ผู้เขียน หัวข้อ: ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)  (อ่าน 7481 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 04:08:45 pm »




ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
พระกัมมัฏฐานาจริยะ อูบัณฑิตาภิวังสะ


  คำนำ
"ราชรถสู่พระนิพพาน" (Sayadaw U Pandita) เทศนาธรรม
ของ
พระกัมมัฏฐานาจริยะ อูบัณฑิตาภิวังสะ

แปลจากบทที่ ๖ Chariot to Nibbana ของหนังสือ In this Very Life ซึ่งรวบรวมพระธรรมเทศนาของ Sayadaw U Bandita ระหว่างการอบรมวิปัสสนากรรมฐานให้แก่นักศึกษาชาวตะวันตก ณ วิปัสสนาภาวนาสมาคม (Insight Meditation Society) เมือง Barre มลรัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ. ๒๕๔๗)

ดังที่ทราบกันในหมู่ผู้ใฝ่ใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแบบอย่างของท่านมหาสีสยาดอแห่งประเทศสหภาพพม่า หนังสือ In this Very Life นี้เปรียบเสมือนคู่มือในการเจริญวิปัสสนาภาวนาของผู้ปฏิบัติทั้งเก่าและใหม่ มีเนื้อหาสาระเกื้อกูลและเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติพากเพียรอบรมศีล สมาธิ และปัญญายิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยใช้ภาษาที่เรียบง่าย แต่จริงจัง และเปี่ยมด้วยเมตตา นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ผู้จัดทำได้ทยอยแปลหนังสือ In this Very Life ปีละ ๑-๒ บท โดยมีกัลยาณมิตรจำนวนมากช่วยสนับสนุนปัจจัยในการพิมพ์ทุกครั้ง เริ่มจาก “รู้แจ้งปรมัตถธรรมด้วยการเจริญพละ ๕” “การอบรมศีลและเจริญภาวนาเบื้องต้นและวิปัสสนาฌาน” “โพชฌงค์” และล่าสุดคือ “ราชรถสู่พระนิพพาน” ซึ่งเป็นบทสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ อย่างไรก็ตาม คงมีอีก ๑ บทที่ยังมิได้จัดพิมพ์ คือ “กองทัพทั้งสิบแห่งมาร” ซึ่งหวังว่ากัลยาณมิตรทุกท่านจะสนับสนุนร่วมกันจัดพิมพ์เพื่อแจกเป็นธรรมทานอีกครั้งในอนาคตอันใกล้นี้

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้จัดทำได้รับความเมตตากรุณาจาก หลวงพ่อ อู บัณฑิตา ที่ได้อนุญาตและเป็นกำลังใจให้จัดทำหนังสือชุดนี้ได้อย่างต่อเนื่อง หลวงพ่อพระประจาก สิริวณฺโณ และ ท่านอาจารย์สว่าง ติกฺขวีโร วิปัสสนาจารย์ผู้มีพระคุณเป็นอย่างสูง ที่ได้เมตตาสละกำลังและเวลาตรวจแก้ฉบับแปล เพื่อให้หนังสือทุกเล่มมีเนื้อหาสาระที่ถูกตรง เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงแก่ผู้สนใจใฝ่ธรรม คุณผาณิต เจตน์จิราวัฒน์ กัลยาณมิตรผู้รับเป็นภาระในการดูแลการจัดพิมพ์หนังสือและเป็นบรรณาธิการต้นฉบับให้แก่หนังสือ “โพชฌงค์” และ “ราชรถสู่พระนิพพาน” ด้วยความเสียสละ เมตตา และเอาใจใส่ยิ่ง คุณจิราพร มัลลิกะมาลย์ กัลยาณมิตรผู้เป็นกำลังใจให้เริ่มทำงานนี้ตั้งแต่ต้นและคอยอุปถัมภ์ตลอดจนชักชวนผู้มีจิตกุศลให้ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ คุณความดีและประโยชน์อันใดที่หนังสือเล่มนี้ได้ก่อให้เกิดขึ้น ผู้จัดทำขอน้อมถวาย แด่หลวงพ่อ อู บัณฑิตาภิวังสะ หลวงพ่อพระประจาก สิริวณฺโณ ท่านอาจารย์พระสว่าง ติกฺขวีโร รวมถึงวิปัสสนาจารย์ผู้เป็นประทีปส่องธรรมอันประเสริฐแก่ครอบครัวของผู้จัดทำทุกองค์ทุกท่าน ตลอดจนคุณพ่อพิสิษฐ์ ภัทรวิมลพร บุพการี ญาติมิตร และผู้มีส่วนเกื้อหนุนในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ หากมีความผิดพลาดบกพร่องอันใดที่เกิดจากการแปลและจัดทำหนังสือเล่มนี้ ผู้จัดทำต้องกราบขออภัยเป็นอย่างสูง และขอน้อมรับไว้แต่ผู้เดียว

คณะผู้จัดทำ
ตุลาคม ๒๕๔๗


Sayadaw U Pandita
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2016, 10:48:56 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 04:33:12 pm »

     ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ใกล้นครสาวัตถี ประเทศอินเดีย เทพบุตรองค์หนึ่งเหาะลงมาจากสวรรค์เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์พร้อมบริวารนับพัน
   แม้ว่ารัศมีอันเจิดจ้าแห่งเทพบุตรองค์นี้จะแผ่ไปทั่วพระเชตวัน ท่านกลับดูเศร้าหมอง เมื่อนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็คร่ำครวญว่า
   “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวสถานแห่งปวงเทพช่างอึกทึกวุ่นวายจริงหนอ เทวดาทั้งหลายดูราวกับหมู่เปรตที่กำลังสนุกสนานร่าเริงอยู่ สรวงสวรรค์ช่างสับสนวุ่นวายยิ่งนัก ขอพระองค์ทรงชี้ทางออกให้ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด”
   แปลกนักที่คำกล่าวนี้เป็นคำกล่าวของเทพบุตร สรวงสรรค์เป็นสถานที่อันควรยินดี เหล่าเทวดาทั้งหลายผู้มีความสง่างามและร้องรำประโคมดนตรีอยู่เป็นนิจไม่น่าเปรียบได้กับฝูงเปรตที่อยู่ในความทุกข์ทรมานแสนสาหัส กล่าวกันว่าเปรตบางจำพวกมีท้องใหญ่โตมโหฬารและมีปากเล็กเท่ารูเข็มต้องทุกข์ทรมานอยู่ในความโหยหิวตลอดกาล

   พระผู้มีพระภาคทรงตรวจสอบอดีตชาติของเทพบุตรองค์นี้ด้วยพระญาณ ทรงทราบว่า ไม่นานมานี้เทพบุตรองค์นี้เกิดเป็นมนุษย์และใส่ใจในการปฏิบัติธรรม ครั้งยังหนุ่มมีศรัทธาในพระธรรมวินัย ถึงกับละทิ้งบ้านเรือนมาบวชเป็นพระภิกษุ หลังจากได้รับการฝึกอบรมภายใต้การดูแลของครูบาอาจารย์ครบห้าปีตามพุทธบัญญัติแล้ว ก็มีความชำนาญในข้อวัตรปฏิบัติ และสามารถเจริญภาวนาได้โดยไม่ต้องพึ่งพาครูอาจารย์ ท่านจึงปลีกวิเวกไปอยู่ในป่า ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะบรรลุอรหัตตผล ท่านจึงพากเพียรในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยเว้นจากการนอนและแทบจะไม่ฉันอะไรเลย เพราะต้องการทุ่มเทเวลาเพื่อการปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ แต่แล้วท่านก็ทำลายสุขภาพของตนเองจนทำให้เกิดโรคลมจุกเสียดแทงในท้อง แม้กระนั้นภิกษุหนุ่มก็ตั้งใจปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นต่อไปอย่างไม่ลดละ ความเจ็บปวดในกายท่านทวีมากขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งท่านก็มรณภาพขณะกำลังเดินจงกรม

   ภิกษุรูปนี้ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทันใดนั้นราวกับตื่นจากฝัน ท่านได้มายืนอยู่หน้าประตูวิมานอันเรืองรองในเครื่องทรงทองอันประณีต ภายในวิมานนี้มีทวยเทพนับพันทรงเครื่องงดงามรอคอยท่านผู้ซึ่งจะมาเป็นหัวหน้าของเหล่าเทพนั้นอยู่ เหล่าเทพต่างยินดีที่เห็นท่านและโห่ร้องต้อนรับด้วยความเบิกบาน ทั้งยังนำสังคีตมาดีดสี เพื่อขับกล่อมท่านด้วย
   ท่ามกลางความอึกทึกนี้ เทพบุตรผู้น่าสงสารไม่ทันได้มีโอกาสที่จะพิจารณาว่า ท่านได้มรณภาพและปฏิสนธิในภพใหม่แล้ว ท่านคิดว่าเทวดาเหล่านี้คือคฤหัสถ์ที่มานมัสการท่าน เทพบุตรองค์ใหม่หลุบสายตาลงต่ำและจับชายเครื่องทรงอันเป็นทองของท่านมาเฉวียงบ่าโดยอาการสำรวม เหล่าเทพเห็นอาการนั้นจึงกล่าวกะท่านว่า “ท่านอยู่ในสวรรค์แล้ว ขณะนี้ไม่ใช่เวลาทำสมาธิ แต่เป็นเวลาแห่งความสนุกสนานบันเทิง มาเถิดท่าน มาเริงระบำกันเถิด”

   เทพบุตรผู้เคยเป็นพระภิกษุมาก่อนแทบจะไม่ได้ยินคำพูดของเหล่าเทวดานั้น เพราะท่านยังเจริญอินทรียสังวรอยู่ ในที่สุดเทวดาองค์หนึ่งก็เข้าไปหยิบกระจกบานใหญ่จากในวิมานมาให้เทพบุตรองค์ใหม่ดู เมื่อเห็นแล้ว ท่านจึงทราบว่าท่านมิได้เป็นพระภิกษุเสียแล้ว ไม่มีสถานที่ใดในสรวงสวรรค์นี้ที่จะสงบเงียบพอที่จะเจริญภาวนา ท่านตกอยู่ในกับดักเสียแล้ว
   เทพบุตรจึงดำริด้วยความท้อแท้ว่า “เมื่อเราละทิ้งบ้านเรือนมาบวชเป็นภิกษุ เราปรารถนาความสุขอันยิ่งคืออรหัตผลเท่านั้น บัดนี้เราเหมือนนักมวยที่ลงสนามเพื่อชิงเหรียญทองแต่กลับได้หัวผักกาดแทน”
   เทพบุตรผู้เคยเป็นพระภิกษุในอดีต กลัวแม้แต่จะก้าวเข้าไปในเขตของวิมาน ท่านทราบดีว่า จิตใจของท่านยังไม่เข้มแข็งพอที่จะอดทนต่อความหฤหรรษ์อันประณีตกว่าในโลกมนุษย์นี้ได้ ทันใดนั้นท่านก็ระลึกได้ว่า เทวดาย่อมสามารถมายังโลกมนุษย์ที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคกำลังทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์อยู่ได้ ความคิดนี้ทำให้เทพบุตรรู้สึกเบิกบานขึ้นมาได้

   ท่านคิดว่า “เราจะหาความสำราญในสวรรค์เมื่อไรก็ได้ แต่โอกาสที่จะพบพระพุทธเจ้านั้น มีน้อยยิ่งนัก” ท่านจึงเหาะลงมาจากสวรรค์โดยไม่รีรอ พร้อมกับหมู่เทพนับพันที่เป็นบริวาร
   เมื่อพบพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระเชตวัน เทพบุตรจึงเข้าไปเฝ้าและทูลขอความช่วยเหลือ พระพุทธองค์ทรงเห็นความทุ่มเทในการประพฤติปฏิบัติของเทพบุตร จึงตรัสว่า
   “ดูกรเทพ หนทางที่ท่านดำเนินอยู่นี้ถูกตรงแล้ว และย่อมนำท่านไปสู่ภูมิที่ปลอดจากภัย เป็นอิสระจากความหวาดกลัวใด ๆ อันเป็นจุดมุ่งหมายของท่าน ท่านจงขับยานอันสงัดเงียบ ล้อทั้งสองจะเป็นความพากเพียรทางกายและใจ หิริจะเป็นพนักพิง สติเป็นเกราะป้องกำบัง และสัมมาทิฏฐิจะเป็นสารถี บุคคลไม่ว่าหญิงหรือชายผู้ครอบครองยานนี้และขับยานนี้ไปด้วยดี ย่อมดำเนินถึงพระนิพพานเป็นแน่แท้”

   สนุกบันเทิงเป็นนิจนั้นผิดตรงไหน
   เรื่องของเทพบุตรผู้เคยเป็นภิกษุนี้มีกล่าวในคัมภีร์สังยุตตนิกาย ซึ่งแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาไว้หลายประการ เราจะศึกษาเรื่องนี้ไปโดยลำดับ แต่บางทีคำถามแรก ท่านอาจต้องการถามว่า “เหตุใดจึงมีผู้ไม่พอใจที่ได้เกิดใหม่ในสวรรค์” เพราะสรวงสวรรค์เปี่ยมด้วยความสุขสำราญ เหล่าเทพยังมีรูปกายที่งดงามและมีอายุยืนยาว ทั้งยังแวดล้อมด้วยกามสุขนานาประการ

   ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องตายเสียก่อนแล้วไปเกิดใหม่ เพื่อเข้าใจความรู้สึกของเทพบุตรองค์นี้ โลกนี้มีสถานที่เป็นดังสวรรค์อยู่แล้ว แต่จะหาความสุขอันเที่ยงแท้และยั่งยืนในสถานที่เหล่านั้นได้หรือ ยกตัวอย่างเช่น ประทศสหรัฐอเมริกามีความเจริญเป็นเลิศทางวัตถุ ความสุขทางกายหาได้ง่าย เราจะเห็นผู้คนมัวเราจมปลักอยู่ในความบันเทิงและความหรูหรา ท่านลองถามตัวเองดูเถิดว่า คนเหล่านั้นเขาคิดที่จะพิจารณาหรือพยายามหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตให้ลึกซึ้งบ้างหรือไม่ เขามีความสุขจริงหรือ


แผนที่เส้นทาง ธรรมยาตรา ยุคพุทธกาล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2015, 01:00:09 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 05:06:34 pm »
                   

ครั้งยังเป็นมนุษย์ เทพบุตรองค์นี้มีศรัทธาแก่กล้าในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ความสุขที่ประเสริฐสุดคือความหลุดพ้น ซึ่งเกิดจากการประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อแสวงหาความสุขอันประเสริฐท่านจึงสละชีวิตทางโลกออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านพากเพียรอย่างมุ่งมั่นเพื่อการบรรลุเป็นพระอรหันต์ ที่จริงท่านพากเพียรอย่างอาจหาญเกินไปจนมรณภาพก่อนเวลาอันควร และแล้วท่านกลับพบว่า ท่านต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ โดยถูกแวดล้อมด้วยโลกียสุขนานาประการที่ท่านพยายามละหนีมา เราคงพอจะเข้าใจความผิดหวังของท่านได้กระมัง
แท้จริงแล้ว ความตายเป็นเพียงการเปลี่ยนสภาวะของการระลึกรู้จากภาวะหนึ่งไปสู่อีกภาวะหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่อะไรที่แปลกใหม่ สภาวะของการตายและการเกิดใหม่เกิดต่อเนื่องกันโดยไม่มีระหว่างคั่น แต่การเกิดของเทวดานั้นต่างจากมนุษย์ เนื่องจากเป็นการปฏิสนธิทันที และปราศจากความเจ็บปวด

ดังนั้น เทพบุตรผู้เคยเป็นพระมาก่อนองค์นั้นจึงมิได้เสียจังหวะในการปฏิบัติธรรมไปในระหว่างการเกิดใหม่แต่อย่างใด แล้วก็ไม่น่าแปลกอีกเช่นกันที่เทพบุตรจะบ่นว่าเสียงอันอึกทึกใน เทวโลก หากท่านเคยปฏิบัติกรรมฐานในระดับที่ลึกซึ้งมาแล้ว ก็จะรู้ว่าเสียงอาจเป็นเครื่องรบกวนและทรมานใจได้เพียงไร ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่ดังสนั่นเพียงครั้งเดียวหรือดังถี่ ๆ แบบต่อเนื่อง สมมติว่า ในขณะนั่งกรรมฐาน ผู้ปฏิบัติเพิ่งจะเข้าสู่สภาวะที่สงบนิ่ง แล้วทันใดนั้นเสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น สมาธิที่สะสมมาตลอดชั่วโมงก็อาจแตกกระจายไปในพริบตา หากประสบการณ์นี้เคยเกิดกับใครก็อาจเข้าใจความรู้สึกของเทพบุตรผู้เคยเป็นพระภิกษุมาก่อนองค์นี้ที่เปรียบเทวดาเหมือนกับหมู่เปรต เมื่อโทรศัพท์ดังขึ้น อาตมาสงสัยว่าผู้ปฏิบัติจะนึกบ่นว่าอย่างไร แม้ว่าจะเป็นเพื่อนของท่านเองที่โทรมาก็ตาม
ในพระบาลีเดิม พระสูตรบทนี้มีการเล่นคำ กล่าวคือ เทพบุตรองค์นี้พบว่าตนเองอยู่ในอุทยานแห่งสรวงสวรรค์อันรื่นรมย์ ชื่อ “นันทวัน” ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่า เป็นสถานที่อันงดงาม แต่เมื่อท่านกราบทูลพระพุทธองค์ ท่านเรียกชื่อสถานที่แห่งนั้นเสียใหม่ว่า “โมหะนะ” ซึ่งมาจากคำว่า โมหะ ความหลง สถานที่ที่ก่อให้เกิดความสับสน และความวุ่นวายภายในจิตใจ

หนทางแห่งการสละโลก
ในความเข้าใจของผู้ปฏิบัติ แน่นอนว่าเราอาจถึงพอใจกับความหวั่นไหวในปีติสุขที่ดื่มด่ำ บางทีเป้าหมายของผู้ปฏิบัติอาจไม่ใช่อรหัตตผลเช่นเทพบุตรองค์นี้ หรืออาจจะใช่ ไม่ว่าผู้ปฏิบัติจะหวังผลประการใดจากการปฏิบัติ เชื่อแน่ว่า ผู้ปฏิบัติย่อมเห็นคุณค่าของสมาธิและความสงบที่เกิดจากการเจริญกรรมฐาน เพื่อเข้าถึงสภาวะดังกล่าว การปล่อยวางในระดับหนึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ทุกครั้งที่ผู้ปฏิบัตินั่งลงเพื่อเจริญกรรมฐาน แม้เพียงชั่วโมงเดียว ย่อมเท่ากับได้สละโอกาสที่จะแสวงหาความสุข และความสับสนวุ่นวายไปเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง และกลับได้พบความบรรเทาจากความวุ่นวายเหล่านี้ รวมถึงความทุกข์ใจจากการไขว่คว้าหาความรู้สึกอันน่ายินดีทั้งหลาย หากผู้ปฏิบัติเข้ากรรมฐานนาน ๆ แม้ต้องละบ้านเรือน คนรัก และงานอดิเรกไป แต่หลายคนก็พบว่าการเสียสละนี้เป็นสิ่งคุ้มค่า


แม้ว่าท่านจะพร่ำบ่นเกี่ยวกับเทวภูมิ แต่เทพบุตรก็มิได้ตั้งใจจะดูหมิ่นวิถีชีวิตของเหล่าเทพ ท่านเพียงแต่รู้สึกผิดหวังในตัวเองที่ไม่อาจบรรลุเป้าหมายของท่านมากกว่า ทำนองว่า เราทำงานชิ้นหนึ่ง โดยหวังว่าจะได้เงิน ๔๐,๐๐๐ บาท เราทำงานหนักอย่างขยันขันแข็ง และละเอียดถี่ถ้วน แต่เมื่อสิ้นวัน งานชิ้นนั้นยังไม่เสร็จ เราได้ค่าจ้างมาเพียง ๒,๐๐๐ บาท แต่เป็นความรู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ ในทำนองเดียวกัน เทพบุตรโกรธตนเองและเปรียบตนเองกับนักมวยที่ชกได้หัวผักกาดแทน แทนที่จะได้เหรียญทอง เหล่าเทพบริวารทั้งหลายเข้าใจท่านดี และไม่ได้รู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม แท้จริงแล้ว เหล่าเทวดาก็สนใจในพระธรรมเช่นกัน จึงติดตามท่านมายังโลกมนุษย์ ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้รับประโยชน์จากคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
หากผู้ปฏิบัติมีความมั่นคงในธรรมปฏิบัติแล้ว ความสนใจในการเจริญกรรมฐานจะติดตามไปทุกหนทุกแห่ง แม้ในเทวโลก หาไม่แล้วในไม่ช้า ชีวิตท่านย่อมจะถูกร้อยรัดด้วยโลกียสุขของภูมิที่ท่านไปบังเกิด และความพยายามในการปฏิบัติธรรมของท่านจะเหือดหายไป

สร้างความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม
เราลองมาดูว่า เทพบุตรองค์นี้มีความมั่นคงในธรรมปฏิบัติได้อย่างไร ก่อนเข้าไปอยู่ในป่าตามลำพัง ท่านอยู่ในความดูแลของอุปัชฌาย์อาจารย์เป็นเวลา ๕ ปี ร่วมกับพระภิกษุอื่น ท่านบำรุงอาจารย์ด้วยวิธีต่าง ๆ มากบ้างน้อยบ้าง รับคำสอนในการบำเพ็ญภาวนาจากอาจารย์ และประพฤติปฏิบัติตนตามพระวินัยโดยบริบูรณ์ ในแต่ละปีท่านจะเข้าจำพรรษาเป็นเวลาสามเดือน หลังจากนั้นจะเข้าร่วมพิธีมหาปวารณา ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่พระภิกษุจะกล่าวถึงความผิด และตักเตือนซึ่งกันและกันด้วยความเมตตากรุณา เพื่อให้เพื่อนภิกษุได้แก้ไขข้อบกพร่องของตน
ความเป็นมาของเทพบุตรผู้เคยเป็นพระภิกษุองค์นี้เป็นตัวอย่างสำคัญสำหรับโยคีทุกคน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติพึงทำความเข้าใจวิธีการรักษาศีลอย่างแจ่มแจ้ง จนกระทั่งสามารถรักษากายกรรมและวจีกรรมให้บริสุทธิ์หมดจดได้เป็นปกติในชีวิต นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติพึงมีความรับผิดชอบต่อกันและกัน
เพราะเราอาศัยอยู่ในโลกนี้ร่วมกัน เราพึงเรียนรู้การปฏิสันถารด้วยวิธีที่เกื้อกูลและเมตตาต่อกัน สำหรับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เรายังต้องพึ่งพาวิปัสสนาจารย์ที่เชื่อถือได้ และมีความสามารถ จนกว่าเราจะชำนาญและผ่านวิปัสสนาญาณทุกขั้นแล้ว

การแยกแยะแก่นออกจากเปลือก
พระภิกษุรูปนี้มีคุณธรรมอันเลิศ ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุสัจจธรรม สำหรับท่าน ไม่มีสิ่งใดสำคัญเท่าการปฏิบัติธรรม ท่านพยายามแยกแยะสาระแก่นสารออกจากเปลือกด้วยความระมัดระวังอย่างสูง และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยใช้เวลาในการเจริญสติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

เป็นการดีหากผู้ปฏิบัติจะจำกัดของเขตความรับผิดชอบของตน เพื่อจะได้มีเวลาในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น หากทำไม่ได้ ขอให้นึกถึงเรื่องของแม่โค เป็นที่ทราบกันว่า โคนั้นจะเคี้ยวเอื้องตลอดเวลา และง่วนอยู่กับการกินหญ้าทั้งวัน เมื่อแม่โคมีลูกอ่อนวิ่งวุ่นซุกซน หากแม่โคยังเอาแต่เล็มหญ้ากินโดยไม่คิดถึงลูก ลูกวัวก็คงจะวิ่งเตลิดไปจนเป็นปัญหา แต่หากว่าแม่โคเพิกเฉยต่อความต้องการของตนเอง และเฝ้าดูลูกอย่างเดียว แม่โคก็ต้องเล็มหญ้ากินทั้งคืน โยคีผู้ปฏิบัติมีภาระหน้าที่อื่นต้องปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ก็ควรเลียนแบบแม่โค ทำงานของตนไป แต่ก็ไม่ละทิ้งการปฏิบัติธรรม พยายามไม่ให้จิตฟุ้งซ่านไปไกลเกินไปนัก



มีต่อค่ะ... :http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=757.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2015, 12:56:45 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 05:23:19 pm »



   เราทราบกันแล้วว่า พระภิกษุรูปนี้ขยันขันแข็ง และมีความเพียรอย่างแรงกล้า ช่วงเวลาที่ท่านตื่น ท่านพยายามเจริญสติอย่างดีที่สุดอันเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติพึงกระทำ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์นอนหลับได้ ๔ ชั่วโมง ในช่วงมัชฌิมยาม แต่พระภิกษุรูปนี้เห็นความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติ ท่านจึงละทิ้งที่นอน และไม่ยอมแม้กระทั่งคิดถึงการนอน ยิ่งไปกว่านั้น ท่านแทบจะไม่ฉันอะไรเลย ท่านพอใจอยู่กับการทำความเพียรอย่างต่อเนื่องเท่านั้น

   อาตมามิได้แนะนำให้ผู้ปฏิบัติอดอาหารและอดนอน อาตมาเพียงประสงค์ให้ผู้ปฏิบัติชื่นชมความมุ่งมั่นของเทพบุตรผู้เคยเป็นพระภิกษุองค์นี้ ในระหว่างการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติควรนอนให้เพียงพอตามพุทธดำรัส คือ ๔ ชั่วโมงหากทำได้ ในชีวิตปกติอาจจำเป็นต้องนอนมากกว่านี้ แต่ก็ไม่ควรนอนมากเกินไปเสียจนทำให้เซื่องซึม สำหรับการรับประทานอาหาร ผู้ปฏิบัติควรรับประทานตามความพอใจเพื่อให้มีกำลังเพียงพอสำหรับปฏิบัติภารกิจประจำวันและการปฏิบัติธรรม แต่ก็ไม่มากเกินไปจนรู้สึกท้องอืด และง่วงนอน เรื่องของพระภิกษุท่านนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการรับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย อย่างน้อยให้ได้รับธาตุอาหารเพียงพอ

   บุคคลที่เสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือในระหว่างการเทศนาธรรม สามารถเทียบได้กับวีรบุรุษหรือวีรสตรีที่เสียชีวิตในสงคราม พระภิกษุองค์นี้กำลังเดินจงกรมอยู่ ขณะที่ถูกคมดาบของธาตุลมประหาร เมื่อตื่นขึ้นท่านอยู่บนสวรรค์ ผู้ปฏิบัติทุกคนก็จะเป็นเช่นเดียวกัน หากเสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติธรรม แม้จะยังมิได้บรรลุธรรมก็ตาม
   แม้ในภพภูมิที่ดี ก็ยังอาจมีบุคคลที่ปรารถนาหนทางที่จะหลีกเร้นไปสู่อิสรภาพและความปลอดภัยที่สมบูรณ์ เมื่อท่านได้ไปปฏิสนธิในเทวภูมิ เทพบุตรผู้เคยเป็นพระภิกษุเกรงว่าตัณหาของท่านจะกลับกำเริบขึ้น หากท่านย่างกรายเข้าไปในวิมานแม้เพียงก้าวเดียว ท่านรู้ว่าศีลวัตรของท่านอาจเสื่อมคลายลง การบรรลุธรรมยังคงเป็นเป้าหมายสูงสุด และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นี้ ท่านจำต้องรักษาความบริสุทธิ์ไว้ให้ครบถ้วน ท่านจึงหลีกหลบลงมายังวัดพระเชตวัน และกราบทูลถามคำถามต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

   พุทธโอวาทชั้นสูง
   คำตอบของพระพุทธองค์นั้น รวบรัดผิดธรรมดา ปรกติแล้วพระองค์จะทรงสั่งสอนเป็นลำดับชั้น เริ่มด้วยการอบรมศีล แล้วจึงทรงแสดงเรื่องความเห็นถูกในเรื่องของกรรมและสมาธิ ก่อนที่จะทรงแสดงเรื่องการเจริญวิปัสสนา ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกตัวอย่างอาจารย์สอนศิลปะเพื่ออธิบายลำดับขั้นการสอนนี้ เมื่อมีผู้ที่อยากวาดภาพมาขอศึกษาเล่าเรียนด้วย อาจารย์ก็มิได้ยื่นพู่กันให้ทันที บทเรียนบทแรกคือสอนการขึงผ้าใบ เช่นเดียวกับการที่ศิลปินไม่อาจวาดภาพบนอากาศได้ฉันใด ย่อมเป็นการเปล่าประโยชน์ที่จะเริ่มการเจริญวิปัสสนาโดยไม่มีพื้นฐานของศีลและความเข้าใจในเรื่องกฎแห่งกรรม หากปราศจากสองสิ่งนี้แล้ว ก็ไม่มีพื้นฐาน (เหมือนผ้าใบ) ที่จะรองรับสมาธิและปัญญา ในสถานปฏิบัติธรรมบางแห่ง การอบรมศีลและกฎแห่งกรรมถูกละเลย หากเป็นเช่นนี้ก็ไม่อาจหวังผลจากการเจริญภาวนาได้มากนัก

  นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงปรับคำสอนให้เหมาะสมกับภูมิหลังหรือจริตนิสัยของผู้ฟังด้วย พระองค์ทรงเห็นว่าเทพบุตรองค์นี้เคยเป็นพระภิกษุ และเคยปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างแก่กล้ามาแล้ว ทั้งยังมิได้ทำศีลของท่านให้ขาดลงขณะที่มาบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
   ในภาษาบาลีมีคำว่า การะกะ หมายถึงบุคคลที่ซื่อตรงต่อหน้าที่และขยันขันแข็ง เทพบุตรผู้เคยเป็นพระภิกษุองค์นี้เป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านั้น ท่านมิได้เป็นโยคีแต่เพียงในนามเท่านั้น อีกทั้งมิใช่นักปรัชญาหรือคนช่างฝันที่ลุ่มหลงอยู่แต่ในความคิดและจินตนาการ อีกทั้งมิใช่คนเอื่อยเฉื่อยที่เพ่งมองทุกสิ่งทุกอย่างไร้ความหมาย ในทางตรมข้าม ท่านเป็นผู้มีความอาจหาญและจริงใจในการปฏิบัติธรรม เทพบุตรผู้เคยเป็นพระภิกษุรูปนี้เดินตามธรรมวิถีด้วยความมุ่งมั่น ความศรัทธา และความเชื่อมั่นอย่างลึกซึ้งในการปฏิบัติ เกื้อหนุนให้ท่านสามารถบำเพ็ญเพียรอย่างต่อเนื่อง ท่านพยายามน้อมนำคำสอนที่ได้รับฟังมาปฏิบัติทุก ๆ ขณะ เราอาจเรียกว่าท่านว่า นักปฏิบัติธรรมผู้ช่ำชองก็ได้

   ทางสายตรงสู่การหลุดพ้น
   พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุผู้มุ่งมั่นนี้ด้วยคำสอนชั้นสูงสำหรับผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติธรรม “มรรคาที่ท่านดำเนินอยู่นี้ถูกต้องแล้ว และย่อมนำท่านไปสู่สถานที่ปลอดจากภัยเป็นอิสระจากความกลัวใด ๆ อันเป็นจุดมุ่งหมายของท่านมรรคาที่กล่าวถึงนี้ หมายถึงอริยมรรคมีองค์แปดนั่นเอง เทพบุตรองค์นี้ได้ดำเนินมาตามหนทางนี้อยู่แล้ว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองให้ท่านเดินต่อไป พระองค์ทรงตระหนักดีว่า เทพบุตรองค์นี้ประสงค์จะบรรลุอรหัตถผลในชาตินี้ จึงทรงชี้ทางสายตรงให้ นั่นคือทางสายวิปัสสนา
   อริยมรรคมีองค์แปด
เป็นทางตรงโดยแท้ ไม่มีทางแยก ไม่คดโค้งหรือคดเคี้ยว แต่มุ่งตรงไปสู่พระนิพพาน


   อกุศลกรรมบถ ๑๐
   เราอาจทำความเข้าใจลักษณะของกุศลได้ดีขึ้น โดยการศึกษาจากสิ่งที่ตรงข้ามกัน คืออกุศล ท่านกล่าวว่า อกุศลกรรมหรือความประพฤติทุจริต มีอยู่ ๑๐ ประการ บุคคลที่ประกอบด้วยลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งทางกาย วาจา และใจ บัณฑิตมองว่าเป็นผู้ไม่ซื่อสัตย์ คดโกง ขาดคุณธรรม
   กายทุจริตมีอยู่สามประการ ประการที่หนึ่ง เกิดจากความรู้สึกเกลียดชังและก้าวร้าว หากบุคคลขาดเมตตาและกรุณา ความรักและความเห็นอกเห็นใจแล้ว เขาก็อาจยอมแพ้แก่ความรู้สึกเช่นนี้ และแสดงออกมาทางกายกรรม บางคนอาจฆ่า ทำร้าย หรือกดขี่ผู้อื่น ประการที่สอง กายทุจริตอาจเกิดจากความโลภ ซึ่งหากไม่ควบคุมแล้ว ก็อาจนำไปสู่การลักขโมย หรือการหลอกลวงเอาทรัพย์สินของผู้อื่น ประการที่สาม การประพฤติผิดในกามก็เป็นกายทุจริต บุคคลที่ถูกครอบงำด้วยความใคร่ปรารถนาที่จะสนองตัณหาของตน ก็อาจประพฤติผิดในกามโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 30, 2012, 08:38:53 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 07:36:44 pm »



   วจีทุจริตมีสี่ประการ คือ หนึ่ง การพูดปด สอง การพูดยุยงส่อเสียด ก่อให้เกิดความแตกแยก สาม การพูดทำร้ายจิตใจผู้อื่น พูดคำหยาบคาย ด่าทอ ลามก และ สี่ การพูดตลกคะนอง (เพ้อเจ้อ)

   มโนทุจริต มีสามประการ คือ หนึ่ง การคิดประทุษร้าย สอง การเพ่งเล็งอยากได้ของของคนอื่น สาม ความเห็นผิดเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม ปฏิเสธกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อว่าการทำดีทำชั่วย่อมให้ผล เหล่านี้นับได้ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิในทางพุทธศาสนา ความคิดเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่ง ความคิดเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นสาเหตุของการกระทำ การไม่เชื่อกฎแห่งกรรมสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบ สร้างเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น
   ยังมีมโนกรรมอื่น ๆ อีกที่เป็นอกุศล แต่มิได้รวมอยู่ในอกุศลกรรมบถข้างต้น เช่น ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่าน และกิเลสในลักษณะอื่น ๆ อีกมากมาย บุคคลที่ถูกอำนาจเหล่านี้ครอบงำ นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีใจทุจริต

   อันตรายจากการเดินบนหนทางที่เป็นอกุศล
   บุคคลที่ยังถูกครอบงำด้วยพฤติกรรมอันเป็นทุจริตทั้งภายในและภายนอกดังกล่าว นับได้ว่ากำลังเดินบนหนทางที่เป็นอกุศล เขาไม่มีหวังที่จะบรรลุสถานที่ที่ปลอดจากภัยได้ และต้องเผชิญกับอันตรายต่าง ๆ ตลอดเวลา

   อันตรายประการหนึ่ง คือ ความรู้สึกลงโทษตัวเอง เสียใจและเศร้าใจที่ได้กระทำผิดในอดีต บุคคลอาจหาข้อแก้ตัวในอกุศลที่ได้กระทำ ไม่ว่าทางกาย วาจา หรือใจ บางคนอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นอกุศล แต่หลังจากนั้น การระลึกถึงอดีตทำให้รู้สึกเสียใจ บางคนนึกตำหนิตนเอง “นั่นเป็นการการกระทำที่โง่มากเลย” ความเสียใจในสิ่งที่ได้ทำไปแล้วเป็นสิ่งที่เจ็บปวดมาก และเป็นความรู้สึกที่ไม่มีใครอื่นมาทำเรา การเดินตามหนทางที่เป็นอกุศลนี้เป็นการสร้างทุกข์ให้แก่ตนเอง และให้ผลลัพธ์ที่น่ากลัวเสมอ แต่ยิ่งน่าสะพรึงกลัวโดยเฉพาะในวาระที่ใกล้ตาย ในช่วงนั้นจะเกิดกระแสจิตแห่งสำนึกที่ไม่อาจควบคุมได้ ประมวลภาพชีวิตและการกระทำของแต่ละคนจะเกิดขึ้นเป็นฉาก ๆ หากบุคคลสั่งสมแต่คุณธรรมและความเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น จิตใจก็จะเปี่ยมด้วยความอบอุ่นและความสงบ สามารถที่จะตายอย่างสงบ แต่หากบุคคลมิได้ระวังรักษาศีล ความเศร้าและเสียใจก็จะครอบงำจิต เขาอาจคิดว่า “ชีวิตช่างสั้นเสียนี่กระไร ฉันเสียเวลาไปเปล่า ฉันพลาดโอกาสที่จะได้ใช้ชีวิตในระดับที่สูงสุดที่มนุษย์ควรจะเป็น” เมื่อถึงตอนนั้นก็สายเสียแล้วที่จะแก้ไข เขาจะตายด้วยความทุกข์ทรมาน บางคนทุกข์ทรมานมาก ถึงขนาดที่ต้องร่ำไห้ออกมา

   การลงโทษตนเองมิใช่อันตรายเพียงอย่างเดียวของผู้เดินบนทางที่เป็นอกุศล บุคคลผู้นั้นยังต้องรับคำตำหนิติฉินจากบัณฑิต คนดีย่อมไม่ปรารถนาเป็นมิตรหรือยกย่องผู้ที่ไว้ใจไม่ได้ หรือบุคคลที่ชอบความรุนแรง คนที่ไร้คุณธรรมจะกลายเป็นที่รังเกียจในสังคม ไม่อาจอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
   บนเส้นทางที่เป็นอกุศล บุคคลอาจพบว่าเขาต้องต่อสู้กับกฎหมายบ้านเมือง หากทำผิด กฎหมายก็จะตามรังควาน ตำรวจจะตามจับแล้วจะต้องถูกบังคับทำให้เสียค่าปรับ หรือติดคุก หรือบางทีอาจถูกตัดสินประหารชีวิต ทั้งนี้แล้วแต่ความรุนแรงของความผิด โลกปัจจุบันนี้ก็เต็มไปด้วยความรุนแรงอยู่แล้ว คนจำนวนมากทำผิดกฎหมายด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลง พวกเขาทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ความลึกแห่งห้วงอกุศลกรรมที่บุคคลอาจจมลงไปได้นั้นไม่มีประมาณ เราอาจได้เห็นข่าวพฤติกรรมอันรุนแรงเกี่ยวกับการฆาตกรรมต่าง ๆ เมื่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองตามจับฆาตกรได้ บุคคลนั้นอาจต้องชดใช้ด้วยชีวิต ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ผู้เดินบนหนทางที่เป็นอกุศลย่อมต้องเสี่ยงกับอันตรายจากการถูกลงโทษ

   แน่นอนว่าคนที่ฉลาดอาจหนีรอดไปได้ หรืออาจทำผิดโดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย เขาอาจหลีกเลี่ยงการลงโทษโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมืองได้ แต่เขาไม่มีทางเลือกหนีการลงโทษตนเองได้เลยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ความที่รู้อยู่แก่ใจว่าตนได้กระทำผิดไปนี้เป็นสิ่งเจ็บปวดมาก เราย่อมเป็นพยานให้แก่ตัวเองได้ดีที่สุด เราไม่อาจหนีตนเองได้ และยังไม่อาจหลีกหนีจากอบายภูมิ เช่น สัตว์เดรัจฉาน นรก หรือเปรตได้ ครั้นเมื่อบุคคลได้กระทำผิด กรรมจะตามให้ผล หากไม่ให้ผลในชาตินี้ก็จะติดตามไปในอนาคต หนทางที่เป็นอกุศลย่อมนำไปสู่ภยันตรายต่าง ๆ เหล่านี้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 30, 2012, 10:53:31 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 08:14:19 pm »


                   

   อริยมรรคมีองค์แปด
   อกุศลย่อมไม่อยู่ในอริยมรรคมีองค์แปด โดยย่อมรรคมีองค์แปดก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญา อันนำมาซึ่งความบริบูรณ์และความถูกตรงในชีวิตมนุษย์ทุก ๆ ด้าน

   อริยมรรคมีองค์แปดหมวดศีล
   สัมมาวาจา หรือวาจาชอบ คำว่าสัมมาวาจาหากแปลตรง ๆ ก็คือวาจาที่ถูกถ้วนหรือสมบูรณ์ หมายถึงคำพูดที่ตรงต่อความเป็นจริง นอกจากนี้ยังสร้างความสามัคคีให้เกิดในหมู่ชน มีเมตตา น่าฟัง อ่อนหวาน ไม่ประทุษร้าย และเป็นประโยชน์ การมีสัมมาวาจาทำให้ล่วงพ้นจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางวาจาสี่ประการดังได้กล่าวแล้ว
   สัมมากัมมันตะ หรือการกระทำชอบ การกระทำที่ถูกต้องย่อมประกอบด้วยความยับยั้งชั่งใจ บุคคลพึงเว้นจากความประพฤติที่เป็นอกุศลกรรมทางกายสามประการ ได้แก่ การฆ่า การลักขโมย และการประพฤติผิดในกาม
   ประการสุดท้าย สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ กล่าวคือ ดำรงชีวิตด้วยความถูกต้องเหมาะควรและปราศจากมลทิน ไม่ประกอบมิจฉาอาชีพ
   การขจัดอกุศลกรรมสามประการนี้ ทำให้บุคคลสามารถควบคุมกิเลสอย่างหยาบเอาไว้ได้ กิเลสเป็นศัตรูของเรา ซึ่งบุคคลควรจะระลึกรู้และพิจารณาอยู่เนือง ๆ หากปราศจากศัตรู บุคคลก็ปราศจากอันตราย


   อริยมรรคมีองค์แปดหมวดสมาธิ
   จิตที่ตั้งมั่นหรือสมาธิเป็นหมวดที่สองของอริยมรรคมีองค์แปด ประกอบด้วยธรรมสามประการ คือ ความเพียรชอบ สติชอบ และสมาธิชอบ
   หัวข้อนี้น่าจะเป็นที่คุ้น หากท่านเคยปฏิบัติกรรมฐานมาก่อน เมื่อผู้ปฏิบัติพยายามตั้งความระลึกรู้ไว้ที่ท้อง (พองยุบ) นี้คือความเพียรชอบซึ่งมีพลังอำนาจในการผลักให้กิเลสห่างไกลออกไป เมื่อผู้ปฏิบัติมีความเพียรชอบ สติก็จะเข้มแข็งขึ้น และสามารถเฝ้าดูอารมณ์ต่าง ๆ ได้ และสตินี้ก็จะทำหน้าที่ตามรักษา กล่าวคือ ความเพียรผลักไสกิเลสให้ห่างไกลออกไป และสติจะทำหน้าที่ปิดประตูไม่ให้กิเลสกลับเข้ามาอีก คราวนี้จิตจะสามารถรวมตัวตั้งมั่นได้ สติจะตามรู้อารมณ์ทุกขณะโดยสำรวม ไม่ฟุ้งซ่าน สงบนิ่ง นี้คือสัมมาสมาธิ
   หากองค์ธรรมทั้งสามปรากฏอยู่ ก็กล่าวได้ว่า มรรคมีองค์แปดหมวดสมาธิเจริญขึ้น ณ จุดนี้ ความด่างพร้อยทางจิต (กิเลส) และอกุศลจิตจะถูกกำจัดให้อยู่ห่างไกล หมวดสมาธินี้ทำหน้าที่ต่อสู้กับอกุศลจิตโดยตรง


   อริยมรรคมีองค์แปดหมวดปัญญา
   ในทุกขณะ จิตจะมีความบริสุทธิ์และสงบด้วยความพยายามของผู้ปฏิบัติเอง สมมติว่าแต่ละนาทีผู้ปฏิบัติมีจิตที่ปราศจากอกุศล ๖๐ ครั้ง ในสองนาที ก็จะมีจิตที่บริสุทธิ์ ๑๒๐ ครั้ง ลองคิดดูว่าในหนึ่งชั่วโมงหรือจนถึงหนึ่งวัน ผู้ปฏิบัติสามารถสร้างวินาทีแห่งสันติสุขได้มากเพียงไร ทุก ๆ วินาทีมีค่าทั้งสิ้น
   ในแต่ละขณะเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติจะเห็นจิตหยั่งลงสู่เป้าหมายคืออารมณ์กรรมฐาน นี้คือการตั้งเป้าหมายไว้ชอบ (สัมมาสังกัปปะ) เป็นหนึ่งในหมวดปัญญาของอริยมรรคมีองค์แปด เมื่อจิตเล็งถูกเป้าหมายอย่างแม่นยำ ย่อมจะมองเห็นอารมณ์อย่างชัดเจน ก็จะเกิดปัญญาที่มองเห็นอารมณ์อย่างชัดเจน และเป็นการประจักษ์รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงซึ่งเป็นอีกองค์หนึ่งของอริยมรรค กล่าวคือความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)

   หากจิตตกลงสู่อารมณ์เป้าหมายอย่างแม่นยำ ปัญญาก็จะเกิดขึ้น รับรู้เงื่อนไขตามหลักของเหตุและผลที่เชื่อมโยงระหว่างสภาวธรรมทางกายและทางจิต เมื่อจิตสัมผัสกับความไม่เที่ยง จิตก็จะรู้จักอนิจจังตามความเป็นจริง ดังนั้น เป้าหมายที่ตั้งไว้ชอบและความเป็นชอบจึงสัมพันธ์กันอยู่
   ความเห็นชอบที่เกิดจากการตั้งเป้าหมายชอบมีพลังอำนาจในการถอนรากของจิตที่เป็นอกุศล รากลึกของจิตที่เป็นอกุศลนี้ หมายถึงอนุสัยกิเลสที่ซ่อนเร้นอยู่อย่างมิดชิด ซึ่งจะสามารถขุดรากถอนโคนได้ด้วยปัญญาเท่านั้น สภาวธรรมนี้เป็นสิ่งที่พิเศษมาก จะเกิดขึ้นขณะเดียวด้วยวิธีปฏิบัติที่เป็นของจริง กระทำได้จริง ๆ และมิใช่เกิดจากจินตนาการ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2012, 01:29:39 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 09:04:16 pm »

                       

   บางทีผู้ปฏิบัติอาจเข้าใจได้มากขึ้นแล้วว่า เหตุใดพระพุทธองค์จึงตรัสว่า หนทางนี้เป็นทางสายตรง อกุศลทางกาย วาจา และใจ จะสามารถเอาชนะได้ด้วยการฝึกฝนไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญาในอริยมรรคมีองค์แปด เมื่อเดินตรงตามเส้นทางนี้ ผู้ปฏิบัติจะสามารถก้าวข้ามอกุศล และรอดพ้นจากภยันอันตรายต่าง ๆ

   นิพพานและอริยมรรคในฐานะสถานที่ที่ปลอดจากภัย
   พระพุทธองค์ได้ทรงรับรองกับเทพบุตรผู้เคยเป็นภิกษุว่า หนทางเส้นนี้จะนำไปสู่สถานที่ที่ปลอดจากภัย คำว่า “สถานที่ที่ปลอดจากภัย” นี้ มีการอธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียดในอรรถกถาของพระสูตรนี้ ความจริงคำนี้หมายถึงพระนิพพานที่ซึ่งปราศจากภยันตรายหรือความน่ากลัวใด ๆ เหลืออยู่ สามารถเอาชนะความแก่และความตายได้โดยเด็ดขาดหมดทุกข์สิ้นเชิงนั่นเอง ผู้ใดที่ได้บรรลุพระนิพพานจะได้รับการปกป้อง จึงได้ชื่อว่า “ผู้ปราศจากความกลัว” กล่าวคือ เป็นผู้ที่ปราศจากอันตราย
   การจะเข้าถึงสถานที่ที่ปลอดจากภัยคือพระนิพพานนี้ ผู้ปฏิบัติต้องเดินไปทางโลกียมรรคของอริยมรรคก่อน คำว่า โลกีย์ ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่ไม่ได้อยู่เหนือโลก มีแต่ทางสายนี้เท่านั้นที่นำไปสู่พระนิพพาน นิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของหนทางเส้นนี้

   เราได้กล่าวถึงไตรสิกขาของหนทางเส้นนี้แล้วว่า คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เมื่อบุคคลมีศีลบริสุทธิ์ก็จะปราศจากความสำนึกผิด และคำตำหนิของบัณฑิต ปลอดภัยจากการลงโทษทางกฎหมายและการเกิดในอบาย เมื่อบรรลุความบริสุทธิ์ในหมวดสมาธิ ผู้ปฏิบัติจะรอดพ้นจากภัยอันตรายของกิเลสระดับกลาง กล่าวคือ จิตที่ไหลไปสู่อกุศลและความบีบคั้นอยู่ภายใน ปัญญาญาณซึ่งเกิดจากการเจริญสติและสมาธิมีพลานุภาพทำลายอนุสัยกิเลส ดังนั้น แม้จะยังไม่ถึงพระนิพพานที่ปลอดจากภัยอย่างแท้จริง ผู้ปฏิบัติก็จะได้รับการปกป้องรักษาจากสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวในระหว่างที่ดำเนินอยู่บนทางแห่งอริยมรรค ดังนั้น อริยมรรคนี้เองก็เป็นสถานที่ที่ปลอดจากภัยด้วยเช่นกัน

   กิเลส กรรม และผลของกรรม : วงจรอุบาทว์ของสังสารวัฏ
   กิเลสเป็นสาเหตุของภยันตรายต่าง ๆ ในโลก อวิชชา ตัณหา และอุปาทานล้วนเป็นกิเลส เมื่อมีอวิชชา ทั้งยังถูกผลักดันด้วยตัณหา บุคคลประกอบกรรมแล้วก็ต้องรับผลของกรรมนั้น เพราะกรรมที่ทำในอดีตภพใดภพหนึ่ง เราจึงกลับมาเกิดในโลกนี้อีกในอัตภาพที่เป็นร่างกายและจิตใจนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชีวิตของเราในปัจจุบันชาติเป็นผลมาจากเหตุในอดีต ในทางกลับกัน ร่างกายและจิตใจนี้กลายเป็นที่เกาะกุมของตัณหาและอุปาทาน ตัณหาและอุปาทานนี้เองเป็นเหตุที่ทำให้เราก่อกรรมและทำให้ต้องเกิดใหม่อีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อเพิ่มพูนตัณหาและอุปาทานในกายและจิต กิเลส กรรม และผลของกรรมจึงเป็นองค์ประกอบสามอย่างของวงจรอุบาทว์ในสังสารวัฏอันหาจุดเริ่มต้นไม่ได้ และหากปราศจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ไม่อาจหาจุดสิ้นสุดได้เช่นกัน

   หากปราศจากอวิชชาความหลงแล้ว วัฏจักรนี้ก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้ ในเบื้องต้นเราเป็นทุกข์จากอวิชชาคือความไม่รู้ ความมืดบอดล้วน ๆ ยิ่งไปกว่านั้น อวิชชาคือความไม่รู้จากความหลง ซึ่งหากเราไม่ปฏิบัติให้ลึกซึ้ง ก็ไม่อาจประจักษ์ถึงลักษณะที่แท้ของความเป็นจริง นั่นคือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่อาจเห็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางกายและจิตอันเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปทุก ๆ ขณะได้อย่างชัดเจน ไม่อาจเห็นทุกข์อันมหันต์ที่เราต้องเผชิญอยู่จากการบีบคั้นของการเกิดขึ้นและดับไป มองไม่เห็นว่ากระบวนการเหล่านี้ปราศจากผู้ควบคุม ไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง ไม่มีใครเลย หากเข้าใจลักษณะทั้งสามของรูปนามนี้อย่างลึกซึ้ง ตัณหาและอุปาทานก็มิอาจเกิดขึ้นได้

   ดังนั้น เพราะความหลง เราจึงปรุงแต่งความจริงเข้าใจผิดว่ารูปและนามเป็นสิ่งคงทนถาวรและไม่เปลี่ยนแปลง เราพึงพอใจกับการเป็นเจ้าของร่างกายและจิตใจนี้ และเข้าใจไปว่ามีตัวตนถาวรคือ “ฉัน” ทำหน้าที่กำกับควบคุมร่างกายจิตใจนี้
   ความไม่รู้สองประเภทนี้เองที่ก่อให้เกิดตัณหาและอุปาทานก็เป็นเพียงตัณหาหรือความอยากที่พอกพูนหนาขึ้นเท่านั้นเอง ด้วยความปรารถนาสิ่งน่าพอใจทางรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ เราจึงไขว่คว้าหาสิ่งใหม่ ๆ ร่ำไป เมื่อได้สิ่งที่ปรารถนาเราก็จะกอดมันไว้แน่นและไม่ยอมปล่อยมันไป เหล่านี้ก่อให้เกิดกรรมซึ่งเป็นสิ่งร้อยรัดผูกมัดเราไว้กับวัฏจักรของการเกิดใหม่

   ตัดสังสารวัฏ
   แน่นอนว่ากรรมมีหลายอย่าง อกุศลกรรมนำมาซึ่งผลอันไม่น่าปรารถนา และทำให้บุคคลต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เมื่อเริ่มเดินบนหาทางแห่งอริยมรรค ผู้ปฏิบัติไม่พึงวิตกกับผลของอกุศลกรรมที่เคยทำไว้ในอดีต เพราะผู้ปฏิบัติหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นอกุศลอยู่แล้ว ศีลย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติจากทุกข์ภัยในอนาคต กุศลกรรมนำมาซึ่งความสุข ถึงแม้ว่าในขณะเดียวกันจะผลักดันเราไปสู่การเกิดใหม่ แต่ในระหว่างการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่มีการประกอบกรรมที่จะนำไปสู่การเกิดใหม่ การเฝ้าดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นและดับไปเป็นกุศลกรรม ทั้งยังเป็นการตัดภพชาติในสังสารวัฏอีกด้วย ในความหมายที่แท้จริง วิปัสสนากรรมฐานไม่ก่อให้เกิดผลกรรม ที่เรียกในภาษาบาลีว่า วิบาก กล่าวคือ การกำหนดที่แม่นยำจะป้องกันมิให้ตัณหาเกิดขึ้น รวมถึงการป้องกันสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นผลพวงของการเวียนว่ายตายเกิด อันได้แก่ กรรม ชาติ ชรา และมรณะ

   ทุก ๆ ขณะการเจริญวิปัสสนา สามารถตัดวงจรอุบาทว์ของสังสารวัฏ คือ กิเลส กรรม และผลของกรรมลงได้อย่างสิ้นเชิง เมื่อความเพียร สติ และสมาธิที่มั่นคงเกิดขึ้น การกำหนดอารมณ์อย่างแม่นยำจะช่วยให้สัมปชัญญะแทงตลอดเข้าไปถึงลักษณะที่แท้จริงของชีวิต ผู้ปฏิบัติจะมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง แสงสว่างแห่งปัญญาจะขับไล่ความมืดบอดของอวิชชาออกไป เมื่อปราศจากอวิชชาแล้ว ตัณหาจะเกิดขึ้นได้อย่างไร หากผู้ปฏิบัติประจักษ์แจ้งใน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ตัณหาไม่อาจเกิดขึ้นได้ และอุปาทานก็ไม่อาจเกิดตามมา ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า อวิชชาทำให้เกิดอุปาทาน แต่เมื่อมีวิชชาก็จะปราศจากอุปาทาน เมื่อไม่มีอุปาทานก็ไม่ก่อกรรม และก็ไม่ต้องรับผลของกรรม

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 09:33:11 pm »



   อวิชชาทำให้เกิดตัณหาและอุปาทานในการยึดมั่นทั้งต่อชีวิตและต่อความเห็นผิดเกี่ยวกับตัวตน การดำเนินตามทางแห่งอริยมรรคช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถทำลายเหตุของอวิชชา เมื่อไม่มีเหตุเหล่านี้ แม้เพียงชั่วขณะเดียว จิตก็จะเป็นอิสระ สังสารวัฏจะขาดลง นี่คือสถานที่ที่ปลอดจากภัยที่พระพุทธองค์ตรัสถึง เมื่อเป็นอิสระจากอวิชชา ภยันตรายจากกิเลส และผลกรรมอันน่ากลัวที่จะพึงก่อให้เกิดทุกข์ในอนาคต ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถพบกับความปลอดภัย และความมั่นคงตราบเท่าที่ยังดำรงสติอยู่

   บางทีผู้ปฏิบัติอาจรู้สึกว่ากายและจิตของตนนี้น่ากลัวมากเสียจนอยากจะกำจัดมันไป หากเป็นเช่นนี้ การฆ่าตัวตายก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น หากต้องการความหลุดพ้นจริง ๆ ผู้ปฏิบัติพึงดำเนินชีวิตอย่างฉลาด กล่าวกันว่า ต่อเมื่อบุคคลเฝ้าสังเกตผลเท่านั้น เหตุจึงถูกทำลายลงได้ การทำลายนี้มิใช่การลงมือทำลายล้างจริง ๆ แต่เป็นการสิ้นสุดของพลัง ปัญญาทำหน้าที่ทำลายเหตุของรูปและนามอันจะพึงเกิดในอนาคต เมื่อจิตรวมลงด้วยสัมมาสติ สัมมาสมาธิ และสัมมาทิฏฐิ กล่าวคือ เฝ้าดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้งหกทุก ๆ ขณะในเวลาเช่นนี้ กิเลสจะไม่สามารถบุกรุกเข้ามาหรือเกิดขึ้นได้ เมื่อกิเลสอันเป็นตัวก่อให้เกิดกรรมและการเกิดใหม่เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถตัดภพตัดชาติในสังสารวัฏได้
   เมื่อได้เดินตามหาทางแห่งอริยมรรค ผ่านวิปัสสนาญาณขั้นต่าง ๆ ผู้ปฏิบัติก็จะบรรลุถึงพระนิพพาน อันเป็นที่ซึ่งปราศจากอันตรายได้ในที่สุด การเข้าถึงพระนิพพานมีสี่ระดับ ในแต่ละขั้นกิเลสแต่ละอย่างจะถูกทำลายไปอย่างถาวร เมื่อบรรลุพระนิพพานในระดับสุดท้าย คือ อรหัตตผล จิตจะบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง

                       

   ผู้ถึงกระแส : ประสบการณ์พระนิพพานครั้งที่หนึ่ง
   เมื่อบรรลุพระนิพพานครั้งแรก ในขณะที่ที่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงโสดาปัตติมรรค สังสารวัฏ (กิเลส กรรม วิบาก) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จะถูกทำลาย บุคคลผู้นั้นจะไม่ไปเกิดในภูมิของดิรัจฉาน เปรต หรือนรก เพราะกิเลสที่จะนำไปสู่ภพภูมิเหล่านี้ได้ถูกทำลายไป บุคคลผู้นั้นจะไม่ประกอบกรรมที่จะนำไปสู่การเกิดในสภาวะเช่นนั้นอีก และผลกรรมแต่อดีตที่จะนำไปสู่ภพภูมิเหล่านี้ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมไปโดยปริยาย

   ในการบรรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้น กิเลสจะถูกทำลายมากขึ้น ๆ จนในที่สุดเมื่อบรรลุอรหัตตผล กิเลสจะถูกทำลายไปโดยสิ้นเชิง รวมถึงกรรมและผลของกรรม พระอรหันต์จะไม่ถูกรบกวนด้วยกิเลสเหล่านี้อีก และเมื่อท่านดับขันธ์ก็จะเข้าสู่สถานที่อันปลอดภัย คือพระนิพพาน ไม่กลับมาเวียนว่ายในสังสารวัฏอีกต่อไป
   ผู้ปฏิบัติอาจมีกำลังใจที่ได้รู้ว่า แม้ในการบรรลุธรรมขั้นต่ำสุด ผู้ปฏิบัติจะรอดพ้นจากการบำเพ็ญเพียรทางจิตที่ผิดทาง หรือหนทางอันเป็นอกุศลทุกชนิด ดังกล่าวไว้ใน “วิสุทธิมรรค” ที่พระพุทธโฆษาจารย์ได้เขียนไว้ในพุทธศตวรรษที่สิบ นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติจะยังได้รับอานิสงส์ที่ทำให้พ้นจากความรู้สึกลงโทษตนเอง จากการตำหนิของบัณฑิต จากอันตรายในการถูกลงโทษ และจากการตกลงไปอยู่ในสภาวะที่เป็นทุกข์

     ราชรถที่สงัดเงียบ
   ปุถุชนที่ยังมิได้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน เปรียบได้กับนักเดินทางที่เริ่มท่องเที่ยวไปบนหนทางที่เต็มไปด้วยภยันตราย มีอันตรายนานัปการที่รอคอยผู้ที่ประสงค์จะข้ามทะเลทราย ป่าดงดิบ หรือป่าโปร่งอยู่ บุคคลผู้นั้นจะต้องเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อม ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นคือพาหนะที่ดีและมีคุณภาพ พระพุทธองค์ประทานทางเลือกที่ล้ำเลิศแก่เทพบุตร พระองค์ตรัสว่า “เธอจงเดินทางไปในราชรถที่สงัดเงียบ”
   เราคงพอจะเดาได้ว่า เทพบุตรองค์นั้นคงจะเห็นว่า การเดินทางที่สงบเป็นสิ่งที่ควรยินดี หลังจากที่ต้องเผชิญกับเสียงอึกทึกของนักดนตรีบนสวรรค์ แต่ความจริงยังมีความหมายอื่นอีก ณ ที่นี้

   พาหนะส่วนใหญ่มีเสียงดัง เกวียนและรถม้าโบราณที่ใช้ในสมัยพุทธกาลมีเสียงดังมาก โดยเฉพาะหากไม่ได้หยอดน้ำมันหรือสร้างมาไม่ดี หรือเวลาบรรทุกผู้โดยสารจำนวนมาก แม้แต่รถยนต์และรถบรรทุกสมัยใหม่ก็ยังมีเสียงอึกทึก แต่ราชรถที่พระพุทธองค์ประทานให้นี้ มิใช่ราชรถธรรมดา แต่เป็นพาหนะที่บรรจงสร้างมาอย่างดีเสียจนสงัดเงียบเวลาขับเคลื่อนไป ไม่ว่าจะมีสรรพสัตว์จำนวนล้านหรือพันล้านขับอยู่ก็ตาม ราชรถนี้สามารถนำสรรพสัตว์ทั้งหลายข้ามมหาสมุทร ข้ามทะเลทราย ผ่านป่าอันรกชัฏแห่งสังสารวัฏได้ นี่คือราชรถแห่งการเจริญวิปัสสนา หรือราชรถแห่งอริยมรรคมีองค์แปด

   เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ มีสรรพสัตว์นับล้านทั้งมนุษย์และเทวดา บรรลุธรรมโดยการฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์เท่านั้น เหล่าสัตว์นับพันนับแสนหรือนับล้านอาจฟังพระธรรมเพียงครั้งเดียวก็สามารถก้าวข้ามสังสารวัฏไปในราชรถพร้อม ๆ กันได้
   ราชรถอาจไม่มีเสียง แต่ผู้โดยสารมักจะแซ่ซ้องกันโดยมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไปถึงฝั่งอันปลอดจากภัยแล้ว คือพระนิพพาน อริยบุคคลเหล่านี้ย่อมกล่าวสรรเสริญและแสดงความปีติยินดีอย่างยิ่งยวด “ราชรถนี้ช่างวิเศษเสียนี่กระไร เราได้โดยสารแล้วและได้รับอานิสงส์จริง ๆ ราชรถนี้นำเรามาถึงพระนิพพาน”


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 30, 2012, 10:59:09 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 09:48:16 pm »



Exhibition : Metaphor of Truth by Ploeng Wattasan
-http://www.rama9art.org/artisan/2010/april/metaphor/works3.html

   ท่านเหล่านั้นคือพระอริยบุคคล อันได้แก่ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ผู้ซึ่งได้บรรลุธรรมทั้งสี่ระดับ ท่านเหล่านี้ต่างแซ่ซ้องสรรเสริญราชรถนี้เป็นอเนกปริยาย “จิตใจของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เปี่ยมไปด้วยศรัทธา ความแจ่มใสกระจ่างชัด และความเบิกบาน มีปัญญารู้ชัดในสภาวธรรมทั้งหลาย จิตใจของเราเข้มแข็งและมั่นคง สามารถเผชิญกับความผันผวนของชีวิตได้อย่างแยบยล”

   พระอริยบุคคลผู้ที่เข้าถึงฌานระดับต่าง ๆ ก็จะแซ่ซ้องสรรเสริญราชรถนี้เช่นกัน เช่นเดียวกับพระสกิทาคามีและพระอรหันต์ ผู้ที่ได้เข้าผลสมาบัติ ซึ่งเป็นสภาวะแห่งการดับไปของจิต เจตสิก และสภาวธรรมที่เกี่ยวกับจิตทั้งหมด เมื่อออกจากสภาวะเช่นนี้แล้ว ท่านก็จะเปี่ยมไปด้วยความสงบสุขและชื่นชมยินดีในราชรถนี้ยิ่งนัก
   ปกติเมื่อมีคนตาย ญาติมิตรจะโศกเศร้าเสียใจและร้องไห้ มีทั้งความอาดูร โหยไห้ ตรอมใจที่ได้เห็นคนผู้เป็นที่รักจากโลกนี้ไป แต่สำหรับพระอรหันต์ผู้ชำระกิเลสหมดจดแล้ว ความตายเป็นสิ่งที่ควรเฝ้ารอคอย ท่านอาจกล่าวว่า “ในที่สุดก้อนทุกข์นี้จะได้ถูกทิ้งไปเสียที นี่เป็นชาติสุดท้ายแล้ว เรามีแต่ความสุขในพระนิพพาน ไม่ต้องเผชิญกับทุกข์อีกแล้ว”

   สภาวธรรมอันสูงส่งของพระอรหันต์อาจเป็นสิ่งที่เกินกว่าความสามารถของผู้ปฏิบัติจะเข้าใจได้ แต่ผู้ปฏิบัติอาจพอเข้าใจได้ว่า พระอรหันต์รู้สึกอย่างไร โดยดูจากการปฏิบัติของตนเอง ในขณะที่สามารถเอาชนะนิวรณ์คือความปรารถนากามสุข ความอาฆาตพยาบาท ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่าน และความสงสัย และเมื่อผู้ปฏิบัติสามารถประจักษ์ชัดในลักษณะที่แท้จริงของอารมณ์ต่าง ๆ เห็นความแตกต่างระหว่างรูปกับนาม หรือเห็นการเกิดดับของสิ่งต่าง ๆ เป็นขณะ ๆ ภาวะที่เห็นการเกิดดับของสิ่งต่าง ๆ เป็นขณะ ๆ ภาวะที่เห็นการเกิดดับนี้ ก่อให้เกิดความรู้สึกที่เป็นอิสระและปลาบปลื้มยิ่งนัก ปีติและความแจ่มชัดของจิตคือผลของการปฏิบัติธรรม
   พระพุทธองค์ตรัสว่า “สำหรับบุคคลที่ออกบำเพ็ญเพียรภาวนาจนได้บรรลุฌาน จะมีปีติผุดขึ้นภายในเป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขใด ๆ ที่อาจแสวงหาได้ในโลกมนุษย์ หรือแม้บนสวรรค์”
   ฌานในที่นี้อาจหมายถึงการเจริญสมาธิที่ตั้งมั่น หรือการเจริญขณิกสมาธิอย่างต่อเนื่องลึกซึ้งในระหว่างการเจริญวิปัสสนาก็ได้ ดังที่ได้กล่าวแล้ว สมาธิประเภทที่สองนี้มีชื่อเรียกว่า วิปัสสนาฌาน

   รสชาติที่ไม่อาจเทียบได้
   ผู้ปฏิบัติที่สามารถเจริญสติได้อย่างต่อเนื่อง จะได้รับปีติสุขอย่างสูงในการปฏิบัติ นี่คือพระธรรมรสที่อาจไม่เคยลิ้มลองมาก่อน ไม่มีรสใดเปรียบได้ ครั้งแรกที่ได้ลิ้มรส ผู้ปฏิบัติจะเปี่ยมด้วยความอัศจรรย์ใจ “พระธรรมนี้ช่างประเสริฐล้ำเลิศจริง ๆ ไม่น่าเชื่อเลยว่าเราจะสงบ ปีติ และสุขได้มากเท่านี้” ผู้ปฏิบัติจะเปี่ยมด้วยความศรัทธาและความเชื่อมั่น พร้อมทั้งความพึงพอใจและความสมหวัง จิตเริ่มคิดอยากจะแบ่งปันประสบการณ์นี้ให้แก่ผู้อื่น บางคนอาจถึงกับเริ่มวางแผนการรณรงค์เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา นี่คือเสียงที่เกิดขึ้นในจิต เป็นเสียงที่แซ่ซ้องสรรเสริญคุณของราชรถที่สงบเงียบ

   กระนั้นยังมีอีกเสียงหนึ่งที่อาจไม่กระตือรือร้นเท่า เป็นเสียงกรีดร้องของผู้ปฏิบัติที่โดยสารราชรถที่ขาดความสง่างามหรือความสุข โยคีเหล่านั้นอาจโหนอยู่บนราชรถได้ แต่ก็แทบเกาะไม่อยู่ นี่คือผู้ปฏิบัติที่ขาดความเพียรในการเจริญวิปัสสนา ความเพียรต่ำย่อมให้ผลน้อย ผู้ปฏิบัติที่ย่อหย่อนเกียจคร้านจะไม่มีวันได้รับรสของพระธรรม พวกเขาอาจได้รับทราบความสำเร็จของผู้อื่น พวกเขาอาจเห็นผู้อื่นนั่งนิ่งตัวตรงดูประหนึ่งว่ามีความสุขกับสมาธิอันล้ำลึกและปัญญาญาณ ขณะที่ตนเองถูกจู่โจมด้วยสิ่งก่อกวนและนิวรณ์ต่าง ๆ ความสงสัยจะคืบคลานเข้ามาในใจ เกิดความสงสัยในวิปัสสนาจารย์ ในวิธีปฏิบัติ และในราชรถเอง “นี่เป็นพาหนะที่ใช้ไม่ได้เลย มันคงไม่พาฉันไปถึงไหนแน่ หนทางก็ขรุขระและมีเสียงดังหนวกหู”
   บางทีเราอาจได้ยินเสียงโอดครวญอย่างหมดหวังมาจากทางราชรถอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงของผู้ปฏิบัติที่มีศรัทธาในการปฏิบัติและกำลังพยายามอย่างหนัก แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง เขาเหล่านั้นยังไม่ก้าวหน้ามากเท่าที่หวัง พวกเขาเริ่มสูญเสียความเชื่อมั่น เริ่มสงสัยว่าตนเองจะบรรลุจุดมุ่งหมายหรือไม่

   ยิ่งหลงทางเท่าไร ยิ่งได้ข้าวมากเท่านั้น
   ในประเทศสหภาพพม่ามีคำกล่าวที่จะให้กำลังใจแก่คนเหล่านี้คือ “ยิ่งอนาคาริกหลงทางมากเท่าไร ก็จะได้ข้าวมากขึ้นเท่านั้น” อนาคาริก หมายถึง ผู้สละโลกประเภทหนึ่งในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ท่านเหล่านี้ถือศีล ๘ หรือศีล ๑๐ ครองผ้าขาวและโกนศีรษะ เมื่อละทิ้งทางโลกแล้ว เหล่าอนาคาริกอาศัยอยู่ในวัด ดูแลวัดและให้ความช่วยเหลือพระสงฆ์ในด้านต่าง ๆ หนึ่งในหน้าที่นั้นคือการเข้าไปในเมืองทุก ๆ สองหรือสามวันเพื่อขอรับบริจาค ในพม่าสิ่งของบริจาคส่วนใหญ่มักจะเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง เหล่าอนาคาริกจะเดินไปตามถนน แบกคานไม้ไผ่มีกระจาดแขวนอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง

   บางครั้งพวกอนาคาริกอาจไม่คุ้นกับหนทางในหมู่บ้าน และเมื่อถึงเวลาต้องกลับวัดก็หาหนทางไม่พบ ผู้สละโลกที่น่าสงสารนี้เดินเข้าไปเจอซอยตัน พอเดินวกกลับมาตามทางแคบ ๆ ก็หลงติดอยู่ในถนนข้างหลัง แต่ขณะเดียวกันพวกชาวบ้านคิดว่านี่เป็นการเดินเพื่อขอรับของบริจาคตามปรกติ จึงบริจาคข้าวสารอย่างต่อเนื่อง ครั้งพบทางกลับ อนาคาริกก็มีข้าวสารอาหารแห้งที่รับบริจาคมากองใหญ่
   สำหรับนักปฏิบัติที่เดินหลงทางและเดินอ้อมเป็นครั้งคราวก็อาจคิดปลอบใจตนเองว่า เราก็จะได้ธรรมะกองใหญ่ในที่สุด


นิทรรศการ อุปมาแห่งสัทธรรม (Metaphor of Truth)
โดย อ.เพลิง วัตสาร

มีต่อค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2012, 01:47:30 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ราชรถสู่พระนิพพาน (Sayadaw U Pandita)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 06:46:29 pm »



ล้อทั้งสองของราชรถ คือ ความเพียรทางกายและทางจิต
   ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ราชรถคันนี้มีสองล้อ ในอดีตกาลเกวียนถูกสร้างขึ้นอย่างนี้ ดังนั้นการอุปมานี้จึงเป็นที่ถึงใจสำหรับคนในสมัยนั้น พระพุทธองค์ทรงอธิบายว่าล้อข้างหนึ่งเป็นความเพียรทางกายและอีกข้างหนึ่ง ได้แก่ความเพียรทางจิต
   การเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็คล้ายกับการประกอบการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งความเพียรเป็นสิ่งสำคัญ บุคคลต้องทำงานอย่างหนักและขยันขันแข็งจึงจะประสบความสำเร็จ หากพากเพียรโดยไม่ท้อถอยก็สามารถกลายเป็นวีรบุรุษหรือวีรสตรีผู้กล้าหาญได้ ความเพียรพยายามอย่างกล้าหาญเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเจริญกรรมฐาน

   ความเพียรทางกายเป็นความเพียรในการดำรงร่างกายให้อยู่ในอาการนั่ง ยืน เดิน นอน ส่วนความเพียรทางจิตเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นพลังที่ผู้ปฏิบัติทุ่มเทในการรักษาสติและสมาธิเพื่อขับกิเลสออกไปให้ห่างไกล
   ล้อทั้งสองของความเพียรร่วมกันพยุงราชรถแห่งการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ในการเดินจงกรม ผู้ปฏิบัติก็ต้องยกเท้าขึ้นย่างออกไปข้างหน้า แล้วเหยียบเท้าลงกับพื้น การทำอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่ารวมกันเป็นอาการเดิน เมื่อผู้ปฏิบัติเดินจงกรม ความเพียรทางกายก่อให้เกิดอาการเคลื่อนไหว ในขณะที่ความเพียรทางจิตกระตุ้นให้สติกำหนดรู้ความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ความเพียรทางกายช่วยให้จิตตื่นตัวและมีพลัง

   ผู้ปฏิบัติไม่อาจมองข้ามไปว่า ความเพียรเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ราชรถที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เหมือนกับเกวียนในทางโลกที่ทั้งสองจะต้องติดแน่นกับตัวรถ ในทางธรรม การขับเคลื่อนราชรถนี้ไปตามหนทางแห่งอริยมรรคนี้ จะต้องประกอบด้วยความเพียรทางกายและทางจิตอยู่เสมอ ผู้ปฏิบัติคงไปไม่ถึงไหน หากไม่พยายามสร้างความเพียรทางกายในการนั่งกรรมฐาน หรือไม่พยายามตามรู้อารมณ์ให้ถูกต้อง ต่อเนื่อง และแม่นยำ ตราบใดที่ล้อทั้งสองแห่งความเพียรนี้ยังคงหมุนอยู่ ราชรถก็จะยังคงแล่นตรงไปข้างหน้า
   เพียงการรักษาอิริยาบถต่าง ๆ เอาไว้ ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงอยู่แล้ว หากผู้ปฏิบัตินั่งอยู่ก็ต้องใช้ความพยายามไม่ให้ล้มคว่ำลงมา ในเวลาเดินก็ต้องก้าวขาออกไป ผู้ปฏิบัติต้องพยายามรักษาสมดุลระหว่างอิริยาบถใหญ่ ๆ ทั้งสี่ เพื่อรักษาสมดุลของความเพียรและสภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะระหว่างการอบรมกรรมฐาน ต้องให้เวลากับการนั่งและการเดินที่เพียงพอ และลดหลั่นลงไปสำหรับการยืน ส่วนการนอน เวลานอนก็ควรที่จะจำกัด

                 
จินตภาพแห่งศรัทธา (Images of Faith)                   

   หากรักษาอิริยาบถไม่เหมาะสม ผลคือความเกียจคร้านก็จะเกิดขึ้นในระหว่างนั่งกรรมฐาน ผู้ปฏิบัติอาจพยายามหาที่พิง ผู้ปฏิบัติอาจสรุปเอาเองว่าการเดินทำให้เหนื่อยเกินไป หรือการทำงานอดิเรกสบาย ๆ อาจดีกว่าการเจริญกรรมฐาน เดาได้เลยว่าความคิดเหล่านั้นอาตมาไม่แนะนำ
   ทำนองเดียวกันกับความเพียรทางจิต ความย่อหย่อนในการภาวนามิใช่สิ่งที่ดี ผู้ปฏิบัติต้องเตรียมตัวตั้งแต่ต้นว่า การเจริญความเพียรทางจิตอย่างไม่ย่อท้อและต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็น บอกตนเองว่าเราจะไม่ยอมให้มีช่องว่างในการกำหนดสติ แต่จะให้ต่อเนื่องให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทัศนคติแบบนี้เป็นสิ่งมีประโยชน์มาก เนื่องจากช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีโอกาสบรรลุเป้าหมายได้จริง ๆ

   ผู้ปฏิบัติบางคนไม่ชอบการเดินจงกรม เห็นว่าเป็นการเหนื่อยและเสียเวลาเปล่า แต่ก็เดินเพราะอาจารย์บอกให้เดิน เนื่องจากการเดินจงกรมต้องใช้ความเพียรทั้งสองด้านพร้อม ๆ กัน การเดินจงกรมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการผลักดันวงล้อของความเพียรให้หมุนไปข้างหน้า หากกำหนดการเดินดี ๆ ผู้ปฏิบัติก็อาจบรรลุถึงเป้าหมายได้โดยสะดวกง่ายดาย
   ความเพียรทางจิตที่ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องทุก ๆ ขณะ ทำให้กิเลสไม่สามารถคุกคามจิตได้ กิเลสจะถูกผลักไสและปฏิเสธ

   ผู้ปฏิบัติบางคนมีความเพียรไม่สม่ำเสมอ แต่ทำเป็นช่วง ๆ การปฏิบัติเช่นนี้ทำให้ยากที่จะไปสู่เป้าหมายได้ พลังความเพียรที่สั่งสมขึ้นในการเจริญสติอีก ก็ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ เมื่อพยายามแล้วหยุด พยายามแล้วหยุดอยู่อย่างนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมไม่อาจรวบรวมพลังที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นได้
   บางทีผู้ปฏิบัติอาจต้องสำรวจใจตนเองอย่างซื่อตรงว่า เรากำลังมีสติอยู่จริง ๆ หรือเปล่า เรากำลังพยายามที่จะสร้างความเพียรในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างต่อเนื่อง และไม่ย่อท้อทุก ๆ ขณะตลอดเวลาที่ตื่นอย่างจริงจัง และจริงใจหรือเปล่า

   ประโยชน์ของความเพียรอย่างอาจหาญ
   ผู้ปฏิบัติที่ทำให้วงล้อแห่งความเพียรทางจิตเคลื่อนที่ไปอยู่เสมอนั้น กล่าวได้ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรกล้า พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญบุคคลเหล่านี้ และตรัสว่า “ผู้ที่ประกอบด้วยความเพียรอย่างอาจหาญจะมีชีวิตที่เป็นสุข” เพราะเหตุใด ก็เพราะความเพียรกล้าย่อมสยบกิเลสลงได้ก่อให้เกิดสภาวะทางจิตที่สงบเย็น น่าพอใจ ปราศจากความโลภ ความคิดที่โหดร้าย ความคิดทำลาย ซึ่งล้วนสร้างความเจ็บปวด
   ความดีงามของความเพียรอย่างอาจหาญนี้หาที่สุดมิได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า “การมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวด้วยความเพียรที่อาจหาญ ยังดีกว่าอยู่ถึงร้อยปีโดยปราศจากความเพียร” อาตมาหวังว่าผู้ปฏิบัติคงจะได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องของความเพียรนี้เพียงพอที่จะทำให้หันมาหมุนวงล้อแห่งความเพียรได้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2013, 10:03:04 pm โดย ฐิตา »