อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
sithiphong:
โปรดระวัง น้ำแข็งใสๆ อาจไม่ปลอดภัย อย่างที่คุณคิด!
หลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊ะ!! น้ำแข็งก็ทำมาจากน้ำทั้งหมด 100% แล้วอันตรายจะมาจากตรงไหนกันล่ะ?
-http://www.dailynews.co.th/Content/Article/227878/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87+%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%86+%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2+%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94!-
เริ่มเข้าเดือนที่จัดว่าร้อนที่สุดของปี และเป็นเดือนที่ยอดการขาย การบริโภคน้ำแข็งมากที่สุดตามอุณหภูมิที่ร้อนระอุด้วยเช่นกัน และในแต่ละมื้อ เราล้วนจะต้องได้เกี่ยวพันกับเจ้าน้ำแข็งใส ๆ นี้กันแทบทุกคนใช่ไหมคะ? ไม่ว่าจะมาจากการไปรับประทานอาหารนอกบ้านในแต่ละมื้อ ทั้งตามร้านอาหาร ภัตราคาร ไปจนถึงอาหารง่าย ๆ เช่นร้านอาหารตามสั่งทั่ว ๆ ไป จนถึงร้านเครื่องดื่มเย็นที่ขายตามริมท้องถนน หรือหน้าออฟฟิศกัน เคยคิดกันไหมค่ะว่า “เห็นหน้าตาใส ๆ เย็น ๆ แบบนี้ จะมีอันตรายแฝงอยู่ อย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะค่ะ”
หลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊ะ!! น้ำแข็งก็ทำมาจากน้ำทั้งหมด 100% แล้วอันตรายจะมาจากตรงไหนกันล่ะ? จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการเป็นที่ปรึกษา และการตรวจโรงงานผลิตน้ำแข็งนั้น จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะว่า ที่มาที่ไป และอันตรายที่ควรระวังจากน้ำแข็งนั้น คืออะไร
น้ำแข็งที่เราบริโภคกันโดยส่วนใหญ่ มาจาก 2 แหล่งหลัก ๆ คือ น้ำแข็งที่ผลิตมาจากโรงงานผลิตน้ำแข็ง และ น้ำแข็งที่ผลิตจากเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ ไม่นับที่แช่ทำเองในตู้เย็นบ้านเรากันนะคะ
อันตรายจากน้ำแข็งที่ว่านี้ ส่วนใหญ่ที่เราควรระมัดระวังกัน นั่นก็คือ เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคที่ปะปนมาจากการผลิตและการขนส่งกันนั่นเองค่ะ เห็นไหมค่ะว่า เป็นภัยร้ายที่มองไม่เห็นกันจริง ๆ หากเราเคยติดตามข่าวสารของ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขกันมาบ้าง อาจเคยได้ยินอยู่บ่อย ๆ กับการตรวจพบจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในน้ำแข็งเกินมาตรฐาน ดังเช่น “พบโรงงานน้ำแข็งหลอดย่านบางเขน ปรับที่พักเป็นโรงงานผลิต อย.นำตัวอย่างส่งตรวจ พบปนเปื้อนเชื้อโรคอื้อ โดยเฉพาะ อี.โคไล จุลินทรีย์ซาลโมเนลล่า ตัวการโรคท้องร่วง เผยปกติเชื้อโรคดังกล่าวปนเปื้อนในอุจจาระ พร้อมสั่งหยุดผลิตทันควัน ขู่ฝ่าฝืนเจอโทษหนัก” อย่างนี้เป็นต้น ภัยที่น่ากลัวจากเจ้าน้ำแข็งนี้มาจากกระบวนการผลิตและการขนส่งของโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีจิตสำนึกที่ดีในการผลิตอาหารให้ปลอดภัย ตั้งแต่มาตรฐานน้ำที่จะนำมาผลิตน้ำแข็งเพื่อการบริโภค ก็ควรต้องเป็น น้ำมาตรฐานน้ำบริโภค และผู้เขียนเองมั่นใจค่ะว่า โรงงานน้ำแข็งที่ผลิตภายใต้สุขลักษณะที่ดี และผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินโรงงานตามกระทรวงสาธารณสุขนั้นมีน้อยมาก มาฟังกันต่อดีกว่าค่ะว่าประเภทน้ำแข็งที่เราต้องระวัง มีอะไรบ้าง
น้ำแข็งที่เราบริโภคกันในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ตั้งแต่ น้ำแข็งหลอด น้ำแข็งเกล็ด น้ำแข็งโม่ หรือน้ำแข็งป่น ที่โม่และป่นมาจากน้ำแข็งซอง(สมัยก่อนเรียก น้ำแข็งมือ นึกภาพง่าย ๆ คือน้ำแข็งก้อนใหญ่ ๆ ที่นำมาทำเป็นน้ำแข็งใสกัน) ไปจนถึงน้ำแข็งที่เป็นหลอดเล็กที่นิยมใช้ในปัจจุบันกัน
เจ้าน้ำแข็งที่เราควรระวังมากที่สุด คือน้ำแข็งโม่ หรือน้ำแข็งป่น ที่ผลิตจากโรงงานที่ไม่ได้มาตารฐานนี่แหละค่ะ ที่ตามร้านอาหารตามสั่งทั่ว ๆ ไปนิยมใช้ใส่แก้วมาให้เรา เพื่อเติมน้ำอัดลม หรือน้ำหวานตามที่เราสั่งมาดื่ม หรือร้านขายเครื่องดื่ม เช่น กาแฟเย็น ชาเย็น และน้ำหวาน การปนเปื้อนของเชื้อโรคนี้ปนเปื้อนได้ตั้งแต่แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำแข็ง กระบวนการตัดก้อนน้ำแข็งให้มีขนาดเล็กลงจากการใช้ใบมีดที่เป็นเหล็ก และมีสนิม แอบบอกนะคะว่าโรงงานเหล่านี้ คนงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่ต้องมีแรงและพลังกายในการยก การตัดก้อนน้ำแข็งเยอะ ๆ แอบเห็นอยู่บ่อย ๆ คะว่า ไม่สวมเสื้อทำงาน ใส่เพียงกางเกงขาสั้น และรองเท้าบูท เดินบนลานน้ำแข็งไปมา นี่เพิ่งแค่เริ่มต้นนะคะ ยังไม่นับรวมการบรรจุน้ำแข็งเหล่านี้มาส่งตามร้านอาหารที่เราจะรับประทานกัน บรรจุภัณฑ์ที่ใช้มักจะเป็นกระสอบเก่า ๆ ของกระสอบข้าวสารสีขาว ๆ กระสอบแป้ง และไม่แน่ใจว่าจะเอากระสอบสารเคมีอะไรมาใส่หรือเปล่า มีกระบวนการในการล้างทำความสะอาดกระสอบที่เวียนกลับมาใช้หรือไม่
แล้วเคยเห็นเวลาจะนำลงจารถขนส่งกันไหมค่ะ เหยียบขึ้นไปบนกระสอบเอย ลากลงมาที่พื้นเอย เห็นแล้วแทบไม่กล้าทานอาหารร้านนั้นเลยล่ะคะ ยังไม่รวมการปนเปื้อนเมื่อมาถึงที่ร้านแล้ว หากคุณแม่ค้าพ่อค้าไม่ใส่ใจ นำน้ำแข็งมาแช่ในถังที่แอบแช่หมูสด ผักสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบต่าง ๆ ลงไปในถังน้ำแข็งอีก ฟังเท่านี้แล้วอาจเลิกทานน้ำแข็งประเภทนี้กันไปเลยใช่ไหม สังเกตไหมค่ะว่าชาวต่างชาติจะกลัวน้ำแข็งบ้านเรามาก ๆ เพราะหลายต่อหลายรายท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษเข้าโรงพยาบาลเพียงเพราะน้ำแข็งกันมานักต่อนักแล้วล่ะคะ และหลายต่อหลายครั้งที่เราท้องเสียบ้าง อาหารเป็นพิษบ้าง แล้วมัวแต่ไปคิดถึงว่า เราทานอะไรเข้าไปน้า โดยที่ทุก ๆ คนจะมองข้ามน้ำแข็งที่เราทานกันเข้าไป เคยลองสังเกตว่าน้ำแข็งแต่ละร้านที่เราทานเข้าไปนั้นกันบ้างไหมคะ ว่าสะอาดหรือไม่ แค่ลองสังเกตดูก้นแก้ว(หากใส)เวลาที่น้ำแข็งละลายหมดแล้วน่ะคะ ถ้าผู้ที่ชอบสังกตน่าจะเคยเห็นเหมือนผู้เขียนว่ามีตะกอนสิ่งสกปรกตกอยู่ที่ก้นแก้วจำนวนมาก นี่แค่สิ่งที่มองเห็นได้เท่านั้นนะคะ
ดังนั้นหากเราอยากทานน้ำแข็งที่สะอาดและปลอดภัย จึงควรใส่ใจกับแหล่งที่มา และหัดสังเกตน้ำแข็งจากร้านที่เราทานอาหารกันค่ะว่า สะอาดเพียงพอหรือไม่ ควรเลือกทานน้ำแข็งที่ผลิตโดยเครื่องอัตโนมัติ (ที่ใช้กันทั่วไปตามโรงแรม หรือร้านสะดวกซื้อนั่นแหละค่ะ) เพราะมีความเสี่ยงน้อยกว่า หรือเลือกทานน้ำแข็งอนามัยที่ผ่านการรับรองคุณภาพตามระบบ GMP หรือระบบความปลอดภัยของอาหารกันดีกว่านะคะ เวลาไปซื้อเครื่องดื่มหรือทานอาหารตามร้านที่ไม่ได้ใช้น้ำแข็งที่ผลิตจากเครื่องอัตโนมัติ ก็ควรแอบสังเกตภาชนะที่ใส่น้ำแข็งกันนะคะว่ามีความสะอาดและสุขลักษณะที่ดีเพียงใด ไม่อย่างนั้นแล้ว เราอาจได้เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคเข้ามาในร่างกายเรา จนทำให้เราเจ็บป่วยได้นะคะ
อยากมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย จึงควรใส่ใจสิ่งที่เราจะทานเข้าไปกันสักนิดนะคะ อย่าลืมประโยคสำคัญที่ว่า You are what you eat กันล่ะ
โดย “PrincessFangy”
-Twitter @Princessfangy-
รูปประกอบจาก-http://iceman-travel.igetweb.com/-
sithiphong:
ช่วงเทศกาลแห่งความสุข เทศกาลแห่งความชุ่มชื้นคือช่วงเทศกาล “สงกรานต์” และสิ่งที่จะได้เห็นและได้ทำในวันนี้ก็คือ การ ออกไปสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน และอีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ทั่วไปก็คือ แป้งขาว ๆ ที่ใช้ประหน้าอย่าง “ดินสอพอง”
วันเสาร์ 5 เมษายน 2557 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/227892/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2!!!%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%87+-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-
ช่วงเทศกาลแห่งความสุข เทศกาลแห่งความชุ่มชื้นคือช่วงเทศกาล “สงกรานต์” และสิ่งที่จะได้เห็นและได้ทำในวันนี้ก็คือ การ ออกไปสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน และอีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ทั่วไปก็คือ แป้งขาว ๆ ที่ใช้ประหน้าอย่าง “ดินสอพอง” ที่คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีอันตราย
แต่ล่าสุดจากการสุ่มตรวจของสถา บันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหา ชน) มีการพบว่า “ดินสอพอง” มีเชื้อโรคที่อันตรายมากที่สามารถที่จะก่อให้เกิดบาดทะยักได้ และถ้าเชื้อโรคนี้เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ และกล้ามเนื้อตาย อีกทั้งถ้าเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด กล้ามเนื้อตายเน่า และการติดเชื้อในเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและอาจทำให้ผู้ใช้ถึงแก่ชีวิตได้อย่างไม่น่าเชื่อ
นอกจากนี้ทางศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ยังเคยทำการสุ่มตรวจสอบดินสอพองที่ผู้ประกอบการได้นำมาจำหน่ายตามท้องตลาด พบว่าผู้ค้าบางรายมีการนำดินสอพองปลอมที่ดัดแปลงจากผง ยิปซัม ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ทำฝ้าเพดานมาทำเป็นดินสอพองจำหน่ายให้ผู้บริโภคอีกด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก
เนื่องจากการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์บริการระบุผลออกมาว่า ผงยิปซัมดังกล่าวหากนำมาเล่นถือเป็นอันตรายต่อร่างกายมาก เช่น เมื่อนำมาทาบริเวณผิวหนังจะเกิดการระคายเคือง หากผู้ใดแพ้ฝุ่นอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการนำดินสอพองที่มีเชื้อโรคมาฉายรังสีแกมมาในปริมาณ 9.30-10.40 กิโลเกรย์ ก็สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ได้เกือบทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่สนใจซื้อดินสอพองไปใช้หรือนำไปเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทางด้านผู้ผลิตคงต้องทำดินสอพองให้สะอาดเสียก่อน
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ครั้งนี้ ทางด้านผู้บริโภคเอง จึงควรระวังไม่ให้ดินสอพองเข้าจมูกหรือปาก และไม่ควรเล่นดิน
สอพองหากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ด้วยความปรารถนาดีจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสงกรานต์ที่สนุกสนานปลอดภัยไร้กังวล.
sithiphong:
ย้อนรอย เรื่องจริงฯ 18 กรกฎาคม 2556 1/6
ย้อนรอย เรื่องจริงฯ 18 กรกฎาคม 2556 1/6
-http://www.youtube.com/watch?v=ipU7w6GXrsk-
sithiphong:
เตือนสงกรานต์เล่นน้ำเปียก...เสี่ยง 5 โรค
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 เมษายน 2557 18:20 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000038729-
โดย...พญ.กรุณา อธิกิจ อายุรแพทย์ รพ.ปิยะเวท
เทศกาลแห่งความสุขที่ทุกคนรอคอยกำลังจะมาถึงในเร็วๆ นี้ นั่นก็คือเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีวันหยุดยาวอย่างต่อเนื่องกันหลายวัน คนส่วนใหญ่ก็จะกลับบ้านไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และได้เล่นน้ำสงกรานต์คลายร้อนกันอย่างสนุกสนาน แต่หารู้ไม่ว่าโรคต่างๆ ที่จะตามมาหลังจากการเล่นน้ำสงกรานต์นั้นมีอะไรบ้าง
แล้วยิ่งน้ำที่ไม่สะอาดด้วยแล้วนั้น อาจนำมาซึ่งเชื้อโรคต่างๆ มากมาย ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายเราผ่านทาง ตา หู จมูก ปาก หรือแม้กระทั่งการสัมผัส ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสต่างๆ ยิ่งในช่วงอากาศร้อนอบอ้าวด้วยแล้ว ความเสี่ยงในการเกิดโรคก็ยิ่งมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น เรามาดูกันดีกว่าว่าโรคอะไรบ้างที่มากับอากาศร้อนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเตรียมตัวในการรับมือได้อย่างถูกวิธี
1.โรคอาหารเป็นพิษ โรคท้องร่วง โรคอหิวาตกโรค โรคไวรัสตับอักเสบเอ เนื่องจากในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่อากาศร้อนและแห้งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคโดยเฉพาะแบคทีเรียส่งผลให้อาหารที่ทำออกมารับประทานนั้นอาจบูดเสียได้ง่าย โดยเฉพาะพวกแกงที่มีส่วนผสมของกะทิหรือนมด้วยแล้ว รวมถึงการทานอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาดปนเปื้อนเชื้อโรค อาจทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แต่หากมีภาวะขาดน้ำรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้
2.โรคไข้หวัดและปอดอักเสบ เนื่องจากการเล่นน้ำสงกรานต์ทำให้ร่างกายเปียกชื้นเป็นเวลานาน ยิ่งในต่างจังหวัดมีการเล่นติดต่อกันตั้งแต่เช้าถึงเย็นด้วยแล้ว ควรต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำและในกลุ่มเด็ก ไม่ควรสาดแรงจนเกินไปอาจทำให้สำลักน้ำ จนกลายเป็นที่มาของโรคปอดอักเสบได้ หากรู้สึกมีไข้หรือไม่สบายควรงดเล่นน้ำทันที เพราะจะทำให้อาการยิ่งรุนแรงมากขึ้น
3.โรคตาแดง เป็นอีกโรคที่พบบ่อย เมื่อเราเล่นน้ำแล้วน้ำที่ไม่สะอาดที่มีเชื้อโรคปะปน เช่น น้ำในคลอง น้ำบาดาล หากน้ำกระเด็นเข้าตาและมือเราที่ไม่สะอาดอาจไปขยี้ตาก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบบวมแดงขึ้นมาได้ ถ้ามีอาการเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล ปวดตา
4.โรคผิวหนัง ได้แก่ กลาก เกลื้อน ผดร้อน มักจะเกิดขึ้นได้ในหน้าร้อน จากการไม่รักษาความสะอาดของผิวหนัง และติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ หากเล่นน้ำที่ไม่สะอาดก็จะเกิดโรคได้ง่ายมาก จึงควรรักษาความสะอาดร่างกาย ใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาหรือคับจนเกินไป จะมีได้ทั้ง ตุ่มใส ตุ่มแดง ตุ่มหนอง ผื่นวงแดง ผื่นจุดสีขาว คันตามจุดอับชื้น หากมีผื่นที่น่าสงสัยให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
5.โรคลมแดดหรือ ฮีตสโตรก (Heat Stroke) เป็นอีกโรคที่คนมักมองข้ามและคิดว่าอาจจะไม่ร้ายแรงมาก แต่แท้จริงแล้วอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว โดยโรคนี้คือการเป็นลมจากอากาศร้อน ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เกิดได้ในผู้ที่ร่างกายแข็งแรง ยิ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างร้อนจัดทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากเป็นเวลานานๆ ร่างกายปรับตัวไม่ทัน สูญเสียเหงื่อมาก ระดับความเข้มข้นของเลือดและเกลือแร่ในร่างกายเข้มข้นเกินไป อาการเบื้องต้นได้แก่ รู้สึกกระหายน้ำมากๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ ช็อก หมดสติได้
ผู้ป่วยจะมีอาการตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีเหงื่อออก ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่าจะมีเหงื่อออกด้วย หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที การป้องกันโรคลมแดด ควรหลีกเลี่ยงการยืนตากแดดเป็นเวลานานๆ หากจำเป็นควรสวมหมวกหรือกางร่ม ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ โรคไต รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอากาศร้อนทำให้การดูดซึมแอลกอฮอล์จะสูง ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เกิดอาการปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูงขึ้น ปัสสาวะบ่อย ขาดน้ำ เป็นต้น
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่ทุกคนสนุกสนานร่าเริง แต่ก็ไม่ควรละเลยการใส่ใจในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง ต้องระวังเรื่องความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม และยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ด้วยการทานอาหารที่สุกใหม่สะอาด งดอาหารสุกๆ ดิบๆ หลีกเลี่ยงการทานอาหารค้างคืนหรืออาหารที่ปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน ดื่มน้ำที่สะอาดผ่านการกรองหรือต้มสุกมาแล้ว ล้างมือก่อนปรุงอาหาร และก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ใช้ช้อนกลางหากทานอาหารร่วมกัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแมลงวันตอม และเวลาเล่นน้ำสงกรานต์ควรจะใช้น้ำสะอาดในการเล่น อย่าใช้มือในการสัมผัสกับดวงตา ไม่ควรแช่อยู่ในเสื้อผ้าเปียกเป็นเวลานานๆ ควรรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ที่แห้งทันทีหลังเล่นน้ำเสร็จ เพื่อป้องกันเชื้อโรคและปรสิตที่ปะปนมากับน้ำ
เมื่อเราเล่นน้ำเสร็จแล้วก็ควรรีบล้างตัวให้สะอาดด้วยสบู่ และเช็ดตัวให้แห้ง และหลักสำคัญคือควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน และหากพบความผิดปกติใดๆ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที
เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นประเพณีที่ดีงาม เราจึงควรช่วยกันรักษาขนบธรรมเนียมนี้ไว้ ด้วยการนึกถึงความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่นเป็นหลัก ระวังอย่าสาดน้ำแรงจนทำให้ผู้อื่นสำลัก อย่าเล่นน้ำด้วยความคึกคะนองจนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เท่านี้คุณก็จะอยู่กับอากาศร้อนในช่วงสงกรานต์ได้อย่างมีความสุขและความสนุกสนานอย่างมีวัฒนธรรม
sithiphong:
7 วิธีป้องกัน “โรคอุจจาระร่วง” เมื่อต้องหม่ำข้าวนอกบ้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 เมษายน 2557 19:32 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000040155-
กรมควบคุมโรคเผยแค่ 3 เดือน คนไทยป่วยอาหารเป็นพิษแล้ว 3.1 หมื่นราย สำรวจพบออกนอกบ้านประชาชนกลัวโรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษมากที่สุด แนะ 7 วิธีป้องกันตัวเองเวลากินข้าวนอกบ้านให้ปลอดภัยจากโรค
วันนี้ (9 เม.ย.) ที่กรมควบคุมโรค นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังเป็นประธานแถลงข่าว ดีดีซีโพล ครั้งที่ 4 เรื่อง “โรคและภัยสุขภาพจากการท่องเที่ยว: โรคอาหารเป็นพิษ” ว่าจากข้อมูลเฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษ โดยสำนักระบาดวิทยา คร. ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. พบผู้ป่วยจำนวน 31,627 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 49.79 ต่อแสนประชากร สูงสุด 5 อันดับแรกคือ อุดรธานี หนองบัวลำภู อุบลราชธานี บุรีรัมย์ และตราด โดยโรคอาหารเป็นพิษเกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือสารพิษที่เชื้อโรคสร้างเข้าไป ซึ่งการปนเปื้อนอาจเกิดตั้งแต่แหล่งผลิตอาหาร แหล่งปรุง เสิร์ฟอาหาร หรือแม้กระทั่งปนเปื้อนขณะกิน อาการที่พบคือ ถ่ายเหลว ร่วมกับปวดท้องมาก คลื่นไส้ อาเจียน ไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว และปวดข้อ เป็นต้น
“โรคอาหารเป็นพิษมักป่วยไม่รุนแรง ยกเว้นกรณีได้รับเชื้อชนิดรุนแรง ในรายที่เสียน้ำและเกลือแร่มาก ในกรณีเด็กหรือผู้สูงอายุ เป็นต้น โรคนี้รักษาได้ตามอาการ เช่น การทดแทนด้วยน้ำและเกลือแร่ ด้วยสารละลายเกลือแร่ และน้ำตาลทางปาก” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวว่า จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 3,112 ตัวอย่าง พบว่าโรคเกี่ยวกับอาหารและน้ำในช่วงหน้าร้อนที่อยากให้ คร. ดำเนินการมากที่สุดคือ โรคอุจจาระร่วง ร้อยละ 53.8 รองลงมาคือ โรคอาหารเป็นพิษในนักเรียน ร้อยละ 23.3 และโรคอหิวาตกโรค ร้อยละ 11.2 ส่วนโรคที่น่ากลัวที่สุดขณะเดินทางคือ โรคอุจจาระร่วง/อาหารเป็นพิษ ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างในสังคมชนบท เมื่อมีอาการอาหารเป็นพิษไม่สามารถทำน้ำเกลือแร่ร้อยละ 59.1 ไม่แน่ใจทำน้ำเกลือแร่เพื่อรักษาตัวเองเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 57.5 ทั้งนี้ ร้อยละ 75.7 คิดว่าน้ำแข็งที่แบ่งขายตามท้องตลาด ร้านอาหารไม่สะอาด สำหรับการกินอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ปลาร้าดิบ ก้อยดิบ ลาบดิบ พบว่ากินเป็นประจำ 5-7 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 61.8 ที่สำคัญไม่เคยล้างมือก่อนการเตรียมและปรุงอาหาร มากกว่าเป็น 2 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเมือง
นพ.โสภณกล่าวว่า วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ต้องป้องกันสาเหตุคือ การป้องกันการติดเชื้อทางอาหาร น้ำดื่ม และทางมือ ทั้งนี้เมื่อต้องเดินทางสามารถป้องกันได้โดย 1. ถ้าเตรียมอาหารไปจากบ้าน ไม่ควรเตรียมอาหารที่บูดเสียง่าย เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท ไม่เก็บในที่ร้อนเกินไปและนานเกินไป ควรทำให้ร้อนก่อนกิน 2. กรณีใช้อาหารกระป๋องสำเร็จรูป เลือกยี่ห้อและร้านค้าที่เชื่อถือได้ ฉลากอยู่ครบ มีวันหมดอายุชัดเจน กระป๋องไม่มีรอยบุบ หรือโป่ง 3. เมื่อกินอาหารตามร้าน ควรเลือกร้านที่ได้รับการรับรอง เลือกกินอาหารปรุงสุก ใช้วัตถุดิบสด จัดเก็บได้ถูกต้อง ไม่มีแมลงวันตอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเล เนื้อสัตว์ และผักสด
นพ.โสภณกล่าวว่า 4. เลือกซื้ออาหารที่ไม่ปรุงอาหารทิ้งไว้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอาหารที่มีกะทิประกอบ ส่วนยำ ลาบ ต้องปรุงให้สุก 5. หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่คุ้นเคย 6. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนเตรียมอาหารและกินอาหาร รวมทั้งหลังจากเข้าห้องน้ำ 7. ดื่มน้ำสะอาด ถ้าต้องดื่มน้ำนอกบ้าน เลือกดื่มน้ำเปล่าบริสุทธิ์ที่มีตรา อย. และถ้าจำเป็นต้องดื่มน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรนำมาต้มให้เดือดก่อน
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version