ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนรู้กฎหมาย ไว้เป็นแนวทางป้องกันตนเอง และไม่ให้ถูกเอาเปรียบบุคคลต่างๆ  (อ่าน 18668 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เล่นสงกรานต์ถูกลวนลาม "แจ้งเอาผิดตามกฎหมาย"ได้นะจ๊ะ

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1397347921&grpid=03&catid=&subcatid=-

การออกไปเล่นน้ำสงกรานต์ในที่ต่างๆ แล้วโดนลวนลามทางร่างกาย ไม่ว่าจะกอด จูบ ลูบ คลำโดยเจ้าตัวไม่ได้ยินยอม ถือว่าเข้าข่ายความผิดฐานอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้

หากโดนกอด จูบ ลูบคลำ ตามร่างกาย โดนจับของลับ สามารถเอาผิด ตามมาตรา 278 "ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นไม่อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ ขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นคนอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

แต่หากไกล่เกลี่ยลงตัว ผู้เสียหายยอมความ สามารถทำได้ ตามมาตรา 281 "การกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคแรก และ มาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือ ถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการ กระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ใน มาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้" และที่สำคัญผู้เสียหายต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีด้วย

ไม่ว่าเพศใดๆ ต้องรู้เท่าทันกฎหมาย เมื่อออกไปเล่นน้ำแล้วโดนลวนลามร่างกาย ต้องไม่ปล่อยเฉย จบด้วยคำขอโทษ หรือติดป้ายประจาน เพราะสามารถเอาผิดผู้กระทำตามกฎหมายได้ ชนิดติดคุกหัวโตนานนับ 10 ปีได้

คดีอนาจารไม่ใช่ปรับเงินเพียง 500 บาท แล้วปล่อยกลับบ้านเหมือนที่หลายคนเข้าใจ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พนักงานลาป่วยได้ทุกกรณีหรือไม่ ?

-http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1397210918-



ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ http://tamrongsakk.blogspot.com

เมื่อทำงานไปแล้วทุกคนมีโอกาสเจ็บไข้ได้ป่วยกันบ้างเป็นธรรมดาของสังขาร ซึ่งตามกฎหมายแรงงานเขาบอกไว้ในมาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ซึ่งการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการ

ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือสถานพยาบาลของทางราชการ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน

จากกฎหมายแรงงานที่ผมยกมาข้างต้น จึงสรุปแบบภาษาชาวบ้านได้ว่าลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง (ไม่ใช่ลาป่วยได้ปีละ 30 วันทำงานอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดนะครับ) และหากบริษัทอนุญาตให้ลาป่วยจะต้องจ่ายค่าจ้างให้ในวันที่ลาป่วยด้วย (แต่จ่ายให้ไม่เกิน 30 วันทำงาน ถ้าหากปีใดพนักงานลาป่วยจริงเกินกว่า 30 วันทำงาน ส่วนที่เกิน 30 วันทำงานนั้น บริษัทอาจจะไม่จ่ายให้ก็ได้)

ที่ผมบอกมาทั้งหมดนั้นอยู่บนเงื่อนไขสำคัญว่า "ในกรณีที่ลูกจ้างป่วยจริง ๆ" นะครับ

เพราะเรา ๆ ท่าน ๆ จะทราบว่ายังมีพนักงานบางคนที่ "ไม่ได้ป่วยจริง" แต่ไม่อยากจะมาทำงาน ก็เลยอ้างว่า "ป่วย" และขอลาป่วย ซึ่งตามระเบียบของทุกบริษัทจะมีบอกไว้ว่าในกรณีที่พนักงานจะลาป่วยให้ลาป่วยในโอกาสแรกที่จะทำได้ (เช่นโทรศัพท์) มาที่ผู้บังคับบัญชา (ซึ่งก็คือหัวหน้างานโดยตรงนั่นแหละครับ)

แต่ในทางปฏิบัติมักจะพบว่าพนักงานที่แกล้งป่วยมักจะโทร.มาขอลาป่วยกับใครก็ได้ที่ไม่ใช่หัวหน้า

การลาป่วยลักษณะนี้มักจะลาไม่ให้ถึง 3 วันทำงาน เพื่อจะได้ไม่ต้องไปหาใบรับรองแพทย์มายืนยันซะด้วยสิครับ

ปัญหาจะเกิดกับหัวหน้างานว่า...แล้วควรจะต้องอนุญาตให้ลาป่วยทุกกรณีหรือไม่ ? ไม่อนุญาตได้ไหม ถ้าไม่ได้ป่วยจริง ?

จากปัญหาดังกล่าวตอบได้ดังนี้ครับ

1.หากลูกน้องของท่านป่วยจริง ก็ต้องอนุญาตให้ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน (แต่ถ้าบริษัทจะใจดีจ่ายให้เกินกว่า 30 วันก็ไม่มีปัญหานะครับ)

2.สำหรับกรณีลูกน้องที่มักจะชอบอู้งานโดยอ้างว่าลาป่วย ท่านอาจจะไปเยี่ยมเยียนลูกน้องที่ลาป่วยที่บ้าน หรือที่หอพักของเขาก็ได้ (แต่อย่าไปบอกเขาล่วงหน้าว่าจะไปเยี่ยม) ในกรณีที่เขาลาป่วยไม่ถึง 3 วันเพื่อไปดูว่าเขาป่วยจริงหรือไม่ ซึ่งท่านจะต้องรู้ทันลูกน้องประเภทมือวางอันดับหนึ่งจอมอู้พวกนี้

ถ้าไปเยี่ยมแล้วไม่อยู่ที่ห้องพัก หรือเดินหน้าบานกลับมาห้องพัก อย่างนี้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องอนุญาตให้ลาป่วย เพราะไม่ป่วยจริง และถือว่าขาดงานในวันนั้นได้เลยครับ

3.หัวหน้างานจึงควรจะต้องแยกแยะให้ดีระหว่างลูกน้องที่ป่วยจริง กับลูกน้องที่มักจะชอบอ้างว่าป่วย (แต่ไม่ได้ป่วยจริง) จะได้มีการปฏิบัติกับลูกน้องได้อย่างถูกต้อง และเท่าทันลูกน้อง

แล้วกรณีที่ลูกน้องลาป่วยเท็จล่ะ..ผลจะเป็นอย่างไร ?

ตามอ่านต่อที่ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1397210918



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.



ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก ต้องมีข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญของสินค้านั้น ระบุชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบธุรกิจ

วันเสาร์ 10 พฤษภาคม 2557 เวลา 00:00 น.

-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/236204/%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87++-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-



ฉลากสินค้ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญและใส่ใจอ่านรายละเอียดก่อน ซื้อเพื่อรักษาสิทธิของตัวท่านเอง การอ่านฉลากสินค้าจะช่วยให้ทราบถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของส่วนประกอบ ปริมาณ สามารถเปรียบเทียบราคาระหว่างผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อก็สามารถช่วยให้ประหยัดเงินในกระเป๋าได้ไม่น้อย นอกจากนี้รายละเอียดของฉลากยังบอกให้ทราบถึงวิธีการเก็บรักษา การใช้งานได้อย่างถูกต้อง หากผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะแพ้ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็จะสามารถทราบได้จากการอ่านฉลากและหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเสีย  แต่หากเกิดปัญหาในการบริโภคผลิตภัณฑ์ ก็สามารถร้องเรียนให้มีการดำเนินการต่อผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย ได้ตามชื่อและที่อยู่ที่ปรากฏในฉลากด้วย และเพื่อเป็นการควบคุมให้ผู้ประกอบการ จัดทำฉลากได้อย่างถูกต้อง  สคบ. จึงได้ออกประกาศเรื่องลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ซึ่งสินค้าที่ควบคุมฉลากก็ได้แก่ สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย

ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก  ต้องมีข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญของสินค้านั้น  ระบุชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบธุรกิจ สถานที่ผลิต หรือสถานที่ประกอบธุรกิจนำเข้าประเภทสินค้า ประเทศที่ผลิตกรณีนำเข้า ข้อความอันจำเป็น ได้แก่ ราคา ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน วันเดือนปีหมดอายุ หรือกรณีอื่นตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนด ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกำกับภาษาต่างประเทศสามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน

ลักษณะของฉลากที่ควบคุมต้องระบุข้อความดังนี้  ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้า กรณีสั่ง/นำเข้าให้ระบุประเทศที่ผลิต ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศ ไทยของผู้ผลิตเพื่อขาย ชื่อหรือเครื่องหมาย การค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อขาย สถานที่ตั้งที่สามารถติดต่อได้จริง  ขนาด มิติ ปริมาณ ปริมาตร น้ำหนัก วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ คำเตือน (ถ้ามี) วันเดือนปีที่ผลิต หรือ หมดอายุ หรือที่ควรใช้ก่อน ราคาพร้อมระบุหน่วยบาท โดยการแสดงฉลากสินค้าต้องแสดงไว้ที่ตัวสินค้า  ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ สอดแทรกหรือรวมไว้กับสินค้า เอกสารหรือคู่มือ ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุ และหากผู้ประกอบการขายสินค้าที่ควบคุมฉลากแต่ไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่การแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ขอดูสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.


ท่านผู้ถามก็ช่างกระไรหนอ คุณใช้ชื่อนี้เวลานี้ถามมาที่กระผมนี้เล่นเอากระผมสะดุ้งโหยง จะดีร้ายประการใดก็รีบค้นคว้าหาคำตอบให้ดีกว่า
วันเสาร์ 7 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.

-http://www.dailynews.co.th/Content/Article/242945/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+%E0%B8%9B.%E0%B8%9B.%E0%B8%8A.-


ท่านผู้ใช้นามว่าปฏิรูปถามมาว่า มีความประสงค์จะขอดูสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งจะขอดูได้ไหม 

ท่านผู้ถามก็ช่างกระไรหนอ คุณใช้ชื่อนี้เวลานี้ถามมาที่กระผมนี้เล่นเอากระผมสะดุ้งโหยง จะดีร้ายประการใดก็รีบค้นคว้าหาคำตอบให้ดีกว่า

มีคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๔๒๗/๒๕๕๑ ที่พอจะนำมาเป็นแนวทางในเรื่องนี้ครับ

เหตุเกิดจากผู้ร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ต้องการทราบรายละเอียดสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในเรื่องที่ตนร้องเรียนกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจรายหนึ่งซึ่งต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.วินิจฉัยว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล

สงสัยมาก ไม่ผิดได้อย่างไรหว่า ใคร่จะทราบรายละเอียดในการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้แน่ชัด  จึงทำหนังสือแสดงความประสงค์ขอตรวจดูและคัดสำเนาสำนวนการสอบสวนทั้งหมด  ปรากฏว่าท่านไม่อนุญาต

ไปร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารซึ่งท่านก็วินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ แต่คณะกรรมการป.ป.ช.ท่านก็ยืนกรานไม่ให้เหมือนเดิม

ท่านก็มีอำนาจตามมาตรา ๑๒๐ แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒  ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดเปิดเผยข้อความ ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลที่ได้มาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยมิได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และมิใช่เป็นการกระทำตามหน้าที่ราชการหรือเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบหรือไต่สวนข้อเท็จจริง หรือเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำปรับ

แบบนี้ก็ต้องไปเล่นต่อที่ศาลปกครองตามธรรมเนียม  คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ ๒ ขอให้เปิดเผยข้อมูลตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารดังกล่าว 

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

ท่านผู้อ่านที่เคารพที่ศาลท่านต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง

แต่ในคดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เป็นกรณีใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ในการออกกฎ คำสั่งหรือมติใด ๆ ที่มีผล กระทบต่อบุคคลเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ

และเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ การไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีตรวจและคัดสำเนาเอกสารในสำนวนการไต่สวน จึง มิใช่กระทำในฐานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ

แต่เป็นการกระทำในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีไม่เปิดเผยสำนวนการสอบสวนตามคำวินิจฉัยตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เปิดเผยตามคำขอจึงเป็นคดีตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ดังกล่าว

และตามมาตรา ๔ แห่ง  พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบมาตรา ๑๐๔ และมาตรา ๑๐๘ แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ  สำนักงาน ป.ป.ช.เป็น “หน่วยงานอิสระของรัฐ” และผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่ง มิให้เปิดเผยข้อมูลคำสั่งได้ตามมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ

ผู้ฟ้องคดีขอตรวจและคัดสำเนาสำนวนการสอบสวนที่มาจากการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึง เป็นเอกสารที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามมาตรา ๑๙ (๓) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯซึ่งต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา ๑๒๐ ดังกล่าว

แต่บทบัญญัติดังกล่าว มิได้ห้ามหรือให้อำนาจผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่อย่างใด การใช้ดุลพินิจเปิดเผยหรือไม่ย่อมต้องพิจารณา พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯประกอบด้วย

เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อมูลข่าวสารที่ขอให้เปิดเผยเป็นข้อมูลที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรืออาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพและไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี

กรณีจึง ไม่มีเหตุที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๒๕ และคำวินิจฉัยให้เป็นที่สุด คณะกรรมการฯจึงมีฐานะเป็น “คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท” ตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ มีผลผูกพันให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตาม เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการข้อมูลฯจึงเป็น การละเลยต่อหน้าที่ พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการตามคำขอของผู้ฟ้องคดี

ก่อนมีเรื่องกับหน่วยงานที่ไม่ยินยอมเปิดเผยข้อมูลให้ตามคำขอ อย่าลืมไปดำเนินการทางคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารก่อนนะขอรับ.       

พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์

-www.naipisit.com/อีเมล- : -praepim@yahoo.com-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
โดนเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะทำอย่างไรดี


-http://money.kapook.com/view89785.html-

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก decha

          โดนเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะทำอย่างไรดี จะเรียกร้องค่าชดเชยจากบริษัทได้หรือไม่ เรามีคำตอบ

          เชื่อว่าพนักงานบริษัทหลาย ๆ คนอาจจะเคยประสบปัญหาถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้า จนได้รับความลำบากและเดือดร้อนอย่างมาก หากใครที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ล่ะก็...ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากบริษัทได้ ซึ่งวันนี้เราก็มีข้อมูลจากเว็บไซต์ decha.com มาร่วมด้วยช่วยกันคลายทุกข์ และตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

          คำถาม : แม่ทำงานเป็นพนักงานขายกับบริษัทหนึ่ง แล้วบริษัทต่อสัญญาไม่ได้ โทรมาบอกเลิกจ้างทั้งที่จะเปิดขายอีกไม่กี่วัน แล้วเงินประกันก็ยังไม่คืนทำงานมาประกันสังคมก็ไม่มีให้ แต่ถ้าของขาดของหายหักเงินตลอด แม่ไม่ได้ติดใจอะไร แต่อยากได้เงินประกันคืนไว ๆ แต่ก็ติดตลอด พอแม่ว่าไป มาบอกเลิกจ้างบริษัทน่าจะรับผิดชอบ กลับบอกว่าให้ไปว่ากับโรงเรียนที่ไม่ต่อสัญญา เราจะทำอย่างไรได้บ้างคะ

          คำตอบ : การที่บริษัทนายจ้างเลิกจ้างมารดาของท่าน นอกจากนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากการเลิกจ้างนั้นแล้ว หากบริษัทไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามีให้แก่มารดาซึ่งเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 วรรคสอง, มาตรา 17 วรรคสาม ดังนี้ มารดามีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ตนทำงานอยู่ หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งตามความมาตรา 123, มาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว

          สรุปว่า หากโดนเลิกจ้างโดยที่ไม่บอกล่วงหน้า ก็สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าชดเชย หรือเพื่อให้รับกลับเข้าทำงานได้นั่นเอง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
6 วิธีรับมือกระทู้โจมตีบนโลกออนไลน์

-http://ch3.sanook.com/22127/it-24-%E0%B8%8A%E0%B8%A1-digital-marketing-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B5-

IT 24 ชม. Digital Marketing รับมือกระทู้โจมตีบนโลกออนไลน์

หลายๆท่านที่เคยเข้าเว็บบอร์ดดังอย่าง Pantip หรือไม่ก็คลิกอ่านกระทู้ pantip ผ่านทาง Social Network ต่างๆ ก็จะเห็นกระทู้ที่ตั้งขึ้น ซึ่งเป็นกระทู้แนะนำที่คนสนใจจำนวนมาก และบ่อยครั้งที่แบรนด์มักจะถูกโจมตีจากผู้บริโภค งานนี้แบรนด์จะรับมือจัดการกับกระทู้นี้อย่างไร? เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และหวังให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวแบรนด์มากขึ้น
เราได้รวบรวมข้อมูลจาก นายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ผู้ดูแลโครงการเว็บไซต์ Pantip โฉมใหม่ ได้ให้คำแนะนำภายในงาน Thailand Zocial Awards 2014 เมื่อช่วงบ่ายวันพุธที่ผ่านมา เกี่ยวกับ 6 ข้อ ในการรับมือ แก้วิกฤต ในกรณีคนโพสต์โจมตีแบรนด์ของเรา

6 ข้อที่ว่านี้ คือ Prompt / Apologize / Non-legal /Tone / Influencer / Policy

P = Prompt

แบรนด์ควรติดตามกระทู้อย่างใกล้ชิดเพื่อตอบสนองอย่างรวดเร็ว
ควรใช้ Social Media Monitoring tool ในการติดตาม
ควรแสดงตัวตนในกระทู้ เพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่าบริษัททราบเรื่องแล้ว ตัวอย่างเช่น“สวัสดีครับ ผมเจ้าหน้าที่จากบริษัท . .. ขอรับเรื่องจากเจ้าของกระทู้ไปตรวจสอบ และ รีบแจ้งผลให้ทราบครับ”

A = Apologize

แม้บริษัทไม่ได้ผิด ก็สามารถขอโทษได้ เพราะเราไม่ได้ต้องการยอมรับผิด แต่ต้องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า

ถ้าบริษัทผิดเองจริง ต้องขอโทษอย่างจริงใจ และควรระบุแนวทางการแก้ไข ไม่ให้กรณีนี้เกิดขึ้นอีก
ถ้าพนักงานของบริษัทผิดจริง ก็ต้องให้พนักงานคนนั้นขอโทษต่อลูกค้า และถ้าเป็นไปได้ ควรแจ้งลูกค้าว่ามีการลงโทษพนักงานอย่างไร?

N = Non-legal

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่รู้จักกฎหมาย และไม่อยากขึ้นศาล แต่การประกาศจะดำเนินคดีกับผู้โพสต์ ผู้เผยแพร่ข้อความ อาจส่งผลเชิงลบกับบริษัท เพราะผู้บริโภคจะรู้สึกถูกข่มขู่ให้ปิดปาก พวกเขาจะหาวิธีแก้เผ็ดบริษัทในช่องทางต่างๆ

กรณีที่เป็นคู่แข่ง หรือเกรียน มีเจตนาทำลายชื่อเสียงบริษัท บริษัทสามารถสู้ได้ดยการดำเนินคดีแบบเงียบๆไม่ต้องประกาศให้โลกรู้ เพราะเป็นการเรียกแขกโดยใช้เหตุ

T = Tone

ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า แต่ลูกค้าเป็นปีศาจ ทำอย่างไรให้ปีศาจพอใจ ไม่โกรธ ออกฤทธิ์
ตอบกระทู้ให้รู้สึกเจ็บปวดยิ่งกว่าลูกค้า

เราไม่ได้คุยกับลูกค้า สองต่อสอง แต่เรากำลังคุยโดยที่มีไทยมุงจำนวนมากๆ
การเผย ชื่อ สกุล ให้กับลูกค้า ( อาจเป็นทางกระทู้หรือทางหลังไมค์) จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราจริงใจกับเขา ลูกค้าจะรู้ว่าเราคือ contact point สำหรับการติดต่อในอนาคต

I = Influencer

รับมือกับกระทู้ที่มีพลัง Influencer สูง (กระทู้ที่อยากอ่านและอยากโหวตให้ติดกระทู้แนะนำ อยากให้แชร์อ่านเยอะๆ ) อย่างทันถ่วงที

เป็นพันธมิตรกับ Influencer ที่ช่วยให้เรารับมือกับวิกฤตในอนาคต
ทำให้ตัวเองเป็น Influencer ซะเลย (อย่างผู้บริหารแบงค์มาโพสต์ตั้งกระทู้เล่าเคล็ดลับทางการเงินขึ้น Pantip เอง)

P = Policy (ซึ่งเป็นเรื่องทีต้องคุยในองค์กร)

ใครควรเป็นคนแรกที่พบกระทู้ที่พูดถึงบริษัท ? / ใครควรเป็นคนตอบกระทู้ ? / คนตอบกระทู้มีอำนาจในการตัดสินใจแค่ไหน? / ใครเป็นคนรับเรื่อง ส่งต่อไปยังแผนกต่างๆของบริษัท และติดตามเรื่องให้กับลูกค้า ? / มีการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าอย่างไร ?

นี่ก็คือเรื่องราวการจัดการบริหาร ฺBrand Crisis ที่เกิดจากลูกค้าโพสต์กระทู้โจมตีขึ้นบน Pantip ที่แบรนด์ต่างๆจะต้องเตรียมพร้อมรับมือ และแก้ไขสถานการณ์นี้ให้ได้ ซึ่ง 6 ข้อนี้ ถ้าทำได้ จะช่วยรักษาความเชื่อมั่นของแบรนด์ และ แบรนด์ของคุณได้รับความสัมพันธ์ที่ดีบนเว็บบอร์ดด้วย ..



http://ch3.sanook.com/22127/it-24-%E0%B8%8A%E0%B8%A1-digital-marketing-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B5

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เป็นหนี้บัตรเครดิตถูกเชิญไปขึ้นศาล เสียประวัติการทำงานหรือไม่


-http://money.kapook.com/view89782.html-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก decha.com

           เป็นหนี้บัตรเครดิตถูกเชิญไปขึ้นศาล ควรจะทำอย่างไร และจะเสียประวัติการทำงานหรือไม่ อยากรู้มาไขข้อข้องใจกันเลย

           ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมพกพาบัตรเครดิตแทนเงินสด เนื่องจากสามารถใช้จ่ายได้อย่างสะดวกสบายและที่สำคัญยังสามารถสะสมแต้มได้รับของรางวัลมากมาย อ๊ะ ๆ แต่ถ้าหากใช้แบบไม่ยั้งคิดบัตรเครดิตก็อาจหนี้มหาศาลโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ แถมยังต้องขึ้นโรงขึ้นศาลอีกต่างหาก ซึ่งใครที่กำลังประสบปัญหานี้แต่ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร และกังวลว่าจะกระทบกับงานที่ทำหรือไม่ วันนี้เรามีข้อมูลจากเว็บไซต์ decha.com มาไขข้อข้องใจกันค่ะ

           คำถาม : คุณกุ้งขอคำปรึกษาเรื่องบัตรเครดิต ได้รับเอกสารจากบัตรเครดิตให้ไปขึ้นศาล ยอดหนี้ประมาณ 70,000 บาท อยากทราบว่าต้องทำยังไงต่อดีคะ และจะเสียประวัติมีผลกระทบกับงานที่ทำอยู่หรือไม่ จะถูกไล่ออกไหม ถ้ามีการผ่อนชำระหนี้หมดแล้วประวัติเสียจะลบหรือไม่คะ

           คำตอบ :

           1. ต้องดูว่ามีความสามารถในการชำระเงินหรือไม่ ถ้ามีความสามารถในการชำระหนี้ควรไปเจรจาที่ศาล ขอจ่ายงวดเดียวหรือ 2 งวด หรือขอลดยอดหนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อท่าน แต่ถ้าไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ไม่ต้องไปศาลเพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรกับท่าน

           2. การเป็นหนี้ไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว

           3. ประวัติการค้างชำระหนี้มีผลต่อการกู้ยืมเงินในอนาคตแน่นอน และชื่อของท่านอยู่ในเครดิตบูโร เป็นเวลา 3 ปี





คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ภาษีมรดก คืออะไร มาไขข้อข้องใจกันเถอะ


-http://money.kapook.com/view96529.html-




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ภาษีมรดก คืออะไร อัตราภาษีมรดก ที่ต้องถูกเรียกเก็บในกรณีที่ได้รับทรัพย์สินหรือมรดกเป็นอย่างไร เราจะพาไปไขข้อข้องใจกัน

          ข่าวคราวการออก พ.ร.บ.ภาษีมรดก พร้อมเปลี่ยนแปลง อัตราภาษีมรดก ใหม่ อาจทำให้หลายคนที่ไม่คุ้นหูกับภาษีชนิดนี้เริ่มหันมาสนใจและอยากรู้จัก ภาษีมรดก กันมากขึ้น โดยเฉพาะทายาทหรือบุคคลที่มีโอกาสได้รับมรดก วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ ภาษีมรดกและอัตราภาษีมรดก มาให้ทำความเข้าใจกันค่ะ

         ภาษีมรดก คืออะไร

          ภาษีมรดก เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการโอนทรัพย์สินจากพ่อ-แม่ คนในครอบครัว หรือผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เสียชีวิตลง ให้กับทายาทหรือผู้รับมรดก โดยเป็นการเรียกเก็บที่นิยมทำกันในประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อความยุติธรรมในการจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการเสียภาษี หรือเรียกว่าเก็บภาษีตามฐานะ โดยจะคำนวณจากทรัพย์สินในกองมรดกทั้งหมดที่ตกทอดจากผู้เสียชีวิตไปยังทายาทหรือผู้รับมรดก และสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

         ภาษีกองมรดก

          เป็นการรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เสียชีวิตมาประเมินภาษีและชำระตามจำนวนที่ประเมินได้ จากนั้นจึงนำทรัพย์สินตกทอดไปยังทายาทหรือผู้รับมรดก โดยจะเป็นการจัดเก็บแบบอัตราก้าวหน้าตามมูลค่าของกองมรดก ซึ่งมีข้อดีในการจัดเก็บภาษีได้มากและเป็นธรรมตามมูลค่ามรดก แต่มีข้อเสียคือเป็นการจัดเก็บแบบเหมารวม ดังนั้นเมื่อทายาทนำมรดกไปแบ่งกันอาจทำให้คนที่ได้รับมรดกน้อยเสียภาษีเท่ากับคนที่ได้รับมรดกมากกว่า

         ภาษีการรับมรดก

          เป็นการจัดเก็บภาษีหลังการแบ่งมรดก โดยผู้รับมรดกแต่ละคนเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งจะมีอัตราไม่เท่ากันตามจำนวนมรดกที่ได้รับ แต่ลำดับชั้นของสิทธิในการรับมรดก เช่น ผู้รับมรดกแบบพินัยกรรม ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยตรงก็จะเสียภาษีมากกว่าทายาทโดยตรง เป็นต้น สำหรับข้อดีของภาษีชนิดนี้ คือเมื่อแบ่งมรดกออกเป็นส่วน ๆ ให้ทายาทแต่ละคนแล้ว จะมีโอกาสที่ต้องเสียภาษีน้อยกว่า เพราะมีเกณฑ์ขั้นต่ำในการจัดเก็บภาษีมรดก หากจำนวนมรดกที่ได้รับไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ข้อเสียคือภาครัฐจัดเก็บภาษีได้ยาก และการเรียกเก็บเป็นรายคนต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าการเก็บแบบรวม

         ใครต้องเสียภาษีมรดก

          ผู้ที่ต้องเสียภาษีมรดก คือผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดก ซึ่งแบ่งออกเป็น ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม ซึ่งเรียงลำดับได้รับมรดกก่อนและหลังดังนี้

         ทายาทโดยธรรม

          1. ลูกเจ้าของมรดก, ลูกนอกสมรสที่รับรองบุตรแล้ว, ลูกบุญธรรม และคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย

          2. บิดา-มารดาแท้ ๆ ของเจ้าของมรดก

          3. พี่-น้อง ร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน

          4. พี่-น้อง ร่วมบิดา หรือ ร่วมมารดาเดียวกัน

          5. ปู่-ย่า-ตา-ยาย

          6. ลุง-ป้า-น้า-อา

         ผู้รับพินัยกรรม

          คือผู้ที่ถูกกำหนดไว้ว่าให้รับมรดกจากเจ้าของมรดกที่เสียชีวิต หรือสิทธิตามพินัยกรรม ทั้งนี้ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมอาจเป็นคนเดียวกันก็ได้ แตกต่างกันที่ทายาทโดยธรรมต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น

         อัตราภาษีมรดก

          สำหรับ อัตราภาษีมรดก ที่ถูกเรียกเก็บในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2557) จะแบ่งการเสียภาษีออกเป็นขั้นดังนี้

          หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ไม่เสียภาษีมรดก

          หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 4 ปี เสียภาษีมรดก 10% ของมูลค่ารวม

          หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 3 ปี เสียภาษีมรดก 20% ของมูลค่ารวม

          หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 2 ปี เสียภาษีมรดก 30% ของมูลค่ารวม

          หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต น้อยกว่า 2 ปี หรือเสียชีวิตก่อนโอน เสียภาษีมรดก 40% ของมูลค่ารวม

          อัตราภาษีมรดก 2558

          หลังจากมีการหาข้อสรุปในการจัดเก็บภาษีมรดกกันมานาน และกรมสรรพากรได้เสนอให้มีการอนุมัติ พ.ร.บ.ภาษีมรดกใหม่ พร้อมเตรียมผลักดันให้มีการบังคับใช้ในปี 2558 แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปอัตราภาษีมรดกที่แน่ชัด โดยมีเพียงการคาดการณ์ไว้ดังนี้

          เก็บภาษีมรดกจากผู้รับ 5% ของมูลค่าทรัพย์สิน แต่ไม่เกิน 30%

          เก็บภาษีมรดกอัตราเดียว 10% ของมูลค่าทรัพย์สิน และยกเว้นสำหรับมรดกที่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

           เก็บภาษีกองมรดกแบบขั้นบันได ดังนี้

          ทรัพย์มรดกสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาทแรก ไม่เสียภาษีมรดก

          ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท เสียภาษีมรดก 10%

          ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีมรดก 20%

           เก็บภาษีการรับมรดกเป็นขั้นบันได ดังนี้

          ทรัพย์สินสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทแรก ไม่เสียภาษีมรดก

          ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 40 ล้านบาท เสียภาษีมรดก 10%

          ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 40 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีมรดก 20%

          ทั้งนี้เป็นเพียงการคาดเดาอัตราภาษีมรดก ปี 2558 ที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งข้อสรุปจะออกมาเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามความคืบหน้าต่อไป แต่เบื้องต้นคงทำให้หลาย ๆ คนรู้จักกับภาษีมรดกกันมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเตรียมตัวเสียภาษีอย่างถูกต้อง ลองศึกษาข้อมูลภาษีมรดกกันไว้แต่เนิ่น ๆ นะคะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
sanpakornsarn และ เฟซบูีก MP Accounting & Law Office


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สามี หนีหน้าที่ได้หรือ? : คอลัมน์ ฎีกาชีวิต

-http://women.sanook.com/34729/-

คอลัมน์ ฎีกาชีวิต
โดย พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช

 

คู่สมรสอาจเกิดปัญหารุนแรงถึงขั้นแตกหักจนยากจะทนอยู่ร่วมชีวิตกันได้อีกต่อไปทางเลือกที่ไม่อื้อฉาวคือพูดคุยกันเสียก่อนถ้ายอมรับเหตุและผลกันได้ก็ไม่ต้องมีความจำเป็นยื่นคำขาดขอหย่าหรือใช้สิทธิทางศาลชายหรือหญิงฝ่ายใดขาดความซื่อสัตย์ไม่เคารพหน้าที่ที่มีต่อกันจะพบชะตากรรมเดียวกัน

ความซื่อสัตย์ของชีวิตคู่พึงรักษากันไว้ให้มั่นคงคือรากฐานสำคัญของครอบครัวฝ่ายใดไม่ซื่อสัตย์ไม่เคารพหน้าที่คือต้นเหตุแห่งปัญหาจะเป็นผลร้ายแรงต่อชีวิตครอบครัวอาจเกิดจากสามีจะไปติดพันหญิงอื่นภริยาปากร้ายใจดีชอบดูหมิ่นเหยียดหยามสามีเลยเถิดไปถึงบุพการี หรือเข้าบ่อนติดการพนัน เป็นอาทิ

เพียงแต่ว่าถ้าฝ่ายใดพอมีสติกันอยู่บ้างอาจเตือนสติฝ่ายก่อเหตุให้รีบแก้ไขเสียและขอให้คิดถึงความรักความดีงามการเสียสละและชีวิตของลูกๆซึ่งกำลังเติบใหญ่มีพ่อแม่อยู่กันพร้อมหน้าปัญหาใดเข้ามาก็แก้ไขกันได้ถ้าพ่อแม่แยกกันอยู่เพราะหย่ากันแล้วจะเกิดผลร้ายตามมาต่ออนาคตของลูกได้

เมื่อมีเหตุจะเชื่อเช่นนั้นก่อนหย่าให้แยกกันอยู่กันชั่วคราวจะด้วยวาจาหรือจะเป็นลายลักษณ์อักษรให้รีบทำเถิดเพื่อให้โอกาสคนก่อเหตุมีเวลาแก้ไขปัญหาก่อนที่จะตัดสินใจหย่ากัน

ข้อตกลงแยกกันอยู่สามีอยู่บ้านหนึ่งภริยาอยู่อีกบ้านหนึ่งถือว่ามีผลบังคับกันได้ไม่ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมายแต่สิ่งที่ต้องตระหนักทั้งสามีภริยาต่างมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูต่อกันอย่าลืม..แกล้งลืม...

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา(ยังไม่ได้มีการหย่า) ต่างต้องอยู่กินด้วยกัน (อาจแยกกันอยู่ชั่วคราวได้) ต่างต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน (มาตรา 1461) ค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงผูกพันเสมือนหนึ่งเงาตามตัวทั้งสามีและภริยาไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อกันได้

สิ่งที่คู่สมรสควรตระหนักไว้ว่า "ตราบใดที่การสมรสไม่สิ้นสุดลงด้วยความตายก็ดี การหย่าก็ดี หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสก็ดี สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันไป"

เพราะถือว่าสามีภริยาคู่นั้นยังไม่หย่าขาดจากกันตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา1501ต่างต้องมีหน้าที่ต่อกันจนกว่าจะหย่า(ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 2627/2530)

มีหลายกรณีเกิดขึ้นในศาลขณะที่สามีภริยาแยกกันอยู่ชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาที่ยังไม่ลงตัวระหว่างนั้นเกิดปัญหาตามมาถึงขั้นมีการฟ้องร้องต่อศาลและสู้คดีกันถึงสามศาลจึงขอนำมาเป็นตัวอย่างเทียบเคียงกับชีวิตจริงดั่งอุทาหรณ์สองเรื่องอ่านแล้วจะรู้เข้าใจถึงหน้าที่ของสามีภริยาที่มีต่อกัน

ศาลพิพากษาให้สามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูภริยาเป็นรายเดือนเหตุเพราะโจทก์หรือสามีมีฐานะดีกว่าจำเลยคือภริยา(คำพิพากษาฎีกาที่3822/2534) หรือ

ภริยาสมัครใจแยกกันอยู่กับสามีชั่วคราวทั้งๆ ที่เธอไม่ได้เป็นฝ่ายก่อเหตุสร้างปัญหา เธอกระทำด้วยความสุจริตใจแม้ใจจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม ภริยาอาจอยู่ในฐานะพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่งหลังแต่งงานถูกสามีขอร้องให้ออกจากงานมาทำหน้าที่ดูแลบ้านเรือนและรับภาระเลี้ยงลูก

ครั้นมีเหตุแห่งปัญหาสามีอาจไปติดพันหญิงอื่นหรือเหตุใดก็ช่างเถอะแต่จำต้องแยกกันอยู่ชั่วคราวหลังจากนั้นสามีปฏิเสธจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูทั้งๆ ที่มีความสามารถอุปการะเลี้ยงดูภริยาได้

คิดว่าแยกกันอยู่ชั่วคราวตัวใครตัวมันหาได้ไม่ ความรับผิดชอบยังติดตามตัวสามี

สามีมีงานการทำเป็นปึกแผ่นมีรายได้แน่นอนเป็นรายเดือนหรือมีอาชีพค้าขายก็ได้ครั้นเกิดปัญหาไม่อาจลงตัวอาศัยเวลาช่วยคลี่คลายแก้ไขเหตุสามีจะปฏิบัติกับภริยาตนเองเสมือนหนึ่งเธอมีรายได้จากงานประจำแต่ความเป็นจริงเธอทำหน้าที่เป็นแม่บ้านมีหน้าที่ต้องเลี้ยงลูกและไม่มีรายได้เหมือนก่อน

ไม่ใช่สิ่งถูกต้องยุติธรรมกับภริยาและแม่ของลูก สภาพความเป็นจริงบังคับให้เธอไปหยิบยืมเงินคนอื่นได้นานเท่าใดกัน สามีอยู่ใกล้ชิดรู้อยู่แก่ใจดีกว่าคนนอกและควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ยกมากล่าวไว้ว่าเธอยังอยู่ในสถานะของภริยาและสามีจะปฏิเสธหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูภริยาได้อย่างไรกัน

หน้าที่ของสามีที่ดีต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบเสมอ

เรื่องทำนองนี้หากมีคดีขึ้นสู่ศาล คิดหรือว่าชายผู้เป็นสามีจะหนีหน้าที่ที่มีต่อภริยาได้กระนั้นหรือ? คำตอบคือไม่อาจหนีพ้นความรับผิดชอบต่อภริยาได้ครับ (ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 5627/2530)

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
คดีแพรวา 9 ศพ ไขภาษากฎหมายจากคำพิพากษา

-http://news.sanook.com/1794570/-


นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

ย้อนรอยคดีแพรวาสาวซีวิค 9 ศพ และไขภาษากฎหมายจากคำพิพากษาล่าสุดจากศาลฎีกา

ทันทีที่มีข่าวออกมาว่าศาลฎีกาไม่รับคำฟ้องในคดีสาวซีวิค 9 ศพ โลกโซเชียลก็เดือดยิ่งกว่าอุณหภูมิในบ้านเรา หลายๆ คนออกมาแสดงความไม่พอใจ บวกกับกระแสสังคมที่มีต่อเรื่องนี้ แม้แต่ศาลก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปด้วย

แต่เดี๋ยวก่อน...การไม่รับฟ้องในครั้งนี้คืออะไร และจะมีผลอย่างไรต่อคดีนี้ นั่นคือสิ่งที่หลายๆ คนอาจจะยังสงสัย ด้วยความกำกวมในภาษาข่าวและภาษากฎหมาย

หากจะคลายความสงสัยในเรื่องนี้ เราคงต้องไปถามผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอย่าง ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ (@tanaiwirat)

ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปตั้งแต่คำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อปี 2555 ซึ่งเป็นการพิพากษาด่านแรกของคดีดังแห่งปีที่สังคมจับตามอง

คำพิพากษาในตอนนั้นคือ จำเลยมีความผิดฐานขับขี่รถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อคดี จึงลดโทษให้ 1 ใน 3 คือลงโทษจำคุก 2 ปี โดยให้รอลงอาญาเป็นเวลา 3 ปี พร้อมสั่งคุมประพฤติจำเลย 3 ปี และห้ามขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์

สังคมจึงตั้งคำถามว่าทำไมโทษมันช่างเบาบางเสียเหลือเกินเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คดีความนี้ก็ได้ยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยการยื่นอุทธรณ์จากทั้ง 2 ฝ่าย

ฝ่ายโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษ พร้อมทั้งดำเนินการฟ้องร้องในทางแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายไปด้วย

ในขณะที่ฝ่ายจำเลยต้องการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาจากศาลชั้นต้น โดยต้องการจะยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเองและไม่ใช่การขับขี่โดยประมาท

ศาลอุทธรณ์ยังคงยืนยันตามศาลชั้นต้น คือจำเลยมีความผิดฐานขับขี่รถยนต์โดยประมาท ตัดสินให้เพิ่มระยะเวลาการรอลงอาญาเป็น 4 ปี และบำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมง เป็นเวลารวม 4 ปี ส่วนโทษอื่นๆ ให้คงตามศาลชั้นต้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ฝ่ายจำเลยต้องการ

ดังนั้น ฝ่ายจำเลยจึงได้ยื่นคำร้องต่อไปในชั้นศาลฎีกา เพื่อพิสูจน์ว่าสาวซีวิคไม่ได้ขับรถโดยประมาท

จากข่าวล่าสุด ชัดเจนแล้วว่าศาลฎีกาไม่รับคำร้องของฝ่ายจำเลย ซึ่งถ้าจะต้องแปลไทยเป็นไทย ก็ขอสรุปง่ายๆ ว่าคำพิพากษายังมีผลคงเดิม คือสาวซีวิคมีความผิดฐานขับขี่รถยนต์โดยประมาท บทลงโทษที่ได้รับก็ยังคงเดิมไว้ดังที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไปก่อนหน้านี้ และยังส่งผลให้คดีทางแพ่งสามารถเดินหน้าต่อไปได้

ในแง่มุมของนักกฎหมาย คำสั่งของศาลฎีกาในลักษณะนี้อาจจะดูมีประโยชน์ต่อทางผู้เสียหายหรือฝ่ายโจทก์ แต่ที่จะมองข้ามไปไม่ได้ก็คือ การที่ฝ่ายจำเลยพยายามยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาอาจเป็นการยืดเวลาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายออกไป เนื่องจากต้องหยุดกระบวนการทางแพ่งไว้ชั่วคราว เพื่อรอคำตัดสินทางอาญา

นับตั้งแต่วันแรกที่เกิดอุบัติเหตุจนถึงวันนี้ จะเห็นว่าฝ่ายจำเลยจะให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหามาโดยตลอด แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาว่าเธอมีความผิด ประเด็นในการต่อสู้คดีของสาวซีวิคก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น "ประมาท" หรือ "ไม่ประมาท"

ทำไมประเด็นนี้จึงมีความสำคัญ?

เพราะคดีนี้ไม่ได้มีแค่ความผิดในทางอาญา ฝ่ายโจทก์ก็ได้มีการฟ้องร้องทางแพ่ง โดยเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินถึง 120 ล้านบาท โดยคดีจะเข้าสู่กระบวนการทางแพ่งได้ก็ต่อเมื่อคดีทางอาญาสิ้นสุดลง ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ ศาลแพ่งจะยึดคำพิพากษาของศาลอาญาเป็นหลัก

แนวทางการตัดสินในศาลแพ่งจึงไม่ได้อยู่ที่ผิดหรือไม่ผิด เพราะตัดสินไปแล้วด้วยศาลอาญา หากแต่อยู่ที่ "จะจ่ายค่าเสียหายอย่างไร" มากกว่า

เนื่องจากในตอนที่เกิดเหตุ จำเลยยังเป็นเยาวชน การเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งจึงไปตกอยู่กับผู้ปกครอง ในฐานะที่เป็นผู้อบรมเลี้ยงดู หรือในอีกทางหนึ่ง ศาลก็สามารถเรียกค่าเสียหายกับจำเลย (สาวซีวิค) ได้โดยตรง ซึ่งก็จะเป็นเรื่องของการบังคับคดีในลำดับถัดไป

ดังนั้น ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะได้รับการชดเชย (แต่จะช้าหรือเร็วก็เป็นอีกเรื่องนึง)
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)