อริยสัจ4-ความจริง อย่างประเสริฐ 4 ประการ1.ทุกข์(ทุกข์อริยสัจ)-คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
2.สมุทัย (ทุกข สมุทัย อริยสัจ)-คือ เหตุให้ทุกข์เกิด
3.นิโรธ (ทุกข นิโรธ อริยสัจ)-คือ ความดับทุกข์
4.มรรค (ทุกข นิโรธ คามมินี ปฏิปทา)-คือ ข้อปฏิบัติ ให้ถึง ความดับทุกข์
แต่ละ อริยสัจ เป็นไปในรอบ 3 คือ
1.สัจจญาณ-กำหนดรู้ความจริง
2.กิจญาณ-กำหนดรู้กิจที่ควรทำ
3.กตญาณ-กำหนดรู้ว่า ได้ทำกิจเสร็จแล้ว
ดังนั้น อริยสัจ 4X 3 รอบ = 12 อาการ
1.ทุกขอริยสัจ โดย 3 รอบ คือ
สัจจญาณ-ในทุกข อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า "ความเกิดก็ เป็นทุกข์ ความแก่ก็ เป็นทุกข์" เป็นต้น
โดยย่อ อุปาทาน ขันธ์5 เป็นทุกข์
กิจจญาณ-ในทุกขอริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า "ความเกิดก็เป็นทุกข์ "เป็นต้น
โดยย่อ อุปาทาน ขันธ์5 เป็นทุกข์ ทุกข อริยสัจนี้ เป็นธรรม ที่ควร กำหนดรู้
กตญาณ-ในทุกข อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า "ความเกิด ก็เป็นทุกข์"เป็นต้น
โดยย่อ อุปาทาน ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ทุกข อริยสัจนี้ เป็นธรรม ที่ควร กำหนดรู้ ก็ได้กำหนด รู้แล้ว
2.สมุทัย อริยสัจ โดย 3 รอบ คือ
สัจจญาณ-ในสมุทัย อริยสัจ ญาณรู้ว่า "ตัณหาอันทำให้ เกิดชาติใหม่อีก
ประกอบด้วย ความกำหนัด มีปกติเพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้นๆ เป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์"
ตัณหา มี 3 คือ
กามตัณหา-คือ ตัณหา ในกาม
ภวตัณหา-คือ ตัณหา ในภพ ประกอบด้วย สัสสต ทิฏฐิ
ความเห็น ผิดว่า"เที่ยง"ตัณหา ในฌาน ในรูปภพ อรูปภพ
วิภวตัณหา- คือ ตัณหา ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็น ผิดว่า"ขาดสูญ"
กิจจญาณ-ในสมุทัย อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า..
"ตัณหาทั้ง 3นี้ เป็น สมุทัย อริยสัจ เป็นธรรม ที่ควรละเสีย"
กตญาณ-เป็นสมุทัย อริยสัจ คือ ญาณรู้ว่า..
"ตัณหาทั้ง3 นี้เป็น สมุทัย อริยสัจ เป็นธรรม ที่ควรละเสีย ก็ได้ละเสียแล้ว"......
การหมุน ธรรมจักร 3 รอบ แสดงธรรม 12 ออกมาให้เห็น ดังนี้.-
ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ต่างก็หมุน 3 รอบ ดังนั้น จึงชื่อว่า "หมุน ธรรมจักร 3 รอบ
แสดงธรรม 12" คือ 3 รอบ มีรอบแสดง รอบกล่อม และ รอบบรรลุ
1.ทุกข์อริยสัจ....
ผลทุกข์-
หมุนรอบแรก -แสดง ลักษณ์ นี่คือทุกข์ ลักษณะบังคับ
หมุนรอบที่ 2-เตือนให้ บำเพ็ญ นี่คือทุกข์ เธอจงรับรู้ไว้
หมุนรอบที่ 3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือทุกข์ ฉันทราบแล้ว
2.สมุทัยอริยสัจ
เหตุทุกข์-
หมุนรอบแรก-แสดง ลักษณ์ นี่คือสมุทัย ยั่วความรู้สึก
หมุนรอบที่ 2-เตือน ให้บำเพ็ญ นี่คือสมุทัย เธอจงตัดขาด
หมุนรอบที่3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือสมุทัย ฉันตัดขาดแล้ว
3.นิโรธอริยสัจ-
ผลสุข-
หมุนรอบแรก-แสดง ลักษณ์ นี่คือ นิโรธ ลักษณะ บรรลุได้
หมุนรอบที่ 2-เตือนให้ บำเพ็ญ นี่คือ นิโรธ เธอจง บรรลุให้ได้
หมุนรอบที่ 3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือ นิโรธ ฉันบรรลุแล้ว
4.มรรค อริยสัจ-
เหตุสุข-
หมุนรอบแรก-แสดงลักษณ์ นี่คือ มรรค ลักษณะบำเพ็ญได้
หมุนรอบที่ 2-เตือนให้ บำเพ็ญ นี่คือ มรรค เธอควรบำเพ็ญ
หมุนรอบที่ 3-ยืนยันว่า บรรลุได้ นี่คือ มรรค ฉันบำเพ็ญแล้ว
รอบกล่อม และ รอบบรรลุ ก็ดำเนิน ไปเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับ
รอบแสดง.....เป็น อันจบสิ้น สมบูรณ์ฯ
-facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า