ผู้เขียน หัวข้อ: บุกไหว้หลวงพ่อคง เที่ยวอัมพวา รุกไปต่อที่บางคนที  (อ่าน 6635 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วัดเกตุมดีศรีวราราม
-http://www.watsamutsakhon.com/a_muang/getum.htm-

    สภาพฐานะและที่ตั้งวัด
                    ชื่อโดยทางการ  “วัดเกตุมดีศรีวราราม”  ชื่อที่ชาวบ้านเรียก  “วัดเกตุม”  สังกัดมหานิกาย  อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์  ตำบลบางโทรัด  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดสมุทรสาคร  ภาค  ๑๔  เป็นวัดราษฎร์  ตั้งอยู่เลขที่  ๑๙/๑ หมู่ที่  ๖  ตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ ๗๔๐๐๐ ถนนพระราม ๒ (ธนบุรี-ปากท่อ) กม.ที่  ๔๒  ได้รับการอนุญาตให้สร้างวัด   เมื่อวันที่  ๑๘  เดือนสิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๐๖  กระทรวงศึกษาธิการประกาศเป็นวัดเมื่อ  ๘  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๑๑  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว  เมื่อวันที่  ๓  ตุลาคม                    พ.ศ. ๒๕๔๓  เขตวิสุงคามสีมา  กว้าง  ๕๖.๖๐  เมตร  ยาว  ๑๐๖.๓๕ เมตร เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑
    อาณาเขตและอุปจารวัด
                    วัดเกตุมดีศรีวราราม  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่จำนวน ๖๙  ไร่  ๒  งาน  ๒๙  ตารางวา  มีโฉนดที่ดินเลขที่  ๔๙๔๖ มีอาณาเขตดังนี้
                    ทิศเหนือ                                ยาว  ๘  เส้น  ๖ วา  ๓  ศอก                            จดคลองสาธารณประโยชน์
                    ทิศใต้                                      ยาว  ๘  เส้น  ๖ วา  ๓  ศอก                            จดแพรกสาธารณประโยชน์
                    ทิศตะวันออก                       ยาว  ๘  เส้น  ๖ วา  ๓  ศอก                            จดแพรกสาธารณประโยชน์
                    ทิศตะวันตก                          ยาว  ๘  เส้น  ๖ วา  ๓  ศอก                            จดคลองสาธารณประโยชน์
                    พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม  ชายเลน  ดินเลน  ดินเค็ม  ใต้ดินเป็นดินนิ่มอ่อน  ปลูกต้นไม้ลำบากมาก
    ความเป็นมา
                วัดเกตุมดีศรีวราราม  เกตุ  ส่วนสูงสุด,มดี มติ  ความปรารถนา ปณิธาน , ศรี สิริมงคล, วร ประเสริฐ , อาราม  ที่อยู่  แปลรวมกันว่า  ที่อยู่อาศัยอันประเสริฐที่เป็นมงคลมหาสถานของผู้ที่มีความปรารถนาอันสูงสุด  วัดนี้ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด  เมื่อวันที่  ๒๘  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๐๖  ท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ (เจิม  คุณาบุตร)  พร้อมด้วยญาติมิตรเป็นผู้มอบถวายที่ดินให้สร้างวัด  ท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ  ท่านเป็นผู้บุกเบิกและคนหาที่สร้างบารมี  ได้เปิดสถานที่นี้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐานและได้เป็นสำนักสงฆ์ปฏิบัติธรรม  ต่อมา             นายสมควร   คุณาบุตร  เป็นคนยื่นเรื่องราวขอสร้างวัด  โดยมีท่านพ่อบัณฑูรสิงห์  นางสาวเจือ  คุณาบุตร  คุณแม่-เจียม    คุณาบุตร  คุณแม่กิมลี้   คุณาบุตร  และอีกหลายคนยกที่ดินให้สร้างวัด  โดยมีพระบรมเจดีย์เป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งหลวงพ่อรอด   วัดบางน้ำวน  เป็นองค์แรกที่ก่อพระเจดีย์องค์เล็ก  ๆ  เป็นนิมิตหมายไว้ก่อน  ท่านพ่อจึงได้มาพบสถานที่นี้เพื่อสร้างบารมี  โดยท่านสร้างครอบที่เดิมเป็นองค์เล็กสูง  ๙  ศอก  และสร้างครอบอีกครั้งสูง  ๑๘  วา ต่อมา  พระครูภาวนาวรคุณ  ได้สร้างอีกเป็นครั้งที่  ๓  โดยสูง  ๖๐  เมตร  ข้างในโปรงมองเห็นองค์เดิมได้  เมื่อหลวงพ่อพระครูภาวนาวรคุณมรณภาพลง  พระครูไพศาลสาครกิจ  ก่อสร้างต่อจนเสร็จ  เหตุการณ์อัศจรรย์ขององค์พระบรมธาตุที่ปรากฏแก่ฝูงชนที่เคารพนับถือ  ได้กล่าวขานสืบต่อกันมาว่ า บางวันจะได้ยินเสียงดนตรีไทยเดิม มโหรีปี่พาทย์บรรเลง  บางวันก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ประมาณพระเป็นจำนวนเป็นร้อยพัน  ดังแว่วมาให้ได้ยินทั่วกัน บางคราวก็ปรากฏแสดงแสงสว่างที่ฉายองค์พระบรมธาตุ  สามารถถ่ายรูปติดให้เห็นทั่วไป เรื่องเล่านี้ยังมีอีกมากที่บุคคลผู้เคารพศรัทธาได้สัมผัสปรากฎชัดกับตัวเอง  ปัจจุบันเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง  ตั้งแต่  พ.ศ. ๒๕๑๑  เป็นต้นมา มีประชาชนทั้งใกล้ไกลที่อยู่ในกรุงเทพฯ  และต่างจังหวัดเคารพเลื่อมใสในองค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์  และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บรรดามีในวัด  พากันมากราบไหว้สักการะมิได้ขาดเป็นจำนวนมาก
    อาคารเสนาสนะต่าง ๆ

    พระบรมธาตุเกตุมวดีย์

เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๒๔  สูง  ๖๐  เมตร  ข้างในโปร่ง  พระครูภาวนาวรคุณ (พยนต์  เขมเทโว) เป็นผู้ริเริ่มสร้าง  วันที่  ๒๗  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๒๗  พระครูภาวนาวรคุณมรณภาพลง  พระครูไพศาลสาครกิจ (สมบัติ  ฉนฺทชาโต)   เป็นผู้ดำเนินการสร้างต่อจนเสร็จ

    อุโบสถหลังใหม่

ลักษณะทรงไทย  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้อง  ขนาดกว้าง  ๕๖.๖๐  เมตร  ยาว ๑๐๖.๓๕  เมตร  เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระพุทธชินราช  หลวงพ่ออู่ทอง  หลวงพ่อมหาแสน  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่เมื่อวันที่  ๘  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เขตวิสุงคามสีมากว้า ง ๕๖.๖๐  เมตร  ยาว  ๑๐๖.๓๕  เมตร

    วิหารแก้ว  ๙  ห้อง (อุโบสถแก้วบูรณะใหม่)

ลักษณะเป็นไม้ชั้นเดียว  มีช่อฟ้าหน้าบันแบบ  ร.๕  ทรงไทย  มีหลังคามุงกระเบื้อง  กว้าง  ๗  เมตร  ยาว ๑๕  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๑  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  ๘  ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๐๘ กว้าง  ๔๐  เมตร  ยาว  ๘๐  เมตร  ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์เงินแท้หนัก  ๙๐  กิโลกรัม

    ปราสาทท่านพ่อบัณฑูรย์สิงห์

ลักษณะทรงไทย  มี  ๔  หน้าบัน  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  ๒  ชั้น  กว้าง  ๑๖  เมตร  ยาว  ๑๖  เมตร สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๐

    ตำหนักแพนุ่ม  คุณาบุตร

ลักษณะทรงไทย  ขนาดกว้าง  ๑๓  เมตร  ยาว  ๑๓  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๗

    หอประชุมสงฆ์สังฆบัณฑิต

ลักษณะเป็นตึกพื้นไม้  ขนาดกว้าง  ๘.๖๐  เมตร   ยาว  ๕๒.๖๐  เมตร  สูง  ๑๔.๒๐  เมตร  หลังคามุง-กระเบื้อง  พร้อมอุปกรณ์ให้ความสะดวก  และเครื่องตกแต่ง  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๗

    หอพักสามเณร (สามเณรอาคาร)

มีลักษณะเป็นตึกไม้  สองชั้น  หลังคามุงกระเบื้อง  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นที่พักสารเณรและ อาคันตุกะชั่วคราว

    ศาลาไตรสรณาคมน์

โครงสร้างเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้องชั้นเดียว  พื้นหินขัด  ขนาดกว้าง  ๕๒  เมตร  ยาว  ๕๔  เมตร  เพื่อเป็นที่จัดงานในศาสนพิธีต่าง  ๆ  เช่น  งานกฐิน  เป็นที่ประชุมของญาติโยมผู้ที่มาถือศีลอุโบสถ  เป็นที่ทำวัตรเช้า-เย็น  ของศีลชีวินี  และเป็นที่ปฏิบัติพระกรรมฐานของพระภิกษุและญาติโยม  อุบาสก  อุบาสิกา            เวลา  ๒๐.๐๐ น.  ทุกวัน  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๐

    กุฏิพระภิกษุสงฆ์จตุรทิศ

โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้อง  ๓๒  ห้อง  ชั้นเดียว  กว้าง  ๑๒  เมตร  ยาว          ๗๐  เมตร   สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๓  เป็นที่พักพระสงฆ์ภายในวัด

    หอพุทธภาวนา

ลักษณะทรงไทย  ๒  ชั้น  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้อง  เป็นที่พักของสามเณรภาคฤดูร้อน  กว้าง  ๘  เมตร  ยาว  ๖๕  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๗

    โรงเรียนปริยัติธรรมบัณฑูรสิงห์ธรรมบัณฑิต

ลักษณะทรงไทย  ๒  ชั้น  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้อง  เป็นสถานที่เรียนนักธรรมและธรรมศึกษา  ตรี ,โท ,เอก  ของพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา  กว้าง  ๘  เมตร  ยาว  ๑๐๓  เมตร สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๗

    ศาลาโภชนาคารที่ฉันภัตตาหาร

โครงสร้างหลังคาเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้อง  กว้าง  ๓๐.๕  เมตร  ยาว  ๗๖.๕  เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙

    ศาลาโอชาวดี

ลักษณะทรงไทย  เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก  โครงสร้างหลังคาเหล็ก  มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง  ขนาดกว้าง ๓๕.๗๕  เมตร  ยาว  ๔๒.๑๐  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๓๔  เพื่อเป็นที่รับประทานอาหารสำหรับญาติโยมที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม  อยู่ดิถีปริวาสกรรม และใช้ในเทศกาลต่าง  ๆ
๑๔.โรงหุงข้าวและศาลาเลี้ยงอาหาร (ศาลามหาทาน)
ลักษณะทรงไทย  เสาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก   พื้นเป็นคอนกรีต  โครงสร้างเป็นเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดกว้าง  ๑๕.๓๐  เมตร  ยาว  ๕๓.๖๐  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๕.ศาลาเรือนไทย (เป็นที่พักของพระภิกษุสงฆ์)
ลักษณะทรงไทยใต้ถุนสูง  กว้าง  ๑๓.๗๐  เมตร  ยาว  ๑๖.๕๐  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๐
๑๖.คลังมหาสมบัติ (คลังเก็บพัสดุสงฆ์)
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว  เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก  โครงสร้างเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้อง  กว้าง  ๒๔  เมตร ยาว  ๓๐  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๓๐
๑๗. กุฏิพระสงฆ์
ลักษณะโครงสร้างเหล็ก  ทรงไทยชั้นเดียว  หลังคามุงกระเบื้องแดง  ๑๘  หลัง  กว้าง  ๓  เมตร ยาว ๓ เมตร สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๔๖
๑๘.วิมานเมฆ
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว  เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้องแดง  กว้าง  ๑๑  เมตร  ยาว  ๑๑  เมตร สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๓๗
๑๙. ร้านอำนวยความสะดวก
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว  เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้องแดง  กว้าง  ๑๒.๕๐  เมตร               ยาว  ๑๑  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๓๗
๒๐. สำนักงานกลาง
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว  หลังคามุงกระเบื้อง  ขนาดกว้าง  ๙  เมตร  ยาว   ๙  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นที่ตั้งมูลนิธิ  ภาวนา-แถบ-กิมลี้   คุณาบุตร  และมูลนิธิเกตุมวดีย์ชีพอนุรักษ์
๒๑. ร้านปานะของวัด
ลักษณะตึกชั้นเดียว  หลังคามุงกระเบื้อง  ขนาดกว้าง  ๙  เมตร  ยาว  ๙  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๓
๒๒. วี  ดี  โอ  ธรรมสภา
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๖ เมตร ยาว ๓๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖
๒๓. ศาลาอเนกประสงค์ (ศาลาแดง)
ลักษณะทรงไทย  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  พื้นปูกระเบื้อง  โครงสร้างหลังคาเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้อง  ขนาดกว้าง  ๑๕.๙๐  เมตร ยาว ๓๘.๘๐ เมตร ใช้ในงานบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒๔. อาคารศีลชีวินี อาคาร ๑
ลักษณะเป็นปูนครึ่งไม้  ๒  ชั้น  หลังคามุงกระเบื้อง  ขนาดกว้าง  ๙  เมตร  ยาว  ๔๙  เมตร  สร้างเมื่อ          พ.ศ.  ๒๕๒๘
๒๕. อาคารศีลชีวินี อาคาร ๒
ลักษณะเป็นปูนครึ่งไม้  ๒  ชั้น  หลังคามุงกระเบื้อง  ขนาดกว้าง  ๙  เมตร  ยาว  ๔๙  เมตร  สร้างเมื่อ          พ.ศ.  ๒๕๒๘
๒๖. อาคารศีลชีวินี อาคาร ๓
ลักษณะเป็นปูนครึ่งไม้  ๒  ชั้น  หลังคามุงกระเบื้อง  ขนาดกว้าง  ๗  เมตร  ยาว  ๑๔  เมตร  สร้างเมื่อ        พ.ศ.  ๒๕๒๘
๒๗. บ้านพักครู
ลักษณะเป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง  ขนาดกว้าง  ๕  เมตร  ยาว  ๙  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๕
๒๘. อาคารเรียนหลังเก่า
ลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว  ๑  หลัง  กว้าง  ๗  เมตร  ยาว  ๒๐  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๑
๒๙. สระน้ำ
หน้าวิหารแก้ว  ลอกและตกแต่งขึ้นใหม่  เมื่อ   พ.ศ. ๒๕๑๘  เพื่อเป็นที่ลอยกระทง  บูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า  ในวันเพ็ญขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๑๒  ของทุกปี
๓๐. หอระฆัง
ลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก  สูง  ๑๕  เมตร  กว้างเท่ากันด้านละ  ๔  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๓

๓๑. ภูเขาอุตตมบรรพต และพระสีวลี
เป็นภูเขาข้างหน้าก่อด้วยอิฐ  ข้างหลังถมดินเป็นภูเขาจำลอง  เป็นที่ประดิษฐานพระสีวลีเถระ  สูง  ๓  เมตร หล่อด้วยโลหะ  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๘
๓๒. อนุสาวรีย์ท่านพ่อบัณฑูรสิงห์
สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๔๑
๓๓. ท้าวเวสสุวรรณมหาราช
สูง  ๕  เมตร  สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๒๒
๓๔. ท้าวปรายันติ (ทหารของท้าวเวสสุวรรณ) และพาหนะ  คือ  เสือ
สูง  ๕  เมตร  สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๔
๓๕. ปู่หมอโกมารภัจจ์ และมณฑป
สูง  ๗  เมตร  สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๖
๓๖. ท้าวมหาราชทั้ง ๔
ดั้งเดิมท่านพ่อบัณฑูรสิงห์  ท่านสร้างไว้ประจำบ่อยาทั้ง  ๔  ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่
๓๗. บ่อยาฤๅษีลิงลม
ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ขององค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๓๘. บ่อยาช้างสาร
ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกขององค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๓๙. บ่อยาราชสีห์
ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือขององค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๔๐. บ่อยากาน้ำ
ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ขององค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๔๑. พระฤๅษีโพธิสัตว์
ประดิษฐานอยู่ซุ้มด้านทิศตะวันออกขององค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๔๒. พระแม่ธรณี
ประดิษฐานอยู่หลังวิหารแก้ว  ด้านซ้ายของภูเขาอุตตมบรรพต
๔๓. อนุสาวรีย์พระปิยมหาราช
ประดิษฐานอยู่หลังวิหารแก้ว  ด้านซ้ายของภูเขาอุตตมบรรพต  ใกล้กับพระแม่ธรณี
๔๔. ศาลาอเนกประสงค์
ลักษณะโครงเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้อง  หน้าวัดทางเข้าของวัด  กว้าง  ๑๖  เมตร  ยาว  ๔๘  เมตร
๔๕. ห้องอาบน้ำ  ห้องสุขา
ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก  มีอยู่ตามจุดต่าง  ๆ  ของวัด  ดังนี้

    อยู่บริเวณด้านหลังหอสามเณราคาร  จำนวน  ๓๒  ห้อง
    อยู่บริเวณด้านหลังศาลาโอชาวดี  จำนวน  ๔๒  ห้อง
    อยู่บริเวณด้านข้างศาลาเรือนไทย  จำนวน  ๑๐  ห้อง
    อยู่บริเวณด้านข้างศาลาอเนกประสงค์ (ศาลาแดง)  จำนวน  ๘๐  ห้อง
    อยู่บริเวณเขตกำแพงวิหารแก้วด้านทิศตะวันตก  จำนวน  ๖  ห้อง
    อยู่บริเวณหน้าวัดหลังศาลาอเนกประสงค์มีอยู่  ๘๐  ห้อง

๔๖. โครงป้ายใหญ่หน้าวัด
กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔๐ เมตร
ปูชนียวัตถุและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
                ๑. มีองค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์ เป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป  ทั้งใกล้และไกล           ถือเป็นหลักชัยของวัด
                ๒. พระพุทธสิหิงค์  จำลองจากองค์จริง ประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถหลังเก่า หล่อด้วยเนื้อโลหะเงินแท้ น้ำหนัก  ๙๐  กิโลกรัมเศษ  โดยมีพระบรมราชโองการพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ให้หล่อประดิษฐานวัดเกตุมดีศรีวราราม  เมื่อวันที่   ๑๔   กุมภาพันธ์              พ.ศ.  ๒๕๑๑  เวลา  ๐๖.๔๑ น.
          ๓. พระสีวลีเถระ  ในอิริยาบถเดินแบกกลดสะพายบาตร  หล่อเป็นเนื้อโลหะสูง  ๓   เมตร  หล่อขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๑๘  ประดิษฐานอยู่บนเขาอุตตมบรรพต  หลังอุโบสถแก้ว
                ๔. พระพุทธสิหิงค์เนื้อสัมฤทธิ์  ๑  องค์  หน้าตัก  ๒๕  นิ้ว
          ๕. พระพุทธสิหิงค์หยก จากประเทศแคนาดา หน้าตัก  ๒๕  นิ้ว
                ๖. พระพุทธสิหิงค์สร้างด้วยโลหะนาค หน้าตัก  ๒๕  นิ้ว
                ๗. พระพุทธชินราช เป็นพระประธานในอุโบสถหลังใหม่  หน้าตัก  ๙  ศอก  ๙  นิ้ว
                ๘. พระพุทธรูปอู่ทอง  ประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถหลังใหม่
                ๙. พระพุทธรูปมหาแสน  ประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถหลังใหม่
                ๑๐. รูปหล่อท่านพ่อบัณฑูรสิงห์  ในอิริยาบถนั่งสมาธิ ประดิษฐานอยู่ที่หอประชุมสงฆ์สังฆบัณฑิต
                ๑๑. รูปหล่อท่านพ่อบัณฑูรสิงห์  หล่อด้วยเนื้อโลหะ  ในอิริยาบถยืน  ประดิษฐานอยู่ที่หลังอุโบสถหลังใหม่
                ๑๒. รูปปั้นท้าวเวสสุวรรณ  สูง  ๕  เมตร  ประดิษฐานอยู่หน้าวัด
การศึกษา
วัดเกตุมดีศรีวรารามได้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา  คือ
๑. ได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม  ระดับนักธรรมตรี, โท, เอก  และธรรมศึกษาตรี, โท, เอก  ขึ้นภายในวัด โดยพระภิกษุในวัด  เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม พระภิกษุสามเณร  ผู้เรียนธรรมศึกษาได้สอบไล่ได้ในสนามหลวง  ทั้งระดับนักธรรมและธรรมศึกษาตรี, โท, เอก  เป็นจำนวนมาก และวัดนี้ได้เคยทำการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี  ในปัจจุบันนี้ได้เลิกไป
๒. ได้เปิดการสอนธรรมศึกษา  ระดับธรรมศึกษาตรี, โท, เอก  ให้กับนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนเกตุมดีศรีวราราม และนักเรียนมัธยมโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ  สมเด็จพระศรีนครินทร์  สมุทรสาคร
๓. ส่งพระภิกษุไปสอนโรงเรียนเกตุมดีฯ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา  ในหมวดสังคม
๔. จัดการเรียนการสอนสามเณรภาคฤดูร้อน
การสาธารณสงเคราะห์
                ๑.สร้างโรงเรียนในเนื้อที่ของวัด  ๒  โรงเรียนคือ  โรงเรียนเกตุมดีศรีวราราม  และโรงเรียนเฉลิม-พระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์   สมุทรสาคร
                ๒. มีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่  ได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือคณะแพทย์พยาบาลโรงพยาบาล    เลิศสิน  บางรัก  กรุงเทพฯ
                สำหรับวันธรรมสวนะและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ทางวัดได้จัดให้มีการบำเพ็ญกุศล             และประกอบพิธีทางศาสนา  เป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดมาเป็นประจำ
                ๑. ทำบุญถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ทุกวันพระตลอดปี  เวลา  ๐๘.๐๐  น.
                ๒. ทำบุญวันเข้าพรรษา  ๓  วัน  เริ่มวันขึ้น  ๑๔ – ๑๕  ค่ำ  ถึงแรม  ๑  ค่ำ  เดือน ๘ มีพิธีเวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชา (๑๕ ค่ำ) และถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุสงฆ์
                ๓. ทำบุญฟังเทศน์พระธรรมจักกัปปวัตนสูตร  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๙  เวลา  ๑๓.๐๐ น.
                ๔. ทำบุญสารทไทย  ๓  วัน  เริ่มแรม  ๑๔ -๑๕  ค่ำ  เดือน  ๑๐  ถึงขึ้น  ๑  ค่ำ  เดือน  ๑๑
                ๕. ทำบุญออกพรรษา  ๓  วัน  เริ่มวันขึ้น  ๑๔ – ๑๕  ค่ำ  ถึงแรม  ๑  ค่ำ  เดือน ๑๑ มีตักบาตรเทโวรอบองค์พระบรมธาตุเกตุมวดีย์   ในวันแรม  ๑  ค่ำ  ด้วย
                ๖. ทำบุญทอดกฐิน  ๒  วัน  ตามกำหนดการของญาติโยมที่จะกำหนดขึ้นแต่ละปี
                ๗. ทำบุญงานนมัสการพระบรมธาตุเกตุมวดีย์  ฟังเทศน์คาถาพัน  พิธีเวียนเทียนทักษิณาวัตร,          ลอยกระทง  ลอยโคม  ๓  วัน  เริ่มวันขึ้น  ๑๔ – ๑๕ ค่ำ  แรม  ๑  ค่ำ  เดือน  ๑๒  มีตักบาตรจตุรทิศและญาติโยมอธิษฐานธุดงควัตรปฏิบัติบูชา
                ๘. ทำบุญงานปริวาสกรรม  รุ่นอุกฤษฎ์ ๑๐ วัน เริ่มวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑ ถึงวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๒
                ๙. ทำบุญส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่  เริ่มวันที่  ๓๑  ธันวาคม  ถึง   ๑  มกราคม  ของทุกปี
                ๑๐. งานถือศีลกินเจในเทศกาลตรุษจีน  ๔  วัน  เริ่มตามเทศกาลตรุษจีนของแต่ละปี
                ๑๑. ทำบุญงานปริวาสกรรมรุ่นใหญ่  ๑๐  วัน  มีงานนมัสการพระพุทธสิหิงค์ , ฟังเทศน์คาถาพัน ฟังพระสงฆ์สวดปาติโมกข์  พิธีเวียนเทียนวันมาฆบูชา,  พิธีมหาพุทธาภิเษก (และมักควบงานอื่น ๆ เช่น งานสังคายนา ถวายสังฆทานทั้งสำรับ  ซึ่ง  ๗  ปี  ทำครั้งหนึ่ง  เริ่มขึ้น  ๗  ค่ำ  ถึงแรม  ๑  ค่ำ  เดือน  ๓  ของทุกปี (ถ้าปีใดมีเดือน  ๘  สองหน  ก็เลือนไปเดือน  ๔  ให้ตรงกับวันมาฆบูชา  โดยจะมีกำหนดการแจ้งให้ทราบแต่ละปี)
                ๑๒. วันทำบุญตรุษไทย  ๓  วัน  เริ่มวันแรม  ๑๔ -๑๕  ค่ำ เดือน  ๔  และขึ้น  ๑  ค่ำ  เดือน  ๕
                ๑๓. ทำบุญสงกรานต์  ๕  วัน  มีงานสรงน้ำหลวงพ่อเกตุมดีฯ  และพระภิกษุสามเณร  ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับ  มีในเดือนเมษายน (จะมีกำหนดการแจ้งให้ทราบเป็นปี ๆ ไป)
                ๑๔. ทำบุญสลากภัตมะม่วงและผลไม้ต่าง  ๆ  เป็นสังฆทาน  ๑  วัน กำหนดเลื่อนตามฤดูมะม่วงสุก ซึ่งจะแจ้งให้ทราบเป็นปี  ๆ  ไป
                ๑๕. ทำบุญวันวิสาขบูชา  ๓  วัน  มีทอดผ้าป่าบูชาพระอริยสงฆ์  ๑๐๘  เวียนเทียนรอบองค์พระ-บรมธาตุเกตุมวดีย์ ,  ญาติโยมอธิษฐานธุดงควัตร,  ตักบาตรจตุรทิศ  เริ่มวันขึ้น  ๑๔ -๑๕  ค่ำ  ถึงแรม  ๑  ค่ำ เดือน  ๖ (ถ้าปีใดมีเดือน  ๘  สองหน  ก็เลื่อนไปเดือน  ๗  จะได้มีกำหนดการแจ้งให้ทราบเป็นปี  ๆ ไป)
การบริหารและการปกครอง
                วัดเกตุมดีศรีวรารามดำเนินการปกครองภายในวัดตามพระธรรมวินัย  ระเบียบข้อบังคับคณะสงฆ์ กฎหมายคณะสงฆ์  กฎมหาเถรสมาคม  มีเจ้าอาวาสเป็นผู้ปกครองพระภิกษุสงฆ์ภายในวัด  และมีพระภิกษุช่วยปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง  ๆ  และมีไวยาวัจกรช่วยในการบริหารวัด
                กิจวัตรประจำของพระภิกษุสามเณร
                เวลา  ๐๔.๑๕  น.  ทำวัตรเช้า เสร็จแล้วนั่งปฏิบัติพระกรรมฐาน
                เวลา  ๐๖.๐๐    น.  ออกรับบิณฑบาต เว้นวันพระ  กลางวันสร้างบารมี  ทำความสะอาดบูรณปฏิสังขรณ์ต่าง  ๆ  ภายในวัด
                เวลา  ๑๖.๑๕   น.  ทำวัตรเย็น  เสร็จแล้วนั่งปฏิบัติพระกรรมฐาน
เวลา  ๒๐.๐๐   น.  นั่งปฏิบัติพระกรรมฐานรวมกับญาติโยม                                                                                       ทุก  ๑๔  ค่ำ  นั่งปฏิบัติกรรมฐานรวม  เวลา ๒๐.๐๐ น.(เดือนขาดเป็น ๑๓ ค่ำ)  ที่อุโบสถ
                ทุก  ๑๕  ค่ำ  ทำอุโบสถสังฆกรรม (ฟังสวดพระปาติโมกข์) ทุกกึ่งเดือนตลอดปี
                ทุกวันพระ เวลา  ๐๘.๐๐  น.  ลงรับสังฆทานจากญาติโยม
                เวลา  ๒๐.๐๐ น.  สวดพุทธคุณ  ๑๐๘  พร้อมนั่งกรรมฐานรวมกับญาติโยมทั้งวัด
                รายนามเจ้าอาวาสผู้ปกครองวัดนี้  ทั้งในอดีตและปัจจุบัน  คือ
                ๑. พระครูภาวนาวรคุณ (พยนต์  เขมเทโว)
                ๒. พระครูไพศาลสาครกิจ (สมบัติ  ฉนฺทชาโต)
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
    
ท้าวจตุโลกบาล 4
-http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=1892.0-

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีท้าวมหาราชทั้ง ๔ เป็นผู้ปกครองดูแล คอยแบ่งกันครอบครองดังนี้

ด้านทิศตะวันออก เป็นที่อยู่ของ ท้าวธตรฐ มีพวกคนธรรพ์ เป็นบริวาร คนธรรพ์ นี้เป็นเทวดาพวกหนึ่งซึ่งที่มีความถนัดในการดนตรีศิลปะระบำรำฟ้อนและชำนาญในการขับกล่อมเพลงยิ่งนัก เมื่อใดที่เทวดาทั้งหลายชุมนุมกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน เมื่อนั้นพวกคนธรรพ์ ก็จะไปทำหน้าที่ขับกล่อมเพลงและรำบำรำฟ้อนเพื่อความสำราญของเหล่าเทวดา

ด้านทิศใต้ เป็นที่อยู่ของท้าววิรูปักษ์ มีพวกนาคเป็นบริวาร นาคนี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีฤทธิ์เดชมาก เพราะเพียงแค่พิษของนาคถูกต้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็สามารถตัดเอาผิวหนังของบุคคลนั้นและทำให้ถึงแก่ความตายได้ในพริบตา พวกนาครู้จักเนรมิตตนเป็น มนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เพื่อท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ตามอัธยาศัยอย่างสุขสำราญ
หากบุคคลใดได้ยินได้ฟังมาว่าพวกนาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก ทำให้ชอบใจ แล้วทำคุณงามความดีด้วยกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งปรารถนาไปเกิดเป็นนาค บุคคลนั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปเกิดเป็นนาคในชาติต่อไปสมความปรารถนา
ด้านทิศเหนือ เป็นที่อยู่ของท้าวเวสวัณหรือ ท้าวเวสสุวัณ มีพวกยักษ์ เป็นบริวาร ยักษ์ นี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีสันดานแตกต่างกัน บางตนก็มีสันดานดีประกอบด้วยศีลธรรม บางตนก็มีสันดานร้ายมีจิตใจเต็มไปด้วยโทสะโมหะ เป็นอันธพาลที่มีใจกล้าหาญดุดัน

ท้าวเวสวัณมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ท้าวกุเวร เพราะในสมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อยตัดใส่ลงไปในหีบยนต์แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตนและบุตรภรรยา ต่อมากิจการเจริญขึ้นจนเป็นเจ้าของหีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง ๗ เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับคนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อยจากหีบยนต์เครื่องหนึ่งซึ่งมีประมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนเดินผ่านไปมาจนตลอดอายุขัย

ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า"กุเวรเทพบุตร"ต่อมากุเวรเทพบุตรได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแลพระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า "ท้าวเวสวัณ"


ท้าวมหาราชทั้ง ๔

๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุเป็นผู้ปกครองคันธัพพ เทวดาทั้งหมด
๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑเทวดา ทั้งหมด
๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคะ เทวดาทั้งหมด
๔. ท้าวกุเวระ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักขะเทวดาทั้งหมด เทวดาที่อยู่ภายใต้การปกครองของท้าวจาตุมมหาราช คือ
๑. ปัพพัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่
๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ
๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภคอาหารแล้วตาย
๔. มโนปโทสิกเทวดา เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ
๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์
๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์

จตุโลกบาล
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ยังมีหน้าที่เป็นจตุโลกบาล คือเป็นผู้คุ้มครองและตรวจดูโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ทั้ง ๔ ทิศ โดย
วัน ๘ ค่ำ อำมาตย์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลก
วัน ๑๕ ค่ำ บุตรทั้งหลายของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลก
ส่วนในวัน ๑๕ ค่ำ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลกเองว่า พวกมนุษย์พากันบำรุงบิดามารดา และสมณพราหมณ์ เคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถศีลและทำบุญกุศลเป็นจำนวนมากหรือไม่
ครั้นตรวจดูแล้วก็จะไปบอกพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ ซึ่งมาประชุมกันในสุธรรมาเทวสภา ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำดีกันน้อย พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจหดหู่ เพราะทิพยกายจะลดถอย อสุรกายจะเพิ่มพูน แต่ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำดีกันมาก พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจชื่นบาน เพราะทิพยกายจะเพิ่มพูน อสุรกายจะลดถอย


ตำนานอาฏานาฏิยปริตร
อาฏานาฏิยสูตร กล่าวไว้ว่า
ในสมัยหนึ่ง เมื่อพุทธเจ้าประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ท้าวจาตุมหาราช คือ ท้าวธตรฏฐ์ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวกุเวร พร้อมด้วยบริวารอันได้แก่ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
ท้าวมหาราชเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า จตุโลกบาล ( ผู้รักษาโลกทั้ง ๔) ซึ่งเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ท้าวกุเวรกราบทูลว่า อมนุษย์ที่เป็นบริวารของจตุโลกบาล บางพวกก็เลื่อมใสพระพุทธเจ้า บางพวกก็ไม่เลื่อมใส เพราะพระองค์ทรงแสดงธรรมให้ถือศีล ๕ คือให้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ และการเสพสุรา แต่มนุษย์และยักษ์ยังชอบทำบาปเหล่านี้ จึงขัดใจไม่ค่อยเลื่อมใส สาวกของพระองค์ที่ประกอบวิปัสสนาธุระ ไปบำเพ็ญสมณธรรมในเสนาสนะป่าเปลี่ยว เมื่อไม่มีสิ่งป้องกัน อมนุษย์ก็จะรบกวนเบียดเบียนให้ลำบาก ขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องป้องกันรักษา คือ อาฏานาฏิยปริตรไว้ จะได้ประทานให้สาวกสวด จะทำให้อมนุษย์เลื่อมใส ไม่เบียดเบียนภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และกลับจะช่วยคุ้มครองรักษาให้อยู่ผาสุข แล้วจึงกล่าว อาฏานาฏิยปริตร ขึ้นในเวลานั้นว่า วัปัสสิสสะ นะมัตถุ เป็นต้น
เมื่อพระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ ท้าวกุเวรจึงกราบทูลต่อไปอีกว่า ผู้ที่เจริญอาฏานาฏิยปริตรนี้ดีแล้ว อมนุษย์จะไม่ทำร้าย ถ้าอมนุษย์ยังผืนกระทำจะแพ้ภัยตัวเองจากนั้น พระพุทธเจ้าจึงนำมาตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายในภายหลัง



ซื่อ เทียน หวาง หรือ ซี้ เทียง อ้วง ?ท้าวจตุโลกบาล?
เทพทั้งสี่ผู้เป็นใหญ่ในแดนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิก เป็นแดนเทวโลก ซึ่งเชื่อว่าเป็นดินแดนอันมีอาณาเขตติดกับโลกมนุษย์ เทพทั้งสี่ปกครองสวรรค์แบ่งเป็นเขตต่างกัน ทำหน้าที่เป็นโลกบาลประจำทิศทั้งสี่ โดยมี

1. เทพ ฉือ กว๋อ เทียน อ้วง หรือ ฉือ กว๋อ เทียน หวาง
เป็นราชาแห่งฝูงคนธรรพ์ ประจำอยู่ทิศตะวันออก มีชื่อเรียกว่า ท้าวธตรัฐ มีลักษณะ คือ ผิวกายสีเขียว มือซ้ายถือพิณ มือขวาดีดพิณ บางตำราอ้างว่าท้าวธตรัฐ เป็นผู้ดีดพิณถวายเตือนพระสติพระโพธิสัตว์ในคราวบำเพ็ญทุกขกิริยา ให้หันมาตั้งมั่นในมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งในคติเบตท้าวธตรฐเป็นเทพเจ้าแห่งความร่าเริง เพราะมีของวิเศษเป็นพิณที่ดีด และเพลงที่เล่นนั้นเป็นเพลงแห่งความสุขกล่อมปวงประชา ท้าวธตรัฐนี้มีเทพองครักษ์เป็น ?ค้วงกุ้ย? (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) หรือผีบ้าสติแตกกับยมทูตตัวเขียว

2. เจง เจีย เทียง อ้วง หรือ เจิง ฉาง เทียง หวาง
ซึ่งก็คือ ท้าววิรุฬหก เป็นราชาแห่งกุมภัณฑ์ (ยักษ์) เป็นเทพแห่งเหล่ายักษ์มีรูปกายสีขาว มือถือเกาทัณฑ์ บางตำรากล่าวว่าถือร่ม อยู่ประจำทิศทักษิณ มีผีที่เป็นองค์ชื่อ ?อุ๊งหิ่ง เท้งฉู่?(ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ผีเหม็น กระโดกกระเดก ในคติเบตท้าววิรุฬหกทรงเป็นเทพแห่งความสุข และความมั่งคั่งของปวงประชาหรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภนั่นเอง

3. ควง บัก เทียง อ้วง หรือ กว่าง มุ เทียน หวาง
ซึ่งก็คือท้าววิรูปักษ์, ท้าววิรุณ, ท้าวพิรุณ ผู้เป็นราชาแห่งนาค มือซ้ายมีงูเลื้อยพันฝ่ามือจับคองูไว้ มือขวาถือดาบ อยู่ประจำทิศตะวันตก กล่าวว่า เกิดจากกัสสปเทพบิดรกับนางทิติมเหสี ฝ่ายซ้าย มีกายขาวเพราะทำหน้าที่เกี่ยวกับน้ำ และยังมีคนกล่าวไว้อีกว่าท้าวเธอเกลียดความเท็จมากที่สุด หากผู้ใดกล่าวเท็จ ผิดสัญญา ก็จะบันดาล ให้ป่วยไข้ต่างๆ นานา แต่หากผู้ใดมีศีลสัตย์เกรงกลัวต่อบาปก็ย่อมบำเหน็จให้พบความสุขสวัสดี ทั้งอาจช่วยให้พ้นมฤตยู(ความตาย) ได้ในบางคราว ด้วยความเมตตากรุณาในหทัยของท้าวเธอนั่นเอง ด้วยเหตุที่มีชื่อเรียกวิรุณหรือพิรุณจึงเป็ฯเทพแห่งฝนเรียกปัชชุนะพุทธโฆษาจารย์ว่าชื่อ วสสาวลาหก บ้างก็ว่าเป็นใหญ่เหนือมนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่าปัชชุนะอาจต้องทำให้ฝนตกเมื่อเปี่ยมบุญญาธิการ ประกาศสัจจกริยาเช่นครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปลา ปัชชุนะต้องทำให้ฝนตกเพื่อพระโพธิสัตว์และญาติมิตรทั้งปวง ทั้งพระอานนท์ก็เคยเกิดเป็นเทพปัชชุนะมาแล้วในอดีตชาติ
ท้าววิรูปยักษ์ หรือพระวรุณ นามเต็มว่า พระวรุณาทิตย์ เป็นเชษฐาองค์แรกในพวกอาทิตย์ ทั้ง 8 เป็นโอรสนางทิติกับกัศยปเทพพิดร แต่ในมหาภารตะว่าเป็นโอรสพระฤษีกรรทมพรหมบุตร ส่วนในรามเกียรติ์ว่าเป็นบิดาสุเสน (นายทหารของพระราม) มีเทพองครักษ์เป็น ?เอี่ยวเฮ้งกุ้ย? (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) หรือแปลง่ายๆว่า ผีเมตตาอ่อนโยน และอีกตัวหนึ่งคื ?หง่อกุ้ย? (ภาษจีนแต้จิ๋ว) หรือผีออดอยาก

4. โต เหวิน เทีวน หวาง
หรือเรียกว่า ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร หรือไตรภูมิพระร่วงเรียกว่า ท้าวไพสพมราช เป็นราชาแห่งยักษ์ ประจำอยู่ทางทิศเหนือ มีกายดำถือเจดีย์ กล่าวว่าเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ถือเป็นยักษ์ที่ดำรงในสัตย์ธรรม เป็นที่ปรึกษาคนสนิทของพระอินทร์ สมมติกันว่าเป็นโอรสพระวิศรวสมุนีกับนางอิฑวิฑา แต่ในมหาภารตะว่าเป็นดอรสพระปุลัสตยะ (เป็นบิดาของพระวิศรวัสมุนี อีกชั้นหนึ่งในคัมภีร์มหาภารตะ อ้าวว่าพระปุลัสตยะเป็นเทพองค์ที่ 4 ของดาวจระเข้) ท้าวเวสสุวรรณได้รับพรจากพรหมให้เป็นอมฤต
ท้าวเวสสุวรรณนั้น มีองครักษ์เป็น ?เฉ่าเง่อกุ้ย? (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) แปลตรงตัวว่ามีอดอยาก และเหม็น
ในทางพระพุทธสาสนา ท้าวจตุโลกบาลถือเป็นเอตทัคคะอุปัฎฐากโดยเป็นผู้ถวายอารักขาพระพุทธองค์ครั้งอยู่ในครรภ์ของพระราชนนี ในครั้งที่ตปุสสะและภัลลิกะถวายข้าวยาคู และรวงผึ้งนั้น พระพุทธองค์ ทรงปริวิตกว่า หากจะทรงรับด้วยพระหัตถ์ ก็จะเป็นการไม่เหมาะสม ครั้นท้าวจตุโลกบาททราบความในพระทัย ต่างก็ทูลเกล้าถวายบาตรแก้ว แล้วโดยพุทธานุภาพทรงรวมบาตรทั้งสี่เข้าด้วยกันแล้วจึงทรงรับบิณฑบาตดังกล่าว ท้าวเธอทั้งสี่ยังเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่พุทธสาวกในการค้ำจุนหระพุทธสาสนาอีกด้วย
ท้าวจตุโลกบาลมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อผดุงเหล่าธรรมิกชนทั้งในโลกมนุษย์ และเทวโลกโดยวันขึ้น หรือแรม 15 ค่ำ (วันอุโบสถ) ท้าวทั้งสี่จะมาตรวจโลก เพื่อสำรวจดูผู้ดำเนินในศีลจารวัตร ด้วยคตินี้ในพิธีกินผักจะมีประเพณีป้ายฐาน เพื่อรอรับท้าวเธอที่จะเสด็จมาตรวจดูคืนวันที่ 29 หรือ 30 ของ เดือน 8 ตามปฏิทิน จันทรคติจีน (ไทย แรม 15 ค่ำ เดือน 10)
เมื่อท่านได้ทราบถึงประวัติของเทพจตุโลกบาลแล้ว เชิญท่านเลือกชมบารมีเทพองค์อื่นได้ในทุกศาลเจ้าที่กล่าวมาแล้ว
ทุกศาลเจ้าในเมืองตรังย่อมมีผู้ศรัธทาที่สร้างให้ก่อเกิด หากเมื่อศรัทธาเคารพก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลอย่างคำที่มีผู้กล่าวไว้ตลอดว่า พระใครใครก็นับถือย่อมเป็นสัจจธรรม แต่ทุกศาลเจ้าที่กล่าวมาข้างต้นจะมีที่สำรับกราบไหว้เทวดาในภาษาจีน เรียกกันว่า ที่ตี้เปบ้อ หรือเทียนตี้ฟู่หมู่เป็นด่านแรก เนื่องจากเป็นการการบไหว้เทพบิดา เทพมารดา เชื่อกันว่า เป็นเทพแห่งการกำเนิดสรรพชีวิตในโลกมนุษย์ สำหรับท่านที่ตั้งใจจะถือปฏิบัติตนในช่วงประเพณีถือศีลกินผัก หรือหากท่ามีญาติมิตรมาร่วมพิธีก็ขอให้พำนักอยู่ในเมืองตรังด้วยความสวัสดิภาพ และขอให้ทุกคนเที่ยวเมืองตรังให้สนุก ได้บุญกุศลกับการเที่ยวชมสักการะให้ครบ 9 ศาลเจ้าจะถือเป็ฯมงคลแห่งชีวิตอย่างยิ่ง

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

ท้าวเวสสุวัณมหาราช

-http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=898.0-

**************

ท้าวเวสสุวัณ หรือ ท้าวกุเวร นั้น ศาสนาพราหมณ์ถือว่าเป็นเทพองค์เดียวกัน โดยที่ศาสนาพราหมณ์นั้นได้กล่าวถึงเทพผู้พิทักษ์รักษาโลกมนุษย์ หรือ ท้าวโลกบาลประจำทิศต่าง ๆ ด้วยกัน ๘ ทิศ คือ

พระอินทร์ ประจำทิศบูรพา (ตะวันออก)
พระเพลิง ประจำทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
พระยม ประจำทิศทักษิณ (ใต้)
พระอาทิตย์ประจำทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)
พระพิรุณ ประจำทิศประจิม (ตะวันตก)
พระพาย ประจำทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงใต้)
พระจันทร์ ประจำทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) และ
ท้าวกุเวร ประจำทิศอุดร (ทิศเหนือ)

ก่อนจะว่ากันต่อไปถึงประวัติความเป็นมาของท่านท้าวกุเวร ต้องมาตกลงทำความเข้าใจกันก่อนในเรื่องของลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ และ ศาสนาพุทธ

อย่างกรณีของเรื่องท้าวโลกบาลนั้น จะเห็นว่า พุทธศาสนาของเรานั้น กล่าวถึงท้าวโลกบาลเพียง ๔ ทิศ ที่เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ อันได้แก่ ท่านท้าวกุเวร เป็นโลกบาลประจำทิศอุดร (ทิศเหนือ) ดุจเดียวกับพราหมณ์ ท่านท้าวธตรฐ เป็นโลกบาลประจำทิศบูรพา (ตะวันออก) ต่างจากพราหมณ์ ที่ให้พระอินทร์ อยู่ในทิศนี้ ท่านท้าววิรุฬหก ประจำทิศทักษิณ (ใต้)  ต่างจากพราหมณ์ ที่ให้พระยม ประจำทิศนี้ และท่านท้าววิรูปักษ์ ประจำทิศประจิม (ตะวันตก) ต่างจากพราหมณ์ที่ให้พระพิรุณ ประจำทิศนี้


ถ้าเราไม่แยกแยะในเรื่องของ ลัทธิความเชื่อของพราหมณ์กับพุทธออกจากกัน โดยเฉพาะในเรื่องของภพภูมิต่าง ๆ สวรรค์ ชั้นต่าง ๆ เราก็อาจจะสับสนปนเปกันวุ่นไปหมด อย่างพราหมณ์ที่เขาจัดให้พระอินทร์ เป็นท้าวจตุโลกบาลนั้น ด้วยเหตุที่พราหมณ์นั้น ไม่ได้มีการแบ่งแยกสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ออกจากกันแม้กระทั่งจัดให้พระยม เทพเจ้าแห่งขุมนรก เป็นท้าวจตุโลกบาล ประจำทิศใต้ ก็ดุจเดียวกัน พราหมณ์นั้นไม่ได้แยกภพภูมิ เป็นไตรภูมิอย่างพุทธศาสนา ดังนั้น สวรรค์ของพราหมณ์ ก็คือ เทพเทวดาต่าง ๆ โดยทั่วไป แม้แต่พระพรหม ก็อยู่บนสวรรค์ โดยถือเป็นเทวดาที่มีศักดิ์สูงเป็นใหญ่กว่าเทวดาทั้งปวงเท่านั้น อย่างพระยมนั้น ท่านก็ให้เป็นเทวดา แต่ไปปกครองนรก หรือ ดินแดนที่มีแต่ความเสื่อมโทรม ทารุณโหดร้าย หรือ พระพิรุณ เทพเจ้าแห่งมหาสมุทร และสายฝน ก็ให้ไปปกครองเมืองบาดาล ถือเป็นเทพองค์หนึ่งที่ไม่ได้อยู่บนสรวงสวรรค์


แต่ในทางพุทธศาสนานั้น แยกภพภูมิออกจากกันอย่างชัดเจน พระอินทร์ นั้น เป็นเทวราช หรือ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นที่สอง หรือ ดาวดึงส์ ย่อมอยู่เหนือกว่า หรือสูงศักดิ์กว่า ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ที่จัดให้เป็นใหญ่ในทิศต่าง ๆ ทั้งสี่ทิศ อยู่ในสวรรค์ชั้นที่หนึ่ง ที่เรียกว่า สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา โดยที่สวรรค์ชั้นนี้ นอกจากมีเทวดาชั้นต่ำ เช่น พระภูมิ เจ้าที่ รุกขเทวดา อากาศเทวดา ฯลฯ แล้ว ยังมีอมนุษย์ต่าง ๆ อยู่ในภพภูมินี้อีกหลายประเภท เช่น ยักษ์ ถือเป็นเทวดาพวกหนึ่ง ที่มีรูปร่างหน้าตาน่ากลัว ตาพองโต จมูกบาน มีเขี้ยวโง้ง ร่างกายใหญ่โต มีกระบอง เป็นอาวุธ บรรดายักษ์เหล่านี้ อยู่ในความดูแล หรือ ภายใต้การปกครองของท่านท้าวกุเวร หรือ ท่านท้าวเวสสุวัณ ซึ่งถือกำเนิดเป็นยักษ์เช่นกัน


นอกจากยักษ์แล้วยังมีพวก คนธรรพ์ ที่หลายท่านเข้าใจว่า เป็นพวกกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดา มีหน้าที่ขับร้องฟ้อนรำ หรือมีความสามารถในด้านดนตรี แท้ที่จริงแล้ว ท่านไม่ได้เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดาอย่างที่เข้าใจกัน เหมือนพวกกินนร (กึ่งนกกึ่งคน คือ ตัวเป็นคน มีท่อนล่างเป็นนก มีปีกแบบนก) หรือ พวกครุฑ (ที่เป็นพวกกึ่งนก กึ่งเทวดา) หรือ อมนุษย์อื่น ๆ แต่ท่านเป็นเทวดาชั้นต่ำ มีกายทิพย์ อิ่มทิพย์ เสวยสมบัติทิพย์ ดุจปวงเทพเทวดาทั่วไป มีความสามารถในด้านการขับร้อง ฟ้อนรำ เพียงแต่ไม่มีวิมานเป็นที่อยู่ของตนเอง จะอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ในขอบเขตของสวรรค์ชั้นที่หนึ่ง ทางด้านทิศตะวันออก ที่อยู่ในความปกครองดูแลของท่านท้าวธตรฐ ที่กำเนิดของท่านเป็นคนธรรพ์เช่นกัน ไม่ได้เป็นยักษ์อย่างที่บางตำราบอกเอาไว้

อมนุษย์ในชั้นนี้ นอกจากยักษ์ คนธรรพ์แล้ว ยังมีพวก นาค ซึ่งถือว่าเป็นเทวดาเช่นกัน เพียงแต่เป็นเทวดาชั้นต่ำ ที่มีรูปร่างปกติเป็นงูที่มีหงอน หรือ งูใหญ่ เป็นเจ้าแห่งงู หรือ พญางู แต่เวลาที่อยู่ในเมืองของตนแล้ว จะจำแลงกายดุจเหมือนคนทั่วไป มีกายทิพย์ อิ่มทิพย์ ดุจเดียวกับเทวดา แต่ไม่มีวิมานอยู่ อยู่ในเมืองด้านทิศตะวันตก ในความปกครองดูแลของท่านท้าววิรูปักษ์ ที่ถือกำเนิดเป็นนาคเช่นกัน

บ้างก็ว่า นาคนั้นมีฤทธิ์เดชมาก เพราะเพียงแค่พิษของนาคถูกต้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็สามารถตัดเอาผิวหนังของบุคคลนั้นและทำให้ถึงแก่ความตายได้ในพริบตา พวกนาครู้จักเนรมิตตนเป็น มนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เพื่อท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ตามอัธยาศัยอย่างสุขสำราญ

หากบุคคลใดได้ยินได้ฟังมาว่าพวกนาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก ทำให้ชอบใจ แล้วทำคุณงามความดีด้วยกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งปรารถนาไปเกิดเป็นนาค บุคคลนั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปเกิดเป็นนาคในชาติต่อไปสมความปรารถนา

อีกพวกหนึ่งที่สำคัญในสวรรค์ชั้นที่หนึ่งก็คือพวก กุมภัณฑ์ ซึ่งหลายคนเอาไปปะปนกับพวกยักษ์ให้วุ่นไปหมด แท้ที่จริงแล้ว พวกกุมภัณฑ์นี้ เป็นเทวดาชั้นต่ำ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนก็คือ มีลูกอัณฑะที่ใหญ่เท่าหม้อ นี่เขาแปลตามรากศัพท์นะครับ แท้ที่จริงแล้ว เทวดาจำพวกนี้ ไม่ได้มีลูกอัณฑ์ใหญ่เท่าหม้ออย่างที่เข้าใจกัน แต่มีรูปร่างอ้วนเตี้ย พุงป่อง เหมือนหม้อต่างหาก เทวดาพวกนี้จะอยู่ในเมืองดุจเดียวกับเทวดาอื่น ๆ ในชั้นเดียวกัน แต่อยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีท่านท้าววิรุฬหก ซึ่งถือกำเนิดเป็นกุมภัณฑ์เช่นกัน เป็นผู้ปกครอง

อันเทวดาทั้งสี่จำพวก คือ ยักษ์ คนธรรพ์ นาค กุมภัณฑ์ นั้น ปกติร่างกายของท่าน ก็จะเป็นรูปลักษณ์แยกออกไปตามลักษณะของชาติกำเนิด แต่แท้ที่จริงแล้ว เวลาอยู่ในเมืองสวรรค์ ที่เป็นทิพย์ ท่านก็อาจจะเนรมิตกายให้สวยสดงดงามดุจเดียวกันก็ได้ คงไม่มีเทวดาตนใดที่อยากมีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวหรอกครับ ไม่งั้น บรรดานางฟ้า นางสวรรค์ คงไม่ชายหางตาแลแน่นอน

ในสวรรค์ชั้นที่หนึ่งนี้ นอกจากเทวดาทั้งสี่จำพวก ที่อยู่ในความปกครองดูแลของท่านท้าวมหาราชทั้งสี่แล้ว ยังมีอมนุษย์ที่ไม่ใช่เทวดา แต่เป็นกึ่งเทวดา อยู่โดยรอบของสวรรค์ชั้นที่หนึ่ง หรือ อยู่ปลายแดนสวรรค์ก็ได้

ถิ่นที่อยู่ของพวกนี้มักจะอยู่ในเขตที่เรียกว่า ป่าหิมพานต์ หรือ มหานทีสีทันดร ที่กว้างใหญ่ไพศาล ก่อนที่จะถึงเมืองสวรรค์ชั้นที่หนึ่งนั่นเอง อันได้แก่ พวกกินนร,ครุฑ,รากษส ฯลฯ เป็นพวกที่กึ่งคนกึ่งนก (กินนร), กึ่งเทวดากึ่งนก (ครุฑ),กึ่งยักษ์กึ่งสัตว์ (รากษส พวกนี้กินสัตว์ และมนุษย์เป็นอาหาร เหมือน ผีเสื้อสมุทร) และบรรดาภูติผีปีศาจร้าย ที่มีฤทธิ์อำนาจ เป็นพวกกึ่งเปรตกึ่งเทวดา หรือ ก็เป็นเปรตจำพวกมหิทธิกาเปรต หรือ เวมาณิกเปรต พวกนี้กลางวันเป็นเทวดามีวิมานอยู่ กลางคืนต้องรับกรรม กลายร่างเป็นเปรต ได้รับทุกข์ทรมานจากความหิวโหย ฯลฯ ส่วนพวกอสูรนั้น ไม่ได้อยู่ในสวรรค์ชั้นที่หนึ่งนะครับ แต่อยู่นอกเขตสวรรค์ชั้นที่สอง เพราะถูกขับออกมา ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว และมีศักดิ์สูงกว่าเทวดาในชั้นที่หนึ่งด้วยซ้ำไป

อนึ่งท่านท้าวจตุโลกบาลนี้ บางตำรากล่าวไว้ว่า ท่านอยู่ภายใต้บังคับบัญชา หรือ ได้รับมอบหมายจาก "สมเด็จพระอมรินทราธิราชเจ้า" หรือ พระอินทร์ ให้เป็นผู้ปกปักคุ้มครองดูแลทุกข์สุขต่าง ๆ ของมวลมนุษย์ พิทักษ์รักษาโลกให้ปลอดภัย ไม่ให้มีสิ่งเลวร้ายใด ๆ มาทำลายความสงบสุขได้

นอกจากนั้น ยังได้มอบหมายให้เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่บัญชาคนทำบัญชี และจดบันทึกการทำบุญ การทำบาป ของคนในมนุษย์โลก โดยท้าวโลกบาลทั้งสี่ จะดูแลตามทิศของตน ๆ เช่น

ท่านท้าวธตรฐ ก็จะสั่งให้เหล่าคนธรรพ์ ไปดำเนินการ,
ท่านท้าววิรุฬหก ก็จะสั่งให้เหล่ากุมภัณฑ์ ไปดำเนินการ,
ท่านท้าววิรูปักษ์ ก็จะสั่งให้เหล่าพญานาค ไปดำเนินการ,
ท่านท้าวกุเวร ก็จะสั่งให้เหล่ายักษ์มาร ไปดำเนินการ

หลังจากได้รับบัญชีบุญ-บาป แล้ว ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ก็จะนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายให้แก่พระอินทร์ ด้วยตนเอง เพื่อพิจารณาอีกทีหนึ่ง


มีผู้รู้บางท่านยังได้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับภาระหน้าที่ในการตรวจดูการทำบุญ ทำบาป ของสัตว์โลก แยกออกไปอีกตามวาระดังนี้คือ

- วัน ๘ ค่ำ อำมาตย์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลก ,
- วัน ๑๕ ค่ำ บุตรทั้งหลายของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลก,
- ส่วนในวัน ๑๕ ค่ำ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลกเอง

ว่าพวกมนุษย์พากันบำรุงบิดามารดา และสมณพราหมณ์ เคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถศีลและทำบุญกุศลเป็นจำนวนมากหรือไม่

ครั้นตรวจดูแล้วก็จะไปบอกพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ ซึ่งมาประชุมกันใน สุธรรมาเทวสภา ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำดีกันน้อย พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจหดหู่ เพราะ ทิพยกายจะลดถอย อสุรกายจะเพิ่มพูน แต่ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำดีกันมาก พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจชื่นบาน เพราะ ทิพยกายจะเพิ่มพูน อสุรกาย จะลดถอย


มาถึงตรงนี้แล้ว จะได้ข้อคิดอะไรอย่างหนึ่งก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ ? ที่ท่านพญามัจจุราช หรือ เทพแห่งความตายนั้น คือ ท่านท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวัณ เพราะท่านเป็นเทพที่ปกครองพวกยักษ์มาร ภูติผีปีศาจร้ายทั้งหลาย วิญญาณทั้งหลายของคนตาย ที่ยังคงเร่ร่อนหาที่ไปเกิดยังภพภูมิใหม่ไม่ได้ ซึ่งเราเรียกว่า พวกสัมภเวสี

ทีนี้ โดยปกติทั่วไป เมื่อคนใดตายแล้ว จิตวิญญาณก็จะเข้าสู่สภาแห่งความตาย เพื่อตัดสินชำระโทษ โดยมีท่านท้าวเวสสุวัณ เป็นประธาน โดยมีเทพทั้งสามท่านที่เหลือ คือ ท่านท้าวธตรฐ ท้าววรุฬหก ท้าววิรุฬปักษ์ เป็นผู้ร่วมพิจารณา โดยตัดสินพิจารณาจากบัญชีบุญ และ บัญชี บาป ที่บรรดาเหล่าบริวารของท่านเหล่านั้นนำมาเสนอ ถ้าทำดี ก็จะนำบัญชี และวิญญาณบุญนั้น ขึ้นทูลเกล้าถวายพระอินทร์ ในทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน ที่มีการประชุมเทวสภาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่ออนุโมทนาและรับตัวเข้าสู่สรวงสวรรค์ แต่ถ้าทำชั่ว ก็จะนำบัญชี และวิญญาณบาปนั้น ส่งไปยังยมโลก ให้ท่านพญายม ทำหน้าที่ลงโทษ ตามที่ได้รับการพิพากษาโทษต่อไป


ในบรรดาเทพที่ทำหน้าที่ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ในทางพุทธศาสนานั้น มีเพียงท่านเดียวเท่านั้น คือ ท่านท้าวกุเวร หรือ ท่านท้าวเวสสุวัณ ที่ทางศาสนาพราหมณ์ยอมรับอย่างตรงกันว่า เป็นโลกบาลประจำทิศอุดร และได้มีประวัติเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับพระองค์ท่านบันทึกเอาไว้มากมายหลายคัมภีร์ แต่เทพที่เป็นโลกบาลอีกสามทิศที่เหลือ พวกพราหมณ์เขาไม่ยอมรับ และไม่รู้จักด้วยซ้ำ ดังนั้น เรื่องราวประวัติต่าง ๆ จึงไม่ค่อยปรากฎ เห็นทีจะต้องนำเรื่องราว ประวัติและบทบาทของท่านมาเสนอซะที หลังจากอารัมภบทซะยืดยาว

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ท้าวเวสสุวัณมหาราช

-http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=898.0-

**************

ท้าวกุเวร หรือ ท่านท้าวเวสสุวัณ นั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ ยืนถือกระบองยาว หรือ คทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่ามหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ย อีกด้วย กล่าวกันว่า ผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือ มีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวเวสสุวัณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียนในภายหลัง

ภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฎในรูปของชายพุงพลุ้ย เป็นที่เคารพนับถือในความเชื่อว่า เป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสสุวัณ ซึ่งมาในรูปของยักษ์ เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ ในหนังสือ "เกร็ดโบราณคดีประเพณีไทย" ของ ส.พลายน้อย ได้กล่าวไว้ว่า

คนในสมัยโบราณนั้น ถ้าพูดกันถึงเรื่องรักเด็กรักลูกแล้ว ดูเขารักกันอย่างแน่นแฟ้นจริงจัง มีสิ่งไรที่ป้องกันหรือแก้ไขให้เด็กรอดพ้นจากอันตรายได้แล้ว เขาก็ทำทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้จึงเกิดธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เกี่ยวกับทารก หรือ ความเชื่อถือในเรื่องผีสางเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อมีการคลอดบุตรก็ต้องมียันต์ตรีนิสิงเห และทำรูปท้าวเวสสุวัณแขวนไว้ที่เปลเด็ก ถือเป็นธรรมเนียมมาช้านานทีเดียว

ด้วยเหตุที่ว่า ท้าวเวสสุวัณ เป็นนายพวกยักษ์ และ รากษส เป็นใหญ่ในบรรดาผีปีศาจทั้งหลาย จึงนิยมทำรูปท้าวเวสสุวัณแขวนไว้ที่เปลเด็ก เพื่อป้องกันปีศาจไม่ให้มารบกวนเด็ก โดยมักเขียนลงบนผ้าขาวม้า แขวนไว้ที่เปลเด็ก โดยเหตุที่เขียนลงบนผ้าขาวม้า ก็เพราะว่า ท้าวเวสสุวัณ มีพาหนะเป็นม้า จึงสมมุติว่า ผ้าขาวม้าเป็นพาหนะ "ม้า" ของท้าวเวสสุวัณ

ใน " สารานุกรมไทย " ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ ๓ หน้า ๑๔๓๙ กล่าวถึง ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวัณ ไว้ว่า


กุเวร - ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ มียักษ์ และ คุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น ลางทีก็เรียกว่า ท้าวไวศรวัน (เวสสุวัณ) ทมิฬ เรียก กุเวร ว่า กุเปรัน ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการ ผิวขาว มีฟัน ๘ ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสสุวัณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาวอยู่หว่างขา)

เมืองท้าวกุเวร ชื่อ อลกา อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า สวนไจตรต หรือ มนทร มีพวกกินนร และคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ จีน เรียกว่า โต้เหวน หรือ โต้บุ๋น ญี่ปุ่น เรียก พสมอน ตามคติไทยมักเขียนภาพท้าวกุเวร ซึ่งเรียกว่า เวสสุวัณ แขวนไว้ที่เปลเด็กเป็นเครื่องคุ้มกันภัย

กล่าวสำหรับท้าวเวสสุวัณที่เป็นรูปเขียน มักเขียนท้าวเวสสุวัณหน้ายักษ์ กายพิการ ถือคทา บางครั้งเขียนให้ถือกระบองยาว มี ๓ ขา บางแห่งขาพิการ มีฟัน ๘ ซี่ สีกายขาว มีอาภรณ์มงกุฎอย่างงาม รูปเขียนเมื่อนั่งบุษบกมี ๔ กร และมีม้าขาวเป็นพาหนะด้วย

นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสสุวัณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง ๒ คาวุต ประมาณ ๒๐๐ เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้ว ประพาฬ หอกทอง

ในลัทธิความเชื่อของพราหมณ์ กล่าวถึงประวัติของท้าวเวสสุวัณไว้ว่า ทรง เป็นโอรสของ พระวิศรวิสุมนี กับ นางอิทาวิทา แต่ในมหาภารตะว่า เป็นโอรสของพระปุลัสต์ ซึ่งเป็นบิดาของ พระวิศรวัส กล่าวว่า ด้วยเหตุที่ท้าวกุเวรใฝ่ใจกับท้าวมหาพรหม เป็นเหตุทำให้บิดาโกรธ จึงแบ่งภาคเป็น พระวิศวรัส หรือ มีนามหนึ่งว่า เปาลัสตยัม ซึ่งรามเกียรติ์ไทยเรียกว่า ลัสเตียน

ท้าวลัสเตียน หรือ พระวิศวรัสซึ่งเป็นภาคหนึ่งของ พระวิศรวิสุมนี นั้น ได้นางนิกษา บุตรีท้าวสุมาลีรักษา เป็นชายา มีโอรสด้วยกันคือ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก และ นางสำมะนักขา ดังนั้น ท้าวกุเวร จึงเป็นพี่ชายต่างมารดา และร่วมบิดาเดียวกับทศกัณฐ์

เหตุที่ท้าวกุเวรผิดใจกับผู้เป็นพ่อ เพราะไปฝักใฝ่กับท่านท้าวมหาพรหม ซึ่งเป็นเทวดา ทำให้ผู้เป็นพ่อ คือ พระวิศรวิสุมนีโกรธ เพราะถือทิฐิว่า ตนเป็นยักษ์ ที่เป็นเทวดาต่ำศักดิ์กว่า ไม่ควรไปยุ่งกับเทวดาที่บนสวรรค์ชั้นสูงกว่า เห็นคนอื่นดีกว่าพ่อของตน ก็เลยแบ่งภาคออกไปมีเมียใหม่ ลูกใหม่ ซะเลย ที่ท้าวกุเวรมีใจฝักใฝ่กับท่านท้าวมหาพรหมนั้น เป็นเพราะท้าวกุเวรนั้น ต้องการบำเพ็ญตบะบารมี หรือ สร้างสมความดี ด้วยการเข้าฌาน และบำเพ็ญทุกรกิริยา นานนับพันปี จนท่านท้าวมหาพรหมโปรดปราน ประทานบุษบกให้ อันบุษบกนี้ หากใครได้ขึ้นไปแล้ว สามารถล่องลอยไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ต้องออกแรงเหาะให้เหนื่อยเปล่า ๆ


เดิมทีนั้น ท้าวกุเวรครองกรุงลงกา ซึ่งมีพระวิศกรรมเป็นผู้สร้างให้ แต่นางนิกษา ได้ยุยงให้ทศกัณฐ์ชิงกรุงลงกามาจากท้าวกุเวร ทั้งยังชิงเอาบุษบกอันพระพรหมได้ประทานแก่ท้าวกุเวรมาด้วย ดังที่ได้บอกเอาไว้แล้วว่า บุษบกนี้สามารถลอยไปไหนมาไหนได้ดังใจนึก แต่มีข้อห้ามมิให้หญิงที่ถูกสมพาส (แปลว่า การอยู่ร่วม การร่วมประเวณี) จากชาย ๓ คน นั่ง ซึ่งต่อมานางมณโฑ ได้นั่งบุษบก จึงไม่สามารถที่จะลอยไปไหนมาไหนได้อีกเลย


สำหรับนางมณโฑ ที่แต่เดิมเป็นนางฟ้า ที่พระอิศวรประทานให้กับทศกัณฐ์ ต้องกลายมาเป็นหญิงสามผัว ด้วยเหตุที่ว่า เมื่อทศกัณฐ์ได้รับตัวนางมณโฑจากพระอิศวรมาแล้ว ก็อุ้มพานางเหาะกลับมายังกรุงลงกา ขณะที่เหาะข้ามมาระหว่างทาง ได้เหาะข้ามเมืองขีดขิน ซึ่งมี "พาลี" เป็นเจ้าเมือง พาลีโกรธ ที่ทศกัณฐ์บังอาจ อุ้มหญิงสาวเหาะข้ามหัว โดยไม่เกรงใจ จึงเหาะขึ้นไปรบกับทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์สู้ไม่ได้ เพราะพาลีได้รับพรจากพระอิศวรว่า หากรบด้วยผู้ใด ศัตรูผู้นั้นจะมีกำลังลดลงครึ่งหนึ่ง หรือมีความสามารถลดน้อยกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง เมื่อทศกัณฐ์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงถูกพาลีแย่งชิงเอานางมณโฑไปเป็นมเหสี

ต่อมา เมื่อพาลีคืนนางมณโฑให้กับทศกัณฐ์แล้ว เมื่อตอนที่หุงน้ำทิพย์ "หนุมาน" ได้เข้าไปทำลายพิธี โดยปลอมตัวเป็นทศกัณฐ์ แล้วร่วมสังวาสกับนางมณโฑ นางมณโฑ จึงเป็นหญิงที่ผ่านการสมพาสชายมาถึง ๓ คน คือ พาลี ทศกัณฐ์ และ หนุมาน เมื่อทศกัณฐ์ให้นางมณโฑขึ้นนั่งบุษบกนี้ทีหลัง บุษบกก็เกิดการขัดข้องทางเทคนิค ไม่ลอยไปไหนมาไหนตามต้องการเหมือนเก่า ด้วยประการฉะนี้

ครั้นเมื่อท้าวกุเวรต้องเสียกรุงลงกาไปแล้ว ท้าวมหาพรหมท่านก็สร้างนครให้ใหม่ ชื่อ "อลกา" หรือ "ประภา" อันตั้งอยู่ที่เขาหิมาลัย มีสวนชื่อ "เจตรรถ" อยู่บนเขามันทรคีรี อันเป็นกิ่งแห่งเขาพระสุเมรุ บ้างก็ว่า ท้าวกุเวร อยู่ที่เขาไกรลาส ซึ่งพระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้างให้

อย่างไรก็ตาม ในทางพระพุทธศาสนา ในพระสูตรที่ชื่อว่า "อาฏานาฏิยะ" กล่าวว่า ท้าวกุเวร ตั้งเมืองอยู่ในอากาศ ข้างทิศที่อุตรกุรุทวีป (เหนือ) และเขาพระสุเมรุยอดสุทัศน์ (ที่เป็นผาทอง) ตั้งอยู่ มีราชธานี ๒ ชื่อ คือ อาลกมันทา และ วิสาณา มีนครอีก ๘ นคร

ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวัณ นั้น ยังมีชื่ออีกหลายชื่อ เช่น ธนบดี หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ ธเนศวร หมายถึง ผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ อิจฉาวสุ หมายถึง มั่งมีได้ตามใจ ยักษ์ราชหมายถึง เจ้าแห่งยักษ์ มยุราช หมายถึง เป็นเจ้าแห่งกินนร รากษเสนทร์ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในพวกรากษส ส่วนในเรื่องรามเกียรติ์ เรียกท้าวเวสสุวัณว่า ท้าวกุเรปัน

สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ยังกล่าวไว้อีกว่า ท้าวกุเวรนี้ สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ ๑ สระ ชื่อ ธรณี กว้าง ๕๐ โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วยหมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑป ชื่อ ภคลวดี กว้างใหญ่ ๑๒ โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก ๑๐ แห่ง

ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี ๓๒ ตน ยักษ์รักษาพระนคร ๑๒ ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ ๑๒ ตน ยักษ์ที่เป็นทาส ๙ ตน ในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงอดีตชาติของท้าวกุเวร เอาไว้ว่า

ในสมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา ไม่มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อยตัดใส่ลงไปในหีบยนต์ แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตนและบุตรภรรยา ต่อมากิจการเจริญขึ้นจนเป็นเจ้าของหีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง ๗ เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับคนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อยจากหีบยนต์เครื่องหนึ่ง ซึ่งมีประมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่น ๆ ให้เป็นทานแก่คนเดินผ่านไปมาจนตลอดอายุขัย

ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า "กุเวรเทพบุตร" ต่อมากุเวรเทพบุตรได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแลพระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า "ท้าวเวสสุวัณ"

ตามหลักฐานในคัมภีร์ทางพุทธศาสนายืนยันว่า "ท้าวกุเวร" หรือ "ท้าวเวสสุวัณ" เทวราชพระองค์นี้ ได้สำเร็จเป็น พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันเมื่อครั้ง "จุลสุภัททะ ปริพาชก" เกิดความสงสัยในความเป็นมาแห่ง องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า

ท่าน "ท้าวเวสสุวัณ" องค์นี้แหละ ที่ได้เสด็จไปร่วมต้อนรับด้วย และยัง เป็น ประจักษ์พยานเรื่องพระมหาโมคคัลลานะใช้เท้าจิกพื้นไพชยนตวิมาน ของพระอินทร์จนเกิดการ สั่นสะเทือนไป ทั้งดาวดึงส์เทวโลก อันเป็นการเตือนสติสักกะเทวราชอีกด้วย

และก็เชื่อกันตาม ฎีกามาลัยเทวสูตรว่า "คทาวุธ" ของ "ท้าวเวสสุวัณ" นั้น เป็นยอดศัสตราวุธ มีอานุภาพสามารถทำลายโลกใบนี้ให้เป็น จุณวิจุณภายในพริบตา

เป็นไงครับ อ่านเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของท่านท้าวกุเวร หรือ ท่านท้าวเวสสุวัณ ที่ผมได้รวบรวม เรียบเรียงมาให้อ่าน จากบรรดาคัมภรี์ต่าง ๆ และ ความคิดเห็นต่าง ๆ จากผู้รู้หลายท่านแล้ว จะเห็นได้ว่า ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวัณนั้น ท่านเป็นเทพที่สำคัญยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ที่พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าท่านท้าวสักกะเทวราช หรือ พระอินทร์เลยทีเดียว

จะเห็นได้ว่า ตามวัดวาอารามต่าง ๆ จะมีรูปปั้นยักษ์ ๑ ตน บ้าง ๒ ตนบ้าง ยืนถือกระบองค้ำพื้น ในท่ายืนแยงแย ส่วนมากจะมี ๒ ตน เฝ้าอยู่หน้าประตูโบสถ์ หรือ วิหารที่เก็บของมีค่า มีพระพุทธรูป และโบราณสมบัติล้ำค่าของทางวัดบรรจุอยู่ ด้านละ ๑ ตน หรือไม่ก็บริเวณลานวัด หรือที่ที่มีคนผ่านไปมาแล้วเห็นโดยง่าย บ้างก็สร้างเอาไว้ในวิหาร หรือ ศาลาโดยเฉพาะก็มี ซึ่งยักษ์เหล่านั้น ถ้าเป็นตนเดียว ก็จะหมายถึง รูปเคารพของท้าวเวสสุวัณ ไม่ใช่อื่นไกล แต่ถ้าเป็น ๒ ตน อย่างวัดพระแก้ว หรือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ดังที่เคยเห็น เขาก็จะเขียนชื่อติดเอาไว้เลยว่า ตนหนึ่งสีเขียว มีสิบเศียร สิบหน้านั้น ไม่ใช่ อื่นไกล คือ ทศกัณฐ์ และอีกตนหนึ่ง สีขาว คือ ท้าวสหัชเดชะ

ซึ่งแม้ยักษ์ทั้งสองจะไม่ใช่ท่านท้าวเวสสุวัณ แต่ก็มีฤทธิ์อำนาจไม่น้อย และเป็นบริวารของท่านท้าวเวสสุวัณ คอยทำหน้าที่ปกปักรักษา ดูแลไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด เข้ามาทำมิดีมิร้าย ทำบัดสีบัดเถลิง เกี้ยวพาราสี พรอดรักกันในวัดยามค่ำคืน หรือ เข้ามาขโมยทรัพย์สมบัติอันมีค่าของทางวัด หากผู้ใดบังอาจล่วงละเมิดล่ะก็ มีหวังช็อคซีเนราม่า เจอดี ชนิด จับไข้หัวโกร๋น หรือ รายที่มีกรรมหนัก ประเภทลอบลักเข้ามาตัดเศียรพระพุทธรูป อาจช็อคถึงตายคาวัด ก็มีให้พบเห็น เป็นข่าวบ่อยครั้งไป


สำหรับรูปปั้นยักษ์ที่เป็นรูปเคารพของท้าวเวสสุวัณนั้น หลายวัดทีเดียว ที่มีผู้คนเข้าไปสักการะ นอกจากจะคุ้มครองป้องกันอันตรายในเรื่องภูตผีปีศาจ คุณคน คุณไสย์ แล้ว ยังบนบานศาลกล่าว ขอโชคลาภ ความสำเร็จ ความร่ำรวย หลายต่อหลายรายเลยทีเดียว สำหรับวัดที่มีรูปเคารพท่านท้าวเวสสุวัณ ที่ศักดิ์สิทธิ์ และขึ้นชื่อลือชาในอดีต ก็เห็นจะมีวัดเกตุมวดี จ.สมุทรสาคร, วัดดอน ยานนาวา กทม., วัดท่าพระ ฝั่งธนบุรี,วัดด่านสำโรง จ.สมุทรปราการ ฯลฯ และที่ฮือฮากันมากเมื่อเร็ว ๆ นี้ เห็นจะเป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์ ที่มีผู้พบเห็นแสงสว่างเรือง เหมือนสปอร์ตไลท์ ออกมาจากดวงตารูปเคารพของท้าวเวสสุวัณที่อยู่หน้าโบสถ์ ของวัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม


ในส่วนที่สร้างเป็นเครื่องรางของขลัง เป็นรูปเคารพท่าน ที่สามารถพกพาติดตัวได้นั้น ถ้าถือเอาความนิยมเป็นอันดับหนึ่งของวงการพระเครื่อง ที่มีการเช่าหาแลกเปลี่ยนกันในมูลค่าหลักหมื่นต้น ๆ แล้วล่ะก็ ต้องยกให้รูปหล่อท้าวเวสสุวัณ ของ พระศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศน์เทพวราราม ที่ท่านได้สร้างตามวาระต่าง ๆ ด้วยกันถึง ๔ ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ , พ.ศ. ๒๔๘๓, พ.ศ. ๒๔๘๕ และ พ.ศ. ๒๔๙๓ ล้วนได้รับความนิยม และเช่าหากันทุกรุ่น ทุกแบบพิมพ์ ไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นด้วยกันทั้งนั้น หากท่านจะเช่าหาล่ะก็ ต้องระวังให้มากสักหน่อย เพราะของปลอม ของเลียนแบบมีเยอะมาก

นอกจากของเจ้าคุณศรี (สนธิ์) แล้ว ยังมีของ พระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์ ท่านสร้างเป็นเนื้อผงพุทธคุณ สนนราคาเช่าหาไม่แพง อยู่ในหลักพันต้น ๆ แต่ของหาไม่ค่อยได้ ใครมีก็มักจะหวงยิ่งกว่าของเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ซะอีก เพราะองค์นี้เป็นอาจารย์องค์หนึ่งของท่าน เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ปรมาจารย์การสร้างพระกริ่งที่ลือลั่น มีสนนราคาเช่าหาหลักแสนขึ้นไปเกือบทุกรุ่น ทุกพิมพ์

สำหรับวัดสุทัศน์นั้น ก็มีการสร้างรุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ อย่างรุ่นล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ ชื่อรุ่น ?เทพคุ้มครอง? ก็ได้รับความนิยมจากสาธุชนไม่น้อยเหมือนกัน
ส่วนวัดอื่นที่แพร่หลาย และพอเชื่อถือได้ ก็มีของ วัดเกตุม ฯ สมุทรสาคร รุ่นเก่า ๆ นะครับ, ของ หลวงปู่เลี่ยม วัดศรีเรืองบุญ, หลวงพ่อลี วัดอโศการาม สมุทรปราการ, หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย อยุธยา, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงพ่อกึ๋น วัดดอน ยานนาวา กทม., หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร,หลวงปู่พรหมมา วัดถ้ำสวนหิน อุบลราชธานี, หลวงปู่พูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม ฯลฯ

อีกแห่งหนึ่ง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการสร้างรูปเคารพของท่านท้าวเวสสุวัณ เป็นรูปชายพุงพลุ้ย หรือ เป็นรูปท้าวกุเวร เทพเจ้าแห่งโชคลาภ โดยเรียกขานวัตถุมงคลที่สร้างว่า ?ดวงตราพระธนบดีศรีธรรมราช?ซึ่งเป็นวัตถุมงคลที่มีรูปแบบเดียวกับองค์ท้าวจตุคามรามเทพ

ในยุคปัจจุบันมีพระเกจิอาจารย์รุ่นใหม่ สร้างรูปท่านท้าวเวสสุวัณ หลายวัดด้วยกัน เช่น หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง จ.สุรินทร์, หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี ซึ่งเป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อเนื่อง, หลวงปู่เหลือ วัดท่าไม้เหนือ อุตรดิตถ์, หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน ศรีสะเกษ ฯลฯ ส่วนจะเข้มขลัง เชื่อถือได้แค่ไหน ประสบการณ์ของผู้ใช้เท่านั้นที่จะบอกได้

พระเกจิอาจารย์ยุคเก่า หลายสำนัก แม้จะไม่สร้างรูปท่านท้าวเวสสุวัณ สำหรับบูชาติดตัว แต่ท่านก็นำรูปท่านท้าวเวสสุวัณ มาทำเป็น ?ด้ามมีดหมอ? หรือ ?มีดเทพศาสตราวุธ? อย่างเช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์, พระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา พัทลุง, และ หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร

ส่วนพระอาจารย์รุ่นใหม่ ที่เห็นท่านสร้างมีดหมอ หรือ พระขรรค์ ด้ามเป็นรูปท้าวเวสสุวัณ ก็คือ หลวงพ่อขวัญ วัดบ้านไร พิจิตร, หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง จ.สุรินทร์ เป็นต้น

ในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูปท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร ด้วยพระคาถานี้


คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร

อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโนท้าวเวสสุวรรณโณ

มรณังสุขัง อะหังสุคะโตนะโมพุทธายะ

ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกายักขะพันตา ภัทภูริโต

เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณนะโมพุทธายะ



การอัญเชิญท้าวเวสสุวัณเข้าสู่บ้าน

หากจะนำภาพท้าวเวสสุวัณก็ดี รูปหล่อ รูปบูชาหรือรูปหล่อขนาดเล็กห้อยคอ รวมไปถึงเหรียญ เมื่อจะนำเข้าบ้านให้หันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งจิตให้สงบ นึกถึงองค์ท้าวเวสสุวัณอธิษฐานเชิญท่านเข้าบ้าน นึกถึงภาวนาในใจ บอกเจ้าที่เจ้าทางแล้วขอบารมีท้าวเวสสุวัณ ให้คุ้มครองตนเองและบริวาร ให้เจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข จากนั้นเชิญท่านขึ้นสู่ที่ตั้งบูชา ให้องค์ท่านต่ำลงมาจากพระพุทธรูป และพระอริยสงฆ์ อย่างพระสีวลี พระสังกัจจาย์ หรือสมเด็จพุฒาจารย์ โต เล็กน้อย อย่าตั้งเสมอเด็ดขาด จากนั้นพึงกล่าวคาถาบูชาองค์ท่านในวันแรก เพื่อเป็นสิริมงคล ควรกล่าวพระคาถาบูชา ๙ จบ จากนั้น เจริญเมตตาภาวนาขอบารมีแห่งองค์ท่าน ในสิ่งที่ตนเองปรารถนา


การอัญเชิญท้าวเวสสุวัณติดตัวเวลาเดินทางไปไหน มาไหน

ให้นำรูปหล่อขนาดเล็กหรือเหรียญสำหรับห้อยคอนามาถืออธิษฐาน หันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งจิตให้สงบ นึกถึงองค์ท้าวเวสสุวัณอธิษฐานเชิญท่านติดตัว ตั้ง นะโม ๓ จบ จากนั้นพึงกล่าวคาถาบูชาองค์ท่านให้คุ้มครองตนเอง ให้เจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาด อันตรายจากนั้นนำรูปหล่อขนาดเล็กหรือเหรียญนั้น ห้อยคอเดินทางได้


การถวายเครื่องบวงสรวง

การบูชาท้าวเวสสุวัณ ทุกครั้งให้จุดธูป ๙ ดอกการถวายของ ได้แก่หมากพลู น้ำเปล่า ผลไม้ ๕ ชนิด ได้แก่ ส้ม ขนุน สัปปะรส ฟักทองมะพร้าวอ่อน
ตามตำนาน กล่าวว่า ท้าวเวสสุวัณ ท่าน จะออกตรวจตราดูความประพฤติของคนในโลกทุกวันขึ้น ? แรม ๑๕ ค่ำ ด้วยพระองค์เองในวันดังกล่าว

แนะนำว่าให้นำดอกไม้ ธูปเทียน ประกอบผลไม้มงคล ๕ อย่าง ได้แก่ ส้ม ขนุน สัปปะรส ฟักทองมะพร้าวอ่อน น้ำเปล่า ๕ แก้ว ขึ้นบูชาในเช้าวันขึ้หรือ แรม ๑๕ ค่ำนี้ให้สมาทานรักษา ศีล ๕ ใส่บาตรพระ ทำบุญบริจาคทาน สวดมนต์ยามค่ำก่อนนอนและสวดคาถาบูชาท้าวเวสสุวัณ จากนั้นพึงขอพรจากท่านจะสำเร็จตามที่ปรารถนาทุกประการ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ท้าวเวสสุวัณมหาราช

-http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=898.0-

**************

ท่านท้าวเวสสุวัณ ท่านไม่ใช่พญายมหรือพญามัจจุราชดอกขอรับ


ท่านท้าวเวสสุวัณ ท่านไม่ใช่ "พญายม" หรือ "พญามัจจุราช" ที่ทำหน้าที่ตัดสินลงโทษดวงวิญญาณ และลงโทษ "สัตว์นรก" ใน "นรกภูมิ" เพราะท่านมีวิมานที่สถิตในสวรรค์ชั้นที่หนึ่ง คือ "ชั้นจาตุมหาราชิกา" ด้านทิศเหนือ

จริง ๆ แล้ว "พญายมราช" หรือ "พระยายมราช" (เขียนได้สองแบบ) ที่ทำหน้าที่ตัดสินลงโทษสัตว์นรก ว่าจะให้ไปอยู่นรกขุมไหน นานเท่าไร ? เป็นเทพองค์หนึ่ง ที่มีวิมานอยู่ใกล้ "นรกภูมิ" เทพองค์นี้ตรงกับเทพของกรีกโบราณ คือ "เทพพลูโต"

"พญามัจจุราช" หรือ เทพเจ้าแห่งความตาย ทำหน้าที่คร่าวิญญาณสัตว์โลก ที่อยู่ในภพภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์ หรือที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียกว่า "พญาขันธมาร" นั่นก็เป็นเทพอีกองค์หนึ่ง เทพองค์นี้มีวิมานอยู่กึ่งกลางระหว่าง "มนุษยภูมิ" กับ "สวรรค์ชั้นที่หนึ่ง" ทำหน้าที่ "คร่าวิญญาณ" และ ตัดสินให้วิญญาณนั้น "ขึ้นสวรรค์" หรือ "ลงนรก" ถ้าตัดสินให้ขึ้นสวรรค์ ก็จะนำพาดวงวิญญาณนั้น ส่งให้ "ทูตแห่งสวรรค์" นำขึ้นสู่สรวงสวรรค์ แต่ถ้าตัดสินให้ "ลงนรก" ก็จะส่งให้ "ยมทูต" หรือ "ทูตจากนรก" มารับดวงวิญญาณไปพบกับพญามัจจุราช เพื่อตัดสินอีกครั้งหนึ่งว่า จะให้ลงนรกขุมไหน นานเท่าใด

ผู้ที่ทำหน้าที่ "คร่าวิญญาณ" มนุษย์และสัตว์โลกที่อยู่บนภพภูมิมนุษย์ทั้งหลาย รวมไปถึง "สัตว์เดรัจฉาน" คือ "ท่านท้าวพระกาฬไชยศรี" และเทพบริวารของท่าน ที่มี "นกแสก" เป็นพาหนะ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ "ท่านพญามัจจุราช" ดังจะได้ยินได้ฟังว่า ที่บ้านใดหากมีนกแสกมาเกาะ หรือ ได้ยินเสียงนกแสกร้อง และมีคนป่วยอยู่ ไม่นานนัก บ้านนั้นก็จะมีคนตาย

ในกรณีที่ผู้ตายเป็นผู้มีบุญบารมีมาก หรือ ทำความชั่วอย่างมาก พญามัจจุราชก็จะให้เกียรติ ด้วยการเสด็จมารับด้วยพระองค์เอง ดังจะเคยได้ยินเนื้อร้องเพลงนำละครเรื่องเงาที่ว่า "ทำดีไปอยู่ที่เท้า นำตัวไปส่งสวรรค์ ทำชั่วไปรอที่หัว นำตัวไปลงโลกันต์"

สำหรับบทบาทของ "ท้าวจตุโลกบาล" ทั้งสี่พระองค์ และเทพบริวารของท่าน ที่ทำหน้าที่ "จดบัญชีบุญ-บาป" นั้น ท่านก็จะมีเทพบริวารที่ประจำอยู่ในมนุษยภูมิ ทำหน้าที่จดบัญชีบุญ-บาป ของคน ที่เรารู้จักกันดี คือ "ท่านท้าวเจตคุปต์" หรือ "เจ้าพ่อเจตคุปต์" หนึ่งในห้า เทพารักษ์ ที่คอยช่วยเหลืองานของ "พระสยามเทวาธิราช" ในการปกป้องดูแลประเทศไทย และคนไทยทุกคน

อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมของเมืองนรก และระบบการคร่าวิญญาณ ไปลงโทษในนรกขุมต่าง ๆ ลองเข้าไปอ่านบทความเรื่อง "พระเกตุ จอมวิปริตอาเพท" ในเวปไซด์สำนักโหรพลูโต ที่ผมเขียนขึ้นมา ๓ ปี แล้ว ตามลิงค์ที่ผมทำไว้ให้ หากมีอะไรสงสัย หรือข้องใจ ก็สอบถามมาได้ ถ้าทราบก็จะตอบให้ แต่ถ้าไม่ทราบ ก็จนใจจริง ๆ และขอให้ผู้อ่านทุกท่าน "อย่าเพิ่งเชื่อ" ไปทั้งหมด จงคิดพิจารณาใคร่ครวญด้วยเหตุผล และสติปัญญาของตนให้ดีเสียก่อน จึงค่อยเชื่อนะครับ

อีกอย่างหนึ่ง ผู้อ่านทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นด้วย "เหตุ" และ "ผล" อย่างเต็มที่นะครับ แล้วผู้อ่านท่านอื่น ๆ จะใช้สติปัญญาของเขาพิจารณาเอาเอง ว่าควรเชื่ออย่างไหน เชื่อใคร การแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่ ข้อขัดแย้ง และ ไม่ถือเป็นความผิดใด ๆ ครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รูปปั้นที่อุทธยาน ร.2







จิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดพระแก้ว






-------------------------------

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8085.0.html-

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8088.0.html

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)