ผู้เขียน หัวข้อ: ๑๐. สังคีติสูตร/๑๑. ทสุตตรสูตร :แสดง.. ความย่อ  (อ่าน 3456 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




๑๐. สังคีติสูตร
สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน
    พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกในแคว้นมัลละ ทรงแวะ ณ นครปาวา ประทับอยู่ในป่ามะม่วงของนายจุนทะบุตรช่างทอง.

    ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์สร้างสัณฐาคาร ๕ .  ขึ้นใหม่ ยังไม่มีใครใช้ เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาจึงนิมนต์ให้ทรงใช้ก่อน มัลลกษัตริย์จะใช้ภายหลัง พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. พระองค์เองประทับนั่งพิงเสากลาง ภิกษุสงฆ์นั่งพิงฝาด้านตะวันออก มัลลกษัตริย์นั่งพิงฝาด้านตะวันตก พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมจนดึก จึงตรัสให้มัลลกษัตริย์กลับได้. ครั้นเห็นภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วง จึงตรัสสั่งพระสารีบุตรให้แสดงธรรมแทน. พระองค์เองทรงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงพักผ่อนสำเร็จสีหไสยา ( บรรทมแบบราชสีห์ คือตะแคงขวา ).

   พระสารีบุตรปรารภความที่นครถนาฏบุตรถึงแก่กรรม สาวกแตกกันเป็นสองฝ่าย โต้เถียงกันด้วยเรื่องธรรมวินัย จึงสอนแนะให้ภิกษุทั้งหลายสังคายนาพระธรรมไม่วิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ยั่งยืน. ครั้นแล้วท่านได้แสดงตัวอย่างการสังคายนาธรรมเป็นหมวด ๆ ( ซึ่งจะนำมากล่าวในที่นี้พอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้:-

    หมวด ๑.   ธรรมอย่างหนึ่ง คือสัตว์เป็นอยู่ได้ด้วยอาหาร.
    หมวด ๒.  ธรรม ๒   อย่าง คือ   ๑. นาม   ๒. รูป;  ๑. อวิชชา ( ความหลงไม่รู้จริง)   ๒. ภวตัณหา ( ความทะยานอยากมีอยากเป็น ) ;  ๑. ภวทิฏฐิ ( ความเห็นที่ติดในความมีความเป็น )   ๒. วิภวทิฏฐิ ( ความเห็นที่ติดในความไม่มีไม่เป็น ) ฯลฯ.

    หมวด ๓.  รากเหง้าแห่งอกุศล   ๓ อย่าง คือ   ๑ . โลภะ (อยากได้ )   ๒. โทสะ ( คิดประทุษร้าย )   ๓ . โมหะ ( หลง ). รากเหง้าแห่งกุศล   ๓ อย่างคือ  ๑ . ไม่โลภ   ๒. ไม่คิดประทุษร้าย  ๓ ไม่หลง ฯลฯ.

    หมวด ๔.  การตั้งสติ (สติปัฏฐาน ดูมหาสติปัฏฐานสูตร ) พระสุตตันตะเล่ม ๒ หน้า ๔   ๔; ความเพียรชอบ (สัมมัปปธาน )   ๔ คือ  ๑ . เพียงระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น  ๒ . เพียงละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว  ๓. เพียรทำกุศลให้เกิด   ๔ . เพียงทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น ) ฯลฯ.

    หมวด ๕.  ขันธ์   ๕ คือ  ๑. รูปขันธ์ ( กองรูป )  ๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา ความรู้สึกอารมณ์ )   ๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ความจำได้หมายรู้)   ๔. สังขารขันธ์ ( กองสังขาร หรือความคิด หรือเจตนาที่ดีชั่ว )  ๕. วิญญาณขันธ์ ( กองวิญญาณ คือความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา   หู เป็นต้น )   ฯลฯ.

    หมวด ๖.  อายตนะภายใน   ๖ คือ  ๑. ตา ,   ๒. หู,   ๓. จมูก,  ๔. ลิ่น,  ๕. กาย,  ๖. ใจ  ฯลฯ.

    หมวด ๗.  อริยทรัพย์ (ทรัพย์อันประเสริฐ )   ๗ คือ   ๑. ศรัทธา (เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ )   ๒. ศีล ( รักษากายวาจาให้เรียบร้อย )  ๓. หิริ (ละอายต่อบาป )  ๔. โอตปปะ ( เกรงกลัวต่อบาป )  ๕. สุตะ ( ศึกษาหรือสดับตรับฟัง )   ๖. จาคะ ( เสียสละ )  ๗. ปัญญา ( รอบรู้สิ่งที่ควรรู้ )  ฯลฯ.

    หมวด ๘.  ความผิด   ๘ คือ   ๑. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด )  ๒. มิจฉาสังกัปปะ ( ความดำริผิด )  ๓. มิจฉาวาจา ( วาจาผิด )  ๔. มิจฉากัมมันตะ ( การกระทำผิด )  ๕. มิจฉาอาชีวะ ( เลี้ยงชีพผิด )  ๖. มิจฉาวายามะ ( เพียรพยายามผิด)  ๗. มิจฉาสติ ( ระลึกผิด )  ๘. มิจฉามสมาธิ ( ตั้งใจมั่นผิด )  ฯลฯ.

    หมวด ๙.  ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๙ คือ ๑. เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ( เสียหาย) ต่อเรา ๒. เขากำลังประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเรา ๓. เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเรา ๔. เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อคนที่รักที่ชอบใจของเรา ๕. เขากำลังทำอย่างนั้น ๖. เขาจักทำอย่างนั้น ๗. เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่เราไม่รักไม่ชอบใจ ๘. เขากำลังทำอย่างนั้น ๙. เขาจักทำอย่างนั้น ฯลฯ.

    หมวด ๑๐.  ธรรมะที่ทำที่พึ่ง ( นาถกรณธรรม ) ๑๐ คือ ๑. มีศีล สำรวมปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) ๒. สดับตรับฟังมาก ทรงจำได้ดี ๓. คบเพื่อนที่ดี ๔. ว่าง่าย ๕. ขยันช่วยทำกิจธุระของเพื่อน ๖. ใคร่ในธรรม ๗. สันโดษ ( ยินดีตามมีตามได้ ) ๘. ลงมือทำความเพียร ๙. มีสติ ๑๐. มีปัญญา ฯลฯ.

   เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นจากบรรทม ก็ตรัสชมเชยว่า พระสารีบุตรได้กล่าวสังคีติปริยาย ( บรรยายเรื่องสังคายนา ) แก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอย่างดี .




๑๑. ทสุตตรสูตร
สูตรว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ
   พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประทับ ณ ฝั่งสระน้ำชื่อคัคครา ใกล้กรุงจัมปา ( ราชธานีแห่งแคว้นอังคะ ).

   พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ( ทำนองเดียวกับสังคีติสูตร ส่วนด้วนบน ซึ่งในที่นี้จะนำมากล่าวตั้งแต่หมวด   ๑ ถึงหมวด   ๑๐ พอเป็นตัวอย่าง ) ดังต่อไปนี้:-

    หมวด ๑.  ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก คือความไม่ประมาทในกุศลธรรม   ฯลฯ.
    หมวด ๒.  ธรรม  ๒ อย่าง มีอุปการะมาก คือ   ๑. สติ ความระลึกได้   ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว  ฯลฯ.
    หมวด ๓.  ธรรม  ๓ อย่าง มีอุปการะมาก คือ   ๑. คบสัตบุรุษ ( คนดี )   ๒. ฟังธรรม (ของท่าน )   ๓. ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม   ฯลฯ.
    หมวด ๔.  ธรรม   ๔ อย่าง มีอุปการะมาก คือจักร   ๔ อันได้แก่  ๑. อยู่ในประเทศหรือที่อยู่อันสมควร  ๒. คบ ( หรือเข้าใกล้ ) สัตบุรุษ   ๓. ตั้งตนไว้ชอบ   ๔. ความเป็นผู้มีบุญอันได้ทำไว้ในกาลก่อน  ฯลฯ.
    หมวด ๕.  ธรรม  ๕ อย่าง มีอุปการะมาก คือองค์   ๕ ที่ควรตั้งไว้เป็นประธาน อันได้แก่  ๑. มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า   ๒. มีโรคน้อย   ๓. ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา   ๔. ลงมือทำความเพียร   ๕. มีปัญญาเห็นความเกิดความดับ   ฯลฯ.

    หมวด ๖.  ธรรม   ๖ อย่าง มีอุปการะมาก คือสาราณิยธรรม ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำกันแลกันให้ระลึกถึง อันได้แก่   ๑. ตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา  ๒. ตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา   ๓. ตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา   ๔. แบ่งบันลาภ   ๕. มีศีลอันดีเสมอกัน   ๖. มีทิฏฐิ ( ความเห็น ) อันดีเสมอกัน   ฯลฯ.

    หมวด ๗.  ธรรม   ๗ อย่าง มีอุปการะมาก คืออริยทรัพย์   ๗ อย่าง ( กล่าวไว้แล้วในสังคีติสูตร ส่วนด้านบน ) ; ธรรม   ๗ อย่าง ควรเจริญ คือโพชฌงค์ ( องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ )   ๗ อันได้แก่   ๑. สติ  ๒. ธัมมวิจยะ เลือกเฟ้นธรรม    ๓. วิริยะ ความเพียร   ๔. ปีติ ความอิ่มใจ   ๕. ปัสสัทธิ ความสงบความอิ่มใจ   ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น  ๗. อุเบกขา ความวางเฉยอย่างมีสติกำกับ.

    หมวด ๘.  ธรรม  ๘ อย่าง มีอุปการะมาก คือเหตุ  ๘ ปัจจัย  ๘ อันเป็นไปเพื่อได้ปัญญาซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ , ทำปัญญาที่ได้แล้วให้เจริญบริบูรณ์ยิ่งขึ้น อันได้แก่   ๑. ตั้งความละอายใจ ความเกรงกลัว ความรัก ความเคารพในศาสดา เเละเพื่อนพรหมจารี  ๒. เข้าไปหาไต่ถามเป็นครั้งคราว  ๓ ฟังธรรมแล้ว ก็ทำความสงบกาย สงบใจ ๖ .  ให้ถึงพร้อมทั้งสองอย่าง  ๔. สำรวมในปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) สมบูรณ์ด้วยอาจาระ ( มารยาท ) และโคจร ( รู้จักที่ควรไปไม่ควรไป )  ๕. สดับตรับฟังมาก  ๖. ลงมือทำความเพียร  ๗. มีสติ   ๘. เห็นความเกิดความดับในขันธ์  ๕   ฯลฯ.

    หมวด ๙.  ธรรม   ๙ อย่าง มีอุปการะมาก คือองค์แห่งความบริสุทธื์ที่ควรตั้งไว้เป็นประธาน ( ปาริสุทธิปาธานิยังคะ ) อันได้แก่  ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล  ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต  ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น  ๔. กังขาวิตณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามความสงสัยเสียได้  ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณซึ่งทางและมิใช่ทาง  ๖. ปฏิปทายาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณซึ่งข้อปฏิบัติ   ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณ  ๘. ปัญญาวิสุทธิ ความหมดจดแห่งปัญญา  ๙. วิมุตติวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความหลดพ้น  ฯลฯ.

    หมวด ๑๐.  ธรรม   ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก คือธรรมะที่เป็นที่พึ่ง (นาถกรณธรรม )   ๑๐ ( ซึ่งกล่าวไว้ในสังคีติสูตร ส่วนด้านบน )  ฯลฯ.

   เมื่อแสดงธรรมจบ ภิกษุทั้งหลายก็ชื่นชมภาษิตของพระสารีบุตร.

    (หมายเหตุ :  ข้อธรรมในทสุตตรสูตรนี้ ตั้งแต่หมวด  ๑ ถึง  ๑๐ ยืนตัวอยู่   ๑๐ หัวข้อ คือ  ๑. ธรรมมีอุปการะมาก  ๒. ธรรมที่ควรเจริญ  ๓. ธรรมที่ควรกำหนดรู้  ๔. ธรรมที่ควรละ  ๕. ธรรมที่มีส่วนแห่งความเสื่อม   ๖. ธรรมที่มีส่วนแห่งความเจริญ   ๗. ธรรมที่เข้าใจได้ยาก   ๘. ธรรมที่ควรทำให้เกิดขึ้น   ๙. ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง  ๑๐. ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง แล้วแจกรายละเอียดออกไปตามหมวดว่า หมวด  ๑ ได้แก่อะไร หมวด  ๒ ได้แก่อะไร จนถึงหมวด  ๑๐ ได้แก่อะไร ในที่นี้แสดงพอเป็นตัวอย่าง ).

จบความย่อแห่งพระไตรปิฎก เล่ม ๑๑
๑. พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ จำนวน ๒,๐๐๐ ฉบับ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
๒. ในนวโกวาทใช้ว่า มิตรมีความรักใคร่ คือ ทุกข์ ๆ ด้วย สุข ๆ ด้วย โต้เถียงคนที่ติเตียนเพื่อน รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน ส่วนมิตรมีอุปการะประเภทแรก คือป้องกันเพื่อนผู้ประมาท ป้องกันทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาท เมื่อมีภัยเอาเป็นที่พึ่งได้ เมื่อมีธุระออกทรัพย์ช่วยเหลือเกินกว่าที่ออกปาก. ในที่นี้ได้เทียบให้ดูมิตรมีอุปการะ กับมิตรอนุเคราะห์ ซึ่งมีชื่อคล้ายกันว่ามีลักษณะต่างกันอย่างไร
๓. ท้าวมหาราชทั้งสี่ คือ ท้าวธตรฐ มีคนธรรพ์เป็นบริวารครองทิศบูรพา ; ท้าววิรุฬหก มีกุมภัณฑ์เป็นบริวาร ครองทิศทักษิณ; ท้าววิรูปักข์ มีนาคเป็นบริวาร ครองทิศประจิม ; ท้าวกุเวรหรือเวสสุวัณ มียักษ์เป็นบริวาร ครองทิศอุดร
๔. คำว่า “ รักขา” มีลักษณะเดียวกับ “ปริตร” คือสวดสำหรับคุ้มครองป้องกันภัย
๕. โรงโถงหรือหอประชุม
๖. กายวูปกาเสน จิตฺตวูปกาเสน เป็นคำนาม เมื่อเทียบกับคุณศัพท์ วูปกฏฺฐ


-http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/3.4.html


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๐. สังคีติสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 01, 2013, 09:17:38 pm »


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 157
๑๐.  สังคีติสูตร
เรื่อง   การสังคายนาหลักธรรม
 
[๒๒๑]  ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในสมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกในแคว้นมัลละ.  พร้อม
ด้วยพระภิกษุสงฆ์  หมู่ใหญ่ประมาณ  ๕๐๐  รูปได้เสด็จถึงนครของพวกมัลล-
กษัตริย์อันมีนามว่า  ปาวา. ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ  สวน
มะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตรใกล้นครปาวานั้น.
[๒๒๒]  ก็โดยสมัยนั้นแล   ท้องพระโรงหลังใหม่    อันมีนามว่า
อุพภตกะ   ของพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา    สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน   อัน
สมณพราหมณ์   หรือใคร ๆ   ที่เป็นมนุษย์ยังไม่ทันเข้าอยู่อาศัย.    พวกเจ้า
มัลละแห่งนครปาวาได้สดับข่าวว่า     พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จจาริกใน
แคว้นมัลละ   พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ  ๕๐๐ รูป  เสด็จถึง
นครปาวาโดยลำดับ   ประทับอยู่  ณ สวนมะม่วงของจุนทกัมมารบุตร   ใกล้
นครปาวา.  ครั้งนั้นแล   พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้พากันเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ  ครั้นแล้วถวายบังคม  พระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง  ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.  พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวานั่ง  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้ว  ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ท้องพระ-
โรงหลังใหม่อันมีนามว่า  อุพภตกะ  ของพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา  สร้าง
สำเร็จแล้วไม่นาน  อันสมณพราหมณ์  หรือใคร ๆ  ที่เป็นมนุษย์ยังไม่ทันจะ
เข้าอยู่อาศัย    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จใช้สอย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 158
ท้องพระโรงนั้นก่อนเถิด  ภายหลังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาจึงจักใช้สอย
ท้องพระโรงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้สอยก่อนแล้ว    การเสด็จใช้สอย
ก่อนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ
สุขแก่พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา   สิ้นกาลนาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ
ด้วยดุษณีภาพแล้วแล.  ลำดับนั้น  พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา  ได้ทราบการ
ทรงรับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว   จึงลุกจากอาสนะ    ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า   ทำประทักษิณแล้ว   พาไปยังท้องพระโรง   ครั้นแล้วจึงปูลาด
ท้องพระโรงให้พร้อมสรรพ   แต่งตั้งอาสนะ   ให้ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน
แล้วพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ    ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า    ได้ยินอยู่  ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง    ได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าว่า    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     ท้องพระโรงอันพวกข้าพระองค์ปูลาด
พร้อมสรรพแล้ว    อาสนะก็แต่งตั้งแล้ว    หม้อน้ำก็ให้ตั้งไว้แล้ว     ประทีป
น้ำมันก็ตามไว้แล้ว    พระเจ้าข้า     ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบกาลอัน
สมควรในบัดนี้เถิด.
[๒๒๓] ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก
แล้วทรงถือบาตรจีวรเสด็จไปยังท้องพระโรงพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์    ทรง
ล้างพระบาทแล้ว    เสด็จเข้าไปยังท้องพระโรงประทับนั่งพิงเสากลาง     ผิน
พระพักตร์ไปทางทิศบูรพา.  ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังท้องพระ
โรงนั่งพิงฝาด้านหลัง   ผินหน้าไปทางทิศบูรพาแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
เเม้พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังท้องพระโรง   นั่งพิงฝา
ทางด้านบูรพา   ผินหน้าไปทางทิศปัจฉิมแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.  ครั้ง
นั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา  ให้เห็นแจ้ง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 159
ให้สมาทาน  ให้อาจหาญ  ให้รื่นเริง  ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก
แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะทั้งหลาย  ราตรีล่วงมากแล้ว
บัดนี้    พวกท่านจงสำคัญกาลอันสมควรเถิด.   พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา
ได้พร้อมกันรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า    อย่างนั้น   พระเจ้าข้า
แล้วพากันลุกขึ้นจากอาสนะ  ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระทำ
ประทักษิณแล้วหลีกไป.
[๒๒๔]  ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้า   ครั้นพวกเจ้ามัลละ
แห่งนครปาวาหลีกไปแล้วไม่นาน    ทรงเหลียวดูหมู่พระภิกษุผู้นั่งนิ่งแล้ว
ทรงสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า   ดูก่อนสารีบุตร   ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะและ
มิทธะ.   สารีบุตรจงแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย   เราเมื่อยแล้ว   ฉะนั้น
เราพึงพักผ่อน.     ท่านพระสารีบุตรได้รับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่าอย่างนั้น   พระเจ้าข้า   ดังนี้.     ครั้งนั้นแล    พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น     แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์
เบื้องขวา   ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท   มีพระสติสัมปชัญญะ     ทรง
กระทำในพระทัยถึงสัญญาในอันที่จะเสด็จลุกขึ้น.
[๒๒๕]  ก็โดยสมัยนั้นแล   นิครนถ์นาฏบุตรทำกาละแล้วไม่นาน
ที่นครปาวา.     เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น    พวกนิครนถ์จึง
แตกกัน    เกิดแยกกันเป็นสองพวก    เกิดบาดหมางกัน    เกิดการทะเลาะ
วิวาทกันขึ้น   เสียดแทงกันและกัน   ด้วยหอกคือปากอยู่ว่า   ท่านไม่รู้ทั่วถึง
ธรรมวินัยนี้   ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด  ข้าพเจ้า
ปฏิบัติถูก   ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์      ถ้อยคำของท่านไม่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 160
ประโยชน์  คำที่ควรจะกล่าวก่อน  ท่านกลับกล่าวภายหลัง  คำที่ควรจะกล่าว
ภายหลัง   ท่านกลับกล่าวก่อน  ข้อที่ท่านช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว   ข้าพเจ้า
จับผิดวาทะของท่านได้แล้ว   ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว   ท่านจงถอนวาทะเสีย
มิฉะนั้น   จงแก้ไขเสีย  ถ้าท่านสามารถดังนี้. เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียว
เท่านั้น   จะเป็นไปในพวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร.   แม้พวกสาวก
ของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว      ก็มีอาการเบื่อหน่าย
คลายความรักรู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร   ทั้งนี้
เพราะธรรมวินัยอันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี  ประกาศไว้ไม่ดี  ไม่เป็น
ธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ได้  ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ   มิใช่ธรรม
ที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้  เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอัน
ทำลายเสียแล้ว  เป็นธรรมวินัยไม่เป็นที่พึ่งอาศัย.  ครั้งนั้นแล ท่านพระสารี-
บุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลาย  เล่าว่า   ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย นิครนถ์นาฏบุตร
ทำกาลแล้วไม่นานที่นครปาวา    เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น
พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก  ฯลฯ เป็นธรรมวินัยมีที่พำ
นักอันทำลายเสียแล้วเป็น ธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งอาศัย ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้ย่อมเป็นเช่นนั้น      ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี     ประกาศไว้ไม่ดี
ไม่เป็นธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์   ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ   ไม่ใช่
ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้.   ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย
ส่วนธรรมนี้แล  อันพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายตรัสไว้ดีแล้ว
ประกาศไว้ดีแล้ว  เป็นธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ได้  เป็นไปเพื่อความสงบ
ระงับ  อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้  พวกเราทั้งหมดด้วยกัน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 161
ถึงสังคายนา   ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น   การที่พรหมจรรย์นี้จะ
พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น  พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก   เพื่อความสุข
แก่ชนมาก     เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก     เพื่อประโยชน์     เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุข  แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็ธรรม
อะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายตรัสไว้ดีแล้ว      ประกาศไว้ดี
แล้ว    เป็นธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ได้     เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว    พวกเราทั้งหมดด้วยกัน   พึงสัง-
คายนา  ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น   การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน
ตั้งอยู่นานนั้น  พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก  เพื่อความสุขแก่ชนมาก
เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก    เพื่อประโยชน์    เพื่อเกื้อกูล    เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
 
ว่าด้วยสังคีติหมวด  ๑
[๒๒๖]  ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรม  ๑  อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้  ทรงเห็น  เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์นั้น   ตรัสไว้
โดยชอบแล้วมีอยู่แล  พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา  ไม่พึงกล่าวแก่ง
แย่งกันในธรรมนั้น   การที่พรหมจรรย์นี้   จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น   พึง
เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก       เพื่อความสุขแก่ชนมาก       เพื่อความ
อนุเคราะห์แก่โลก   เพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุข   แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย.  ธรรม  ๑  เป็นไฉน.  คือ
สพฺเพ  สตฺตา  อาหารฏฺิติกา  สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง  ดำรงอยู่ด้วยอาหาร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 162
สพฺเพ   สตฺตา  สงฺขารฏฺิติกา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง  ดำรงอยู่ด้วยสังขาร
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย     ธรรมหนึ่งนี้แล     อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้
ทรงเห็น   เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น  ตรัสไว้โดยชอบ
แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรม
นั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ตั้งอยู่นานนั้น   พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
แก่ชนมาก    เพื่อความสุขแก่ชนมาก    เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก    เพื่อ
ประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด  ๑
 
ว่าด้วยสังคีติหมวด  ๒
[๒๒๗]  ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรม  ๒   อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้   ทรงเห็น   เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น   ตรัสไว้
โดยชอบแล้วมีอยู่แล  พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา  ไม่พึงกล่าวแก่ง
แย่งกันในธรรมนั้น  ฯลฯ   เพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.   ธรรม  ๒  เป็นไฉน.   คือ   นาม  และ  รูป ๑.
อวิชชา และ   ภวตัณหา ๑.   ภวทิฏฐิ  และ วิภวทิฏฐิ  ๑.   อหิริกะ   ความไม่
ละอาย  และ  อโนตตัปปะ   ความไม่เกรงกลัว   ๑.   หิริ   ความละอาย  และ
โอตตัปปะ     ความเกรงกลัว   ๑.      โทวจัสสตา     ความเป็นผู้ว่ายาก   และ
ปาปมิตตตา   ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว  ๑.   โสวจัสสตา   ความเป็นผู้ว่าง่าย  และ
กัลยาณมิตตตา  ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑.  อาปัตติกุสลตา  ความเป็นผู้ฉลาด
ในอาบัติ   และ   อาปัตติวุฏฐานกุสลตา      ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจาก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 163
อาบัติ   ๑.     สมาปัตติกุสลตา   ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ  และ   สมาปัตติ-
วุฏฐานกุสลดา    ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ   ๑.    ธาตุกุสลตา
ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ   และ   มนสิการกุสลตา      ความเป็นผู้ฉลาดใน
มนสิการ  ๑.   อายตนกุสลตา    ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ  และ  ปฎิจจ-
สมุปปาทกุสลตา  ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ๑.  ฐานกุสลตา ความ
เป็นผู้ฉลาดในฐานะ  และ  อัฏฐานกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ ๑.
อาชชวะ   ความซื่อตรง  และ  มัททวะ   ความอ่อนน้อม ๑.    ขันติ   ความ
อดทน และ โสรัจจะ  ความเสงี่ยม  ๑.    สาขัลยะ  การกล่าววาจาอ่อนหวาน
และ  ปฏิสันถาร    การต้อนรับ   ๑.     อวิหิงสา    ความไม่เบียดเบียน  และ
โสเจยยะ     ควานสะอาด   ๑.     มุฏฐสัจจะ     ความเป็นผู้มีสติหลงลืม  และ
อสัมปชัญญะ   ความเป็นผู้ไม่รู้ตัว ๑.    สติ    ความระลึกได้ และ  สัมปชัญญะ
ความรู้ตัว  ๑.   อินทริเยสุ   อคุตตทวารตา   ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย   และ  โภชเนอมัตตัญญุตา   ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน
โภชนะ ๑.   อินทริเยสุ   อคุตตทวารตา   ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย  และ  โภชเนอมัตตัญญุตา    ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ  ๑.
ปฏิสังขานพล     กำลังการพิจารณา  และ   ภาวนาพล     กำลังการอบรม  ๑.
สติพล     กำลังคือสติ  และ  สมาธิพล     กำลังคือสมาธิ   ๑.     สมถะ   และ
วิปัสนา   ๑.   สมถนิมิต   นิมิตที่เกิดเพราะสมถะ และ  ปัคคหนิมิต   นิมิตที่
เกิดเพราะความเพียร  ๑.   ปัคคหะ  ความเพียร  และ  อวิกเขปะ  ความไม่
ฟุ้งซ่าน ๑. สีลวิบัติ  ความวิบัติแห่งศีล  และ  ทิฏฐิวิบัติ  ความวิบัติแห่งทิฐิ  ๑.
สีลสัมปทา   ความถึงพร้อมแห่งศีล  และ  ทิฏฐิสัมปทา   ความถึงพร้อมแห่ง
ทิฐิ ๑.   สีลวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งศีล และ ทิฏฐิวิสุทธฺ  ความหมดจดแห่ง
ทิฐิ ๑.    ทิฏฐิวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งทิฐิ  และ  ทิฏฐิปธาน   ความเพียร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 164
ของผู้มีทิฐิ ๑.     สเวโค   จ   สเวชนีเยสุ   ฐาเนสุ   ความสลดใจในสถานที่
ควรสลด  และ สวิคฺคสฺส  จ  โยนิโส   ปธาน   ความเพียรโดยแยบคายของผู้
สลดใจ  ๑.    อสนฺตุฏฺิตา   จ   กุ เลสุ    ธมฺเมสุ   ความเป็นผู้ไม่สันโดษใน
กุศลธรรมทั้งหลาย  และ อปฺปฏิวานิตา  จ  ปธานสฺมึ  ความเป็นผู้ไม่ท้อถอย
ในความเพียร ๑.   วิชชา  และ วิมุตฺติ ๑.   ขยญาณ   ความรู้ในความสิ้นไป
และ   อนุปฺปาทญาณ   ความรู้ในความไม่เกิด    ๑.    ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรม ๒ นี้แล   อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้  ทรงเห็น   เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น   ตรัสไว้โดยชอบแล้ว  พวกเราทั้งหมดด้วยกัน
พึงสังคายนาไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น ฯ ล ฯ     เพื่อความสุข    แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย   ดังนี้.
จบสังคีติหมวด  ๒
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๐. สังคีติสูตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 01, 2013, 09:26:46 pm »


ว่าด้วยสังคีติหมวด  ๓
[๒๒๘]   ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   ธรรม  ๓ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้  ทรงเห็น    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น    ตรัสไว้
โดยชอบมีอยู่แล      พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนาในธรรมนั้น ฯลฯ
เพื่อประโยชน์      เพื่อเกื้อกูล      เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ธรรม ๓  เป็น  ไฉน.  คือ
อกุศลมูล
๑. โลภะ   ความโลภ
๒. โทสะ   ความโกรธ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 165
๓. โมหะ  ความหลง
กุศลมูล  ๓
๑.  อโลภะ  ความไม่โลภ
๒. อโทสะ   ความไม่โกรธ
๓. อโมหะ   ความไม่หลง.

ทุจริต ๓
๑.  กายทุจริต    ความประพฤติชั่วทางกาย
๒. วจีทุจริต      ความประพฤติชั่วทางวาจา
๓.  มโนทุจริต   ความประพฤติชั่วทางใจ.

สุจริต  ๓
๑.   กายสุจริต     ความประพฤติชอบทางกาย
๒.   วจีสุจริต      ความประพฤติชอบทางวาจา
๓.   มโนสุจริต    ความประพฤติชอบทางใจ.

อกุศลวิตก  ๓
๑.  กามวิตก         ความตริในกาม
๒.  พยาบาทวิตก   ความตริในพยาบาท
๓.  วิหิงสาวิตก      ความตริในการเบียดเบียน

กุศลวิตก  ๓
๑.  เนกขัมมวิตก        ความตริในทางออกจากกาม
๒.  อัพยาบาทวิตก     ความตริในทางไม่พยาบาท
๓.  อวิหิงสาวิตก        ความตริในทางไม่เบียดเบียน.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 166
อกุศลกังกัปปะ  ๓
๑.  กามสังกัปปะ                  ความดำริในกาม
๒.  พยาบาทสังกัปปะ        ความดำริในพยาบาท
๓.  วิหิงสาสังกัปปะ                ความดำริในการเบียดเบียน.

กุศลสังกัปปะ  ๓
๑.  เนกขัมมสังกัปปะ                ความดำริในทางออกจากกาม
๒.  อัพพยาบาทสังกัปปะ        ความดำริในทางไม่พยาบาท
๓.  อวิหิงสาสังกัปปะ                ความดำริในทางไม่เบียนเบียน.

อกุศลสัญญา  ๓
๑.  กามสัญญา                ความจำได้ในทางกาม
๒.  พยาบาทสัญญา                ความจำได้ในทางพยาบาท
๓.  วิหิงสาสัญญา                ความจำได้ในทางเบียดเบียน.

กุศลสัญญา  ๓
๑.  เนกขัมมสัญญา                ความจำได้ในทางออกกาม
๒.  อัพพาบาทสัญญา                ความจำได้ในทางไม่พยาบาท
๓.  อวิหิงสาสัญญา                ความจำได้ในทางไม่เบียนเบียน.

อกุศลธาตุ  ๓
๑.  กามธาตุ                 ธาตุคือกาม
๒.  พยาบาทธาตุ                ธาตุคือความพยาบาท
๓.  วิหิงสาธาตุ                 ธาตุคือความเบียดเบียน.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 167
กุศลธาตุ  ๓
๑.  เนกขัมมธาตุ         ธาตุคือความออกจากกาม
๒.  อัพพาบาทธาตุ      ธาตุคือความไม่พยาบาท
๓.  อวิหิงสาธาตุ          ธาตุคือความไม่เบียดเบียน

ธาตุอีก  ๓
๑.  กามธาตุ       ธาตุคือกาม
๒.  รูปธาตุ        ธาตุคือรูป
๓.  อรูปธาตุ       ธาตุคืออรูป

ธาตุอีก  ๓
๑.  รูปธาตุ          ธาตุคือรูป
๒.  อรูปธาตุ       ธาตุคืออรูป
๓.  นิโรธธาตุ      ธาตุคือความดับทุกข์

ธาตุอีก  ๓
๑.  หีนธาตุ            ธาตุอย่างเลว
๒.  มัชฌิมธาตุ       ธาตุอย่างกลาง
๓.  ปณีตธาตุ          ธาตุอย่างประณีต.

ตัณหา  ๓
๑.  กามตัณหา         ตัณหาในกาม
๒.  ภวตัณหา            ตัณหาในภพ
๓.  วิภวตัณหา          ตัณหาในวิภพ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 168
ตัณหาอีก  ๓
๑.  กามตัณหา            ตัณหาในกาม
๒.  รูปตัณหา             ตัณหาในรูป
๓.  อรูปตัณหา           ตัณหาในอรูป.

ตัณหาอีก  ๓
๑.  รูปตัณหา              ตัณหาในรูป
๒.  อรูปตัณหา           ตัณหาในอรูป
๓.  นิโรธตัณหา           ตัณหาในความดับ.

สังโยชน์  ๓
๑.  สักกายทิฏฺฐิ                   ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน
๒.  วิจิกิจฉา               ความลังเลสงสัย
๓.  สีลัพพตปรามาส          ความเชื่อถือด้วยอำนาจศีลพรต.

อาสวะ  ๓
๑.  กามาสวะ              อาสวะเป็นเหตุอยากได้
๒.  ภวาสวะ              อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น
๓.  อวิชชาสวะ          อาสวะคือความไม่รู้.

ภพ  ๓
๑.  กามภพ           ภพที่เป็นกามาวจร
๒.  รูปภพ            ภพที่เป็นรูปาวจร
๓.  อรูปภพ          ภพที่เป็นอรูปาวจร.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 169
เอสนา  ๓
๑.  กาเมสนา             การแสวงหากาม
๒.  ภเวสนา              การแสวงหาภพ
๓.  พรหมจริเยสนา    การแสวงหาพรหมจรรย์.

วิธามานะ  ๓
๑.  เสยฺโยหมสฺสีติ      วิธา      ถือว่าเราดีกว่าเขา
๒.  สทิโสหมสฺมีติ      วิธา      ถือว่าเราเสมอเขา
๓.  หีโนหมสฺมีติ        วิธา      ถือว่าเราเลวกว่าเขา.

อัทธา  ๓
๑.  อตีตอัทธา             อดีตกาล
๒.  อนาคตอัทธา       อนาคตกาล
๓.  ปัจจุบันนอัทธา    ปัจจุบันกาล.

อันตะ  ๓
๑.  สักกายอันตะ                    ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน
๒.  สักกายสมุทยอันตะ         ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน
๓.  สักกายนิโรธอันตะ           ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน.

เวทนา  ๓
๑.  สุขเวทนา                      ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
๒.  ทุกขเวทนา                   ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
๓.  อทุกขมสุขเวทนา         ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 170
ทุกขตา  ๓
๑.  ทุกขทุกขตา           ความเป็นทุกข์เพราะทนได้ยาก
๒.  สังขารทุกขตา       ความเป็นทุกข์เพราะการปรุงแต่ง
๓.  วิปริณามทุกขตา    ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน.

ราสี  ๓
๑.  มิจฉัตตนิยตราสี         กองคือความผิดที่แน่นอน
๒.  สัมมัตตนิยตราสี        กองคือความถูกที่แน่นอน
๓.  อนิยตราสี                  กองคือความไม่แน่นอน.

.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2013, 09:40:07 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๐. สังคีติสูตร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 01, 2013, 09:37:53 pm »


กังขา  ๓
๑.  ปรารภอดีตกาลแล้ว        สงสัย  เคลือบแคลง  ไม่ปักใจเชื่อ  ไม่เลื่อมใส
๒.  ปรารภอนาคตกาลแล้ว   สงสัย  เคลือบแคลง  ไม่ปักใจเชื่อ  ไม่เลื่อมใส
๓.  ปรารภปัจจุบันกาลแล้ว   สงสัย  เคลือบแคลง  ไม่ปักใจเชื่อ  ไม่เลื่อมใส

ข้อที่ไม่ต้องรักษาพระตถาคต  ๓  อย่าง
๑.  พระตถาคตมีกายสมาจาร  บริสุทธิ์  พระตถาคตมิได้มีความ
ประพฤติชั่วทางกายที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า  คนอื่น  ๆ
อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางกายของเรานี้
๒.  พระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์  พระตถาคตมิได้มีความ
ประพฤติชั่วทางวาจาที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า  คนอื่น ๆ
อย่าได้รู้ถึงความชั่วทางวาจาของเรานี้
 
๓.  พระตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์  พระตถาคตมิได้มีความ
ประพฤติชั่วทางใจ  ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า  คนอื่น ๆ
อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางใจของเรานี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

กิญจนะ  ๓
๑.  ราคกิญจนะ     เครื่องกังวล  คือราคะ
๒.  โทสกิญจนะ   เครื่องกังวล  คือโทสะ
๓.  โมหกิญจนะ   เครื่องกังวล   คือโมหะ.

อัคคี  ๓
๑.  ราคัคคิ      ไฟคือราคะ
๒.  โทสัคคิ    ไฟคือโทสะ
๓.  โมหัคคิ     ไฟคือโมหะ

อัคคีอีก  ๓
๑.  อาหุเนยยัคคิ        ไฟคืออาหุเนยยบุคคล
๒.  ทักขิเณยยัคคิ       ไฟคือทักขิเณยยบุคคล
๓.  คหปตัคคิ              ไฟคือคฤหบดี.

รูปสังคหะ   ๓
๑.  สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป        รูปที่เห็นได้และกระทบได้
๒.  อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป       รูปที่เห็นไม่ได้   แต่กระทบได้
๓.  อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป       รูปที่เห็นไม่ได้   ทั้งกระทบไม่ได้.

สังขาร  ๓
๑. ปัญญาภิสังขาร     อภิสังขาร  คือ  บุญ
๒. อปุญญาภิสังขาร  อภิสังขาร  คือ  บาป
๓. อเนญชาภิสังขาร  อภิสังขาร  คือ  อเนญชา.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 172
บุคคล  ๓
๑. เสกขบุคคล      บุคคลผู้ยังต้องศึกษา
๒. อเสกขบุคคล   บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา
๓. เนวเสกขานาเสกขบุคคล  บุคคลผู้ยัง
ต้องศึกษา  ก็ไม่ใช่  ผู้ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่.

เถระ  ๓
๑.  ชาติเถระ            พระเถระโดยชาติ
๒.  ธรรมเถระ          พระเถระโดยธรรม
๓.  สมมติเถระ         พระเถระโดยสมมติ.

บุญกิริยาวัตถุ  ๓
๑.  ทานมัย              บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒.  สีลมัย               บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓.  ภาวนามัย          บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา.

โจทนาวัตถุ  ๓
๑.  ทิฏเฐน          โจทน์ด้วยได้เห็น
๒.  สุเตน            โจทน์ด้วยได้ยินได้ฟัง
๓.  ปริสงฺกาย      โจทน์ด้วยความรังเกียจ.

กามอุบัติ  ๓
๑.  สัตว์ประเภทที่มีการปรากฏมีอยู่  สัตว์เหล่านั้น  ย่อมยังอำนาจ
ให้เป็นไปในกามทั้งหลายที่ปรากฏแล้ว  เช่นมนุษย์  เทพบางจำพวก  และ
วินิบาตบางจำพวก
๒.  สัตว์ประเภทที่นิรมิตกามได้มีอยู่  สัตว์เหล่านั้นนิรมิตแล้วๆ
ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลาย   เช่นเทพเหล่านิมมานรดี
๓.  สัตว์ประเภทที่ผู้อื่นนิรมิตกามให้มีอยู่       สัตว์เหล่านั้นย่อมยัง
อำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้เเล้ว   เช่นเทพเหล่าปรนิมมิตวสวดี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

สุขอุบัติ  ๓
๑.  สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้น ๆ    แล้วย่อมอยู่เป็นสุขมีอยู่
เช่นพวกเทพเหล่าพรหมกายิกา
๒.   สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่   สัตว์เหล่า
นั้น   บางคราวเปล่งอุทานในที่ไหนๆ ว่า  สุขหนอ ๆ   ดังนี้    เช่นเทพเหล่า
อาภัสสรา
๓.  สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่    สัตว์เหล่า
นั้นสันโดษ     เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น    เช่น    เทพเหล่า
สุภกิณหา.

ปัญญา  ๓
๑.  เสกขปัญญ     ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ
๒.  อเสกขปัญญา   ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ
๓.  เนวเสกขานาเสกขปัญญา  ปัญญาที่เป็นของ
พระเสขะก็ไม่ใช่   ของพระอเสขะก็ไม่ใช่.

ปัญญาอีก  ๓
๑.  จินตามยปัญญา  ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด
๒.  สุตมยปัญญา      ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง
๓.  ภาวนามยปัญญา  ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

อาวุธ  ๓
๑.  สุตาวุธ        อาวุธ   คือการฟัง
๒.  ปวิเวกาวุธ   อาวุธ   คือความสงัด
๓.  ปัญญาวุธ    อาวุธ   คือปัญญา.

อินทรีย์  ๓
๑.  อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์   อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติ
ด้วยคิดว่า  เราจักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้
๒.  อัญญินทรีย์     อินทรีย์  คือความรู้
๓.  อัญญาตาวินทรีย์  อินทรีย์ในธรรมที่รู้แล้ว.

จักษุ  ๓
๑.  มังสจักขุ        ตาเนื้อ
๒.  ทิพยจักขุ       ตาทิพย์
๓.  ปัญญาจักขุ      ตาคือปัญญา.

สิกขา  ๓
๑.  อธิสีลสิกขา        สิกขาคือศีลยิ่ง
๒.  อธิจิตตสิกขา      สิกขาคือจิตยิ่ง
๓.  อธิปัญญาสิกขา   สิกขาคือปัญญายิ่ง.

ภาวนา  ๓
๑.  กายภาวนา       การอบรมกาย
๒.  จิตตภาวนา     การอบรมจิต
๓.  ปัญญาภาวนา   การอบรมปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 175
อนุตตริยะ  ๓
๑.  ทัสสนานุตตริยะ      ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม
๒.  ปฏิปทานุตตริยะ     ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม
๓.  วิมุตตานุตตริยะ       ความพ้นอย่างยอดเยี่ยม.

สมาธิ  ๓
๑.  สวิตักกวิจารสมาธิ            สมาธิที่ยังมีวิตกวิจาร
๒.  อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ    สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
๓.  อวิตักกวิจารสมาธิ            สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร.

สมาธิอีก  ๓
๑.  สุญญตสมาธิ            สมาธิที่ว่างเปล่า
๒.  อนิมิตตสมาธิ          สมาธิที่หานิมิตมิได้
๓.  อัปปณิหิตสมาธิ       สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้.

โสเจยยะ  ๓
๑.  กายโสเจยยะ         ความสะอาดทางกาย
๒.  วจีโสเจยยะ          ความสะอาดทางวาจา
๓.  มโนโสเจยยะ        ความสะอาดทางใจ.

โมนยยะ  ๓
๑.  กายโนเนยยะ       ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย
๒. วจีโมเนยยะ         ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา
๓.  มโนโมเนยยะ     ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 176
โกสัลละ   ๓
๑.  อายโกสัลละ           ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ
๒.  อปายโกสัลละ       ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม
๓.  อุปายโกสัลละ        ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ
และความเสื่อม.

มทะ  ๓
๑.  อาโรคยมทะ        ความเมาในความไม่มีโรค
๒.  โยพพนมทะ        ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว
๓.  ชาติมทะ              ความเมาในชาติ.

อธิปไตย  ๓
๑.  อัตตาธิปไตย     ความมีตนเป็นใหญ่
๒. โลกาธิปไตย     ความมีโลกเป็นใหญ่
๓.  ธัมมาธิปไตย    ความมีธรรมเป็นใหญ่.

กถาวัตถุ  ๓
๑.  ปรารภกาลส่วนอดีต  กล่าวถ้อยคำว่า  กาลที่ล่วงไปแล้วได้มีแล้วอย่างนี้
๒.  ปรารภกาลส่วนอนาคต  กล่าวถ้อยคำว่า  กาลที่ยังไม่มาถึง  จักมีอย่างนี้
๓.  ปรารถนากาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้  กล่าวถ้อยคำว่า  กาลส่วน
ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้.

วิชชา  ๓
๑.  บุพเพนิวาสานุสสติญาณ     ความรู้จักระลึกชาติในก่อนได้
๒.  จุตูปปาตญาณ                    ความรู้จักกำหนดจุติและอุบัติ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 177
ของสัตว์ทั้งหลาย
๓.  อาสวักขยาญาณ        ความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป.

วิหารธรรม  ๓
๑.  ทิพพวิหาร        ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทวดา
๒.  พรหมวิหาร           ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
๓.  อริยวิหาร        ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ.

ปาฏิหาริยะ  ๓
๑.  อิทธิปาฏิหาริยะ              ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
๒.  อาเทสนาปฏิหาริยะ     ดักใจเป็นอัศจรรย์
๓.  อนุสาสนีปาฏิหาริยะ    คำสอนเป็นอัศจรรย์.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรมมีประเภทอย่างละ  ๓  เหล่านี้แล  อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้  ทรงเห็น  เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น  ตรัสไว้โดยชอบแล้ว  พวกเราทั้งหมดด้วยกัน  พึงสังคายนา
ไม่ควรแก่งแย่งกันในธรรมนั้น  ฯลฯ  เพื่อประโยชน์  เพื่อเกื้อกูล  เพื่อ
ความสุข  แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด  ๓


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๐. สังคีติสูตร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 01, 2013, 09:57:55 pm »

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
ว่าด้วยสังคีติหมวด  ๔

[๒๒๙]   ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรม  ๔  อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้    ทรงเห็น    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น  ตรัสไว้
โดยชอบแล้วมีอยู่แล    พวกเราทั้งหมดด้วยกัน    พึงสังคายนา   ไม่พึงแก่ง
แย่งกันในธรรมนั้น   ฯลฯ   เพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.   ธรรม ๔  เป็นไฉน.   คือ
สติปัฏฐาน  ๔
๑.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้   พิจารเห็น
กายในกายอยู่   มีความเพียร   มีสัมปชัญญะ   มีสติ   พึงกำจัดอภิชฌา   และ
โทมนัส  ในโลกเสียได้.
๒.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรมวินัยได้พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่   มีความเพียร   มีสัมปชัญญะ  มีสติ   พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัส   ในโลกเสียได้.
๓.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้   พิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่  มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ  มีสติ  พึงกำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้.
๔.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้   พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่  มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ  มีสติ  พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 179
[๒๓๐]  สัมมัปปธาน  ๔
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้    ยังฉันทะให้
เกิด   พยายาม   ปรารภความเพียร    ประคองจิต   ตั้งใจมั่น   เพื่อความไม่
เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด
๒.   ยังฉันทะให้เกิด    พยายาม    ปรารภความเพียร    ประคองจิต
ตั้งใจมั่น   เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓.   ยังฉันทะให้เกิด    พยายาม    ปรารภความเพียร    ประคองจิต
ตั้งใจมั่น   เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
๔.    ยังฉันทะให้เกิด    พยายาม    ปรารภความเพียร    ประคองจิต
ตั้งใจมั่น    เพื่อความตั้งมั่น    เพื่อไม่เลือนลาง   เพื่อจำเริญยิ่ง    เพื่อความ
ไพบูลย์  เพื่อเจริญ   เพื่อความบริบูรณ์   แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

[๒๓๑]  อิทธิบาท  ๔
๑.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้  ย่อมเจริญ
อิทธิบาท  อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒.   ย่อมเจริญอิทธิบาท   อันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓.   ย่อมเจริญอิทธิบาท  อันประกอบด้วยจิตสมาธิปธานสังขาร
๔.   ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร.

[๒๓๒]  ฌาน  ๔
๑.    ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้  สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม  บรรลุปฐมฌาน  มีวิตก  มีวิจาร  มีปิติและสุข  เกิด
แต่วิเวกอยู่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 180
๒.  บรรลุทุติยฌาน  มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน  เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น   เพราะวิตก   วิจารสงบไป   ไม่มีวิตก   ไม่มีวิจาร    มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่
๓.  มีอุเบกขา  มีสติ   มีสัมปชัญญะ    เสวยสุขด้วยนามกาย  เพราะ
ปีติสิ้นไป   บรรลุตติยฌาน  ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า   ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา   มีสติอยู่เป็นสุข
๔.  บรรลุจตุตถฌาน   ไม่มีทุกข์    ไม่มีสุข    เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้   มีอุเบกขาเป็นเหตุสติบริสุทธิ์อยู่.

[๒๓๓]     สมาธิภาวนา   ๔
๑.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่.
๒.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว  ทำให้มาก
แล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่.
๓.   ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่.
๔.   ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว  ทำให้มาก
แล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว    ทำให้มาก
แล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม   เป็นไฉน.   ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้     สงัดจากกาม     สงัดจากอกุศลธรรม    บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก  มีวิจาร ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่   สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 181
ทำให้มากแล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว   ทำให้มาก
แล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ   เป็นไฉน.   ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้    มนสิการอาโลกสัญญา   ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้
กลางวันอย่างใด    กลางคืนอย่างนั้น   กลางคืนอย่างใด    กลางวันอย่างนั้น.
มีใจเปิดเผย     ไม่มีอะไรหุ้มห่อ     อบรมจิตให้มีแสงสว่างด้วยประการฉะนี้
สมาธิภาวนานี้    อันภิกษุอบรมแล้ว   ทำให้มากแล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย     ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว  ทำให้มาก
แล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน.   เวทนาทั้งหลาย้อนภิกษุใน
พระรรรมวินัยนี้รู้แล้วย่อมเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่ย่อมถึงความดับสัญญาทั้งหลาย
อันภิกษุรู้แล้ว  ย่อมเกิดขึ้น  ย่อมตั้งอยู่  ย่อมถึงความดับ  วิตกทั้งหลาย  อัน
ภิกษุรู้แล้ว   ย่อมเกิดขึ้น   ย่อมตั้งอยู่   ย่อมถึงความดับ   สมาธิภาวนานี้อัน
ภิกษุอบรมแล้ว   ทำให้มากแล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว   ทำให้มาก
แล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อ   ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย  เป็นไฉน.  ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้   มีปกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปา-
ทานขันธ์ห้าว่า    ดังนี้รูป   ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป   ดังนี้ความดับแห่งรูป.
ดังนี้เวทนา... ดังนี้สัญญา. . . ดังนี้สังขาร. . .  ดังนี้วิญญาณ.   ดังนี้ ความเกิด
ขึ้นแห่งวิญญาณ  ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ    สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรม
แล้ว  ต่ำให้มากแล้ว   ย่อมเป็นไปเพื่อความในรูปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 182
[๒๓๔]  อัปปมัญญา ๔
๑.   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้    มีใจประกอบด้วย
เมตตา  แผ่ไปตลอดทิศ  หนึ่งอยู่  ทิศที่สอง  ทิศที่สาม  ทิศที่สี่   ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้     ทั้งเบื้องบน   เบื้องล่าง   เบื้องขวาง   แผ่ไปตลอดโลก    ทั่วสัตว์
ทุกเหล่า  ในที่ทุกสถาน  โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง  ด้วยใจประกอบ
ด้วยเมตตาอันไพบูลย์  ถึงความเป็นใหญ่  หาประมาณมิได้  ไม่มีเวรไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่.
๒.   มีใจประกอบด้วยกรุณา ...
๓.   มีใจประกอบด้วยมุทิตา...
๔.   มีใจประกอบด้วยอุเบกขา   แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่  ทิศที่สอง
ทิศที่สาม  ทิศที่สี่  ก็เหมือนกัน  ตามนัยนี้  ทั้งเบื้องต้น  เบื้องล่าง  เบื้องขวา
แผ่ไปตลอดโลก    ทั่วสัตว์ทุกเหล่า   ในที่ทุกสถานโดยความเป็นคนในสัตว์
ทั้งปวง     ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่     หา
ประมาณมิได้  ไม่มีเวร  ไม่มีความเบียดเบียนอยู่.

[๒๓๕]  อรูป  ๔
๑.   ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะล่วงเสียซึ่งรูป
สัญญาโดยประการทั้งปวง    เพราะดับซึ่งปฏิฆสัญญา    เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนา
นัตตสัญญา  จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ   ด้วยมนสิการว่า  อากาศหาที่สุด
มิได้   ดังนี้อยู่
๒.   เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง     จึง
เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้อยู่

๓.   เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง  จึงเข้า
ถึงอากิญจัญญายตนะ   ด้วยมนสิการว่า  น้อยหนึ่งไม่มี   ดังนี้อยู่
๔.   เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง  จึงเข้า
ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

[๒๓๖]  อปัสเสนะ  ๔
๑.   ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้  พิจารณาแล้ว
เสพของอย่างหนึ่ง
๒.  พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง
๓.  พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง
๔.  พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง.

[๒๓๗]   อริยวงศ์
๑.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้  ย่อมเป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวรตามมีตามได้และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมี
ตามได้  และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร  ไม่เหมาะ  เพราะเหตุแห่งจีวร
และไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน   และได้จีวรแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ  ไม่หมกหมุ่น
ไม่ติดแน่น  มีปกติ  เห็นโทษ  มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก  บริโภคอยู่
กับทั้งไม่ยกตน  ไม่ข่มผู้อื่น   ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น  ก็
ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน    ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ    มีสติมั่น  ในสันโดษด้วย
จีวรนั้น  ภิกษุนี้เรียกว่า  ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.
๒.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตาม
มีตามได้  และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้
และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควรไม่เหมาะ      เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน      และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
ไม่หมกหมุ่น   ไม่ติดแน่น   มีปกติเห็นโทษ   มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
บริโภคอยู่   กับทั้งไม่ยกตน   ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษ   ด้วยบิณฑบาต
ตามมีตามได้นั้น  ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน  มีสัมปชัญญะ  มีสติมั่น
ในสันโดษด้วยบิณฑบาตนั้น    ภิกษุนี้เรียกว่า    ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่า
อันยอดเยี่ยม.
๓.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะ
ตามมีตามได้     และมีสติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมี
ตามได้   ย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควรไม่เหมาะ  เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และได้เสนาสนะ  แล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ  ไม่
หมกหมุ่น ไม่ติดแน่น  มีปกติเห็นโทษ  มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภค
อยู่  กับทั้งไม่ยกตน  ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้
นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น  ในสันโดษ
ด้วยเสนาสนะนั้น   ภิกษุนี้เรียกว่า  ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.
๔.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย    ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วในปหานะ   ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี   ยินดีแล้วในภาวนา
กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี  เพราะ
ความยินดีในปหานะ  เพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี   เพราะความ
ยินดีในภาวนานั้น   ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน   ไม่เกียจคร้าน    มีสัมปชัญญะ
มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่า
อันยอดเยี่ยม.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 185
[๒๓๘]     ปธาน  ๔
๑.  สังวรปธาน         เพียรระวัง
๒. ปหานปธาน        เพียรละ
๓.  ภาวนาปธาน       เพียรเจริญ
๔.  อนุรักขนาปธาน  เพียรรักษา.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   ก็สังวรปธานเป็นไฉน.  ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้    เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว  ไม่ถือนิมิต  ไม่ถืออนุพยัญชนะ  ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว     จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน
ลามก  คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น  ชื่อว่า  รักษาจักขุนทรีย์  ชื่อว่า
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์.   ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว. ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว.
ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว.   ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว.    รู้แจ้งธรรมด้วยใจ
แล้ว  ไม่ถือนิมิต  ไม่ถืออนุพยัญชนะ   ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์  ที่
เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำนั้น   ชื่อว่า   รักษามนินทรีย์   ชื่อว่า   ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
นี้เรียกว่า  สังวรปธาน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็ปหานปธานเป็นไฉน.   ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้    ย่อมไม่รับ   ย่อมละเสีย   ย่อมบรรเทา   ย่อมให้สิ้นไป   ย่อมให้ถึง
ความไม่มีซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว    ย่อมไม่รับ    ย่อมละเสีย    ฯลฯ    ซึ่ง
พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว   ย่อมไม่รับ   ย่อมละเสีย  ฯลฯ  ซึ่งวิหิงสาวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้ว    ย่อมไม่รับ    ย่อมละเสีย    ย่อมบรรเทา    ย่อมทำให้สิ้นไป
ย่อมให้ถึงความ     ไม่มีซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ นี้เรียกว่า
ปหานปธาน.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน.  ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้      ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์      อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลาย
กำหนัด   อาศัยความดับ     น้อมไปเพื่อความสละลง.    ย่อมเจริญธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์.   ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์.   ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์.     ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์    อันอาศัย
ความสงัด   อาศัยความคลายกำหนัด   อาศัยความดับ   อันน้อมไปเพื่อความ
สละลงนี้เรียกว่า   ภาวนาปธาน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน  ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้   ย่อมตามรักษาสมาธินิมิต  อันเจริญที่เกิดขึ้นแล้ว   คือ  อัฏฐิกสัญญา
ปุฬวกสัญญา  วินีลกสัญญา  วิจฉิททกสัญญา  อุทธุมาตกสัญญา  นี้เรียกว่า
อนุรักขนาปธาน.

[๒๓๙]  ญาณ  ๔
๑.  ธัมมญาณ         ความรู้ในธรรม
๒. อันวยญาณ        ความรู้ในการคล้อยตาม
๓. ปริจเฉทญาณ     ความรู้ในการกำหนด
๔.  สัมมติญาณ        ความรู้ในสมมติ.

ญาณอีก  ๔
๑.  ทุกขญาณ                     ความรู้ในทุกข์
๒.  ทุกขสมุทยญาณ             ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
๓.  ทุกขนิโรธญาณ             ความรู้ในการดับทุกข์
๔.  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ   ความรู้ในการปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์


มีต่อค่ะ - http://www.thepalicanon.com/91book/book16/151_200.htm


...
...
[๒๔๓]  ธาตุ  ๔
๑.  ปฐวีธาตุ  ธาตุดิน
๒.  อาโปธาตุ  ธาตุน้ำ
๓.  เตโชธาตุ  ธาตุไฟ
๔.  วาโยธาตุ   ธาตุลม.

[๒๔๔]  อาหาร ๔
๑.  กวฬิงการาหาร                อาหารคือ  คำข้าวทั้งหยาบและละเอียด
๒.  ผัสสาหาร                อาหารคือผัสสะ
๓.  มโนสัญเจตนาหาร   อาหารคือมโนสัญเจตนา
๔.  วิญญาณาหาร            อาหารคือวิญญาณ.

[๒๔๕]  วิญญาณฐิติ  ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่    ย่อม
ตั้งอยู่  วิญญาณนั้นมีรูปเป็นอารมณ์  มีรูปเป็นที่พำนัก  เข้าไปเสพซึ่ง
ความยินดี   ย่อมถึงความเจริญ   งอกงามไพบูลย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 189
๒.   วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา...
๓.   วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา...
๔.    วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร  เมื่อตั้งอยู่  ย่อมตั้งอยู่  วิญญาณนั้น
มีสังขารเป็นอารมณ์   มีสังขารเป็นที่พำนัก   เข้าไปเสพซึ่งความยินดี   ย่อม
ถึงความเจริญ   งอกงาม   ไพบูลย์.

[๒๔๖]  การถึงอคติ  ๔
๑.   ฉันทาคติ   ถึงความลำเอียงเพราะความรักใคร่
๒.   โทสาคติ    ถึงความลำเอียงเพราะความโกรธ
๓.   โมหาคติ    ถึงความลำเอียงเพราะความหลง
๔.    ภยาคติ      ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว.

[๒๔๗]  เหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา
๑.  ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ       ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร
๒.  ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ      ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
๓.  ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ       ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
๔.  ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ       ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งความต้องการ
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

[๒๔๘]   ปฏิปทา  ๔
๑.  ทุกขปฏิปทา     ทันธาภิญญา  ปฏิบัติลำบาก   ทั้งรู้ได้ช้า
๒.  ทุกขปฏิปทา     ขิปปาภิญญา    ปฏิบัติลำบาก  แต่รู้ได้เร็ว
๓.  สุขาปฏิปทา    ทันธาภิญญา  ปฏิบัติสะดวก   แต่รู้ได้ช้า
๔.  สุขาปฏิปทา    ขิปปาภิญญา  ปฏิบัติสะดวก   แต่รู้ได้เร็ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

[๒๔๙]  ปฏิปทาอีก  ๔
๑.  อักขมา  ปฏิปทา    ปฏิบัติไม่อดทน
๒.  ขมา  ปฏิปทา         ปฏิบัติอดทน
๓.  ทมา  ปฏิปทา         ปฏิบัติฝึก
๔.  สมา  ปฏิปทา         ปฏิบัติระงับ

[๒๕๐]  ธรรมบท  ๔
๑.  อนภิชฌา    ความไม่เพ่งเล็ง
๒.  อพยาบาท   ความไม่พยาบาท
๓.  สัมมาสติ     ความระลึกชอบ
๔.  สัมมาสมาธิ  ความตั้งใจชอบ.

[๒๕๑]  ธรรมสมาทาน  ๔
๑.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันและมี
ทุกข์เป็นวิบากต่อไปมีอยู่
๒.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบัน  แต่
มีสุขเป็นวิบากต่อไปมีอยู่
๓.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน  แต่มี
ทุกข์เป็นวิบากต่อไปมีอยู่
๔.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน   แต่มี
สุขเป็นวิบากต่อไปมีอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

[๒๕๒]  ธรรมขันธ์  ๔
๑.   ศีลขันธ์      หมวดศีล
๒.  สมาธิขันธ์  หมวดสมาธิ
๓.  ปัญญาขันธ์  หมวดปัญญา
๔.  วิมุตติขันธ์   หมวดวิมุตติ

[๒๕๓]  พละ  ๔
๑.  วิริยะพละ        กำลังคือ  ความเพียร
๒.  สติพละ        กำลังคือ  สติ
๓.  สมาธิพละ          กำลังคือ  สมาธิ
๔.  ปัญญาพละ        กำลังคือ  ปัญญา.

[๒๕๔]  อธิฏฐาน  ๔
๑.  ปัญญาธิฏฐาน      อธิฐานคือ  ปัญญา
๒.  สัจจาธิฏฐาน        อธิฐานคือ  สัจจะ
๓.  จาคาธิฏฐาน        อธิฐานคือ  จาคะ
๔.  อุปสมาธิฏฐาน      อธิฐานคือ   อุปสมะ

[๒๕๕]  ปัญหาพยากรณ์  ๔
๑.  เอกังสพยากรณียปัญหา       ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว
๒.  ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา    ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้
๓.  วิภัชชพยากรณียปัญหา        ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้
๔.  ฐปนียปัญหา                      ปัญหาที่ควรงดเสีย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

[๒๕๖]    กรรม  ๔
๑.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   กรรมเป็นฝ่ายดำ  มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่
๒.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย    กรรมเป็นฝ่ายขาว   มีวิบากเป็นฝ่ายขาว
มีอยู่
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   กรรมเป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว   มีวิบาก
ทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่
๔.  ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย  กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว   มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่.

[๒๕๗ ]    สัจฉิกรณียธรรม  ๔
๑.  บุพเพนิวาส                              พึงทำให้แจ้งด้วยสติ
๒.  การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย         พึงทำให้แจ้งด้วยจักษุ
๓.  วิโมกข์แปด                                        พึงทำให้แจ้งด้วยกาย
๔.  ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย          พึงทำให้แจ้งด้วยปัญญา.

[๒๕๘]  โอฆะ  ๔
๑.  กาโมฆะ         โอฆะคือกาม
๒.  ภโวฆะ            โอฆะคือภพ
๓.  ทิฏโฐฆะ        โอฆะคือทิฐิ
๔.  อวิชโชฆะ    โอฆะคือวิชชา.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 193
[๒๕๙]  โยคะ  ๔
๑.  กามโยคะ        โยคะคือกาม
๒.  ภวโยคะ        โยคะคือภพ
๓.  ทิฏฐิโยคะ        โยคะคือทิฐิ
๔.  อวิชชาโยคะ         โยคะคืออวิชชา.

[๒๖๐]  วิสังโยคะ  ๔
๑.  กามโยควิสังโยคะ                ความพรากจากกามโยคะ
๒.  ภวโยควิสังโยคะ                ความพรากจากภวโยคะ
๓.  ทิฏฐิโยควิสังโยคะ                ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
๔.  อวิชชาโยควิสังโยคะ        ความพรากจากอวิชชาโยคะ.

[๒๖๑]          คันถะ  ๔
๑.  อภิชฌากายคันถะ         เครื่องรัดกายคืออภิชฌา
๒.  พยาบาทกายคันถะ        เครื่องรัดกายคือพยาบาท
๓.  สีลัพพตปรามาสกายคันถะ    เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส
๔.  อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ    เครื่องรัดกายคือความเชื่อแน่ว่า
สิ่งนี้เป็นจริง.

[๒๖๒]  อุปาทาน  ๔
๑.  กามุปาทาน         ถือมั่นกาม
๒.  ทิฏฐุปาทาน        ถือมั่นทิฐิ
๓.  สีลัพพตุปาทาน    ถือมั่นศีลและพรต
๔.  อัตตวาทุปาทาน   ถือมั่นวาทะว่าตน.

[๒๖๓]  โยนิ  ๔
๑.  อัณฑชโยนิ         กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่
๒.   ชลาพุชโยนิ       กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์
๓.   สังเสทชโยนิ     กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเหงื่อไคล
๔.  โอปปาติกโยนิ  กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

[๒๖๔]   การก้าวลงสู่ครรภ์    ๔
สัตว์บางชนิดในโลกนี้     เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา   เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา
นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่หนึ่ง.
๒.  สัตว์บางชนิดในโลกนี้     เป็นผู้รู้สึกตัว    ก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา    เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์
มารดา   นี้การก้าวลงสู่ครรภ์มารดาข้อที่สอง.
๓.    สัตว์บางชนิดในโลกนี้   เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็น
ผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา  แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา  นี้
การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สาม.
๔.   สัตว์บางชนิดในโลกนี้  เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็น
ผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา     เป็นผู้รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา    นี้การ
ก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สี่.

[๒๖๕]    การได้อัตภาพ  ๔
๑.   การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว    ไม่ตรง
กับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่.
๒.   การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจผู้อื่นเท่านั้น    ไม่ตรงกับ
ความจงใจของตนมีอยู่.
๓.   การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย    ตรงกับความ
จงใจของผู้อื่นด้วยมีอยู่.
๔.  การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตนทั้งไม่ตรงกับ
ความจงใจของผู้อื่นมีอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

[๒๖๖]   ทักขิณาวิสุทธิ  ๔
๑.  ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก          ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
๒.  ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก       ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓.  ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก     ทั้งฝ่ายปฏิคาหก
๔.  ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก      ทั้งฝ่ายปฏิคาหก.

[๒๖๗]    สังคหวัตถุ  ๔
๑.  ทาน                   การให้เป็น
๒.  ปิยวัชชะ         เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓.  อัตถจริยา      ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
๔.  สมานัตตตา      ความเป็นผู้มีตนเสมอต้นเสมอปลาย

[๒๖๘]   อนริยโวหาร  ๔
๑.  มุสาวาท              พูดเท็จ
๒.  ปิสุณาวาจา         พูดส่อเสียด
๓.  ผรุสวาจา            พูดคำหยาบ
๔.  สัมผัปปลาปา       พูดเพ้อเจ้อ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 196
[๒๖๙]  อริยโวหาร  ๔
๑.  มุสาวาทา   เวรมณี           เว้นจากพูดเท็จ
๒.  ปิสุณาย  วาจาย  เวรมณี     เว้นจากพูดส่อเสียด
๓.  ผรุสาย  วาจา  เวรมณี        เว้นจากพูดคำหยาบ
๔.  สัมผัปปลาปา  เวรมณี        เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ.

[๒๗๐]  อนริยโวหารอีก  ๔
๑.  อทิฏฺเ  ทิฏฺวาทิตา         เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒.  อสฺสุเต  สุตวาทิตา            เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓.  อมุเต  มุตวาทิตา              เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔.  อวิญฺาเต  วิญฺาตวาทิตา   เมื่อไม่ได้รู้พูดว่าได้รู้

[๒๗๑]  อริยโวหาร  อีก  ๔
๑. อทิฏฺเ  ทิฏฺวาทิตา             เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒.  อสฺสุเต  สุตวาทิตา               เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓.  อมุเต  มุตวาทิตา                 เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔. อวิญฺาเต  วิญฺาตวาทิตา       เมื่อไม่ได้รู้พูดว่าได้รู้

[๒๗๒]  อนริยโวหารอีก  ๔
๑.  ทิฏเ  อทิฏวาทิตา             เมื่อได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น
๒.  สุเต  อสฺสุตวาทิตา                เมื่อได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
๓.  มุเต  อมุตวาทิตา                  เมื่อได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ
๔.  วิญฺาเต  วิญฺาตวาทิตา           เมื่อรู้พูดว่าไม่รู้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 197
[๒๗๓]   อริยโวหารอีก  ๔
๑.  ทิฏฺเ  ทิฏฺาวาทิตา            เมื่อได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒.  สุเต  สุตวาทิตา                  เมื่อได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓.   มุเต   มุตวาทิตา                 เมื่อได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔.   วิญฺาเต  วิญฺาตวาทิตา    เมื่อรู้พูดว่ารู้.

[๒๗๔ ]   บุคคล  ๔
๑.   บุคคลบางคนในโลกนี้     เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน    เป็นผู้ขวน
ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน.
๒.   บุคคลบางคนในโลกนี้       เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน     เป็นผู้
ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน.
๓.   บุคคลบางคนในโลกนี้   เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน    เป็นผู้ขวน
ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือนร้อนด้วย  เป็นผู้ทำให้
ผู้อื่นเดือนร้อน  เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ  เป็นเครื่องทำให้ผู้อื่น
เดือดร้อนด้วย.
๔.   บุคคลบางคนในโลกนี้   ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน  ไม่เป็นผู้
ขวนขวายในการประกอบเหตุ    เป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วย   เป็นผู้
ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน    ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่อง
ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย  เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นผู้หายหิว  ดับสนิท  เยือกเย็น   เสวยความสุข   มีตนเป็นเสมือนพรหม
อยู่ในปัจจุบัน.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

[๒๗๕]    บุคคลอีก  ๔
๑.  บุคคลบางคนในโลกนี้    ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน   ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
๒.  บุคคลบางคนในโลกนี้   ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น  ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ตน.
๓.  บุคคลบางคนในโลกนี้  ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
๔.  บุคคลบางคนในโลกนี้    ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย   เพื่อ
ประโยชน์ผู้อื่นด้วย.

[๒๗๖]   บุคคลอีก  ๔
๑.  ตโม  ตมปรายโน      ผู้มืดมา   มืดไป
๒.  ตโม โชติปรายโน    ผู้มืดมา  สว่างไป
๓.  โชติ  ตมปรายโน      ผู้สว่างมา  มืดไป
๔.  โชติ  โชติปรายโน     ผู้สว่างมา  สว่างไป

[๒๗๗]   บุคคลอีก  ๔
๑.  สมณอจละ        เป็นสมณะ  ผู้ไม่หวั่นไหว
๒.  สมณปทุมะ      เป็นสมณะ  เปรียบด้วยดอกบัวหลวง
๓.  สมณปุณฑริกะ  เป็นสมณะ  เปรียบด้วยดอกบัวขาว
๔.  สมเณสุ  สมณสุขุมาละ  เป็นสมณะ  ผู้ละเอียดอ่อน
ในสมณะทั้งหลาย
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย    ธรรม  ๔  เหล่านี้แล   อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้  ทรงเห็น  เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์นั้น  ตรัสไว้
โดยชอบแล้ว    พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา   ไม่พึงแก่งแย่งกันใน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 199
ธรรมนั้น   การที่พรหมจรรย์นี้   พึงยั่งยืน  ตั้งอยู่นาน  นั้นพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์แก่ชนมาก   เพื่อความสุขแก่ชนมาก  เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก
เพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด  ๔
 
ว่าด้วยสังคีติหมวด  ๕
 
[๒๗๘]   ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย   ธรรม  ๕  อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น   ตรัสไว้โดย
ชอบแล้วมีอยู่แล   พวกเราทั้งหมดด้วยกัน   พึงสังคายนาในธรรมนั้น ฯลฯ
เพื่อประโยชน์   เพื่อเกื้อกูล   เพื่อความสุขแก่เทวดา   และมนุษย์ทั้งหลาย  ฯ
ธรรม ๕ เป็นไฉน.   คือ
ขันธ์  ๕
๑.  รูปขันธ์              กองรูป
๒.  เวทนาขันธ์        กองเวทนา
๓.  สัญญาขันธ์         กองสัญญา
๔.  สังขารขันธ์         กองสังขาร
๕.  วิญญาณขันธ์       กองวิญญาณ.

[๒๗๙]     อุปาทานขันธ์  ๕
๑.  รูปูปาทานขันธ์         กองยึดถือรูป
๒.  เวทนูปาทานขันธ์    กองยึดถือเวทนา
๓.  สัญญูปาทานขันธ์     กองยึดถือสัญญา
๔.  สังขารูปาทานขันธ์    กองยึดถือสังขาร
๕.  วิญญาณูปาทานขันธ์  กองยึดถือวิญญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 200
[๒๘๐]  กามคุณ  ๕
๑.  รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ  ซึ่งน่าปรารถนา  น่าใคร  น่าชอบ
ใจ  น่ารัก  ประกอบด้วยกาม  เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
๒.  เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู.
๓.  กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก.
๔.  โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย  ซึ่งน่าปรารถนา  น่าใคร่
น่าชอบใจ  น่ารัก  ประกอบด้วยกาม  เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

[๒๘๑]  คติ  ๕
๑.  นิรยะ                   นรก
๒.  ติรัจฉายโยนิ        กำเนิดเดียรฉาน
๓.  เปตติวิสัย             ภูมิแห่งเปรต
๔.  มนุสสะ                มนุษย์
๕.  เทวะ                     เทวดา.

[๒๘๒]  มัจฉริยะ   ๕
๑.  อาวาสมัจฉริยะ   ตระหนี่ที่อยู่
๒.  กุลมัจฉริยะ        ตระหนี่สกุล
๓.  ลาภมัจฉริยะ       ตระหนี่ลาภ
๔.  วัณณมัจฉริยะ      ตระหนี่วรรณะ
๕.  ธัมมมัจฉริยะ       ตระหนี่ธรรม.

[๒๘๓]  นิวรณ์  ๕
..
---
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2016, 09:30:52 am โดย ฐิตา »