แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น
@ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก
ฐิตา:
๘๐ เขียนตรงกับเขียนกลับหัว
มีสามเณรท่านหนึ่งถามพระอาจารย์ว่า ท่านเคยบอกว่า “การปฏิบัติธรรม
ต้องมีจิตที่จะฉุดช่วยผู้คน และถ้าหากเป็นคนชั่ว ที่ประพฤติชั่วจนผิดมนุษย์
ยังจะต้องฉุดช่วยเขาอีกหรือเปล่า?”
พระอาจารย์ไม่ตอบแต่หยิบกระดาษมาเขียนคำว่า “ข้า” แต่เขียนกลับหัวไป
อยู่ด้านล่าง แล้วถามศิษย์ว่า “นี่คือตัวอะไร?”
สามเณรตอบว่า “เป็นตัวหนังสือ”
“อ่านว่าอะไร?”พระอาจารย์ถาม
อ่านว่า “ข้า” สามเณรตอบ
“คำว่า “ข้า” เขียนกลับหัว ยังนับว่าเป็นตัวหนังสือหรือเปล่า?”
“ไม่นับ” สามเณรตอบ
“เมื่อไม่นับว่าเป็นตัวหนังสือ ทำไมเจ้าถึงบอกว่าเป็นคำว่า “ข้า”
“นับ นับ “สามเณรรีบเปลี่ยนคำ
“เมื่อนับว่าเป็นตัวหนังสือทำไมเจ้าถึงบอกว่าเขียนกลับหัว”
เมื่อสามเณรตอบไม่ได้ พระอาจารย์จึงพูดต่อว่า “เมื่อเขียนให้ถูกก็เป็นตัว
หนังสือ เขียนกลับหัวก็เป็นตัวหนังสือ และเจ้ายังบอกว่าเป็นคำว่า “ข้า”
แล้วยังบอกว่านั่นเป็นการเขียนกลับหัวกลับหาง เป็นเพราะในใจของเจ้า
รู้ว่าคำนั้นคือคำว่า “ข้า”
ด้วยเหตุผลเดียวกัน คนดีก็เป็นคน คนชั่วก็เป็นคน สิ่งสำคัญที่สุดคือ
เจ้าจะต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของจิตเดิมแท้ เมื่อเวลาที่เจ้าพบกับคนชั่ว
เจ้าต้องเห็นจิตเดิมแท้ของเขาด้วย ทำให้เขาสามารถเข้าใจถึงจิตของเขา
ก็จะฉุดช่วยเขาได้ไม่ยาก
ฐิตา:
๘๐. ๑ อวิชชาปรุงแต่งจนเกิดความกลัว
ชายหนุ่มคนหนึ่งคิดจะปลีกวิเวกที่ในป่า เมื่อถึงยามค่ำคืนที่เงียบสงัด
ก็คิดจะนั่งวิปัสสนากรรมฐาน ขณะที่จะนั่งอยู่นั้น ได้ยินเสียงผิดปกติขึ้น
เสียงที่ได้ยินมาจากรอบทิศนั้นเหมือนเสียงผีและเสียงสุนัขจิ้งจอกเห่าหอน
เขารู้สึกขนลุกซู่ขึ้นมาทันที แต่ก็ได้แต่อดทนข่มความกลัวไว้ สักครู่ก็ได้ยิน
เหมือนกับมีเสียงพูดพึมพำๆไม่ได้ศัพท์ เหมือนกับวิญญาณผีดิบจะมาเอาชีวิต
วินาทีนั้นเขารู้สึกทนไม่ไหวต่อไปแล้ว รีบท่องบทสวดในคัมภีร์จินกัง
สวดไปสวดไปจนถึงยามดึกเมื่อรู้สึกเพลียจึงคิดจะเข้านอน
พอถึงวันรุ่งขึ้นจึงได้รีบลงจากเขาไป ขณะที่เดินไปก็คิดในใจว่า
“ข้ามิใช่จะมาบำเพ็ญภาวนาหรือ? ทำไมความกลัวแค่นี้จะสยบลงไม่ได้
แล้วจะหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้อย่างไร?”
ขณะที่ลังเลอยู่นั้น ก็ได้พบกับชายตัดฟืนคนหนึ่ง จึงถามขึ้นว่า
“เจ้าอาศัยอยู่ในป่านี้หรือ?”
“ข้าเกิดที่นี่ เมื่อโตขึ้นก็หาเลี้ยงชีพด้วยการตัดฟืน”
“แล้วเจ้าไม่กลัวหรอกหรือ?”
ชายตัดฟืนหัวเราะแล้วพูดว่า
“เหมือนกับคนที่อยู่ใกล้ทะเล ยังจะกลัวทะเลหรอกหรือ?”
ชายตัดฟืนพูดจบแล้วก็เดินจากไป
ชายหนุ่มนั้นเดินต่อไปพลางคิดไปพลาง คนตัดฟืนไม่กลัว เพราะเขาเกิดในป่า
แล้วก็ไม่เกี่ยวกับการบำเพ็ญภาวนา ขณะที่คิดเพลินอยู่นั้นไม่ทันระวังได้เดิน
ชนกับนายพรานร่างกำยำคนหนึ่ง ชายหนุ่มนั้นรีบขอโทษ แล้วถามขึ้นว่า
“ท่านมีอาชีพล่าสัตว์หรือ?”
“ข้าล่าสัตว์มายี่สิบสามสิบปีแล้ว”
“ท่านล่าสัตว์เวลาไหน?”
“ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเวลากลางคืน”
“เวลากลางคืนแล้วท่านไม่กลัวหรอกหรือ?” ชายหนุ่มถาม
“น่าขัน ถ้าหากปอดแหกอย่างนั้นแล้วจะเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ได้อย่างไร?”
พูดเสร็จแล้วนายพรานก็เดินจากไป
และชายหนุ่มนั้นก็หาข้ออ้างให้กับตนเองว่า “นายพรานนั้นเคยชินกับ
ล่าสัตว์ในเวลากลางคืน และไม่เกี่ยวกับการบำเพ็ญภาวนา ขณะที่จะ
เดินต่อไป ก็พบกับสตรีวัยกลางคนคนหนึ่ง เลยเข้าไปถามว่า
“ขอถามท่านพี่หน่อยว่า ทำไมถึงได้ขึ้นเขาตามลำพังแต่เพียงผู้เดียว”
“ข้าขึ้นเขาเพื่อมาส่งเสบียงและเสื้อผ้าให้กับสามี”
“ไม่ไกลจากที่นี่หรอกหรือ” ชายหนุ่มถาม
“ไกลมาก ต้องเดินอีกสองสามวันถึงจะถึง”
“แล้วกลางคืนท่านพักอยู่ที่ไหน?”
“ค่ำไหนก็นอนนั่น” หญิงนั้นตอบ
“ท่านไม่กลัวเสียงผีร้องกลางคืนหรอกหรือ?” ชายหนุ่มถาม
“กลัวแต่คนที่จะมาปองร้ายเท่านั้น กลัวอะไรกับผีเร่ร่อน
ดูท่านก็แต่งตัวยังกับบัณฑิต หรือว่าท่านไม่รู้ว่า คนเราตายแล้วก็กลายเป็นผี
คนกับผีแม้จะแตกต่าง แต่เมื่อดั้งเดิมแล้วมีอะไรแตกต่างหรือ?
ในวัฏสงสารมีภพไหนที่ไม่ใช่คนวนเวียนอยู่ในนั้น
แล้วคนที่ประพฤติตนเป็นคนดี
ไหนเลยจะต้องกลัวว่าผีเร่ร่อนเหล่านั้นจะมาเอาชีวิต
โบราณท่านว่า “ผู้ที่มีคุณธรรมสูง แม้แต่ผียังเลื่อมใส”
ผีและเทพมีแต่จะคุ้มครองผู้ที่ประพฤติดี
มีหรือจะมาทำร้ายคนที่มีคุณธรรม”
หญิงนั้นพูดจบแล้วก็เดินจากไป
หลังจากฟังคำกล่าวของหญิงนั้น ชายหนุ่มนั้นได้คิด หยุดปรุงแต่งให้จิตกลัวอีก
เขาตัดสินใจบำเพ็ญภาวนาต่อที่กระท่อมกลางป่า
ฐิตา:
๘๐. ๒ มุ่งมั่นที่จะเดินต่อไป
ทางเดินแห่งชีวิต บางช่วงขรุขระ บางครั้งราบเรียบ
ยามล้มลุกคลุกคลาน ต้องลุกขึ้นมา
ยามสะดวกราบรื่น ต้องระวัง
ตลอดทางเดิน
บางครั้งเจอพายุ เจอฝนกระหน่ำ
บางครั้งเจอลมและคลื่นที่เรียบสงบ
ไม่ว่าจะเป็นสภาพที่เป็นไปธรรมชาติ หรือเป็นเพราะมนุษย์เป็นเหตุ
ให้รู้อยู่แก่ใจ เข้าใจด้วยตนเอง
เหตุต้นผลกรรมทั้งหมด คอยแต่จะฝึกฝนเรา
เมื่อรู้ว่าผิดแล้วต้องตั้งใจแก้ แก้แล้วเริ่มต้นใหม่
รู้ได้มาจากสิ่งที่เคยหลง อริยะมาจากปุถุชน
ผู้อื่นทำผิดเป็นเรื่องของผู้อื่น ตนเองทำผิดตนเองต้องรับผิดชอบ
ควรจะเข้าให้ถึงแก่นแท้ของเหตุและผล รู้สำนึกให้ทันท่วงที
ถ้าเป็นเช่นนั้น
กรรมที่ตามสนอง เมื่อชดใช้หมดแล้วทุกข์ก็ย่อมทุเลา
ผลกรรมเมื่อสำนึกผิดได้แล้ว ความสะอาดและสงบย่อมเกิดขึ้นได้เอง
ก็จะเป็นอย่างคำกล่าวที่ว่า
ทันทีที่วางมีด(ที่หลงผิด)ลง ก็จะกลายเป็นพุทธะทันที
ฐิตา:
๘๐. ๓ หนอนสามตัว
ในพุ่มไม้ใกล้ริมคลองแห่งหนึ่ง มีหนอนอยู่สามตัว
พวกมันคลานมาจากที่ไกลๆแห่งหนึ่ง ตั้งใจจะข้ามคลองแห่งนี้ไป
อีกฝั่งหนึ่งที่มีดอกไม้บานสะพรั่งอยู่ทั่วบริเวณ
ตัวที่หนึ่งพูดว่า “พวกเราต้องหาสะพานให้เจอก่อน ถึงจะคลานข้ามสะพานไป”
ตัวทีสองพูดว่า “บริเวณนี้เป็นที่รกร้างนอกเมือง ที่ไหนจะมีสะพาน?
พวกเราสร้างเรือคนละลำ แล้วลอยข้ามคลองไปดีกว่า”
ตัวที่สามพูดว่า “พวกเราเดินทางไกลมาไม่น้อยแล้ว รู้สึกเหนื่อยเต็มทีแล้ว
ควรจะพักที่นี่สักสองวันก่อน”
หนอนอีกสองตัวประหลาดใจ พูดขึ้นว่า “พักก่อนหรือ? ตลกสิ้นดี
ไม่เห็นหรือว่าฝั่งนั้น มวลน้ำหวานและเกสรดอกไม้โดนผู้อื่นดูดหมดแล้ว
เราต่อสู้และผ่านอุปสรรคมาแล้วเท่าไหร่ เพียงเพื่อมานอนอยู่ตรงนี้หรือ?”
ขณะที่พูดยังไม่ทันขาดคำ ก็มีตัวหนอนคลานขึ้นไปบนต้นไม้
เตรียมตัวจะหาใบไม้ใบหนึ่งมาทำเป็นเรือ
อีกตัวหนึ่งก็คลานไปที่ทางเดินริมคลอง เพื่อจะหาสะพานข้ามไปฝั่งนั้น
ตัวที่เหลือนอนอยู่ใต้ร่มไม้ไม่ได้ขยับไปไหน คิดในใจว่า
“ดื่มน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ย่อมจะมีความสุขแน่นอน
แต่ลมเย็นๆที่ฝั่งนี้ก็น่าจะอยู่ชื่นชมอีกสักพัก” คิดแล้วก็ก็คลานขึ้น
ไปบนต้นไม้ที่สูงที่สุด ให้ใบที่เหมาะๆแล้วนอนเล่นอยู่ตรงนั้น
เสียงน้ำในลำธารกระทบหินทำให้เกิดเสียงแว่วแผ่วมาดั่งเสียงดนตรี
ใบไม้โดนลมอ่อนๆแกว่งไกวไปมาดั่งเปลน้อยของทารก
หนอนตัวนั้นนอนหลับไปอย่างมีความสุข
ไม่รู้เวลาล่วงเลยไปแล้วเท่าไหร่ และไม่รู้ว่าในความฝัน ตนเองฝันเห็น
อะไรบ้าง รู้แต่ว่า เมื่อรู้สึกตัวขึ้นมา เห็นตัวเองกลายเป็นผีเสื้อที่สวยงามตัวหนึ่ง
ปีกของมันสวยงามและบางเบา แค่กระพือปีกเบาๆ ก็บินข้ามไปฝั่งนั้นได้
ขณะนั้น ดอกไม้กำลังบานอย่างสวยงาม เกษรทุกดอกส่งกลิ่นและรสหอมหวาน
เวลานั้นมันคิดถึงเพื่อนอีกสองตัวขึ้นมา เลยบินวนหาจนรอบก็หาไม่เจอ
ที่แท้เพื่อนสองตัวนั้น ตัวหนึ่งถูกน้ำพัดพาหายไป อีกตัวหนึ่งเดินจนเหนื่อยตายไป
ในโลกนี้ ไม่มีพลังใดจะเกินไปกว่าพลังที่เป็นไปตามครรลองของธรรมชาติ
ไม่มีสิ่งใดจะน่าหลงใหลเท่าเนื้อแท้ๆของธรรมชาติ
แต่ที่น่าเศร้าคือ
ความเป็นจริงเช่นนี้ ในสังคมแห่งการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น
ไม่ใช่ว่าทุกคนจะรับรู้ได้อย่างแท้จริง
ฐิตา:
๘๑. ออกมาจากใจ
ขณะที่พระอาจารย์สองท่านกำลังจะเดินทางไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง
พบหิมะขวางทางอยู่จึงไม่สามารถเดินข้ามไปได้ จึงได้พักแรมอยู่ข้างทางนั้น
พระอาจารย์ท่านแรกวันๆนั่งเล่นตามสบาย หรือไม่ก็นอนหลับไป
ส่วนพระอาจารย์ท่านที่สองก็เอาแต่นั่งสมาธิ
พระอาจารย์ท่านแรกตำหนิท่านที่สองว่าไม่สมควรวันๆเอาแต่นั่งสมาธิ
พระอาจารย์ท่านที่สองชี้ไปที่หน้าอกตัวเองแล้วพูดว่า
“ตรงนี้ของข้าพเจ้ายังไม่หนักแน่นมั่นคง คงไม่กล้าหลอกลวงตัวเองและ
หลอกลวงผู้อื่น ขอพูดตามความเป็นจริง ตั้งแต่บำเพ็ญภาวนามา จิตใจของ
ข้าพเจ้าก็ไม่ค่อยสงบมาตลอด”
“ถ้าหากเรื่องที่พูดเป็นความจริง ท่านลองเล่าเรื่องการภาวนามาให้ฟังทั้งหมด
ถ้าหากที่ถูกทาง ข้าพเจ้าจะรับรองให้ ถ้าที่ผิดทางจะช่วยชี้แนะให้”
พระอาจารย์ท่านที่สองจึงเล่าเรื่องการภาวนาที่ผ่านมาทั้งหมดให้ฟัง หลังจากฟัง
จนจบแล้ว พระอาจารย์ท่านที่หนึ่งจึงพูดว่า
“ท่านไม่เคยได้ยินหรือว่า สิ่งที่เข้ามาทางประตูไม่ใช่สิ่งล้ำค่าของที่บ้าน”
พระอาจารย์ท่านที่สองถามว่า “ต่อไปข้าพเจ้าควรทำอย่างไร?”
“ถ้าหากท่านต้องการเผยแพร่พระธรรม ไม่ว่าการพูดหรือการกระทำต้อง
เป็นสิ่งที่ออกมาจากใจ สามารถยืนหลักตั้งมั่นต้านทานสิ่งต่างๆได้
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version