ผู้เขียน หัวข้อ: นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน โดยครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท  (อ่าน 8143 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
เริ่มโหมโรง "มหากาพย์"
หนังสือธรรมะคำสอนเซน..
ที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย
"หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน" (the core of zen)
เขียนโดย พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท





เข้าไปอ่าน"หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน" (the core of zen)
ได้ที่

1.http://www.facebook.com/ammarintharo

2.http://www.facebook.com/profile.php?id=100004436700138

3.http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398


และเข้าไปฟัง ธรรมะใจต่อใจในการฝึกตน mp 3 ( video )
ได้ที่

1.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 1.flv
2.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 2.flv
3.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 3.flv
4.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 4.flv
5.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 5.flv
6.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 6.flv
7.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 7
8.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 8
9.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 9


[/size]

        


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 06:02:53 am โดย นิกายเซน »

ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
คำอนุญาต
 
 หนังสือธรรมะ “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen) ถูกพิมพ์ขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์
เผยแพร่ธรรมะ เพื่อให้ธรรมเป็นทาน หากผู้ใดมีเจตนา จะเอาธรรมะในหนังสือเล่มนี้ไปพิมพ์ต่อ เพื่อมีเจตนาจะเผยแพร่ธรรม และพิมพิ์แจกฟรี ผู้เขียนอนุญาตในทุกกรณี แต่ห้ามดัดแปลง แก้ไข เพิ่มเติม เนื้อหาธรรมะ ในทุกส่วนของหนังสือเล่มนี้ ขออนุโมทนาบุญ สำหรับผู้ที่สนใจ จะนำ หนังสือธรรมะ “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen) ไปพิมพ์แจกจ่ายฟรี เพื่อให้ธรรมเป็นทาน สมดังเจตนาของผู้เขียน
 
 ผู้เขียน พระราเชนทร์ อานนฺโท





ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันก้าวไปกว่ากรอบทางศาสนา
และความเชื่อใดๆที่มนุษยชาติเคยรู้จัก
มันก้าวหน้าพ้นแม้กระทั่ง
ศีลธรรมอันดีอันบริสุทธิ์ของมนุษย์
ในเนื้อหาธรรมชาติมันมีแต่ความว่างเปล่า..มันไม่มีกรอบ
..
..
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน





สอนฉัน
แล้วฉันจะลืม
แสดงให้ฉํนทำ
แล้วฉันจะจำได้
ให้ฉันฝึกทำ
แล้วฉันจะเข้าใจ
ลองถอยไป
ให้ฉันแสดงให้ดู
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน





ฟ้าร้อง..คำรามลั่น
น้ำฝนย้อยลงเหมือนสายม่าน
ใจเย็นฉ่ำเหมือนฝน
..
..
บทกวีไฮกุ...นายเมฆ โคโมริ
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน







ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
        "คนของเรา"
                         ย่อมขึ้นฝั่งพระนิพพานทุกดวงจิต
                         ภายใต้ความโอบอุ้มปีกพุทธะ
                         แห่ง "ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ "
                         ที่เราจักหยิบยื่นให้ตามวาระและโอกาส
                         ด้วยมิตรไมตรีที่เคยมีให้กันเสมอมา                   
                                                   ครูสอนเซน   
                                      พระอาจารย์ราเชนทร์  อานนฺโท   
                                                                             




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 12:45:27 pm โดย นิกายเซน »

ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
                          ฉันจะกลับไปญี่ปุ่น
                          ไปพบครูสอนเซน
                          ผู้วางแนวทางให้แก่ฉัน
                          กลับไปหาพ่อแม่และคนที่ฉันรัก
                          ฉันจะพาเธอไปดูต้นข้าวที่ออกรวง
                          ในแปลงนาของเราผืนนั้น




ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง

            “มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ” เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการ ชาวไทยเป็นอย่างดี ภายหลังจากที่หนังสือ One Rice Straw Revolution หรือในชื่อไทยคือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ได้รับการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2530 ฟูกูโอกะได้รับรางวัล แมกไซไซ ในปี 2531 จากผลงานเกษตรธรรมชาติซึ่งมีหลักการสี่ประการได้แก่ การไม่ไถพรวน การไม่ใช้ปุ๋ยเคมี การไม่กำจัดวัชพืช และการไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลักการของฟูกูโอกะได้สวนทางกับการเกษตรกรรมแผนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ฟูกูโอกะเป็นนักโรคพืชวิทยาที่ผันตัวเองไปเป็นเกษตรกรมาไม่ต่ำกว่า 50 ปี โดยพยายามที่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศในไร่นาให้กลับมามีชีวิตดังเดิม สร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผลในทางคุณภาพและปริมาณอีก
            ด้วยมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะซิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และจบการศึกษาทางจุลชีววิทยาสาขาโรคพืชวิทยา เคยทำงานเป็นนักวิจัยทางการเกษตรของกรมศุลกากรเมืองโยโกฮาม่าในการตรวจสอบ พันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ได้ตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาใช้เวลากว่า 50 ปี ไปกับการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ
          ฟูกูโอกะเป็นผู้นำงานจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาอธิบายว่า ชาวนาเชื่อว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกัน ทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน แต่ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย เพียงแต่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง           
         ผู้เขียนนึกถึงหนังสือเล่มนี้ทีไรก็อดนึกถึงวันเก่าๆในสมัยที่ยังเป็นพระเด็กๆซึ่งเริ่มหัดภาวนาไม่ได้  ก็เพราะว่าหนังสือเล่มนี้นี่เอง   “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” ( One Rice Straw Revolution ) ที่มันพลิกโฉมหน้าการปฏิบัติของข้าพเจ้ามาสู่เส้นทางธรรมอันคือธรรมชาติมาจนถึงทุกวันนี้ ข้าพเจ้าต้องขอบคุณ ดร.ฟูกูโอกะ ที่ท่านเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นและหนังสือของท่านได้รับรางวัลแมกไซไซ แล้วข้าพเจ้าก็เคยอ่านหนังสือเล่มนี้มาตั้งแต่สมัยเป็นฆาราวาสตอนนั้นเรียนอยู่มหาวิทยาลัย ปี 3  และครั้งเมื่อมาบวชได้ 9 พรรษาจึงได้มาเจอหนังสือเล่มนี้อีกครั้งบนศาลาใหญ่หอประชุม แห่ง “วัดถ้ำเสือวิปัสสนา” จังหวัดกระบี่  เป็นวัดที่ข้าพเจ้าได้มาจำพรรษาพำนักอยู่หลายปีแล้ว  ครั้งเมื่อเจอมันโดยบังเอิญก็รีบหยิบมันขึ้นมาอ่านเพื่อเสพอรรถรสในเนื้อหาเดิมๆของหนังสือเล่มนี้
          แต่เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านไปๆ ก็ฉุกคิดขึ้นมาไม่รู้ตัวถึง “วิธีการธรรมชาติ” ที่ ดร.ฟูกูโอกะ   ท่านนำเอามาใช้ในวิธีการทำเกษตรของท่านเองที่ตั้งใจย้อนยุคไปสู่วิธีการธรรมชาติดั้งเดิมในการทำกสิกรรมของคนญี่ปุ่นโบราณ  บนพื้นฐานความคิดที่ว่า “ไม่ต้องใส่วิธีการใดๆลงไปในการเพาะปลูก ไม่ไถพรวน ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่กำจัดวัชพืช และไม่ใช้สารเคมี ควรให้ธรรมชาติมันปรับปรุงระบบมันเอง แล้วทุกอย่างที่เพาะปลูกมันจะลงตัว”  ข้าพเจ้าได้เปรียบเทียบว่า มันก็เหมือนกับการที่ข้าพเจ้า พยายามปฏิบัติธรรม ทำโน้น ทำนี่ ทำตรงนั้นกับตรงนี้ เป็นการใส่วิธีการลงไปเพื่อให้ได้มาซึ่งผลแห่งการปฏิบัติตามที่ข้าพเจ้ามุ่งหวังไว้ แต่ในภาวะความเป็นจริง ข้าพเจ้าปฏิบัติธรรมมาตั้ง 9 พรรษาแล้วนับแต่บวช แต่ผลแห่งการปฏิบัติก็ไม่คืบหน้าเท่าที่ควรแต่อย่างใด ก็เคยมีอยู่ครั้งหนึ่งปฏิบัติจนได้อภิญญาแล้วในระดับหนึ่งซึ่งเป็นโลกียฌาน ได้มาหลายๆอย่างแต่ก็ทำให้ตัวเองควบคุมกำลังจิตตรงนั้นไม่ได้ จนทำให้จิตข้าพเจ้ามันเกิดความวิปลาส  จิตแตกจิตเสีย เกือบแทบเสียผู้เสียคนเสียความเป็นพระนักปฏิบัติไป ครั้งนั้นทำให้ข้าพเจ้าละเลิกการเข้าไปทำกรรมฐานแบบกสินอย่างเด็ดขาดและหันมาวิปัสสนาดูจิตตนเองมากขึ้น  แต่เมื่อวิปัสสนามาอีกหลายปีมันก็ยังไม่ดีขึ้น ราคะ โทสะ โมหะ ก็ยังมีอยู่เต็มหัวใจ จนกระทั่งข้าพเจ้าคิดว่า ตนเองคงไม่มีวาสนาที่จะบรรลุขึ้นฝั่งพระนิพพานเป็นพระอรหันต์เหมือนครูบาอาจารย์รูปอื่นๆแล้วกระมัง ทั้งๆที่ข้าพเจ้าก็นั่งสมาธิเพื่อให้จิตสงบขึ้นและเดินจงกรม พิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญญาตามรู้ตามดูจิตของตนเองตลอด โดยมีเวลาพักผ่อนได้นอนวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้นมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว
          แต่เมื่อมาอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ฉุกคิดขึ้นมาถึงคำว่า “เพียงแต่ให้ธรรมชาติมันฟื้นฟูตัวมันเอง แล้วทุกอย่างที่เพาะปลูกมันจะลงตัว”  มันทำให้ข้าพเจ้าครุ่นคิดเก็บนำมาพิจารณาถึงเรื่อง “จิต” ของเราเช่นกัน เราเองก็ควรปล่อยให้จิตมันดำเนินกลับไปสู่วิถีธรรมชาติดั้งเดิมของมัน แล้วมันน่าจะฟื้นฟูตัวมันเองออกจาก อวิชชาตัณหาอุปาทานได้ เพราะโดยธรรมชาติของจิตนั้นเมื่อถูกปรุงแต่งขึ้น มันก็ย่อมตั้งอยู่ได้ไม่นาน หลักธรรมชาตินั้นมันไม่มีอะไรที่สามารถตั้งอยู่ได้เพราะธรรมชาติแท้จริงมันคือความไม่มีไม่เป็น ถ้ามีมันก็ย่อมแปรปรวนเสื่อมไปสิ้นไป ดับไปเองตามภาวะธรรมชาติอยู่แล้ว  ข้าพเจ้าเลยกลับมาพิจารณาถึงวิธีปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้าที่พยายามฝืนธรรมชาติทำในสิ่งที่ขัดต่อธรรมชาติ  โดยข้าพเจ้าพยายามเข้าไป บังคับ จับฉวย จับกุม ให้จิตมันว่างไม่ปรุงแต่งขึ้นมา
 
          มันก็คงเหมือนกับที่ พวกชาวนาญี่ปุ่นเชื่อว่า... “ทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกัน ทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน”   มันเป็นการที่ชาวนาใช้ความพยายามทำอะไรลงไปสักอย่างในผืนนาแล้วชาวนาเหล่านี้คิดว่า การกระทำแบบนั้นเป็นการช่วยส่งเสริมการพรวนดินทำให้คุณภาพดินดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงการกระทำดังกล่าวมันกลับทำให้ดินแย่ลงกว่าเดิม และชาวนาพวกนี้ก็ลืมและมองข้าม “วิธีธรรมชาติ” ไปว่า แท้จริงแล้วธรรมชาตมันก็มีวิธีการปรับปรุงตัวมันเองอยู่แล้ว    และวิธีการธรรมชาติมันก็เป็นวิธีการจัดการโดยตัวมันเองโดยกระบวนการมันเอง และเป็นวิธีที่ดีที่สุดแบบเหมาะสมลงตัว  ด้วยการปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย
          ในการจัดการจิตก็เช่นกัน หากเรางดเว้นที่จะเอาความเป็น “เรา” เข้าไปยุ่งเกี่ยวยุ่งยากกับมัน แล้วปล่อยให้ “ธรรมชาติ”  แห่งจิตนั้น มันจัดการปรับปรุงตัวมันเอง  โดยเราเห็นว่าจิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นนั้นมันคือทุกข์ ก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งเข้าไปสาละวนในการปรุงแต่งต่อเติมยืดเยื้อออกไป เมื่อเราหยุดสาละวน โดยธรรมชาติแห่งจิตนั้นเมื่อไม่มีสิ่งใดแปลกปลอมเข้ามายุ่งเกี่ยวกับมันมาทำให้มันต้องแสดงเนื้อหาแห่งความปรุงแต่งเป็นตัวจิตมันให้ยืดยาวออกไป โดยธรรมชาติจิตนั้นเองมันก็จะมีความแปรปรวนไปตั้งอยู่ได้ไม่นานและในท้ายที่สุดแล้วมันก็จะดับไปเองเป็นธรรมดาตามระบบธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้ว      การที่จิตมันดับไปๆ   มันก็ทำให้เราออกจากพฤติกรรมที่ชอบเข้าไปปรุงแต่งให้เกิดขึ้นเป็นจิตอยู่เนืองๆ มันเป็นระบบธรรมชาติที่ช่วยฟื้นฟูปรับปรุงจิตให้กลับไปสู่ระบบธรรมชาติของจิตที่มันแปรปรวนดับไปไม่มีเหลือเป็นธรรมดา  ธรรมชาติแห่งความเสื่อมไปสิ้นไปมันจะช่วยปรับปรุงฟื้นฟูให้เกิดความคลายกำหนัดอันเกิดจากการที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น
       นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา ทำให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจถึงความหมายแห่งธรรมชาติที่มันมีอยู่ในธรรม และเข้าใจอย่างชัดเจนในพุทธประสงค์ที่พระพุทธองค์ท่านตรัสไว้ว่า
-ธรรมชาติแห่งจิตนั้น เมื่อมันถูกปรุงแต่งเกิดขึ้นเป็นจิต มันย่อมตั้งอยู่ได้ไม่นาน มีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดา
-ธรรมชาติแห่งขันธ์ทั้ง 5 นั้น เมื่อขันธ์ทั้ง 5 เกิดขึ้นแล้ว ขันธ์ทั้ง 5นั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา
       พระพุทธองค์ท่านก็ใช้ระบบธรรมชาติที่สามารถฟื้นฟูตัวมันเองเข้ามาในการแก้ไขปัญหาแห่งทุกข์แห่งการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นเป็นจิตต่างๆ และพระพุทธองค์ท่านก็ค้นพบในวันที่ท่านได้ตรัสรู้ว่า แท้ที่จริงหากหลงผิดยังคิดว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ธรรมชาติแห่งความมีของสิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอนตั้งอยู่สภาพแห่งความมีเดิมๆได้ไม่นาน มันย่อมแปรปรวนสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพแห่งธรรมชาติ และแท้ที่จริงธรรมชาติอันแท้จริงนั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้นไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นได้เลย และจึงไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะแปรปรวนดับไป มันคือความว่างเปล่าที่เป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ใน ตติยนิพพานสูตร ว่า นิพพาน คือ “ธรรมชาติ แห่งการปรุงแต่งไม่ได้แล่ว”       
    เมื่อข้าพเจ้าเข้าใจเนื้อหาธรรมชาติดังนี้แล้ว นับแต่วันที่ได้อ่านหนังสือ “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” ของ ดร.ฟูกูโอกะ เสร็จแล้ว ข้าพเจ้าจึงงดเว้นที่จะเอาความเป็น “ข้าพเจ้า” เข้าไปกำกับจิต จับฉวยจับกุมจิต ตามรู้ตามดูเพื่อบังคับจิตมิให้มันเกิดขึ้นหรือคอยบังคับให้มันดับไปตามความต้องการของข้าพเจ้าแล้วคอยประคองภาวะความว่างอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมันผิดวิธีธรรมชาติ ข้าพเจ้าได้เริ่มนำเอากระบวนการวิธีธรรมชาติมาใช้ในการปฏิบัติธรรม เพื่อให้ระบบธรรมชาติมันปรับปรุงฟื้นฟูตัวมันเอง จนกว่าข้าพเจ้าจะตระหนักชัดและซึมทราบภาวะแห่งความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ของมันอีกครั้ง






ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
การเกิดขึ้นของมายาก็ดี
การถอนมายาออกเสียได้ก็ดี
ล้วนแต่เป็นมายาด้วยกันทั้งสิ้น
..
..
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน




ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
หันหลังให้มายา
กลับสู่ธรรมชาติพุทธะ
โลกใบนี้...แค่นี้
..
..
เซน แห่ง ครูสอนเซน (พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท)



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



ใจต่อใจในการฝึกตน 

         ท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวแห่งฤดูร้อนในเดือนกรกฎาคม        วัดเรียวอันจิร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่   ให้ร่มเงาแก่ผู้มาเยือนชมหิน ๑๕ ก้อนอันลือนาม   ที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก   ปีนั้นเกียวโตอายุครบ ๑,๒๐๐ ปี      มูลนิธิญี่ปุ่นร่วมฉลองงานโดยให้ทุนอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปทัศนศึกษา เพื่อเป็นการเตรียมงานฉลองเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี  ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙  เมื่อมีโอกาสแวะวัดเรียวอันจิคราวนี้                  เราได้รับอนุญาตพิเศษเข้าไปในบริเวณด้านใน            หลบลี้หนีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปที่ประดิษฐานข้างใน         หลังจากนั้น อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ             ขอเข้าพบเจ้าอาวาสวัดที่เคยพบเมื่อหลายปีก่อนเพื่อถวายของฝากให้ท่าน      ครั้นไปพบแล้วก็ปรากฏว่าไม่ใช่รูปนี้ที่เคยพบแต่ก็ถวายของที่นำมาให้กับท่าน       แล้วบอกท่านว่า      พวกเรามาจากที่ที่วุ่นวายมาก     ท่านจะมีอะไรจะสอนเพื่อให้เราได้มีความสงบใจบ้าง     ยังจำหน้าตายิ้มแย้มและเสียงหัวเราะอันกังวานของท่านได้      เมื่อท่านตอบผ่านล่ามว่า      “อาตมาอยู่ที่นี่ก็วุ่นวายมากแล้วเห็นจะไม่มีอะไรจะบอกกล่าว”         ทำให้เรานึกภาพวัดเรียวอันจิที่พลุกพล่าน      ขนมหวานที่ท่านกรุณานำมาต้อนรับ รสกลมกล่อม       ชาเขียวเล่าก็ปลุกเราให้ตื่น    ลิ้มรสหมดเกลี้ยง  แล้วจึงได้กราบลาท่าน พอเราเดินพ้นประตูกุฏิท่านได้เพียงไม่กี่ก้าว    ก็มีคนวิ่งออกมาบอกว่าพระที่เราอยากจะพบตัวจริงนั้นอยู่ที่ไดชูอิน     พร้อมนำเราเดินไปอีกมุมหนึ่งของวัดเรียวอันจิ         และมอบของที่ระลึกคืนเพื่อถวายให้กับท่านอาจารย์  ที่อาจารย์ศิริชัยต้องการมาเยี่ยมคารวะตรงประตูเล็ก ๆ หน้าบริเวณไดชูอิน ชาวตะวันตกชายหญิง ๑ คู่      ในเสื้อญี่ปุ่นสีดำ       ละมือจากการตัดเล็มพุ่มไม้มาต้อนรับคณะเรา    แล้วนำเราไปนั่งรออาจารย์ที่เรือนไม้หลังเล็กอันเป็นกุฏิของท่าน
               ท่านโซโก โมรินากะ โรชิ        ดูสูงสง่าด้วยผ้าสีน้ำตาลอ่อนค่อนไปทางสีชมพู      ที่เป็นเสื้อคลุมตัวนอก   หรือ      (okesa)            กลมกลืนกับจีวรที่คล้องคอ ในวัย ๗๐ ปีต้น ๆ          ท่าทางท่านยังคล่องแคล่วแข็งแรง           เราเริ่มสนทนากับท่านโดยผ่านล่ามคือ คุณโอชิ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ ทานาเบ้          ผู้ซึ่งยอมรับในภายหลังว่า            ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเป็นล่ามครั้งนี้เพราะเขารู้เรื่องพุทธศาสนานิกายเซนน้อยมาก      แม้เป็นชาวญี่ปุ่นโดยกำเนิด          ท่านโซโก โรชิ   พูดถึงการฝึกปฏิบัติแบบซาเซนว่าสำหรับบางคนต้องใช้เวลายาวนาน        พลางชะโงกหน้าไปข้างนอกดูลูกศิษย์ชาวเยอรมัน ๒ คน    ที่ต้อนรับเราเมื่อครู่ก่อน ก่อนจะบอกเราว่า “คู่นี้อยู่ฝึกมาแล้ว ๑๕ ปี แล้วยังไม่ละลายเลย”
          ท่าน โซโก โรชิ    เกิดในเมืองเล็ก ๆ ชื่อ อูโอทซู    จังหวัดโตยามะ   ที่ตั้งริมฝั่งทะเลญี่ปุ่น     และเติบโตมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ กำลังเข้มข้นแผ่ขยาย   และญี่ปุ่นถลำลึกลงในเวทีประยุทธ์พร้อมชูความรักชาติเป็นธงชัยให้ประชาชนเห็นดีงามด้วย       ช่วงนี้ท่านโซโก โรชิ   ยังเป็นนักเรียนอยู่ชั้นมัธยมสายศิลปะซึ่งถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารสู้รบศัตรู ในขณะที่นักเรียนสายวิทยาศาสตร์ที่ถูกเก็บไว้ให้ทำงานด้านเทคนิควิทยาการ    และการแพทย์       ท่านเล่าไว้ใน     Pointers to Insight   หนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่เป็นอัตชีวประวัติว่า     ที่เป็นดังนั้นก็เพราะรัฐบาลเห็นว่า            นักเรียนสายวิทยาศาสตร์จะทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้มาก    นักเรียนสายศิลปะซึ่งมักจะมีปรัชญา และความเห็น   ขัดแย้งกับรัฐบาลเสมอ    ในที่สุดเด็กหนุ่มทั้งหลายในสายศิลปะก็ต้องไปทำสงครามในนามของความรักชาติ เพื่อนร่วมชั้น และ ร่วมโรงเรียนของท่านหลายคน   ได้ทิ้งชีวิตไว้ในสนามรบ ทำให้ท่านและเพื่อนร่วมวัยต้องตกอยู่ในภาวะครุ่นคำนึงถึงความตาย       และในกรณีของท่านเองนั้นเองนั้น  ก่อนที่ท่านจะต้องออกไปเป็นซามูไรสมัยใหม่นั้น  ทั้งโยมพ่อ    และโยมแม่เสียชีวิตในเวลาไร่เรี่ยกันเพียงไม่กี่วัน    การรอดชีวิตจากสงคราม ยามเมื่อสงบลงแล้วนั้น   จะเรียกว่าเป็นโชคดีเสียทั้งหมดเลยก็มิได้           เพราะประเทศผู้แพ้นั้นตกอยู่ในสภาพที่ย่อยยับดับสลาย   โดยเฉพาะเรื่องของมาตรฐานศีลธรรมจรรยา  รวมทั้งความเชื่อซึ่งสั่นคลอนทั้งสังคมก็ว่าได้     ถูก–ผิด ดี–ชั่ว      นั้นแทบแยกกันไม่ออกตัดสินกันไม่ได้เลยทีเดียว            ยากนักที่จะดำเนินชีวิตต่อไปด้วยสิ้นไร้รากฐานความเชื่อในชีวิต  การศึกษาก็ดูไร้ค่าไปหมด    และมีการปฏิรูปที่ดินครั้งใหญ่หลังสงคราม ท่านโซโก โรชิ  พบว่าที่ดินที่บรรพบุรุษได้สั่งสมไว้ถูกยึดคืนไปหมด เคว้งคว้างหาที่พึ่งอยู่ได้ไม่นาน    โชคชะตา       ก็นำพาให้ไปยืนเคาะประตูไดชูอิน     สาขาเล็ก ๆของวัดเซนในเกียวโต

    ที่นี่เอง     ท่านได้เรียนรู้ที่จะวางใจในครู     หลังจากที่สูญสิ้นความวางใจในทุกสิ่งทุกอย่างไปแล้ว                วันแรกที่ไปถึงพระอาจารย์คือท่าน ซูอิกัน โรชิ ขณะนั้นอยู่ในวัย ๗๐ ปีแล้ว  ได้ตั้งคำถาม   หลังที่ได้ฟังเรื่องราวของหนุ่มน้อย     ผู้แจ้งความประสงค์จะบวชอยู่ที่วัด ว่า   “ดูเหมือนว่าเธอจะสิ้นศรัทธาต่อทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งผู้คนด้วย   แต่ที่นี้การฝึกปฏิบัตินั้น     จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากเธอไม่วางใจในครู เธอจะไว้เนื้อเชื่อใจฉันได้ไหมล่ะ   ถ้าได้ฉันจะรับเธอไว้ที่นี่    แต่ถ้าไม่ ก็เป็นการสูญเปล่า    เธอก็กลับบ้านเสียดีกว่า”            แม้จะไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของความวางใจ             แต่ด้วยความกลัวจะถูกปฏิเสธท่าน โชโก โรชิ      จึงตอบแข็งขันว่า  ท่านวางใจในท่านอาจารย์    บทเรียนในวันแรกที่ไดชูอิน   อาจารย์ซูอิกัน        ไม่ได้สอนด้วยการนั่งเทศนา     พรรณนาด้วยคำพูดอันมากมาย แต่ด้วยวิธีการชี้นำที่ล้ำลึกควรแก่การเอ่ยถึง     นั่นคือท่านบอกให้ท่าน โซโก โรชิ ไปกวาดบริเวณรอบ ๆ ไดชูอิน    ในวัดเซนทุกวัดนั้นพระท่านตั้งใจปลูกต้นไม้หลากหลายพันธุ์     เพื่อที่จะให้มีใบไม้ร่วงให้พระได้กวาดเป็นการฝึกปฏิบัติตลอดทุก ๆ ฤดูกาล    เพื่อจะเป็นที่ยอมรับของอาจารย์  ท่าน โซโก โรชิ จับไม้กวาดลงมือปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างแข็งขัน      ไม่นานก็ได้ใบไม้กองใหญ่เท่าภูเขา      แล้วจึงไปถามอาจารย์ท่านว่าจะให้เอาขยะกองนี้ไปไว้ที่ไหน     อาจารย์ซูอิกัน ส่งเสียงดังทันใด “ใบไม้ไม่ใช่ขยะนะ นี่เธอไม่เชื่อใจใช่ไหม”    พอท่านเปลี่ยนคำถามว่า       จะให้กำจัดใบไม้เหล่านี้อย่างไร   อาจารย์ก็แผดเสียงอีกว่า     “เราไม่กำจัดมันหรอก”    และบอกให้ท่านไปเอาถุงมาใส่ใบไม้ที่กวาดได้นำไปเก็บไว้เป็นเชื้อเพลิง        ส่วนที่เหลือเป็นก้อนกรวดก้อนหินที่หลังเก็บไปแล้วท่านให้นำไปไว้ตรงชายหลังคา      เป็นทั้งที่รองรับน้ำฝน และเพิ่มความงามให้กับสถานที่ และท้ายสุดท่านอาจารย์ก้มลงเก็บเศษของกรวดหินชิ้นเล็ก ๆ     นำไปฝังไว้ในดินจนบริเวณนั้นเกลี้ยงเรียบหมดจด    แล้วจึงพูดขึ้นว่า   “เธอเข้าใจบ้างแล้วหรือยังว่า สภาพที่แท้และดั้งเดิมของมนุษย์และสรรพสิ่งนั้นปราศจากขยะ”        นี่เป็นบทเรียนแรกในชีวิตสมณะของท่าน โซโก โรชิ     อีกนานกว่าท่านจะค่อย ๆ เข้าใจว่า    นี่คือถ้อยคำที่เป็นสัจธรรมในพุทธศาสนา และเป็นสาระเดียวกันกับที่ศากยมุนีได้เปล่งเป็นวาจาในคืนวันตรัสรู้      ดังที่บันทึกไว้ในพระสูตรมหายานของจีนว่า     “ตถาคต บรรลุถึงซึ่งมรรควิถีพร้อมโลกทั้งโลก และสรรพชีวิต สรรพสิ่งทั้งหลาย ภูผาป่าดง     แม่น้ำลำธาร ไม้ใหญ่   และหย่อมหญ้าล้วนตรัสรู้ด้วยกันหมดทั้งสิ้น”
          เช้าจรดค่ำในวัดเซน     จะเป็นช่วงเวลาของการฝึกตนในวิถีชีวิตที่ดำเนินไปแต่ละวัน ตื่นนอนตอนเช้า ฉันอาหาร ตามด้วยพิธีชงชาอย่างสั้น ๆ    อันเป็นโอกาสที่จะได้พบปะสนทนากับครูที่ไดชูอิน             ช่วงนั้นมีเพียงท่านอาจารย์ซูอิกัน ลูกศิษย์ชื่อ โซโก โมรินากะ  และสตรีผู้สูงวัย อีกท่านหนึ่ง ชื่อ โอกาโมโต   ผู้ซึ่งเคยมีส่วนพัฒนาการการศึกษาของผู้หญิงในญี่ปุ่น      แต่บัดนี้ดูแลเอาใจใส่ท่านอาจารย์ ชูอิกัน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่พระเซนจะอยู่ร่วมกับสตรี   แม้ก่อนหน้าจะมีการอนุญาตให้พระแต่งงานมีครอบครัวได้อย่างเป็นทางการ         (เชื่อกันว่าเป็นการลดอำนาจของพระสงฆ์ที่มีสูงมากในช่วง    โชกุนเป็นใหญ่)     ก็มีผู้หญิงพำนักพักพิงอยู่ในวัดอย่างไม่เปิดเผย  ดังที่มีคำใช้เรียกเธอว่า  ไดโกกุ–ซามะ (Daikoku–sama)     ซึ่งเป็นชื่อเทพารักษ์แห่งโชค องค์หนึ่งในเจ็ด   ชาวญี่ปุ่นมักจะเอาเทวรูปของ ไดโกกุ–ซามะ ไว้ในครัวหรือตามทางเดินเข้าบ้าน    สุภาพสตรีของท่านซูอิกันท่านนี้นอกจากจะดูแลเรื่องส่วนตัวของท่านอาจารย์แล้ว         ยังเป็นคู่สนทนาธรรมที่มีสติปัญญาเฉียบแหลม         เป็นประโยชน์ต่อศิษย์ที่นั่งฟังอยู่ เมื่อแรกที่ได้อยู่ในไดชูอินนั้น    ท่านอาจารย์ไม่เคยสนทนากับลูกศิษย์เลย   แม้เมื่อคุณโอกาโมโต จะบอกให้เสนอ
ความเห็น      ท่านอาจารย์ก็ตัดบทไม่ให้กล่าวอะไรด้วยเหตุผลที่ว่า “เขายังไม่พร้อมที่จะพูดต่อหน้าผู้คน”  ช่วงนั้นท่านโซโก โรชิ    ยังโต้เถียงอาจารย์ อึงอลอยู่ในใจ         แล้วจึงเข้าใจในเวลาต่อมาว่า  การฝึกตนที่จะไว้วางใจครูนั้น  จะต้องฝึกที่จะตอบรับทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่เฉพาะแค่วาจาท่าทางเท่านั้นแต่ด้วยใจทั้งหมดทั้งสิ้นด้วย    เมื่อมองย้อนไปในอดีต    ท่านโซโก โรชิ   รู้สึกซาบซึ้งในวิธีการอันเข้มงวดที่อาจารย์ของท่านปฏิบัติต่อท่าน เพราะทำให้ท่านได้สำรวจตรวจสอบความตั้งมั่นในสายสัมพันธ์ ครู–ศิษย์    และความตั้งใจในการปฏิบัติ และท่านภูมิใจยิ่งที่ครูจัดให้เป็นศิษย์แถวหน้าไม่เคยอ่อนด้อยถอยถด
    จนกระทั่งวันหนึ่งซึ่งท่านได้ประจักษ์ในน้ำใจครู คือวันที่ท่านจากลาเพื่อไปเรียนรู้ในวัดที่ใหญ่ขึ้น     ท่านอาจารย์ซูอิกันเรียกท่านเข้าไปพบแล้วมอบเงินจำนวนหนึ่งให้ พลางบอกว่า  “นี่เป็นเงินเพื่อไปสู่นิพพาน”         “การฝึกปฏิบัติในวัดนั้นหนักหนาสากรรจ์อาจถึงตายได้ถ้าหากเธอประคองตนไปไม่ถึงฝั่ง       เงินจำนวนนี้คือเงินทำศพของเธอ   จะได้ไม่ต้องให้ใครเดือดร้อน”              แม้จะรู้สึกสะทกสะท้านบ้างกับคำพูดของครู              แต่ท่านก็น้อมรับอย่างเต็มใจ      พอพร้อมที่จะก้าวเดินจากประตูไดชูอิน     ครูผู้ปกติมีบุคลิกน่าเกรงขาม   เดินตามหลัง     และได้กระทำในสิ่งที่ศิษย์ไม่คาดคิดมาก่อน   คือ    ก้มลงผูกสายรองเท้าให้เสร็จแล้วเอามือตบเบา ๆ บนปมเชือกที่ผูกรัดกัน และเอ่ยคำที่ต้องจำให้มั่น    “อย่าแกะมันออกนะ”    คำที่ย้ำเตือนถึงคำมั่นสัญญาที่ศิษย์ได้ให้ในการฝึกปฏิบัติ    ซึ่งเสมือนเสริมสร้างให้ความมุ่งหมายนั้นมั่นคงขึ้น  โดยที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่า  ประสบการณ์ที่จะได้รับ ที่ประตูวัดไดโตกูจิ   จะสร้างความสั่นคลอนให้กับความมุ่งมั่นตั้งใจนั้น      แม้จะเตรียมใจมาก่อนว่า  “นิวาซูเม” (Niwazume)   ซึ่งคือการทดสอบความตั้งใจ       ที่ต้องพิสูจน์ด้วยความอดทนรอคอยหน้าประตูวัดเซนก่อนการยอมรับเข้าวัดนั้น     เป็นกระบวนการตรวจสอบที่ทรหดตามประเพณีที่ถือปฏิบัติมา   เมื่อครั้งท่าน เอกะ   หรือจีนเรียกว่า หุยค่อ       ผู้เป็นพระสังฆปริณายกรูปที่สองได้ตัดแขนซ้ายถวายแด่ท่านอาจารย์       คือพระโพธิธรรม    เพื่อให้เห็นถึงความมั่นคงในทางธรรม     แต่เมื่อต้องยืนหนาวเหน็บหน้าประตูไดโตกูจิเข้าจริงก็แทบจะหมดสิ้นความมุ่งมั่น    ในวันที่ ๓ ของการรอคอยท่ามกลางอากาศที่เย็นยะเยือกเข้าไปในทุกอณูของร่างกาย     และในขณะที่ความตั้งใจหมายมั่นทั้งหมดกำลังจะถึงจุดพังทลาย     ท่านโซโกโรชิ    ก็ได้ประจักษ์ในความหมายที่แท้จริงของประเพณีนิวาซูเม และแล้วประตูสู่ความสำเร็จทางใจก็เปิดอ้ารับ
     บรรยากาศของพุทธศาสนาแบบเถรวาททำให้เราคุ้นชินกับเสียงสวดมนต์ คำเทศนาและวาทะถ้อยต่าง ๆ    แต่นิกานเซนนั้นดูจะเบื่อลัทธิถ้อยไปเลย        เราพบว่าสื่อจากใจถึงใจจะไปอยู่ในสวนญี่ปุ่น  การชงชา  ลีลาในละครโนะ            ศิลปะการวาดรูปแบบตวัดพู่กันครั้งเดียวจบ หรือแม้กระทั่งการยิงธนู      เมื่อจะใช้คำพูดก็น้อยมาก              พระเซนที่มีชื่อ เช่น ชุนเรียว ซูซูกิ       ฝากหนังสือเล่มเล็ก ๆ ไว้ให้โลกเพียงเล่มเดียวก่อนลาจากคือ     Zen Mind, Beginner’s Mind     ส่วนท่านโซโก โรชิ ก็มีเพียงอัตชีวประวัติที่ชื่อ  Pointer to Insight     เล่มบาง ๆ เช่นกันก่อนที่จะล่วงลับด้วยโรคมะเร็ง  ๒ ปีหลังจากที่ไปคารวะท่านครั้งนั้น      จำได้ว่าก่อนจะกราบลาท่านวันนั้น    เราถามคำถามท่านกันคนละข้อ   ต่อคำถามของผู้เขียนว่า      เซนยังอยู่ในญี่ปุ่นหรือไปเบ่งบานในยุโรปและอเมริกานั้น          ท่านชี้แจงไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของท่านดังต่อไปนี้        “สิ่งซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าสำคัญนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ว่าพุทธศาสนาจะแพร่ขยายหรือนิกายเซนจะเจริญรุ่งเรือง  แต่อยู่ที่ว่าคนแต่ละคนมีชีวิตที่เต็มอิ่ม และเพียงพอใจ      เปี่ยมด้วยสันติภาพตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต”
       ประตูทางเข้าไดชูอิน  ยังคงสงบไร้ความพลุกพล่าน  ปลายฤดูใบไม้ผลิแล้วแต่เมืองทั้งเมืองคงอบอวลด้วยกลิ่นหอม  อันเป็นสาระของดอกไม้นานาพันธุ์  บริเวณรอบไดชูอินก็เช่นกัน    ทั้งความหอมหวานและสีสันของดอกไม้สีม่วงแม้ใกล้ร่วงโรย      แต่ยังคงกระจ่างแจ้งอยู่ในใจถึงทุกวันนี้         ผู้มาเยือนจากเชียงใหม่ในครั้งนี้เหลือเพียงสตรี ๒ คนพร้อมล่าม ทั้งที่ทราบว่าท่านโซโก โรชิได้มรณภาพเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว         แต่จุดมุ่งหมายของการเยือนคือ  อยากศึกษาเรื่องการสืบทอดทางวัฒนธรรม       อีกทั้งใจจริงใคร่รู้ว่าใครคือผู้นั่งในไดชูอินแทนท่านอาจารย์     สุภาพบุรุษในวัย ๓๐ ที่นั่งคุกเข่าก้มศีรษะต้อนรับเราตรงหน้าเรือนไม้หลังเดิม     อยู่ในเสื้อคลุมอย่างไม่เป็นทางการ             เป็นผู้เดียวกับที่เข้ามาในห้องที่เราสนทนากับท่านโซโก โรซิเมื่อสองปีก่อน          ที่จำได้แม่นเพราะเป็นท่าทางและร่างกายอันอ่อนน้อมและงดงาม      เช่นเดียวกันกับเมื่อนำเสนอน้ำชาและขนมให้กับเราคราวนั้น   เราไม่รู้จักแม้กระทั่งนามของท่าน      ได้แต่เดินท่านไปตามระเบียงไม้    ผ่านห้องเล็ก ๆ ที่มีคน ๓–๔ คนกำลังนั่งเรียนเขียนอักขระแบบโบราณไปยังห้องกลาง   ล่ามบอกว่า          เพื่อให้เราได้คารวะและระลึกถึงอาจารย์ผู้ล่วงลับคนก่อน ๆ  จากนั้นก็ถูกพาไปยังอีกห้องหนึ่ง      เพื่อรอที่จะพบท่านเจ้าอาวาสไดชูอินคนใหม่                                                                             
      การนั่งกับพื้นของชาวตะวันออก      นอกจากจะเป็นการสำรวมด้วยท่วงท่าของร่างกายแล้ว      ยังหมายลึกถึงประเพณีของการสื่อสาระของใจด้วยการนั่ง      ดังที่เรารู้กันว่าคำว่า อุปนิษัท  ที่ใช้เรียกยุคทองของปรัชญาอินเดีย ๒๕๐ ปีก่อนและหลังพุทธกาลนั้น    รากลึก ๆ แปลว่านั่งใกล้    นั่งใกล้ครูผู้สอนสั่งหรือนั่งใกล้สัจธรรมที่โน้มนำใจ  ตรงกลางห้องในขณะที่นั่งรอคอยนี่เอง    เราเห็นการนั่งด้วยใจที่ปรากฏเป็นความงามในท่าทางของสุภาพสตรีวัย ๔๐      ที่กำลังชงชาอยู่ตรงห้อง       เพลินอยู่กับการชงชาของเธอจนกระทั่ง    ประตูโชจิ  ด้านหลังของห้องเลื่อนเปิดออกจากกัน            ผู้ที่ก้าวเข้ามาคือ ผู้ที่นำขนมมาให้ในปีก่อนโน้น    และผู้ที่เพิ่งจะต้องรับเราเข้ามาในตัวเรือนนั่นเอง         บัดนี้อยู่ในเครื่องแต่งกายเต็มรูปแบบ ด้วยเสื้อคลุมตัวนอกหรือโอเกสะผ้าค่อนข้างหนาสีคราม     และจีวรคล้องคอสีเขียวเข้ม  “ทามูระ โซกัน”   เราเพิ่งจะรู้จักฉายาท่านผ่านล่าม      ท่านบวชที่ไดชูอินเมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว          ครั้งยังอายุ ๒๑ และอยู่เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์โซโก โรชิ ที่ไดชูอินมาโดยตลอดแม้จะต้องไปเรียนและฝึกฝนตนในวัดเซน        ที่ใหญ่กว่าที่มีชื่อว่า   เมียวชินจิ  นับว่าอายุท่านยังน้อยเมื่อนึกถึงว่า    ท่านรับภาระหน้าที่แทนท่านอาจารย์ ในตำแหน่งเจ้าอาวาสไดชูอิน       และอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮานาโซโน  ที่สอนพุทธศาสนาด้วย    แต่ท่านทามูระ โซกัน     ได้ใช้ชีวิตนักบวชตามวิถีเซน คือ เรียนรู้จากครูผู้ถ่ายทอดจากใจหนึ่งถึงอีกใจหนึ่งซึ่งพร้อมรับ      ถึงวันนี้ศิษย์ต้องยืนอยู่ด้วยตัวเองไม่มีอาจารย์คอยประคับประคอง     ยังมีการสอนซาเซนอยู่ที่ไดชูอิน   แต่ด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิที่ต่างจากท่านโซโกโรชิจึงทำให้ท่านพบว่า        การสอนซาเซนเช่นอาจารย์นั้นเป็นความยากยิ่งสำหรับท่าน    แต่ก็มีศิษย์ชาวตะวันตกของอาจารย์แวะเวียนมาปีละ ๑ ครั้ง   เราสนทนากันหลายเรื่อง   การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในญี่ปุ่น            พุทธศาสนาในญี่ปุ่นที่คลายความสำคัญ      อิทธิพลของเซนที่ยังคงแทรกซึมอยู่ในชีวิตเล็กๆ   ของผู้คนจำนวนไม่มากแต่มีพลังเรื่อง “ซาโตริ หรือสัมโพธิ”ซึ่งคือ ญาณที่เป็นคำฮิตติดปากคน เมื่อเอ่ยถึงพุทธศาสนานิกายเซน   ซึ่งท่านบอกว่าเอามายึดเป็นที่พึ่งไม่ได้   อีกทั้งไม่แน่ใจนักว่ามีจริงหรือไม่        หรือเป็นเพียงมายา    เรื่องเล็กที่สุดที่ท่านตอบสนองความใคร่รู้จากเบื้องลึกของใจผู้เขียนคือ  อาจารย์ท่านสั่งเสียอะไรในลมหายใจสุดท้ายของชีวิต   ท่านทามูระ โซกัน  เล่าให้ฟังว่า      อาจารย์ไม่ได้บอกกล่าวสาระสำคัญอันใดไว้  เพียงยกมือขึ้นวางแนบลงตรงหัวใจเท่านั้นเอง   และท่านก็ยกมือทำท่าสาธิตให้ดู      เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องจดไว้ในบันทึกหน้าขนบแห่งชีวิตของครูตอนก่อนหมดลมหายใจ
          ท่านทามูระ โซกัน      สร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือน      จากประเทศที่มีประเพณีทางพุทธศาสนาที่แตกต่างอย่างแน่นอน        แต่นั่นเป็นเพียงรูปแบบภายนอก ที่สะท้อนจากการฝึกปฏิบัติภายในที่เป็นผลทำให้ใจใสบริสุทธิ์       ท่านผู้นี้ทำให้เราเกิดความหวังต่อโลกสมัยใหม่อีกนานัปการ เรื่องราวของการสื่อธรรมะจากครูถึงศิษย์ด้วยใจต่อใจที่สืบสายกันมาใน ไดชูอิน             ทำให้เข้าใจซึ้งถึงความหมายของคำว่า    อันเตวาสิก    ที่ไม่หมายความผิวเผินเพียงแค่ศิษย์ก้นกุฏิที่ชิดใกล้  แต่ตามรากความเดิมคือ         ผู้อาศัยอยู่ภายใน   ล่วงรู้ใจของกันและกัน    นอกจากนี้ยังรู้สึกยินดีที่ได้พบว่า   บรรยากาศอุปนิษัทนั้นมิใช่อยู่แต่ในประวัติศาสตร์อันห่างไกลสุดไขว่คว้า   หากเป็นเรื่องจริงที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน        แม้จะเกิดขึ้น ณ มุมเล็ก ๆ   บนผืนแผ่นดินโลกอันกว้างใหญ่       เรื่องวัฒนธรรมประเพณีก็สำคัญ แม้ไม่ใช่สาระอันยิ่งใหญ่ แต่เรื่องใจนั้นยิ่งยวดกว่ายากจะหาอะไรเสมอเหมือน
                   











ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
เพราะพุทธะในความคิดเธอ
ต้องประกอบไปด้วยธรรมต่างๆนาๆ
มันก็คือ พุทธะที่เป็นตัวตนขึ้นมาในหัวเธอน่ะ
..
..
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท