ผู้เขียน หัวข้อ: ฮยากุโจและหมาป่า "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง  (อ่าน 10189 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




บทร้อยกรองของมูมอน
ดวงตาของท่าน ว่องไวเหมือนดาวตก
ใจของท่าน       เร็วเหมือนสายฟ้าแลบ
ดาบหนึ่ง          เพื่อประหารชีวิต
ดาบหนึ่ง          เพื่อให้ชีวิต

            ไขปริศนา  โกอาน

            ในเรื่องนี้ท่านโจชูเป็นจุดสนใจเช่นเดิม  ฉันได้กล่าวถึงคำพูดลือชื่อของท่านมาแล้ว  มีบันทึกในประวัติของท่าน  ความว่า “เด็กเล็กเจ็ดแปดขวบ  หากเก่งกว่าฉัน ฉันก็ขอเป็นศิษย์  ชายชราอายุนับร้อยปี หากด้อยกว่าฉัน ฉันก็จะสอนเขา” ด้วยคตินี้ท่านโจชูจึงท่องเที่ยวไปเพื่อการปฏิบัติจนท่านอายุได้ แปดสิบปี  เหตุการณ์ในโกอานเกิดขึ้นเมื่อท่านกำลังท่องเทียวเพื่อการนี้  นักปฏิบัติเซนไม่ใส่ใจสถานการณ์แวดล้อมมากไปกว่าแก่นของเซน

            วันหนึ่งท่านโจชูมาถึงอาศรมแห่งหนึ่ง แล้วถามนักปฏิบัติที่นั่น “ท่านอยู่ข้างใน?” บ่อยทีเดียวที่นักปฏิบัติเซนใช้การสนทนาประจำวันเพื่อสั่งสอนธรรมแก่กันและกัน  ขัดเกลาจิตใจให้ลุ่มลึกในเซน ในโกอานบทนี้  การสนทนาเป็นการเริ่ม มอนโด [1] (การสนทนาธรรมแบบเซน)
            คู่สนทนาชูกำปั้นพร้อมความเงียบ  กำปั้นถูกชูขึ้น เป็นอย่างนั้น ช่างวิเศษแท้! กำปั้นก็ต้องเป็นกำปั้นอย่างเต็มที่ทุกประการ  ที่นี่ไม่มีที่ว่างเพื่อความแบ่งแยก
            อย่างไรก็ตาม เมื่อโจชูเห็นดังนั้น  จึงพูดว่า “น้ำตื้นเกินกว่าจะทอดสมอเรือ”  แล้วเดินจากไปในทันทีทันใด  บางคนแปลความหมายอย่างผิวเผินว่า “ เขาไม่ใช่นักปฏิบัติเซน ไม่ควรที่จะไปสนทนากับเขา”  แล้วท่านโจชูก็จากไป



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



            โจชูใช้และแสดงเซนของตนตามที่ประสงค์  มีความแตกต่างระหว่าง
            เก่งกว่าและด้อยกว่าที่การชูกำปั้นโดยตัวมันเองหรือ?
            อาจารย์เซนแต่โบราณได้วิจารณ์เรื่องกำปั้นไว้ว่า
ไม่ว่าจะเรียกว่า โง่หรือ หยาบคาย
ฉันปล่อยให้คนอื่นตัดสิน
โดยธรรมชาติ ช่อดอกท้อสีชมพู
โดยธรรมชาติ ช่อดอกสาลี่สีขาว


                 

ท่านมองกำปั้นอย่างไรจึงเขียนบทร้อยกรองเช่นนั้น? กำปั้นมีความหมายว่าอย่างไร? ต้องเข้าใจจุดสำคัญนี้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง
อีกครั้งเมื่อท่านพบอาศรมอีกแห่ง ถามอย่างเดียวกัน “ท่านอยู่ข้างใน?” และอนาคาริกอีกคนก็ชูกำปั้นพร้อมความเงียบเช่นเคย กำปั้นถูกชูขึ้น เป็นอย่างนั้น ช่างวิเศษแท้! กำปั้นก็ต้องเป็นกำปั้นอย่างเต็มที่ทุกประการ ที่นี่ไม่มีที่ว่างเพื่อความแบ่งแยก แต่ เมื่อเห็นอย่างนั้น  ท่านโจชูทำความเคารพอย่างลึกซึ้งในทันใด พร้อมกับคำพูด  “ท่านมีเสรีที่จะเอาหรือให้ ประหารชีวิตหรือให้ชีวิต” อีกครั้งที่ท่านใช้และแสดงเซนของท่านตามที่ประสงค์ ปล่อยให้ท่านทำตามที่ท่านประสงค์เถิด

ขอถามว่า “มีความแบ่งแยกหรือไม่ในกำปั้น?” ท้ายที่สุดมันก็เป็นแค่เพียงกำปั้น
    มันมีเท่านี้เอง โจชูมองเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริกได้อย่างไร ?
    เพียงแค่ชูกำปั้นคล้ายๆกัน อะไรเป็นกุญแจไขให้รู้จิตใจของโจชู?
    นี่เป็นจุดสำคัญยิ่งชีวิตของโกอานบทนี้

ก่อนอื่นเธอต้องเปิดดวงตาให้เห็นกำปั้นเสียก่อน เมื่อเธอมองทะลุกำปั้นได้แล้ว
จึงจะรู้ว่า ข้อสังเกตของโจชู เซนของท่าน มีความแจ่มชัดโดยธรรมชาติแท้จริง

             

    อาจารย์เซนท่านหนึ่งเขียนบทร้อยกรองดังนี้
              ลมอ่อนพัดผ่านพุ่มพฤกษ์
              สองสายมุ่งต่างทิศ
              สายบูรพาดูอบอุ่น
              สายอุดรดูเยือกเย็น


    ท่านมีชีวิตเซนอย่างไรจึงเขียนคำวิจารณ์เช่นนั้น หนึ่งคือทั้งหมด  ทั้งหมดคือหนึ่ง
    ความเหมือนในขณะเดียวกันก็คือความแตกต่าง
    เราต้องมีประสบการณ์ที่แทงทะลุความจริง  จึงจะเห็นอย่างท่านอย่างแท้จริง

ไขปริศนา คำวิจารณ์ของท่านมูมอน
            ท่านมูมอนให้ความเห็น  “ทั้งสองชูกำปั้น ทำไมท่านรับรองคนหนึ่ง แต่ไม่รับรองอีกคนหนึ่ง?” บอกฉันว่าอะไรคือเนื้อแท้ของความลึกลับซับซ้อน? ถ้าเธอสามารถตอบได้ถูกจุด จะเห็นท่านโจชูไม่ถูกผูกมัดในการพูดสิ่งที่ต้องการ มีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะยกใครขึ้นหรือกดใครลง อันที่จริง ตรงข้ามกัน  เป็นโจชูเองที่ถูกอนาคาริกทั้งสองมองเห็นธรรมชาติที่แท้  ? ถ้าเธอเห็นว่า อนาคาริกคนหนึ่งเหนือกว่าอีกคน เธอยังไม่ได้รับดวงตาแห่งเซน  หากบอกว่าทั้งสองไม่ต่างกัน เธอก็ยังคงไม่ได้รับดวงตาแห่งเซน  เช่นกัน”


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2013, 04:04:03 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




            คำวิจารณ์ของท่านมูมอนประกอบด้วยสามส่วน ส่วนแรก ท่านถามว่าทำไมจึงรับรองคนหนึ่ง แต่ปฏิเสธอีกคนหนึ่ง ในเมื่อทั้งสองชูกำปั้นขึ้นคล้ายๆกัน อะไรคือแก่นของความลึกลับซับซ้อน? ท่านมูมอนชี้ที่หัวใจของคำถาม แล้วพูดว่า “ถ้าเธอสามารถตอบคำถามได้ตรงจุด เธอจะรู้ถึงใจของท่านโจชูและเข้าใจอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ของท่านในการทำทุกสิ่งที่ประสงค์  ให้หรือเอา”  ข้อสังเกตที่ดูตื้นๆแล้วมั่วและขัดกันไปมา โดยแท้แล้วออกมาจากชีวิตแบบเซนที่อิสระและสร้างสรรค์ คำวิจารณ์ส่วนแรกของท่านมูมอน แสดงสถานะของตนเองและที่ท่านรับรองโจชู  ผู้ซึ่งรับรองอนาคาริกผู้หนึ่งแต่ปฏิเสธอีกท่านหนึ่ง

            ส่วนที่สอง มูมอนเปลี่ยนเสียงแล้วพูดว่า “อันที่จริง ตามที่ฉันเห็น  เป็นโจชูเองที่ถูกอนาคาริกทั้งสองมองเห็นธรรมชาติที่แท้ แม้ว่าท่านคิดว่า ท่านมองเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริก
            บอกฉันมาเดี๋ยวนี้ว่า อนาคาริกทั้งสองเห็นธรรมชาติที่แท้ของท่านโจชูอย่างไร? โดยไม่ปริปากทั้งคู่ล้วนชูกำปั้นขึ้น ทั้งคู่ต้องเป็นอาจารย์เซนที่ได้เปิดดวงตาแห่งเซนแล้ว พูดอีกอย่าง พวกท่านสาธิตสัจจะว่า “ทุกสิ่งกลับสู่ความเป็นหนึ่งเดียว



            ส่วนสุดท้าย ท่านมูมอนจบคำวิจารณ์ด้วยข้อสังเกตที่คมชัดและเหมาะเจาะตรงสถานการณ์ “ถ้าเธอพูดเหมือนโจชู ว่าท่านหนึ่งเหนือกว่าอีกท่านหนึ่ง เธอยังไม่เปิดดวงตาแห่งเซน แต่หากเธอพูดว่าทั้งสองไม่ต่างกัน เธอก็ยังไม่เปิดดวงตาแห่งเซน  เช่นกัน
            ท่านมูมอนเตือนว่าเมื่อคิดถึงเรื่องกำปั้นแล้ว  เราไม่ควรตัดสินว่าทั้งสองมีความสามารถต่างกัน หรือไม่ต่างกัน ทำไมท่านพูดอย่างนั้น? ขอให้อยู่เหนือทวิลักษณ์ของคำว่า เด่นกว่า เก่งกว่า  ด้อยกว่า,  ใช่ ไม่ใช่ , และเป็นกำปั้นอย่างเต็มที่ทุกประการ เมื่อเธอกำจัดความแบ่งแยกเช่นนั้นแล้ว เธอจะได้รับกุญแจสู่อิสรภาพในการใช้คำคู่ เช่น ใช่ ไม่ใช่  เป็นต้น

            ท่านฮะกูอิน ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ คำวิจารณ์ของท่านมูมอนว่า “ท่านมูมอนพูดว่าท่านจะไม่ยอมรับคำพูดว่า  มีความแตกต่าง หรือ ไม่มีความแตกต่าง แม้ว่านี่เป็นคำวิจารณ์ที่ดี ถ้าฉันวิจารณ์ ฉันจะไม่วิจารณ์เซ่อซ่าเช่นนั้น เพราะท่านมูมอนอาจอธิบายได้ดี แต่เธอจะไม่เข้าใจ   ท่านอาจสอน แต่เธอจะไม่รู้อะไร บุคคลต้องประสบกับมันด้วยตนเอง  มิฉะนั้นความรู้ทั้งหลายเกี่ยวกับมัน ล้วนไร้ประโยชน์”
            ในความเหมือนก็มีความแตกต่าง  และความแตกต่างก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหมือน
ไม่มีหนึ่ง หรือ สอง แต่บุคคลต้องจับฉวยมันด้วยตนเองจากประสบการณ์ของตนเอง ไม่ควรเป็นแค่ข้อสรุปจากการขบคิดใคร่ครวญ  ท่านฮะกุอินชี้ประเด็นด้วยความกรุณา

ไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน
            ดวงตาของท่าน ว่องไวเหมือนดาวตก
            ใจของท่าน       เร็วเหมือนสายฟ้าแลบ
            ดาบหนึ่ง          เพื่อประหารชีวิต
            ดาบหนึ่ง          เพื่อให้ชีวิต




            ท่านมูมอนสรรเสริญอัจฉริยภาพของท่านโจชูเป็นอย่างสูง
            ท่านเห็นธรรมชาติที่แท้ของอนาคาริกทั้งสอง ผู้ชูกำปั้นเหมือนๆกัน
            และบรรยายว่าท่านมีตาไวเหมือนดาวตก มีจิตใจน่าเคารพ สูงส่ง สง่า เหมือนสายฟ้าแลบ
            กำปั้น โดยแท้จริงแล้วมหัศจรรย์ยิ่ง มันสร้างสรรค์อย่างอิสระ ให้ชีวิตหรือประหารชีวิต

            ท่านมูมอนชื่นชมทั้งการรังสรรค์ของเซนของท่านโจชู
            และความลึกลับของกำปั้นพร้อมๆกัน
            เว้นเสียแต่ว่าจะหยั่งลึกสู่คำวิจารณ์ของท่านมูมอน และมองเห็นแต่ละประเด็น
            ที่ท่านยกขึ้นมาแสดง ย่อมไม่เข้าใจความหมายของโกอานและแก่นของเซนเลย



เริ่มแปล วันจันทร์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
แปลเสร็จเมื่อ  วันอังคารที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑




Pics by : Google
อกาลิโกโฮม.. บ้าน ที่แท้จริง...
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานเหล่านี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ

ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
-http://www.dhamma4u.com/


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: อาจารย์เซนขี้เกียจสอน & ประตูที่ไร้ประตู
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 04:37:50 pm »


อาจารย์เซนขี้เกียจสอน
หมอหนุ่มคนหนึ่งในโตเกียวชื่อคาสุดะ พบเพื่อสมัยเรียนที่กำลังเรียนเซน หมอหนุ่มถามเขาว่าเซนคืออะไร
“ฉันไม่รู้จะอธิบายอย่างไร” เพื่อนตอบ “แต่ถ้าคุณเข้าใจเซน คุณจะไม่กลัวความตายอีกต่อไป”
“งั้นรึ?” คาสุดะพูดต่อ “ฉันจะลองดู จะหาอาจารย์ได้ที่ไหนล่ะ”
“ลองไปหาอาจารย์นานอินดูสิ” เพื่อนตอบ

ดังนั้น คาสุดะจึงมุ่งหน้าไปพบนานอินโดยพกดาบยาว ๙ นิ้วครึ่งไปด้วย หมายจะทดสอบว่าอาจารย์ไม่กลัวตายจริงหรือไม่
เมื่ออาจารย์เซนนานอินพบคาสุดะก็เอ่ยว่า “สวัสดีเพื่อน เป็นไงบ้าง เราไม่ได้เจอกันนานแล้วนะ”
คำพูดนี้ทำให้คาสุดะชะงัก ก่อนจะตอบกลับไปว่า “เราไม่เคยพบกันมาก่อน”
“ถูกแล้ว” อาจารย์เซนตอบ “ฉันจำคนผิด นึกว่าเป็นหมอคนหนึ่งที่กำลังมาเรียนที่นี่”
เมื่อเหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่คาด คาสุดะเสียโอกาสที่จะทดสอบอาจารย์ เขาฝืนถามไปว่าจะสามารถเรียนเซนที่นี่ได้หรือไม่
อาจารย์นานอินตอบว่า “เซ็นไม่ใช่ของยาก ถ้าคุณเป็นหมอ ก็รักษาคนไข้ด้วยใจเมตตา นั่นแหละคือเซน”

คาสุดะเข้าพบอจารย์ ๓ ครั้ง ๓ ครา แต่ละครั้งอาจารย์ก็พูดอย่างเดิม “หมอไม่ควรจะมาเสียเวลาแถวนี้ กลับไปรักษาคนไข้ได้แล้ว”
คาสุดะยังคงคาใจ ว่าการสอนของอาจารย์เกี่ยวข้องกับการไม่กลัวความตายอย่างไร ดังนั้นเมื่อเขาเข้าพบอาจารย์ในครั้งที่ ๔ จึงถามไปตรงๆว่า
“เพื่อนของผมบอกว่า ใครก็ตามเมื่อเรียนเซนแล้วจะไม่กลัวความตาย แต่ว่าทุกครั้งที่ผมมาหาท่าน ท่านกลับบอกให้ไปรักษาคนไข้ เรื่องนั้นน่ะผมรู้ดีอยู่แล้ว ถ้านั่นเป็นสิ่งที่ท่านเรียกว่าเซน ต่อไปผมจะไม่มาหาท่านแล้วนะ!!”

อาจารย์นานอิน ตบหน้าหมอหนุ่ม แล้วก็พูดว่า “ข้าเสียเวลากับเจ้ามากไปแล้ว เอาปริศนาธรรมไปแก้ซะ” จากนั้นอาจารย์ก็ให้คำถาม “ความว่างของโจสุ” ซึ่งเป็นปริศนาธรรมข้อแรกในหนังสือ “ประตูที่ไร้ประตู”
หมอหนุ่มพยายามไขปริศนาธรรมข้อนี้ถึง ๒ ปี ในระหว่างนั้นจิตใจเขาสงบขึ้นมาก แต่อาจารย์ยังบอกว่า “ยังใช้ไม่ได้”
เขาพยายามแก้ปัญหาต่ออีกปีครึ่ง จิตใจของเขาสงบนิ่ง ปริศนาธรรมถูกไขออก ความว่างกลายเป็นความจริง เขาเป็นอิสระทางความคิดจากความเป็นและความตายโดยไม่รู้ตัว
เมื่อเขากลับไปเยี่ยมนานอินอีกครั้ง อาจารย์เฒ่าก็ยิ้ม ทั้งสองต่างเข้าใจกันโดยไร้คำพูด
......................................................
ความว่างของโจสุ
ครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ถามอาจารย์เซนโจสุว่า “หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่?” โจสุตอบว่า “มิว” (ว่าง)

17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 16:14 น.



ประตูที่ไร้ประตู
อู๋เหมินฮุ่ยคาย (มูมอนเอไก หรือมูมอนในภาษาญี่ปุ่น) เป็นนามของอาจารย์เซนชาวจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ช่วง ค.ศ. 1183-1260 เกิดที่เมืองหางโจว ศึกษากับอาจารย์หลายท่าน อาจารย์ท่านหนึ่งนาม เยียะหลินซือก่วน (ชื่อแปลตรงตัวว่า อาจารย์จันทร์ไพร) ให้อู๋เหมินศึกษาโกอานเรื่อง หมาของเส้าโจว (เส้าโจวเป็นชื่ออาจารย์เซน ค.ศ. 778-897 ญี่ปุ่นเรียก โจสุ) หมาของเส้าโจว เป็นโกอานสั้นๆ เนื้อความว่า:

พระรูปหนึ่งถามอาจารย์เส้าโจว “หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่?”
อาจารย์เส้าโจวตอบว่า “อู๋” (ไม่มี)
หากโกอานอ่านได้ง่ายๆ อย่างนี้ ก็ย่อมไม่ใช่โกอาน!
อู๋เหมินขบคิดเรื่องนี้เนิ่น ผ่านไปเพียงหกปี เสียงนาฬิกาปลุกก็ดัง ท่านเข้าใจทะลุ และเขียนกวีบทนี้

“ฟ้าผ่าฟาดใต้ฟ้าสีน้ำเงินสดใส
สรรพชีวิตบนโลกเบิกตากว้าง
ทุกสิ่งใต้สวรรค์รวมเข้ากัน
เขาพระสุเมรุลุกขึ้นและเต้นรำ”

อู๋เหมินเดินทางจากวัดหนึ่งไปอีกวัดหนึ่ง สวมจีวรขาดเก่าคร่ำคร่า ไว้หนวดเครายาว และทำงานเยี่ยงชาวบ้าน ขณะเดียวกันก็รวบรวมและวิจารณ์โกอาน 48 บท เป็นหนังสือชื่อ อู๋เหมินกวน แปลว่า ประตูที่ไร้ประตู (อู๋เหมิน แปลว่า ไร้ประตู กวน แปลว่า ปิด ภาษาญี่ปุ่นเรียก มูมอนกาน ภาษาอังกฤษว่า The Gateless Gate)
อู๋เหมินกวนตั้งคำถาม-สำรวจสภาวะและกระบวนการทางความคิดและจิตของตนเอง ในเรื่องของสองขั้วสุดโต่ง เฉกเช่นประตูที่กีดขวางการรู้แจ้ง ศิษย์เซนจะต้องก้าวข้าม ‘ประตู’ นี้ไปโดยการเฝ้าสังเกตของอาจารย์
อู๋เหมินกล่าวว่า การเข้าใจเซนก็คือการปลุกความสงสัยในร่างทั้งวันทั้งคืน ไม่หยุดหย่อน และปิดล้อมทางหนีทุกทางของศิษย์เซนด้วย ‘ประตูที่ไร้ประตู’
ย้อนกลับมาที่โกอานเรื่อง หมาของเส้าโจว
“หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่?”

อู๋เหมินเขียนบทขยายโกอานบทนี้ว่า:
การรู้แจ้งเซนนั้นจำต้องก้าวพ้นกำแพงแห่งพระสังฆปรินายก การรู้แจ้งมักเกิดหลังจากที่ทางคิดทุกสายถูกขวางกั้น ถ้าเจ้าไม่สามารถก้าวพ้นกำแพงแห่งพระสังฆปรินายก หรือหนทางคิดทุกสายของท่านไม่ถูกขวางกั้นทุกสิ่งที่เจ้าคิดและทำเป็นเช่น ปีศาจที่ลอยล่อง เจ้าอาจอยากถาม แล้วอะไรเล่าคือกำแพงแห่งพระสังฆปรินายก คำว่า ‘อู๋’ (ไม่มี) นี้ก็คือคำตอบ
นี่คือสิ่งกีดขวางของเซน ถ้าเจ้าข้ามไปได้ เจ้าจะได้พบท่านเส้าโจวต่อหน้าต่อตา เจ้าจะเดินเคียงคู่กับพระสังฆปรินายกทั้งหลาย นี่มิใช่สิ่งที่ควรกระทำหรือ?

ถ้าเจ้าต้องการข้ามพ้นสิ่งกีดขวางนี้ เจ้าต้องทำงานอย่างหนักหน่วง ทั้งวันและคืนกระดูกทุกท่อน ผิวหนังทุกรูขุมขนของเจ้าต้องบรรจุด้วยคำถามว่า “อะไรคือ อู๋” จงอย่าเชื่อว่ามันคือสัญลักษณ์ของด้านลบและไร้ความหมาย มันไม่ใช่ความไม่มีที่เป็นสิ่งตรงข้ามกับความมี ถ้าเจ้าต้องการข้ามพ้นสิ่งกีดขวางนี้จริงๆ เจ้าต้องรู้สึกเช่นดื่มลูกเหล็กร้อน มิอาจกลืนเข้าและคายออก แลความไม่รู้ที่ติดตัวมากับเจ้าจะหายไปเช่นผลไม้ที่สุกในฤดูกาลของมัน อัตวิสัยและภววิสัยจะรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยธรรมชาติ นี่ก็เป็นเช่นคนโง่เขลาที่ฝัน รู้แต่มิอาจเล่าความฝันนั้น

เมื่อเขาย่างเข้าสู่สถานะนี้ เปลือกแห่งอัตตาของเขาจะถูกกระเทาะออก เขาจะสามารถเขย่าสวรรค์และเคลื่อนย้ายโลก เป็นเช่นนักรบยิ่งใหญ่ที่มีดาบคมกริบ หากองค์พุทธะขวางทางเขา เขาจะ ‘โค่น’ พุทธะลง หากพระสังฆปรินายกเป็นอุปสรรคขวางทาง เขาก็จะ ‘ฆ่า’ พระเสีย เขาจะเป็นอิสระจากการเกิดและการตาย เขาสามารถโลดแล่นไปโลกใดก็ได้เหมือนว่ามันเป็นสนามเด็กเล่นของเขา ข้าฯจะบอกเจ้าว่าจะทำอย่างไรด้วยโกอานบทนี้
จงรวมพลังงานทั้งมวลเข้ากับคำว่า ‘อู๋’ อย่าให้สะดุด เมื่อเจ้าเข้าสู่อู๋และไม่สะดุด การรู้แจ้งของเจ้าจะเหมือนเทียนไขที่จุดขึ้นส่องสว่างทั้งจักรวาล

“หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่
นี่เป็นคำถามที่สำคัญที่สุด
ถ้าเจ้าตอบว่าใช่หรือไม่ใช่
เจ้าก็สูญเสียธรรมชาติแห่งพุทธะของตัวเจ้าเอง”

– วินทร์ เลียววาริณ,
11 กรกฎาคม 2551
___________________
ที่มา :http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=1868.0
>>> พระพุทธศาสนา นิกายเซ็น - Zen
17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 21:14 น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 04:56:59 pm โดย ฐิตา »