ผู้เขียน หัวข้อ: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน  (อ่าน 20116 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 02:59:00 pm »




จิตใจจะต้องสุกงอมเสียก่อน
กุงอันมิใช่สิ่งที่ใช้ศึกษาค้นคว้าเท่านั้น แต่กุงอันทุกข้ออาจถือเป็นดรรชนีที่ชี้
ไปสู่ความจริง ความจริงแห่งธรรมชาติของเรา ความจริงของโลก

ดรรชนีนี้อาจทำหน้าที่ของผู้ชี้ ก็ต่อเมื่อมันได้ชี้ตรงมาที่เราหรือกล่าวได้ว่า
หากเรารู้สึกว่าสัญลักษณ์นี้เป็นสัญญาณของเราโดยตรงแล้ว
เราก็คงจะระมัดระวังเอาใจใส่มาก เพราะเรากำลังเผชิญหน้าอยู่กับ
อาจารย์ผู้เฝ้าสังเกตุดูด้วยสายตาอันคมกริบ และอาจารย์อาจจะเอาไม้ตีเรา
ในขณะใดก็ได้เหมือนดังว่าเราไปอยู่ที่ริมหุบเหวอันสูงชัน และเสี่ยงต่อ
การที่จะร่วงหล่นไปในขณะใดขณะหนึ่ง ในสภาวะเช่นนี้แหละที่ดวงจิตของเรา
จะได้รับความตระหนกและสะดุ้งขึ้น โดยมีกุงอันเป็นเหตุ



และนี่คือกุงอันอีกอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความกระอักกระอ่วนของปัญหา
เกี่ยวกับ " การเกิดและการตาย " วันหนึ่งท่านเสียงเย็นได้กล่าวกับศิษย์ว่า

" หากว่ามีชายผู้หนึ่ง แขวนตัวเองอยู่บนต้นไม้สูง
โดยใช้ฟันคาบกิ่งไม้ไว้
ทั้งมือและเท้าของเขาห้อยโตงเตง จับยึดสิ่งใดมิได้ ยังมีชายอีกผู้หนึ่ง
ยืนอยู่ที่โคนไม้ ถามชายที่อยู่บนกิ่งไม้ว่า
' เหตุใดท่านโพธิธรรมอรหันต์จึงเดินสู่ประเทศจีน ' ดูเอาเองเถิด
ถ้าหากชายคนแรกจะต้องตอบคำถามนี้แล้ว ถ้าเขาอ้าปากพูดขึ้น
เขาก็จะร่วงหล่นลงมาถึงการแตกดับอยู่ในพื้นดินเบื้องล่าง
ดังนั้นแล้วเขาจะทำอย่างไรได้เล่า "

ฮูตูซึ่งเป็นหนึ่งในศิษย์อาสาตอบขึ้นว่า
" ท่านอาจารย์ โปรดอย่าได้ยกกรณีของชายผู้แขวนตัวเอง
อยู่ด้วยฟันขึ้นมากล่าวเลย

แต่จงพูดถึงกรณีของชายผู้ซึ่งลงมาอยู่บนพื้นเรียบร้อยแล้วเถิด "
ท่านเสียงเหย็นได้ฟังดังนั้นก็หัวเราะออกมาดังสนั่น



คงจะคาดกันได้ว่า ท่านเสียงเหย็นรู้สึกผิดหวังเพียงใด
ด้วยท่านใช้กุงอันของเก่ามาเปลี่ยนเป็นกุงอันอันใหม่ล้วนซึ่ง
มีอิทธิพลต่อจิตใจมาก แต่ในวันนั้น ฮูตูและเหล่าสหธรรมิก
ไม่อาจได้รับผลสนองตอบจากอิทธิพลของกุงอันเลย
แต่อาจเป็นไปได้ที่สามร้อยปีต่อมา คนที่อื่น ๆ อาจเข้าถึง
การตรัสรู้ได้ด้วยกุงอันเดียวกันนี้




เตซานมาหาท่านหลุงตันในตอนเที่ยงคืน และยืนอยู่ใกล้ ๆ
ท่านหลุงตันพูดขึ้นว่า" ดึกมากแล้ว เหตุใดเธอจึงยังไม่กลับที่พัก "
เตซานเปิดประตูออกไป และก็ก้าวกลับคืนมาในทันใด
พูดว่า " ข้างนอกมืดมาก " ท่านหลุงตันจึงจุดเทียนส่งให้

แต่ในขณะที่เตซานรับเอาเทียนไป ท่านหลุงตันดับเทียนเสียทันที
ฉับพลันนั้นความมืดก็เข้าครอบงำคนทั้งสองไว้
เตซานได้ตรัสรู้ในขณะนั้นเอง เตซานก้มลงโค้งคำนับท่านหลุงตัน
ความมืดอย่างฉับพลันนั้นเองที่ช่วยให้เตซานเข้าใจถึง
อากัปกิริยา
ของท่านหลุงตันอย่างแจ่มแจ้ง




ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า ท่านเสียงเหย็นเคยคิดว่าไหว่ซัน
ไม่อยากจะสอนความลี้ลับของเซนให้แก่ท่าน
ดังนั้นท่านจึงออกจากสำนักเดินทางไปอยู่ในที่อื่น แต่มิได้มีเพียง
ท่านเสียงเหย็นรูปเดียวเท่านั้นที่คิดได้ดังนี้ แม้พวกศิษย์เซนอื่น
ก็คิดเช่นเดียวกันเมื่อเขาได้ถามปัญหาที่คิดว่าสำคัญ
และอาจารย์กลับทำเป็นไม่สนใจที่จะตอบ พวกนี้พากันบ่นว่า
" ข้าพเจ้ามาอยู่นี่ตั้งปีมาแล้ว
เหตุใดอาจารย์จึงปฏิบัติต่อข้าพเจ้าเหมือนกับผู้มาใหม่
"




มีพระภิกษุรูปหนึ่งถามอาจารย์หลุงตันว่า
" อะไรคือตถตะ อะไรคือปัญญา "ท่านหลุงตันตอบว่า
" ฉันไม่ได้ครอบครองตถตะ ฉันไม่มีปัญญาแม้แต่น้อย "

พระอีกรูปหนึ่งไปรบเร้าอาจารย์เจาจูให้สอนแก่นเซนให้ แทนที่จะตอบ
ท่านเจาจูกลับถามว่า " พระฉันเช้าแล้วหรือ " พระตอบว่าฉันเรียบร้อยแล้ว
ท่านจึงบอกให้พระกลับไปล้างจาน
พระอีกรูปหนึ่งถามอาจารย์หม่าซือถึงเรื่องจุดมุ่งหมาย
ของสังฆราชองค์แรก อาจารย์หม่าซือตอบว่า
" วันนี้ฉันเหนื่อยมาก ไม่อาจให้คำตอบแก่เธอได้ จงกลับไปถามพระภิกษุ

ผู้พี่ของเธอ ลองกลับไปถามเตซานดูสิ " ครั้นเมื่อพระไปถามท่านเตซาน
เตซานกลับถามย้อนว่า " ทำไมเธอจึงไม่ไปถามอาจารย์ "
พระก็ว่า " ถามแล้ว อาจารย์บอกว่าท่านเหนื่อยและให้มาถามเอากับหลวงพี่
" เตซานจึงตอบว่า " ฉันปวดหัว ลองไปถามพระซือไห่ผู้พี่ของเธอดูสิ "

ครั้นเมื่อพระไปถามท่านซือไห่ ซือไห่ก็ตอบว่า " ฉันไม่รู้ "


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 06:25:50 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 03:01:55 pm »




การไม่ยอมตอบคำถาม หรือการกล่าวเลี่ยงไปเลี่ยงมา มิได้หมายความว่า
อาจารย์ไม่ยอมช่วยศิษย์ของตน อาจารย์เพียงแต่ต้องการให้ศิษย์หลุดพ้น
ออกจากโลกของความนึกคิด
ซึ่งยากยิ่งที่จะไปถึงการตรัสรู้ได้
ที่จริงแล้วอาจารย์อาจจะลอกข้อความและคำอธิบายมาจากพระสูตร เพื่อแสดงให้
เข้าใจถึงเรื่อง ตถตะ นิพพาน ปัญญาฯลฯ
แต่ที่ท่านไม่ทำด้วยท่านรู้ดีว่าคำอธิายนั้น
หาได้เกิดประโยชน์แก่การตรัสรู้ของศิษย์ไม่

หลุงตันอยู่กับอาจารย์เทียนหวงมากว่าปีโดยไม่ได้รับคำแนะนำใด ๆ
เกี่ยวกับความลี้ลับของเซนเลย วันหนึ่งหลุงตันทนไม่ไหว จึงร้องบอกว่า
" อาจารย์ กระผมอยู่กับท่านมาเป็นปีแล้ว แต่ท่านไม่เคยถ่ายทอดอะไรให้เลย
กระผมขอให้ท่านอาจารย์กรุณากระผมให้มากขึ้น "



เทียนหวงตอบว่า " ฉันสอนความลี้ลับของเซนให้เธออยู่ตลอดเวลานะ นับตั้งแต่
วันแรกที่เธอเข้ามาอยู่ในสำนักทีเดียว เมื่อเธอนำอาหารเย็นมาให้
ฉันก็แสดงความขอบใจ เมื่อเธอก้มคำนับ ฉันก็คำนับตอบ
ดังนี้เธอจะมากล่าวหาฉันว่าไม่ได้สอนหัวใจของเซนให้เธออีกละหรือ "

ท่านตินคอง อาจารย์เซนชาวเวียดนาม ได้กล่าวกับศิษย์ที่เข้ามาตีโพยพีพาย
กับท่านว่า
" เราอยู่ด้วยกันในอารามนี้ เมื่อเธอติดไฟ ฉันก็ซาวข้าว เมื่อเธอขอชาม ฉันก็ยื่น
ชามให้ มีหรือที่ฉันจะได้ละเลยเธอ "

เพื่อช่วยให้ศิษย์ข้ามแม่น้ำให้ถึงฝั่งพระนิพพาน อาจารย์เซนมักจะยื่นเสาหลักแห่ง
อุบายให้ ศิษย์อาจจะอาศัยเกาะหลักนี้ไป แต่หากดวงตาของเขายังปิดอยู่
และดวงจิตก้ยังมืดมัว เขาก็จะไม่พบเสาหลัก ภิกษุรูปหนึ่งมาถามอาจารยคามตันว่า



" อะไรคือ พุทธะ " ~ " ทุกสิ่งทุกอย่าง " อาจารย์ตอบ
" อะไรคือจิตแห่งพุทธะ " พระถามสืบไป
" ไม่มีอะไรถูกปิดซ่อน " อาจารย์ตอบ
" ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ "
" เธอได้พลาดโอกาสไปเสียแล้ว " อาจารย์กล่าว


ทุกคราที่มีการยื่นเสาหลักมาให้ ถ้าไม่ยึดจับเอาไว้ก็จะต้องปล่อยไป ไม่มีทางเลือก
ที่สามอีก ยิ่งลังเล ยิ่งจะผิดพลาด
ความลังเลแสดงว่าเรายังไม่พร้อมที่จะผ่านการทดสอบ และเมื่อล้มเหลว
เราก็ไม่ควรเศร้าโศก แต่ควรจะพยายามใหม่ เราจะต้องกลับไปทำกิจประจำวัน ตักน้ำ
ทำครัว ปลูกผัก ด้วยความมีสติ คือเครื่องกำหนด รู้ ให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

สมัยเมื่อท่านตรีเบ๋ายังมิได้ตรัสรู้ อาจารย์ของท่านได้ถามว่า " เธอมาจากใหน
เมื่อตอนเกิด เธอจะไปใหนเมื่อเธอตาย
" ตีเบ๋า พยายามขบคิด อาจารย์ยิ้มและบอกว่า
" ในห้วงแห่งความคิด เมฆหมอกก็ได้ลอยล่วงไปเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ ลี้แล้ว
ถ้าจิตเธอยังไม่สุกงอมแล้วไซร้ ความพยายามทั้งหมดล้วนเปล่าประโยชน์ทั้งสิ้น "



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 07:25:57 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 03:30:36 pm »




ภาค ๔
ขุนเขา ยังยง คง ขุนเขา
นที ยัง
คง ดำรง ไหล




ตราแห่งจิต

เราอาจกล่าวได้ว่า ตราแห่งจิต นี้คือ ลำดับขั้นแห่งสัจธรรม
อันนำไปสู่การตรัสรู้ ดังนั้นตราแห่งจิตจึงไม่อาจถ่ายทอดกันได้
ผู้เป็นอาจารย์ย่อมไม่อาจส่งผ่านการตรัสรู้ไปสู่ศิษย์ของตน
แม้แต่จะไปสร้างการตรัสรู้ขึ้นในตัวศิษย์ก็ทำไม่ได้ อาจารย์เพียงแต่
่่สามารถช่วยให้ศิษย์ตระหนักถึงภาวะแห่งการตรัสรู้
ซึ่งศิษย์มีอยู่ในตนเองแล้ว



คำกล่าวที่ว่า" การส่งผ่านตราแห่งจิต "

เป็นเพียงสัญลักษณ์อันใช้แทนเท่านั้น ดวงตราแห่งจิตซึ่งถือว่า
เป็นตถตะบ้าง เป็นพุทธะบ้าง เหล่านี้ล้วนแสดงถึงธรรมชาติแห่งการตรัสรู้
ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแล้วถือว่า สรรพสัตว์ทั้งหมดทั้งสิ้น
ล้วนมีธรรมชาติแห่งการตรัสรู้ จึงอาจอ้างได้ว่าตราแห่งจิตมีอยู่แล้ว
ในคนทุกคนหาต้องมีการถ่ายทอดกันไม่ อาจารย์ วินีตะรุซี
ผู้ก่อตั้งนิกายเซนขึ้นในเวียดนาม ได้พูดกับฟ๊าบเหียนผู้ศิษย์ว่า



" จิตแห่งพุทธะ คือสัจธรรม นับว่าสมบูรณ์ถึงที่สุด

ไม่สามารถเพิ่มอะไร
เข้าไปอีกได้ ไม่มีอะไรอยู่นอกเหนือไปจากนี้
ไม่มีใครอาจได้มา ไมมีใครอาจสูญสียไป ไม่ใช่สิ่งถาวร
และไม่ใช่สิ่งแปรผัน ไม่อาจสร้างหรือทำลาย
ไม่เหมือนและไม่แตกต่าง
ชื่อที่ตั้งให้กับจิตชนิดนี้ เป็นเพียงอุบาย
เครื่องบอก
เท่านั้น "



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 31, 2013, 06:57:53 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 10:54:34 am »




" ชื่อที่ตั้งให้กับจิตชนิดนี้เป็นเพียงอุบายเครื่องบอกเท่านั้น " ข้อความนี้
ทำให้เราเห็นวิธีการในทางพระพุทธศาสนา คำว่านิพพานก็ดี
คำว่าปัญญา คำว่าตถตะก็ดี
เป็นเพียงถ้อยคำ เงื่อนไข ถ้อยคำอันเป็นเงื่อนไข
เครื่องกำหนดเหล่านี้ ย่อมไม่ใช่นิพพานปัญญาและตถตะที่แท้จริง
นี้ก็เป็นเช่นเดียวกับสัจภาวะแห่งการตรัสรู้ ซึ่งเซนเรียกว่า" ตราแห่งจิต "
อันเป็นเพียงสัญลักษณ์ซึ่งใช้เป็นอุบายเครื่องบอก เพื่อเป็นการโต้แย้ง ความคิดที่ว่า
ตราแห่งจิตเป็นสิ่งที่อาจถ่ายทอดหรืออาจรับมอบกันได้ อาจารย์โวงอนทอน
ก่อนท่านที่จะมรณภาพจึงได้ทิ้งบันทึกเล่มนี้ไว้ให้คามตันผู้ศิษย์

ดังที่มีเสียงเล่าลือ
แว่วมาจากจตุรทิศ
ว่าท่านมหาสังฆราช * ของเราเคยอยู่ในอินเดีย
และท่านได้ส่งทอด " ธรรมจักษุ " ต่อ ๆ กันมา



ดอกไม้ พร้อมกลีบทั้งห้า
พืชพันธุ์อันอมตะ
ถ้อยคำลี้ลับ รหัสนัย
และสิ่งคล้ายกันนี้นับด้วยพัน
ถูกถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจิต และธรรมชาติอันบริสุทธิ์
แต่แท้ที่จริงแล้ว

อินเดียอยู่ที่ใดเล่า
อินเดียอยู่ที่นี่

ี่

ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
คือดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในยุคสมัยของเรา
ขุนเขาและแม่น้ำ
คือแม่น้ำและขุนเขา ในยุคสมัยของเรา


การไปวุ่นวายอยู่กับสิ่งใด เท่ากับไปยึดมั่นอยู่กับสิ่งนั้น จะต้องกำจัด
แม้พระพุทธเจ้า หรือพระมหาสังฆราช มีความผิดพลาดเพียงหนึ่ง
ก่อให้เกิดความผิดนับพัน จงพิจารณาดูให้ชัด เพื่อจะได้ไม่ต้อง
หลอกลวงคนรุ่นหลังให้หลงผิด อย่าตั้งคำถามกับฉันต่อไปอีกเลย

ฉันไม่มีอะไรจะกล่าวอีกต่อไป ฉันมิได้เคยพูดอะไรมาเลยด้วยซ้ำ

* มหาสังฆราช ในที่นี้คือท่านโพธิธรรมอรหันต์ พระสงฆ์ชาวอินเดีย
ถือกันว่าเป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายเซน




" ฉันมิได้เคยพูดอะไรมาเลยด้วยซ้ำ " นี่คือถ้อยคำสรุปของอาจารย์โวงอนทอน
หลังจากที่ท่านได้กล่าวถ้อยคำอะไรบางอย่างเสร็จสิ้นลงแล้ว
จะเห็นได้อย่างแจ่มชัด ถึงวิธีการทางพุทธศาสนาคือการปล่อยให้จิตดำเนินไปเอง
การพูดอะไรบางอย่างโดยไม่ให้คนไปยึดมั่นถือมั่นในคำพูดนั้น
คือวิธีการที่เรียกว่าแบบ " โวงอนทอน " ซึ่งแปลว่า " สื่อสารโดยไร้คำพูด "
ซึ่งเป็นฉายาของอาจารย์เซนผู้นี้




ท่านปฏิเสธการยอมรับความคิดที่ว่าการตรัสรู้ถ่ายทอดกันได้ แต่
ในขณะเดียวกัน ท่านก็เกรงว่าศิษย์จะปฏิเสธความคิดเช่นนี้ ดังนั้น
ท่านจึงชี้ให้เห็นว่า " มีความผิดพลาดเพียงหนึ่ง ก่อให้เกิดความผิดนับพัน "
และยังเสริมอีกว่า " ฉันมิได้พูดอะไรออกมาเลย "



การจะได้ตราแห่งจิตมา ก็โดยมองลงไปให้แจ้งชัดในธรรมชาติของตน
ถ้าหากว่าตราแห่งจิตหรือ ตถตะ หรือ พุทธะ ซึ่งเป็นหลักสำคัญทางฝ่ายมหายาน
แต่อาจารย์เซนปฏิเสธที่จะตอบคำถามในเรื่องเหล่านี้ มิได้หมายความว่า
เซนเป็นปฏิปักษ์กับการตอบคำถามแต่เป็นด้วยเซนมุ่งจะป้องกันมิให้ผู้ศึกษา

สูญเวลาไปในการ นึกคิด โดยความเป็นจริงแล้วความคิดเกี่ยวกับเรื่อง
" ธรรมชาติแท้ " ของตถตะและพุทธะนั้น ผูกพันไกล้ชิดอยู่กับความคิด
และการฝึกฝนเซนเป็นอันมาก ความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติแท้อาจกลายเป็น
อุปสรรคของผู้ฝึกเซน
แต่ธรรมชาติแท้อีกนั่นแหละที่เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของเซน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 07:41:01 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 10:57:22 am »



จิตแท้ จิตไม่แท้



ท่านอาจารย์ฮวงโปได้พูดถึงความจริงแห่ง
ธรรมชาติของจิตที่แท้จริง


" องค์พระสัมมาสัมพุทธะและสรรพสัตว์ทั้งปวง ต่างก็มีส่วนอยู่
ในดวงจิตอันบริสุทธิ์และมหัศจรรย์
ไม่มีการแบ่งแยกว่านี้จิตของพระพุทธองค์ นี้จิตของสัตว์โลก
นับตั้งกัลป์ตั้งอสงไขยมาแล้วที่จิตชนิดนี้มิได้ถูกสร้างขึ้นหรือถูกทำลายลง
ไม่ใช่เขียวหรือเหลืองไม่รูปหรืออรูป ไม่ใช่สิ่งที่มีหรือไม่มี




ไม่เก่าไม่ใหม่ ไม่สั้นไม่ยาว นับเป็นเครื่องแสดงออกถึงระดับสติปัญญา
ความรู้สึก ถ้อยคำ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ทั้งการเปรียบเทียบและแบ่งแยก
เป็นอยู่ดังที่เป็นอยู่ ถ้าใครพยายามที่จะรับรู้เขาก็จะพลาดไป

เป็นสิ่งไร้ขอบเขตดุจดังห้วงอากาศ ไร้สิ่งผูกพันและมิอาจหยั่งวัดได้
ดวงจิตนี้เป็นเอกภาพ
ของสิ่งทั้งมวล เป็นดวงจิตขององค์พระพุทธเจ้าเองทีเดียว "




ข้ออรรถธรรมของท่านฮวงโปแจ่มชัดทีเดียว เราจะต้อง
ปล่อยให้จิตเปิดเผยออกมาเอง เพราะถ้าหากไปมัวแต่นั่งคิดค้นคำตอบอยู่ละก็
เราจะไม่มีวันได้พบเลย
นี่หมายความว่าการที่จะค้นพบจิตชนิดนั้นได้ จะต้องหาวิธีการอื่น
มาใช้แทนการคิดนึก ทางเดียวที่จะประจักษ์แจ้ง
ต่อจิตที่แท้ หรือจิตแห่งเอกภาพนี้ได้
ก็ด้วยการกลับไปสู่ตนเองและมองลงไปที่ธรรมชาติที่แท้ของตน




จิตที่แท้นั้นเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของความเป็นอยู่ทั้งหมด ( อัตถิภาวะ )
ส่วนจิตไม่แท้เป็นเพียงวิธีการรับรู้และการแบ่งแยกหากจิตที่แท้ปรากฏขึ้น
สัจธรรมแห่งความเป็นอยู่ทั้งหมดก็จะประจักษ์ชัดขึ้นครบบริบูรณ์

นี่คือชีวิตแห่งการตรัสรู้ของเซน โลกที่สร้างขึ้นมาจากความนึกคิดนั้น
แตกต่างออกไปจากโลกแห่งความเป็นจริง โลกมายาที่มีเกิดมีตาย มีดี มีเลว
มีอยู่ตรงกันข้ามกับ ไม่มีอยู่ โลกเช่นนี้เป็นโลกของผู้ที่ยังหลับใหล
แต่เหตุการณ์ในโลกมายานี้หาได้สั่นคลอนโมกษบุรุษได้ ด้วยบุรุษเช่นนี้
ได้เข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริงแล้ว
ได้ละเสียแล้วซึ่งการแบ่งแยกระหว่างความมีอยู่และความสูญสลาย




ใน มหายานะศรัทโชตปทา มีข้อความเกี่ยวกับสัตยภพ ซึ่งปราศจาก
การแบ่งแยกว่า " ตั้งแต่บรมกัลป์นานมาแล้ว ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น
ย่อมเป็นอิสระอยู่เหนือความคิดและคำพูด
ความคิดก็ดี คำพูดก็ดี
ย่อมไม่อาจเปลี่ยนหรือแยกปรากฏการณ์นั้นออกจากธรรมชาติที่แท้ของมันได้
"




ข้อเขียนทางฝ่ายมหายานชิ้นนี้ใช้คำว่า " วูเนียน " ซึ่งแปลได้ความว่า
" คิดกันไม่ได้ " ปัญญาญาณที่มิต้องใช้ความนึกคิด คือปัญญาญาณ
ที่มิได้มีพื้นฐาน
อยู่บนการนึกคิด คาดเดาของจิตไม่แท้ จิตที่มัวหมอง

ซึ่งอาจจะเรียกปัญญาที่แท้ได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นปัญญาชนิด นิรวิกัลปญาณ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2013, 03:00:08 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 10:59:24 am »




สัจจะในตัวเอง

ธรรมชาติแท้หรือจิตที่แท้นั้น มิใช่สิ่งที่เรียกกันว่าเป็นภาวะในอุดมคติ
แต่นั่นคือตัวความจริงเองทีเดียว คำว่า " จิต "
บางครั้งก็เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " ธรรมชาติ " จิตแท้หรือธรรมชาติแท้
ก็คือความจริงอันเดียวกัน ที่เรียกชื่อแตกต่างกันออกไป
ในแง่ของวิชาความรู้แล้ว เราใช้คำว่าปัญญาญาณและคำว่า " จิต "

เมื่อต้องการพูดถึงสัจภาวะที่มีอยู่เป็นอยู่ในตัวเอง ข้อแตกต่างระหว่าง
ผู้รับรู้ ( กรรตุ ) กับสิ่งที่ถูกรับรู้ ( กรรม ) มิได้คงอยู่อีกต่อไป
นี่เป็นเหตุผลที่ว่า เหตุใดจึงใช้คำว่า " ธรรมชาติแท้ " และ " จิตแท้ "
แทนสัจภาวะ บางครั้งก็นำไปใช้แทนปัญญาญาณอันไร้การแบ่งแยก

ซึ่งสะท้อนภาพพจน์แห่งความเป็นจริงออกมาในตัวเอง
ความเข้าใจ ความรู้ เกี่ยวกับ
ตัวความจริงนี้แหละ
ที่เซนเรียกว่า การมองลงสู่ธรรมชาติของตน



แนวความคิดทางฝ่ายมหายานนิกายอื่น ๆ ความคิดเกี่ยวกับเรื่องตถาคต
และธยาน ( ฌาน ) ได้มาจากลังกาวตารสูตร
ความคิดเกี่ยวกับเรื่องจิตที่แท้ได้มาจากสุรังคมสูตร
ความคิดเกี่ยวกับคุณของธยาน ( ฌาน ) ได้มาจาก
มหาไวปุลยปูรณพุทธสูตร
ความคิดเกี่ยวกับความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันของ จักรวาลได้มาจาก
อวตังสกสูตร

ความคิดเกี่ยวกับสุญญตา ได้มาจากปรัชญาปารมิตาสูตร จิตแห่งเซนนั้น
เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์
ทฤษฎีทางพระพุทธศาสนา ที่เซนได้สังเคราะห์ขึ้น เป็นความคิด
ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ เหมือนกับพืชที่ดูดซึม
เอาอากาศและแสงแดดเข้าไปเพื่อคุณประโยชน์ของต้นพืช ฉะนั้น



จิตที่แท้นั้นมิได้เกิดขึ้นในขณะที่ตรัสรู้ ด้วยว่าไม่อาจสร้างขึ้น
หรือถูกทำลายลงได้ การตรัสรู้เป็นเพียงการเปิดเผยตัวออกมา
ให้ปรากฏ ทั้งนิพพานสภาวะหรือพุทธสภาวะ
ก็เช่นเดียวกับจิตที่แท้นี้ ใน มหาปรินิพพานสูตร ปรากฏถ้อยคำว่า

" ทั้งโดยสภาพและโดยเหตุ นิพพานย่อมเป็นสภาวธรรมแห่งการตรัสรู้
หรือความเป็นพุทธะ พุทธะมิได้ให้ กำเนิด แก่นิพพานนี่แหละจึงเรียกว่า นิพพาน
ที่เป็นไปโดยมิต้องมีเหตุมีเหตุมีปัจจัยเป็นเครื่องช่วย
ธรรมชาติแห่งการตรัสรู้แห่งสรรพสัตว์นั้นเป็นเช่นเดียวกัน ไม่ว่าสัตว์โลก
จะเกิดในภพใด จะมีรูปลักษณ์เช่นไร
สัตว์เหล่านั้นย่อมมี ธรรมชาติ แห่งการ ตรัสรู้ เช่นเดียวกันหมด "




ถ้าพิจารณาตามนี้จะเห็นได้ว่า ผู้ฝึกฝนไม่ควรจะรอการตรัสรู้ด้วยการถ่ายทอด
ปัญญาญาณที่มาจากข้างนอก ด้วยปัญญาญาณไม่อาจจะเข้าถึงได้
และจิตไม่อาจถ่ายทอดได้ ในมหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรได้ยืนยันไว้ว่า
" ไม่มีการเข้าถึงด้วยไม่มีอะไรจะให้เข้าถึง "
ท่านยูเย็นโห อาจารย์เซนชาวเวียดนามในสมัยศตวรรษที่ ๑๒
ได้กล่าวกับศิษย์ของท่านว่า " จงอย่าคอยให้คนอื่นมาถ่ายทอดการตรัสรู้ให้ "




เช่นเดียวกัน ในสามัญโลกอันเป็นโลกแห่งปรากฏการณ์ต่าง ๆ เรามักจะ
น้อมเชื่อไปในทางที่ว่าโลกนี้เป็นมายา เป็นโลกที่แยกออกจากความเป็นจริง
และเรายังมักเชื่ออีกว่า ด้วยการปลีกตนออกจากโลกนี้
ก็จะทำให้เราถึงโลกแห่งจิตที่แท้จริงได้
ถ้าหากคิดเช่นนี้ก็นับว่าผิด ด้วยโลก
ที่มีการเกิดและการตาย โลกที่มีความว่า " คิดกันไม่ได้ " ปัญญาญาณ
ที่มิต้องใช้ความนึกคิด
คือ สัจจะที่อยู่แยกต่างหากออกไปจากต้นมะนาว
และต้นหม่อน ท้องทะเลนั้นไม่ถือว่าสงบหรือมีคลื่นลม

ถ้าเราต้องการทะเลที่สงบราบคาบ ก็ไม่อาจได้มาโดยการไปบัญชาให้คลื่นลม
สงบลง แต่จะต้องรอให้ทะเลสงบลงเอง โลกแห่งสัจจะคือโลกของบรรดา
ต้นมะนาวและต้นหม่อนเหล่านั้นคือโลกแห่งแม่น้ำและขุนเขา ถ้าได้เห็นแล้ว
สัจจะอันเต็มเปี่ยมเที่ยงแท้ก็รวมอยู่ในนี้แหละ มิได้อยู่แยกออกไปเลย
ถ้าเรามองให้เห็นเสียแล้ว โลกนั้นก็ยังคงเป็น
โลกแห่งภูติผี โลกแห่งความนึกคิด การเกิดการตาย เป็นโลกมายาอยู่เช่นเดิม



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 08:05:43 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 12:04:55 pm »



โคมและแสงสว่าง

นิกายเซาทุงเซน ( โสโตเซน ในภาษาญี่ปุ่น ) ได้นำหลักการทั้งห้า
มาประยุกต์ใช้ในขณะนั่งสมาธิ หลักการเหล่านี้คือ


๑. การนั่งสมาธิโดยไม่ใช้อารมณ์ภาวนา เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
๒. การนั่งสมาธิกับการตรัสรู้ มิใช่สิ่งสองสิ่งที่แยกอยู่ต่างหากจากกัน
๓. บุคคลไม่ควรรอให้ถึงการตรัสรู้
๔. ไม่มีการตรัสรู้ให้ไปถึง
๕. ทั้งกายและจิตจะต้องรวมเป็นหนึ่งเดียว




หลักการเหล่านี้มิได้ขัดแย้งกับการใช้กุงอันเป็นอุบายในนิกายลินจีเซน
( รินซายเซนในภาษาญี่ปุ่น ) เลย ตรงกันข้าม หลักการของเซาทุง
กลับช่วยให้ผู้ฝึกฝนในนิกายลินจี ไม่ไปมัวนั่งแบ่งแยกระหว่างจุดหมาย
และวิธีการ เพราะมีผู้ฝึกฝนเซนเป็นอันมากที่คิดว่าการนั่งสมาธิ
เป็นเครื่องนำไปสู่การตรัสรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งการฝึกฝน อย่างไรก็ตาม
เราไม่อาจหาเส้นแบ่งระหว่างเป้าหมายและวิธีการได้อย่างชัดเจน

เมื่อเราหันจากความหลงลืมกลับไปสู่การมีสติเป็นเครื่องกำหนดรู้
สถานะเช่นนี้แหละคือการตรัสรู้ที่แท้อยู่แล้ว ดังมีกล่าวในนิกายเซาทุงไว้ว่า
" การนั่งสมาธิก็คือการเป็นพระพุทธเจ้า " เมื่อผู้ใดนั่งสมาธิ
ผู้นั้นก็ได้ตรัสรู้แล้ว และการตรัสรู้นั่นแหละคือการเป็นพุทธะโดยแท้

ในขณะที่เต็มไปด้วยความฟุ้งซ่านและความหลงลืม
เราได้สูญเสียตัวเองไป ชีวิตเราก็สูญเปล่าไปด้วย การนั่งสมาธิคือการ
ฟื้นฟูพละกำลังให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง การนึกคิดย่อม
ปล่อยให้จิตฟุ้งไปที่โน่นที่นี่ ดังนั้นการนั่งสมาธิจึงเป็นการวบรวม
ให้จิตกลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่งโดยฉับพลัน เป็นการนำสภาวะแห่งการดำรงอยู่
โดยบริบูรณ์มาให้ เป็นการกลับไปสู่ชีวิตกลับกลายเป็นพุทธะ





ตามหลักนี้แล้วถือว่า การนั่งสมาธิเป็นปีติสุขอันยิ่งใหญ่
แต่ทำไมจะต้องนั่งในท่าขัดสมาธิเพชรและสมาธิบัลลังก์ด้วย
เพราะการนั่งท่านี้ช่วยให้สามารถคุมลมหายใจได้สะดวก สามารถเพ่งดวงจิต
และกลับคืนสู่สภาวะอันมีสติเป็นเครื่องกำหนดรู้ ไม่ว่าจะ เดิน กิน พูด หรือทำงาน
" พระพุทธเจ้าคือผู้ใดเล่า " "พระพุทธเจ้าคือผู้ซึ่งใช้ชีวิตตลอดชีวิต
ตลอด ๒๔ชั่วโมงอยู่ในเซน ในขณะที่ประกอบธุรกิจประจำวันพร้อมกันด้วย "




พระรูปหนึ่งถามอาจารย์เซียงหลินว่า " เหตุใดพระมหาสังฆราชองค์แรก
จึงมาสู่ประเทศจีน " ท่านเซียงหลินตอบว่า
" เพราะการนั่งสมาธินานเกินไปทำให้เสียสุขภาพ " คำถามเช่นเดียวกันนี้
ได้รับคำตอบจากอาจารย์ต่างท่านต่างกันออกไป เช่น อาจารย์เกียวเฟ็ง
ได้ตอบว่า " ขนเต่าหนักเก้าชั่ง "อาจารย์คองซันตอบว่า
" รอจนกว่าแม่น้ำทงจะไหลย้อนกลับ เมื่อนั้นฉันจึงจะบอกกับเธอ




"คำตอบทั้งสองนี้ทำให้เกิดผลเฉพาะอย่างในจิตใจแตกต่างกันไป
แต่คำตอบของท่านเซียงหลินที่ว่า " เพราะการนั่งสมาธินาน
เกินไปทำให้เสียสุขภาพ " เป็นคำตอบธรรมดา ๆ และอาจนำไป
ดัดแปลงใช้กับกรณีต่าง ๆ เกือบทั้งหมด การนั่งเพื่อจุดประสงค์ในการค้นหา
ความหมายของกุงอัน หาใช่การนั่งใน " เซน " ที่แท้จริงไม่เป็นแต่เพียงการ
ใช้เวลาและชีวิตให้หมดไปอย่างไร้ประโยชน์เท่านั้น ถ้าใครนั่งสมาธิ
มิใช่หมายเพียงการค้นหาความหมายของกุงอัน



แต่เพื่อเป็นการจุดแสงให้แก่คบไฟแห่งตัวตนที่แท้
ความหมายของกุงอัน ย่อมปรากฏขึ้นโดยธรรมชาติในท่ามกลางแสง
ซึ่งเจิดจ้าขึ้นทุกขณะ
แต่ถ้าหากมิได้จุดโคมไฟนี้ขึ้น ผู้นั้นก็ได้แต่เพียงนั่งอยู่ในเงาแห่งชีวิต
ของตนเท่านั้น เราจะไม่มีโอกาสได้แลเห็นธรรมชาติของตนเอง
สุขภาพของเราจะเสื่อมโทรมลง หากเรานั่งอยู่นานจนเกินไป


กุงอันนั้นไม่อาจถือเอาเป็นแก่นที่จะค้นหาในขณะนั่งสมาธิ ด้วยการ
นั่งสมาธิมิใช่การค้นหาอะไรอย่างหนึ่ง กุงอันมิใช่ชีวิต การนั่งสมาธินั้นแหละ
คือชีวิต กุงอันเป็นเพียงการทดสอบ เป็นการเฝ้าดูและดำรง
ความไม่ประมาทไว้
อาจถือได้ว่ากุงอันเป็นโคมที่ใช้ส่องแสง
ขณะที่เซนเป็นตัวแสงสว่างเลยทีเดียว




โดย.. คุณ มดเอ๊กซ์
-http://community.buddhayan.com/index...ic,957.15.html
นำมาแบ่งปันโดย : คุณฝาน
Credit by :http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=5189&page=2
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานนี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ

อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2013, 04:40:59 pm โดย ฐิตา »