ผู้เขียน หัวข้อ: ปีมะเส็ง คิวเชือด SMEs สังเวย....ค่าแรง 300 บาท  (อ่าน 1059 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ปีมะเส็ง คิวเชือด SMEs สังเวย....ค่าแรง 300 บาท
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9550000158482-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
31 ธันวาคม 2555 09:10 น.



หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ที่จะมีการประกาศขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ วันละ 300 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ใน 70 จังหวัดที่เหลือ ภายหลังมีการปรับไปแล้วใน 7 จังหวัดนำร่อง เมื่อเมษายน 2555 ซึ่งหลายหน่วยงานเป็นห่วงการปรับตัวของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนน้อย ไม่สามารถปรับตัวรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้
       
       ***ธปท.จับตาเอสเอ็มอี เหนือ-อีสานปรับตัวไม่ได้***
       
       ทั้งนี้ จากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท มีหลายหน่วยงานออกมาแสดงความคิดเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว โดย “นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าการปรับค่าจ้างในรอบนี้ อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการมากกว่ารอบที่ผ่านมา และอาจทำให้ผู้ประกอบการบางรายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ต้องปิดกิจการไป การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในรอบแรกนั้น ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งการปรับเพิ่มในรอบหลังนี้คาดว่าจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก 22% เราจึงค่อนข้างเป็นห่วง โดยเฉพาะเอสเอ็มอี แม้ว่ารัฐบาลจะช่วยด้วยการลดภาษีนิติบุคคลให้ แต่คงไม่สามารถชดเชยผลกระทบดังกล่าวได้หมด รายที่ไม่สามารถปรับตัวได้คงต้องเลิกกิจการไป
       
       นอกจากนี้ ธปท. มองว่า อาจจะมีการย้ายฐานการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ในแถบภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม รวมไปถึงพม่า เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวและรองรับกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่นักลงทุนเลือกตัดสินใจไปลงทุนในประเทศใดนั้น ค่าจ้างคงเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น พื้นฐานเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง ประกอบด้วย
       
       ด้านอีสานโพล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการสำรวจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในภาคอีสานจำนวน 526 กิจการ ใน 20 จังหวัดภาคอีสาน เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 พบว่า จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ วิธีการใดที่จะจัดการกับแรงงานเพื่อให้กิจการอยู่รอด ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.1 ไม่เพิ่มจำนวนแรงงาน ร้อยละ 12.4 ปลดคนงาน ร้อยละ 12.2 จะลดสวัสดิการคนงาน และร้อยละ 10.8 จ้างแรงงานต่างด้าวแทน
       
       ด้านนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้แรงงานจังหวัดต่างๆ นำข้อมูล เช่น จำนวนและประเภทโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ว่ามีจำนวนเท่าใด รวมถึงได้ผลกระทบอย่างไรบ้าง โดยเบื้องต้นพบว่ามีธุรกิจเอสเอ็มอี ได้รับผลกระทบจำนวน 2,193 แห่ง จำนวนแรงงานที่ได้รับผลกระทบ 49,316 คน ธุรกิจ 5 อันดับแรกที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ 1. ชิ้นส่วนยานยนต์ 2. การผลิตทั่วไป 3. ค้าปลีกค้าส่ง 4. ก่อสร้าง และ 5. อาหาร
       
       ***สอท. หวั่นค่าแรงเพิ่มกระทบราคาสินค้าเพิ่ม***
       
       ในส่วนของแหล่งข่าวจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างให้พนักเพิ่มอีกเฉลี่ยปีละ 60,000 ล้านบาท หรือ จะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าในภาพรวมเพิ่ม 3-6 % อาจทำให้ ผู้ผลิตสินค้าในบางประเภทจำเป็นต้องปรับเพิ่มอีก 3-6% ยกเว้นสินค้าที่มีการแข่งขันสูง เพราะหากมีการปรับราคาอาจทำให้เสียเปรียบคู่แข่งได้
       
       ด้านนายธนิต โสรัตน์ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวยอมรับว่า นโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 80% ภายใน 1-2 ปีสร้างความปั่นป่วน และ เสียหายแก่อุตสาหกรรมของไทยเป็นอย่างมาก ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากสุด น่าจะเป็นคนต่างด้าว ในส่วนแรงงานที่เป็นคนไทย นั้นถือว่า มีคุณภาพและที่เป็นที่ต้องการมากกว่าแรงงานต่างด้าว ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับค่าจ้างให้แรงงานไทย 50-80 บาท เป็น 350-380 บาทต่อวัน เพื่อให้เกิดช่วงห่างระหว่างรายได้ของแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าว
       
       ขณะเดียวกันก็เตรียมปรับค่าจ้างแรงงานที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ระดับหัวหน้างานจนถึงผู้จัดการอีก 15-20% หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นให้รายละ 2,400-2,500 บาทต่อเดือน เพื่อขยับค่าจ้างให้ห่างจากค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับขึ้น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ เพราะหากไม่ปรับก็จะทำค่าจ้างพนักงานใหม่กับผู้ที่มีประสบการณ์อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งผลการปรับโครงสร้างค่าจ้างเชื่อว่าในปีหน้าสินค้าบางประเภทจะทยอยปรับราคาให้สอดคล้องกับต้นทุน
       
       ***เสนอรัฐออกมาตราการเยียวยาเอสเอ็มอี***
       
       สมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ได้เสนอมาตรการเยียวยาให้รัฐบาลช่วยเหลือจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ผ่านทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แต่ยังกังวลว่ามาตรการเยียวยาบางส่วน อาจไม่เอื้อประโยชน์ต่อเอสเอ็มอีเต็มที่ เช่น การลดภาษีนิติบุคคล จึงเตรียมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้มาตรการของรัฐบาลเอื้อต่อเอสเอ็มอีให้มากที่สุด โดยเฉพาะการชดเชยค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งขอให้รัฐบาลจ่ายร้อยละ 50 เป็นเวลา 3 ปี ต่างจากสภาอุตสาหกรรมที่ขอให้กองทุนชดเชยให้ร้อยละ 75 ผู้ประกอบการจ่ายร้อยละ 25 ในปีแรก และลดลงเป็นร้อยละ 50 ในปีที่ 2 และร้อยละ 25 ในปีที่ 3
       
       นอกจากนี้ ยังขอให้ลดเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างเหลือร้อยละ 2 เป็นเวลา 3 ปี ขณะที่ มาตรการอื่นๆ ได้ขอการสนับสนุนเช่นเดียวกับข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันควรมีตัวแทนสมาคมเอสเอ็มอี ร่วมเป็นหนึ่งคณะทำงานพิจารณามาตรการเยียวยา เพื่อให้มาตรการที่ออกมาแก้ปัญหาได้ตรงจุดและเข้าถึงเอสเอ็มอีที่มีเกือบ 2.9 แสนรายทั่วประเทศภาครัฐออก 6มาตรการ ช่วยเหลือเอสเอ็มอี
       
       โดยรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการค่าจ้าง พิจารณาดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้กับภาคเอกชน รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ซึ่งประกอบด้วย 6 ประเภทมาตรการใหญ่ และ 27 มาตรการย่อย ดังนี้
       
       1.มาตรการลดภาระต้นทุนจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เช่น การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของฝ่ายนายจ้าง-ลูกจ้าง, การจัดตั้งกองทุนการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นให้ผู้ประกอบการ, การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
       
       2.มาตรการยกระดับผลิตภาพแรงงาน อาทิ การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตาม พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 มาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า เฉพาะผู้ประกอบการ SMEs, การให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
       
       3.มาตรการทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง อาทิ สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน สำหรับเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการเสริมสร้างสภาพคล่องสถานประกอบการ และเพิ่มผลผลิตแรงงาน, สินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิตเป็นต้น
       
       4.มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของ SMEs อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต, การหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร เป็นต้น
       
       5.มาตรการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการผ่านการใช้จ่ายภาครัฐ เช่น การปรับเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการ, การหาตลาด/เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการ SMEs เป็นต้น
       
       6.มาตรการช่วยลดค่าครองชีพให้ลูกจ้างและประชาชนทั่วไป เช่น การออกบัตรลดราคาสินค้าให้ลูกจ้าง การลดภาระหนี้สินนอกระบบ และการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
       
       ทั้งนี้ที่ประชุมภาครัฐเห็นชอบ 15 มาตรการ โดยล่าสุด รัฐบาลได้มอบหมายให้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ประชุม ร่วมกับกระทรวงแรงงาน และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถึงมาตรการบรรเทาผลกระทบเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ซึ่งในที่ประชุมเห็นชอบ 15 มาตรการ โดย 11 มาตรการ เป็นเรื่องการต่ออายุและขยายอายุต่างๆ ต่อไปอีก 1 ปี อาทิ การขยายเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งรัฐรับไปพิจารณาดำเนินการ นอกจากนี้ ภาครัฐยังเปิดรับข้อเสนออีก 4 มาตรการ ได้แก่ 1. มาตรการลดค่าธรรมเนียมต่างๆ อาทิ ค่าธรรมเนียมห้องพักโรงแรม โดยให้กระทรวงมหาดไทยไปพิจารณา 2. การเปิดคลินิกพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานไปเปิดจัดหลักสูตรอบรมที่ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการมากขึ้น3. มาตรการลดอัตราค่าเช่าสถานที่จัดประชุมต่างๆ ในพื้นที่ของราชการ และ 4. ให้คงมาตรการสินค้าราคาถูกและดูแลราคาสินค้าให้มีเสถียรภาพ ไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคา ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวง
       พาณิชย์ ไปดำเนินการ อย่างไรก็ตาม เห็นว่ามาตรการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้เนื่องจากไม่ต้องแก้กฎหมายหรือของบประมาณเพิ่มเติมแต่อย่างใด
       
       ***เอกชนโต้รัฐฯ ขึ้นค่าแรงไม่เป็นมวย***
       
       นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย เผยว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้ง 7 สมาคม ต่างได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาท จากนโยบายของรัฐบาลโดยถ้วนหน้า รวมถึงผลกระทบจากวิกฤตยุโรปที่รุนแรงขึ้น ต้นทุนการผลิตในประเทศสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ถึงขนาดบางรายต้องปิดตัว หรือลดขนาดกิจการเพื่อความอยู่รอด
       
       ทั้งนี้ภาคเอกชนจึงยื่นข้อรัฐบาลขอความช่วยเหลือโดยมีประเด็นหลักๆ คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยลดหลักเกณฑ์เรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยเน้นการขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า ตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในวงเงิน 2,000 ล้านบาท และเร่งส่งเสริมการตลาดใหม่ๆ ทั้งเทคโนโลยี และตลาดส่งออก ซึ่งหากไม่ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ผู้ประกอบการคงต้องปิดกิจการเพิ่มจากปัจจุบันที่ทยอยปิดกิจการไปแล้วกว่า 100 ราย
       
       ส่วนนายนิพนธ์ ระตะนะอาพร นายกสมาคมการค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนไทย ติงรัฐฯ ขึ้นค่าแรง 300 บาท แบบไม่เป็นมวย หรือไม่มีการทำงานเป็นขั้นตอน ซึ่งควรปรับจากแรงงานกึ่งฝีมือก่อนแล้วจึงไปสู่แรงงานไร้ฝีมือ หากรัฐบาลกระทำเช่นนี้ปัญหาดังกล่าวจะไม่รุนแรงถึงขนาดทำให้เอสเอ็มอีกว่า 100 รายต้องปิดกิจการลง
       
       นางสาวอาริสา จัตฏะษา นายกสมาคมเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการในสมาคมฯ ไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากสินค้าจีนที่มีราคาถูกกว่า เนื่องจากผู้ประกอบการมีการหาตลาดใหม่ รวมถึงพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ด้วย เน้นนวัตกรรมล้ำสมัยอิงกระแสเทรนด์เครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานโลก เช่น ดินสอที่ไม่ใช้ไม้, กระดาษโน้ตจากหินบด เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เอสเอ็มอีไทยสู้การแข่งขันจากจีนได้ นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญต่องานดีไซน์ที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ยั่งยืนสูงสุด
       
       มาถึงเวลานี้นโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท ของรัฐบาลเราคงไปหยุดยั้งไม่ได้ เพราะพรุ่งนี้ (1 ม.ค.55) แล้วที่ผู้ประกอบการจะต้องเดินเกมตามรัฐบาล ซึ่งเอสเอ็มอีไทยคงทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าต้องปรับตัว หาหนทางอื่นลดต้นทุนเพื่อพยุงธุรกิจไว้ให้ได้ ขณะที่แรงงานควรยกระดับฝีมือเลื่อนขั้นเป็นแรงงานฝีมือก่อนแรงงานต่างชาติทะลักเข้าไทยสนองเออีซี...
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)