ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

ข้อคิดดีๆ จากจีน

<< < (5/9) > >>

sithiphong:
เซิงจี้สื่อกุย : เกิดชั่วคราว ดับกลับคืน
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 ตุลาคม 2553 14:10 น.
 
   《生寄死归》 
       
       生(shēng) อ่านว่า เซิง แปลว่า เกิด
       寄(jì) อ่านว่า จี้ แปลว่า อาศัยชั่วคราว
       死(sǐ) อ่านว่า สื่อ แปลว่า ตาย
       归(guī) อ่านว่า กุย แปลว่า กลับคืน  


ในสมัยอดีตกาล เมื่อ "ต้าอี่ว์" สืบทอดราชบังลังก์จากกษัตริย์ "ซุ่น" กลายเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน แต่กลับใช้ชีวิตอย่างสมถะ ปราศจากความละโมบโลภมาก ข้าวของเครื่องใช้ล้วนทำจากไม้ที่ไม่ผ่านการแกะสลัก พระราชวังก็เป็นเพียงห้องหับพื้นๆ อาหารการกินมีเพียงข้าวแข็งหยาบกับแกงจืดที่ต้มจากผักพื้นบ้าน เครื่องนุ่งห่มเป็นผ้ากระสอบแข็งระคายและใช้หนังกวางมาเป็นเครื่องป้องกันความหนาวเมื่อถึงฤดูหนาว
       
       ครั้งหนึ่ง ต้าอี่ว์เดินทางล่องเรือไปยังแดนใต้ โดยสารเรือลำหนึ่งข้ามแม่น้ำแยงซีเกียง ขณะที่เรือแล่นไปถึงใจกลางลำน้ำ พลันมีมังกรสีเหลืองตัวใหญ่มหึมาโผล่ขึ้นมาจากสายน้ำ มังกรตัวนั้นไม่ทราบมีความยาวเท่าใด แต่เฉพาะส่วนหางก็มีขนาดใหญ่โตเทียบได้กับเรือลำหนึ่งเลยทีเดียว เมื่อมังกรเหลืองตัวนั้นโบกสะบัดหาง สายน้ำก็ถูกม้วนกลายเป็นคลื่นยักษ์ลูกแล้วลูกเล่าสาดซัดเข้าใส่ลำเรือ จนเรือโคลงเคลงไปมา เท่านั้นไม่พอ มังกรเหลืองยังดำลงไปใต้ท้องเรือ ใช้ส่วนหลังยกลำเรือขึ้นแล้วว่ายพุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผู้โดยสารที่อยู่บนเรือต่างพากันหวาดกลัวจนใบหน้าซีดเผือด คงมีเพียงต้าอี่ว์ ผู้เดียวที่รักษาความเยือกเย็นเอาไว้ได้ราวกับไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น
       
       เหล่าผู้ติดตามเห็นต้าอี่ว์ไม่มีทีท่าหวาดกลัว จึงเอ่ยถามด้วยความข้องใจว่า "เวลานี้ เรืออาจจะพลิกคว่ำได้ทุกเมื่อ พวกเราก็อาจจะกลายเป็นอาหารในปากมังกรเหลือง แต่เหตุใดใต้เท้ายังคงลักษณะสำราญใจเช่นนี้?"


ต้าอี่ว์จึงกล่าวตอบด้วยเสียงอันดังว่า "ชีวิตข้าเป็นไปตามลิขิตฟ้า ข้าทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจก็เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ชีวิตของข้าที่มีอยู่ ก็เป็นสวรรค์ที่มอบให้ หากข้าตายไป ก็เพียงส่งมอบชีวิตหวนคืนให้สวรรค์ ความเป็นความตายไม่อาจสั่นคลอนจิตใจข้าได้ โดยเฉพาะจากเจ้ามังกรเล็กๆ เพียงหนึ่งตัว ในสายตาของข้า มันก็เป็นเพียงแค่สัตว์เลื้อยคลาน ไม่มีอะไรให้ข้าต้องกังวล"
       
       ผู้ติดตามได้ฟังดังนั้น ได้แต่รำพึงว่า "ใต้เท้านับเป็นผู้ยิ่งใหญ่โดยแท้"
       
       ส่วนมังกรเหลืองเมื่อได้ยินคำกล่าวอันยิ่งใหญ่ของต้าอี่ว์ จึงถอนศีรษะกลับตัว สะบัดหางจากไป
       
       สำนวน "เซิงจี้สื่อกุย" มีความหมายว่า ไม่ยึดถือความเป็นความตายเป็นสรณะ การเกิด-ดับเป็นธรรมดาโลก ไม่ควรตื่นเต้นดีใจหรือโศกเศร้าให้มากเกินไป ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนที่มาจากคำสอนในลัทธิเต๋า ที่มุ่งเน้นความกลมกลืนไปกับวิถีธรรมชาติ มองการเกิด-ดับเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นต้องครุ่นคำนึงให้มากความ เพียงทำตัวให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติก็เพียงพอแล้ว
       
       ที่มา : 《道的100个哲理故事》, 光明日报出版社, I S B N: 7801459288, 出版日期: 2005-3-1
       
       หมายเหตุ : ต้าอี่ว์ เป็นบุคคลในอดีตกาล เมื่อ 4000 ปีก่อน เป็นผู้ซึ่งคิดค้นวิธีการขุดคลองระบายน้ำ แก้ปัญหาอุทกภัยครั้งร้ายแรงบริเวณลุ่มน้ำฮวงโห(แม่น้ำเหลือง)ได้สำเร็จจนได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์จีน


.

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9530000140017

.



.




ฐิตา:
 
 
 
                         :13:     :45: :45: :45:

sithiphong:
นิทานเซน :รสชาติของเกลือ
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 ตุลาคม 2553 08:16 น.
 

《盐的味道》

 
 
ภาพจาก www.nipic.com
 
 

อาจารย์เซนผู้หนึ่งมีศิษย์ที่ชอบร้องทุกข์คร่ำครวญอยู่คนหนึ่ง และเนื่องจากทัศนะคติที่คับแคบนี้เอง ทำให้ศิษย์ผู้นี้มักจะมีแต่ความทุกข์กังวล จิตใจไม่เป็นสุข

วันหนึ่ง อาจารย์เซนสั่งให้ศิษย์คนดังกล่าวไปตลาดซื้อเกลือมาถุงหนึ่ง เมื่อศิษย์กลับมาจึงสั่งให้นำเกลือมาหยิบมือหนึ่ง โปรยลงไปในแก้วบรรจุน้ำ แล้วให้ศิษย์ดื่มลงไป พลางกล่าวถามว่า “รสชาติของน้ำเป็นอย่างไร?”
“เค็มจนขม” ศิษย์ตอบด้วยใบหน้าเหยเก

จากนั้น อาจารย์เซนได้พาศิษย์ไปยังริมทะเลสาบ สั่งให้นำเกลือที่เหลือโปรยลงไปในทะเลสาบจนหมดสิ้น แล้วกล่าวว่า “ลองดื่มน้ำจากทะเลสาบดูสิ” ศิษย์จึงก้มตัวลงไปวักน้ำจากทะเลสาบขึ้นมาดื่ม

อาจารย์เซนถามอีกว่า “คราวนี้รสชาติเป็นอย่างไรบ้าง?”
ศิษย์ตอบว่า “รสชาติหวานสะอาด บริสุทธิ์ยิ่ง”
“ยังมีรสเค็มหรือไม่?” อาจารย์ถามต่อ
“ไม่มี” ศิษย์ตอบ

อาจารย์เซนได้ฟัจึงผงกศีรษะเล็กน้อย ยิ้มพลางเอ่ยสืบไปว่า “ความทุกข์ในชีวิตคนเราก็เป็นดั่งเกลือ มันจะมีรสเค็มหรือรสจืด ล้วนขึ้นอยู่กับภาชนะที่รองรับ ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าจะเป็นน้ำหนึ่งแก้ว หรือเป็นลำน้ำสายหนึ่ง”

 
 
ภาพจาก yanangel.spaces.live.com/
 
 
ปัญญาเซน : คนเรา หากต้องการใช้ชีวิตบนโลกอย่างมีความสุข ทุกข์น้อย วิธีการคือต้องลดความทุกข์ เปิดใจให้กว้าง เมตตาต่อตนเอง อดกลั้นต่อผู้อื่น จึงจะมีชีวิตที่สุขสบาย ดำเนินชีวิตด้วยความเยือกเย็น นิ่งสงบ ไม่เร่งร้อน

ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4

 

 


China - Manager Online -

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
 :13: อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม^^

sithiphong:
นิทานเซน : ชายผู้มีภรรยาสี่คน
China - Manager Online]

《男人四妻》

 
   
ภาพจาก [url=http://www.epochtimes.com/gb/3/11/7/n407538.htm]www.epochtimes.com/gb/3/11/7/n407538.htm
 
 
ในการแสดงธรรมครั้งหนึ่ง พระศากยมุนีพุทธเจ้าได้เล่าถึงเรื่องราวหนึ่งไว้ว่า...

พ่อค้าวาณิชย์ฐานะร่ำรวยผู้หนึ่งมีภรรยาทั้งสิ้น 4 นาง

ภรรยาคนแรกฉลาดปราดเปรียวน่ารัก คอยติดตามใกล้ชิดเสามีตลอดเวลา ไม่เคยห่างแม้เพียงก้าวเดียว

ภรรยาคนต่อมา พ่อค้าได้มาจากการช่วงชิง บังคับ เนื่องเพราะนางมีรูปโฉมงดงามยิ่ง

ภรรยาคนที่สาม เป็นผู้คอยดูแลจัดการเรื่องราวความเป็นไปจุกจิกในชีวิตประจำวัน ทำให้สามีมีชีวิตที่สงบเรียบร้อย

ส่วนภรรยาคนสุดท้าย ขยันขันแข็ง มุมานะทำงานอย่างหนัก จนทำให้พ่อค้าผู้เป็นสามีหลงลืมการดำรงอยู่ของนางไป

ครั้งหนึ่ง พ่อค้าวาณิชย์จำเป็นต้องออกเดินทางไปไกลแสนไกล เขาจึงคิดที่จะให้ภรรยาคนใดคนหนึ่งติดตามไปดูแล เมื่อเขาเอ่ยปากต่อภรรยาทั้งสี่นาง

ภรรยาคนแรกก็ชิงกล่าวว่า “ท่านเดินทางไปเองเถิด เพราะข้าไม่ต้องการไปด้วย”

ภรรยาคนที่สองกล่าวว่า “เดิมทีข้าก็เป็นภรรยาท่านเพราะถูกช่วงชิง บังคับ มิได้เต็มใจแต่แรก ดังนั้นแน่นอนว่าข้าไม่ต้องการตามท่านไป”

ภรรยาคนที่สามกล่าวว่า “แม้ว่าข้าจะเป็นภรรยาของท่าน แต่ข้าก็ไม่อยากทุกข์ทรมาน เดินทางออกไปนอนกลางดินกินกลางทราย ดังนั้นอย่างมากที่สุด ข้าสามารถเดินทางไปส่งท่านยังชานเมือง"

ภรรยาคนสุดท้ายกล่าวว่า “ในเมื่อข้าเป็นภรรยาของท่าน ไม่ว่าท่านจะไปที่ใด ข้าล้วนต้องติดตามท่านไป”

ดังนั้นพ่อค้าผู้ร่ำรวยจึงได้พาภรรยาคนที่สี่ออกเดินทางไปด้วยกัน

ในตอนท้าย พระศากยมุนีพุทธเจ้าได้เอ่ยกับเหล่าพระสาวกว่า “ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า พ่อค้าวาณิชย์ผู้นี้คือใคร?”
จากนั้นจึงกล่าวว่า “ย่อมคือตัวของท่านเอง”

ภรรยาคนแรก หมายถึงร่างกายเลือดเนื้อ เมื่อคนเราตายไปร่างกายย่อมเน่าเปื่อยไม่อาจติดตามไปด้วยภรรยาคนที่สอง หมายถึงทรัพย์สมบัติเงินทอง ซึ่งแต่เดิมเกิดมาล้วนไม่ได้มาด้วย แม้จะอยากได้จนต้องแย่งชิงมาเป็นของตน แต่เมื่อตายไปก็ไม่อาจนำไปด้วย
ภรรยาคนที่สาม หมายถึงนางผู้เป็นภรรยาจริงๆ ยามมีชีวิต สามี-ภรรยาแม้ต่างพึ่งพาอาศัยกัน แต่เมื่อตายไปล้วนต้องพลัดพรากแยกย้ายไปตามเส้นทางของตน
ส่วนภรรยาคนสุดท้ายหมายถึงกรรมดี-กรรมชั่วที่ตนได้กระทำไว้ คนทั่วไปมักจะลืมเลือนถึงการมีอยู่ของบาปบุญ ทั้งๆ ที่สิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวที่จะติดตามคนเราไปในทุกที่


ปัญญาเซน : คนเราทุกคนเกิดมาล้วนตัวเปล่า ตายไปก็ล้วนไปตัวเปล่า มีเพียงกรรมเท่านั้นที่จะติดตามคนเราไปในทุกหนทุกแห่ง

ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4
 

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version