แต่พระสูตรกล่าวว่า “ ปารมิตา 6 คือ
ทาน ,ศีล ,ขันติ ,จาคะ ,สมาธิและปัญญา บัดนี้ท่านกล่าวว่า
ปารมิตา หมายถึง จิตบริสุทธิ์ ข้อนี้ท่านหมายความว่าอย่างไร แล้วทำไมท่านจึงเรียกว่า
เรือข้ามฟากเล่า ? ”
การสั่งสมอบรมบารมีธรรมทั้ง 6 หมายถึง
การชำระอายตนะทั้ง 6 ให้บริสุทธิ์ โดยการเอาชนะโจรทั้ง 6 คือ
1.
สลัดโจร
ทางตาออกไปด้วยการ
สลัดทิ้งซึ่งโลกธรรมทั้งหลาย * (* ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ
การสลัดละความสนุกสนานในการดูการเห็น ในเรื่องโลกียวิสัยทั้งหลาย….
ผู้แปลไทย )
2. การกำจัดโจร
ทางหู ด้วยการไม่ยินดียินร้าย ในเสียงทั้งหลายทั้งปวง ( คือไม่ฟังเสียง ) เป็นการ
รักษาศีล3. บังคับโจร
ทางจมูกให้อ่อนเชื่องลง โดยการ
วางจิตเป็นอุเบกขา (ไม่ยินดียินร้าย) ในกลิ่นทั้งหลาย เรียกว่า
มีความอดทน ( ขันติ )4. ควบคุมโจร
ทางปาก โดยการเอาชนะความกระหาย
อยากในรสทั้งหลาย ไม่กระหายอยากในเสียงสรรเสริญเยินยอ ไม่กระหายในการพูดคุย นี่คือ
จาคธรรม5. การปราบปรามโจร
ทางกาย โดยการดำรงจิตไม่ให้หวั่นไหวไปกับเวทนาทางกายสัมผัส เรียกว่าการ
บำเพ็ญสมาธิ6. การทำโจร
ทางจิตให้อ่อนเชื่องโดยการไม่ยอมแพ้ต่อ
ความหลง คือโมหะ แต่การเจริญสติอยู่เสมอ เรียกว่า
บำเพ็ญปัญญาการบำเพ็ญบารมีทั้ง 6 นี้ จึงเป็นเสมือนการสร้างพาหนะ สำหรับขนส่ง เหมือนเรือหรือแพ เมื่อได้เป็นพาหนะที่จะขนส่งไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง ดังนั้น บารมีธรรม ทั้ง 6 นี้ จึงถูกเรียกว่า “
เรือข้ามฟาก ”
เมื่อคราวที่พระศากยมุนีบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านได้ดื่มนมสามถ้วยและข้าวต้มหกทัพพี
14* ก่อนหน้าการบรรลุธรรม ถ้าท่านต้องดื่มนมก่อนที่ท่านจะได้ชิมรสแห่งพุทธภาวะ เพียงแต่เฝ้าดูจิตเท่านั้น จะมีผลให้เกิดการหลุดพ้นได้อย่างไร ?
สิ่งที่ท่านพูดนั้นก็จริง,ความที่ว่าท่านบรรลุได้อย่างไรนั้น ท่านต้องได้ดื่มนมก่อนที่จะเป็นพุทธะได้ แต่นมมี 2 ชนิด ชนิดที่พระศากยมุนีดื่มนั้น คงเป็นนมที่ไม่ใช่นมธรรมดา ๆ แต่เป็นนมแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ (
วิสุทธิธรรม) ที่ว่านมสามถ้วยนั้นคือ
ศีล 3 ข้อ หรือ
ปฏิญญา 3 ประการ และข้าวต้ม 6 ทัพพี หมายถึง
ปารมิตา 6 ประการ เมื่อพระศากยมุนีบรรลุพระโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้ดื่มนมแห่งวิสุทธิธรรม ซึ่งพระองค์ชิมรส
ผลของพุทธภาวะนั้นเอง
การที่พูดว่า พระตถาคตได้ดื่มนมอันไม่สะอาดแบบโลก ๆ อันเป็นนมที่มีกลิ่นคาวนั้น เป็นการดูหมิ่นพระองค์อย่างสูง ความจริงที่กล่าวเช่นนั้น ท่านหมายถึง
อมฤตธรรมเป็นธรรมอันปราศจากกิเลสตัณหา ดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยจากความทุกข์ของโลกตลอดกาล
ทำไมต้องนำนมอันไม่สะอาด มาสร้างความพอใจแก่คนหิวกระหายด้วยเล่า ?
พระสูตรกล่าวว่า “ โคตัวนี้ ไม่ได้อาศัยอยู่ในดินแดนที่สูงหรือต่ำ มันไม่กินหญ้าหรือฟาง และไม่ใช่หญ้ากับโค และร่างของโคตัวนี้มีสีสุกใสเปล่งปลั่งเหมือนทองคำขัดเงา โคตัวนี้คือ พระไวโรจนพุทธะ ”
15* หมายถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อสรรพสัตว์ ซึ่งเกิดจากธรรมกายอันบริสุทธิ์ของพระองค์
น้ำนมแห่งอริยมรรคของศีล 3 ข้อ และปารมิตา 6 ข้อ เพื่อบำรุงกำลังใจ แก่บุคคลผู้แสวงหาความหลุดพ้น น้ำนมอันบริสุทธิ์เกิดจากโคเช่นนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้พระตถาคตบรรลุพุทธภาวะเท่านั้น แต่สามารถทำให้ใครก็ตามที่ดื่มแล้วย่อม
บรรลุธรรมอันเลิศคือสัมมาสัมโพธิญาณได้ทั้งนั้น
ตลอดทั้งสูตร พระพุทธเจ้าทรง
ตรัสบอกปุถุชนทั้งหลายว่า พวกเขาสามารถบรรลุธรรมได้
ด้วยการประกอบกรรมที่เป็นกุศลต่าง ๆ เช่น การสร้างวัด , การหล่อพระพุทธรูป , การจุดธูป (กำยาน) บูชา , การโปรยข้าวตอกดอกไม้บูชา , การจุดประทีปตลอดเวลา , การปฏิบัติกิจวัตร 6 ระยะ ทั้งกลางวันและกลางคืน,
16* การเวียนเทียนรอบพระสถูป
17* เจดีย์ ,การสมาทานอดอาหารและการกราบไหว้บูชา
แต่ถ้าการเฝ้าดูจิตได้รวมกิจวัตรต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ ด้วยดูเหมือนว่ากิจกรรมเหล่านี้จะเป็นเรื่องมากเกินความจำเป็น
พระสูตรของพระองค์นั้น ได้บรรจุ
ปริศนาธรรม คำอุปมาเอาไว้มากมาย เพราะปุถุชนทั้งหลายมีจิตใจตื้น ( คิดตื้น ) จึงไม่เข้าใจอะไรได้ลึกซึ้ง พระพุทธเจ้าทรง
ใช้รูปธรรม เพื่อแสดงนัยแห่ง
นามธรรม * (* ใช้บุคลาธิษฐาน เพื่อแสดงธรรมมาธิษฐาน....
ผู้แปลไทย ) บุคคลผู้แสวงหาความสงบสุข โดยอาศัยการพิจารณาไปกับงานภายนอก แทนที่จะฝึกฝนอบรมในใจ มันจึงเป็นความพยายาม ที่สูญเปล่า
สิ่งที่ท่านเรียกว่า “วัด” เราเรียกว่า “ สังฆาราม ” หมายถึง
สถานที่ปฏิบัติธรรมชำระจิต แต่ใครก็ตามป้องกัน
การเข้าไปของกิเลสทั้งสามกอง และระวังรักษาประตูคือ
อายตนะของตนให้บริสุทธิ์
ทั้งกายและใจสงบ และยังสะอาดทั้งภายในและภายนอก ชื่อว่าเป็นผู้สร้างวัด ๆ หนึ่งทีเดียว
การก่อพระเจดีย์ หมายถึงว่า บุคคลผู้แสวงหาการหลุดพ้น ต้องสามารถ
ฝึกฝนตนเองในข้อวัตรปฏิบัติได้ทุกอย่าง
อริยมรรคของพระตถาคต
ไม่สมควรจะตีความหมายเป็นวัตถุภายนอก บุคคลผู้แสวงหา
โมกขธรรม ถือว่ารูปกายของเขานั้นเป็นเสมือนเตาหลอม , ธรรมะเป็นเสมือนไฟ ,ปัญญาเป็นเสมือนช่างผู้ชำนาญ และศีลทั้งสามข้อและปารมิตาทั้งหกข้อเป็นเสมือนแบบพิมพ์
พิมพ์เหล่านี้ ทำหน้าที่หล่อหลอมแล้ว นำมาขัดเกลาตกแต่งให้ธรรมชาติแห่งพุทธะที่แท้จริงปรากฏกายขึ้นในตนเอง และเทลงไปในแบบที่ตกแต่งด้วยระเบียบวินัยและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ
ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเขาก็สามารถสร้างภาพเหมือนที่ครบถ้วนได้โดยธรรมชาติ กายอมตะและประเสริฐ (
อริยรูป ) ย่อมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเปลี่ยนแปลงและเสื่อมเสีย ถ้าแสวงหาสัจจธรรม แต่ไม่เรียนรู้วิธีสร้างภาพที่เหมือนจริง ( พุทธรูป ) ท่านจะได้รับประโยชน์อะไรเล่า ?
เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 14* - 17*14* หลังจากที่ได้ทรงอุทิศตนเป็นนักบวช ออกแสวงหาการปฏิบัติเป็นเวลาหลายปี โดยที่ไม่ได้รับผลสำเร็จ พระศากยมุนี ก็ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระองค์ แล้วหันมาบริโภคข้าวมธุปายาส (ข้าวต้มใส่น้ำนม ) ซึ่งนางนันทผลาลูกสาวของหัวหน้าคนเลี้ยงวัวนำมาถวาย เมื่อทรงเสวยแล้วก็ได้นั่งประทับอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า จะไม่ยอมลุกจากที่นี้ จนกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ
15* ได้แก่ พระสุริยพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นธรรมกายหรือกายแท้ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นไวยโรจนะ จึงหมายถึง รูปลักษณ์ส่วนกลางที่อยู่ในวิหารของพระศากยมุนี พุทธะทั้ง 5 พระองค์ ซึ่งประกอบไปด้วย พระอกโภยะแห่งทิศตะวันออก , พระรัตนสัมภยะแห่งทิศใต้ , พระอมิตาภะ แห่งทิศตะวันตก , และพระอโมคสิทธิแห่งทิศเหนือ
16* ได้แก่ยามเช้า เที่ยง บ่าย เย็น เที่ยงคืนและใกล้รุ่ง
17* สถูปเป็นลักษณะดินรูปโอ่งคว่ำ หรือสิ่งก่อสร้างขึ้นมาครอบพระธาตุต่าง ๆ เป็นต้นว่า พระบรมสารีริกธาตุหรือพระคัมภีร์ของพระพุทธเจ้า การเดินเวียนรอบสถูปนั้นต้องเดินเวียนขวา (ปทักษิณ) คือ ไหล่ขวาจะต้องหันเข้าหาสถูปเสมอ 8 สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะแห่งคุณสมบัติทั้ง 5 ประการของร่างกายพระพุทธเจ้าpic by :
Bowie:http://www.ladysquare.com/forum_posts.asp?TID=40366&PN=7&title=swiss