ผู้เขียน หัวข้อ: "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"  (อ่าน 25923 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2014, 06:35:17 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 18 ความบริบูรณ์แห่งมรรค

ด้วยความที่มรรค ซึ่งแปลว่าหนทาง อาจจะเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่งรูปลักษณ์ที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพียงอัตตาตัวตนแห่งมรรคเกิดขึ้น หากเราไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงแห่งมัน ความไม่เข้าใจของเราดังกล่าว อาจทำให้เรานึกมโนภาพขึ้นมาอย่างชัดเจน แห่งหนทางที่จะไปสู่ความหลุดพ้นนั้น เป็นภาพแห่งระยะทางที่เสมือนว่ามีความห่างไกลกัน ระหว่างจุดที่คุณกำลังยืนอยู่ในความมืดมัวนี้ กับจุดที่พวกคุณมุ่งหวังว่ามันเป็นที่ที่ทำให้พวกคุณ พ้นจากการปรุงแต่งทั้งปวงอันเป็นจุดแสงสว่างที่มันรอคุณอยู่ แต่ความเป็นจริงแล้วมันเป็นเพียง ระยะทางที่ห่างไกลอันเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาแต่เพียงเท่านั้น


 และความเป็นตัวตนแห่งระยะทาง มันก็พลอยทำให้พวกคุณเกิดความคิดขึ้นมาในทันทีทันใดว่า พวกคุณจะต้องปฏิบัติและลงมือลงแรงอะไรสักอย่าง เพื่อให้พวกคุณได้เข้าไปใกล้จุดหมายปลายทาง อันเป็นเส้นชัยที่คุณได้ตั้งใจไว้ และหวังต่อไปอีกว่าสักวันพวกคุณจะไปยืนอยู่ตรงนั้นให้ได้ ด้วยความสามารถและความมั่นใจของพวกคุณเอง แล้วความคิดผิดดังกล่าวนี้มันจะเร่งรีบให้พวกคุณ หยิบฉวยวิธีอะไรสักอย่างขึ้นมา ซึ่งมันไม่ตรงต่อความเป็นจริง แต่พวกคุณกลับคิดไปแบบจริงจัง และตกลงใจกับมันว่า "ใช่วิธี" นี้แล้ว แล้วพวกคุณก็ใช้ความพยายาม ซึ่งมันไม่ใช่เป็นความเพียรอย่างแท้จริง แต่มันเป็นเพียง "การดันทุรัง" ลงมือทำในสิ่งที่ขัดต่อความเป็นจริงอันคือธรรมชาติ



แต่มรรค ซึ่งแปลว่า หนทางตามความเป็นจริงนั้น มันมิใช่หนทางที่จะต้องเอาการปรุงแต่ง ซึ่งมันคือความเป็นตัวเป็นตนของพวกคุณก้าวเดินไป แต่มันเป็นเพียงการปรับมุมมองปรับความรู้ความเข้าใจของพวกคุณเอง มันเป็นเพียงปรับความคิดเห็น ซึ่งเป็นความเห็นผิดของพวกคุณเองมาตั้งแต่ต้น เป็นความคิดความเห็นที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ตามความเป็นไปของธรรมชาติ ที่พวกคุณเคยได้สั่งสมเป็นอนุสัยมาตั้งแต่ชาติปางไหน เมื่อพวกคุณเข้าใจในความเป็นจริงแล้วว่า แท้ที่จริงธรรมชาตินั้น มันมีแต่ความว่างเปล่าหาความมีตัวมีตนไม่ แท้ที่จริง "จิต" ที่พวกคุณปรุงแต่งเรื่องมรรคหรือหนทาง ที่พวกคุณได้ผลิตขึ้นมา มันหาใช่ตัวใช่ตนไม่ มันคงมีแต่ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น โดยที่ธรรมชาติมันไม่เคยมี "จิตที่พวกคุณปรุงแต่งเรื่องมรรคหรือหนทางขึ้น" เกิดขึ้นมาก่อนเลย

                       

 แท้ที่จริง "ขันธ์ทั้งห้า" ที่พวกคุณมองเห็นว่ามันมีและมันเกิดขึ้น อันอาจจะทำให้พวกคุณเข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตชนิดนี้ขึ้นมา ขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ความจริงมันหาใช่ตัวใช่ตนไม่ ความเป็นจริงมันคงมีแต่ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น โดยที่ธรรมชาติมันไม่เคยมี "ขันธ์ทั้งห้า" เกิดขึ้นมาก่อนเลย ธรรมชาติมันก็ทำหน้าที่ของมันในความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น อย่างแท้จริงแล้วโดยตัวของธรรมชาติเอง ความเข้าใจและถูกต้องในความเป็นจริง ซึ่งตรงต่อความเป็นธรรมชาติเหล่านี้ ด้วยธรรมธาตุแห่งความเข้าใจอย่างแท้จริงแล้ว โดยหมดความลังเลสงสัยของพวกคุณนั้น มันก็จะทำให้พวกคุณละทิ้งข้อวัตรปฏิบัติทั้งหลาย อันเป็นการประพฤติปฏิบัติด้วยความงมงาย ไปในการปรุงแต่งเส้นทางแห่งมรรคของคุณ



 มาสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างไม่ผิดเพี้ยน ความเข้าใจในธรรมชาตินี้ก็จะทำให้พวกคุณทำลายทิฐิต่างๆ ที่ไปในทางเห็นผิดไปต่อความเป็นธรรมชาติ(มิจฉาทิฐิ) ซึ่งมันเป็นทิฐิที่ทำให้ พวกคุณเข้าไปยึดถือในความเป็นตัวเป็นตนของพวกคุณเอง ทำให้พวกคุณเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งหลายอย่างเหนียวแน่น โดยไม่มีวันที่จะเห็นไปในทางความหมายอื่นๆได้เลยสักนิดเดียว ว่าขันธ์ทั้งห้านี้มันคือความเป็นตัวเป็นตนของพวกคุณ ด้วยความแนบแน่นอยู่อย่างนั้น(สักกายทิฐิ) เมื่อคุณได้ปรับมุมมองความเข้าใจและปรับทิฐิความคิดเห็น มาในทางที่ชอบที่ควร ในฐานะที่พวกคุณได้เป็นมนุษย์ผู้มีใจประเสริฐแท้จริง เมื่อพวกคุณเข้าใจอย่างแท้จริงหมดความลังเลสงสัยในทุกทาง โดยไม่มีความคลอนแคลนไปในหนทางที่ผิดอีก ธรรมธาตุแห่งความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง ที่เกิดด้วยความศรัทธาในความเป็นพุทธะของพวกคุณเองนี้ มันจะทำให้พวกคุณมีความดำริตัดสินใจหันหลังออกมา จากจุดที่มืดมัวที่คุณยืนอยู่นั้นทันที และพาพวกคุณหันหน้ามาเผชิญกับความเป็นจริงแท้ ที่มันกำลังปรากฏแสดงเนื้อหามันอยู่ต่อหน้าพวกคุณนั่นเอง


ก็ด้วยทิฐิซึ่งเป็นความเข้าใจอย่างถูกต้องอันคือธรรมชาตินี้ มันเป็นปฐมบททำให้พวกคุณสามารถตะเกียกตะกายขึ้นมา จากบ่อโคลนตมแห่งอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ซึ่งมันเป็นความหนาแน่นไปด้วยความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น และกลับมามีสติระลึกได้ตามธรรมชาติอย่างแท้จริงว่า แท้จริงแล้วธรรมชาติมันย่อมปรากฏเนื้อหาแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น และด้วยธรรมชาติแห่งความระลึกได้อยู่ทุกขณะเรื่อยไป ในความตระหนักอย่างชัดแจ้งในความเข้าใจในทิฐิที่ถูกต้อง มันก็ทำให้พวกคุณได้กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้น แต่แล้วในบางขณะ ก็ด้วยอนุสัยที่สั่งสมมาในความเป็นตัวตนของพวกคุณเอง มานานมากแล้ว ความเคยชินที่ชอบปรุงแต่งจิตไปในเรื่องราวต่างๆ ด้วยอวิชชาที่อาจยังคงมีอยู่ มันก็อาจทำให้พวกคุณมองเห็นไปตามสภาพความเคยชินเดิมๆ และก็อาจจะเผลอเข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตต่างๆขึ้นมาอีก

                 

ก็ขอให้พวกคุณอย่าท้อใจถอยใจ ก็ขอให้พวกคุณได้เร่งความเพียรพยายาม ที่จะซึมซาบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้นให้ได้ เป็นความเพียรพยายามไปในทาง "ความเป็นธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่เสมอ" ว่า แท้จริงธรรมชาตินั้น มันคงมีแต่เพียงความว่างเปล่า ไร้ความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น หามี "จิต" ที่พวกคุณพึ่งปรุงแต่งขึ้นมาไม่ (มีความหมายว่า จิตที่พึ่งปรุงแต่งขึ้นมานั้น เสมือนว่ามันไม่เคยถูกปรุงแต่งขึ้นมาก่อนเลย) ก็ด้วยทิฐิความคิดเห็นที่พวกคุณปักใจมั่นว่า จะดำเนินไปในทิฐิแห่งธรรมชาติ อันคือสัมมาทิฐินี้แต่ถ่ายเดียวแล้วนั้น มุมมองความเข้าใจที่ไม่อาจจะแปรเปลี่ยนไปเป็นอื่น ตามศรัทธาแห่งหัวใจพวกคุณ



 มันจะกลายเป็นเส้นทางที่เอื้อให้พวกคุณ ได้เดินไปตามทางอันคือความเป็นเนื้อหาแห่งธรรมชาตินั้น ด้วยความซึมซาบไปในความ "ไม่มีความแตกต่าง" ในความเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน "อยู่อย่างนั้น" และเมื่อคุณได้ตระหนักอย่างชัดแจ้ง จนเป็นความรู้แจ้งแทงตลอดถ้วนทั่วทุกอณูธรรมธาตุว่า แท้จริงธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน มันก็คือความว่างเปล่าแบบเสร็จสรรพเด็ดขาดโดยธรรมชาติของมันเองมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีโดยสภาพมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติที่ย่อมไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันจะเกิดขึ้นตั้งอยู่ในความเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ในธรรมชาตินี้ได้เลย "อยู่แล้ว"


 มันเป็นธรรมชาติที่เป็นความว่างเปล่า แบบถ้วนทั่วอยู่อย่างนั้นทุกอณูธรรมธาตุ เป็นความว่างแบบตลอด ไม่ขาดสายของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว ด้วยความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้งเช่นนี้ มันจึงเป็นเหตุผลเดียวที่เข้ามาตัดเหตุและปัจจัย อันเป็นเชื้อที่จะทำให้พวกคุณกลับไปปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิตต่างๆได้อีก มันจึงเป็นเหตุผลเดียวที่จะทำให้คุณสามารถ ซึมซาบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความเป็นธรรมชาติของมัน ได้อย่าง"แนบเนียนในความเป็นธรรมชาตินั้น" นี่คือมรรคที่เป็นความบริบูรณ์ถึงพร้อม ในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เป็นมรรคที่เป็นธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่อย่างนั้นแบบบริบูรณ์ เป็นธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่ทุกเมื่อเชื่อขณะว่า...

 ธรรมชาติมันคงทำหน้าที่แห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น เป็นมรรคที่เป็นเนื้อหาแห่งความรู้ความเข้าใจ อย่างถูกต้องชัดแจ้งอยู่อย่างนั้น เป็นมรรคที่นำพาชีวิตเราดำเนินไปบนเส้นทางตามความเป็นจริง แห่งความเป็นธรรมชาตินั้นโดยไม่เป็นอื่น เป็นมรรคที่ทำให้เราซึมซาบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติ ได้อย่างมั่นคงไม่มีความแปรผันผิดเพี้ยน ไปจากเนื้อหาแห่งความเป็นธรรมชาตินั้นได้เลย เป็นมรรคที่เป็นความสำเร็จสมดั่งตั้งใจ ที่ทำให้เราได้กลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน กับความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น ตามความศรัทธาแห่งการดำริริเริ่มของเราตั้งแต่แรก

             

 เป็นมรรคที่ทำให้เราเข้าใจในธรรมชาติแห่งความเป็นตนเอง ได้อย่างตรงและถูกต้อง และทำให้เรามีมุมมองมีความเข้าใจ ในความเป็นไปอย่างแท้จริง ต่อสรรพสิ่งทั้งมวลที่อยู่รอบข้าง เป็นมรรคที่ทำให้เรามีทิฐิความคิดเห็น ได้ตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ ซึ่งความคิดเห็นอันตรงแน่วในสัจธรรมนั้น มันส่งผลทำให้คำพูดคำจาและการกระทำของเรา เป็นไปในทางที่ที่ควรจะเป็น ในฐานะที่เราได้รู้จักตนเองอย่างแท้จริงแล้วว่า ตนได้ทำหน้าที่ในความที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้อย่างสมบูรณ์แบบแท้จริงแล้วโดยไม่มีที่ติ และสัมมาทิฐิซึ่งมันได้เข้าไปซึมซาบในหัวใจของเราแบบแนบแน่นนี้ ทำให้เราไม่หันกลับไปในทิฐิเดิมที่เป็นความเห็นผิด


 ซึ่งเป็นเชื้อเป็นเหตุเป็นปัจจัย ซึ่งอาจจะทำให้เราก่อกรรมเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นได้อีก การดำเนินชีวิตไปด้วยมุมมองความเข้าใจ ตามอำนาจแห่งธรรมชาติ ทิฐิที่ถูกต้องแท้จริงนี้ก็ทำให้เรา ซึ่งมีความเป็นบัณฑิตทั้งหลาย มีความระมัดระวังตน ในการดำรงชีวิตของเราเองในสังคมแห่งความเป็นมนุษย์นี้ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมลงตัว เป็นการดำรงชีวิตประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนและครอบครัว ไปในทางสุจริตไม่เบียดเบียนใคร

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   14 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 18, 2014, 12:22:08 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 19 จิต
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2014, 10:41:05 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 19 จิต

จิตก็คือความคิดที่เป็นการปรุงแต่งขึ้น เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงเนื้อหารายละเอียดอันสามารถบ่งบอกได้ ถึงทัศนคติโดยรวมแห่งความเป็นอัตตาตัวตนแห่งเรา จิตต่างๆเกิดจากการปรุงแต่งในความที่เห็นว่า ขันธ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้นนั้นคือเรา เป็นการปรุงแต่งเพื่อความเป็นไปแห่งความเป็นตัวตน ของตนเองอยู่อย่างนั้น เป็นการปรุงแต่งในความเป็นตัวตนของตนเองต่อสิ่งรอบข้าง ที่เรายังมองเห็นอยู่ว่าสิ่งสิ่งนั้น "มีความเป็นตัวเป็นตนอยู่เช่นกัน" ก็ด้วยอวิชชาความไม่รู้ที่พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ย่อมทำให้เรามีทิฐิเห็นว่ากายนี้คือเรา ย่อมทำให้เห็นว่าส่วนประกอบที่เป็นส่วนๆและเข้ามาประชุมกัน อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น มันคือความเป็นเราอย่างเหนียวแน่น

 แต่ในความเป็นจริงธรรมชาติย่อมว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ย่อมไม่เคยมีอะไรเลยสักสิ่งหนึ่งหรือทุกๆสิ่งเลย ที่สามารถเกิดขึ้นตั้งอยู่แสดงความเป็นตัวตนของมันปรากฏขึ้นมาได้ ตถาคตเจ้าจึงตรัสว่า จิตต่างๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นทุกชนิด ล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะแท้จริงสิ่งต่างๆซึ่งเป็นจิตเหล่านี้ย่อมไม่มีตัวตนอยู่แล้ว เพราะแท้จริงธรรมชาติอันแท้จริงมันย่อมว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ตามเนื้อหาตามสภาพมันเองอยู่อย่างนั้น เมื่อนักปฏิบัติเผลอเข้าไปยึดปรุงแต่งเป็นจิตเกิดขึ้น เพราะความขาดไป ซึ่ง "ธรรมชาติแห่งการระลึกได้ในทิฐิที่ถูกต้อง" ในขณะนั้น ก็ขอให้นักปฏิบัติทำความเข้าใจ ให้ตรงต่อความเป็นจริงในขณะนั้นเลยว่า มันไม่เคยมี "จิต" ชนิดนี้(ที่พึ่งปรุงแต่งขึ้น)เกิดขึ้นมาก่อนเลย


Kinkakuji Temple, Kyoto.

 และก็ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายทำความเข้าใจด้วยความตระหนักชัด ในขณะนั้นเช่นกันว่า แท้จริงธรรมชาติมันย่อมมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น มาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ซึ่งเป็นความดั้งเดิมแท้ แห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว หามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือจิตใดๆปรุงแต่งเกิดขึ้นไม่ มันจึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตรงเป็นการปฏิบัติชอบ ด้วยธรรมชาติแห่งการระลึกได้ตามทิฐิความเห็นที่ถูกต้องได้ ในขณะนั้นอยู่แล้วนั้นเอง เป็นการปฏิบัติเพื่อความเห็นชัดตามความเป็นจริง โดยปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ตามสภาพเดิมๆของมันอยู่อย่างนั้น นั่นแหละการปฏิบัติตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ตรงตามพุทธประสงค์ เป็นการปฏิบัติเพื่อความเป็นไปในการตระหนักชัดและซึมซาบ กลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่อย่างนั้น

                 

แต่ก็ด้วยอนุสัยความเคยชินเดิมๆของนักปฏิบัติทั้งหลาย และด้วยเพราะเหตุที่ยังไม่สามารถเข้าใจตระหนักอย่างชัดแจ้ง ในความเป็นไปในธรรมชาตินั้นได้อย่างแท้จริง จึงอาจมีความพลั้งเผลอทำให้นักปฏิบัติทั้งหลาย เผลอขาดสติหลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งจิตของตนขึ้นมา ตามอนุสัยความเคยชินตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน จึงกลายเป็นจิตมี ราคะ โทสะ โมหะ ขึ้นมาอยู่เนืองๆ

           

ก็ด้วยความที่พึ่งจะทำความเข้าใจในเนื้อหาธรรมชาติ และยังไม่สามารถมีความเข้าใจอย่างถึงที่สุดในความตระหนักชัดแจ้งและยังไม่สามารถกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันได้อย่างแนบสนิทในความเป็นธรรมชาตินั้น นักปฏิบัติทั้งหลายจึงอาจมีความพลั้งเผลอขาดสติ หลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งจิตของตนขึ้นมา ตามสภาพที่กำลังดำเนินไปในเส้นทางธรรมชาติ ที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งเส้นทาง โดยยังมีอวิชชาความหลงเข้าไปยึดปรุงแต่งเป็นจิตต่างๆนานา ขึ้นมา "อย่างมากมาย" ในชั่วขณะหนึ่ง ด้วยความที่ยังไม่สามารถตั้งมั่นในความซึมซาบ เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้นได้ จึงกลายเป็น จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ เกิดขึ้นมาได้อย่างเนืองๆ


ก็ด้วยแท้จริงความเป็นธรรมชาติ มันคงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน อยู่อย่างนั้นของมันเองอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติในความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น ในความว่างที่มันว่างตลอดแบบไม่ขาดสายของมันอยู่อย่างนั้น เป็นความบริบูรณ์พรั่งพร้อมโดยสภาพแห่งมันอยู่แล้ว มันเป็นความสมบูรณ์แบบโดยไม่จำเป็นต้องให้ใคร เข้ามาเสริมเติมแต่งแก้ไขในความเป็นมัน ในสภาพธรรมชาติที่เต็มบริบูรณ์ของมันอยู่อย่างนี้เองอยู่แล้ว ดังนั้นความเป็นธรรมชาติ มันจึงไม่ต้องการให้ภาวะหรือความเป็นปรากฏการณ์ใดๆที่เกิดขึ้น มาเป็นเครื่องยืนยันถึงฐานะแห่งความสมบูรณ์ของความเป็นเนื้อหา หรือสภาพสมบูรณ์ของความว่างเปล่าของมันอีกเลย

             

 เพราะฉะนั้นความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนตามธรรมชาติ จึงมิใช่ภาพแห่งความที่จะต้องมีความชัดเจน ที่นักปฏิบัติทั้งหลายจะเข้าไปกระทำจัดแจง ให้ความว่างเปล่าเกิดขึ้น "ตามความรู้สึก" อันเกิดจากความเข้าใจผิดไปเองแต่ฝ่ายเดียวของนักปฏิบัติ ว่าความว่างเปล่านั้น ต้องเป็นไปในลักษณะอย่างนี้ ต้องเป็นไปในลักษณะอย่างนั้น ต้องมีการแก้ไขตรงโน้น ต้องเข้าไปทำเพิ่มตรงนี้ และก็ด้วยความเข้าใจผิดเหล่านี้ ก็อาจทำให้นักปฏิบัติทั้งหลาย เข้าไปรื้อค้นตรวจสอบและเข้าไปกระทำการใดๆ เพื่อให้ความว่างเปล่า ซึ่งมันมีสภาพที่แท้จริงตามธรรมชาติของมันอยู่แล้วนั้น ให้มัน "มีภาพออกมา" ตรงกับความรู้สึกความเข้าใจของนักปฏิบัติเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดๆต่อเนื้อหา ความเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่านั้น



 ด้วยความเป็นไปดังกล่าวนี้ จึงอาจทำให้นักปฏิบัติเผลอเข้าไปปรุงแต่งจิตของตนขึ้นมา เพื่อเข้าไปรื้อค้นและเพื่อยืนยันฐานะการปฏิบัติธรรมแห่งตน จนกลายเป็น การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตปราศจากราคะ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตปราศจากโทสะ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตปราศจากโมหะ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตเป็นสมาธิ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตไม่เป็นสมาธิ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตไม่หลุดพ้น การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตหลุดพ้น เกิดขึ้นมาได้อย่างเนืองๆ


ก็เมื่อเข้าใจว่ามันเป็นเพียงแค่ "จิต" ที่เป็นการปรุงแต่งขึ้นมาแต่เพียงเท่านั้น ไม่ว่ามันจะเป็นจิตที่ชื่อว่าอะไรก็ตาม ไม่ว่ามันจะเป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในทางความหมายใดๆก็ตาม มันก็ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่หามีความเป็นตัวเป็นตนเกิดขึ้นไม่ มันก็ล้วนเป็นเพียงจิตที่ไม่เคยมีความเกิดขึ้นมาก่อนเลยในวินาทีนี้ คือวินาทีแห่งความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้งแห่งเรา ว่าในความเป็นธรรมชาตินั้น มันก็ล้วนแต่เป็นเพียงความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนแบบเสร็จสรรพเด็ดขาด ตามสภาพธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีแห่งความเป็นมัน อันคือการหาจุดเริ่มต้นในสภาพแห่งความเป็นมันนั้นไม่ได้ และอันหาจุดสิ้นสุดในสภาพความเป็นมันนั้นก็มิได้เช่นกัน ซึ่งเป็นความแรกเริ่มของมันมาอยู่แบบนั้นมานานแสนนานแล้ว

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   15 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 06:50:36 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2014, 04:59:43 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 20 การเกิดขึ้นแห่งธรรม

ธรรมอันไม่ใช่สัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นธรรมที่เกิดจากความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้า แล้วก่อให้เกิดเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน และกลายเป็นจิตซึ่งเป็นทิฐิความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง ก็โดยตัวมันเองแล้วแห่งการที่เราเข้าไปยึด มันก็ล้วนแต่เป็นการเข้าไปจับฉวยจับกุมในเนื้อหาธรรมนั้นๆ ให้เกิดขึ้นในความรู้สึกในความเข้าใจของเรา ไปในทางความหมาย แห่งความเป็นตัวเป็นตนของธรรมนั้นๆอยู่ตลอดเวลา การที่เราตกไปสู่ห้วงลึกแห่งการถูกครอบงำอยู่ตลอดเวลา ในทิฐิความเห็นซึ่งไม่ตรงต่อเนื้อหาความเป็นธรรมชาตินั้น มันก็กลายเป็นการเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นตัวตนแห่งธรรมขึ้นมา) อันอยู่บนพื้นฐานแห่งทิฐินั้นอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน


ก็มาในบัดนี้ เมื่อเราเกิดมีความศรัทธาที่จะก้าวเดินเข้ามาสู่เส้นทางสัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นความเห็นที่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ ตถาคตเจ้าจึงได้ทรงตรัสชี้ทางอันเป็นหนทางที่แท้จริงถูกต้อง โดยท่านทรงชี้ให้ "พิจารณาเห็น" ถึง สภาพธรรมอันคือธรรมชาติ ที่มันดำรงเนื้อหาของมันเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เป็นการพิจารณาในเนื้อหาธรรมนั้นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ้งชัด โดยไม่มีอะไรเป็นความลังเลสงสัยให้เหลือแม้แต่นิดเดียว อันจะทำให้เราพลัดหลงไปในเส้นทางอื่นอันเป็นความหลงผิดได้อีก เมื่อเราได้พิจารณาและมีความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง ในความเข้าใจในธรรมอย่างชัดเจนแล้ว ก็โดยเนื้อหาแห่งความเป็นจริง การพิจารณาธรรม "จนเกิดภาพในความเป็นรูปลักษณ์แห่งธรรมนั้นๆ" จนทำให้เราเข้าใจในความเป็นไปในลักษณะหน้าตาแห่งมัน มันจึงเป็นการ "เข้าไปยึดมั่นถือมั่น" ในสภาพธรรมนั้นๆขึ้นมา

           

 มันจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์ แห่งการเกิดขึ้นของธรรมนั้นๆที่เป็นอัตตาเป็นตัวเป็นตน เพื่อมารองรับความเข้าใจแห่งเราในการที่ได้พิจารณาไป ก็การพิจารณาธรรม ซึ่งเนื้อหามันก็เป็นการเกิดขึ้นในความเป็นตัวเป็นตนแห่งธรรมนี้ มันจึงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจแห่งการเข้าไป ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้น ในการปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรม มันเป็นความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนแห่งการเข้าไปพิจารณานั้น การพิจารณาธรรมก็เป็นไปเพียงแค่ประโยชน์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมอย่างถ้วนทั่ว ในความเป็นจริงแห่งเนื้อหาของมันแต่เพียงเท่านั้น แต่ความเป็นธรรมชาติแห่งธรรมอันแท้จริง มันคือความเป็นไปในเนื้อหาของมันเอง "ตามธรรมชาติ" อยู่อย่างนั้นแต่เพียงเท่านั้น ธรรมชาติมันเป็นความนอกเหนือทุกสรรพสิ่ง ด้วยความหมายแห่งตัวมันเอง มันเป็นความหมายที่อยู่นอกเหนือความเป็นเหตุและผลทั้งปวง มันเป็นความหมายที่อยู่นอกเหนือการพิจารณาใดๆทั้งปวงเช่นกัน


เพราะฉะนั้นการปรุงแต่งเพื่อพิจารณาธรรมสัมมาทิฐิ อันคือปรากฏการณ์การที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งๆ เป็นอัตตาเป็นตัวเป็นตนแห่งธรรมในสัมมาทิฐิทั้งหลายนั้น มันเป็นเพียงมายาแห่งจิตที่กระทำขึ้น การเกิดขึ้นเช่นนี้มันจึงหาใช่ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ตามความเป็นจริงตามธรรมชาติไม่ เพราะธรรมชาติมันคงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น จึงถือว่ามันไม่เคยมีการเกิดขึ้นแห่งธรรมซึ่งเป็นอัตตาตัวตนต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาก่อนเลย มันคงมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นของมันเอง ตามสภาพธรรมชาติอยู่อย่างนั้น

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   16 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 21 ธรรมชาติยังคงอยู่
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2014, 07:47:11 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 21 ธรรมชาติยังคงอยู่

สรรพสัตว์ทั้งหลาย การมาสู่ด้วยความยินดีของท่านในภพชาติ แท้ที่จริงมันเป็นการมาเพื่อที่จะต้องจากไปอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันเป็นการมาที่ถูกตรึงไปด้วย "เหตุและผล" เหตุและผลแห่งการที่จะต้องมาๆไปๆ ไปๆมาๆ บนเส้นทางที่ไม่มีจุดจบแห่งการถูกบังคับพาไป ในเนื้อหาแห่งการ "ต้องเกิด" ด้วยอำนาจแห่งอวิชชาแต่เพียงเท่านั้น การดำรงอยู่ด้วยความเกี่ยวพันอยู่ตลอดเวลาแห่งความมีความเป็น มันจึงถูกบรรจุซึ่งเต็มไปด้วยรสชาติความรู้สึกต่างๆ ในความเป็นไปแห่งการดำรงชีวิต ที่เรียกมันว่า "ประสบการณ์" ความทุกข์ที่ได้รับก็ล้วนแต่ไม่เคยมีใครสักคน เข็ดหลาบในรสชาติความร้อนรนแห่งมัน


 เพราะด้วยความทะยานอยากอย่างมากมายในใจแห่งมนุษย์เป็นที่ตั้ง ความมุ่งหวังเหล่านี้จึงกลบหน้าตาอันแท้จริงของธรรมชาติไป ความทุกข์จึงเป็นครูสอนปุถุชนผู้มืดบอดได้แต่เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ทุกชีวิตล้วนแต่มีความตายรออยู่เบื้องหน้า อันเป็นจุดสุดท้ายในภพนั้นๆอยู่เสมอ เมื่อกระบอกม่านตาจะต้องปิดลงเป็นครั้งสุดท้าย ในปลายทางเส้นชัยแห่งความตายนั่นเอง ความมืดมิดในดวงตาของท่าน มันทำให้ไม่รู้ความจริงเลยว่า ในความตายที่กำลังจะมาเยือน ในความหมายของชีวิตที่กำลังจะถูกพลัดพรากไป แท้ที่จริงแล้ว ในความตาย "ชีวิตที่แท้จริง" ก็ยังคงอยู่



ในบางครั้งในบางขณะ การได้ถอนหายใจแรงๆให้กับตนเองสักเฮือกหนึ่ง เพื่อหาพื้นที่แห่งเสี้ยวเวลา ปลดปล่อยใจตนเองออกจากความรู้สึกตรงนั้น มันบ่งบอกได้ว่าชีวิตนี้ได้ตกระกำลำบากมามากแล้วเพียงไหน ความถูกอัดแน่นไปด้วยความรู้สึกที่ถูกบีบคั้น ที่มีสาเหตุมาจากมุมมองในชีวิตแห่งตน ได้มองผิดไปจากความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ อสัจธรรมซึ่งคือธรรมอันไม่ใช่ความจริงทั้งหลาย ที่เราหลงเป็นเนื้อหาเดียวกับมันอย่างไม่ตั้งใจ "ความไม่จริง" ที่เรามองว่ามันเป็นความจริงแท้ จึงทำให้เราหลงติดกับดัก เข้าไปยื้อแย่งความจริงอันเป็นสิ่งลวงนั้นมาเป็นของเราอยู่อย่างนั้น

               

 ก็ในความที่มันหามีตัวมีตนไม่ ซึ่งมันตกอยู่ในสภาพที่จะต้องพลัดพรากจากเราไปอยู่เสมอๆ ความเหนื่อยล้าที่จับฉวยคว้าเอาสิ่งที่ไม่เคยมีตัวมีตนอย่างแท้จริง ซึ่งมันไม่มีวันที่จะอยู่กับเราไปได้ตลอดเลย ความพยายามในความล้มเหลวที่รออยู่ในผลของมันเองอยู่แล้วนั้น ก็อาจทำให้เราหมดกำลังใจในการที่จะใช้ชีวิตต่อไป ด้วยความท้อแท้ที่จะพยายามเติมเต็มชีวิตของตนให้ได้ตามที่มุ่งหวัง ก็อยากจะบอกว่า ในความเป็นจริงแล้ว ในความปรากฏแห่งอสัจนั้น สัจจะความเป็นจริงก็ยังคงอยู่ ไม่ได้หนีหายจากเราไปไหนเลย


ในความมืด อันดำดิ่งจมลึกลงไปในห้วงแห่ง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยาก ที่เราไม่รู้และเลือกเอามาเป็นเข็มทิศนำทางชีวิตของเรา การก้าวเดินไปแต่ละก้าว จึงเป็นการก้าวเดินที่ปราศจากความมุ่งหมายในทุกทิศทาง เมื่อมืดจนมองไม่เห็น มันจึงเป็นการก้าวไปที่อาจจะทำให้เรา ก้าวไปเพื่อกลับมาสู่จุดจุดเดิม ที่เราพึ่งก้าวออกมาจากมัน เป็นจุดต้องทนอยู่ด้วยความทุกข์ใจด้วยความโง่เขลา ขาดความมีปัญญาเข้าไปแก้ไขให้กับชีวิตของตนเองอย่างแท้จริง การวนเวียนที่พาให้เรากลับมาสู่ความรู้สึกเดิมๆแบบซ้ำๆอยู่อย่างนั้น

               

 มันจึงเป็นความเบื่อหน่ายที่ต้องทนรับความรู้สึกนั้นไว้ และโยนมันออกไปจากใจเราก็ไม่ได้ ก็จงอย่าพึ่งท้อแท้ใจ เพราะความเป็นจริงตามธรรมชาติ ในความมืดมิดแห่งหัวใจ ก็ยังคงมีแสงสว่างแห่งปัญญา ที่ยังฉายแสงเจิดจ้าของมันอยู่อย่างนั้น มันรอเพียงให้เราหยิบไขว่คว้ามันมา เป็นกระบอกไฟฉายที่สามารถส่องทิศทาง ให้เราก้าวเดินไปในหนทางที่ถูกต้อง และเป็นจุดหมายปลายทางอันแท้จริง ที่มนุษย์ทุกคนต้องทำหน้าที่แห่งตน ก้าวไปยังจุดนั้นอยู่แล้ว

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   17 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2014, 02:31:26 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2014, 03:46:50 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 22 ความเพียรพยายาม

ด้วยความมีดำริไปในทางที่ชอบแห่งตน ที่จะหนีห่างจากสภาพความทุกข์ หนีห่างจากสภาพการปรุงแต่งทั้งหลาย อันเกิดจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ทั้งปวง อันเป็นเหตุให้เราเข้ามาศึกษาทำความเข้าใจในความเป็นตัวเอง แห่งสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น การปรับมุมมองความเข้าใจให้ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งเป็นทิฐิโดยชอบนั้น ด้วยการศึกษาจนเกิดความเข้าใจอย่างแจ้งชัดนั้น มันเป็นความสว่างไสวแห่งปัญญาที่มันเจิดจ้าอยู่อย่างนั้นไม่มีที่ติ มันเป็นแสงสว่างแห่งความเข้าใจถ้วนทั่ว ครบถ้วนตามกระบวนความ ในการเข้าใจปัญหาและในการแก้ไขปัญหาเป็นได้อย่างถูกต้อง และตรงต่อหนทาง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่นำพาเรา ไปสู่ความเป็นกลางที่แท้จริงของธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นธรรมชาติที่ปราศจาก ความเคลื่อนไหวใดๆแห่งจิตในลักษณะทั้งปวง แต่การที่นำพาตนเองมาสู่ความเป็นสัมมาทิฐิอย่างเต็มตัวได้นี้ ยังถือว่าไม่ใช่เป็นความเพียรพยายาม แต่มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นแห่งเส้นทาง ที่จะนำไปสู่ความเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติได้แต่เพียงเท่านั้น มันจึงเป็นเพียงแต่การดำริชอบ

แต่ด้วยการที่ไม่เข้าใจในความเป็นสัมมาทิฐิที่แท้จริง ว่าแท้จริงมันเป็นทิฐิมุมมองความเห็นที่ตรงต่อความเป็นธรรมชาติ ด้วยความเข้าใจที่ว่า ความเป็นธรรมชาตินั้นมันคือความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้วอยู่อย่างนั้น แบบถ้วนทั่วเสร็จสรรพเด็ดขาด มันไม่เคยมีแม้กระทั่งขันธ์ธาตุหรือความเป็นขันธ์ทั้งห้า เกิดขึ้นได้เลยในความเป็นธรรมชาตินี้ มันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าที่บริบูรณ์เต็มพร้อม มันเป็นความว่างเปล่าที่สมบูรณ์แบบโดยตัวมันเอง โดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว เมื่อยังไม่มีความเข้าใจในความหมายอันแท้จริง ก็ด้วยอวิชชายังปิดบังครอบงำ

ให้เรามองเห็นความหมายที่แท้จริงนี้ ไปในทางความหมายอื่นซึ่งมันไม่ตรงต่อความเป็นจริง ก็ด้วยความเข้าใจแบบผิดๆนั้น จึงทำให้นักปฏิบัติทั้งหลายเร่งรีบขวนขวาย นำมาซึ่งวิธีปฏิบัติ ซึ่งมันสามารถจูงใจทำให้นักปฏิบัติทั้งหลาย คล้อยตามมันไปในวิธีดังกล่าว ก็ในเมื่อความเป็นจริง ความเป็นธรรมชาติอันคือสัมมาทิฐินั้น มันเป็นธรรมชาติโดยสภาพเนื้อหาของมันเองอยู่แล้วอยู่อย่างนั้น ความเป็นธรรมชาติโดยสภาพของมันเอง มันจึง "ไม่ใช่วิธี" แต่เมื่อนักปฏิบัติทั้งหลายหลงไปว่ามันควรมีวิธีปฏิบัติ ที่ทำให้ผลแห่งการปฏิบัติ (ซึ่งแท้ที่จริงมันคือความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น)

 มันเกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงการลงมือไป ในความเพียรพยายามของนักปฏิบัติเองนั้น การเข้าใจผิดในความหมายแห่งธรรมชาติ และการมุ่งทะยานไปข้างหน้า ที่หาเส้นชัยจุดหมายปลายทางไม่เจอ เพราะวิธีต่างๆที่นักปฏิบัติเข้าใจและน้อมนำมาเป็นทิศทางให้กับตนนั้น มันไม่ใช่การปฏิบัติที่แท้จริงตามวิถีหนทางแห่งธรรมชาติ แต่มันล้วนคือ ความหมายแห่งการปรุงแต่งของนักปฏิบัติเอง มันเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิต เป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในการปฏิบัติที่ผิดวิธีอยู่อย่างนั้น การปฏิบัติไปโดยไร้เป้าหมายทิศทาง และออกนอกเส้นทางธรรมชาตินี้ มันจึงเป็นเพียงการปรุงแต่งเป็นจิต ที่พัวพันนำพาให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่ง แห่งการก่อปัญหาขึ้นมาใหม่ต่างหากจากความทุกข์เดิมของตน ด้วยความโง่เขลาแห่งตนเองด้วยอย่างหนึ่ง การปฏิบัติด้วย "การมีวิธี" นี้ มันจึงไม่ใช่ความหมายของความเพียรพยายามแต่อย่างใดเลย

ก็ด้วยความเป็นเราแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้นี้ มันเป็นธรรมชาติแห่ง "ความเป็นจริง" ของมันอยู่แล้ว มันเป็น "ความเป็นจริง" ที่ไม่ต้องอาศัยเหตุและผลใดๆ มาสนับสนุนในความเป็นจริงของมันได้อีกเลย และมันเป็น "ความเป็นจริง" ที่คงสภาพมันอยู่อย่างนั้น มันเป็น "ความเป็นจริง" ที่ไม่ได้แสดงเนื้อหาของมัน เพื่อรองรับเหตุผลของใครคนใดคนไหน ว่า "ความเป็นจริงตามธรรมชาตินี้" คือการรู้แจ้ง คือการหลุดพ้น ซึ่งเป็นผลของการปฏิบัติของเขาคนนั้นเอง ความเพียรพยายามที่พยายามอธิบายให้กับตนเองว่า "ความเป็นจริงตามธรรมชาตินี้" คือภาวะแห่งการรู้แจ้งการหลุดพ้นของตน ซึ่งตนได้มองเห็นธรรมชาตินี้ได้อย่างทะลุปรุโปร่งถ้วนถี่แล้ว

 แต่การเข้าใจอย่างไม่มีที่สงสัยแห่งตน อันเกิดจากความเพียรพยายาม และภาพแห่งความชัดเจนหมดจดที่ตนเองเรียกว่า นี่คือการรู้แจ้งและหลุดพ้นแล้วนั้น มันจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่ง "อัตตาตัวตนในความเป็นธรรมชาติ" ที่เกิดขึ้น มันเป็นเพียงจิตที่ปรุงแต่งเกี่ยวกับ "การที่ตนมีความเข้าใจแล้ว" ในเนื้อหาธรรมชาติ ที่มันเป็นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันเป็นเพียงการปรุงแต่งชนิดที่เรียกว่าเส้นผมบังภูเขา มันไม่ใช่ความเพียรพยายามที่แท้จริง

แต่ความเพียรพยายามที่จะทำความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง และ "สามารถ" ซึมซาบกลมกลืน กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน แบบเสร็จสรรพเด็ดขาดโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น เมื่อธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันสามารถทำหน้าที่แห่งมัน ได้อย่างคล่องแคล่วไม่ติดขัด เมื่อเราสามารถเป็นหนึ่งเดียวกับมันได้แล้ว และสามารถดำรงชีวิตของตนเองได้อย่างมีอิสรภาพอย่างแท้จริง ไม่ตกอยู่ภายใต้ความมืดมิดใดๆอีก เป็นความสะดวกในการไปและการมา ในท่ามกลางอิริยาบถทั้งสี่ สามารถดำรงตนเองในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และไม่เบียดเบียนใคร มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สำหรับผู้ที่อยู่รอบข้างและเขายังมีความขาดแคลน
ก็ด้วยชีวิตที่ประกอบไปด้วยความเมตตากรุณาแห่งคุณธรรม อันเป็นธรรมชาติในความเป็นตนเองนั้น ที่นำพาชีวิตของตนได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งบวรพระพุทธศาสนาได้สืบไป นี่คือความเพียรพยายามที่แท้จริงอย่างยิ่งยวด

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   17 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2014, 04:32:28 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 23 การเข้าถึง

การถ่ายทอดธรรมอันคือธรรมชาตินี้ มันเป็นเพียงการสื่อด้วยความเข้าใจ ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงเป็นหลัก การสื่อด้วยภาษาพุทธะนี้หรือไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ก็ล้วนแต่มีความหมายไปในทางที่ทำให้เรา สามารถมีความซึมซาบกลมกลืนในความเป็นธรรมชาติ ของมันได้อยู่อย่างนั้นด้วยความแนบเนียนเป็นหนึ่งเดียว ในความเป็นเนื้อหาเดียวกันในธรรมชาตินั้น โดยไม่มีความรู้สึกถึงความแตกต่างและการแบ่งแยกออกเป็นสิ่งๆได้เลย ความเป็นหนึ่งเดียวแห่งทุกสรรพสิ่งในความเป็นธรรมชาตินั้น ก็คือความหมายแห่งการที่ "ธรรมชาติมันก็คงเป็นของมันอยู่อย่างนั้น"

 ซึ่งหมายความว่ามันเป็นของมันแบบนี้มานานแสนนานแล้ว และก็จะเป็นแบบนี้อยู่ตลอดไปตราบที่ไม่มีวันสิ้นสุด การอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ "ความเข้าใจแล้ว" ในเนื้อหาธรรมชาตินี้ มันเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่นำเราไปสู่ ปากประตูแห่งธรรมชาติเท่านั้น มันเป็นปากประตูที่ยังอยู่ไกลแสนไกลนอกขอบวงพุทธะ ถึงแม้ความเข้าใจดังกล่าวมันจะเป็นเหตุผลให้เรา "เข้าถึง" ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นได้ แต่โดยสภาพเนื้อหาแห่ง "การเข้าถึง" ซึ่งเป็นเหตุผลให้เราได้อิงแอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ตัวเราเองว่า นี่คือธรรมชาติแห่งพุทธะ ที่เราสามารถทำความเข้าใจและได้พบเจอะเจอมันแล้ว


 สภาพแห่งการเข้าถึงดังกล่าวมันจึงยังเป็นเพียง "ความฝัน" ที่คุณได้นอนหลับตาลง และความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น มันก็ได้ตามมาหลอกหลอนคุณ ให้คุณฝันถึง "สภาพของมัน" อย่างเป็นตุเป็นตะ ก็ถ้าเมื่อคุณตื่นและลืมตาขึ้น ก็เพียงแค่คุณลืมตาตื่นต่อความเป็นจริง และก็เมื่อคุณได้ก้าวข้ามประตูแห่งความสงสัยนั้น เข้ามาเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งพุทธะนี้ได้แล้ว ซึ่งมันทำให้คุณไม่มีความแตกต่างอะไรเลย ในระหว่างความเป็นคุณเองกับความเป็นพุทธะนั้น มันจึงเป็นความเหมือนกันแบบถ้วนทั่วทุกอณูธรรมธาตุ แห่งอาณาจักรพุทธะซึ่งมันมีความกว้างใหญ่ ไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ รวมเขตแดนได้ถึงความเป็นอนันต์แห่งล้านโกฏิจักรวาล

มันเป็นความหนึ่งเดียวกันที่ไม่เคยมีทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต มันเป็นความหนึ่งเดียวกัน "โดยไม่สามารถนำพาตัวเราเองออกไปจากมันได้" มันจึงไม่มีการออก ไม่มีการเข้า และไม่มีการเข้าถึง มันเป็นหนึ่งเดียวของมันอยู่อย่างนั้น

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   19 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2014, 07:41:55 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 24 อิสรภาพที่แท้จริง

ด้วยเหตุและปัจจัยที่ทำให้เรา ได้หมั่นประกอบกุศลกรรมมุ่งทำความดีให้กับตนเองและคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้น โดยตนเองได้ตั้งสัจจะวาจาได้อธิษฐานตั้งมั่นอย่างเด็ดขาดว่า จะเลิกการกระทำที่นำพาซึ่งความเบียดเบียนแก่ตนเองและผู้อื่น ในทุกรูปแบบได้อย่างเด็ดขาดนั้น ก็ด้วยเหตุและปัจจัยนี้ มันก็ทำให้เราได้มีความเป็นอิสรภาพแห่งใจในระดับหนึ่งแล้ว ในความเป็นมนุษย์ที่อยู่ในโลกแห่งความมีความเป็น ที่ต้องการให้ชีวิตของตนเองประสบแต่ความสุขสมหวังในชีวิต

และด้วยเหตุปัจจัย ที่ทำให้เรามีความดำริเห็นชอบที่จะนำพาตนเอง เดินออกมาจากความทุกข์มาสู่ความเป็นจริงตามธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นธรรมชาติที่อยู่นอกเหนือความสุขและความทุกข์ทั้งปวง ก็ด้วยเหตุและปัจจัยนี้ ทำให้เราได้มีความเป็นอิสรภาพนำมาสู่ชีวิตตนเองได้ ในระดับหนึ่งแล้วเช่นกัน

และด้วยเหตุปัจจัย ที่ทำให้เราได้มีความเข้าใจตระหนักอย่างชัดแจ้งแล้ว ในเนื้อหาธรรมชาติซึ่งมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น ด้วยเหตุและปัจจัยนี้ ก็ทำให้เราได้มีความเป็นอิสรภาพในสัมมาทิฐินั้น ในระดับหนึ่งแล้วอีกเช่นกัน แต่มันก็ยังไม่ใช่อิสรภาพที่แท้จริง

และการที่ธรรมชาติมันคงทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้น ในเนื้อหาความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน แบบเสร็จสรรพเด็ดขาดโดยตัวมันเอง "อยู่อย่างนั้น" การที่ธรรมชาติมันคงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงอยู่อย่างนั้น โดยที่ธรรมชาติแห่งความเป็นเรา ก็เป็นเนื้อหาเดียวกันไม่มีความแตกต่างใดๆเลย ในความเป็นธรรมชาตินั้น ก็ธรรมชาติมันเป็นของมันเองอยู่แล้ว ก็ธรรมชาติมันเป็น "ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว" มันจึงเป็นธรรมชาติของมันเองที่มิได้อาศัยเหตุและปัจจัยใดๆ และก็ด้วยความไม่ต้องมีเหตุและปัจจัยอะไรเกิดขึ้น และธรรมชาติมันก็คงทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น การไม่มีเหตุและปัจจัยซึ่งในความเป็นไปแห่งธรรมชาตินั้น การไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยใดๆในการทำหน้าที่ของธรรมชาติมันเอง มันจึงเป็นการมีอิสรภาพอย่างแท้จริง มันเป็นอิสรภาพซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   21 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2014, 12:06:56 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 25 ทางสายกลาง

ทางหรือแนวทาง ที่เป็นความหมายแห่งสภาพทิฐิทั้งหลาย
มันก็เป็นเนื้อหาที่สามารถบ่งบอกถึง ลักษณะความหมายแห่งธรรมชนิดนั้น
ที่เราได้ยึดเหนี่ยวเอามาเป็น "ความเป็นไป" ของตนเอง
ตถาคตเจ้าจึงได้แบ่งทิฐิออกเป็นสองประเภท โดยท่านได้ทรง..
แบ่งแยกทิฐิออก ตาม คุณลักษณะ.. ความเป็น ธรรมธาตุ แห่งทิฐินั้นๆ

ก็โดยทั่วไปแห่งความหมายของมิจฉาทิฐิโดยรวม ตถาคตเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่าเป็นทิฐิหรือความคิดเห็น ที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ เป็นทิฐิที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆโดยยึดเข้ามาเป็นความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ของตนเองอยู่อย่างนั้น ก็ในคืนราตรีแห่งการตรัสรู้ ตถาคตเจ้าท่านทรงได้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมธาตุ แห่งความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ และด้วยความตระหนักอย่างชัดแจ้งในความจริง ของธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งทั้งปวงนี้ ท่านจึงทรงตรัสเรียก "ความเข้าใจอย่างถูกต้อง" นี้ว่า "สัมมาทิฐิ" ซึ่งเป็นทิฐิความเห็นที่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ว่าธรรมชาตินั้นโดยสภาพแห่งมัน มันย่อมมีแต่ความว่างเปล่าไร้ความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น

ก็ด้วยความเป็นมิจฉาทิฐิทั้งหลาย มันจึงเป็นความหลงผิดที่เกิดขึ้น เป็นความคิดเห็นที่เข้าใจผิดต่อความเป็นจริงไปต่างๆนานา มันจึงเป็น "ทาง" ที่มีความหลากหลายในการก้าวพลาดไป ในเส้นทางแห่งความหลงผิดนั้น และด้วยความจริงที่ปรากฏตามธรรมชาติว่า หนทางหลากหลายในมิจฉาทิฐิเหล่านี้ ซึ่งล้วนแต่เป็น "ความมีและความเป็นตัวตน" เกิดขึ้น มันมิใช่หนทางอันจะทำให้ท่านทรงพ้นทุกข์ได้ เมื่อท่านได้ค้นพบหนทางที่สว่าง ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ ท่านจึงตรัสเรียกหนทางอันคือ อริยมรรค นี้ว่า "ทางสายกลาง" มันเป็น "ทางสายกลาง" ที่จะพาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดำเนินไปบนความนอกเหนือแห่งความมีความเป็นในทุกชนิดทุกรูปแบบ มันจึงเป็นทางสายกลางที่เป็นกลางโดยไม่มีความยุ่งเกี่ยว กับ "ความยุ่งเหยิงแห่งทิฐิที่มีความหลงผิดทั้งหลาย"

 ซึ่งมันเป็นความยุ่งเหยิงในความเกี่ยวพันแบบแนบแน่น ในความเห็นที่เป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้นแต่อย่างเดียว เพราะฉะนั้นทางสายกลาง มันจึงมีความเป็นกลาง "โดยสภาพธรรมชาติของมันเอง" เป็นสภาพที่เป็นเนื้อหาเดียวกันตลอดอยู่อย่างนั้น ในความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น มันมิใช่ความเป็นกลางเพื่อเป็น "ภาวะ" ต่างหาก จากความมีอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มันมิใช่ความเป็นกลางเพื่อเป็น "ภาวะ" ต่างหาก จากความไม่มีอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ในความเป็นกลางอย่างแท้จริงตามธรรมชาติแห่งสัมมาทิฐิ มันเป็นกลางที่เป็นความว่างเปล่าปราศจาก "ความมีหรือความไม่มี" ความว่างเปล่าตามธรรมชาตินั้น มันมิได้หมายถึง การยืนยันว่า "ไม่มี" สิ่งใดอยู่ แต่ความว่างเปล่าตามธรรมชาตินั้น มันก็ "ทำหน้าที่" ในความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมัน "อยู่อย่างนั้น" มันว่างเปล่าโดยตัวมันเอง มิได้ว่างเปล่าเพราะความมีหรือความไม่มีสิ่งใด มันจึงเป็นเพียงความว่างเปล่าของมัน ตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นเองแต่เพียงเท่านั้น

เพราะฉะนั้น "ความเป็นกลาง" ในทางสายกลาง
มันจึงเป็น "ความเป็นกลาง"
ตามธรรมชาติแห่งสภาพมันอยู่อย่างนั้น แต่ความหมายเดียว

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   23 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2014, 12:31:46 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 26 นาข้าวแห่งพุทธโคดม

เมื่อลมหนาวของต้นฤดู ได้พัดผ่านมาทางท้ายหมู่บ้าน ซึ่งบริเวณนั้นมีท้องทุ่งนาแปลงหนึ่ง เป็นนาที่อยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชลา ภายในนาข้าวแปลงนั้นมีต้นข้าวที่ท้องแก่รวงใหญ่ ขึ้นเบียดเสียดกันอยู่อย่างระลานตา และที่นั่นมีชาวนาที่ชื่อ "สมณพุทธโคดม" ท่านกำลังทรงใช้เคียวเก็บเกี่ยวข้าวในนาแปลงของตนอยู่ นาข้าวแปลงนี้อยู่ ณ บริเวณหมู่บ้านนิคม "อุรุเวลา" เป็นหมู่บ้านซึ่งมีความสงบเงียบ เป็นสถานที่ที่ร่มรื่นเป็นรมณียสถาน สะดวกด้วยโคจรคามในการเดินทางไปมา มีป่าชัฏเยือกเย็น แม่น้ำใสเย็นจืดสนิท และมีต้นโพธิ์ต้นใหญ่ยืนต้น ตั้งตระหง่านอยู่อย่างเห็นได้อย่างเด่นชัด ภายใต้ควงโพธิ์ต้นนี้ ชาวนาคนนั้นได้ใช้เป็นที่พักอาศัยแห่งตน เพื่อหลบแดดหลบฝน

ต่อมาในเวลาตะวันบ่ายคล้อยของวันนั้น มีพราหมณ์คนหนึ่งเดินผ่านมา และเห็นรวงข้าวในท้องนา จึงได้เอ่ยปากกล่าวชมข้าวในนาของพระองค์ท่าน ว่าพระองค์ท่านเป็นชาวนาที่เยี่ยมยอด มีความดูแลเอาใจใส่เพาะปลูกข้าวในนาได้เป็นอย่างดี พราหมณ์จึงถามต่อพระองค์ท่านว่า มีวิธีดูแลอย่างไร จึงได้ผลผลิตเป็นข้าวรวงทองสีเหลืองงามอร่าม พระพุทธองค์จึงทรงตรัสให้ฟังว่า เหตุที่ข้าวในนาของพระองค์ท่าน ทรงมีความอุดมสมบูรณ์ ข้าวมีรวงใหญ่ เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ไม่เล็กลีบเรียว เพราะเมื่อ "ฤดูฝนแห่งการได้ตรัสรู้" ที่พึ่งได้ผ่านมาถึง ท่านทรงได้ใช้ศาสตร์แห่งการเป็นกสิกรชาวนา ที่ท่านทรงได้อบรมตนเองมาตลอดระยะเวลานานเป็นอสงไขย ลงมือเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ชื่อ "เมล็ดพันธุ์ข้าวแห่งพุทธะ" ลงในแปลงนาของท่าน โดยท่านทรงกล่าวว่า ในการทำนาเมื่อต้นฤดูฝนที่ผ่านมานั้น ท่านลงมือหว่านไถโดย

"ใช้ศรัทธาของเราเป็นพืช ใช้ความเพียรของเราเป็นฝน ใช้ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ ใช้หิริของเราเป็นงอนไถ ใช้ใจของเราเป็นเชือก ใช้สติของเราเป็นผาลและปฏัก ชาวนาอย่างเราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยมของเรา เป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระไป เพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา ย่อมถึงสถานที่ที่บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การหว่านและไถนานั้น เราหว่านไถแล้วอย่างนี้ การหว่านและไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   24 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 27 พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้แสดงธรรมอะไรเลย

ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏมาในพระไตรปิฎก ถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น สามารถแบ่งแยกแยะออกเป็นชนิดแห่งธรรมได้สองประเภท คือ ธรรมที่มีคุณลักษณะเป็นสังขตธาตุ ซึ่งคือธรรมธาตุที่มีลักษณะปรุงแต่ง เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปโดยตัวมันเอง และธรรมที่มีคุณลักษณะเป็นอสังขตธาตุ ซึ่งคือธรรมธาตุที่มีลักษณะ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันเองอยู่อย่างนั้น ก็ด้วยความที่พระพุทธองค์มาตรัสรู้และประกาศธรรมใน "กลียุค" เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายในยุคนี้ ล้วนเป็นผู้มืดบอดไร้ซึ่งความมีปัญญาอันแท้จริง จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระพุทธองค์ต้องตรัสธรรมอันเป็นสังขตธาตุ คือ ธรรมว่าด้วยความมีความเป็น ความเป็นตัวเป็นตน ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

 ถึงแม้ธรรมเหล่านี้จะไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้พ้นจากกองทุกข์ได้ แต่ด้วยการที่พระพุทธองค์ทรงมีความเมตตากรุณา แก่หมู่สัตว์น้อยใหญ่ ผู้ที่ยังต้องจมปลักอยู่ในเหตุปัจจัยแห่งตน และจะต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ โดยไม่อาจมีเหตุปัจจัยที่จะหลุดพ้นในยุคที่ พระพุทธองค์กำลังประกาศศาสนาได้เลย พระพุทธองค์จึงจำเป็น ต้องตรัสธรรมอันคือสังขตธาตุไว้ในทุกลักษณะ เพื่อความเหมาะสมแก่บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เข้ามารับธรรมนั้น

พระพุทธองค์ทรงตรัสเรื่อง การกระทำกรรมและการรับผลแห่งกรรม เพื่อให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่มีปัญญามากพอ ที่จะเรียนรู้ศึกษาถึงธรรมซึ่งคือความเป็นจริงตามธรรมชาติได้ รับธรรมเหล่านี้ไปพิจารณาเพื่อให้เห็นคุณและโทษ แห่งการที่ตนได้ยึดมั่นถือมั่นและได้กระทำกรรมต่างๆเหล่านั้นออกไป

พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสเรื่องการรักษาศีล เพื่อบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่พอจะมีปัญญา แยกแยะถึงเหตุและผลได้พิจารณาถึงสภาพจิตใจของตน และให้ผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัยเหล่านี้ ได้ปรับปรุงสภาพจิตใจของตนเอง ด้วยศรัทธาที่จะงดเว้นการปรุงแต่งจิตของตน ไปในทางเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขแห่งใจตน และเพื่อความสงบสุขในสังคมที่ตนเองได้ดำรงชีวิตอยู่

พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสเรื่องการเจริญกรรมฐาน ก็เพื่อให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่พอจะมีปัญญาและความเพียรที่จะพัฒนาตนเอง ให้ไปสู่หนทางหลุดพ้นได้อย่างแท้จริงในกาลข้างหน้า ท่านจึงทรงแนะนำบัณฑิตเหล่านี้ ให้รู้จักอุบายเพื่อทำจิตใจของตนให้สงบไม่ซัดส่ายไปในทิศทางอื่น ก็ด้วยความสงบซึ่งเกิดจากการทำกรรมฐานนี้ เป็นภาวะที่ปราศจากสิ่งที่เป็นอุปสรรคของใจ ซึ่งมันเป็นธรรมที่เข้ามาทำให้จิตใจขุ่นมัวไป ในภาวะสับสนต่างๆตามเหตุตามปัจจัยแห่งมัน เมื่อจิตมีความสงบชั่วคราว มันก็จะเป็นบาทฐานที่จะทำให้สามารถพิจารณาธรรมต่างๆ ได้อย่างเข้าใจแจ่มแจ้งมากขึ้นกว่าเดิม

พระพุทธองค์ตรัสเรื่องธรรมอันคือธรรมชาติ ก็เพื่อให้เหล่าบัณฑิตที่มีปัญญามากพอแล้ว และมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้หลุดพ้นในชาตินี้หรือชาติต่อๆไปได้ เข้ามาทำความเข้าใจธรรมที่แท้จริง ซึ่งมันเป็นเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติ มันเป็นธรรมชาติที่นอกเหนือไปจากเหตุปัจจัย ที่จะทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายต้องทนทุกข์ ไปเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่รู้จบสิ้น

ก็ด้วยธรรมต่างๆเหล่านี้ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสมา และถูกรวบรวมไว้ในพระไตรปิฎกถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น หาใช่ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสขึ้นมาเองก็หาไม่ และเป็นความจริงที่ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย รวมทั้งพระพุทธองค์ด้วยนั้น "ล้วนมิได้แสดงธรรมอะไรเลย" ท่านเพียงแต่ได้ตรัสสิ่งที่มันเป็นไปตามธรรมชาติ โดยเนื้อหาของมันเองแห่งธรรมชาตินั้นอยู่อย่างนั้น ธรรมบางอย่างก็มีเหตุและปัจจัยด้วยอาศัย "การที่มีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้อยู่" เช่นนั้นเป็นแดนเกิดแห่งธรรมนั้นๆ ธรรมบางอย่างก็เป็นธรรมที่เป็นสภาพอยู่นอกเหนือเหตุและปัจจัย ด้วยการที่มันเป็นเนื้อหาของมันเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น โดยมิต้องอาศัยเหตุและปัจจัยใดๆเป็นแดนเกิดแห่งธรรมนั้น การตรัสธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงเป็นเพียงการหยิบยกธรรมซึ่งมีเหตุปัจจัย ให้ท่านได้ตรัสในขณะนั้นขึ้นมากล่าว ตามสภาพแห่งธรรมในขณะนั้น ตามความเป็นจริงตามเหตุตามปัจจัยแห่งมัน

ก็ด้วยความเป็นพุทธวิสัยแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า ที่จะต้องมาโปรดบรรดาสรรพสัตว์โดยรอบบารมีแห่งตน ในเส้นทางแห่งการสั่งสมบารมีของความเป็นพุทธะ ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานนับไม่ถ้วนแห่งอสงไขย ตามธรรมธาตุแห่งคุณลักษณะในความเป็น พุทธะ ของแต่ละองค์นั้น การกระทำกุศลกรรมในทุกภพทุกชาตินั้น จึงเป็นไปในลักษณะ เพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้การกระทำดังกล่าวนั้น เป็นผลกรรมเพื่อมาแสดงเป็นกรรม "ตามวาระ" และให้พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสถึงกรรมและธรรมนั้น และเนื้อหากรรมทั้งหมดทุกภพทุกชาติที่ผ่านมา มันจะถูกกรองด้วยระบบกรรมวิสัยโดยตัวมันเอง

 เพื่อให้พระพุทธเจ้าองค์นั้นๆได้ตรัสเรื่องกรรมและธรรมต่างๆนั้น ได้ครบทั้งหมดในความเป็นธรรมธาตุแห่งธรรมนั้นๆโดยถ้วนทั่ว เพราะฉะนั้นในรอบบารมีแห่งการที่จะมีพระพุทธเจ้า องค์ใดองค์หนึ่งลงมาตรัสแสดงธรรม เพื่อทำหน้าที่โปรดบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายในรอบบารมีแห่งตน จึงเป็นการลงมาด้วยบารมีที่เป็นความเต็มพร้อมครบถ้วน แห่งเหตุและปัจจัยในทุกด้าน แห่งเนื้อหาลักษณะกรรมและลักษณะธรรมอย่างลงตัวไม่ขาดเกิน เพราะฉะนั้นเหตุและปัจจัยที่ทำไว้อย่างพร้อมเพรียง จึงเป็นเหตุและปัจจัยในทุกย่างก้าวที่พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ ได้ทรงเสด็จดำเนินไปบนเส้นทางที่บริบูรณ์พร้อม เป็นความพร้อมอย่างลงตัวที่จะทำให้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้หยิบยกเหตุปัจจัยในกรรมและธรรมเหล่านี้ขึ้นมาตรัส จนครบถ้วนไม่ขาดตกบกพร่อง แห่งเนื้อหาในการโปรดบรรดาสรรพสัตว์ในรอบของตน เพราะฉะนั้นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสนั้น มันจึงเป็นเหตุปัจจัยที่พร้อมเพรียงและเรียงหน้ากันเข้ามา เพื่อเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ได้ทรงหยิบยกขึ้นมาตรัส จนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายที่ทรงเสด็จปรินิพพานจากโลกนี้ไป

ธรรมมันจึงเป็นความเป็นจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีหน้าที่เพียงเข้าไปหยิบธรรมเหล่านี้ ขึ้นมาตรัสสอนด้วยความรอบรู้แห่งตน เพื่อโปรดบรรดาสรรพสัตว์ตามเหตุและปัจจัยนั้นๆแต่เพียงเท่านั้น
   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   25 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน