ผู้เขียน หัวข้อ: ๑. ยมกวรรค+รวมลิ้งค์เรื่องย่อในพระธรรมบท ๑ - ๒๖  (อ่าน 15002 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



รวมลิ้งค์เรื่องย่อในพระธรรมบท ๑ - ๒๖

เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 1 : ยมกวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 2 : อัปปมาทวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 3 : จิตวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 4 : ปุปผวรรค

เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 5 : พาลวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 6 : ปัณฑิตวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 7 : อรหันตวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 8 : สหัสสวรรค

เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 9 : ปาปวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 10 : ทัณฑวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 11: ชราวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 12 : อัตตวรรค


ส่วนนี้นำมาจาก >>>
one mind :http://agaligohome.com/index.php?topic=4599.0



เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 13 : โลกวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 :พุทธวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 16 : ปิยวรรค

เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 17 : โกธวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 18 : มลวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 20 : มัคควรรค

เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 21 : ปกิณณกวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 22 : นิรยวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 23 : นาควรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 24 : ตัณหาวรรค

เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 25 : ภิกขุวรรค
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 26 : พราหมณวรรค


ส่วนนี้นำมาจาก >>>
-http://www.oknation.net/blog/dhammapada/page1



Pics by : Google
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * สุขใจดอทคอม
อกาลิโกโฮม.. บ้าน ที่แท้จริง...

กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานเหล่านี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ

ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ




จินตภาพแห่งศรัทธา (Images of Faith) by Ploeng Wattasan

เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 1 : ยมกวรรค

เรื่องพระจักขุปาลเถระ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระจักขุปาลเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมตามไปตามเขา เพราะเหตุนั้น ดุจล้ออันหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น.

ครั้งหนึ่ง พระจักขุปาลเถระ ผู้มีจักษุบอดเพราะปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดจนไม่ยอมหลับนอน ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระศาสดาที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี ในคืนหนึ่งขณะที่พระเถระเดินจงกรมอยู่นั้น ก็ได้เหยียบแมงเม่าตายโดยไม่มีเจตนา ในตอนเช้าพวกพระภิกษุที่ไปเยี่ยมพระเถระพบแมงเม่าที่ตายนั้นเข้า มีความคิดว่าพระเถระทำสัตว์ให้ตายโดยเจตนา จึงนำความขึ้นกราบทูลพระศาสดา พระศาสดาได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า เห็นพระเถระฆ่าแมงเม่าเหล่านั้นโดยเจตนาหรือไม่ เมื่อพระภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าไม่เห็น จึงตรัสว่า “พวกเธอไม่เห็นจักขุปาลฆ่าแมงเม่าฉันใด จักขุปาลก็ไม่เห็นแมงเม่าเหล่านั้นฉันนั้น นอกจากนั้นแล้ว พระจักขุปาลนี้ก็เป็นพระอรหันต์แล้ว จึงไม่มีเจตนาที่จะฆ่าสัตว์และเป็นผู้บริสุทธิ์” เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า พระจักขุปาลเถระนี้เป็นถึงพระอรหันต์ แต่เพราะเหตุใดจึงตาบอด พระศาสดาได้นำเรื่องในอดีตชาติของท่านมาตรัสเล่าว่า

ในอดีตชาติ พระจักขุปาลเคยเกิดเป็นแพทย์ ครั้งหนึ่งไปรักษาตาให้แก่คนไข้หญิงคนหนึ่ง คนไข้หญิงคนนี้ได้ให้สัญญากับนายแพทย์ว่านางกับลูกๆจะยอมเป็นข้าทาสรับใช้หากว่าดวงตาที่บอดทั้งสองข้างของนางแพทย์สามารถรักษาให้หายได้ แต่ต่อมานางกลัวว่านางพร้อมกับลูกๆจะต้องตกเป็นทาสของนายแพทย์จริงๆ จึงได้พูดโกหกนายแพทย์ไปว่าดวงตาทั้งสองข้างของนางมีอาการแย่ไปกว่าเดิมทั้งๆที่ได้รับการบำบัดจนหายขาดไปแล้ว ข้างนายแพทย์ก็รู้ว่าคนไข้ของเขาหลอกลวงจึงได้แก้เผ็ดด้วยการผสมสารพิษลงในยาหลอดตาให้คนไข้นางนั้นหยอด พอนางหยอดเข้าไปคราวนี้ก็เลยทำให้ตาบอดสนิททั้งสองข้าง เพราะผลของอกุศลกรรมในครั้งนั้นทำให้นายแพทย์ต้องตาบอดหลายครั้งในภพชาติต่างๆ

เมื่อพระศาสดาได้ตรัสเล่าความในอดีตชาติของพระจักขุปาลเถระจบลงจึงสรุปว่าแพทย์คนนั้นก็คือพระจักขุปาล(โส เวชฺโช จกฺขุปาโล)และตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กรรมที่บุตรของเราทำแล้วในกาลนั้น ได้ติดตามเธอมาหลายภพหลายชาติ เพราะขึ้นชื่อว่าบาปกรรมนั้น ย่อมติดตามผู้ทำไป เหมือนล้อเกวียนอันหมุนตามรอยเท้าโคที่เขาเทียมเกวียนบรรทุกสินค้าไปฉะนั้น

และได้สรุปลงท้ายด้วยการตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 1 นี้ว่า
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ
จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ


(อ่านว่า)
มะโนปุบพังคะมา ทำมา
มะโนเสดถา มะโนมะยา
มะนะสา เจ ปะทุดเถนะ
พาสะติ วา กะโรติ วา
ตะโต นัง ทุกขะมันนะเวติ
จักกัง วะ วะหะโต ปะทัง.


(แปลว่า)
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา
เพราะเหตุนั้น
ดุจล้ออันหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น ฯ


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ภิกษุ 3,000 รูป ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย พระธรรมเทศนามีประโยชน์แม้แก่บริษัทที่มาประชุมกันแล้ว.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2016, 04:47:36 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท (ยมกวรรค)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2011, 04:43:44 pm »


เรื่องมัฏฐกุณฑลี

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ใน กรุงสาวัตถี ทรงปรารภมัฏฐกุณฑลีมาณพ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา เป็นต้น

ในกรุงสาวัตถี ชายหนุ่มชื่อมัฏฐกุณฑลี มีบิดาชื่ออทินนปุพพกะ(แปลว่า ผู้ไม่เคยให้) ซึ่งเป็นเศรษฐีที่มีความตระหนี่ไม่เคยบริจาคทานให้แก่ผู้ใด แม้แต่เครื่องประดับสำหรับบุตรชายเขาก็ทำให้เอง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย(ค่ากำเหน็จ)สำหรับช่างเงินช่างทอง เมื่อบุตรชายคนนี้ล้มเจ็บลง แทนที่ท่านเศรษฐีจะไปจ้างแพทย์มาทำการรักษาเพราะกลัวจะสิ้นเปลืองเงินทอง ก็ใช้ยากลางบ้านมารักษาตามมีตามเกิด จนกระทั่งอาการของบุตรชายเข้าทรุดหนักขั้นโคมา เมื่อรู้ว่าบุตรชายจะต้องตายแน่แล้ว เขาก็นำบุตรชายที่มีอาการร่อแร่ใกล้ตายนั้นออกไปนอนเสียนอกบ้าน เพื่อที่ว่าคนอื่นๆที่มาเยี่ยมลูกชายที่บ้านจะได้ไม่สามารถมองเห็นทรัพย์สมบัติของเขาได้

ในเช้าวันนั้น พระศาสดาทรงใช้ข่ายคือพระญาณของพระองค์(ลักษณะคล้ายๆกับเรดาร์แต่มีสมรรถนะเหนือกว่ามาก) ทำการตรวจจับดูอัธยาศัยของคนที่จะได้เสด็จไปโปรด ก็ได้พบมัฏฐกุณฑลีนี้มาปรากฏอยู่ในข่าย ดังนั้นเมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี จึงได้ไปประทับยืนอยู่ที่ใกล้ประตูบ้านของอทินนบุพกเศรษฐี พระศาสดาทรงฉายฉัพพรรณรังสีไปยังที่ที่มัฏฐกุณฑลีนอนหันหน้าเข้าหาตัวเรือน มัฏฐกุณฑลีได้หันกลับมามองดูพระศาสดา แต่ตอนนั้นอาการป่วยของเขาร่อแร่จนไม่สามารถทำสิ่งใดได้นอกจากน้อมใจทำการเคารพพระศาสดา เมื่อมัฏฐกุณฑลีสิ้นชีวิตด้วยจิตใจที่เลื่อมใสศรัทธาต่อพระศาสดา ก็ได้ไปเกิดอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในวิมานทอง สูงสามสิบโยชน์ มีนางอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร

เมื่อไปเกิดอยู่บนสวรรค์แล้ว มัฏฐกุณฑลีมองลงมาด้วยตาทิพย์เห็นบิดาเข้าไปรำพึงรำพันถึงเขาอยู่ในป่าช้า ก็ได้แปลงตัวมาเป็นชายชรามีรูปร่างเหมือนกับมัฏฐกุณฑลีไม่มีผิด ร่างแปลงนั้นได้บอกบิดาของเขาว่าเขาได้ไปเกิดอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว และได้พูดกระตุ้นบิดาให้ไปทูลนิมนต์พระศาสดามารับภัตตาหารที่บ้าน และที่บ้านของอทินนปุพพกเศรษฐีก็มีการตั้งคำถามขึ้นมาว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่บุคคลตายแล้วจะไปเกิดบนสวรรค์เพียงแค่ทำใจให้มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าเท่านั้น โดยไม่มีการถวายทาน และรักษาศีลแต่ประการใดทั้งสิ้น

ดังนั้น พระศาสดาจึงทรงอธิษฐานจิตให้มัฏฐกุณฑลีมาปรากฏตัว และมัฏฐกุณฑลีก็ได้มาปรากฏตัวในร่างของเทวดาพร้อมด้วยวิมานและเครื่องประดับตกแต่งกายที่เป็นทิพย์ และได้บอกว่าตนได้ไปเกิดอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จริงๆ เมื่อมีหลักฐานพยานปรากฏเช่นนี้แล้ว คนที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ ที่นั้นก็เกิดความมั่นใจว่าบุตรชายของอทินนปุพพกเศรษฐีไปเกิดบนสวรรค์เพียงแค่ทำใจให้มีศรัทธาในพระศาสดาเท่านั้นเองได้จริงๆ

ต่อแต่นั้น พระศาสดาได้ตรัสแก่คนทั้งหลายเหล่านั้นว่า “ในการทำกรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นใหญ่ เพราะว่ากรรมที่ทำด้วยใจอันผ่องใสแล้ว ย่อมไม่ละบุคคลผู้ไปสู่เทวโลกมนุษยโลก ดุจเงาฉะนั้น” (กุสลากุสลกมฺมกรเณ มโน ปุพฺพงฺคโม, มโน เสฏฺโฐ; ปสนฺเนน หิ มเนน กตกมฺมํ เทวโลกํ มนุสฺสโลกํ คจฺฉนฺตํ ปุคฺคลํ ฉายาว น วิชหติ)

จากนั้นได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 2 ว่า
มโนปุพพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ
ฉายาว อนุปายินี ฯ

(อ่านว่า)
มะโนปุบพังคะมา ทำมา
มะโนเสดถา มะโนมะยา
มะนะสา เจ ปะสันเนนะ
พาสะติ วา กะโรติ วา
ตะโต นัง สุขะมันนะเวติ
ฉายาวะ อะนุปายินี.

(แปลว่า)
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่
สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคลมีใจผ่องใสแล้ว
พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา
เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง การตรัสรู้ธรรม ได้มีแล้วแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร และอทินนกปุพพกพราหมณ์ บรรลุพระโสดาบัน.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2011, 05:39:31 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท (ยมกวรรค)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2011, 04:53:39 pm »

เรื่องพระติสสเถระ
.
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ เป็นต้น

พระติสสเถระ เป็นบุตรพระญาติข้างพระมารดาของพระศาสดา ครั้งหนึ่งได้มาอยู่กับพระศาสดา ติสสเถระอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อตอนชราภาพแล้ว แต่ได้ทำตัวเหมือนกับว่าเป็นพระเถระ และจะแสดงความดีใจเมื่อพระอาคันตุกะขออนุญาตทำกิจวัตรที่พระผู้น้อยสมควรทำแก่พระผู้ใหญ่กับท่าน ตรงกันข้ามท่านติสสเถระนี้ไม่ยอมทำกิจวัตรที่ตนในฐานะที่เป็นพระพรรษาน้อยจะต้องทำแก่พระพรรษามาก ยิ่งไปกว่านั้นท่านก็ยังทะเลาะเบาะแว้งกับพระภิกษุหนุ่มอยู่เป็นประจำ หากมีใครว่ากล่าวตักเตือนในเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตน ท่านก็จะนำเรื่องไปฟ้องกับพระศาสดา แล้วแสร้งบีบน้ำตาร้องไห้แสดงความไม่พอใจและความผิดหวังออกมา พวกพระอื่นๆก็ได้ติดตามพระติสสเถระไปเฝ้าพระศาสดา พระศาสดาได้นำเรื่องในอดีตชาติของพระติสสะที่เคยเป็นคนดื้อรั้นไม่ฟังคำของใครมาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า มีอยู่ชาติหนึ่ง พระติสสะเคยเกิดเป็นดาบสชื่อว่าเทวละ ได้ล่วงละเมิดดาบสอีกองค์ชื่อนารทะ แล้วแสดงความดื้อรั้นไม่ยอมขอโทษ จนพระราชาต้องเข้ามาจัดการบังคับให้เทวลดาบสขอโทษ ด้วยการให้ก้มลงกราบที่เท้าของนารทดาบส เมื่อทรงนำอดีตนิทานมาเล่าจบ แล้วตรัสสอนพระติสสะว่า “ ติสสะ ก็เมื่อภิกษุคิดอยู่ว่า เราถูกผู้โน้นด่าแล้ว ถูกผู้โน้นประหารแล้ว ถูกผู้โน้นชนะแล้ว ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราไปแล้ว ชื่อว่าเวรย่อมไม่ระงับได้ แต่เมื่อไม่เข้าไปผูกโกรธอยู่อย่างนั้นแล เวรย่อมระงับได้”

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 3 และพระคาถาที่ 4 ว่า
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ อุปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสํ น สัมมติฯ

(อ่านว่า)
อักโกดฉิ มัง อะวะทิ มัง
อะชินิ มัง อะหาสิ เม
เย จะ ตัง อุปะนัยหันติ
เวรัง เตสัง นะ สัมมะติ.

(แปลว่า)
ก็ชนเหล่าใด เข้าไปผูกความโกรธนั้นว่า
ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา
ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว
เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับได้.

อกฺโกจฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ นูปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสูปสมฺมติฯ

(อ่านว่า)
อักโกดฉิ มัง อะวะทิ มัง
อะชินิ มัง อะหาสิ เม
เย จะ ตัง นูปะนัยหันติ
เวรัง เตสูปะสัมมะติ.

(แปลว่า)
ส่วนชนเหล่าใด ไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า
ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา
ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว
เวรของชนเหล่านั้น ย่อมระงับได้.

เมื่อพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง ภิกษุหนึ่งแสนรูป ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น พระธรรมเทศนาเกิดประโยชน์แก่มหาชน พระติสสเถระ ที่เคยเป็นคนว่ายาก ก็กลายเป็นคนว่าง่าย.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท (ยมกวรรค)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2011, 05:00:57 pm »

เรื่องนางกาลียักษิณี

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภหญิงที่เป็นหมันคนหนึ่ง
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น หิ เวเรน เวรานิ เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง มีคฤหบดีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาคนอายุมากนำยาแท้งลูกมาให้ภรรยาคนอายุน้อยกิน จนกระทั่งภรรยาอายุน้อยตกเลือดเสียชีวิตไปในที่สุด ในชาติต่อมา หญิงทั้งสองคนนี้ก็ตามล้างตามผลาญกันอีก โดยหญิงคนหนึ่งเกิดเป็นไก่ ส่วนหญิงอีกคนหนึ่งเกิดเป็นแมว อีกชาติต่อมาเมื่อหญิงคนหนึ่งเกิดเป็นเนื้อสมัน หญิงอีกคนหนึ่งเกิดเป็นนางเสือดาว และในที่สุดคนหนึ่งมาเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีในกรุงสาวัตถี ส่วนอีกคนหนึ่งมาเกิดเป็นทางยักษิณี นางยักษิณีตนนี้มีชื่อว่านางกาลียักษิณี ได้ไล่ติดตามหญิงบุตรสาวของเศรษฐีที่อุ้มบุตรอยู่ในวงแขน เมื่อนางผู้ถูกไล่ติดตามนี้ทราบว่าพระศาสดากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ที่วัดพระเชตวัน จึงวิ่งหนีไปทางนั้น แล้วนำบุตรที่อุ้มมาไปวางลงที่เบื้องบาทของพระศาสดา นางกาลียักษิณีถูกเทวดาผู้รักษาประตูพระเชตวันสกัดไว้ที่ประตูไม่ยอมให้เข้าไป แต่ต่อมาพระศาสดาได้อนุญาตให้นางเข้าไปได้ และทั้งสองคนคือหญิงที่เป็นมนุษย์กับหญิงที่เป็นยักษ์ก็ได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระศาสดา โดยพระศาสดาได้ตรัสเล่าเรื่องที่ทั้งสองเคยล้างผลาญกันมาในในอดีตชาติ ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นภรรยาของสามีคนเดียวกัน เป็นแมว เป็นแม่ไก่ เป็นเนื้อสมัน และเป็นนางเสือดาวตามลำดับ พระศาสดาทรงตรัสอบรมนางยักษิณีและนางกุลธิดาว่า “เหตุไร เจ้าจึงทำอย่างนั้น ก็ถ้าพวกเจ้าไม่มาสู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าผู้เช่นเราแล้ว เวรของพวกเจ้า จักได้เป็นกรรมตั้งอยู่ชั่วกัลป์ เหมือนเวรของงูกับพังพอน, ของหมีกับไม้สะคร้อ และของกากับนกเค้า, เหตุไฉน พวกเจ้าจึงทำเวรและเวรตอบแก่กัน เพราะเวรย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร หาระงับด้วยเวรไม่”

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 5 ว่า
น หิ เวเรน เวรานิ
สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ
อเวเรน จ สมฺมนฺติ
เอส ธมฺโม สนนฺตโน ฯ

(อ่านว่า)
นะ หิ เวเรนะ เวรานิ
สัมมันตีทะ กุทาจะนัง
อะเวเรนะ จะ สัมมันติ
เอสะ ทำโม สะนันตะโน.

(แปลว่า)
ในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย
ก็แต่ย่อมระงับได้ด้วยความ
ไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

เมื่อพระศาสดาทรงแสดงพระสัทธรรมเทศนาจบลง นางยักษิณีได้บรรลุพระโสดาบัน.
อนึ่ง ในพระคัมภีร์เล่าต่อไปว่า พระศาสดาได้ทรงสงเคราะห์นางยักษิณี ด้วยการแนะนำให้นางกุลธิดานำนางยักษิณีไปอยู่ด้วยกันที่บ้าน และในแต่ละปีนางยักษิณีก็ได้คอยแนะนำนางกุลธิดา เช่นว่า “ในปีนี้ จะมีฝนดี ท่านจงปลูกข้าวในที่ดอนเถิด ในปีนี้ฝนจะแล้ง ท่านจงปลูกข้าวในที่ลุ่มเถิด” ซึ่งก็ส่งผลให้การทำนาของนางกุลธิดาในแต่ละปีได้ผลดี ไม่เสียหายตายแล้งหรือน้ำท่วม เหมือนนาของพวกเพื่อนบ้าน นางกุลธิดาก็ได้ตอบแทนบุญคุณของนางยักษิณีด้วยการนำอาหารการกินไปเลี้ยงดูนางยักษิณีทุกวัน เมื่อพวกชาวบ้านรู้ว่าที่นางกุลธิดาทำการเกษตรประสบความสำเร็จเป็นเพราะคำแนะนำของนางยักษิณีเช่นนั้น ก็ได้มาขอความช่วยเหลือให้นางยักษิณีช่วยเป็นที่ปรึกษาด้านการเกษตรให้แก่พวกตนบ้าง นางยักษิณีก็ได้ให้ความอนุเคราะห์เต็มความสามารถ จนพวกชาวบ้านทำการเกษตรได้ผลดีกันถ้วนหน้าในทุกปี ทำให้นางยักษิณีได้รับความเคารพนับถือ มีคนมาห้อมล้อมและได้ข้าวปลาอาหารอย่างเหลือเฟือจากพวกชาวบ้าน และนางยักษิณีนี้เองก็ยังเป็นต้นแบบของผู้ถวายสลากภัตเป็นคนแรก ซึ่งการถวายสลากภัตนี้ยังมีการปฏิบัติสืบต่อกันมาในหมู่ของชาวพุทธจวบจนกระทั่งทุกวันนี้.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท (ยมกวรรค)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2011, 05:44:13 pm »



เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ปเร จ น วิชานนฺติ เป็นต้น

พวกภิกษุที่วัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี มีข้อวิวาทบาดหมาง อันมีสาเหตุเกิดจากการเข้าใจผิดกัน ด้วยเรื่องที่เล็กน้อย คือ พระที่เป็นหัวหน้าฝ่ายเชี่ยวชาญธรรมะ(ธรรมกถึก) เข้าส้วมแล้ว ใช้น้ำชำระแล้วยังเหลือน้ำล้างไว้ในภาชนะใส่น้ำ แล้วออกมาจากส้วม ต่อมาพระที่เป็นหัวหน้าฝ่ายเชี่ยวชาญทางวินัย(วินยธร)เข้าไปใช้ส้วมทีหลังเห็นเข้าก็สอบถาม เมื่อทราบว่าเป็นการกระทำของพระที่เป็นหัวหน้าของฝ่ายพระธรรมกถึก ก็ได้บอกไปว่า เป็นการกระทำที่ผิดวินัยบัญญัติ แต่ถ้าไม่เจตนาก็เป็นไร ไม่ต้องอาบัติ ซึ่งเรื่องก็ไม่ได้จบแค่นั้น เพราะพระหัวหน้าฝ่ายวินัยธรกลับไปขยายความโดยไปบอกลูกศิษย์ของตนว่า พระหัวหน้าฝ่ายธรรมกถึก ต้องอาบัติแล้วก็ยังไม่รู้ตัวว่าต้องอาบัติ ข้างพวกลูกศิษย์ของพระฝ่ายวินัยธรก็ได้ไปบอกกล่าวกับพวกลูกศิษย์ของพระธรรมธรว่า อาจารย์ของพวกท่านต้องอาบัติแล้วยังไม่รู้ตัวว่าต้องอาบัติ ฝ่ายลูกศิษย์ของพระธรรมธรก็ได้นำเรื่องที่พูดนั้นไปบอกอาจารย์ของพวกตนบ้าง พระที่หัวหน้าฝ่ายธรรมกถึกก็เลยพูดว่า พระวินัยธรเมื่อก่อนพูดว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ตอนนี้มาบอกว่าเป็นอาบัติ เป็นการกล่าวเท็จอย่างชัดๆ จากนั้นแต่ละฝ่ายก็กล่าวหากันว่าอีกฝ่ายหนึ่งกล่าวเท็จ และทั้งสองฝ่ายได้มีปากมีเสียงทะเลาะกันอยู่เสมอๆ แม้ว่าพระศาสดาจะห้ามปรามมิให้ทะเลาะกันอย่างไรก็ไม่ยอมหยุด จนพระศาสดาเอือมระอาเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ที่รักขิตวัน โดยมีพระช้าง ช้างปาลิไลยยกะและลิงอีกตัวหนึ่งคอยเฝ้าอุปัฏฐาก

พระคัมภีร์เล่าถึงพระยาช้างและลิงสองตัวนี้ว่า พระยาช้างปาลิไลยกะตัวนี้แต่เดิมก็อยู่ในโขลงช้าง แต่เกิดความเบื่อหน่ายกับการมีชีวิตอยู่ในโขลงช้าง จึงได้แยกตัวออกมาอยู่ตัวเดียวในป่ารักขิตวัน เมื่อพระยาช้างพบพระศาสดา ก็เข้าไปคุกเข่า ทำความเคารพ มองไปมองมา เห็นว่าไม่มีใครทำหน้าที่อุปัฏฐาก ก็จึงได้รับหน้าที่นั้น โดยใช้เท้ากระทืบปรับพื้นที่ใต้ต้นรังใหญ่ให้ราบเรียบ ใช้งวงจับกิ่งไม้มาปัดกวาดพื้นดิน ใช้งวงจับหม้อน้ำไปตักน้ำมาเพื่อถวายพระศาสดาทรงใช้เป็นน้ำอุปโภคและน้ำบริโภค เมื่อเห็นว่าพระศาสดามีความจำเป็นต้องใช้น้ำร้อน ช้างก็จัดการต้มน้ำร้อนถวาย กรรมวิธีในการต้มน้ำร้อนของช้างกระทำอย่างนี้ คือ ใช้งวงจับไม้แห้งมาสีกันจนเกิดเป็นไฟ จากนั้นนำฟืนมาใส่ให้ลุกขึ้นเป็นไฟกองโต นำหินมาเผาที่กองไฟจนร้อนมากๆ แล้วเอาฟืนพลิกหินให้กลิ้งไปที่สระน้ำเล็กๆที่หมายตาเอาไว้แล้ว จากนั้นก็ใช้งวงหย่อนลงไปในสระน้ำเล็กๆนั้น เมื่อรู้ว่าน้ำร้อนพอเหมาะดีแล้ว ก็ไปถวายบังคมพระศาสดา เพื่อทรงลงสรง

นอกจากนั้นแล้วช้างตัวนี้ก็ยังไปหาผลไม้ต่างๆมาถวายพระศาสดา เมื่อพระศาสดาจะเสด็จเข้าเขตหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต พระยาช้างก็ยกบาตรและจีวรขึ้นวางไว้บนตระพอง ตามเสด็จพระศาสดาไป เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าเขตหมู่บ้านแล้ว รับสั่งว่า “ปาลิไลยกะ ตั้งแต่นี้ เจ้าเข้าไปไม่ได้ เจ้าจงเอาบาตรจีวรของเรามา” เมื่อพระยาช้างเอาบาตรและจีวรมาถวายแล้ว ก็เสด็จเข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ส่วนพระยาช้างนั้นก็ยืนคอยอยู่ตรงจุดนั้น จนกว่าพระศาสดาจะเสด็จกลับออกมา ในเวลาพระศาสดาเสด็จกลับมา พระยาช้างก็ทำการต้อนรับ ใช้งวงรับบาตรและจีวรขึ้นไว้บนตระพอง เดินกลับนำไปวางลงยังที่ประทับ คอยคุกเข่าถวายงานพัดด้วยกิ่งไม้ ในช่วงกลางคืน พระยาช้างนั้นก็เอางวงถือท่อนไม้ คอยลาดตระเวนในป่ารอบๆที่ประทับของพระศาสดากว่าอรุณจะขึ้น เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายมิให้กล้ำกรายเข้ามาทำร้ายพระศาสดา พอถึงช่วงเช้าก็ทำวัตรปฏิบัติแด่พระศาสดา มีการถวายน้ำสรงพระพักตร์เป็นต้น



นอกจากพระยาช้างตัวนี้แล้ว ในช่วงที่พระศาสดาประทับอยู่ในป่ารักขิตวันนั้น ก็ยังมีลิงอีกตัวหนึ่ง คอยช่วยพระยาช้างอุปัฏฐากพระศาสดาด้วย ลิงตัวนี้จะคอยตระเวนหารวงผึ้งที่ร้างตัวผึ้งแล้วนำมาถวายพระศาสดา โดยใช้ใบตองรองถวาย ครั้งแรกๆเห็นพระศาสดานิ่งเฉยไม่ยอมฉันรวงผึ้งนั้น ก็นำรวงผึ้งนั้นมาพลิกดู เห็นตัวอ่อน จึงค่อยๆนำตัวอ่อนเหล่านั้นออก และนำเข้าไปถวายใหม่ เมื่อพระศาสดาเสวยเท่านั้น ก็เกิดความปีติยินดีเป็นล้นพ้น กระโดดขึ้นจับกิ่งไม้กระโดดโลดต้นไปมา จนกิ่งไม้นั้นหัก ลิงนั้นตกลงมาถูกตอไม้เบื้องล่างทิ่มแทงจนตาย ด้วยอานิสงส์ที่อุปัฏฐากพระศาสดา พระคัมภีร์บอกว่า เพราะ “มีจิตเลื่อมใส (ลิง)ทำกาลกิริยา(ตาย)แล้ว ไปเกิดในวิมานทองสูง 30 โยชน์ ในภพดาวดึงส์ มีนางอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร”

ในส่วนของพระยาช้างนั้น พระคัมภีร์เล่าต่อไปว่า ในช่วงที่พระอานนท์ถูกชาวบ้านอาราธนาให้นำคณะพระสงฆ์ไปทูลเชิญพระศาสดาเสด็จคืนสู่นครสาวัตถีนั้น พอพระยาช้างเห็นพระอานนท์เถระ ก็เอางวงคว้าท่อนไม้วิ่งเข้าไปหา พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ตรัสว่า “หลีกไปเสีย ปาลิไลยกะ อย่าห้ามเลย ภิกษุนั่น เป็นพุทธอุปัฏฐาก” พระยาช้างจึงทิ้งท่อนไม้ลงที่พื้นดิน แล้วเข้าไปคุกเข่าใช้งวงรับบาตรและจีวรของพระอานนท์ เมื่อพระคณะพระสงฆ์ที่ไปพร้อมกับพระอานนท์เดินทางเข้ามาสมทบยังที่ประทับของพระศาสดา พระยาช้างก็เข้าป่าไปเก็บผลไม้มีขนุนและกล้วยเป็นต้น มามากมายจนเพียงพอที่จะถวายพระสงฆ์จำนวน 500 รูปเหล่านั้น

ในช่วงที่พระศาสดาจะเสด็จกลับนครสาวัตถีพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์นั้น พระยาช้างก็ได้เดินตามไปส่ง แต่ในที่สุดก็ได้เดินขวางทางเสด็จของพระศาสดา เป็นการส่งสัญญาณให้ทรงทราบว่า ชวนให้พระศาสดาเสด็จกลับไปประทับที่ป่าดังเดิม พระศาสดาจึงตรัสว่า “ ปาลิไลยกะ นี้เป็นความไปไม่กลับของเรา, ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคและผลก็ดี ย่อมไม่มีแก่เจ้าด้วยอัตภาพนี้, เจ้าจงหยุดอยู่เถิด ” พระยาช้างได้ฟังรับสั่งเช่นนั้นแล้ว ก็สอดงวงเข้าปากร้องไห้ เดินตามหลังคณะพระสงฆ์และพระศาสดาไป ด้วยหมายใจว่าหากพระศาสดาเสด็จกลับ ตนก็จะได้อุปัฏฐากพระศาสดาแบบเดิมจนตลอดชีวิต ฝ่ายพระศาสดาเสด็จถึงอาณาเขตหมู่บ้านแล้ว ได้ตรัสว่า “ปาลิไลยกะ จำเดิมแต่นี้ไป มิใช่ที่ของเจ้า, หากแต่เป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์ มีอันตรายเบียดเบียนอยู่รอบข้าง เจ้าจงหยุดอยู่เถิด” พระยาช้างได้ยินก็ยืนร้องไห้อยู่ที่จุดนั้น ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จลับตาไป ก็หัวใจแตกสลายตาย พระคัมภีร์บรรยายว่า พระยาช้าง “มีหัวใจแตกทำกาละแล้ว เกิดในท่ามกลางเทพอัปสรพันหนึ่ง ในวิมานทองสูง 30 โยชน์ ในภพดาวดึงส์ เพราะความเสื่อมใสในพระศาสดา. ชื่อของเทพบุตรนั้นว่า ปาลิไลยกเทพบุตร”

ย้อนกลับไปกล่าวถึงชาวเมืองโกสัมพี เมื่อทราบสาเหตุที่ทำให้พระศาสดาต้องเสด็จไปเช่นนั้น ก็พากันใช้มาตรการคว่ำบาตรกล่าวคือไม่ใส่บาตร ไม่ให้การกราบไหว้ เป็นต้นแก่พวกภิกษุที่ทะเลาะกันทั้งหมด ข้อนี้ทำให้พวกภิกษุทั้งหลายตระหนักถึงความผิดของพวกตนและเริ่มหันมามีความสามัคคีปรองดองระหว่างกัน แต่พวกชาวบ้านก็ยังไม่ยอมปฏิบัติต่อภิกษุเหล่านั้นด้วยความเคารพเหมือนเดิม จะต้องให้ไปขอขมาโทษพระศาสดาเสียก่อน แต่ว่าช่วงนั้นเป็นช่วงกลางพรรษาพวกภิกษุจึงไปขอขมาโทษมิได้ ดังนั้นพวกภิกษุจึงอยู่จำพรรษานั้นด้วยความทุกข์ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อออกพรรษาแล้ว พระอานนท์และภิกษุ 500 รูปได้ไปเฝ้าพระศาสดาและได้กราบทูลถึงคำอัญเชิญของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีและอุบาสกอุบาสิกาอื่นๆที่ขอให้พระองค์เสด็จกลับ ต่อมาพระศาสดาก็ได้เสด็จกลับวัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี พวกภิกษุทั้งหลายได้พร้อมกันไปหมอบลงที่เบื้องพระบาทและขอขมาโทษต่อพระศาสดา พระศาสดาได้ทรงตำหนิภิกษุเหล่านั้น ที่ไม่เชื่อฟังพระโอวาทของพระองค์ ได้ตรัสบอกให้พวกภิกษุเหล่านั้นให้จดจำใส่ใจไว้ว่า จะต้องมีความสามัคคีปรองดองกัน ไม่สร้างความแตกแยกในหมู่คณะ และให้เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระศาสดา ให้ทำตัวเหมือนกับพวกคนดีในอดีตอย่างเช่น ทีฆาวุกุมาร (ในทีฆาวุชาดก)ที่ทำตามโอวาทของมารดาบิดาผู้ต้องโทษประหารชีวิต แม้ว่ามารดาบิดานั้นจะถูกสังหารไปแล้ว ก็ไม่ละเมิดโอวาทนั้น จนภายหลังได้ครองราชย์สมบัติในแคว้นกาสีและแคว้นโกศลพร้อมกันทั้งสองแคว้น

จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 6 นี้ว่า
ปเร จ น วิชานนฺติ
มยเมตฺถ ยมามเส
เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ
ตโต สมฺมนฺติ เมธคาฯ


(อ่านว่า)
ปะเร จะ นะ วิชานันติ
มะยะเมดถะ ยะมามะเส
เย จะ ตัดถะ วิชานันติ
ตะโต สัมมันติ เมทะคา ฯ


(แปลว่า)
ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้ตัวว่า พวกเราพากันฉิบหาย
เพราะการทะเลาะวิวาทอยู่ในท่ามกลางหมู่คณะนี้
ฝ่ายชนเหล่าใดในหมู่คณะนั้นย่อมรู้ชัด
การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ย่อมสงบ

เพราะการปฏิบัติของชนพวกนั้น.


เมื่อพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง พระภิกษุที่มาประชุมกันทั้งหมด ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น.


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 30, 2012, 06:49:56 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท (ยมกวรรค)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2011, 05:59:04 pm »

เรื่องจุลกาลและมหากาล

พระศาสดา เมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยเสตัพยนคร ประทับอยู่ในป่าไม้ประดู่ลาย ทรงปรารภจุลกาล และมหากาล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ เป็นต้น

ที่เมืองเสตัพยนคร มีกุฎุมพี 3 พี่น้อง คือ จุลกาล มัชฌิมกาล และมหากาล ประกอบอาชีพเป็นพ่อค้านำกองคาราวานเกวียนบรรทุกสิ่งของตระเวนไปขายตามเมืองต่างๆ ทั้งนี้โดยคนที่ชื่อจุลกาล ซึ่งเป็นพี่คนโต และ มหากาล ซึ่งเป็นน้องคนเล็ก เป็นผู้ควบคุมกองคาราวานเกวียนไป

ครั้งหนึ่ง ทั้งมหากาลและจุลกาล เมื่อเดินทางไปค้าขาย ก็ได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระศาสดา หลังจากสดับพระสัทธรรมเทศนาแล้ว ฝ่ายมหากาลได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทจากพระศาสดา ส่วนจุลกาลก็ได้บรรพชาอุปสมบทเหมือนกัน แต่เป็นการบวชเพียงเพื่อจะสึกแล้วชวนให้พี่ชายสึกตามไปด้วยเท่านั้นเอง

มหากาลนั้นมีความตั้งใจในการปฏิบัติสมณธรรมมาก ได้ไปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าช้าตามแบบ โสสานิกธุดงค์(ธุดงค์ที่เข้าไปปฏิบัติอยู่ในป่าช้า) และพิจารณาถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ตามหลักของคำสอนในพระพุทธศาสนาว่า

อนิจฺจา วต สงฺขารา
อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฌนฺติ
เตสํ วูปสโม สุโข ฯ

(แปลว่า)
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้น
และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เมื่อเกิดขึ้นแล้วดับไป
ความสงบแห่งสังขารเหล่านั้นเป็นสุข.

จนในที่สุดได้บรรลุความรู้แจ้งเห็นจริง ได้เป็นพระอรหันต์

ต่อมา พระศาสดาและสาวกทั้งหลาย รวมทั้งภิกษุมหากาลและจุลกาลนี้ด้วย ได้เข้าไปอยู่ในป่าสิงสปาวัน(ป่าประดู่ลาย) ใกล้เมืองเสตัพยะ ในช่วงนั้นเองพวกอดีตภรรยาของพระจุลกาล ได้อาราธนาพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสาวกทั้งหลายไปที่บ้านของพวกตน พระจุลกาลได้เดินทางล่วงหน้าไปที่บ้านภรรยา เพื่อตระเตรียมปูอาสนะที่ประทับสำหรับพระศาสดาและสาวกทั้งหลาย พอพระจุลกาลเดินทางไปถึงที่บ้านพวกภรรยาก็ได้บังคับให้พระจุลกาลสึกโดยให้เปลี่ยนชุดแต่งกายจากผ้ากาสาวพัสตร์มาเป็นชุดคฤหัสถ์

ในวันรุ่งขึ้น พวกอดีตภรรยาของพระมหากาล ได้อาราธนาพระศาสดาและพระสงฆ์สาวกไปที่บ้านของพวกตนบ้าง โดยมีวัตถุประสงค์จะทำการสึกพระมหากาลอย่างเดียวกับที่ภรรยาของอดีตพระจุลกาลเคยทำกับพระจุลกาล หลังจากเสร็จสิ้นถวายภัตตาหาร พวกอดีตภรรยาของพระมหากาลได้ทูลพระศาสดาขอให้พระมหากาลอยู่ก่อน โดยอ้างว่าเพื่อจะได้ “กล่าวอนุโมทนา” ดังนั้นพระศาสดาและพระสงฆ์สาวกทั้งหลายจึงได้กลับคืนสู่วิหาร

หลังจากที่เดินทางมาถึงประตูหมู่บ้าน พวกภิกษุทั้งหลายได้แสดงหวาดวิตก ที่พวกภิกษุเหล่านี้หวาดวิตกก็เพราะพระมหากาลได้รับพุทธานุญาตให้อยู่ที่บ้านอดีตภรรยาแต่โดยลำพัง ซึ่งเป็นที่น่าหวาดกลัวว่าจะเป็นเหมือนกรณีที่เกิดขึ้นกับพระจุลกาลพระน้องชาย คือจะถูกอดีตภรรยาจับสึกนั่นเอง พระศาสดาตรัสว่าพระสองพี่น้องนี้ไม่เหมือนกัน คือ พระจุลกาลยังฝักใฝ่ในกามคุณ มีความเกียจคร้านและอ่อนแอ ราวกับต้นไม้ที่ไม่แข็งแรง ตรงกันข้ามมหากาล มีความบากบั่น ขยันหมั่นเพียร มีจิตในเด็ดเดี่ยว และมีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ มีลักษะเหมือนเหมือนภูเขาศิลาล้วน

จากนั้นพระศาสดาตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 7 และที่ 8 ว่า
สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
อินฺทริเยสุ อสํวุตํ
โภชนมฺหิ อมตฺตญญุ
กุสีตํ หีนวีริยํ
ตํ เว ปสหตี มาโร
วาโต รุกขํว ทุพพลํ ฯ

(อ่านว่า)
สุพานุปัสสิง วิหะรันตัง
อินทะริเยสุ อะสังวุตัง
โพชะนัมหิ อะมัตตันยุง
กุสีตัง หีนะวีริยัง
ตัง เว ปะสะหะตี มาโร
วาโต รุกขังวะ ทุบพะลัง.

(แปลว่า)
ผู้ตกเป็นทาสของความสวยงาม
ไม่ควบคุมอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้จักประมาณในโภชนาหาร
เกียจคร้าน ขาดความบากบั่น

มารย่อมกำจัดเขาได้
เหมือนลมพัดพาต้นไม้ที่ไม่แข็งแรงได้ฉะนั้นฯ

อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
อินฺทริเยสุ สุสํวุตํ
โภชนมฺหิ มตฺตญญํ
สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
ตํ เว นปฺปสหตี มาโร
วาโต เสลํว ปพฺพตํฯ

(อ่านว่า)
อะสุพานุปัสสิง วิหะรันตัง
อินทะริเยสุ สุสังวุตัง
โพชะนัมหิ มัตตันยุง
สัททัง อารัดทะวีริยัง
ตัง เว นัปปะสะหะตี มาโร
วาโต เสลังวะ ปับพะตัง.

(แปลว่า)
ผู้ไม่ตกเป็นทาสของความสวยงาม
ควบคุมอินทรีย์ทั้งหลายได้
รู้จักประมาณในโภชนาหาร
มีศรัทธา ขยันหมั่นเพียร

มารย่อมกำจัดเขาไม่ได้
เหมือนลมพัดพาภูเขาศิลาล้วนไม่ได้ ฉะนั้นฯ

ในขณะพวกอดีตภรรยาของพระมหากาลกำลังจะมาช่วยกันเปลื้องสบงจีวรออกจากร่างกายของพระมหากาลอยู่นั้นเอง พระเถระรู้ทันในวัตถุประสงค์ของอดีตภรรยา จึงได้รีบลุกขึ้นยืนแล้วเหาะทะยานทะลุทะลวงผ่านหลังคาบ้านขึ้นสู่อากาศด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ แล้วเหาะไปลงที่แทบพระบาทของพระศาสดาในช่วงพอดีกับที่พระศาสดาตรัสพระธรรมบททั้ง 2 พระคาถาข้างต้นจบลง

เมื่อพระพระธรรมเทศนาจบลง พระภิกษุสงฆ์ที่มาประชุมกันอยู่นั้น ก็ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท (ยมกวรรค)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2011, 06:41:04 am »


เรื่องเทวทัต

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภการได้ผ้ากาสาวะอันบุคคลนำมาแต่แคว้นคันธาระ ของพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อนิกฺกสาโว เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง พระอัครสวกทั้งสอง คือ พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเดินทางจากกรุงสาวัตถีไปที่กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นประชาชนชาวกรุงราชคฤห์ได้นิมนต์พระอัครสาวกทั้งสองและพระภิกษุบริวารของท่านจำนวนหนึ่งพันรูปไปฉันภัตตาหารเช้า ในโอกาสนี้เองมีอุบาสกคนหนึ่งถวายผ้ามีมูลค่าหนึ่งแสนกหาปณะให้แก่พวกคนที่ดำเนินการในพิธีถวายภัตตาหารในครั้งนี้ โดยแนะนำพวกเขาว่าควรจะนำผ้านี้ขายแล้วเอาเงินที่ได้จากการขายผ้านี้ไปเป็นค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากไม่ขาดแคนเงินก็ให้นำผ้าผืนนี้ถวายพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามแต่จะเห็นสมควร การณ์ปรากฏว่าไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนเงินและจะต้องนำผ้าไปถวายแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เนื่องจากว่าพระอัครสาวกทั้งสองไปที่กรุงราชคฤห์เป็นครั้งคราว ส่วนพระเทวทัตเป็นพระที่อยู่เมืองนี้เป็นประจำ ชาวเมืองจึงถวายผ้าผืนนี้แก่พระเทวทัต

พระเทวทัตรีบนำผ้ามีมูลค่ามากนั้นไปทำเป็นจีวรห่มในทันที เมื่อพระภิกษุรูปหนึ่งเดินทางจากกรุงราชคฤห์มาที่กรุงสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระศาสดา และได้กราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ พระศาสดาตรัสว่า มิใช่ครั้งแรกที่พระเทวทัตห่มจีวรที่ตนไม่สมควรจะห่ม และพระศาสดาได้นำเรื่องอดีตมาแสดงว่า

พระเทวทัตเป็นพรานล่าช้างในอดีตชาติหนึ่ง ครั้งนั้นมีช้างจำนวนมากอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งนายพรานนั้นสังเกตเห็นพวกช้างคุกเข่าทำความเคารพพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่พวกมันพบเห็น เมื่อสังเกตเห็นเช่นนี้แล้วนายพรานล่าช้างนั้นก็ได้ไปขโมยจีวรสีเหลืองของพระปัจเจกพุทธเจ้ามาคลุมกายของตนเอง จากนั้นก็ได้ถือหอกไปคอยพวกช้างอยู่ในเส้นทางสัญจรปกติของพวกช้าง เมื่อพวกช้างมาถึงเห็นนายพรานเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็คุกเข่าลงทำความเคารพเช่นเคย นายพรานช้างก็ได้ถือโอกาสใช้หอกซัดฆ่าช้างตัวที่อยู่ท้ายสุด และได้กระทำเช่นนี้เรื่อยมาเป็นเวลาหลายวัน

พระโพธิสัตว์เป็นพระยาช้างโขลงนั้น สังเกตเห็นว่าช้างบริวารลดจำนวนลงจึงได้ตัดสินใจหาสาเหตุโดยให้ช้างบริวารเดินนำหน้าส่วนพระยาช้างเองเดินตามหลัง พระโพธิสัตว์คอยระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา เมื่อนายพรานพุ่งหอกมาก็สามารถหลบหลีกได้ทัน แล้ววิ่งไปใช้งวงรวบนายพรานช้าง กำลังจะฟาดตัวลงที่พื้นดิน แต่เผอิญมองเห็นผ้ากาสาวพัสตร์ ที่นายพรานช้างนำมาใช้คลุมกายไว้ จึงยับยั้งใจ ไว้ชีวิตแก่นายพรานช้าง เพราะมีความเคารพในผ้ากาสาวพัสตร์ ในพระคัมภีร์พรรณนาความคิดของพระยาช้างในช่วงนั้นว่า “ ถ้าเราจักประทุษร้ายในบุรุษนี้ไซร้, ชื่อว่าความละอายในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ และพระขีณาสพหลายพันองค์ จักเป็นอันเราทำลายแล้ว”

นายพรานถูกตำหนิที่พยายามฆ่าผู้อื่น โดยใช้ผ้ากาสาวพัสตร์มาคลุมกาย มากระทำในสิ่งชั่วช้าเช่นนี้ นายพรานไม่ควรที่จะนำผ้ากาสาวพัสตร์ที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของผู้หมดกิเลสมานุ่งห่ม

จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 9 และที่ 10 ว่า
อนิกฺกสาโว กาสาวํ
โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน
น โส กาสาวมหรติฯ

(อ่านว่า)
อะนิกกะสาโว กาสาวัง
โย วัดถัง ปะริทะเหดสะติ
อะเปโต ทะมะสัดเจนะ
นะ โส กาสาวะมะหะระติ.

(แปลว่า)
ผู้ใด มีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก
ปราศจากการข่มใจและความสัตย์
จักนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ.

โย จ วนฺตกสาวสฺส
สีเลสุ สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน
น โส กาสาวมหรติ ฯ

(อ่านว่า)
โย จะ วันตะกะสาวัดสะ
สีเลสุ สุสะมาหิโต
อุเปโต ทะมะสัดเจนะ
นะ โส กาสาวะมะหะระติ.

(แปลว่า)
ส่วนผู้ใด พึงเป็นผู้มีกิเลสดุจน้ำฝาดอันคลายแล้ว
ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยการข่มใจและความสัตย์
ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์.

เมื่อพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง ภิกษุที่มาจากที่ต่างๆ ได้บรรลุพระโสดาบัน ประชาชนจำนวนมาก บรรลุอริยผล มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น เทศนาสำเร็จประโยชน์แก่มหาชน.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท (ยมกวรรค)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2011, 06:50:41 am »

เรื่องสญชัย

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภความไม่มาของสญชัยปริพพาชก ซึ่งสองพระอัครสาวกกราบทูลแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อสาเร สารมติโน เป็นต้น

อุปติสสะและโกลิตะเป็นชายหนุ่มจากหมู่บ้านอุปติสสะและหมู่บ้านโกลิตะ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์ ทั้งสองคนไปชมมหรสพอยู่บนยอดภูเขาแล้ว เกิดความตระหนักถึงความไม่เที่ยงของทุกสิ่งทุกอย่าง จึงได้ตัดสินใจแสวงหาความหลุดพ้น ในเบื้องแรกทั้งสองคนได้เข้าไปเป็นศิษย์ของอาจารย์สญชัย ซึ่งเป็นปริพาชกในกรุงราชคฤห์ แต่ไม่สมใจในคำสอนของสญชัย จึงได้ออกเดินทางตระเวนไปทั่วชมพูทวีป(อินเดีย) แล้วกลับมาที่กรุงราชคฤห์ดังเดิม หลังจากตระเวนหาแล้วไม่พบธรรมะอย่างแท้จริง ทั้งสองจึงได้ทำความตกลงกันว่า หากคนใดคนหนึ่งได้ไปพบธรรมะที่แท้จริง ก็จะต้องบอกแก่กันและกัน

อยู่มาวันหนึ่ง อุปติสสะไปพบพระอัสสชิเถระ และได้เรียนรู้จากท่านถึงแก่นแท้ของธรรมะ
ซึ่งพระอัสสะได้กล่าวเป็นพระคาถาว่า
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา
เตสํ เหตุ(ตุง) ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ
เอวํ วาที มหาสมโณ ฯ

(แปลว่า)
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุ
แห่งสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น และความดับไปแห่งเหตุทั้งหลายเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติกล่าวอย่างนี้.


เมื่อได้ฟังพระคาถานี้แล้วอุปติสสะก็ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล จากนั้นก็ได้ทำตามคำที่ให้สัญญากันไว้กับโกลิตะ คือได้ไปบอกกับสหายผู้นี้ว่าตนได้บรรลุถึงความไม่ตายแล้วได้นำพระคาถานั้นมาว่าให้โกลิตะฟัง โกลิตะได้ฟังแล้วก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันอีกเช่นกัน ทั้งสองคนรำลึกถึงอาจารย์สญชัยจึงชวนกันไปพบและเรียนท่านว่า “พวกเราได้พบบุคคลที่จะชี้แนะหนทางแห่งความไม่ตายแล้ว บัดนี้พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาแล้วในโลก พระธรรมก็เกิดขึ้นมาแล้ว พระสงฆ์ก็เกิดขึ้นมาแล้ว..มาเถิด จงไปพบกับอาจารย์ท่านนั้นกัน” คนทั้งสองวาดหวังไว้ว่าอดีตอาจารย์ของตนผู้นี้จะตามไปพบกับพระพุทธเจ้าและเมื่อได้ฟังธรรมแล้วก็จะได้บรรลุมรรคผล แต่ท่านสญชัยปฏิเสธไม่ยอมตามไปด้วย

ดังนั้นอุปติสสะและโกลิตะพร้อมด้วยบริวารจำนวน 250 คน จึงได้ไปเฝ้าพระพุทธจ้าที่วัดเวฬุวัน และทั้งสองคนก็ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา อุปติสสะในฐานะเป็นบุตรของนางรูปสารีจึงมีชื่อว่า พระสารีบุตรเถระ ส่วนโกลิตะเป็นบุตรของนางโมคคัลลีจึงมีชื่อว่า มหาโมคคัลลานะ ในวันที่ 7 หลังจากบวชพระโมคคัลลานะก็ได้บรรลุอรหัตตผล ส่วนพระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหัตตผลหลังจากอุปสมบทได้ 15 วัน ในวันนั้นเองพระพุทธเจ้าได้สถาปนาท่านทั้งสองไว้ในตำแหน่งอัครสาวกขวาซ้ายคือ พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย

จากนั้นพระอัครสาวกทั้งสองได้กราบทูลพระศาสดา เริ่มตั้งแต่เรื่องที่ท่านขึ้นไปชมมหรสพบนภูเขา ไปพบกับพระอัสสชิ และได้บรรลุพระโสดาปัตติผล หลังจากนั้นก็ได้ไปชวนอดีตอาจารย์สญชัยโดยกะว่าจะให้เดินทางมาพร้อมกับพวกตน แต่สญชัยได้กล่าวว่า “เราเป็นอาจารย์มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จะให้เรามาเป็นศิษย์คนอื่นนั้นก็จะเหมือนกับการเปลี่ยนตุ่มน้ำให้เป็นถ้วยน้ำชา” นอกจากนั้นแล้วท่านก็ยังบอกด้วยว่า คนที่ฉลาดมีน้อย ส่วนพวกคนโง่มีมาก ก็ให้พวกคนฉลาดไปหาพระสมณโคดมผู้ฉลาด ส่วนพวกคนโง่ก็จะมาหาเราผู้เป็นคนโง่ พวกท่านทั้งสองจงไปตามทางของพวกท่านเถิด”

ดังนั้น พระศาสดาทรงชี้ว่า เพราะทิฐินั้นเองทำให้ท่านสญชัยต้องพลาดจากการได้เห็นธรรมว่าเป็นธรรม เมื่อสญชัยยังเห็นอธรรมว่าเป็นธรรม ก็จะยังไม่สามารถบรรลุถึงธรรมที่แท้จริงได้ จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระ

ธรรมบทพระคาถาที่ 11 และพระคาถาที่ 12 ว่า
อสาเร สารมติโน
สาเร จ อสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉติ
มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา ฯ

(อ่านว่า)
อะสาเร สาระมะติโน
สาเร จะ อะสาระทัดสิโน
เต สารัง นาทิคัดฉะติ
มิดจาสังกับปะโคจะรา.

(แปลว่า)
ชนเหล่าใด มีปกติรู้สิ่งที่เป็นสาระว่าเป็นสาระ
และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ
มีความดำริผิดเป็นโคจร
ย่อมไม่ประสบสิ่งอันเป็นสาระ.

สารญฺจ สารโต ญตฺวา
อสารญฺจ อสารโต
เต สารํ อธิคจฺฉติ
สมฺมาสงฺกปฺปโคจราฯ

(อ่านว่า)
สารันจะ สาระโต ยัตตะวา
อะสารันจะ อะสาระโต
เต สารัง อะทิคัดฉะติ
สัมมาสังกับปะโคจะโร.

(แปลว่า)
ส่วนชนเหล่าใด รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ
และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ
ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร
ย่อมประสบสิ่งเป็นสาระ.

เมื่อพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง คนเป็นจำนวนมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น เทศนาเป็นประโยชน์แก่ชนผู้มาประชุมกันแล้ว.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท (ยมกวรรค)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2011, 07:02:39 am »


เรื่องพระนันทเถระ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนันทะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง เมื่อพระศาสดาประทับที่วัดพระเวฬุวันในกรุงราชคฤห์ พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาได้ส่งทูตหลายคณะมาทูลเชิญพระศาสดาเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ ในที่สุดพระพุทธองค์จึงได้เสด็จไปพร้อมด้วยพระอรหันต์จำนวน 20,000 รูป ในวันแรกที่เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์พระองค์ได้ตรัสเวสสันดรชาดกให้พระญาติได้ฟัง ในวันที่ 2 ได้เสด็จเข้าไปในเมืองและได้ตรัสพระคาถาที่เริ่มบาทแรกว่า “อุตฺติฏเฐ นปฺปมชฺเชยฺย” ซึ่งแปลว่า “บุคคลพึงขยัน ไม่พึงประมาท” ซึ่งเมื่อพระราชบิดาทรงสดับแล้วได้บรรลุพระโสดาปัตติผล และเมื่อเสด็จเข้าไปไปพระราชวังได้ตรัสพระคาถาซึ่งมีความในบาทแรกว่า “ธมฺมํ จเร สุจริตํ” ซึ่งแปลว่า “บุคคลพึงประพฤติธรรมที่สุจริต” ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนาพระราชบิดาได้บรรลุพระสกทาคามิผล หลังจากเสวยภัตตาหารแล้วได้ตรัสจันทกินนรีชาดกซึ่งเกี่ยวโยงกับคุณธรรมของพระมารดาของราหุล(พระนางยโสธรา หรือพิมพา)

พอถึงวันที่ 3 ได้มีพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าชายนันทะพระพุทธอนุชา(พระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางปชาบดีโคตรมี พระน้านาง) พระศาสดาได้เสด็จไปฉันภัตตาหารในพิธีและพอเสด็จกลับก็ได้ทรงส่งบาตรให้เจ้าชายนันทะ แล้วไม่ยอมรับบาตรคืน เจ้าชายนันทะถือบาตรตามเสด็จพระศาสดาไป ข้างฝ่ายเจ้าสาวคือเจ้าหญิงชนบทกัลยาณี เมื่อเห็นเจ้าชายนันทะตามเสด็จพระศาสดาไป ก็ได้รีบไปร้องตะโกนขอให้เจ้าชายนันทะรีบกลับมา เมื่อเสด็จถึงวัดพระเวฬุวัน เจ้าชายนันทะก็ได้ทรงผนวชเป็นภิกษุ

พระศาสดาได้เสด็จออกจากวัดพระเวฬุวันไปประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ขณะที่พระนันทะพำนักอยู่ที่นี่ก็มีความกระวนกระวายใคร่จะลาเพศบรรพชิตออกไปเป็นคฤหัสถ์ เพราะยังจดจำคำสั่งลาของเจ้าหญิงชนบทกัลยาณีที่ทรงตะโกนสั่งไห้รีบกลับมานั้นอยู่เสมอ

พระศาสดาทรงทราบเรื่องนี้ ก็ได้ทรงใช้อำนาจฤทธิ์พาพระนันทะไปชมนางเทพธิดารูปร่างสะคราญในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งมีความสะสวยงดงามกว่าเจ้าหญิงชนบทกัลยาณีมาก พระศาสดาได้ทรงประทานคำมั่นสัญญากับพระนันทะว่า หากพระนันทะปฏิบัติธรรมอยู่ต่อไปโดยไม่สึก พระองค์จะประทานนางเทพธิดาร่างสะคราญเหล่านั้นแก่พระเจ้าชายนันทะ พวกภิกษุทั้งหลายพากันเย้ยหยันพระนันทะว่าเหมือนกับถูกจ้างที่ปฏิบัติธรรมเพื่อจะได้หญิงงามเป็นค่าจ้าง พระนันทะรู้สึกเดือดร้อนและละอายใจมาก จึงได้ปลีกวิเวกไปมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจังจนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัตตผล เมื่อได้เป็นพระอรหันต์แล้วจิตของท่านก็หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง และพระศาสดาก็ได้หลุดพ้นจากคำสัญญาที่ได้ประทานแก่เจ้าชายนันทะ ซึ่งเรื่องนี้พระศาสดาทรงหยั่งรู้ด้วยพระญาณพิเศษตั้งแต่แรกแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งแต่เดิมทราบมาว่าพระนันทะมิได้เข้ามาบวชเป็นพระด้วยความเต็มใจ จึงได้สอบถามความรู้สึกของท่านอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระนันทะตอบว่าท่านไม่มีความยึดมั่นในชีวิตฆราวาสต่อไปแล้ว พวกภิกษุก็คิดว่าพระเจ้าชายนันทะพูดไม่จริง จึงได้นำเรื่องนี้ไปทูลพระศาสดา และในขณะเดียวกันก็ได้แสดงความสงสัยในคำพูดของท่าน พระศาสดาจึงได้ตรัสว่า เดิมสภาวะจิตของพระนันทะเป็นเหมือนหลังคาบ้านที่มุงไว้ไม่ดี ฝนก็ย่อมรั่วรดลงมาได้ แต่บัดนี้จิตของท่านมีลักษณะเหมือนบ้านที่มุงหลังคาไว้ดีแล้ว ฝนจึงรั่วรดลงมาไม่ได้

จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 13 และพระคาถาที่ 14 ว่า
ยถา อคารํ ทุจฉนฺนํ
วุฏฺฐิ สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ
ราโค สมติวิชฺฌติฯ

(อ่านว่า)
ยะถา อะคารัง ทุดฉันนัง
วุดถิ สะมะติวิดชะติ
เอวัง อะพาวิตัง จิตตัง
ราโค สะมะติวิดชะติ.

(แปลว่า)
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดี ฉันใด
ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ ฉันนั้น.

ยถา อคารํ สุจฺฉนฺนํ
วุฏฺฐิ น สมติวิชฺฌติ
เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ
ราโค น สมติวิชฺฌติฯ

(อ่านว่า)
ยะถา อะคารัง สุดฉันนัง
วุดถิ นะ สะมะติวิดชะติ
เอวัง สุพาวิตัง จิดตัง
ราโค นะ สะมะติวิดชะติ.

(แปลว่า)
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด
ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ไอบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น.

เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น เทศนาเป็นประโยชน์แก่มหาชน.

ต่อมา ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาถึงเรื่องนี้ โดยได้กล่าวเชิดชูพระศาสดาว่าเป็นยอดมนุษย์ที่สามารถใช้กลวิธี “หนามยอกเอาหนามบ่ง” กับพระนันทะได้สำเร็จ โดยที่ทรงให้คำมั่นสัญญาว่าจะทรงหานางเทพอัปสรที่มีความงดงามยิ่งกว่านางชนบทกัลยาณีให้แก่พระนันทะ หากพระนันทะตั้งใจบวชแล้วบรรลุธรรมขั้นสูงสุด พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของพระเหล่านั้นจึงเสด็จมาสอบถาม และได้ตรัสว่า พระองค์เคยทำเช่นนี้มาแล้วเมื่อครั้งอดีต และได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาลก่อน นันทะนี้เราก็ได้ล่อด้วยมาตุคาม แนะนำแล้วเหมือนกัน

จากนั้น พระศาสดาทรงเล่าบุรพกรรมของพระนันทะว่า เคยเกิดเป็นลาตัวผู้ที่มีความแข็งแรงมาก สามารถบรรทุกสินค้าหนักๆเดินทางได้ถึงวันละ 7 โยชน์ อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าของให้ขนสินค้าไปขายที่เมืองตักกสิลา แต่พอเจ้าของขายของหมดแล้ว จะเดินทางกลับเมืองพาราณสี เที่ยวเดินตามหาลาผู้นั้นอยู่นาน ไปพบติดลาตัวเมียอยู่ เจ้าของพยายามใช้วิธีการแบบ “ไม้แข็ง” ข่มขู่คุกคามอย่างไร ลาผู้ก็ไม่ยอมออกจากลาตัวเมียนั้น จนในที่สุดเจ้าของต้องใช้วิธีแบบ “ไม้นวม” เข้าล่อว่า จะหานางลาสาวสวยๆมาให้เป็นภรรยา ลานั้นจึงยอมจากนางลาเดินทางกลับ พอถึงเมืองพาราณสีได้สองสามวันเท่านั้น ลาผู้ก็ได้ถามเจ้าของถึงคำมั่นสัญญาที่ว่าจะหานางลาสวยๆมาให้เป็นภรรยา เจ้าของจึงบอกว่าจะรักษาคำมั่นสัญญานั้นอย่างแน่นอน แต่มีเงื่อนไขที่ลาผู้อาจจะยอมรับไม่ได้ คือ เจ้าของจะยังคงให้อาหารแก่ลามีปริมาณเท่าเดิม ซึ่งลาต้องแบ่งอาหารนั้นกับภรรยาสาว และแม้ว่าลาจะมีลูกกับลาสาวมาสักกี่ตัวๆ ก็ตาม เจ้าของก็จะยังคงให้อาหารแก่ลามีปริมาณเท่าเดิม ซึ่งลาผู้จะต้องแบ่งปันส่วนอาหารกับภรรยาและกับลูกๆ พอลาผู้ได้ยินเงื่อนไขอย่างนี้ ก็ถึงกับคอตก กลายเป็นผู้สิ้นหวังไปในที่สุด

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกด้วยพระดำรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นางลาในคราวนั้น ได้เป็นนางชนบทกัลยาณี ลาผู้ได้เป็นนันทะ พ่อค้าได้เป็นเราเอง แม้ในกาลก่อน นันทะนี้ เราก็ได้ล่อด้วยมาตุคามแนะนำแล้ว ด้วยประการอย่างนี้”


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท (ยมกวรรค)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2011, 07:19:02 am »

เรื่องนายจุนทสูกริก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษชื่อจุนทสูกริก
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ เป็นต้น

ครั้งหนึ่งในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลจากวัดพระเวฬุวัน มีชายชำแหละเนื้อสุกรผู้หนึ่งมีจิตใจโหดร้ายทารุณมาก ชื่อว่านายจุนทะ นายจุนทะคนนี้เป็นผู้ชำแหละสุกรมาเป็นเวลานานถึง 55 ปี วิธีการหาสุกรของเขาใช้วิธีบรรทุกข้าวเปลือกออกไปตามชนบทเพื่อใช้แลกกับลูกสุกร พอได้ลูกสุกรมาแล้วก็นำไปขังไว้ในคอกที่ข้างหลังบ้าน พอขุนลูกสุกรด้วยอาหารประเภทผัก รำข้าว รวมทั้งอุจจาระจนตัวโตได้ที่แล้ว เมื่อจะฆ่าสุกรตัวใดก็จะนำสุกรตัวนั้นมามัดตัวให้แน่นเข้ากับที่ฆ่า จากนั้นก็ใช้ค้อนใหญ่ลักษณะสี่เหลี่ยมทุบ เพื่อให้เนื้อสุกรนั้นพองหนาขึ้น เมื่อรู้ว่าเนื้อหนาดีแล้ว ก็ง้างปากสอดไม้เข้าไประหว่างฟัน ใช้กระบวยเหล็กกรอกน้ำร้อนที่เดือดพล่านเข้าไปในปาก น้ำร้อนนั้นก็เข้าไปเดือนพล่านในท้อง ขับอุจจาระของสุกรออกมาทางทหารหนักจนหมด จนน้ำที่ไหลออกมาจากท้องสุกรใสสะอาด จากนั้นเขาก็เอาน้ำเดือดพล่านราดหลังของสุกร เพื่อลอกหนังกำพร้าของสุกรออก ต่อไปก็ลนขนสุกรด้วยคบหญ้า ตัดศีรษะมันด้วยดาบที่คมกริบ รองโลหิตที่ไหลออกมาด้วยภาชนะ เคล้าเนื้อด้วยโลหิต แล้วปิ้งรับประทานกับบุตรและภรรยา ส่วนที่เหลือก็ขาย เขาไม่เคยทำบุญให้ทานแม้แต่ครั้งเดียว ต่อมา นายจุนทะเกิดการเจ็บป่วย ก่อนจะตายมีความเจ็บปวดทุรนทุราย ลงคลานส่งเสียงร้องเหมือนเสียงสุกรอยู่เป็นเวลานานถึงเจ็ดวัน เป็นความทุกข์ก่อนตายที่มีลักษณะคล้ายกับตกนรก พอถึงวันที่ 7 นายจุนทะก็สิ้นชีวิตและได้ไปเกิดในนรกขุมอเวจี มหานรก ความเร่าร้อนในอเวจีมหานรกนั้น มีความร้อนกว่าไฟปกติมาก พระนาคเสนจึงกล่าวอุปมาถวายพระยามิลินท์ว่า “มหาบพิตร แม้หินเท่าเรือนยอด อันบุคคลทุ่มลงไปในไฟนรก ย่อมถึงความย่อยยับได้ในขณะเดียวฉันใด ส่วนสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นเป็นประหนึ่งอยู่ในครรภ์มารดา จะย่อยยับไป เพราะกำลังแห่งกรรม เหมือนฉันนั้น หามิได้”

พวกภิกษุเดินทางผ่านประตูบ้านของนายจุนทะ ได้ยินเสียงนั้นแล้ว เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเสียงร้องของสุกร ที่ถูกฆ่าและก็คงเป็นการฆ่าสุกรหลายตัว เพื่อทำอาหารเลี้ยงแขกในงานมงคลอะไรสักอย่างเป็นแน่ เขาช่างมีความโหดร้ายทารุณผิดกับผู้ฆ่าสุกรรายอื่นๆ เขาจะมีความเมตตากรุณาสงสารสัตว์แม้สักนิดก็ไม่มี จึงได้นำเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลพระศาสดา ทำให้ได้ทราบว่า มันไม่ใช่เสียงร้องของสุกรที่ถูกนายจุนทะฆ่า แต่ทว่าเป็นเสียงร้องเหมือนสุกรของนายจุนทะขณะคลานอยู่ในบ้านตลอดเวลา 7 วันนั้นต่างหาก

เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เขาเศร้าโศกอย่างนี้ในโลกนี้แล้ว ยังจะไปเกิดในฐานะเป็นผู้เศร้าโศกเช่นกันอีกหรือไม่” พระศาสดาตรัสว่า “ เป็นอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ประมาทแล้ว จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสองเป็นแท้”

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 15 ว่า
อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ
ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ
ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน ฯ

(อ่านว่า)
อิทะ โสจะติ เปดจะ โสจะติ
ปาปะการี อุภะยัดถะ โสจะติ
โส โสจะดิ โส วิหันยะติ
ทิดสะหวา กัมมะกิลิดถะมัดตะโน.

(แปลว่า)
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
คือ เศร้าโศกในโลกนี้ และเศร้าโศกในโลกหน้า
เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมเดือดร้อน
เพราะมองเห็นกรรมชั่วของตนเอง.

เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ภิกษุเป็นอันมาก ได้บรรลุพระอริยผล มีพระโสดาบันเป็นต้น
พระสัทธรรมเทศนา มีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว.