ผู้เขียน หัวข้อ: สรีสังเวคและการสุตตกถาแปล  (อ่าน 4741 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
สรีสังเวคและการสุตตกถาแปล
« เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 08:28:21 pm »


สรีสังเวคและการสุตตกถาแปล

๑.ปาตผุลฺลํ โกกนทํ สุริยา โลเกน ตชฺชิยเต
ดอกปทุมชื่อโกกนุทบานแล้วในเวลาเช้า ถูกพระอาทิตย์แผดเผา(ให้เหี่ยวแห้งไป) ฉันใด

๒. เอวํ มนุสฺสตฺตคตา สตฺตา ชราภิเวคน มิลายนฺติ
สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังชราฉันนั้น

๓. ชราย ปริมทฺทิตํ เอตํ มิลาตจฺฉ วิจมฺมนิสุสิตํ ชราย ภิชฺชติ เอตํ มจฺจุสฺส ฆสมามิสํ คตํ
สรีระนี้อาศัยหนังที่เหี่ยวแห้งถูกชราย่ำยีแล้วสรีระนี้ถึงความเป็นอามิสคือ เหยื่อของมฤตยู ย่อมแตกสลายไปเพราะชรา

๔. กิมีนํ อาลยํ เอตํ นานากุณปปูริตํ อสุจิภาชนํ เอตํ กฏฺฐกฺขนฺธสมํ อิมํ
สรีระนี้เป็นที่อยู่ของหมู่หนอนเต็มไปด้วยซากศพต่างๆ สรีระนี้เป็นภาชนะของไม่ สะอาด และเสมอด้วยท่อนไม้

๕.ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ภารหาโร จ ปุคฺคโล ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ นิกฺขิปิตฺวา ครุ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย สมูลํ ตณฺหํ อพฺภุยฺห นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ

ขันธ์ ๕ เป็นภาระแลบุคคลเป็นผู้นำภาระไปการถือเอาภาระเป็นทุกข์ในโลกการวางภาระเสียเป็นสุขบุคคลละทิ้งภาระอันหนักเสียแล้วไม่ถือเอาสิ่งอื่นเป็นภาระอีก ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้แล้วเป็นผู้หมดความปรารถนา ปรินิพพาน(ดับทุกข์ได้) ดังนี้แล

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 27, 2014, 01:14:18 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมบรรยายแปล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 08:55:48 pm »
                 

๑ อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง แม้เกิดมาก็เสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความระงับคือไม่ยึดถือสังขารเหล่านั้นเป็นสุข

๒.สพฺเพ สตฺตา มรนฺติ จ มรึสุ จ มริสฺสเร ตเถวาหํ มริสฺสามิ นตฺถิ เม เอตฺถ สํสโย
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงกำลังจะตาย ตายไปแล้ว และจักตายต่อไป เราก็จักตายอย่างนั้นเหมือนกัน ความสงสัยในการตายนี้ไม่มีแก่เรา

๓. อตฺตนาว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนาว วิสุชฺฌติ
ความชั่วที่บุคคลใดทำด้วยตน บุคคลนั้นย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง ความชั่วที่บุคคลใดไม่กระทำด้วยตนเอง บุคคลนั้นย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนแท้

๔ สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธ์เป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะพึงทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้

๕.อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ
ร่างกายนี้ไม่นานวัน ปราศจากวิญญาณอันบุคคลทอดทิ้ง จักนอนกลิ้งทับพื้นดิน เหมือนท่อนไม้สูญสิ้นประโยชน์ฉะนั้น

๖. โก นุ หาโส กิมานนฺโท นิจฺจํ ปชฺชลิเต สติ อนุธกาเรน โอนทฺธา ปทีปํ น คเวสถาติ
จะน่ามีความร่าเริงอะไร จะน่าเพลิดเพลินอะไร เมื่อโลกคือหมู่สัตว์ถูกไฟราคะ โทสะ โทหะ เผาผลาญอยู่เป็นนิตย์ ท่านทั้งหลายถูกความมืดมิด คืออวิชาหุ้มห่อไว้ ทำไมจึงไม่รีบแสวงหาประทีปคือปัญญาคือความรู้ตามเป็นจริงนี้แล

๗. กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ จฺฉํ สทฺธกิมฺมสฺวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
ความได้เป็นมนุษย์อันบุคคลได้ยากยิ่ง ความเป็นอยู่ของหมู่สัตว์ทั้งหลายอันบุคคลพึ่งได้แสนยาก ความฟังพระสัทธรรมอันบุคคลพึงรู้ได้ยากยิ่ง พระพุทธเจ้ากว่าจะเกิดแต่ละองค์ก็แสนยาก

๘. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงต้องเปลี่ยนไปไม่ถาวร เมื่อบุคคลใดพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ทนได้ยาก เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าธรรมทั้งปวงไม่มีอัตตาตัวตนเราเขา เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์คือสังขารทั้งหลายนั่นแหละเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์จากความชั่วทั้งหลาย

๙. สพฺเพ สตฺตา มริสฺสนฺติ มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ยถากมฺมํ คมิสฺสนฺติ ปุญฺญปาปผลูปคา
สัตวทั้งหลายทั้งปวงจักต้องตายเพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุดสัตวทั้งหลายเป็นผู้เสวยแห่งบุญและบาปไปตามกรรมที่ตนทำไว้

๑๐. นิรยํ ปาปกมฺมนฺตา ปุญฺญกมฺมา จ สุคตึ ตสฺมา กเรยฺย กลฺยาณํ นิจยํ สมฺปรายิกํ
หมู่ชนผู้ทำบาปย่อมไปสู่นรกอบายภูมิ ส่วนหมู่ชนผู้ทำบุญย่อมไปสู่สุคติสวรรค์เพราะเหตุนั้น สาธุชนเมื่อสั่งสมกรรมอันเกื้อกูลความสุขในภพหน้า พึงหมั่นทำกรรมอันงามคือกุศลไว้

๑๑.ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
เพราะว่าบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายได้แม้ในภพต่อไป

๑๒. อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ อายุ ขียติ มจฺจานํ กุนฺนทีนมิโวทกํ
คืนและวันย่อมล่วงไปชีวิตย่อมรุกรันเข้าไปหาความตายชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไปเหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยฉะนั้น

๑๓. อโห อนิจฺจา สงฺขารา เตกาลิกา อสญฺฐิตา สกาลา กาลิกา สพฺเพ หุตฺวา หุตฺวา โหนฺติ เต
โอสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้เป็นไปในกาลทั้ง ๓ ไม่ดำรงอยู่ได้สังขารทั้งปวงเป็นไปชั่วกาล เป็นไปชั่วคราวสังขารเหล่านั้นมีแล้ว แล้วก็ไม่มี

๑๔. สพฺเพ สตฺตา มริสฺสนฺติ มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ชรมฺปิ ปตฺวา มรณํ เอวํ ธมฺมา หิ ปาณิโน
สัตว์ทั้งปวงจักต้องตายด้วยกันทั้งสิ้นเพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุดแม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตายเพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา



๑๕.ทหรา จ มหนฺตา จ เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั้งคนเขลาและคนฉลาดย่อมไปสู่อำนาจของความตายทั้งสิ้น มีความตายเป็นเบื้องหน้าหมดทุกคน

๑๖. อปฺปมายุ มนุสฺสานํ หีเฬยฺย นํ สุโปริโส จเรยฺยาทิตฺตสีโสว นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม
อายุของสัตว์ทั้งหลายมีน้อยคนดีควรดูหมิ่นชีวิตอันน้อยนักควรประพฤติเหมือนคนมีศีษะถูกไฟไหม้เพราะมัจจุราชจะไม่มาถึงเป็นอันไม่มีเลย

๑๗.เปกฺขตํเยว ญาตีนํ ปสฺส ลาลปฺปตํ ปุถุ เอกเมโกว มจฺจานํ โกวชฺโฌ วิยนิยฺยตีติ
จงดูเถิด หมู่ญาติกำลังเฝ้าห้อมล้อมคร่ำครวญอยู่มากมายความตายนำคนตายไปเพียงคนเดียวเหมือนโคที่เขานำไปฆ่าฉะนั้น ฉะนี้แล

๑๘. ยถาปิ อญฺญตรํ พีชํ เขตฺเต วุตฺตํ วิรูหติ ปฐวีรสญฺจ อาคมฺม สิเนหญฺจ ตทูภยํ
เหมือนพืชพันธุ์หนึ่ง ซึ่งหว่านลงในนาย่อมงอกงามขึ้นได้เพราะอาศัยรสในแผ่นดินและยางในพืชทั้งสองประการนี้ฉันใด

๑๙. เอวํ ขนฺธา จ ธาตุโย ฉ จ อายตนานิ เม เหตุตํ ปฏิจฺจ สมฺภูตา เหตุภงฺคา นิรุชฺฌเร
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ๖เหล่านี้อาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้วก็ฉันนั้นเพราะเหตุสลาย ก็ต้องดับไปตามกัน

๒๐. กึ นุ สตฺโตติ ปจฺเจสิ มาร ทิฏฺฐิคตํ น เต สุทฺธสงฺขารปุญฺโชยํ น ยิธ สตฺตูปลพฺภติ
ดูกรมาร ทำไมท่านเชื่อว่าสัตว์มีหรือนั่นเป็นทิฏฐิความเห็นผิดของท่านต่างหาก นี่เป็นกองสังขารล้วน อันใคร ๆ ย่อมหาสัตว์ไม่ใด้ในกองสังขารล้วน ๆนี้

๒๑. ยถา หิ องฺคสมฺภารา โหติ สทฺโท รโถ อิติ เอวํ ขนฺเธสุ สนฺเตสุ โหติ สตฺโตติ สมฺมติ
เหมือนอย่างว่า เพราะรวมเครื่องสัมภาระที่เป็นอวัยวะของรถจึงมีเสียงปรากฎว่ารถ ฉันใดเมื่อสังขารทั้งหลายยังมีอยู่ก็ย่อมมีสมมุติว่าสัตว์ฉันนั้น

๒๒ ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ นาญฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ
แท้จริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้นทุกข์นั้นเองตั้งอยู่และเสื่อมไปนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้นนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

๒๓. ยถา ยถา นิชฺฌายติ โยนิโส อุปปริกฺขติ ริตฺตกํ ตุจฺฉกํ โหติ โย นํ ปสฺสติ โยนิโสติ
ผู้มีปัญญาเพ่งพิจารณาโดยชอบด้วยประการใดร่างกายเป็นของว่างเป็นของเปล่าจากตัวตนปรากฎแก่ผู้เห็นโดยชอบด้วยประการนั้นฉะนี้แล

๒๔. สุทฺธํ ธมฺมสมุปฺปาทํ สุทฺธํ สงฺขารสนฺตึ ปสฺสนฺตสฺส ยถาภูตํ น ตํ ภยํ โหติ คามณิ
เมื่อสาธุชนพิจารณาเห็นว่าเป็นความเกิดขึ้นแห่งธรรมล้วน ๆเป็นความสืบต่อแห่งสังขารล้วน ๆตามความเป็นจริงดูกรผู้ใหญ่บ้าน เพราะเหตุนั้นความกลัวนั้น ๆจึงไม่มีแก่เราเลย

๒๕. ติณกฏฐสมํ โลกํ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ น อญฺญํ ปฏฺฐาย กิญฺจิ อญฺญตฺร อปฺปฏิสนฺธิ
เมื่อสาธุชนพิจารณาเห็นโลกด้วยปัญญาว่า เสมอด้วยหญ้าหรือไม้เมื่อนั้นไม่ปรารถนาอะไร ๆอย่างอื่นเลยนอกจากนิพพานธาตุอันไม่มีชาติภพต่อไป

๒๖. ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถา
นักปราชญ์พึงปฏิบัติโดยประการที่ชีวิตจะไม่เปล่าจากประโยชน์ฉะนั้น

๒๗. อนิมิตฺตมนญฺญาตํ มจฺจานํ อิธ ชีวิตํ กสิรญฺจ ปริตฺตญฺจ ตญฺจ ทุกฺเขน สํยุตํ
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นเครื่องกำหนดหมาย ใคร ๆก็รู้ไม่ได้ว่าจะดับเมื่อไรชีวิตนั้นเป็นไปได้ยากเย็น ทั้งเป็นของเล็กน้อยไม่พอความต้องการทั้งยังประกอบด้วยทุกข์คอยเบียดเบียน

๒๘. น หิ โส อุปกฺกโม อตฺถิ เยน ชาตาน มิยฺยเร ชรมฺ ปตฺวา มรณํ เอวํ ธมฺมา หิ ปาณิโน
ความเพียรอันเป็นเหตุไม่ตายแห่งสัตว์ทั้งหลายแม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตายผู้เกิดมาแล้ว ย่อมไม่มีเลยเพราะสัตว์ทั้งหลายมีอยู่อย่างนี้เป็นธรรมดา

๒๙. ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาติสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
คนหว่านพืชเช่นไดไว้ย่อมได้ผลเช่นนั้นคนทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดีคนทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว

๓๐. ปวตฺตํ ตาต เต พีชํ ผลํ ปจฺจนุโภสฺสติ
แน่ะพ่อ พืชพันธุ์ที่หว่านไว้จักได้เสวยผลแห่งพืชนั้น ๆ

๓๑. นามรูปมิทํ ทุกฺขํ ตณฺหาวิชฺชา สมุทฺทโย นิโรโธ ตาสํ นิโรโธ มคฺโค สิกฺขาตฺยํ ภเว
นามและรูปนี้เป็นทุกข์ตัณหาและอวิชาเป็นสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ความดับตัณหาและอวิชาเหล่านั้นเป็นนิโรธสิกขาทั้งสามเป็นทางดับทุกข์

๓๒. อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา ภาเวถฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ เอสา พุทฺธานุสาสนีติ
ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย คนไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย คนประมาทแล้วเหมือนคนตายแล้ว พึงบำเพ็ญอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการนี้เป็นพุทธานุสาสนี ฉะนี้แล ...



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 27, 2014, 01:28:23 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ภทฺเทกรตฺติคาถาแปล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 09:24:31 pm »


                   

ภทฺเทกรตฺติคาถาแปล

๑. อตีตํ นานฺวาคเมยฺย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํย ทตีตมฺปหีนนฺตํ ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ โย ธมฺมํ ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ อสํหิรํ อสงฺกุปฺปํตํ วิทฺธา มนุพฺรูหเย อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเวน หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
ผู้มีปัญญา ไม่ควรทำสิ่งที่ล่วงไปแล้วให้มาตามอยู่ในจิต ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็สละเสียแล้ว ก็ผู้มีปัญญาใดมาเห็นธรรมซึ่ง เกิดขึ้นเฉพาะหน้าแจ้งชัดอยู่ในที่นั้น ๆ อันไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลนผู้มีปัญญานั้น ได้รู้ความนั้นแล้ว ควรเจริญไว้เนือง ๆ ความเพียรเผากิเลส ควรรีบทำในวันนี้ทีเดียวใครจะพึงรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าการต่อสู้ด้วย มฤตยู ผู้มีเสนาใหญ่นั้นไม่ได้แน่นอนเลยทีเดียว

๒. เอวํ วิหารมาตาปี อโหรตฺตมตนฺทิตํ ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ สนฺโต อาจิกฺขเต มุนีติ
นักปราชญ์ผู้สงบระงับย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีปัญญา ซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรเผากิเลสไม่เกียจคร้านหมั่นทำงานทั้งวันและคืนเหล่านี้ว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญดังนี้แล

๓. อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้แม้เกิดมาก็เสื่อมไปเป็นธรรมดาเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความระงับคือไม่ยึดถือสังขาร เหล่านั้นเป็นสุข

๔. สพฺเพ สตฺตา มรนฺติ จ มรึสุ จ มริสฺสเร ตเถวาหํ มริสฺสามิ นตฺถิ เม เอตฺถ สํยโส
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงกำลังจะตายตายไปแล้ว และจะตายต่อไปเราก็จักตายอย่างนั้นเหมือนกันความสงสัยในการตายนี้ไม่มีแก่เรา

๕. อตฺตนาว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนาว วิสุชฺฌติ
ความชั่วที่บุคคลใดทำด้วยตนบุคคลนั้นย่อมเศร้าหมองด้วยตนเองความชั่วที่บุคคลใดไม่กระทำด้วยตนบุคคลนั้นย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนแท้

๖. สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตนคนอื่นจะพึงทำให้บริสุทธิ์ไม่ได้

๗. อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ
ร่างกายนี้ไม่นานวัน ปราศจากวิญญาณอันบุคคลทอดทิ้งจักนอนกลิ้งทับแผ่นดินเหมือนท่อนไม้สูญสิ้นประโยชน์ฉะนั้น

๘. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปณฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงต้องเปลี่ยนไปไม่ถาวรเมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ทนได้ยากเมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าธรรมทั้งปวงไม่มีอัตตาตัวตนเราเขาเมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์คือสังขารทั้งหลายนั่นแหละเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์จากความชั่วทั้งหลาย

๙. สพฺเพ สตฺตา มริสฺสนฺติ มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ยถากมฺมํ คมิสสนฺติ ปุญฺญปาปผลูปคา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจักต้องตายเพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุดสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้เสวยแห่งบุญและบาปไปตามกรรมที่ตนทำไว้

๑๐. นิรยํ ปาปกมฺมนฺตา ปุญฺญกมฺมา จ สุคตึ ตสฺมา กเรยฺย กลฺยาณํ นิจยํ สมฺปรายิกํ
หมู่ชนผู้ทำบาปย่อมไปสู่นรกอบายภูมิส่วนหมู่ชนผู้ทำบุญย่อมไปสู่สุคติสวรรค์เพราะเหตุนั้น สาธุชนเมื่อสั่งสมกรรมอันเกื้อกูลความสุขในภพหน้า พึงหมั่นทำกรรมอันงามคือกุศลไว้

๑๑. ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
เพราะว่าบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายได้แม้ในภพต่อไป

๑๒. น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน อธมฺโม นรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ
ธรรมความชอบ อธรรมความชั่วทั้ง ๒ อย่างนี้มีผลไม่เสมอกันอธรรมย่อมนำสัตว์ไปสู่นรกส่วนธรรมนำสัตว์ไปสู่สวรรค์

๑๓. อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ อายุ ขียติ มจฺจานํ กุนฺนทีนมิโวทกํ อโห อนิจฺจา สงฺขารา เตกาลิกา อสณฺฐิตา สกาลา กาลิกา สพฺเพ หุตฺวา หุตฺวา น โหนฺติ เต
คืนและวันย่อมล่วงไปชีวิตย่อมรุกรันเข้าไปหาความตายชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไปเหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยฉะนั้นโอ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้เป็นไปในกาลทั้ง ๓ ไม่ดำรงอยู่ได้สังขารทั้งปวงเป็นไปชั่วกาล เป็นไปชั่วคราวสังขารเหล่านั้นมีแล้ว แล้วก็ไม่มี

๑๔. อโห อนิจฺจา สงฺขารา เตกาลิกา อสญฺฐิตา สกาลา กาลิกา สพฺเพ หุตฺวา หุตฺวา โหนฺติ เต
โอสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้เป็นไปในกาลทั้ง ๓ ไม่ดำรงอยู่ได้สังขารทั้งปวงเป็นไปชั่วกาล เป็นไปชั่วคราวสังขารเหล่านั้นมีแล้ว แล้วก็ไม่มี

๑๕. สพฺเพ สตฺตา มริสฺสนฺติ มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ชรมฺปิ ปตฺวา มรณํ เอวํ ธมฺมา หิ ปาณิโน
สัตว์ทั้งปวงจักต้องตายด้วยกันทั้งสิ้นเพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุดแม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตายเพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา

๑๖. ทหารา จ มหนฺตา จ เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั้งคนเขลาและคนฉลาดย่อมไปสู่อำนาจของความตายทั้งสิ้น มีความตายเป็นเบื้องหน้าหมดทุกคน

๑๗. อปฺปมายุ มนุสฺสานํ หีเฬยฺย นํ สุโปริโส จเรยฺยาทิตฺตสีโสว นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม
อายุของสัตว์ทั้งหลายมีน้อยคนดีควรดูหมิ่นชีวิตอันน้อยนั้นควรประพฤติเหมือนคนมีศีรษะถูกไฟไหม้เพราะมัจจุราชจะไม่มาถึง เป็นอันไม่มีเลย

๑๘. เปกฺขตํเยว ญาตีนํ ปสฺส ลาลปฺปต ปุถุ เอกเมโกว มจฺจานํ โควชฺโฌ วิย นิยฺยตีติ
จงดูเถิด หมู่ญาติกำลังเฝ้าห้อมล้อมคร่ำครวญอยู่มากมายความตายนำคนตายไปเพียงคนเดียวเหมือนโคที่เขานำไปฆ่าฉะนั้น ฉะนี้แล

๑๙. ยถาปิ อญฺญตรํ พีชํ เขตฺเต วุตฺตํ วิรูหติ ปฐวีรสญฺจ อาคมฺม สิเนหญฺจ ตทูภยํ
เหมือนพืชพันธุ์หนึ่ง ซึ่งหว่านลงแล้วในนาย่อมงอกงามขึ้นได้เพราะอาศัยรสแผ่นดินและยางในพืชทั้ง ๒ ประการนั้นฉันใด

๒๐. เอวํ ขนฺธา จ ธาตุโย ฉ จ อายตนานิเม เหตํ ปฏิจฺจ สมฺภูตา เหตุภงฺคา นิรุชฺฌเร
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ๖เหล่านี้อาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้วก็ฉันนั้นเพราะเหตุสลายก็ต้องดับไปตามกัน

๒๑. กึ นุ สตฺโตติ ปจฺเจสิ มาร ทิฏฺฐิคตํ น เต สุทฺธสงฺขารปุญฺโชยํ น ยิธ สตฺตูปลพฺภติ
ดูกรมาร ทำไมท่านเชื่อว่าสัตว์มีหรือนั่นเป็นทิฏฐิความเห็นผิดของท่านต่างหากนี่เป็นกองสังขารล้วนอันใคร ๆย่อมหาสัตว์ไม่ได้ในกองสังขารล้วน ๆนี้

๒๒. ยถา หิ องฺคสมฺภารา โหติ สทฺโท รโถ อิติ เอวํ ขนฺเธสุ สนฺเตสุ โหติ สตฺโตติ สมฺมติ
เหมือนอย่างว่า เพราะรวมเครื่องสัมภาระที่เป็นอวัยวะของรถจึงมีเสียงว่ารถฉันใด เมื่อสังขารทั้งหลายยังมีอยู่ก็ย่อมมีสมมุติว่าสัตว์ฉันนั้น

๒๓. ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ นาญฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ
แท้จริง ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้นทุกข์นั้นเองตั้งอยู่และเสื่อมไปนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้นนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

๒๔. ยถา ยถา นิชฺฌายติ โยนิโส อุปฺปริกฺขติ ริตฺตกํ ตุจฺฉกํ โหติ โย นํ ปสฺสติ โยนิโสติ
ผู้มีปัญญาเพ่งพิจารณาโดยชอบโดยประการใดร่างกายเป็นของว่างเป็นของเปล่าจากตัวตนปรากฏแก่ผู้เห็นชอบด้วยประการนั้น ฉะนี้แล

๒๕. สุทฺธํ ธมฺมสมุปฺปาทํ สุทฺธํ สงฺขารสนฺตตึ ปสฺสนฺตสฺส ยถาภูตํ น ตํ ภยํ โหติ คามณิ
เมื่อสาธุชนพิจารณาเห็นว่า เป็นความเกิดขึ้นแห่งธรรมล้วน ๆเป็นความสืบต่อแห่งสังขารล้วน ๆตามความเป็นจริงดูกรผู้ใหญ่บ้านเพราะเหตุนั้นความกลัวนั้น ๆจึงไม่มีแก่เราเลย

๒๖. ติณกฏฺฐสมํ โลกํ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ น อญฺญํ ปฏฺฐาย กิญฺจิ อญฺญตฺร อปฺปฏิสนฺธิ
เมื่อสาธุชนพิจารณาเห็นโลกด้วยปัญญาว่าเสมอด้วยหญ้าหรือไม้เมื่อนั้นไม่ปรารถนาอะไร ๆ อย่างอื่นเลยนอกจากนิพพานธาตุอันไม่มีชาติภพต่อไป

๒๗. ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถา
นักปราชญ์พึงปฏิบัติโดยประการที่ชีวิตจะไม่เปล่าจากประโยชน์ฉันนั้น

๒๘. อนิมิตฺตมนญฺญาตํ มจฺจานํ อิธ ชีวิตํ กสิรญฺจ ปริตฺตญฺจ ตญฺจ ทุกฺเขน สํยุตํ
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นเครื่องกำหนดความหมาย ใคร ๆ ก็รู้ไม่ได้ว่าจะดับเมื่อไรชีวิตนั้นเป็นไปได้ยากเย็น ทั้งเป็นของเล็กน้อยไม่พอความต้องการทั้งประกอบด้วยทุกข์คอยเบียดเบียน

๒๙. น หิ โส อุปกฺกโม อตฺถิ เยน ชาตา น มิยฺยเร ชรมฺปิ ปตฺวา มรณํ เอวํ ธมฺมา หิ ปาณิโน
ความเพียรอันเป็นเหตุไม่ตายแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดมาแล้ว ย่อมไม่มีเลยแม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตายเพราะสัตว์ทั้งหลายมีอยู่อย่างนี้เป็นธรรมดา

๓๐. ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
คนหว่านพืชเช่นใดไว้ย่อมได้ผลเช่นนั้นคนทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดีคนทำความชั่วย่อมได้รับผลชั่ว

๓๑. ปวตฺตํ ตาต เต พีชํ ผลํ ปจฺจนุโภสฺสสิ
แน่ะพ่อ พืชพันธุ์ใดที่หว่านไว้ จักได้เสวยผลแห่งพืชนั้น ๆ

๓๒. นามรูปมิทํ ตณฺหาวิชฺชา สมุทฺทโย นิโรโธ ตาสํ นิโรโธ มคฺโค สิกฺขาตฺยํ ภเว
นามและรูปนี้เป็นทุกข์ตัณหาและอวิชาเป็นสมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิดความดับตัณหาและอวิชาเหล่านั้นเป็นนิโรธสิกขาทั้ง ๓ เป็นทางดับทุกข์

๓๓. อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา ภาเวถฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ เอสา พุทฺธานุสาสนีติ
ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย คนไม่ประมาทชื่อว่าไม่ตายคนประมาทแล้วเหมือนคนตายแล้ว พึงบำเพ็ญอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการนี้เป็นพุทธานุสาสนี ฉะนี้แล ...



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: อภิณหปัจจเวกขณะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 10:15:13 pm »


                   

อภิณหปัจจเวกขณะ

ชราธมฺโมมฺหิ   เรามีความแก่เป็นธรรมดา
ชรํ อนตีโต   ล่วงความแก่ไปไม่ได้

พฺยาธิธมฺโมมฺหิ   เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
พฺยาธึ อนตีโต   ล่วงความเจ็บไข้ไปไม่ได้

มรณธมฺโมมฺหิ   เรามีความตายเป็นธรรมดา
มรณํ อนติโต   ล่วงความตายไปไม่ได้

สพฺเพหิ เม ปิเยหิ มนาเปหิ   เราละเว้นเป็นต่าง ๆคือว่าพลัดพราก
นานาภาโว วินาภาโว   จากของรัก ของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง

กมฺมสฺสโกมฺหิ   เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน
กมฺมทายาโท   เป็นผู้รับผลของกรรม

กมฺมโยนิ    เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กมฺมพนฺธุ   เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

กมฺมปฏิสรโณ   เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยํ กมฺมํ กริสฺสามิ   จักทำกรรมอันใดไว้

กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา   ดีหรือชั่ว
ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ   จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

เอวํ อมฺเหหิ อภิณฺหํ   เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆ
ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ   อย่างนี้แล