พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๔[๒๒๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงแก่ง
แย่งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ธรรม ๔ เป็นไฉน. คือ
สติปัฏฐาน ๔๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารเห็น
กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ
โทมนัส ในโลกเสียได้.
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยได้พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัส ในโลกเสียได้.
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้.
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 179
[๒๓๐] สัมมัปปธาน ๔
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้
เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจมั่น เพื่อความไม่
เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด
๒. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
ตั้งใจมั่น เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
ตั้งใจมั่น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
๔. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
ตั้งใจมั่น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อไม่เลือนลาง เพื่อจำเริญยิ่ง เพื่อความ
ไพบูลย์ เพื่อเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.
[๒๓๑] อิทธิบาท ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
อิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยจิตสมาธิปธานสังขาร
๔. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร.
[๒๓๒] ฌาน ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุข เกิด
แต่วิเวกอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 180
๒. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่
๓. มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ
ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
๔. บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุสติบริสุทธิ์อยู่.
[๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่.
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่.
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่.
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นไฉน. ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 181
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน. ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้
กลางวันอย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น.
มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้มีแสงสว่างด้วยประการฉะนี้
สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน. เวทนาทั้งหลาย้อนภิกษุใน
พระรรรมวินัยนี้รู้แล้วย่อมเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่ย่อมถึงความดับสัญญาทั้งหลาย
อันภิกษุรู้แล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลาย อัน
ภิกษุรู้แล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ สมาธิภาวนานี้อัน
ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน. ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มีปกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปา-
ทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป.
ดังนี้เวทนา... ดังนี้สัญญา. . . ดังนี้สังขาร. . . ดังนี้วิญญาณ. ดังนี้ ความเกิด
ขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรม
แล้ว ต่ำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความในรูปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 182
[๒๓๔] อัปปมัญญา ๔
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วย
เมตตา แผ่ไปตลอดทิศ หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์
ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจประกอบ
ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่.
๒. มีใจประกอบด้วยกรุณา ...
๓. มีใจประกอบด้วยมุทิตา...
๔. มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง
ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องต้น เบื้องล่าง เบื้องขวา
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานโดยความเป็นคนในสัตว์
ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หา
ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่.
[๒๓๕] อรูป ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะล่วงเสียซึ่งรูป
สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับซึ่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนา
นัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด
มิได้ ดังนี้อยู่
๒. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึง
เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้อยู่
๓. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้า
ถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่
๔. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้า
ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 183
[๒๓๖] อปัสเสนะ ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้ว
เสพของอย่างหนึ่ง
๒. พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง
๓. พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง
๔. พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง.
[๒๓๗] อริยวงศ์
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวรตามมีตามได้และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมี
ตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวร
และไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกหมุ่น
ไม่ติดแน่น มีปกติ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็
ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วย
จีวรนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตาม
มีตามได้ และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้
และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควรไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
ไม่หมกหมุ่น ไม่ติดแน่น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษ ด้วยบิณฑบาต
ตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น
ในสันโดษด้วยบิณฑบาตนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่า
อันยอดเยี่ยม.
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะ
ตามมีตามได้ และมีสติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมี
ตามได้ ย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควรไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และได้เสนาสนะ แล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่
หมกหมุ่น ไม่ติดแน่น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภค
อยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้
นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษ
ด้วยเสนาสนะนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา
กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะ
ความยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะความ
ยินดีในภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ
มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่า
อันยอดเยี่ยม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 185
[๒๓๘] ปธาน ๔
๑. สังวรปธาน เพียรระวัง
๒. ปหานปธาน เพียรละ
๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญ
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน
ลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์. ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว. ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว.
ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. รู้แจ้งธรรมด้วยใจ
แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่
เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษามนินทรีย์ ชื่อว่า ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
นี้เรียกว่า สังวรปธาน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมให้สิ้นไป ย่อมให้ถึง
ความไม่มีซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ฯลฯ ซึ่ง
พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ฯลฯ ซึ่งวิหิงสาวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป
ย่อมให้ถึงความ ไม่มีซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ นี้เรียกว่า
ปหานปธาน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลาย
กำหนัด อาศัยความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง. ย่อมเจริญธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
ความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความ
สละลงนี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิต อันเจริญที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา
ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา นี้เรียกว่า
อนุรักขนาปธาน.
[๒๓๙] ญาณ ๔
๑. ธัมมญาณ ความรู้ในธรรม
๒. อันวยญาณ ความรู้ในการคล้อยตาม
๓. ปริจเฉทญาณ ความรู้ในการกำหนด
๔. สัมมติญาณ ความรู้ในสมมติ.
ญาณอีก ๔
๑. ทุกขญาณ ความรู้ในทุกข์
๒. ทุกขสมุทยญาณ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
๓. ทุกขนิโรธญาณ ความรู้ในการดับทุกข์
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ความรู้ในการปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์
มีต่อค่ะ - http://www.thepalicanon.com/91book/book16/151_200.htm...
...
[๒๔๓] ธาตุ ๔
๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ ธาตุลม.
[๒๔๔] อาหาร ๔
๑. กวฬิงการาหาร อาหารคือ คำข้าวทั้งหยาบและละเอียด
๒. ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ
๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา
๔. วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ.
[๒๔๕] วิญญาณฐิติ ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อม
ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่ง
ความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 189
๒. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา...
๓. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา...
๔. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้น
มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อม
ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์.
[๒๔๖] การถึงอคติ ๔
๑. ฉันทาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความรักใคร่
๒. โทสาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความโกรธ
๓. โมหาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความหลง
๔. ภยาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว.
[๒๔๗] เหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา
๑. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร
๒. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
๓. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
๔. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งความต้องการ
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
[๒๔๘] ปฏิปทา ๔
๑. ทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
๒. ทุกขปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้เร็ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 190
[๒๔๙] ปฏิปทาอีก ๔
๑. อักขมา ปฏิปทา ปฏิบัติไม่อดทน
๒. ขมา ปฏิปทา ปฏิบัติอดทน
๓. ทมา ปฏิปทา ปฏิบัติฝึก
๔. สมา ปฏิปทา ปฏิบัติระงับ
[๒๕๐] ธรรมบท ๔
๑. อนภิชฌา ความไม่เพ่งเล็ง
๒. อพยาบาท ความไม่พยาบาท
๓. สัมมาสติ ความระลึกชอบ
๔. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ.
[๒๕๑] ธรรมสมาทาน ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันและมี
ทุกข์เป็นวิบากต่อไปมีอยู่
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่
มีสุขเป็นวิบากต่อไปมีอยู่
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน แต่มี
ทุกข์เป็นวิบากต่อไปมีอยู่
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน แต่มี
สุขเป็นวิบากต่อไปมีอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 191
[๒๕๒] ธรรมขันธ์ ๔
๑. ศีลขันธ์ หมวดศีล
๒. สมาธิขันธ์ หมวดสมาธิ
๓. ปัญญาขันธ์ หมวดปัญญา
๔. วิมุตติขันธ์ หมวดวิมุตติ
[๒๕๓] พละ ๔
๑. วิริยะพละ กำลังคือ ความเพียร
๒. สติพละ กำลังคือ สติ
๓. สมาธิพละ กำลังคือ สมาธิ
๔. ปัญญาพละ กำลังคือ ปัญญา.
[๒๕๔] อธิฏฐาน ๔
๑. ปัญญาธิฏฐาน อธิฐานคือ ปัญญา
๒. สัจจาธิฏฐาน อธิฐานคือ สัจจะ
๓. จาคาธิฏฐาน อธิฐานคือ จาคะ
๔. อุปสมาธิฏฐาน อธิฐานคือ อุปสมะ
[๒๕๕] ปัญหาพยากรณ์ ๔
๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว
๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้
๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้
๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
[๒๕๖] กรรม ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาว
มีอยู่
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบาก
ทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่.
[๒๕๗ ] สัจฉิกรณียธรรม ๔
๑. บุพเพนิวาส พึงทำให้แจ้งด้วยสติ
๒. การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย พึงทำให้แจ้งด้วยจักษุ
๓. วิโมกข์แปด พึงทำให้แจ้งด้วยกาย
๔. ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย พึงทำให้แจ้งด้วยปัญญา.
[๒๕๘] โอฆะ ๔
๑. กาโมฆะ โอฆะคือกาม
๒. ภโวฆะ โอฆะคือภพ
๓. ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฐิ
๔. อวิชโชฆะ โอฆะคือวิชชา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 193
[๒๕๙] โยคะ ๔
๑. กามโยคะ โยคะคือกาม
๒. ภวโยคะ โยคะคือภพ
๓. ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฐิ
๔. อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา.
[๒๖๐] วิสังโยคะ ๔
๑. กามโยควิสังโยคะ ความพรากจากกามโยคะ
๒. ภวโยควิสังโยคะ ความพรากจากภวโยคะ
๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
๔. อวิชชาโยควิสังโยคะ ความพรากจากอวิชชาโยคะ.
[๒๖๑] คันถะ ๔
๑. อภิชฌากายคันถะ เครื่องรัดกายคืออภิชฌา
๒. พยาบาทกายคันถะ เครื่องรัดกายคือพยาบาท
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เครื่องรัดกายคือความเชื่อแน่ว่า
สิ่งนี้เป็นจริง.
[๒๖๒] อุปาทาน ๔
๑. กามุปาทาน ถือมั่นกาม
๒. ทิฏฐุปาทาน ถือมั่นทิฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นศีลและพรต
๔. อัตตวาทุปาทาน ถือมั่นวาทะว่าตน.
[๒๖๓] โยนิ ๔
๑. อัณฑชโยนิ กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่
๒. ชลาพุชโยนิ กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์
๓. สังเสทชโยนิ กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเหงื่อไคล
๔. โอปปาติกโยนิ กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 194
[๒๖๔] การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔
สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา
นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่หนึ่ง.
๒. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัว ก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์
มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์มารดาข้อที่สอง.
๓. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็น
ผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้
การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สาม.
๔. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็น
ผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การ
ก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สี่.
[๒๖๕] การได้อัตภาพ ๔
๑. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว ไม่ตรง
กับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่.
๒. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรงกับ
ความจงใจของตนมีอยู่.
๓. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย ตรงกับความ
จงใจของผู้อื่นด้วยมีอยู่.
๔. การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตนทั้งไม่ตรงกับ
ความจงใจของผู้อื่นมีอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 195
[๒๖๖] ทักขิณาวิสุทธิ ๔
๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก.
[๒๖๗] สังคหวัตถุ ๔
๑. ทาน การให้เป็น
๒. ปิยวัชชะ เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
๔. สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอต้นเสมอปลาย
[๒๖๘] อนริยโวหาร ๔
๑. มุสาวาท พูดเท็จ
๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
๓. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
๔. สัมผัปปลาปา พูดเพ้อเจ้อ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 196
[๒๖๙] อริยโวหาร ๔
๑. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
๓. ผรุสาย วาจา เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ.
[๒๗๐] อนริยโวหารอีก ๔
๑. อทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒. อสฺสุเต สุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓. อมุเต มุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔. อวิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา เมื่อไม่ได้รู้พูดว่าได้รู้
[๒๗๑] อริยโวหาร อีก ๔
๑. อทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒. อสฺสุเต สุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓. อมุเต มุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔. อวิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา เมื่อไม่ได้รู้พูดว่าได้รู้
[๒๗๒] อนริยโวหารอีก ๔
๑. ทิฏเ อทิฏวาทิตา เมื่อได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น
๒. สุเต อสฺสุตวาทิตา เมื่อได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
๓. มุเต อมุตวาทิตา เมื่อได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ
๔. วิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา เมื่อรู้พูดว่าไม่รู้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 197
[๒๗๓] อริยโวหารอีก ๔
๑. ทิฏฺเ ทิฏฺาวาทิตา เมื่อได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒. สุเต สุตวาทิตา เมื่อได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓. มุเต มุตวาทิตา เมื่อได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔. วิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา เมื่อรู้พูดว่ารู้.
[๒๗๔ ] บุคคล ๔
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวน
ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน.
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้
ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน.
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวน
ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือนร้อนด้วย เป็นผู้ทำให้
ผู้อื่นเดือนร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ เป็นเครื่องทำให้ผู้อื่น
เดือดร้อนด้วย.
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้
ขวนขวายในการประกอบเหตุ เป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้
ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่อง
ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นผู้หายหิว ดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุข มีตนเป็นเสมือนพรหม
อยู่ในปัจจุบัน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 198
[๒๗๕] บุคคลอีก ๔
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ตน.
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อ
ประโยชน์ผู้อื่นด้วย.
[๒๗๖] บุคคลอีก ๔
๑. ตโม ตมปรายโน ผู้มืดมา มืดไป
๒. ตโม โชติปรายโน ผู้มืดมา สว่างไป
๓. โชติ ตมปรายโน ผู้สว่างมา มืดไป
๔. โชติ โชติปรายโน ผู้สว่างมา สว่างไป
[๒๗๗] บุคคลอีก ๔
๑. สมณอจละ เป็นสมณะ ผู้ไม่หวั่นไหว
๒. สมณปทุมะ เป็นสมณะ เปรียบด้วยดอกบัวหลวง
๓. สมณปุณฑริกะ เป็นสมณะ เปรียบด้วยดอกบัวขาว
๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ เป็นสมณะ ผู้ละเอียดอ่อน
ในสมณะทั้งหลาย
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 199
ธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืน ตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด ๔
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๕
[๒๗๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๕ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดย
ชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาในธรรมนั้น ฯลฯ
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
ธรรม ๕ เป็นไฉน. คือ
ขันธ์ ๕
๑. รูปขันธ์ กองรูป
๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา
๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา
๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร
๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ.
[๒๗๙] อุปาทานขันธ์ ๕
๑. รูปูปาทานขันธ์ กองยึดถือรูป
๒. เวทนูปาทานขันธ์ กองยึดถือเวทนา
๓. สัญญูปาทานขันธ์ กองยึดถือสัญญา
๔. สังขารูปาทานขันธ์ กองยึดถือสังขาร
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ กองยึดถือวิญญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 200
[๒๘๐] กามคุณ ๕
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร น่าชอบ
ใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู.
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก.
๔. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
[๒๘๑] คติ ๕
๑. นิรยะ นรก
๒. ติรัจฉายโยนิ กำเนิดเดียรฉาน
๓. เปตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต
๔. มนุสสะ มนุษย์
๕. เทวะ เทวดา.
[๒๘๒] มัจฉริยะ ๕
๑. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่
๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล
๓. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ
๔. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ
๕. ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม.
[๒๘๓] นิวรณ์ ๕
..
---