ผู้เขียน หัวข้อ: ยามว่าง ... ชวนเขียนบทกวีไฮกุ ( การเสพความงามของชาวญี่ปุ่น )  (อ่าน 3101 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


คำถามแรกที่คาดว่าจะโดนถามเลยทีเดียว ทำไมต้องชวนเขียนเป็นไฮกุ
ด้วย แต่งเป็นกลอนแปดหรือโคลงสี่สุภาพของเราไม่ได้หรือ
ต่างกันตรงไหน ...
 

กลอนแปด หรือโคลงสี่สุภาพ เราคงจะชินกันแล้ว รู้จักกันตั้งแต่เด็ก
เรียนหนังสือชั้นประถม ชั้นมัธยม ก็คงคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว ทั้งอ่าน
ทั้งแต่ง โดยหาคำไพเราะคล้องจอง มาเรียงร้อย ให้ถูกต้องตาม
ฉันทลักษณ์ ที่บังคับ มีสัมผัสนอก สัมผัสใน  อ่านแล้วก็ไพเราะ ซาบซึ้ง
กินใจ บางวรรคบางบทก็ยังจำได้จนถึงปัจจุบันนี้
 

ต้องขอขอบคุณบรรพบุรุษที่แต่งเป็นกลอนเป็นโคลง ก็เพื่อให้จำได้นาน ๆ
นี่ก็เป็นข้อดีข้อหนึ่งกระมัง คำสอนดี ๆ ก็มักแต่งเป็นกลอนเป็นโคลง
 

ถ้าเป็นร้อยแก้วล่ะ นึกไปถึงตอนเด็ก ก็จำแทบไม่ได้เลย ลืมไปหมดแล้ว
ผู้อ่านช่วยกันคิดถึงตอนเป็นเด็กด้วย จำอะไรได้บ้าง ที่เป็นร้อยแก้ว...
ลองบอกมาซิครับ
 

กลอนหรือโคลง ของเราก็เป็นของดี น่ายกย่องไม่ควรลืมกัน แต่ลองศึกษา
บทกวีประเทศอื่น ๆ ดูบ้าง ดีไหม เป็นการเปิดใจกว้าง  ก็จะเห็นว่ามีความ
แตกต่างกัน ตลอดจนประโยชน์ที่จะได้รับ

จาก http://www.oknation.net/blog/surasakc/2007/10/11/entry-2
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ไฮกุ บทกวีญี่ปุ่น
 

คราวนี้ ลองหันมารู้จักกับไฮกุ บทกวีญี่ปุ่นบ้าง...
 

จากหนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่ชื่อ บทกวีญี่ปุ่น ไฮกุ ช.พนานนท์ แปลจาก
The Four Seasons Japanese Haiku Written by Basho,

Buson, Issa, Shiki and many others เมื่อปี 1958

ไฮกุ เป็นรูปแบบคำประพันธ์ญี่ปุ่น ที่ประกอบด้วย 17 พยางค์ ไฮกุ
ได้มีการรจนาโดยกวีญี่ปุ่นมานานกว่า 300 ปี โดยคงได้รับความนิยม
อย่างสม่ำเสมอเรื่อยมา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ไฮกุนั้นเป็นคำประพันธ์
ที่ไม่มีข้อความจบสิ้นสมบูรณ์ในตัวเอง ดังเช่นคำประพันธ์อื่น ๆ ที่เรา
รู้จักกัน  

แต่ไฮกุ เป็นคำประพันธ์ที่วาดเค้าโครงคร่าว ๆ โดยให้ผู้อ่านเป็นผู้เติม
เค้าโครงนั้นให้สมบูรณ์จากประสบการณ์และความทรงจำในอดีตของ
แต่ละคน

โดยปกติคำประพันธ็ไฮกุจะให้ภาพสองภาพ ผู้อ่านจะได้รับการคาด
หมายให้มีปฏิกิริยาตอบโต้ ด้วยความตระหนักรู้ถึงสัมพัทธภาพอัน
แฝงเร้นของเรื่องสองเรื่องที่ดูเหมือนจะไม่สัมพันธ์กัน
 

บาโช (Basho)

ความตระหนักรู้อันลึกลับนี้ คือวิถีการแสวงหาอย่างหนึ่งของลัทธิเซน
ซึ่งได้รับการนำเข้ามาสู่ไฮกุ โดยบาโช (Basho 1644-1694) บาโช
ผู้นี้นับเป็นปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการเขียนคำประพันธ์ชนิดนี้
 

บูชอน (Buson)

นอกจากบาโชผู้นี้ ก็มีกวีไฮกุท่านอื่นอีก เช่น บูซอน (Buson
1715-1783) ซึ่งไม่สนใจในความสัมพันธ์อันแฝงเร้นนัก แต่มุ่ง
เน้นความสวยสดของคำประพันธ์
 

อิสสะ (Issa)

ปรมาจารย์คนที่สาม คือ อิสสะ (Issa 1763-1827) ผู้ที่มีความเศร้า
อารมณ์ขันที่แฝงความผิดหวังในบทกวีของเขาตลอดจนมีความเป็น
ปัจเจกบุคคลสูงยิ่ง
 

ชิคิ (Shiki)

ปรมาจารย์อีกท่านหนึ่งก็คือ ชิคิ (Shiki 1866-1902) ซึ่งได้รับการ
ขนานนามว่าเป็นบูซอนสมัยใหม่ เขาเป็นผู้ใช้ถ้อยวลีอันสมบูรณ์
ต่อการมองสภาวะการประจำวัน

 

คำประพันธ์ไฮกุ เกือบทุกบทจะมีคำที่เกี่ยวกับฤดูกาลเป็นกุญแจประจำ
อยู่ โดยปกติแล้วคำนั้นก็มักจะเป็นชื่อของฤดูกาลนั้นเอง และหากชื่อ
ฤดูกาลไม่ถูกระบุออกมาโดยตรง คำประพันธ์ก็จะอ้างถึงฤดูกาลที่ผู้
อ่านสามารถเข้าใจได้โดยไม่ยากนัก
 

ผู้อ่านจะต้องไม่จำคำที่เป็นกุญแจนี้ว่าเป็นคำที่มีความหมายแต่เพียง
ผิวเผิน แต่จะต้องพินิจว่านี่คือเงื่อนงำที่กวีให้แก่ผู้อ่าน เพื่อไขใจ
ตนเองไปสู่อดีตที่ตนคำนึงถึง และผู้อ่านก็จะอ่านคำประพันธ์นี้โดย
อิงประสบการณ์ของตนเอง
 

การที่คำประพันธ์ไฮกุสั้นนั้น ย่อมมิได้หมายความว่า มันง่ายไปด้วย
ไฮกุที่ดีจะต้องสละสลวยและมีความซับซ้อนโดยมีความหมายแฝง
แต่เนื่องจาก ภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะความหมายแฝงตลอดจนมีความ
หมายทางประวัติศาสตร์ต่างไปจากภาษาไทย อีกทั้งการถ่ายทอด
ความหมายออกมาเป็นภาษาไทยจะคงให้มี 17 พยางค์ ดังต้นฉบับ
ของคำประพันธ์ไม่ได้ การแปลจึงเป็นความพยายามถ่ายทอด
ความหมายออกมาเท่านั้น ดังตัวอย่าง
 

 

ใยแมลงมุมที่ไหวสั่น
เจ้ากำลังพูดอะไรอยู่เงียบ ๆ
หรือว่าร้องเพลงโดยไม่เปล่งเสียง

 บาโช
 

 

ดวงจันทร์มัว ๆ อยู่ในสระ
ท้องฟ้าราตรีสีสลัว
เจ้ากบซุ่มซ่ามทำลายสิ้น

  บูซอน
 

 

เรามาเป็นเพื่อนกันเถิด
พิราบและนกกระจอก
และมวลชนผู้ยากไร้

 อิสสะ
 

 

 ตลอดคืนยาวนานอันหนาวเหน็บ
 ลิงตัวนั้นนั่งคิด
 ทำยังไงจึงจะจับพระจันทร์ได้

  ชิคิ
 

 

ความลึกซึ้งของบทกวีไฮกุ นั้น ถึงแม้แต่ละบทจะมีเพียง 3 บรรทัด
เท่านั้นก็ตาม แต่จะมีความงดงามและลึกซึ้งกินใจอย่างไร ลองดู
ตัวอย่างที่คุณแสงอรุณ รัตกสิกร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ตึก ต้นไม้
และแสงอรุณ : โลกทัศน์ของสถาปนิก พิมพ์เมื่อ ม.ค. 2530
ได้ยกตัวอย่างไฮกุบทหนึ่งของบาโช ซึ่งเรียบเรียงเป็นภาษาไทย
ได้ดังนี้
 

  ที่สระน้ำโบราณ
 กบตัวน้อยกระโจนลงไป
 เสียงน้ำกระจาย จ๋อม

 บาโช
 

ทีนี้เรามาพิจารณาดูว่า ไฮกุ งดงามอย่างไร ลำพังสระเก่า ๆ แล้ว
กบตัวหนึ่งกระโจนลงไป เสียงน้ำแตกดังจ๋อม ปรากฏการณ์เช่นนี้
ย่อมรู้เห็นกันอยู่ทุกคน และจะหาดูเมื่อไรก็ได้ แต่มาประทับใจ
กวีบาโชได้อย่างไร
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


การเสพความงามของชาวญี่ปุ่น
 

ก่อนอื่นเราจะต้องพิจารณาถึงวิธีการเสพความงามของชาวญี่ปุ่นกัน
ก่อน เพราะเขามีวิธีเลือกเสพแตกต่างกับไทยเรา
 

ไฮกุ คือ บทกวีที่มีความกำหนดสำนึก อันได้จากการมองดูความ
ละเอียดอ่อนของธรรมชาติทุกระดับและทุกมุม
 

เมื่อเราสัมผัสธรรมชาติ เราสัมผัสและเลือกชื่นชมในแง่ที่ธรรมชาติ
ให้ความสุขทางใจ ทางกายแก่เรา เมื่อเราพรรณนาแสงเดือน
แสงแดด เราจะพรรณนาสีเงินสีทองอันอร่ามตา ดอกไม้ที่เราพรรณนา
มีกลิ่นหอม มีนามอันสอดคล้องกันและกัน เมื่อเราพูดถึงความเศร้า
เราพรรณนาความเศร้าอยู่อย่างเดียว คือความเศร้าโศกที่จากกับคน
รัก ความไม่สมหวังในรัก อกหัก  

คำพรรณนาทั้งหมดนี้ กวีเราวาดไว้จบสมบูรณ์สุดสิ้นและจบแบบปิด
หน้าหนังสือกัน
 

แต่ไฮกุ มิใช่เช่นนั้น มันไม่จบเมื่อสิ้นบรรทัด ผู้อ่านเป็นผู้ต่อ และจะ
จบลงเมื่อไรอยู่ที่จินตนาการและปัญญาอารมณ์ของผู้อ่านแต่ละคนไป
เช่นเดียวกับภาพเขียนของญี่ปุ่น อันปรากฏความเว้นว่างอยู่ในองค์
ประกอบของภาพ เพื่อให้จินตนาการของผู้ดู สร้างต่อ หรือเช่นเดียวกับ
ท่า “นิ่งค้าง” ของละคร “โนะ” ซึ่งทิ้งไว้ให้ผู้ดูละครต่อ “การเคลื่อนไหว”
เอา เองในจินตนาการของตน เราจะเห็นว่า การชื่นชมศิลปะของไทย
กับญี่ปุ่น แตกต่างกันในแง่สำคัญ คือ การไม่เสร็จ (ของญี่ปุ่น ) และ
จบสิ้นเชิง (ของไทย)
 

อีกประการหนึ่ง ซึ่งไทยไม่มี คือ การที่ญี่ปุ่นเห็นความไม่น่าชื่นชมเป็น
ของที่ชื่นชม ไทยเราชอบดูแสงทองอร่ามของตะวัน แสงเงินสกาวของ
พระจันทร์ แต่ความว้าเหว่ ความทอดทิ้งเปล่าเปลี่ยว ความหนาวเหน็บ
ความผุกร่อนของเวลา ความสลดรันทด ความเงียบสงัดเหล่านี้ เรามอง
ข้าม  ซึ่งญี่ปุ่นนิยมนักหนา สนิมที่กร่อนอันเป็นร่องรอยของเวลา ญี่ปุ่น
เห็นว่าเป็นของมีค่าเท่า ๆ กับความโปนปูดของเนื้อไม้ซึ่งถูกเวลาที่ล่วงไป
ชะล้างขัดถู ดังปรากฏในบ้านของชาวญี่ปุ่น เท่า ๆ กับไม้ทาสีทับหรือพ่น
มันวาบวับด้วยแลคเคอร์ของไทย ความชื่นชมในความงาม ตามแง่ของ
ญี่ปุ่น คือ การยอมรับสภาพอันแท้จริงของธรรมชาติที่มีความเสื่อม
เมื่อเจริญถึงขีดสุดแล้ว และแสดงความปรารถนาในความความงามอัน
เป็นเนื้อแท้ นี่คือข้อแตกต่างกันของการเสพและสัมผัสความงามของเรา
และญี่ปุ่น

 


ขอย้อนกลับไปที่ บทกวีไฮกุ ของบาโช ข้างต้นอีกครั้ง  

ไฮกุบรรทัดแรกของบาโช นำเราไปที่สระโบราณเก่าแก่สระหนึ่ง บาโช
สร้างจินตนาการให้แก่ผู้อ่านถึงความหลัง สนิมของเวลาที่ขึ้นจับอยู่กับสระ
เก่าแห่งนี้สนิมที่คนญี่ปุ่นรัก พร้อมกับสระเก่าโบราณ บาโชสร้างความสงัด
เงียบขึ้นพร้อมกัน ไม่มีคำว่าเงียบในบรรทัดแรกของไฮกุ แต่เราสัมผัส
ความเงียบนั้นได้ เพราะคำว่าโบราณนั้นเองสร้างขึ้นคู่กับตัวเอง เช่นเดียว
กับเมื่อเราแวะเที่ยวไปเมืองโบราณหรือสัมผัสของเก่า หรืออ่านเรื่องของอดีต
เรารู้สึกถึงความสงัดของอดีตนั้น อดีตที่ถอยออกไปจากเราและยืนสงบเงียบ

สระน้ำนั้นสะท้อนเงาสรรพสิ่งที่ล้อมรอบมันอยู่ เป็นภาพที่สงัดและสมบูรณ์ดุจ
กระจกแผ่นใหญ่ที่ดีที่สุดที่จะหาได้บนโลกมนุษย์ จินตนาการและอารมณ์เริ่ม
เคลื่อนที่และไหว เมื่อมาถึงบรรทัดที่ 2 คือ กบกระโดดลงไปในสระน้ำ นี่เป็น
พลังงานซึ่งเกิดอย่างทันที และบรรทัดที่ 3 ของไฮกุบทนี้ คือผลลัพธ์เสียงที่
ทำลายความสงัด ภาพที่แตกกระจัดกระจายคุมกันไม่ติดเพราะละลอกที่เกิด
จากกบกระโจนลงไป

การเปลี่ยนแปลงจากความสมบูรณ์มาสู่ความระส่ำระสาย และแล้วใน
จินตนาการอันสืบต่อไป ภาพนั้นจะค่อย ๆ คืนไปสู่ความสมบูรณ์อีกครั้ง
เมื่อละลอกคลื่นในสระสงบลง อารมณ์แบบนี้เป็นความรู้สึกเศร้าระคนสุข
มีคำญี่ปุ่นที่ใช้เฉพาะอารมณ์ชนิดนี้ คือ วาบิ และ ซาบิ อันหาคำไทย
เทียบยังไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งนั้นมีทั้งความงามและเศร้า ความงามให้
ความสุขเมื่อเราได้สัมผัสมัน ทำให้เกิดความปรารถนา เมื่อความปรารถนา
นั้นต้องสุดสิ้นลงเพราะการเปลี่ยนสภาวะลงสู่ความเสื่อมโทรม ย่อมเกิดความ
รู้สึกตอนที่รันทดขึ้น ผู้อ่านทุกคนคงเคยได้รับรสสัมผัสของมันมาบ้างไม่มาก
ก็น้อย แต่สำหรับคนญี่ปุ่นซึ้งรสแบบนี้มากกว่าเรา เขาจึงจับรสนี้ได้ถนัดกว่า
 

บาโช ได้วางแนวการรจนาไฮกุว่า ควรประกอบด้วย คุณสมบัติดังนี้ คือมี
ซาบิ ชิโอริ โฮโซมิ และความเบา (Lightness) และเทคนิคของการรจนา
ไฮกุ บาโช ได้กล่าวว่า จะสำเร็จได้ผลก็โดยอาศัย ความดลใจ (Inspiration)
เยื่อใยหรือกลิ่นอาวรณ์ (Fragrance) การไหวรับ

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งตกใจ ว่ายากจังเลย เราค่อย ๆ ศึกษา
ไปจะดีกว่าครับ เริ่มต้นเอาง่าย ๆ หรือเบื้องต้นก่อน
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



สรุปข้อบังคับไฮกุเบื้องต้น  
 

1. ในหนึ่งบท มี 3 บรรทัด

2. บรรทัดแรก  มี  5 พยางค์
 บรรทัดที่ 2  มี  7 พยางค์

 บรรทัดที่ 3  มี  5 พยางค์
  รวมทั้งหมด 17 พยางค์
 
 (พยางค์ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง  หน่วยเสียงที่ประกอบด้วยสระเดียว, ส่วนหนึ่งของคำที่มีหลายเสียง (การแยกพยางค์นั้น ไม่คำนึงถึงความหมาย))

 
 ตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ  โบราณ (2 พยางค์), กระโจน

(2 พยางค์), กระจาย (2 พยางค์) ธรรมชาติ (3 พยางค์)
 

3. บรรทัดที่ 3 มักจะเป็นบรรทัดที่หักมุมด้านความคิด ไม่เหมือน 2 บรรทัดแรก

4. แต่ละบทไม่จบสมบูรณ์ ทำให้ท่านผู้อ่านเกิดจินตนาการต่อ ทั้งนี้ แล้วแต่ ความคิดคำนึง อารมณ์ ความรู้ และประสบการณ์ ของแต่ละท่าน

5. ไม่บังคับสัมผัส การสัมผัสบางครั้งอาจทำให้รสบทกวีด้อยลงไป
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ตัวอย่างบทกวีไฮกุ ภาษาไทย ที่ผมได้แต่งไว้
 

กระดาษและปากกา
อาวุธแห่งความคิดของฉัน
สะท้อนสัจธรรม
 

 

 หญ้าน้อยชูดอกจิ๋ว
 ฉันเฝ้ามองจึ่งรู้เจ้างาม
 ใครหนอมองข้ามเจ้า
 

 

 หิมะโปรยยามเช้า
 ฉันกางแขนสองข้างออกรับ
 โอ้ ... สุขใจจริงจริง
 

ไม่มีอะไรมาก
การปฏิบัติธรรมของฉัน
คิด พูด และทำดี
 

 แมงมุมน้อยทอใย
 พากเพียร อดทน และรอคอย
 ทำไมเราเลิกง่าย
 

 ยามเย็นใกล้จะค่ำ
 ลมพัดเย็นโชยเอื่อยเรื่อยเรื่อย
 สุขใจไม่ใช้เงิน
 

เพลินเสียงธรรมชาติ
จนใจฉันล่องลอยแสนไกล
ฝนหยุดแล้วหรือนี่
 

 ดวงจันทร์สาดแสงนวล
 แก่ผู้ยากไร้ ผู้ร่ำรวย
 อย่างเสมอภาคกัน
 

 การปรุงแต่งเป็นทุกข์
 หยุดปรุงแต่งเมื่อใดเป็นสุข
 ทำอย่างไรจึงหยุด
 

ไกลลิบลิบสุดโพ้น
วับวับดาวพราวสุกสกาว
หิ่งห้อยน้อยขอแข่ง
 

 

 เมื่อน้อยเร่งเรียนรู้
 คู่คุณธรรมงามสดใส
 เมื่อใหญ่จักได้ดี

 

 ชีวิตเปรียบสายน้ำ
 ไหลไป ไหลไป ไม่ไหลกลับ
 เรามัวทำอะไร
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ประโยชน์ของบทกวีไฮกุ
 

 เรื่องประโยชน์ที่จะได้รับ มีมากด้วยกัน ขอกล่าวเพียงบางประการ คือ ผู้เขียนและผู้อ่าน จะได้รับความสุขแบบง่าย ๆ อีกรูปแบบหนึ่ง ที่หาได้ยากในสังคมปัจจุบัน
 

นอกจากนี้ ยังง่ายต่อการสอนบุตรหลาน ให้เขียนบทกวีด้วยตนเอง เป็นการสอนให้รู้จักเพิ่มพูนคำศัพท์ที่ไพเราะซาบซึ้งกินใจแล้ว ยังสะท้อนความคิด ของเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี  ถ้าเขียนออกมาในแนวไม่เหมาะสม ไม่สร้างเสริมหรือ สร้างสรรค์แล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองก็จะได้วิเคราะห์ และรีบหาทางแก้ไขต่อไป

 

บรรณานุกรม
 

1. ช. พนานนท์ แปล  บทกวีญี่ปุ่น ไฮกุ สำนักพิมพ์ทิวสน  

2. แสงอรุณ รัตกสิกร ตึก ต้นไม้ และแสงอรุณ โลกทัศน์ของสถาปนิก โรงพิมพ์

 เรือนแก้วการพิมพ์ 2530
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...