คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา

มันเป็นเช่นนี้...

<< < (3/6) > >>

ฐิตา:



ก่อนบรรลุธรรม...ผ่าฟืน...ตักน้ำ
หลังบรรลุธรรม..ผ่าฟืน..ตักน้ำ
.......เซน.......
โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา




จงพักผ่อนและไม่ต้องทำอะไร ต่อให้
เจ้าคนป่า นัยน์ตาสีฟ้าผู้นั้น(ท่านโพธิธรรม)มาที่นี่ เดี๋ยวนี้
ท่านก็สอนไม่ให้พวกเจ้าทำอะไรเช่นกัน
สวมเสื้อผ้า กินข้าว ขี้ แค่นั้น
...ไม่ต้องกลัว วงจรการเกิดการตาย
...ไม่ต้องกลัวการกลับชาติไปเกิดใหม่
...ไม่มีนิพพานต้องไปถึง ไม่มีธรรมต้องบรรลุ
แค่ทำตัวเป็นคนธรรมดา
........เสียะเฟิงอี้ชุน เจ้าอาวาสวัดเซน......
โดย: Devilgirl Suratthani



เรื่องกรรม นี้ ส่วนมากยังไม่เข้าใจ หรือเข้าใจไม่ตรงตามที่เป็นจริง
ของหลักพุทธศาสนา คือรู้กันแต่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
อันเป็นคำสอนของศาสนาทั่วไป
เพราะเรื่องกรรมของพระพุทธศาสนานั้น............
ได้กล่าวถึงกรรม (การกระทำ) ที่จะให้สิ้นกรรมอีกด้วย

กล่าวคือ ให้สิ้นไปทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว เพื่อไม่ต้องเป็นไป
ตามอำนาจของกรรมดี กรรมชั่ว เลยกลายเป็นการ
อยู่เหนือกรรม
ไม่ต้องหวั่นไหว หรือเป็นทุกข์ เพราะดีเพราะชั่ว คือเป็น..
..พระนิพพาน (สภาพแห่งความหมดทุกข์โดยสิ้นเชิง) นั่นเอง
คำว่า...กรรม...นี้ จะต้องเป็นการกระทำด้วยเจตนา
ด้วยกาย หรือวาจา หรือใจ ถ้าไม่มีเจตนาก็ถือว่าเป็นเพียง...กิริยา...
และไม่มีผลว่าจะเป็นบาป หรือเป็นบุญ
หากจะมีผลอะไรเกิดขึ้นมา ก็เรียกว่าเป็น...ปฏิกิริยา...
ไม่ใช่...วิบาก...(ซึ่งแปลว่า ผลของกรรม)

ฉะนั้น การกระทำใดๆ ของพระอรหันต์ หรือ ของพระพุทธเจ้า จึงไม่เรียกว่า กรรม...
แต่เรียกว่า...กิริยา
"มีแต่การกระทำ แต่ไม่มีผู้กระทำ กรรมก็กลายเป็นกริยา"
โดย: Devilgirl Suratthani




เห็นตถตา – เห็นธรรม
ตถตานี้สำคัญมาก ถ้าเห็นแล้วปุถุชนก็จะกลายเป็นพระอริยเจ้า
เพราะถ้าเห็นแล้วก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก
โดยความเป็นตัวตน หรือโดยความเป็นตัวกู-ของกู ก็เพราะเขาไม่เห็นความ
ความเป็นเช่นนั้นเองของสิ่งนั้น ๆ เพราะเขาไม่รู้ หรือโง่เขลาต่อสิ่งนั้น ๆ
จึงไปยึดเอาเป็นสิ่งที่น่ารัก มีความรัก และโกรธในสิ่งที่ชวนให้โกรธ
เกลียดในสิ่งที่ชวนให้เกลียด กลัวในสิ่งที่ชวนให้กลัว แล้วก็เป็นทุกข์เอง

ถ้าเห็นว่า โอ้..ทุกอย่างมันเป็นเช่นนั้นเองตามแบบของมันเอง
มันก็จะไม่ยึดถือ คือจะไม่หลงรัก ไม่หลงโกรธ ไม่หลงเกลียด ไม่หลงกลัว
นั่นแหละคือมันไม่เกิดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่ง
มันไม่เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงเพราะสิ่งนั้น ๆ
เพราะเห็นความเป็นเช่นนั้นเองของสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเป็นของธรรมชาติ
คนบ้าเท่านั้นที่จะยึดเอาของธรรมชาติมาเป็นของกู
มันเป็นการปล้นเอาธรรมชาติมาเป็นของกู ปล้นกันปล้นซึ่งหน้า
เอาธรรมชาติมาเป็นของกู เพราะไม่เห็นตามที่เป็นจริงว่า
เป็นของธรรมชาติ คือเป็นเช่นนั้นเอง / โดย: Devilgirl Suratthani




มีกิจการงานอะไรก็ทำของตนไป จะมีอะไรก็มีได้
แต่อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่า
เป็นตัวตนหรือของตน อย่างนี้ก็เป็น  การอยู่เหนือกรรม
ส่วนปัญหาที่ว่าจะทำ กรรมเก่า ให้หมดไปได้อย่างไรนั้น
ก็ขอตอบว่า เมื่อเราปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ...
ก็จะไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวตน
ที่จะออกไปรับว่า นั่น เป็นกรรมเก่าของเรา
นี่.. เป็นผล... กรรมเก่าของเรา
พร้อมๆไปกับการ ไม่รับผลกรรมใหม่
ว่าเป็นของเราด้วย
โดยถือหลักว่ามันเป็นไปตามกฎ
มันไม่ใช่เรื่องตัวเรา หรือไม่รับเอาเป็นของเรา...
...................ท่านพุทธทาส......
โดย: Devilgirl Suratthani




Credit by  >>> F/B สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา
นำมาแบ่งปันโดย >>> Isara Tong >> F/B กลุ่ม ธรรมดีที่น่าทำ

ฐิตา:




“พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ในจิตใจของทุกคน” คือเราทุกคนนั้น
จะมีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในจิตใจด้วยกันทุกคน
แต่เพราะอวิชชาหรือความโง่ไม่รู้จริงได้ปิดบังพระองค์ไว้ จึงทำให้เราไม่สามารถ
พบพระพุทธองค์ได้ ถ้าเราจะกำจัดอวิชชาให้ออกไปจากจิตได้
เราก็จะพบพระพุทธองค์ที่ทรงประทับอยู่เบื้องหลังความโง่ของเรานี่เอง

พระพุทธเจ้านั้นก็คือสภาวะที่รู้ ตื่น เบิกบาน ซึ่งรู้ก็คือรู้แจ้ง
ในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ ตื่นก็คือตื่นจากความโง่หรือความไม่รู้
ส่วนเบิกบานก็คือสดชื่นไม่มีทุกข์ ทุกคนสามารถพบกับ
สภาวะของพุทธะนี้ได้ถ้าสามารถกำจัดความโง่ออกไปจากจิตได้
ส่วนพระพุทธเจ้าจากตำรา หรือจากคนอื่นว่ามานั้นยังไม่ใช่พระพุทธเจ้าแท้
และไม่เป็นสันทิฏฐิโก(พึงเห็นได้ด้วยตนเอง)
""""""""""""""""""""""""""
รู้อะไร หรือจะสู้ รู้สึกตัว ... ผมป่าวโม้น๊า อิ อิ
โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา

โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา




Live joyfully in this world...
Don t apply ''My own '' to anything!!!
โดย: Devilgirl Suratthani




มีสิ่งอยู่สิ่งหนึ่ง สร้างทุกอย่าง กำหนดความเป็นไป
ของทุกอย่าง และทำลายทุกอย่างได้
สิ่งๆนั้นคือ "เหตุ กับ ปัจจัย"
อิทัปปัจจยตา คือ กฏที่กล่าวว่า "เพราะมีสิ่งนี้ เป็นเหตุปัจจัย สิ่งนี้จึงมี"
เช่น มีสสารตัวนั้นตัวนี้ พลังงานตัวนั้นตัวนี้ ทำให้เกิดวัตถุตัวนั้นตัวนี้ ฯลฯ



กฏนี้ครอบคลุมทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ไม่แบ่งแยกว่าศาสนาไหน
การเกิดขึ้นของจักรวาล การเกิดขึ้นของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล
เช่นโลก เช่นดาวเคราะห์ สสาร ธาตุต่างๆ
หรือแม้กระทั่ง จิตใจ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา

อิทัปปัจจยตาในที่นี้ จะหมายถึง พระเจ้าในศาสนาคริสต์ก็ได้
จะหมายถึง "อสังขตธรรม"ในพุทธศาสนาก็ได้
จะหมายถึง พระตรีมูรติ ก็ได้ คือเป็นทั้งผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง
เป็นผุ้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นผู้ทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
โดย: Devilgirl Suratthani




เดินไปสุดทางแล้ว กลับเหลียวหา "ผู้เดิน"
หามีไม่
.....แบกอุปาทาน แล้วปรุงแต่งว่า
กำลังเดินทาง...
ก็ไม่สุดทางสักที
สลัด..โยนอุปาทานทิ้ง วันใด
วันนั้นก็พบ....ปลายทาง
โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา




ถ้าคิดว่า.. ตัวเอง ไม่เอาอะไรแล้ว ตัวเอง..
ปล่อยวางได้แล้ว
ตัวเองไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว นี่คือ"มิจฉาญาน"
เพราะยังมีความคิดว่าตนปฎิบัติ ตนหลุดพ้น
ก็ยังอยู่ใน ภาวะ การมีอยู่
เมื่อยังมีตนอยู่ ก็ต้องมี การมาการไป
หากแต่ที่สุดแห่งพรหมจรรย์นั้น ไม่มีการมาการไป
พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านไปกันแล้วก็จริง
แต่.......ไปน่ะไป แต่ไม่ได้ไปต่อ
โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา



Credit by  >>> F/B สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา
นำมาแบ่งปันโดย >>> Isara Tong >> F/B กลุ่ม ธรรมดีที่น่าทำ

ฐิตา:





พระอานนท์ได้กราบเรียนถามพระมหากัสสปะขึ้นว่า “พระพุทธะได้มอบจีวรทองให้แก่ท่าน เป็นเครื่องหมายของการเป็นทายาททางธรรม , แล้วมีอะไรอีกไหม ที่พระพุทธะได้มอบให้แก่ท่านอีก ?”

“อานนท์” พระมหากัสสปะกล่าวเรียกขึ้น
“ครับ , หลวงพี่.” พระอานนท์ขานรับ
“เอาเสาธงที่ประตูลงมาเสีย.” พระมหากัสสปะกล่าวขึ้น

(เสาธงเป็นเครื่องหมายของการแสดงธรรม เพราะที่ใดมีการแสดงธรรม
ก็จะมีการชักธงขึ้นไว้ให้เป็นที่สังเกตเห็นได้จากระยะทางไกล)

ที่มา : ประตูที่ไร้ประตู - สำนักพิมพ์สายน้ำ
แปลและรวบรวมโดย : ท่านละเอียด ศิลาน้อย

วัชรสูตรฉบับนี้ แต่เดิมได้รวมอยู่ในผูกที่ 577 ของมหาปรัชญาสูตร ซึ่งนักปราชน์ในอดีตต่างวิจารณ์พระสูตรเล่มนี้ว่ามีค่าดั่งคัมภีร์หลุนหยวี่ของสำนักขงจื่อ ซึ่งแม้ตัวอักษรจะมีจำกัด แต่ก็มีนัยอันมหัศจรรย์ที่มิอาจกล่าวให้สิ้นได้ด้วยอักษรเหล่านั้นเลย พระตถาคตทรงเทศนามหาปรัชญาสูตรเป็นจำนวนทั้งสิ้น 600 ผูก โดยได้แบ่งวาระการเทศนาเป็นจำนวน 16 ครั้งใน 4 สถานที่ และวัชรสูตรฉบับนี้พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาไว้เมื่อครั้งประชุมธรรมครั้งที่ 9 ที่ได้จัดขึ้น ณ เชตวันมหาวิหาร อันเป็นวิหารธรรมที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองสาวัตถีที่อยู่ทางภาคกลางในประเทศอินเดียนั่นเอง

3. ศาสตร์แท้
พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "เหล่าเวไนยสัตว์ มหาสัตว์ ควรสยบใจเช่นนี้ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเกิดจากอัณฑชะก็ดี เกิดจากชลาพุชะก็ดี เกิดจากสังเสทชะก็ดี เกิดจากอุปปติกะก็ดี หรือจักมีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาหรือไ้ร้ (สิ้น) สัญญาก็ดี หรือจักมิมีสัญญาหรือมิไร้ (สิ้น) สัญญาก็ดี เราล้วนชักนำเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานและขจัดฉุดฃ่วย ด้วยการขจัดฉุดช่วยสรรพสัตว์ที่จำนวนมิอาจประมาณนับได้นี้ ความจริงแล้วหาได้มีสรรพสัตว์ใด ๆ ได้รับการขจัดฉุดช่วยเลย เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! หากพระโพธิสัตว์มีอาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะแล้ว ก็จะมิใช่พระโพธิสัตว์ ?

4. สังขาร (ดำเนิน) แยบยล ไร้ดำรง
"อนึ่ง สุภูติ ! ในธรรมนั้น พระโพธิสัตว์ควรบริจากทานโดยไร้ดำรงกล่าวคือ จักบริจาคทานโดยไร้ดำรงในรูป ไร้ดำรงในเสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ควรบริจาคทานเช่นนี้ โดยไร้ดำรงในลักษณะ เพราะเหตุใด ? หากพระโพธิสัตว์ไร้ดำรงในลักษณะบริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้รับก้จักมิอาจคิดคำนวนได้เลย สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ทิศบูรพาอันว่างเปล่าสามารถคะเนได้หรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! " "สุภูติ ! ทิศทักษิณ ปัจฉิม อุดร ตลอดจนความว่างเปล่าในบนล่างสารทิศสามารถคะเนได้หรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !" "สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ไร้ดำรงในลักษณะบริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้ย่อมไม่อาจคะเนได้ดุจกัน สุภูติ ! พระโพธิสัตว์พึงดำรงตามคำสอนเช่นนี้แล"

5. ดั่งแท้ เห็นจริง
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? สามารถอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้หรือไม่ ? "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ไม่สามารถอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้ เพราะเหตุใด ? กายลักษณะที่พระตถาคตได้ตรัส มิใช่กายลักษณะ" พระสุคตตรัสแก่สุภูติว่า "ลักษณะที่มีอยู่ทั้งหลายล้วนเป็นมายา หากเห็นเหล่าลักษณะมิใช่ลักษณะ ก็จะเห็นตถาคต"

6. ศรัทธาเที่ยงตรง ยากจะมี
สุภูติทูลถามพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ยังจักจะมีเหล่าเวไนยสัตว์ที่ได้สดับพระธรรมบรรยายฉะนี้ แล้วบังเกิดศรัทธาอันเที่ยงแท้หรือไม่ ?" พระพุทธองค์ตรัสตอบสุภูติว่า "อย่าได้กล่าวเช่นนั้น หลังจากตถาคตดับขันธ์ปรินิพพาน หลัง 500 ปี มีผู้ถือศีลบำเพ็ญบุญที่อาศัยพระธรรมนี้ จนสามารถเกิดใจศรัทธา และถือสิ่งนี้เป็นจริง ควรรู้ว่าคน ๆ นี้ ไม่เพียงแต่ปลูกฝังกุศลมูลเฉพาะ 1 พุทธะ 2 พุทธะ, 3,4,5 พระพุทธะเท่านั้น หากแต่เขาได้ปลูกฝังกุศลมูลต่อพระำพุทธะอันมิอาจประมาณได้เลย และเมื่อเขาได้สดับพระธรรมดังกล่าว กระทั่งเกิดศรัทธาบริสุทธิ์ สุภูติ ! ตถาคตนั้นรู้หมด เห็นหมด คือ เหล่าเวไนยสัตว์ที่ยึดธรรมฉันนี้ จักได้รับบุญวาสนาอันไร้ขอบเขต เพราะเหตุใด ? เป็นเพราะเหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้จะไม่กลับไปมี อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ไร้ธรรมลักษณะ อีกทั้งไร้อธรรมลักษณะ เพราะเหตุใด ? เพราะเหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้ หากใจเกิดติดในลัดษณะ ก็คือติดยึดใน อาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ หากติดในธรรมลักษณะ ก็คือ ติดยึดใน อาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ เพราะเหตุใด หากติดในอธรรมลักษณะ ก็คือ ติดยึดในอาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ ฉะนั้นจึงไม่ควรติคยึดในธรรม ไม่ควรติดยึดในอธรรม ด้วยความหมายเช่นนี้ ตถาคตมักกล่าวเป็นเสมอว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงรู้ว่าธรรมที่เราแดสง อุปมาดั่งแพ แม้แต่ธรรมยังต้องละ นับประสาอะไรกับอธรรมเล่า"

7. ไร้รับ ไร้วาจา
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคตได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิฤา ? ตถาคตได้แสดงธรรมฤา ?" สุภูติตอบว่า "ตามความเข้าใจในความหมายที่พระองค์ตรัสของข้าพระองค์นั้นคือ ไม่มีธรรมที่แน่นอน ที่ชื่อว่าอนุตตรสัมมาสัมโพธิ และไม่มีธรรมที่แน่นอนที่ตถาคตได้แสดง เพราะเหตุใด ? ธรรมที่ตถาคตได้แสดงเทศนา ล้วนมิอาจยึด มิควรกล่าว ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่อธรรม ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? เมธีอริยะทั้งหลาย ล้วนเนื่องด้วยอสังขตธรรมและเกิดความแตกต่าง"

8. อาศัยธรรม ก่อเกิด
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ถ้าหากบุคคลนำสัปตรัตนะปูทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ เพื่อใช้บริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้รับของบุคคลนี้นับว่ามากมายหรือไม่ ? " สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? บุญวาสนานี้ แท้จริงไร้แก่นแท้ของบุญวาสนา ดังนั้นตถาคตตรัสว่า บุญวาสนามากมาย" "แต่หากได้มีบุคคลสนองรับตามในพระสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงโศลกแค่ 4 บาท และประกาศสาธยายกับคนอื่น บุญนี้ยังมากมายเหนือกว่าบุญชนิดแรก เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! พระพุทธะทั้งปวง อีกทั้งเหล่าพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมทั้งหลาย ล้วนเกิดจากพระสูตรนี้ สุภูติ ! สิ่งที่เรียกว่าพุทธธรรมนั้น แท้จริงมิใช่พุทธธรรม"

9. ไร้แม้หนึ่งลักษณะ
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระโสดาบันจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุโสดาปัตติผลได้ฤา ?" สุภูติทูลตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระโสดาบันนามว่าเข้าสู่กระแส แต่ไม่ได้มีการเข้า การไม่เข้าสู่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ จึงได้ชื่อว่าพระโสดาบัน" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระสกทาคามีจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุสกทาคามิผลได้ฤา ?" สุภูติตอบว่า "ไม่แล ขัาแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระสกทาคสมีมีนามว่าไปมาหนึ่งครั้ง แต่โดยความจริงไม่มีการไปมาหนึ่งครั้ง จึงได้ชื่อว่าพระสกทาคามี" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระอนาคามีจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุอนาคามิผลได้ฤา ?" สุภูติทูลตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระอนาคามีนามว่าไม่มา แต่โดยความจริงไม่มีการไม่มา จึงได้ชื่อว่าพระอนาคามี" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระอรหันต์จะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุอรหัตตมรรคได้ฤา ?" สุภูติตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? โดยความจริงแล้วไม่มีธรรมที่เรียกว่าพระอรหันต์ ขัาแต่พระสุคต ! หากพระอรหันต์ได้มนสิการว่า ตนได้บรรลุอรหัตตมรรค ก็คือติดใน อาตมะ บุคคละ สัตวะ ชีวะลักษณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสว่า ข้าพระองค์ได้บรรลุอารัณยิกในสมาธิ เป็นที่หนึ่งในกลุ่มคน เป็นพระอรหันต์องค์แรกที่ได้พ้นจากกิเลส ข้าแต่พระองค์ผู้ควรบูชา ! ข้าพระองค์ไม่นมสิการเช่นนี้ว่า ข้าพระองค์ก็คือพระอรหันต์ผู้พ้นจากกิเลส ข้าแต่พระสุคต ! หากข้าพระองค์ได้มนสิการเช่นนี้ว่า ข้าพระองค์ได้บรรลุอรหัตตมรรค พระองค์ก็จะไม่ตรัสว่า สุภูติคือผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา แต่เนื่องด้วยความจริงแล้วสุภูติไร้ซึ่งปฏิปทาจึงได้ชื่อว่า สุภูติคือผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา"


Credit by  >>> F/B สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา
นำมาแบ่งปันโดย >>> Isara Tong >> F/B กลุ่ม ธรรมดีที่น่าทำ

ฐิตา:

                 

เธอเคยบริสุทธิ์ เธอยังจำได้ไหม เธอเคยเป็นทารกไหม เธอเคยเป็นเด็กไหม เธอเคยละเล่นไหม ตอนนั้นเธอรู้สึกอะไร ตอนนั้นเธอรู้สึกอย่างไร เธอมีความสุขที่ไม่อาจจะบอกกล่าวผู้ใหญ่คนใดฟังแล้วเข้าใจได้เลย พวกผู้ใหญ่เหล่านี้คือเธอเมื่อเติบโต เพราะเหตุใดเขาเคยเป็นเด็กทุกคนแต่ไม่เข้าใจเด็กเลย เพราะพวกเขาไม่รู้จักความบริสุทธิ์อีกแล้ว พวกเขาแปดเปื้อนเหมือนผ้าขี้ริ้วที่เอาให้ใช้ทำความสะอาด มันจะไม่มีวันขาวขึ้น หัวใจผู้ใหญ่เหล่านั้นมืดมนสกปรก และบางครั้งก็เลวร้ายด้วย ทุกครั้งพวกเขาจะทำร้ายความบริสุทธิ์ของเด็กด้วยคำว่าเหตุผล


โอ เจ้าเหตุผลนี้ละเราถึงต้องเจ็บปวด สิ่งที่ทำไม่ได้ สิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ควรทำก็เกิดขึ้น ชีวิตเธอกำลังอยู่ในกรงขังของเหตุผลตลอดเวลา เมื่อมีความคิดเหตุผลแล้ว ความเชื่อ ศาสนาก็มอบโซ่ตรวนอันใหญ่โตยิ่ง นั้นคือผิดชอบชั่วดี เข้ามาขังคุณอยู่ในกรง แล้วสอนให้คุณรับใช้พวกเขาโดยอ้าง ความผิดชอบชั่วดี เอามาความดีชอบบุญมาหลอกหลวงให้คุณบริจาคกำลังเงิน กำลังกาย กำลังความคิด เพื่อผลประโยชน์สุขของพวกเขาเองโดยอ้างว่า นี้คือการทำบุญ นี้คือช่วยเหลือกันในสังคมที่หาได้ยาก นี้คือความดีที่ชอบแล้ว ใช่หรือไม่ใช่ที่เขาบอกกล่าวกับเธอเช่นนี้ เธอไปทำอย่างนั้นเพราะเธอคิดเองมาตั้งแต่เด็กหรือ



เธอได้รับการสั่งสอนจากพวกเขา แล้วพวกเขาได้มอบศีลธรรมจอมปลอมมาเป็นของแถม พวกเขาหลงใหลความจอมปลอมที่มีแต่เปลือก จริงหรือไม่ฉันกำลังถามเธอ? เพราะฉันไม่อยู่แล้วเธอจะต้องหาคำตอบเองว่าศีลธรรมที่สมมุติกันในศาสนา ความเชื่อ ความคิดนี้คือศีลธรรมจริงๆหรือไม่ พวกเขาขังคุกคุณ จองจำคุณชั่วชีวิต จองจำไปกระทั่งหลังความตาย ด้วยความเชื่อ ศาสนาสมมุติกันไป ฉันจะบอกเธอว่าเธอไม่ต้องมีศาสนา ความเชื่อ ระบบความคิด กฎ หรอก เพราะศาสนา ความเชื่อ ระบบความคิด กฎ คือสิ่งที่แลกด้วยการต้องทำร้าย และทำลายกันของมนุษย์ สงคราม มาจากสิ่งเหล่านี้ ความจอมปลอม

มนุษย์ทำร้ายกันเองมานานแค่ไหน เพื่อศาสนา เพื่อความเชื่อ เพื่อระบบความคิด เพื่อกฎ ตั้งแต่มีมันใช่ไหม เธอจะบอกฉันว่าแล้วศีลธรรมจริงๆจะมาจากไหนถ้าไม่ใช่สิ่งเหล่านี้

ฉันจะบอกเธอและจะบอกเธออีกว่าเธอบริสุทธิ์อยู่แล้ว ศีลธรรมจริงๆมันมีตั้งแต่แรกแล้ว ตั้งแต่เธอเกิดมา เธอเคยรู้สึกทุกอย่างมีความหมายกับเธอ โดยที่เธอไม่เข้าใจบ้างไหม เธอเคยปล่อยทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจนหมดแล้ว เธอคิดจะทำร้ายใครด้วยความตั้งใจอีกไหม เธอจะไม่ทำร้ายใคร เธอจะรักทุกสิ่งทุกอย่าง เธอจะเห็นความจริง เธอจะมีอิสรภาพจากทุกสิ่ง นั้นละศีลธรรมอันแท้จริงที่โลกต้องการ ไม่ใช่ความจอมปลอม


โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา

ฐิตา:




เธอคือกระแสของความคิดและความทรงจำทั้งมวลที่สั่งสมไว้
และกำลังหลั่งไหลอยู่ตลอดเวลา
สืบต่อกันไปไม่ขาดสายดุจสายน้ำ กระแสนี้เองที่พัดพาสิ่งต่าง ๆ มาสู่เธอ
แท้จริง อัตตาหาได้มีหรือไม่มีอยู่ไม่
มันเป็นเพียงถ้อยคำ ภาพมายา และความหมาย ที่กระแสความคิดของเธอ
สร้างมันขึ้นมาสืบต่อไปไม่จบสิ้น

มันเหมือนดั่งเงาของดวงจันทร์ในน้ำ ซึ่งในสภาวะอันล้ำลึก
ช่างงดงามอย่างยิ่ง แต่เมื่อยามที่เธอ
เฝ้ามองมันอย่างเงียบงัน มันก็หาได้มีทั้งดวงจันทร์ ทั้งเงา และน้ำไม่ ...
เพียงแค่เธอยังไม่ได้สัมผัสกับมัน
โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา




ความเข้าใจหากหยิบยื่นให้แก่กันได้คงดี
แต่ความปรารถนาที่จะเข้าใจนั่นแหล่ะตัวดี
เพราะมันคือมารล่อลวงที่เธอต้องเข้าใจและรู้ทันมัน
โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา




เป็น หนึ่งเดียว กับ ทุกสรรพสิ่ง
เมื่อเธอ  พ้น  ไปจาก  ทวิภาวะ
โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา




ใจเป็นสิ่งใด ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานก็อยู่ที่นั่น ..
เมื่อใจไม่ได้เป็นสิ่งใด ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานก็ไม่ได้มีอยู่ที่ใด..
นั่นคือ ความเป็นเดิมแท้ ..
ที่มีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย..เช่นเดียวกัน .. เช่นนั้นเอง .....
โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา




ทุกเวลา.. เป็นขณะแห่งการ“ดื่มด่ำ”ธรรมชาติ ..
ที่ยุติตัวเองอยู่เเล้ว ..ในศานติ ..



โดย: สู่นิพพานและอิสรภาพด้วยปัญญา

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version