ผู้เขียน หัวข้อ: บุกไหว้หลวงพ่อคง เที่ยวอัมพวา รุกไปต่อที่บางคนที  (อ่าน 6636 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พระอุโบสถวัดบางแก้ว



เดินออกมากราบสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
และกราบขอบพระคุณทหารผู้กล้า ผู้ยอมพลีชีพเพื่อกอบกู้เอกราชให้กับประเทศไทย ขับไล่ทหารพม่าออกจากผืนแผ่นดินไทย รวบรวมความเป็นเอกราชสู่ผืนแผ่นดินไทย









นายทหาร(บางส่วน)คู่พระทัย

ด้านขวาของพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช









ด้านซ้ายของพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช









บรรยากาศ(ย้อนยุค) แสดงให้เห็นถึงการฝึกกำลังพลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช













ศาลวีรชน










.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
หลังจากออกมาจากวัดบางแก้ว

ผมก็เดินทางกลับบ้าน  พอผ่านวัดเกตุมดีศรีวราราม  ผมก็เลยแวะเข้าไปกราบพระ และไหว้องค์ท้าวเวสสุวรรณ  ปิดท้ายไหว้พระสำหรับวันนี้






วิหารด้านหน้าพระอุโบสถ











พระอุโบสถ



ทางขึ้นพระอุโบสถ



ภายในพระอุโบสถ





คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ด้านนอกพระอุโบสถ

ผมว่า ฐานพระอุโบสถ สร้างเหมือนเรือเลยครับ



ไปไหว้ท้าวเวสสุวรรณกันครับ







คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ไปกันต่อ

ไปกราบพระบรมธาตุเกตุมวดีย์กันต่อดีกว่า











บริเวณด้านนอกพระธาตุฯ









เข้าไปภายในพระธาตุฯ
ผมไปเป็นคนสุดท้าย  แม่ชีกำลังจะปิดพระบรมธาตุฯแล้ว แม่ชีก็เลยอนุญาตให้เข้าไปกราบพระบรมธาตุเป็นคนสุดท้ายสำหรับวันนี้







ท่านบัณฑูรสิงห์ธรรมบัณฑิต

รูปปั้นอยู่ในพระบรมธาตุฯ





รูปปั้นด้านนอก (อยู่หลังพระอุโบสถ)





ก่อนเดินทางกลับบ้าน  ผมฝากไว้ เผื่อท่านใดจะไปทำบุญกัน





ผมเองก็ร่วมทำบุญกฐินแล้วเช่นกัน

ขอให้มีความสุขสดชื่นในการรับชมภาพกันครับ

สวัสดีสำหรับทริปวันนี้ครับ

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เรื่อง ประวัติหลวงพ่อคง แห่งวัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม ตอนที่ 1

     "เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม " สวัสดีครับพี่ๆน้องๆที่ติดตามบทความเกี่ยวกับพระเครื่องกับผมเป็นประจำนะครับ วันนี้ทางร้านพระยอดนิยม (www.prayotniyom.com) เริ่มต้นมาก็พูดถึงคำขวัญประจำจังหวัดกันเลยนะครับ บางท่านอาจจะพอรู้กันแล้วใช่ไหมครับว่าเป็นคำขวัญประจำจังหวัดอะไร คำตอบก็คือเป็นคำขวัญประจำจังหวัดของจังหวัดสมุทรสงคราม นั้นเองครับ และบทความพระเครื่องในวันนี้ผมก็จะขอกล่าวถึงพระเหรียญและพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระเหรียญ ชื่อดังแห่งจังหวัดสมุทรสงครามนั้นก็คือ "พระเหรียญรุ่นแรก พ.ศ. 2484 หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม"
     ซึ่งมีคำกล่าวที่เป็นยืนยันได้จากท่าน สมเด็จวังบรูพา กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ที่กล่าวไว้ว่า "ถ้าสิ้นหลวงพ่อแก้วแล้วยังมีท่านวัดช่องลม ท่านวัดบางกะพ้อม เชื่อถือได้" ซึ่งหลวงพ่อแก้วในที่นี้ก็คือ หลวงพ่อแก้ว แห่งวัดพวงมาลัย นั้นเองครับ ซึ่งทางเว็บไซต์ร้านพระยอดนิยม ก็เคยเขียนบทความที่เกี่ยวกับ หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ไว้ใน เว็บไซต์แห่งนี้และนะครับ และส่วน "ท่านวัดช่องลม" ก็หมายถึง หลวงพ่อบ่าย แห่งวัดช่องลม ซึ่งทั้ง 3 ท่านนั้นก็เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองแม่กลอง นั้นเองครับ ต่อมาก็จะเข้าประเด็นที่เป็นที่มาของบทความพระเครื่องสำหรับวันนี้กันเลยนะครับทุกท่าน
     ประวัติหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยสังเขป
 หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน ปีพุทธศักราช 2408 หรือในปีคริสตศักราช 1865 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู ตำบลโรงหีบ อำเภอบางคนที จังหวัด สมุทรสงคราม โดยมีบิดาและมารดาชื่อ นายเกตุและนางทองอยู่ และต่อมาภายหลังมีการใช้นามสกุลกับต้นสกุลว่า "จันทร์ประเสริฐ"
     หลวงพ่อคง ท่านได้เข้ารับการบรรพชาครั้งแรก เมื่ออายุได้ 12 ปี โดยได้รับการส่งเสริมจากทั้งบิดาและมารดาของท่าน เป็นสามเณรที่ วัดเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และเมื่อท่านอายุได้ 19 ปี หลวงพ่อคงก็ได้ขอลาสิกขา กลับมาอยู่บ้าน เพื่อช่วยกิจการงานของบิดาและมารดาครับ
     ต่อมาเมื่อท่านอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หลวงพ่อคงท่านจึงได้ตัดสินใจขอลาบิดาและมารดาอีกรอบ เพื่อที่จะขอเข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดเหมืองใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช 2427 หรือในปีคริสตศักราช 1884 โดยหลวงพ่อ คงท่านได้พระอุปัชฌย์ คือ พระอาจารย์ด้วง และได้พระกรรมวาจารย์ เป็น พระอธิการจุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ และสุดท้ายพระอนุสาวนาจารย์ คือ พระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ และได้รับนามฉายาว่า "ธมมโชโต" อันแปลว่า "ผู้รุ่งเรืองโดย ธรรม" นั้นเองครับ
     โดยหลวงพ่อคงในเวลาต่อมาก็ได้เป็นครูสอนหนังสือขอม และวิชาการต่างๆซึ่งจากการสอนหนังสือนี้เองทำให้หลวงพ่อคงมีชื่อเสียงโด่งดังจนมีพระภิกษุสามเณร เช่น พระพรหมมุนี (ผิน) อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งอยู่ที่วัดเกตุการาม
     - พระครูปลัดนิพันธ์โพธิพงศ์ (จุ้ย) วัดอนงคาราม
     - พระราชประสิทธิคุณ (ทิม) วัดราชธานี
     - พระเทพวิมล (ชุ่ม) วัดทองนพคุณ
     - พระครูสมุทรวรคุณ (เคล้า) วัดบางขันแตก
     พายเรือมาเรียนกับหลวงพ่อคงครับ และแล้วเวลาของผมสำหรับบทความฉบับนี้ก็หมดลงอีกแล้วนะครับ ในครั้งหน้าผมก็จะกลับมาบอกเล่าประวัติของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงครามกันต่อนะครับ สำหรับ วันนี้ขอให้ทุกท่าน โชคดีและพบกันใหม่คราวหน้าครับ สวัสดีครับ

-http://www.prayotniyom.com/article_detail.php?id=67-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%87_%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%BA%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%95-

(คง ธมฺมโชโต)
หลวงพ่อคง , พระอุปัชฌาย์คง

เกิด    3 เมษายน พ.ศ. 2407
บรรพชา    พ.ศ. 2419
ลาสิกขา พ.ศ. 2426
อุปสมบท    สิงหาคม พ.ศ. 2427
มรณภาพ    6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
พรรษา    58
อายุ    78
วัด    วัดบางกะพ้อม
จังหวัด    สมุทรสงคราม
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์    อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม
พระอุปัชฌาย์คง

หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต (3 เมษายน พ.ศ. 2407 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งในอดีต ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจาก หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เหรียญที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ เหรียญทองแดงเป็นเหรียญยอดนิยมอันดับที่ 4 ของชุดเบญจภาคีเหรียญ ที่มีราคาสูงและหายากยิ่ง รองลงมาคือเหรียญรุ่นปาดตาลปี พ.ศ. 2486 เนื่อเงินลงยา ที่มีประสบการณ์สูงส่ง ขนาดมีดปาดตาลที่คมกริบยังไม่ระคายผิว [1]

ประวัติ

หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต ท่านเกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2407 ณ ตำบลบางสำโรง อำเภอบางคณฑี จังหวัดสุมทรสงคราม โยมบิดาชื่อ เกตุ โยมมารดาชื่อ นางทองอยู่ นามสกุลเดิมคือ จันทร์ประเสิรฐ เล่ากันว่าท่านเกิดในเรือนแพ ซึ่งเรือนหลังนี้มีอาถรรพ์ คือถ้าใครถือกำเนิดในห้องเล็กที่ใต้เรือน จะต้องเป็นผู้ชาย และครองเพศเป็นพระตลอดชีวิต ซึ่งหลวงพ่อทิม วัดเหมืองใหม่ก็เกิดในเรือนนี้เช่นเดียวกัน ก่อนหน้าหลวงพ่อทิมก็มีคนเกิดในเรือนหลังนี้ซึ่งดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน ต่อมาโยมบิดามารดาของหลวงพ่อคงได้ซื้อเรือนนี้มาอีกทอดหนึ่ง พออายุได้ 12 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เพื่อเล่าเรียนอักษรไทยและขอม ต่อมาเมื่อมีอายุได้ 19 ปี ท่านได้ลาสิกขาบทเพื่อไปช่วยบิดาและมารดาของท่านประกอบอาชีพ ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปี โดยบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2427 โดยมีพระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจุ้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พร้อมพระในที่ประชุมสงฆ์ 25 รูป เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้รับฉายาทางธรรมว่า ธมฺมโชโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองในธรรม[2]
ออกธุดงค์เพื่อศึกษาหาความรู้

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาคำภีร์มูลกัจจายซึ่งเป็นตำราเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยโบราณ มีความลึกซึ้งมากเต็มไปด้วยสูตรสนธิต่าง ๆ หลวงพ่อคงท่านศึกษาพระคำภีร์นี้กับพระอาจารย์นกซึ่งเป็นอุบาสกในละแวกนั้นเป็นเวลา 13 ปี จนมีความคล่องแคล่วสามารถแปลธรรมบทตลอดจนคำภีร์ต่าง ๆได้ นอกจากนี้หลวงพ่อคงท่านยังสนใจการศึกษาพระเวทย์วิทยาคม โดยท่านได้ศึกษากับปรมจารย์ชื่อดัง เริ่มแรกท่านได้ศึกษาคำภีร์นี้กับพระอาจารย์ด้วง ซึ่งท่านเชี่ยวชาญการลบผงวิเศษ เป็นที่นับถือในสมัยนั้น ท่านได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง ในยุคนั้นไม่มีใครรู้จักหลวงพ่อตาด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ที่มีวิทยาคมอันแก่กล้าโดยเฉพาะวิชานะปัดตลอดของท่านนับว่าเป็นยอด ขนาดที่ว่าสามารถเป่าศีรษะทะลุถึงกระดานนั่งได้ วิชานี้ หลวงพ่อทองสุข ก็ได้ไปรำเรียนมา หลวงพ่อคง ยังได้ไปศึกษากับหลวงพ่ออรุณ วัดช้างเผือกผู้เชี่ยวชาญในพระกัมฐาน ท่านนั่งสมาธิยามมรณภาพ พระสมัยก่อนเวลาใครจะออกรุกขมูลต้องไปขอให้หลวงพ่อคุมให้

ในพรรษาที่ 19 ท่านอาพาธจึงได่หยุดพักผ่อนไปศึกษาเล่าเรียน แต่ท่านหันมาสอนสมถะกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากรรมฐานให้กับลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ หลวงพ่อคง ท่านยังเอาใจใส่การดูแลก่อสร้างเสนาสนะ เนื่องจากหลวงพพ่อมีฝีมือในเชิงช่าง ในเบื้องต้นของหลวงพ่อได้ซ่อมแซมพอไตรที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพที่ดีขึ้น พร้อมกับนั้น ท่านได้สร้างปั้นพระป่าเลไลย์ด้วยฝีมือของท่านเอง
ในพรรษาที่ 21 ชาวบ้านได้อาราธนาหลวงพ่อคง ให้ไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ซึ่งในขณะนั้นในวัดบางกะพ้อมไม่มีวัดปกครองและวัดก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม หลวงพ่อท่านตกลงรับคำอาราธนา [3]

บั้นปลายชีวิต

หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต ท่านได้อาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากว่า ท่านมีงานอยู่หลายอย่างต้องทำเพราะเป็นกิจของสงฆ์ ทั้งผลงานการสร้างพระพุทธรูป การสร้างวัตถุมงคล จึงทำให้ท่านไม่ได้มีเวลาพักผ่อนเลย จนภายหลังเป็นเจ้าอาวาสบริหารวัดรับภาระมากแล้ว ในเดือน 4 ของทุก ๆ ปี ท่านจะไปปักกลดในป่าช้าข้างวัดเป็นเวลาราว 1 เดือน เรียกกันว่า “รุกขมูลข้างวัด” โดยถือว่าเป็นการชำระจิตใจให้สะอาดหลังจากมายุ่งกับเรื่องทางโลกเกือบทั้งปี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 ขณะท่านนั่งร้านเพื่อตกแต่งพระขนงพระประธานองค์ใหม่ เมื่อท่านสวมพระเกตุพระประธานเสร็จ ท่านก็เกิดเป็นลม แต่ก็มีสติดี เอามือประสานในท่านั่งสมาธิจนหมดลมถึงแก่มรณภาพในอาการอันสงบสมกับเป็นผู้ฝึกจิตมาดีแล้ว ศิษย์เห็นท่านนั่งอยู่นานจึงประคองร่างลงมาจากร่างร้าน จึงรู้ว่าท่านมรณภาพแล้ว รวมอายุได้ 78 ปี 58 พรรษา [4]
อ้างอิง

    ^ หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์ ทศพล จังพานิชยกุล
    ^ หนังสือ siam amulet
    ^ หนังสือนิตยสารท่าพระจันทร์
    ^ ประวัติหลวงพ่อคง ธมฺมโชโต


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร. 2)
-http://www.amphawatoday.com/t27King_Rama_II_park.htm-

เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไว้เป็นมรดกแก่ชาติ จนได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) บริเวณที่ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์นี้ พระราชสมุทรเมธี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามเป็นผู้น้อมเกล้าฯถวาย มีพื้นที่ประมาณ 11 ไร่ พื้นที่บริเวณนี้มีความสำคัญเพราะเป็นสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

ภายในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย  หลัง แบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น หอกลาง ภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 2 และจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น เครื่องเบญจรงค์ เครื่องถ้วย หัวโขน  ห้องชาย จัดแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา รวมทั้งแท่นพระบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ห้องหญิง แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ ห้องครัวและห้องน้ำ จัดแสดงลักษณะครัวไทยมีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชามและห้องน้ำของชนชั้นกลาง   

 นอกจากนี้ยังมีโรงละครกลางแจ้งและสวนพฤกษชาติเป็นสวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิดและมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง จำหน่ายพันธุ์ไม้  อุทยาน ร.2 ป็นสถานที่ๆมีความร่มรื่น เหมาะสำหรับเข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศแบบไทยที่ยังคงอนุรักษ์เอาไว้

อุทยานฯเปิดให้เข้าชมทุกวัน
โดยในวันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 08.30-17.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดเวลา 08.30-17.30 น.
ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 5 บาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.0 3475 1666
โทรสาร 0 3475 1376

การเดินทาง
 
    รถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) ถึงกิโลเมตรที่ 63 เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ผ่านตัวเมือง จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม-บางแพ) กิโลเมตรที่ 36-37 มีทางแยกซ้ายไปอุทยานฯ เข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร
    รถโดยสายประจำทาง ขึ้นรถได้ที่ตลาดเทศบาลอำเภอเมือง สายแม่กลอง-บางนกแขวก–ราชบุรี ลงหน้าอุทยาน ร.2
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
อุทยาน ร.2  ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
-http://www.maeklongtoday.com/tour/king%20rama%202%20park.php-

   อุทยานนี้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปะอันงดงามไว้ เป็นมรดกแก่ชาติและได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดป้ายอุทยานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2522 และเปิดให้ประชาชนเข้าชมภายในอุทยานได้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้

- ส่วนที่หนึ่ง
ลานจอดรถหน้าอุทยาน ปัจจุบันมีที่ขายสินค้าพื้นเมืองและผลไม้ และอาศรมศึกษาซึ่งเป็นเรือนไทยโบราณ
- ส่วนที่สอง
เป็นโรงละครกลางแจ้ง มีเนินลดหลั่นสำหรับชมการแสดง และปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆ
- ส่วนที่สาม
อาคารทรงไทย 5 หลัง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ 4 หลัง และอาคารซ้อมโขน ละครและเก็บเครื่องดนตรีไทย 1หลัง
- ส่วนที่สี่
สวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิด เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์ไม้ มีหุ่นจำลองเรื่องในวรรณคดี สังข์ทอง ไกรทอง
- ส่วนที่ห้า
พื้นที่ติดแม่น้ำ มีศาลาเอนกประสงค์สำหรับนั่งพักผ่อน มีร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าพื้นเมือง มีเรือประพาสอุทยาน ประชาชนขึ้นชมได้
- ส่วนที่หก
พื้นที่ประมาณ 11 ไร่ ซึ่งจะดำเนินการจัดทำสวนและทำสวนเกษตรตามพระราชดำริในองค์ประธาน

พิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เป็นอาคารทรงไทย จำนวน 4 หลัง พื้นที่รวม 600 ตารางเมตร จัดพิพิธภัณธ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่จะสะท้อนให้เห็นลักษณะศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของชาวไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยแบ่งเป็นส่วนดังนี้

หอกลาง
ภายในประดิษฐ์พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และจัดศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่า เครื่องเบญจงรค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ซึ่งเป็นอุปกรณ์การแสดงนาฏกรรมตามบทวรรณคดีพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หุ่นวรรณคดีเรื่องสังข์ทองและอิเหนา หนังใหญ่
ห้องชาย
ทางปีกขวา จัดตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ พร้อมในการอาสาปกป้องผืนแผ่นดินตามลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา สมุดไทย เสื้อขุนนางไทยโบราณ ดาบ โล่ รวมทั้งพระแท่นบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ห้องหญิง
ตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ มีเตียงนอน แบบไทย โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ฉากปัก เป็นต้น
ชานเรือน
จัดตามแบบไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ อ่างบัว
ห้องครัวและห้องน้ำ
จัดไว้ที่ชั้นล่างอาคารปีกซ้าย แสดงลักษณะครัวไทยและห้องน้ำของคนชั้นกลาง มีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชาม สำหรับอาหาร เป็นต้น
ตำแหน่งศิลาฤกษ์
แสดงให้เห็นแบบจำลองศิลาฤกษ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธี

อุทยานฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 08.30 - 17.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เปิดเวลา 08.30 - 17.30 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 5 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 034-751666 โทรสาร 034-751376

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วัดบางกุ้ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87-

วัดบางกุ้ง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ในเขตตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปีพ.ศ. ๒๓๐๘ กองทัพพม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์จึงทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้หัวเมืองปากใต้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งที่ตำบลบางกุ้ง เมืองสมุทรสงคราม เรียกว่า “ค่ายบางกุ้ง” กองทัพพม่าซึ่งยกทัพเข้ามาตามลำน้ำแม่กลองและบุกลงมาจนถึงค่ายบางกุ้ง โดยที่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาไม่สามารถต้านทานไว้ได้ค่ายบางกุ้งจึงแตก หลังจากพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ค่ายบางกุ้งก็ตกอยู่ในสภาพค่ายร้าง เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว โปรดให้ชาวจีนรวบรวมสมัครพรรคพวกมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่ายเก่าที่บางกุ้ง จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง” ในปี พ.ศ. ๒๓๑๑ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาไปประมาณ ๘ เดือน กองทัพพม่านำโดยเจ้าเมืองทวายยกทัพบกและทัพเรือลงมาล้อมค่ายจีนบางกุ้งไว้ ทหารจีนที่รักษาค่ายบางกุ้งสู้รบอย่างเต็มที่แต่มีกำลังน้อยกว่าเกือบจะเสียค่ายแก่พม่า กรมการเมืองสมุทรสงครามจึงมีหนังสือกราบทูลไปยังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบจึงยกกองทัพมาตีทัพพม่าแตกพ่ายไป และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกกองทัพเรือนำทหารไปออกศึกที่บางแก้ว เมืองราชบุรี ในระหว่างการเดินทางได้หยุดกองทัพพักพลเสวยพระกระยาหารที่วัดกลางค่ายบางกุ้ง

หลักฐานโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระอุโบสถก่ออิฐถือปูนปัจจุบันถูกต้นไทรขึ้นปกคลุมทั้งหลังหน้าบันของพระอุโบสถ มีปูนปั้นลวดลายพันธุ์พฤกษาประดับด้วยเครื่องถ้วยซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

พระอุโบสถที่ถูกต้นไทรปกคลุม 1 ใน unseen Thailand ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่สมัยอยุธยาตอนปลาย สลักจากหินทรายแดง แสดงปางมารวิชัย ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อโบสถ์น้อย” ที่ฝาผนังของพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปพระอดีตพุทธเจ้า และภาพพุทธประวัติ นอกจากนี้ยังมีสระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดความกว้างประมาณ ๕ เมตร ความยาว ๗ เมตร ที่ขอบสระมีกำแพงเตี้ยกั้น และกรุด้วยอิฐถือปูนลักษณะสอบลงไป ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดบางกุ้งเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙

ที่วัดบางกุ้งนี้เองมีศาลอยู่ทางด้านหลัง โดยมีชื่อว่า "ศาลนางไม้เจ้าจอม" หรือศาลขององค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ มีคนให้ความเคารพนับถือกันมาก

ศาลมีประวัติความเป็นมาดังนี้

ศาลนางไม้เจ้าจอม วัดบางกุ้ง (ข้อมูลนี้ได้มาจากนิตยสารมิติหลอน เล่าโดย ร.ศ. หญิงพจน์ฤดี ข้าราชการสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)

เมื่อปี พ.ศ. 2531 บริเวณวัดเป็นป่ารกร้าง พระวินัยธร องอาจอาริโยได้เดินธุดงค์มาที่บริเวณวัดบางกุ้ง ปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ข้างอุโบสถหลวงพ่อนิลมณีหรืออุโบสถปรกโพธิ์ ซึ่งเงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ท่านได้เดินสำรวจบริเวณวัดซึ่งทราบมาบ้างว่า วัดนี้เคยเป็นค่ายทหารจีนบางกุ้งสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีมาก่อน ยามดึกขณะเจริญกรรมฐานมักจะเกิดนิมิตเห็นผู้หญิงคนหนึ่งแต่งชุดไทยโบราณมากราบไหว้หลวงพ่อนิลมณีหน้าอุโบสถปรกโพธิ์เป็นประจำ มีลักษณะผอมสูงผมยาวใบหน้างาม แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ต่อมาไม่นานเสาคานที่หน้าอุโบสถหล่นตกลงมาพิงอยู่ข้างอุโบสถ คืนนั้นเองท่านได้นิมิตเห็นผู้หญิงชุดไทยคนเดิมมาบอกให้นำไม้ท่อนนี้มาไว้ที่หลังอุโบสถแล้วให้สร้างศาลด้วยท่านก็ทำตาม

ให้ชาวบ้านช่วยกันนำไม้มาไว้หลังอุโบสถแล้วสร้างศาลให้ตามคำขอร้อง นำไม้ท่อนนั้นแกะสลักเป็นรูปหน้าผู้หญิงไม่มีแขนขาไว้ภายในให้ชื่อว่า “ศาลนางไม้เจ้าจอม” ผู้คนให้ความเคารพนับถือกันมากเพราะมีความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารแก่ผู้คนอยู่เสมอ

ต่อมาพระวินัยธรฯ ได้ฟื้นฟูวัดบางกุ้งร่วมกับประชาชนจนเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง ผู้หญิงแต่งกายชุดไทยโบราณมาปรากฏในนิมิตอีกได้บอกว่าเป็นองค์หญิงพระนามว่า “องค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า)”ต้องการให้สลักรูปองค์หญิงจากไม้ต้นโพธิ์ซึ่งมีอายุประมาณ 100 ปีโดยขอร้องให้แกะสลักทั้งองค์ หลังจากนั้นท่านได้ปรึกษาหารือญาติโยมหาช่างแกะสลัก โดยนายช่างคิดราคาค่าแรง 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) เมื่อตกลงราคากันแล้วพอช่างจะลงมือแกะสลักกลับไม่รู้ว่าจะแกะสลักเป็นรูปองค์แบบใด เพราะไม่เคยเห็นรูปร่างหน้าตาองค์หญิงมณฑาทิพย์มาก่อนทำให้แกะสลักไม่ได้ เมื่อการเป็นดังนี้ท่านเจ้าอาวาสจึงลงมือแกะสลักเองทั้งที่ไม่เคยแกะสลักไม้รูปใดๆ มาก่อนเลย การแกะสลักไม้เป็นรูปคนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ท่านได้ใช้ความพยายามอย่างสูงแกะสลักแบบที่เห็นองค์หญิงในนิมิตเหมือนมีอำนาจอย่างหนึ่งมาดลบรรดาลให้แกะได้สำเร็จ สลักอักษรไว้ที่ฐานว่า “องค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า)”

ภายหลังพระวินัยธร องอาจอาริโยพบหนังสือ “กฎแห่งกรรม” ของคุณท.เลียง พิบูรณ์เข้าโดยบังเอิญพบเห็นเรื่องราวขององค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2291 เช่นเดียวกับที่เคยนิมิตเห็นน่าจะเป็นองค์เดียวกัน มีเนื้อหาดังนี้ “องค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ประสูติเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2291 เป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) กับ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ องค์หญิงทรงเป็นพระธิดาของกรมหลวงบวรวังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ บ้านเมืองมีเหตุเดือดร้อนมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงผู้ใดประจบสอพลอผู้นั้นจะได้เป็นใหญ่ทั้งที่ไร้ความสามารถ ผู้ครองแผ่นดินได้แต่ลุ่มหลงและเสพสุขในกามา หากใครมีบุตรีต้องนำตัวมาถวายใครขัดขืนจะถูกประหารชีวิต เหลืออยู่ก็แต่กรมหลวงบวรวังในที่ท่านไม่ทรงยอมข้องเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด ไม่คบค้าสมาคมกับใคร เมื่อพระธิดาเจริญพระชันษาเป็นสาวให้แต่งองค์เป็นชายพร้อมทั้งข้าทาสบริวารที่เป็นหญิง 300 คน เป็นชายอีก 16 คน จัดให้ฝึกอาวุธเรียนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเช่น ฟันดาบ กระบี่กระบอง หมัดมวย ตำราพิชัยสงคราม องค์หญิงทรงเชี่ยวชาญอาวุธตลอดจนเวทมนตร์คาถา ทรงมีความสามารถด้านวิชาอาคมยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกข้าศึกพม่ายกกองทัพประชิดเมือง ผู้เป็นพระบิดาทรงสั่งให้บ่าวไพร่ต่อเรือใหญ่ 30 ลำ เรือเร็ว 10 ลำ เรือแจว 20 ลำ พร้อมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร อุปกรณ์การก่อสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ลงด้วยอาคมพร้อมเรือคุ้มกันองค์หญิง ซึ่งแต่งกายเป็นชายเยี่ยงชายชาวบ้านธรรมดาหลบหนีออกจากกรุงตอนกลางคืน แต่พระบิดามิได้มาด้วย กองเรือได้ล่องน้ำมาเป็นระยะเวลา 3 วัน พบกองเรือพม่าบรรทุกกระสุน ดินดำ

จึงสั่งให้พลพรรคเข้าโจมตีตอนเวลาดึก จึงเกิดไฟลุกโชติช่วงฆ่าทหารพม่าซึ่งกำลังหลับเพราะเมามายแทบหมดสิ้น จนรุ่งเช้าพม่าส่งกำลังติดตาม องค์หญิงทรงสั่งให้กองกำลังหลบตามป่าชายฝั่งแล้วร่ายเวทมนตร์กำบังพรางตาจนพม่าพ้นไป กองเรือหนีเล็ดรอดไปได้อย่างปลอดภัย แล้วหาทำเลสร้างเมืองเล็กๆ อยู่ เมื่อคราวศึกบางกุ้งองค์หญิงได้ทรงคุมกำลังเข้าช่วยรบพม่าเป็นสามารถจนได้รับชัยชนะ เมื่อสิ้นอายุขัยดวงพระวิญญาณยังผูกพันกับวัดบางกุ้งยังคงวนเวียนอยู่ที่ศาลคอยแผ่บารมี ให้ความช่วยเหลือผู้ทุกข์ร้อนที่มาขอพึ่งพา

เรื่องความเป็นมาขององค์หญิงมณฑาทิพย์นับว่าพิสดารมากความศักดิ์สิทธิ์ของศาลองค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) เป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไปใครมีเรื่องทุกข์ร้อนอย่างไรมาบนบานในสิ่งที่ต้องการมักไม่ผิดหวัง เป็นต้นว่าเรื่องหน้าที่การงาน การสอบเข้างาน การสอบเรียน และทางด้านโชคลาภ มีคนได้เลขไปเสี่ยงโชคแล้วรวยมีปรากฏอยู่เสมอ แต่อย่าบนเรื่องเกณฑ์ทหารนะใครไปบนให้ช่วยแน่นอนรับรองถูกชัวร์ เพราะท่านทรงชอบทหารที่มีเลือดนักสู้เต็มตัวเมื่อมีชีวิตอยู่

นี่แหละองค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) จึงได้ชื่อว่า “เจ้าหญิงผู้หาญกล้า” รักชาติยิ่งชีพ แม้ร่างกายสูญสลายแต่วิญญาณแห่งความรักชาติยังคงอยู่ตราบนิรันดร ควรแก่การสรรเสริญและสักการบูชายิ่งนัก

    ข้อมูลเพิ่มเติม : ข้อมูลแผนที่ การเดินทางไป วัดบางกุ้ง( โบสถ์ปรกโพธิ์ )


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
 วัดบางกุ้ง
-http://www.amphawatoday.com/t17Bang-Kung_temple.htm-

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 16.30





วัดบางกุ้งตั้งอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที อยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับค่ายบางกุ้งแต่อยู่คนละฝั่งกัน มีถนนตัดผ่านกลาง วัดบางกุ้งนี้มีความมหัศจรรย์อยู่ที่โบสถ์ของวัดจะถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ ทำให้วัดบางกุ้งแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน Unseen Thailand โดยภายในวัดมีโบสถ์เก่าประดิษฐานหลวงพ่อพุทธมณีนิลพระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นขนาดใหญ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นที่เคารพบูชาของคนในท้องถิ่น
รวมไปถึงชาวไทยที่มาจากทั่วทุกสารทิศซึ่งมาสักการะและชมความมหัศจรรย์ของโบสถ์ที่ดำรงอยู่ด้วยการค้ำยันแห่งรากไม้ นอกจากนั้นยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ เป็นภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมและภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในซุ้มขนาบข้างด้วยอัครสาวกนั่งพนมมือ

วัดบางกุ้งเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เคยเป็นที่ตั้งค่ายรบโบราณที่มีความสำคัญ ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ทรงให้กองทัพเรือมาตั้งค่ายกำแพงล้อมที่วัดบางกุ้งแห่งนี้ เพื่อรบกับทัพข้าศึก เรียกว่า "ค่ายบางกุ้ง" จนภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาได้แตกลงแล้ว พระเจ้าตากสินทรงโปรดให้ฟื้นค่ายบางกุ้งแห่งนี้อีกครั้งโดยให้ตั้งกองทหารชาวจีนมารักษาค่ายไว้ และใช้เป็นที่รับศึกทัพพม่า โดยทรงยกกองทัพเสริมมาช่วยตีข้าศึกจนแตกพ่ายไปในสงครามครั้งแรกกับพม่า นับแต่สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ซึ่งได้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับเหล่าทหารไทยได้อย่างมาก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่วัดบางกุ้ง โทร. 0 3476 1631, 08 9014 5681 ความเชื่อและวิธีการบูชา ผู้ที่เดินทางมาสักการะหลวงพ่อดำในโบสถ์ปรกโพธิ์แห่งนี้ ด้วยความเชื่อที่ว่าบารมีของท่านจะช่วยปกปักรักษาคุ้มครองให้ผู้ที่มากราบไหว้ร่มเย็นเหมือนอยู่ใต้ร่มโพธิ์ร่มไทร แคล้วคลาด ปราศจากอันตราย และมีชัยในอุปสรรคทั้งปวง

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสมุทรสงคราม-บางนกแขวก (เส้นทางเดียวกับอุทยาน ร. 2) ก่อนถึงอาสนวิหารแม่พระบังเกิด เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานสมเด็จพระอัมรินทร์ แล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้ง ตรงไปประมาณ 6 กิโลเมตร


ค่ายบางกุ้ง
-http://www.amphawatoday.com/t02kai_Bangkung.htm-



ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบางกุ้ง เมื่อมาถึงบริเวณค่ายจะมองเห็นแนวกำแพงจำลองสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์จากการสู้รบ ค่ายแห่งนี้เป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้โปรดให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ตำบลบางกุ้ง เรียกว่า ค่ายบางกุ้ง เนื่องจากเมืองแม่กลองเป็นเส้นทางที่กองทัพพม่าใช้ในการเดินทัพ โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่ายเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่เคารพบูชาของทหาร พระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้คนจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรีและกาญจนบุรีรวบรวมผู้คนมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่าย ค่ายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนี่งว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง" พระองค์ทรงให้ชื่อทหารเหล่านี้ว่า “ทหารภักดีอาสา” ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรี มาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชและพระมหามนตรี (บุญมา) ร่วมรบขับไล่กองทัพพม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย นับเป็นค่ายทหารไทยที่สร้างความเกรงขามให้กองทัพพม่า สร้างขวัญกำลังใจให้คนไทยกลับคืนมา และเป็นสงครามครั้งแรกที่ไทยทำกับพม่าหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ค่ายบางกุ้งแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี



จนมาถึงปี พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราช และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้เป็นอนุสรณ์ โดยทำพิธียกศาลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ภายในบริเวณค่ายยังมีโบสถ์ที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ชาวบ้านเรียกว่า “โบสถ์หลวงพ่อดำ” มีลักษณะพิเศษคือ โบสถ์ทั้งหลังปกคลุมด้วยด้วยต้นไม้ถึงสี่ชนิด คือ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นไกร ต้นกร่าง ชาวบ้านเรียกว่าโบสถ์ปรกโพธิ์และไม่ไกลนักเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
.



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)