ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]  (อ่าน 26231 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

วิธุรชาดก มีเรื่องว่า ปุณณกยักษ์ได้เชิญชวนพระราชาแห่งอินทปัตตนคร กุรุรัฐ ให้ทอดพระเนตรสระโบกขรณี ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานนรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตตี๙๔ ทางดวงแก้วมณีของตน กราบทูลว่า

เชิญพระองค์ทอดพระเนตรสระโบกขรณีที่มีน้ำใสสะอาด ซึ่งเดียรดาษไปด้วยมณฑาลก ดอกปทุม และอุบลในสวรรค์นี้
เชิญพระองค์ทอดพระเนตรสระโบกขรณีที่ก่อสร้างด้วยแก้วไพฑูรย์ ซึ่งเกลื่อนกล่นด้วยฝูงปลานานาชนิดดารดาษไปด้วยหมู่ไม้ชนิดต่าง ๆที่ธรรมชาติได้เนรมิตไว้ในแก้วมณีนี้

         

นอกจากจะมีสระโบกขรณีในเทพนคร แม้ช้างเอราวัณซึ่งเป็นช้างทรงของพระอินทร์ก็มีสระโบกขรณี สระโบกขรณีดังกล่าวนี้ มีลักษณะแปลกและพิสดารกว่าสระโบกขรณีอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า สระโบกขรณีที่ปรากฏอยู่ที่งาช้างเอราวัณนั้น เกิดขึ้นจากอำนาจบุญบารมีของพระอินทร์เทพผู้ยิ่งใหญ่ สระโบกขรณีที่งาช้างเอราวัณ มีความพิสดาร ดังนี้

บนกระพอง (ของช้าง) หนึ่ง ๆ มีงากระพองละ ๒ งา บนงาหนึ่ง ๆ มีสระโบกขรณีงาละ ๗ สระ บนสระโบกขรณีสระหนึ่ง ๆ มีสระบัวละ ๗ สระ สระบัวสระหนึ่ง ๆ มีดอกบัวสระละ ๗ ดอก บนดอกบัวดอกหนึ่ง ๆ มีดอกละ ๗ กลีบ บนกลีบหนึ่ง ๆ มีนางอัปสรกลีบละ ๗ นาง ปรากฏชื่อว่าปทุมอัปสรทั้งนั้นฟ้อนรำอยู่




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ในภพดาวดึงส์ ก็มีสระโบกขรณีชื่อ “นันทา” สระโบกขรณีนันทามีขึ้นเพราะว่า พระนางสุนันทา ชายาองค์หนึ่งของท้าวสักกะ ครั้งเมื่อเป็นมนุษย์ พระนางเคยให้ขุดสระโบกขรณีไว้ให้ชนทั่วไปที่เดินทางมาได้อาบและดื่ม ครั้นพระนางสิ้นชีพก็ได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ และสระโบกขรณีชื่อว่านันทาก็เกิดขึ้นแก่พระนางสุนันทา เพราะผลวิบากของการขุดสระโบกขรณี๙๘ จึงมีสระโบกขรณีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ เกิดขึ้นมาคู่บุญของพระนางนอกจากนี้ยังมีสระโบกขรณีในวิมานชื่อต่าง ๆ ของเทพธิดาหรือของเทพบุตร สระโบกขรณีเหล่านี้มีขึ้นมาเพราะบุญเจ้าของวิมาน เพราะครั้งเมื่อเจ้าของวิมานนั้นเป็นมนุษย์ เคยทำประโยชน์ต่าง ๆ ถวายและบูชาพระ เช่น ที่พระวังคีสเถระ ได้ถามเทพธิดาองค์หนึ่งถึงเหตุที่นางได้ช้างอันสวยงามเป็นสิ่งคู่บุญ ความงามของช้างมีคำบรรยายว่า

ที่งาทั้งสองของพญาคชสาร ล้วนมีสระโบกขรณีเนรมิต มีน้ำใสสะอาด ดารดาษด้วยปทุมชาติมีดอกบานสะพรั่ง
ในดอกปทุมทุกดอก ๆ มีหมู่ดุริยเทพบรรเลงเพลงและมีเหล่าเทพอัปสรฟ้อนรำชวนให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ

เทพธิดานั้นตอบว่า นาควิมานอันประกอบด้วยสระโบกขรณีบังเกิดขึ้นแก่ตน เพราะตนเคยถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระพุทธเจ้าด้วยจิตเลื่อมใส และรู้แจ้งชัดในอริยสัจ ๔ ครั้นนางสิ้นชีวิต ก็ได้ไปบังเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ และมีบริวารยศ เป็นปชาบดีองค์หนึ่งของท้าวสักกะ มีนามว่ายสุตตรา

แม้ผู้มีจิตศรัทธาและร่วมอนุโมทนาด้วยจิตอันบริสุทธิ์ในการทำบุญของผู้อื่น ก็จะเกิดผลบุญแก่ผู้นั้นให้ไปบังเกิดบนสวรรค์ มีวิมานประจำที่งดงามด้วยสระโบกขรณีเช่นกัน เช่นเรื่องของเทพธิดาองค์หนึ่ง ครั้งเมื่อยังเป็นมนุษย์ ได้มีจิตเลื่อมใสในกรณียกิจของนางวิสาขา ซึ่งได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ เพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น ก็บังเกิดวิมานอัศจรรย์น่าดูน่าชม มีคำบรรยายว่า

ที่วิมานของดิฉันนี้ มีสระโบกขรณี ซึ่งหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่ประจำ มีน้ำใสสะอาด มีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง
ดื่นดาษไปด้วยบัวหลวงหลากชนิด มีบัวขาวรายล้อมไว้รอบ ยามลมรำเพยพัดโชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

สระบัวในโลกบาดาล

โลกบาดาลหรือนาคพิภพมีสระโบกขรณี ที่เหมือนกับสระโบกขรณีในโลกมนุษย์ เช่น ในภูริทัตชาดก มีเรื่องว่า สมัยเมื่อพระโพธิสัตว์เกิดเป็นนาคราชในนาคพิภพชื่อว่า จัมเปยยกะ พระองค์มีฤทธิ์และอานุภาพมาก ทรงเบื่อหน่ายกับการกำเนิดเป็นเดียรัจฉาน ทรงมีพระประสงค์ที่จะถือศีลอุโบสถในเมืองมนุษย์ พระมเหสีทรงเตือนพระโพธิสัตว์ให้ระวังตนเพราะกลัวว่าพระองค์จะถูกทำร้ายจากมนุษย์ พระองค์ทรงบอกพระมเหสีให้ดูความเป็นไปของพระองค์ด้วยการสังเกตสัญลักษณ์จากน้ำในสระโบกขรณี ดังคำบรรยายว่า

มนุษยโลกนั้นเต็มไปด้วยภัยอันตราย จึงประทับอยู่ ณ ฝั่งโบกขรณีอันเป็นมงคล ทรงบอกนิมิต ๓ ประการแก่นางสุมนาว่า แม่นางผู้เจริญ หากใครทำร้ายเราให้ลำบาก น้ำในสระโบกขรณีนี้จักขุ่น หากครุฑจับ น้ำจักเดือดพล่าน หากหมองูจับ น้ำจักมีสีแดง

นอกจากนี้ มีคำบรรยายว่าในอสูรพิภพซึ่งอยู่ใต้ภูเขาพระสุเมรุราช อยู่ลึกจากโลกมนุษย์ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีปราสาทราชมณเฑียร ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ ท่ามกลางเมืองมีสระทอง ในสระทองนั้น ก็ยังมีดอกบัว ๔ ชนิด บานสะพรั่งรุ่งเรืองงามดังทอง




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ธรรมซีรี่ส์ดอกบัว ตอนนี้เป็นตอนที่สามครับ นำมาฝากในเรื่องว่าด้วยดอกบัวกับพระพุทธเจ้า ดอกบัวกับพระธรรม ดอกบัวกับพระสงฆ์ ครับ

ดอกบัวกับพระพุทธเจ้า

ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ดอกบัวมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในหลาย ๆ เหตุการณ์ ดังนี้

มีคำบรรยายเปรียบพระพุทธเจ้ากับดอกบัว พระองค์ทรงละแล้วซึ่งทุกข์ทั้งปวง ความทุกข์ทั้งหลายไม่สามารถครอบงำหรือผูกมัดพระองค์ได้ ดังข้อความที่เปรียบกับดอกบัวว่า

ดอกบัวก้านมีหนาม เกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด
มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก ฉันนั้น


ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๘๐/๒๓๗.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นในโลกธรรม ๘ คือ ไม่ทุกข์ร้อนเพราะคำนินทา และไม่ยินดีด้วยคำสรรเสริญ ดังข้อความที่เปรียบกับดอกบัวว่า

ผู้เที่ยวไปผู้เดียว มีปัญญา ไม่ประมาท ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ
ไม่สะดุ้งเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ ไม่ติดข่าย เหมือนลม
ไม่เปียกน้ำ เหมือนบัว เป็นผู้แนะนำผู้อื่น ไม่ใช่ผู้อื่นแนะนำ
นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศว่า เป็นมุนี


ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕//๒๑๕/๕๕๐.

พระพุทธเจ้า ทรงเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทรงตัดอนุสัย ทรงข้ามห้วงน้ำใหญ่ คือ สงสารได้แล้ว ทรงเป็นผู้ละแล้วซึ่งบุญและบาปทั้งปวง ดังพระพุทธพจน์ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นจากน้ำแล้วตั้งอยู่ แต่น้ำไม่ติด แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วในโลก เจริญแล้วในโลก ครอบงำโลกอยู่ แต่ไม่ติดโลก




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ขอบคุณที่มาภาพนี้จาก น้องต้องค่ะ

ในบาลีมีเรื่องเล่าว่า โทณพราหมณ์ ผู้เห็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์เสด็จดำเนินทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะและเมืองเสตัพพะ รอยพระบาทนั้นมีรอยกงจักรถึง ๑,๐๐๐ ซี่ ประกอบด้วยกงและดุม เป็นลักษณะซึ่งโทณพราหมณ์ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ความอัศจรรย์ของรอยพระบาททำให้โทณพราหมณ์เข้าใจว่าต้องมิใช่รอยเท้ามนุษย์ เมื่อได้พบพระพุทธเจ้า โทณพราหมณ์จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่าพระองค์เป็นเทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ หรือมนุษย์ พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบโดยเปรียบดอกบัวกับพระองค์ว่า

พราหมณ์ เราเกิดเจริญเติบโตในโลก แต่อยู่เหนือโลก เหมือนดอกอุบล (บัวเขียว) ดอกปทุม (บัวหลวง) หรือดอกปุณฑริก (บัวขาว) เกิด เจริญเติบโตในน้ำ แต่อยู่เหนือน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำฉันนั้น ท่านจงจำเราไว้ว่า เป็นพระพุทธเจ้า






Credit by : http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684.html
รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปันโดย : คุณ ebusiness
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงดอกบัวที่ผุดขึ้นรับพระบาทของพระพุทธเจ้าว่า สหาย ๒ คนชื่อครหทินและสิริคุต ครหทินเป็นสาวกของนิครนถ์ซึ่งเป็นนักบวชนอกศาสนา ได้พยายามชักชวนให้สิริคุตผู้เป็นพุทธสาวกหันไปนับถือลัทธิเดียวกับตน ซึ่งอ้างว่าลัทธิของตนนั้นรู้จริงทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สิริคุตจึงทดสอบเหล่านิครนท์ด้วยการขุดหลุม ใช้เสื่อลำแพนคลุมไว้บนหลุมแล้วใส่อุจจาระไว้จนเต็ม ทำการอำพรางไว้ที่หน้าบ้านของตน จากนั้นนิมนต์สาวกของนิครนถ์มากินอาหารที่บ้าน ปรากฏว่าเหล่านิครนถ์ไม่รู้กลอุบาย ตกลงในหลุมอุจจาระที่ถูกอำพรางไว้

เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นสิริคุตจึงขับไล่เหล่านิครนถ์ เพราะเห็นชัดว่าพวกนิครนถ์ไม่ได้รู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตตามที่ได้อวดอ้างไว้ ต่อมาครหทินคิดทดสอบบ้าง อาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกไปฉันอาหารที่บ้านตน ครหทินได้ขุดหลุมถ่านเพลิงโดยใช้เสื่อลำแพนปิดอำพรางไว้เช่นกัน ครั้นพระพุทธองค์ทรงย่างเหยียบบนเสื่อ ถ่านเพลิงได้กลับกลายเป็นดอกบัวรองรับพระบาทไว้อย่างน่ามหัศจรรย์

  มีคำบรรยายเหตุการณ์ว่า

พระศาสดาทรงเหยียดพระบาทลงเหนือหลุมถ่านเพลิง เสื่อลำแพนหายไปแล้ว ดอกบัวประมาณเท่าล้อผุดขึ้นทำลายหลุมถ่านเพลิง พระศาสดาทรงเหยียบกลีบบัว เสด็จไปประทับนั่งลงบนพุทธอาสน์ ที่เขาปูลาดไว้
ความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น เป็นผลให้ครหทินซึ่งเคยเลื่อมใสในลัทธินิครนถ์เปลี่ยนใจหันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาตั้งแต่นั้น


ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๔๑/๑๔๕



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2013, 01:10:50 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ดอกบัวกับพระธรรม

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนได้กล่าวบุคคลที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ควรปฏิบัติองค์คุณต่าง ๆ เพื่อให้สำเร็จอรหัตตผล องค์คุณที่ผู้ปฏิบัติพึงปฏิบัตินั้น คือองค์ ๓ แห่งบัว ซึ่งได้กล่าวถึงธรรมดาของดอกบัวไว้ ๓ ลักษณะ ดังนี้

๑. ย่อมเกิดและงอกงามในน้ำ แต่น้ำก็หาได้ติดบนใบบัวไม่
๒. เมื่อผุดขึ้นจากน้ำ ก็ลอยอยู่
๓. ต้องลมแม้เล็กน้อยก็สะบัดใบแกว่งไปมา




พระนาคเสนได้เทียบคุณสมบัติของดอกบัวกับผู้ปฏิบัติธรรมไว้ ดังนี้

๑. เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในตระกูลและลาภยศสุขสรรเสริญ เป็นต้น
๒. เป็นผู้ครอบงำแล้วซึ่งโลกธรรมทั้งปวงแล้วลอยอยู่ในโลกุตตรธรรม
๓. การทำความสำรวมในกิเลสทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย เห็นกิเลสแม้เพียงเล็กน้อยเป็นเหตุให้หวั่นหวาด ดังพุทธภาษิตว่า ภิกษุมีปรกติเห็นภัยให้โทษ

พระนาคเสนถวายพระพรตอบพระยามิลินท์ โดยอุปมาพระพุทธเจ้ากับดอกบัวว่า ธรรมชาติของดอกบัวเกิดจากน้ำและเปือกตม แต่เมื่อดอกบัวโผล่พ้นน้ำก็มีรูปพรรณสวยงาม มีสีสวยสด มีกลิ่นหอมชวนชื่นใจ มิได้มีรูปพรรณ สีและกลิ่น เหมือนน้ำหรือเปือกตมเลย เช่นพระพุทธเจ้าที่มิได้มีพุทธลักษณะเหมือนพระพุทธบิดา หรือพระพุทธมารดานั้น




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2013, 04:26:16 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด





มีคำบรรยายข้อปฏิบัติของพระปัจเจกพุทธเจ้าเปรียบกับดอกบัวว่า

เพราะไม่ทำความชั่ว คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง
เป็นเหตุให้ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย

มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละทิ้งหมู่ มีขันธ์เกิดดีแล้ว
มีดอกบัว (คือธรรม) เป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ในป่าตามชอบใจได้
เหมือนนาคะ ละทิ้งโขลงแล้วอยู่ป่าได้ตามชอบใจ

จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 11, 2012, 03:25:25 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



พระพุทธโฆสาจารย์ได้อธิบายอารมณ์กรรมฐานเปรียบกับดอกบัวว่า

เหง้าบัวหลวงซึ่งใช้แพร่พันธุ์ และรากบัวจะฝังลึกแน่นอยู่ใต้ดินในน้ำ ซึ่งยากต่อการที่จะถอนขึ้นมา แม้ในอารมณ์กรรมฐาน
การกำหนดเหงื่อ (เสโท) เป็นอารมณ์ในกรรมฐาน เมื่ออารมณ์กรรมฐานของผู้ปฏิบัติแน่วแน่ เป็นธรรมดาเหงื่อจะออกอยู่เป็นนิจ
จะไหลออกจากทุกรูขุมผมและขุมขน ทำให้ผู้ปฏิบัติกรรมฐานมีอารมณ์แน่วแน่ยิ่งขึ้น ท่านเปรียบไว้ว่า “เหมือนน้ำที่ไหลออกจากช่องกำเหง้าบัวและก้านบัว

ผู้ปฏิบัติกรรมฐานจะไม่รู้สึกตัวเมื่อเหงื่อไหลเมื่ออารมณ์กรรมฐานแน่วแน่เว้นแต่
ผู้ปฏิบัติจะกำหนดเพื่อให้รู้ว่าอาการไหลของเหงื่อเป็นเพียงสภาวะเท่านั้น
อาการนี้เป็นการกำหนดอารมณ์กรรมฐานวิธีหนึ่งในหลาย ๆ วิธี



พระพุทธโฆสาจารย์อธิบายอารมณ์กรรมฐานโดยเปรียบกับดอกบัวไว้ดังนี้

คำว่า เหงื่อ ได้แก่ อาโปธาตุ (ธาตุน้ำในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน) ที่ไหลออกตามช่องขุมขนเป็นต้น เหงื่อนั้นมีสีดังงาน้ำมันใส โดยสัณฐานมีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศเกิดในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาสชื่อว่าโอกาสแห่งเหงื่อ ซึ่งเป็นที่ที่มันจะพึงขังตั้งอยู่ทุกเมื่อดังโลหิตหามีไม่ แต่เมื่อใดร่างกายอบอ้าวอยู่ เพราะเหตุต่าง ๆ เช่น ร้อนไฟ ร้อนแดด และความเปลี่ยนแปลงแห่งฤดูเป็นต้น เมื่อนั้นมันจึงไหลออกตามช่องขุมผมและขนทั้งปวง ดุจกำสายบัวที่มีรากและเหง้าตัดไว้ไม่เรียบ ซึ่งคนถอนขึ้นจากน้ำฉะนั้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2013, 06:15:14 am โดย ฐิตา »