูดขึ้นว่า“อย่าเพิ่งรีบขายก่อน ลองพาไปขายในตลาดทองคำดู
แต่ก็อย่าขายออกไปจริงๆ”

ลูกศิษย์จึงนำก้อนหินก้อนนั้นไปขายในตลาดทองคำ เริ่มต้นมีคนตีราคาให้
หนึ่งพันบาท คนที่สองตีราคาให้หนึ่งหมื่นบาท สุดท้ายมีคนให้ถึงหนึ่งแสนบาท
ลูกศิษย์รู้สึกดีใจ รีบกลับไปรายงานพระอาจารย์ถึงผลพลอยได้ที่นึกไม่ถึง



พระอาจารย์กล่าวต่อไปอีกว่า “นำก้อนหินนี้ไปตีราคาที่ตลาดเพชร”
ลูกศิษย์จึงนำไปที่ตลาดค้าเพชร คนแรกให้ราคาหนึ่งแสน สองแสน
สามแสน ไปเรื่อยๆ เมื่อพ่อค้าเห็นไม่ยอมขายสักที จึงให้เขาตีราคาเอง
แต่ลูกศิษย์นั้นกล่าวว่า “พระอาจารย์ไม่ให้ขาย” จึงนำก้อนหินนั้นกลับไป
พูดกับพระอาจารย์ว่า “ก้อนหินก้อนนี้คนให้ราคาถึงเรือนแสนแล้ว”

“ใช่แล้ว ตอนนี้อาจารย์ไม่อาจสอนเจ้าถึงเรื่องคุณค่าของชีวิตเพราะ
เพราะเจ้ามองชีวิตของเจ้าเหมือนกับการตีราคาของตลาด คุณค่าของชีวิต
คนเรา ควรจะอยู่ในจิตใจของตนเอง ต้องมีสายตาของนักค้าเพชรที่เก่งที่สุด
เสียก่อน จึงจะมองเห็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตคนเรา”

คุณค่าของคนเรา ไม่ได้อยู่ที่ราคาที่อยู่ข้างนอก แต่อยู่ที่เราให้ราคาของตัวเอง
ราคาของเราทุกคนเป็นสิ่งที่ไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบ ยอมรับตัวเอง ฝึกฝนตัวเอง
ให้ช่องว่างกับตัวเองได้เติบโต พวกเราก็จะกลายเป็น “สิ่งที่มีค่าจนประเมินไม่ได้”
อุปสรรคทุกอย่างที่เกิดขึ้น ความปวดร้าวที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ความทุกข์ที่โหม
กระหน่ำ ก็มีความหมายอยู่ในตัวของมัน

         

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version