ผู้เขียน หัวข้อ: ความจริง อันประเสริฐ มีสี่อย่าง  (อ่าน 1206 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ภิกษุ ทั้งหลาย.
ความจริง อันประเสริฐ มีสี่อย่างเหล่านี้,
สี่ อย่างเหล่าไหนเล่า?สี่อย่างคือ
ความจริง อันประเสริฐ คือ ทุกข์,
ความจริง อันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์,
ความจริง อันประเสริฐ คือความดับ ไม่เหลือ ของทุกข์,
และ ความจริง อันประเสริฐ คือ ทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ความจริง อันประเสริฐ คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
ขันธ์ อันเป็น ที่ตั้งแห่ง ความยึด มั่นถือมั่น ห้าอย่าง.
ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ :-
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ความจริง อันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็น เครื่องนำ ให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วย ความกำหนัด เพราะ อำนาจความเพลิน
มักทำให้เพลิน อย่างยิ่งใน อารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
ตัณหาในกาม, ตัณหา ในความมี ความเป็น,
ตัณหาใน ความไม่มี ไม่เป็น.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุ ให้เกิดทุกข์.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ความจริง อันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ ความดับสนิท เพราะ ความจางคลายดับ ไปโดยไม่เหลือของ ตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง
ความไม่อาลัย ถึงซึ่งตัณหา นั้นเอง อันใด.
ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริง อันประเสริฐคือความดับ ไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ทั้งหลาย.! ความจริง อันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ หนทาง อันประเสริฐ ประกอบด้วย องค์แปดนั่นเอง,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
ความ เห็นชอบ,
ความ ดำริชอบ,
การ พูดจาชอบ,
การ งานชอบ,
การ เลี้ยงชีพชอบ,
ความ เพียรชอบ,
ความ ระลึกชอบ,
ความ ตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนิน ให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล คือ ความจริง อันประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอ
พึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตาม เป็นจริงว่า
“นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,
นี้เป็นความดับ ไม่เหลือของทุกข์,
นี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึง ความดับ ไม่เหลือของทุกข์,” ดังนี้เถิด.
มหาวาร. ส°. ๑๙/๕๓๔-๕/๑๖๗๘-๑๖๘๓.


- https://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/166387296709841?fref=ts


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: อริยสัจ4 :ความจริง อย่างประเสริฐ 4 ประการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2014, 03:09:07 pm »



อริยสัจ4-ความจริง อย่างประเสริฐ 4 ประการ
1.ทุกข์(ทุกข์อริยสัจ)-คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
2.สมุทัย (ทุกข สมุทัย อริยสัจ)-คือ เหตุให้ทุกข์เกิด
3.นิโรธ (ทุกข นิโรธ อริยสัจ)-คือ ความดับทุกข์
4.มรรค (ทุกข นิโรธ คามมินี ปฏิปทา)-คือ ข้อปฏิบัติ ให้ถึง ความดับทุกข์

แต่ละ อริยสัจ เป็นไปในรอบ 3 คือ
1.สัจจญาณ-กำหนดรู้ความจริง
2.กิจญาณ-กำหนดรู้กิจที่ควรทำ
3.กตญาณ-กำหนดรู้ว่า ได้ทำกิจเสร็จแล้ว
ดังนั้น อริยสัจ 4X 3 รอบ = 12 อาการ

1.ทุกขอริยสัจ โดย 3 รอบ คือ
สัจจญาณ-ในทุกข อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า "ความเกิดก็ เป็นทุกข์ ความแก่ก็ เป็นทุกข์" เป็นต้น
โดยย่อ อุปาทาน ขันธ์5 เป็นทุกข์
กิจจญาณ-ในทุกขอริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า "ความเกิดก็เป็นทุกข์ "เป็นต้น
โดยย่อ อุปาทาน ขันธ์5 เป็นทุกข์ ทุกข อริยสัจนี้ เป็นธรรม ที่ควร กำหนดรู้
กตญาณ-ในทุกข อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า "ความเกิด ก็เป็นทุกข์"เป็นต้น
โดยย่อ อุปาทาน ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ทุกข อริยสัจนี้ เป็นธรรม ที่ควร กำหนดรู้ ก็ได้กำหนด รู้แล้ว

2.สมุทัย อริยสัจ โดย 3 รอบ คือ
สัจจญาณ-ในสมุทัย อริยสัจ ญาณรู้ว่า "ตัณหาอันทำให้ เกิดชาติใหม่อีก
ประกอบด้วย ความกำหนัด มีปกติเพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้นๆ เป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์"
ตัณหา มี 3 คือ
กามตัณหา-คือ ตัณหา ในกาม
ภวตัณหา-คือ ตัณหา ในภพ ประกอบด้วย สัสสต ทิฏฐิ
ความเห็น ผิดว่า"เที่ยง"ตัณหา ในฌาน ในรูปภพ อรูปภพ
วิภวตัณหา- คือ ตัณหา ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็น ผิดว่า"ขาดสูญ"

กิจจญาณ-ในสมุทัย อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า..
"ตัณหาทั้ง 3นี้ เป็น สมุทัย อริยสัจ เป็นธรรม ที่ควรละเสีย"
กตญาณ-เป็นสมุทัย อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า..
"ตัณหาทั้ง3 นี้เป็น สมุทัย อริยสัจ เป็นธรรม ที่ควรละเสีย ก็ได้ละเสียแล้ว"......

การหมุน ธรรมจักร 3 รอบ แสดงธรรม 12 ออกมาให้เห็น ดังนี้.-
ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ต่างก็หมุน 3 รอบ ดังนั้น จึงชื่อว่า "หมุน ธรรมจักร 3 รอบ
แสดงธรรม 12" คือ 3 รอบ มีรอบแสดง รอบกล่อม และ รอบบรรลุ
1.ทุกข์อริยสัจ....
ผลทุกข์-
หมุนรอบแรก -แสดง ลักษณ์ นี่คือทุกข์ ลักษณะบังคับ
หมุนรอบที่ 2-เตือนให้ บำเพ็ญ นี่คือทุกข์ เธอจงรับรู้ไว้
หมุนรอบที่ 3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือทุกข์ ฉันทราบแล้ว

2.สมุทัยอริยสัจ
เหตุทุกข์-
หมุนรอบแรก-แสดง ลักษณ์ นี่คือสมุทัย ยั่วความรู้สึก
หมุนรอบที่ 2-เตือน ให้บำเพ็ญ นี่คือสมุทัย เธอจงตัดขาด
หมุนรอบที่3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือสมุทัย ฉันตัดขาดแล้ว

3.นิโรธอริยสัจ-
ผลสุข-
หมุนรอบแรก-แสดง ลักษณ์ นี่คือ นิโรธ ลักษณะ บรรลุได้
หมุนรอบที่ 2-เตือนให้ บำเพ็ญ นี่คือ นิโรธ เธอจง บรรลุให้ได้
หมุนรอบที่ 3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือ นิโรธ ฉันบรรลุแล้ว

4.มรรค อริยสัจ-
เหตุสุข-
หมุนรอบแรก-แสดงลักษณ์ นี่คือ มรรค ลักษณะบำเพ็ญได้
หมุนรอบที่ 2-เตือนให้ บำเพ็ญ นี่คือ มรรค เธอควรบำเพ็ญ
หมุนรอบที่ 3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือ มรรค ฉันบำเพ็ญแล้ว
รอบกล่อม และ รอบบรรลุ ก็ดำเนิน ไปเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับ
รอบแสดง.....เป็น อันจบสิ้น สมบูรณ์ฯ


-facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2014, 03:01:17 pm โดย ฐิตา »