อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
sithiphong:
กรดไหลย้อน ไม่เล็กอย่างที่คิด
-http://campus.sanook.com/1372705/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94/-
คอลัมน์ เปิดโลกสุขภาพ
โดย นพ. พูนศักดิ์ ชื่นเจริญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก แผนก ตา หู คอ จมูก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
กรดไหลย้อน เป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบน ทำให้เกิดอาการจากการระคายเคืองจากกรด ส่งผลให้หลอดอาหารอักเสบทั้งมีแผลและไม่เกิดแผล ในรายที่กรดไหลย้อนขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน อาจทำให้เกิดอาการนอกหลอดอาหาร โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โรคกรดไหลย้อนธรรมดา เป็นกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาอยู่ภายในหลอดอาหาร ไม่ไกลย้อนเกินกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารนส่วนบน ส่วนใหญ่จะมีอาการของหลอดอาหารเท่านั้น กับ โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของคอและกล่องเสียง จากการระคายเคืองของกรด
อาการของโรคกรดไหลย้อน
1. ทางคอหอยและหลอดอาหาร มีอาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปถึงคอรู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ แน่นคอ กลืนลำบาก รู้สึกเจ็บขณะกลืน กลืนติดๆขัดๆคล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ เจ็บ-แสบคอหรือลิ้น โดยเฉพาะในตอนเช้า รู้สึกมีรสขมของน้ำดีหรือรสเปลี่ยนของกรดในคอหรือปาก มีเสบหะอยู่ในลำคอหรือระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้คล้ายมีอาหารหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอกหรือคอ รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย มีน้ำลายมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้
2.ทางกล่องเสียงและหลอดลม มีอาการ เสียงแหบเรื้อรัง หรือ แหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม มีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารหรือขณะนอน ไอหรือรู้สึกสำลักน้ำลาย หายใจไม่ออกเวลากลางคืน กระแอมไอบ่อย ถ้ามีอาการหอบหืดที่เป็นอยู่(ถ้ามี) แย่ลงหรือไม่ดีขึ้นแม้ใช้ยา เจ็บหน้าอก เป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆหายๆ
3. ทางจมูก และหู มีอาการคัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือมีน้ำมูก หรือเสมหะไหลลงคอ หูอื้อเป็นๆ หายๆ หรือปวดหู หากแพทย์สงสัยว่าอาจมีโรคกรดไหลย้อน นอกจากการซักประวัติแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกายทางหู คอ จมูก และบริเวณท้องอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคกรดไหลย้อน อาจจะทดลองให้ยาลดกรดชนิด proton pump inhibitor (PPI) เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วสอบถามอาการหลังจากที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ ถ้าอาการดังกล่าว ดีขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 อาจแสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อน อีกวิธีคือ ส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วน หรือ ส่งตรวจวัดค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) ในหลอดอาหารและคอหอยส่วนล่าง
การรักษาโรคกรดไหลย้อน
1.ปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงความเครียด บุหรี่ ควันบุหรี่ เลี่ยงสวมเสื้อผ้าที่คับหรือรัดแน่นเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบ หลีกเลี่ยงการนอนราบ หลังรับประทานอาหารทันที ดื่มน้ำมากๆ รับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากให้มากขึ้น ออกกำลังกายแบบแอโรบิกสม่ำเสมอ
2. รับประทานยา เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และ/หรือ เพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรด ปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม proton pump inhibitor (PPI) เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง ต้องใช้ขนาดยา PPI ในการรักษามากกว่าโรคกรดไหลย้อนธรรมดา ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยา หรือ หยุดยาเอง
3. การผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่ หลอดอาหาร คอและกล่องเสียง การรักษาวิธีนี้จะทำใน ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รักษาไม่หายด้วยยา ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาได้
ที่มา:Hospital Healthcare วันที่ 04 สิงหาคม พ.ศ. 2557
sithiphong:
” ยาปฏิชีวนะ ” ยาอันตราย..ห้ามซื้อกินเอง
หลายคนอาจคิดว่า การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็ไปซื้อยามากินเองได้ สะดวกและง่ายดี แต่แท้จริงแล้วหากเราใช้ยาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญดูแล เช่น แพทย์ เภสัชกร ดูให้ ยาที่เราซื้อมากินเองนั้น ก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น แพ้ยา ดื้อยา หรือเสียชีวิตได้
-http://club.sanook.com/41939/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B0-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AB%E0%B9%89/-
องค์การเภสัชกรรม ได้ออกเตือนคนไทย ที่ชอบนิยมซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง และซื้อมากินบ่อยจะเกินความจำเป็น ซึ่งอาจจะเสี่ยงต่อการดื้อยาสูง และแพ้ยาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มยาปฏิชีวนะเข้าสู่ร่างกายโดยเปล่าประโยชน์ โรคที่เป็นอยู่ก็ไม่หาย ซึ่งองค์การเภสัชกรรมแนะนำว่าต้องกินยาอย่างถูกวิธี ต่อเนื่องจนครบและซึ้อยาจากร้านที่มีเภสัชประจำร้านดูแล และสามารถให้คำแนะนำการใช้ยาเท่านั้น
เกสัชกรหญิงนิภาพร ชาตะวิริยะพันธ์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เผยว่า จากผลการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประชาชนไทยนิยมซื้อยามากินเอง ถึงร้อยละ 15 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยกินยาปฏิชีวนะมากถึง 20% ของยาทั้งหมด การใช้ยาปฏิชีวนะของคนไทยในปัจจุบันนี้พบว่านิยมซื้อยากินเองจากร้านขายยาใกล้บ้าน เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงการไปพบแพทย์ และผู้ป่วยเองก็สามารถหาซื้อยาปฏิชีวนะได้ง่าย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติยาได้กำหนดไว้ว่า **ยาปฏิชีวนะถือเป็นยาอันตรายที่จะจำหน่ายได้เฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันภายใต้การควบคุมของเภสัชกรและเป็นผู้จ่ายยาให้เท่านั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ทราบถึงความจำเป็นในการใช้ยา หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง อาจเป็นเพราะไม่ได้รับคำแนะนำหรือการซักถามอาการเบื้องต้นจากเภสัชประจำร้านยา เนื่องจากไม่มีเภสัชกรประจำร้านในขณะที่ซื้อยาหรือไม่มีเภสัชกรประจำร้านยานั้นๆ อยู่เลย
รองผู้อำนวยการ กล่าวต่อไปว่า ถ้าผู้ป่วยกินไม่ถูกต้องหรือไม่ครบตามขนาดและจำนวนที่กำหนดได้ จะส่งผลทำให้มีเชื้อแบคทีเรียหลงเหลืออยู่และเพิ่มจำนวนขึ้นจนกลับมาเป็นใหม่ได้ ส่งผลให้เชื้อดื้อยาได้ จนทำให้ต้องกินยาที่มีความแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายอาจจะไม่มียาชนิดใดฆ่าหรือต้านเชื้อได้ และที่อันตรายที่สุดของยาปฏิชีวนะคือการแพ้ยา **อาการแพ้ยาที่พบผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจติดขัด บางรายอาจเกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังถึงขึ้นรุนแรงหรือที่เรียกว่า สตีเว้น จอนสัน ซินโดรม (Stevens-Johnson Syndrome) ซึ่งถ้าส่งแพทย์ทำการรักษาไม่ทันอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ยาปฏิชีวนะเป็นที่ใช้ยับยั้ง ฆ่า และหรือต้านทานเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันมีอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน อาทิ ยากลุ่มเพนิซิลลิน ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ เตตราไซคลีน หรือยากลุ่มซัลฟา เป็นต้น หลักสำคัญของการใช้ยาปฏิชีวนะ คือ ต้องมีการคัดกรองประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย และต้องเลือกใช้ยาให้เหมาะสม ตรงกับชนิดของโรคที่จะรักษา เช่น กรณีที่ป่วยเป็นไข้หวัด มีอาการปวดหัว ตัวร้อน น้ำมูกไหล และเจ็บคอ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักคิดว่าคออักเสบติดเชื้อ แล้วไปหาซื้อยาแก้อักเสบมากินเอง แต่การกินยาแก้อักเสบนี้กลับเป็นการเพิ่มยาปฏิชีวนะเข้าสู่ร่างกายโดยเปล่าประโยชน์ เพราะการเจ็บคอจากไข้หวัดนั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไม่ใช่เชื้อแบคทีเรียอย่างที่สรรพคุณยาสามารถฆ่าเชื้อได้ ต่างจากอาการเจ็บคอที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อาทิ โรคทอนซิลอักเสบเป็นหนอง มีเสมหะสีเขียวข้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
ดังนั้นหากคิดจะใช้ยาปฏิชีวนะ ทางที่ดีก็ควรจะปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยากินเองอย่างพร่ำเพรื่อ ที่สำคัญถ้าจำเป็นจะต้องซื้อยาปฏิชีวนะกินเองควรซื้อยาจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำร้านคอยให้คำแนะนำต่างๆแก่ท่าน นอกจากนั้นเภสัชกรจะยังทำหน้าที่ช่วยคัดกรองผู้ป่วยในกรณีที่เห็นว่าไม่สามารถรักษาอาการเบื้องต้นได้ เภสัชกร จะส่งผู้ป่วยให้แพทย์ทำการรักษาต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูล จาก องค์การเภสัชกรรม
ภาพประกอบ จาก Photostocks.com
sithiphong:
11 สูตรอัศจรรย์ใกล้ตัวรักษาแผลน้ำร้อนลวก ผิวไหม้
-http://health.kapook.com/view94570.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เตารีดทาบ รักษาอย่างไรดี ลองมาดู 11 วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยรักษาแผลให้หายได้ในเวลาอันรวดเร็ว
แผลที่เกิดจากการโดนเผาไหม้หรือน้ำร้อนลวกนั้นเป็นแผลที่สร้างความเจ็บปวดมากและเป็นเวลานาน ซ้ำยังมีอาการอักเสบตามมาด้วย ซึ่งหลายคนเชื่อว่าการใช้ของเย็นในการรักษาแผลเบื้องต้นจะช่วยทำให้บรรเทาอากาศเจ็บปวดได้ แต่การใช้ของเย็นในการรักษาแผลโดนเผาไหม้นั้นไม่ใช่ว่าจะทำให้อาการดีขึ้นเสมอไป เพราะการใช้น้ำแข็งหรือของน้ำเย็นนั้นก็ต้องใช้เวลานานกว่าแผลนั้นจะเย็นลง
วันนี้กระปุกดอทคอมจึงนำข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับสูตรสำหรับการแผลที่เกิดจากการเผาไหม้ซึ่งสามารถช่วยรักษาให้หายได้ไวและได้ผลอย่างน่าอัศจรรย์ จาก Reader's Digest มาแนะนำกันค่ะ เผื่อว่าคราวหน้าเราเจอใครโดนน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้จะได้รักษากันได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้างที่ช่วยในการรักษาได้
11 สูตรอัศจรรย์ใกล้ตัวรักษาแผลน้ำร้อนลวก ผิวไหม้
ว่านหางจระเข้ดีกว่าน้ำแข็ง
น้ำแข็งสามารถหยุดการไหลเวียนของเลือดและความเสียหายของเนื้อเยื่อที่บริเวณผิวหนังได้ก็จริง แต่ว่าก็ต้องใช้เวลานานอย่างน้อย 20 นาที ถึงจะด้ผล ดังนั้นแทนที่จะใช้น้ำแข็งที่ได้ผลช้ากว่า เราควรใช้ว่านหางจระเข้ ซึ่งเป็นพืชสามัญประจำบ้านที่แทบทุกบ้านต้องมีจะดีกว่า
เป็นที่รู้กันดีว่า การใช้ว่านหางจระเข้นั้นจะช่วยหยุดอาการเจ็บปวดจากการเผาไหม้ ช่วยลดอาการอักเสบและช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมและเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและผิวหนัง
ยาสีฟัน
เมื่อเราไปสัมผัสกับอะไรร้อน ๆ โดยไม่ได้สวมอะไรป้องกันก็อาจจะทำให้เกิดอาการโดนลวกได้ ซึ่งบางทีแผลก็ไม่ใหญ่นัก ยาสีฟันที่เรามักจะใช้อยู่ในห้องน้ำนั่นล่ะสามารถจะช่วยบรรเทาอาการโดนลวกเล็กน้อยนี้ได้ โดยเริ่มจากการล้างแผลด้วยน้ำเย็นแล้วค่อย ๆ ใช้ผ้าซับจากนั้นก็นำยาสีฟันป้ายลงบนบาดแผล ก็จะทำให้แผลลดการอักเสบและหายเร็วขึ้น
วนิลา
การใช้สารวนิลาสกัดในการรักษาแผลเผาไหม้นั่นเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลอีกวิธีหนึ่ง เพราะการใช้สารวนิลาสกัดทาลงไปเบา ๆ บนแผลนั้น แอลกอฮอล์ที่อยู่ในสารวนิลาสกัดจะช่วยให้แผลเผาไหม้นั้นเย็นลงและบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
ถุงชา
ชาดำมีส่วนประกอบของกรดแทนนินซึ่งจะช่วยลดความร้อนจากเผาไหม้และช่วยให้บรรเทาอาการเจ็บปวดได้ โดยใช้ถุงชาดำที่เย็นและเปียกประคบลงแผลที่ถูกเผาไหม้ซึ่งปิดด้วยผ้ากอซ ก็จะทำให้บรรเทาอาการได้
น้ำส้มสายชู
กรดอะซิติกที่อยู่ในน้ำสมสายชูนั้นเป็นส่วนประกอบของยาแอสไพรินที่ช่วยบรรเทาอาการปวด คัน และการอักเสบที่เกิดจากการเผาไหม้ นอกจากนี้ยังเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อและช่วยป้องกันไม่ให้แผลที่ถูกเผาไหม้ติดเชื้อด้วย ดังนั้น หากใครเผลอไปถูกน้ำร้อนลวกหรือมีแผลไฟไหม้ ให้หาน้ำส้มสายชูมาใช้ได้เลย จะช่วยลดความร้อนของแผลเผาไหม้ได้ด้วยค่ะ
น้ำผึ้ง
น้ำผึ้งเป็นหนึ่งในยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้ป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ น้ำผึ้งมีค่า pH อยู่ในระดับที่ไม่เอื้ออำนวยต่อแบคทีเรีย ซึ่งการใช้เพียงครั้งเดียวก็สามารถช่วยกำจัดแบคทีเรียที่อยู่บนแผลได้หมด นอกจากนี้ น้ำผึ้งยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและรักษาแผลได้อีกด้วย
นมสด
เชื่อหรือไม่ว่านมสามารถช่วยในการบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนและการรักษาแผลที่ถูกเผาไหม้ได้ เนื่องจากในนมนั้นมีปริมาณของไขมันและโปรตีนสูง เพียงแช่เแผลลงในนมสด 15 นาที ก็จะทำให้อาการเจ็บปวดทุเลาลงได้ หรือจะใช้โยเกิร์ต ก็สามารถช่วยทำให้แผลเย็นขึ้นและช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้นได้เช่นกัน
ข้าวโอ๊ต
ข้าวโอ๊ตมีสรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบได้ โดยเฉพาะในช่วงที่แผลจากไฟไหม้นั้นกำลังอยู่ในช่วงการรักษา อาจจะทำให้คุณรู้สึกอยากจะเกาที่แผล เพียงแค่นำข้าวโอ๊ตผสมกับน้ำแล้วแช่แผลลงในน้ำที่ผสมกับข้าวโอ๊ตประมาณ 20 นาที ข้าวโอ๊ตจะช่วยเคลือบบริเวณแผลเอาไว้ทำให้ความรู้สึกคันลดลง แต่ถ้าต้องการบรรเทาอาการแสบของแผลก็เพียงผสมเบกกิ้งโซดาลงไปด้วย ก็จะทำให้อาการแสบลดลง
น้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าวนั้นอุดมไปด้วยวิตามินอีและยังมีกรดไขมันซึ่งช่วยในการป้องกันบาดแผลจากเชื้อราและแบคทีเรียได้อีกด้วย แผลจากการเผาไหม้นั้นจะทำให้เกิดแผลเป็นน่าเกลียด
วิธีการรักษาแผลเป็นเหล่านั้นก็เพียงผสมน้ำมะนาวกับน้ำมันมะพร้าวแล้วนำมานวดบริเวณที่เป็นแปลเป็น กรดจากมะนาวจะช่วยทำให้แผลนิ่มลงและน้ำมันมะพร้าวจะช่วยรักษาให้แผลจางลงได้
น้ำมันจากดอกลาเวนเดอร์
นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบอำนาจในการรักษาของน้ำมันจากดอกลาเวนเดอร์ในช่วงต้นศตวรรษ 1900 เมื่อมือของเขาเกิดการเผาไหม้อย่างรุนแรงภายในห้องทดลอง เขาได้นำมือจุ่มลงไปในน้ำมันหอมระเหยจากดอกลาเวนเดอร์ และพบว่าแผลเหล่านั้นได้หายอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น ถ้าใครมีแผลลักษณะนี้ก็ลองผสมน้ำมันจากดอกลาเวนเดอร์ 1 ช้อนชากับน้ำสะอาด 2 ออนซ์ จากนั้นเทใส่ขวดสเปรย์ ซึ่งสามารถพ่นได้ลงบนแผลได้บ่อย ๆ ตามที่ต้องการ หรือจะใช้น้ำมันจากต้นชาและต้นฮาเซลนัทก็สามารถช่วยรักษาแผลเผาไหม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ได้เช่นกัน
วิตามินซี และวิตามินอี
วิตามินซีมีคุณสมบัติใช่วยรักษาอาการบาดแผลและช่วยในการสร้างคอลลาเจนส่วนวิตามินอีก็มีคุณสมบัติในการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยซ่อมแซมและปกป้องผิวได้
ดังนั้นถ้าหากอยากให้แผลหายเร็วเราสามารถนำวิตามินซี วิตามินอี ที่เป็นอาหารเสริมนั้นมารักษาแผลได้ โดยใช้วิตามินซีปริมาณ 2,000 มิลลิกรัม และวิตามินอี 1,000 ยูนิต ทั้งนี้ ควรจะใช้หลังจากเกิดแผลประมาณ 1 สัปดาห์ จะทำให้แผลหายเร็วขึ้นและไม่เกิดแผลเป็นอีกด้วย
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีหลากหลายวิธีในการช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและรักษาแผลที่เกิดจากการเผาไหม้ได้ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดนั่นคือความสะอาด หากบาดแผลเราไม่สะอาดพอก็อาจเกิดการติดเชื้อได้ ดังนั้นเราควรจะรักษาความสะอาดของแผลและหลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลบ่อย ๆ จะดีที่สุดนะคะ
sithiphong:
ขิง ประโยชน์และโทษที่คุณอาจคาดไม่ถึง
-http://health.kapook.com/view95236.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ประโยชน์ของขิงมีมากมาย แต่ก็มีข้อที่ควรระวังเช่นกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่ว่าเราจะนำไปใช้อย่างไร ลองมาดูข้อมูลกันเลย
แม้ว่าขิงจะเป็นสมุนไพรที่สามารถใช้ทำอาหารและมีสรรพคุณในการรักษาโรค แม้ว่าขิงจะมีกลิ่นฉุนและมีรสชาติเผ็ดร้อน เลยทำให้ไม่ถูกปากหลายคนนั้น แต่ขิงก็เป็นสมุนไพรที่สามารถใช้ทำอาหารและมีสรรพคุณรักษาโรค.... อย่างที่เว็บไซต์ Reader's Digest ได้บอกเอาไว้ค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่าสมุนไพรดี ๆ อย่างขิงนั้นมีประโยชน์และโทษอะไรที่เราคาดไม่ถึงบ้าง
ประโยชน์ของขิง
ลดอาการท้องอืด
หากคุณรู้สึกท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อยให้จิบชาน้ำขิงหรือกินขิงสดจะทำให้คุณรู้ดีขึ้น หรือถ้าหากคุณเกิดอาการท้องอืดจากการกินถั่วละก็ คราวหน้าลองฝานถั่วบาง ๆ ลงไปในอาหารที่มีถั่ว นั่นก็จะช่วยลดอาหารท้องอืดได้เช่นกันค่ะ เพราะขิงนั้นเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน สามารถช่วยขับลม และกระตุ้นการทำงานของลำไส้ทำให้ อาการท้องอืดบรรเทาลงได้
ช่วยบรรเทาอาการไมเกรน
จากการศึกษาพบว่า การรับประทานขิงตอนที่อาการไมเกรนใกล้กำเริบนั้น จะช่วยทำให้ความเจ็บปวดจากอาการไมเกรนลดลงได้ เพราะขิงจะไปช่วยสกัดการฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอื่น แสดงให้เห็นอีกว่าขิงสามารถช่วยรักษาอาการไขข้ออักเสบ โดยพบว่าผู้ที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมหรือโรครูมาตอยด์มีอาการลดลงเมื่อบริโภคขิงผงเป็นประจำทุกวัน
ช่วยป้องกันมะเร็ง
ขิงมีคุณสมบัติในการช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็ง โดยมีการศึกษาพบว่าขิงช่วยทำให้เซลล์มะเร็งภายในรังไข่ตาย เพราะในขิงมีสารเคมีธรรมชาติที่ไปช่วยกระตุ้นเอนไซม์กลูตาไธโน-เอส-ทรานสเฟอรเรส ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีขิงเป็นส่วนประกอบยังช่วยลดอาการอักเสบในลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้
ขิงสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้ โดยชาวเอเชียนั้นมักจะใช้ขิงในการช่วยบรรเทาอาการเมารถ หรือเมาเรือ นอกจากนี้ยังมีหลายการศึกษาพบว่าขิงสามารถช่วยป้องกันและบรรเทาอาการอาเจียนหลังจากการผ่าตัดและยังช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับเคมีบำบัดได้อีกด้วย
ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
มีการศึกษาใหม่พบว่า ขิงผงนั้นสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานขิงร่วมกับยา เพราะขิงอาจทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้รักษาได้ และควรติดตามผลระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิด เพราะหากรับประทานขิงมากเกินไปก็อาจจะทำให้ระดับอินซูลินลดลงมากเกินไปจนอยู่ในขีดอันตรายได้
ข้อควรระวังในการทานขิง
อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ได้
มีบางการศึกษาพบว่าขิงมีความเชื่อมโยงกับภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์และการแท้ง แต่ในการตั้งครรภ์รายอื่น ๆ นั้นไม่พบว่าการรับประทานขิงจะทำให้เกิดอาการเหล่านั้นขึ้น แถมยังช่วยลดอาการคลื่นไส้จากการแพ้ท้องได้อีกด้วย ดังนั้นคุณควรไปปรึกษาแพทย์ก่อนจะที่ใช้ขิงในการรักษาอาการแพ้ท้องด้วยตนเองค่ะ
ทำให้เกิดแผลร้อนในภายในปากได้
ขิงเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ถ้าหากรับประทานเข้าไปในปริมาณที่มากก็จะสามารถเยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนเป็นอาการร้อนในได้ ดังนั้นไม่ควรรับประทานขิงมากจนเกินไปค่ะ
ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด
การศึกษาหนึ่งในออสเตรเลียพบว่า ขิงนั้นมีสรรพคุณในการต้านการแข็งตัวของเลือดมากกว่ายาแอสไพริน สถาบันสุขภาพของออสเตรเลียได้ออกคำเตือนให้งดการรับประทานขิงในขณะที่ใช้ยาละ]ายลิ่มเลือดเพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอาการห้อเลือดหรืออาการเลือดออกได้ ดังนั้นถ้าหากคุณมีอาการเลือดออกผิดปกติหรือกำลังใช้ยาละลายลิ่มเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิงค่ะ
เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว หวังว่าหลาย ๆ คน ที่กำลังคิดจะใช้ขิงช่วยบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ ก็คงจะต้องระมัดระวังตัวมากขึ้นนะคะ เพราะบางทีถ้าหากเราใช้ขิงในการรักษาโรคหนึ่งแต่ก็อาจจะไปช่วยกระตุ้นให้อีกโรคนั้นอาการกำเริบได้ ดังนั้นควรจะรับประทานขิงอย่างระมัดระวัง แต่ถ้าหากไม่มั่นใจล่ะก็ ไปปรึกษาแพทย์ดีกว่านะคะ
sithiphong:
โรคไวรัสอีโบลา Ebola คืออะไร
-http://guru.sanook.com/27269/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B2/-
โรคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของมนุษย์ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา เริ่มมีอาการสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสกับไวรัส โดยมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ จากนั้นมีคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับและไตลดลง เมื่อถึงจุดนี้ บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก
ประชากรรับโรคนี้ครั้งแรกเมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับเลือดหรือของเหลวร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้ เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ ผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคได้ทางเพศสัมพันธ์เป็นเวลาเกือบสองเดือน ในการวินิจฉัย ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออก เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรคและไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ จากนั้น อาจทดสอบเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัส ดีเอ็นเอของไวรัส หรือตัวไวรัสเองเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคจากลิงและหมูที่ติดเชื้อสู่คน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และฆ่าและจัดการกับซากอย่างเหมาะสมหากพบโรค การปรุงเนื้อสัตว์และสวมเสื้อผ้าป้องกันอย่างเหมาะสมเมื่อจัดการกับเนื้อสัตว์อาจช่วยได้ เช่นเดียวกับสวมเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ตัวอย่างจากผู้ป่วยควรจัดการด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้น
ไม่มีการรักษาไวรัสอย่างจำเพาะโดยความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยมีการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ โรคนี้มีอัตราตายสูง โดยอาจถึง 90% ตรงแบบเกิดในการระบาดในเขตร้อนแอฟริกาใต้สะฮารา ระหว่างปี 2519 ซึ่งมีการระบุโรคครั้งแรก และปี 2555 มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 คนต่อปี มีการระบุโรคนี้ครั้งแรกในประเทศซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แม้จะมีความพยายามพัฒนาวัคซีนอยู่ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีวัคซีน
ศัพท์มูลวิทยาของ โรคไวรัสอีโบลา Ebola
ไวรัสชนิดนี้ได้ชื่อมาจากพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอีโบลา ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทวีปแอฟริกา (ชื่อประเทศเดิมคือ ซาอีร์) ซึ่งอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่โรคนี้ระบาดครั้งแรก
โครงสร้าง
ขนาดและรูปร่าง
จากการดูไวรัสอีโบลาด้วยกล้องจุลทัศน์อิเล็กตรอนพบว่าตัวมันมีลักษณะเป็นเส้นด้ายในกลุ่มฟิโลไวรัส ไวรัสอีโบลาหรือ EBOV VP30 มีความยาวประมาณ 288 หน่วยกรดอะมิโน ตัวไวรัสมีลักษณะเป็นท่อมีรูปร่างขดตัวต่างกันหลายแบบ เช่นคล้ายตัว "U" หรือเลข "6" แต่อาจเป็นไปได้ที่เครื่องปั่นหนีศูนย์ที่ใช้ในกระบวนการทำบริสุทธิ์อาจทำให้ตัวมันมีลักษณะดังที่เห็นก็เป็นได้ โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางของไวรัสนี้จะตกอยู่ประมาณ 80 นาโนเมตร ความยาวผันแปรแตกต่างกันมากกว่าลำตัว ซึ่งอาจยาวได้ถึง 1,400 นาโนเมตร แต่โดยปกติแล้วไวรัสอีโบลาจะยาวประมาณ 1,000 นาโนเมตร
จีโนม
จีโนม ของไวรัสแต่ละตัวจะมีโมเลกุลย่อยที่ยาวเป็นเส้นเดี่ยว และเป็น อาร์เอ็นเอ ประเภทเนกาทีฟ (negative sense RNA) ยาวเป็นจำนวน 18959 ถึง 18961 นิวคลีโอไทด์
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
อาการโรคและการติดโรคไวรัสอีโบลา Ebola
อาการของโรคมีความผันแปรและมักเกิดฉับพลัน อาการแรกเริ่มได้แก่การมีไข้สูง (อย่างต่ำ 38.8°C หรือ 102°F) ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ข้อและช่องท้องรุนแรง อ่อนเพลียอย่างหนักและวิงเวียนศีรษะ ในช่วงแรกๆ ที่เกิดการระบาดและยังไม่เป็นที่รู้จักมากมักวินิจฉัยว่าเป็นไข้มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ ท้องร่วง ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดจากแบคทีเรียซึ่งมีอาการคล้ายกันแต่ไม่รุนแรงถึงชีวิต
อาการอาจร้ายแรงขึ้น เช่นท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระกลายเป็นสีดำหรือแดงจัด อาเจียนเป็นโลหิต ตาแดงจัด ความดันโลหิตลดต่ำกว่า 90/60 ไต ม้ามและตับได้รับความเสียหาย อัตราการตายสูงมากถึงระหว่าง 50% - 90% สาเหตุที่ตายเกิดจากขาดเลือด หรืออวัยวะวาย
การรักษาโรคไวรัสอีโบลา Ebola
หอผู้ป่วยแยกในโรงพยาบาลที่เมืองกูลู อูกานดา เมื่อคราวการระบาดเมื่อ พ.ศ. 2543
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคไวรัสอีโบลา มีแต่เพียงการรักษาประคับประคอง (supportive treatment) ได้แก่ทำหัตถการแบบรุกล้ำให้น้อยที่สุด รักษาสมดุลอิเล็กโตรไลต์และสารน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้สารต้านการแข็งตัวของเลือดในระยะแรกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC) ให้สารช่วยการแข็งตัวของเลือดในระยะท้ายเพื่อควบคุมไม่ให้มีเลือดออก รักษาระดับออกซิเจน บรรเทาอาการปวด และใช้ยาต้านเชื่อแบคทีเรียหรือยาต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อซ้ำซ้อน (ถ้ามี)
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version