แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น

@ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก

<< < (26/31) > >>

ฐิตา:


           

๘๗.ศีล สมาธิ ปัญญา ของสองสำนัก

หลังจากที่สังฆปรินายกองค์ที่ห้า ยกบาตรและจีวรให้แก่ท่านเว่ยหล่างแล้ว
ท่านชินเชาและศิษย์ร่วมสำนักกลุ่มหนึ่งมุ่งไปทางทิศเหนือสร้างสำนักขึ้นมาใหม่

หลังจากที่ท่านเว่ยหล่างหลบหนีจากการไล่ล่าผ่านไปถึง 15 ปีก็กลับมา
ตั้งสำนักใหม่อยู่ทางใต้

ครั้งหนึ่งท่านชินเชาได้ให้ภิกษุรูปหนึ่งมาฟังการบรรยายธรรมของท่านเว่ยหล่าง
เมื่อท่านเว่ยหล่างทราบแล้วจึงถามภิกษุรูปนั้นว่า
“อาจารย์ของท่านสอนลูกศิษย์ว่าอย่างไรบ้าง?”
“ท่านอาจารย์มักจะสอนเสมอว่า ขณะที่นั่งสมาธิต้องประสานพลังรวมเป็นหนึ่ง
วิปัสสนาสภาวะที่สะอาดและสงบ ต้องหมั่นนั่งสมาธิวิปัสสนา อย่านอนและพักผ่อน

ท่านเว่ยหล่างฟังแล้วพูดต่อว่า “การประสานพลังรวมเป็นหนึ่ง แล้ววิปัสสนา
ไม่ใช่การภาวนาที่แท้จริงของเซน แต่กลับเป็นจุดเสียของการภาวนาแบบเซน
เป็นการทรมานร่างกาย การนั่งสมาธิตลอดเวลาไม่นอน จะช่วยให้รู้จักหลักธรรม
ได้อย่างไร?”

แล้วท่านเว่ยหล่างก็ถามต่อว่า “ได้ยินมาว่า ท่านอาจารย์ของเจ้าสอนเรื่อง
ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่รู้ว่าเขาอธิบายความหมายของคำเหล่านั้นว่าอย่างไร?”

“การละเว้นจากการกระทำชั่วทั้งปวงคือ ศีล
การปฏิบัติแต่ความดีคือปัญญา การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์เรียกว่า สมาธิ
แล้วไม่ทราบว่าท่านสอนลูกศิษย์ของท่านว่าอย่างไรบ้าง?

“ข้าไม่ได้มีวิธีการใดที่แน่นอนในการสอน แต่จะดูตามจริตและความสามารถ
แล้วก็ชี้แนะจุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ศีลสมาธิและปัญญาในการสอนของข้า
แตกต่างจากอาจารย์ของเจ้า” ท่านเว่ยหล่างตอบ
“คำสอนของอาจารย์เจ้าใช้สำหรับสั่งสอนแนะนำสานุศิษย์แห่งสำนักมหายาน
ส่วนคำสอนของข้าใช้สำหรับสอนสานุศิษย์แห่งสำนักสูงเลิศ

ความสามารถในการเรียนรู้ของคนเราต่างกัน ความไวในการรู้แจ้งก็ต่างกัน
การแสดงธรรมของข้าไม่เคยเหออกไปจากภาวะที่แท้แห่งจิต
รูปธรรมและสภาวธรรมทั้งหลายย่อมก่อเกิดมาจากภาวะที่แท้แห่งจิต
และทั้งหมดนั้นก็เป็นผลพวงมาจากการกระทำของจิตทั้งนั้น
นี่คือศีล สมาธิ ปัญญา ที่แท้จริง”

                       

ฐิตา:

     

๘๘. ขอร้องให้ประตูและรองเท้าให้อภัย

ขณะที่พระอาจารย์ท่านหนึ่งกำลังนั่งสมาธิอยู่
มีชายคนหนึ่งผลักประตูเข้ามาอย่างแรง แล้วปิดประตูกลับไปอีก
แล้วเตะรองเท้ากระเด็นไปแล้วเปิดประตูเข้ามาอีก
พระอาจารย์พูดขึ้นว่า “รอเดี๋ยวไม่ต้องเข้ามาก่อน
ไปขอให้ประตูและรองเท้าให้อภัยเสียก่อน”

“ท่านพูดอะไร? ข้าเคยได้ยินมาว่า คนของนิกายเซนล้วนแต่เป็นคนบ้า
เมื่อก่อนเคยนึกว่านี่เป็นเพียงคำร่ำลือ คำพูดของท่านช่างน่าขัน
ทำไมข้าจะต้องไปขอให้ประตูและรองเท้าให้อภัย ใครจะรับได้
และรองเท้านั่นก็เป็นของข้าเอง”

“เจ้าออกไป แล้วไม่ต้องกลับมาอีก เจ้าบันดาลโทสะกับกับรองเท้าได้
แล้วทำไมจะขอร้องให้พวกมันให้อภัยไม่ได้ ตอนที่เจ้าโกรธ
เจ้าไม่ได้คิดแม้แต่นิดเดียวว่าการระบายอารมณ์กับรองเท้าเป็นเรื่อง
ที่โง่เขลาที่สุด

หากเจ้าไปเกี่ยวเนื่องกับความโกรธได้ ทำไมไม่ไปเกี่ยวเนื่องกับความรัก
เกี่ยวเนื่องคือเกี่ยวเนื่อง ความโกรธเป็นความเกี่ยวเนื่อง
ขณะที่เจ้าปิดประตูด้วยความโกรธ เจ้าก็ไปเกี่ยวเนื่องด้วยกับประตู
การกระทำของเจ้าเป็นความผิดพลาด ไม่ใช่ทางแห่งคุณธรรม
ประตูบานนั้นไม่ได้ทำอะไรให้เจ้า เจ้าออกไปก่อน แล้วก็ไม่ต้องเข้ามา”

เหมือนดังสายฟ้าฟาดลงมา ชายผู้นั้นเข้าใจถึงความนัยของทั้งหมด
“หากเจ้าบันดาลโทสะได้ทำไมเจ้าไม่ไปรักล่ะ เจ้าออกไป”

แล้วชายคนนั้นก็ไปลูบๆประตู น้ำตาไหลนองหน้า เขาไม่สามารถกดข่ม
ไม่ให้น้ำตาไหลออกมาได้ เมื่อเขาคำนับขอขมารองเท้า เขารู้สึกถึง
การเปลี่ยนแปลงไปทั่วสรรพางค์กายของตนเอง

                 

ฐิตา:

         

๘๙. ลมแปดทิศโหมมาไม่หวั่นไหว

ซูตงพอ เป็นอำมาตย์ใหญ่ และเป็นนักประพันธ์ชื่อดัง
เขียนหนังสือไว้มากมายทั้งทางโลกและทางธรรม
มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว

ซูตงพอ เป็นศิษย์ของพระอาจารย์เซนชื่อดังรูปหนึ่ง
วันหนึ่งคิดจะแสดงว่าตนปฏิบัติถึงขั้นล้ำลึกแล้ว
จึงเขียนเป็นโศลกว่า

ค้อมหัวคำนับฟ้าเหนือฟ้า
แสงเจิดจ้าสาดส่องเหล่าเวไนย
ลมแปดทิศโหมมาไม่หวั่นไหว
นั่งนิ่งในดอกบัวสีม่วงทอง

เขียนเสร็จแล้วให้คนรับใช้นำไปให้พระอาจารย์
พระอาจารย์อ่านแล้วก็เขียนใส่ด้านหลังโศลกว่า “ ผายลม “
( เป็นศัพท์สแลงแปลว่า เพ้อเจ้อ ไร้สาระ)

เมื่อ ซูตงพอ อ่านแล้ว ให้บันดาลโทสะยิ่งนัก
นั่งเรือข้ามฟากไปหาพระอาจารย์ทันที
พระอาจารย์รู้อยู่แล้วว่า ซูตงพอ ต้องมา จึงสั่งลูกศิษย์ไว้แล้วว่า
วันนี้ไม่รับแขก ซูตงพอ ยิ่งเดือดดาลเพิ่มขึ้นไปอีก
ถือวิสาสะเดินไปที่ห้องพักพระอาจารย์
ขณะที่กำลังจะยกมือขึ้นเคาะประตู
เห็นกระดาษแผ่นหนึ่งติดไว้ที่หน้าประตูว่า

ลมแปดทิศโหมมาไม่หวั่นไหว
แต่ลมตดเดียวซัดท่านมาถึงนี่

ซูตงพอ เลยรู้สึกตัว และอดขบขันตัวเองไม่ได้
หลังจากนั้นจึงมีคำพังเพยมาจนถึงทุกวันนี้ว่า
“ จงเอาเยี่ยง แต่อย่าเอาอย่าง ซูตงพอ “

เอาเยี่ยงที่ฝักใฝ่ธรรมะ แตกฉานอภิธรรม
แต่อย่าเอาอย่างที่ การปฏิบัติยังไปไม่ถึงไหน

                 

ฐิตา:




๙๐. ร้องไห้คร่ำครวญ

ขณะที่พระอาจารย์ท่านหนึ่งธุดงค์ผ่านบ้านของหญิงชราท่านหนึ่ง
สองสามวันที่ผ่านมาก็เห็นหญิงชรานั่งร้องไห้อยู่ทุกวัน จึงเข้าไปถามว่า
“ทำไมท่านถึงต้องร้องไห้ทุกวัน มีเรื่องทุกข์ร้อนอันใดหรือ?
ลองเล่าให้ฟังหน่อยซี เผื่อจะช่วยเหลืออะไรท่านได้”

หญิงชรานั้นเล่าให้ฟังว่า “ข้าพเจ้ามีลูกสาวสองคน ลูกสาวคนโตแต่งงาน
ไปกับคนขายรองเท้า ลูกสาวคนเล็กแต่งไปกับคนขายร่ม

ขณะที่เป็นหน้าแล้งข้าพเจ้าก็คิดถึงลูกสาวคนเล็กต้องขายร่มไม่ได้แน่นอน
ดังนั้นจึงรู้สึกปวดร้าวในใจ

แล้วขณะที่ฝนตก ย่อมจะต้องไม่มีลูกค้าเข้ามาซื้อรองเท้า
เป็นแน่ คิดๆแล้วข้าพเจ้าก็อดร้องไห้ไม่ได้”

“ที่แท้ก็เป็นอย่างนี้นี่เอง เจ้าคิดอย่างนี้ไม่ถูกหรอก” พระอาจารย์กล่าว

“คนเป็นแม่เป็นห่วงลูกสาว ทำไมจะไม่ถูก? แม้ว่าจะรู้ตัวว่า เป็นห่วงไป
ก็ไม่มีประโยชน์ แต่ข้าพเจ้าก็ควบคุมตัวเองไม่ได้”

“เป็นห่วงลูกสาวนั้นไม่ผิดหรอก แต่เจ้าทำไมไม่คิดดีใจแทนลูกสาวเล่า
ลองคิดดู เวลาฝนไม่ตก ร้านรองเท้าของลูกสาวคนโต ย่อมจะต้องขายดิบขาย
ดี เวลาที่ฝนตก ร่มของลูกสาวคนเล็กย่อมจะต้องขายดีแน่นอน เจ้าควรจะ
ดีใจแทนพวกเขาทุกวันถึงจะถูก ทำไมถึงยังต้องเศร้าโศกอีก?”

หญิงชราได้ยินพระอาจารย์พูดอย่างนั้น รู้สึกโล่งใจและเข้าใจอะไรขึ้นมา
หลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นหน้าฝนหรือหน้าแล้ง หล่อนก็ยิ้มอย่างมีความสุขทุกวัน

                       


ฐิตา:

             

๙๐. ๑ รสชาติของกระบี่

ชายหนุ่มคนหนึ่งเป็นลูกชายของนักดาบชื่อดังท่านหนึ่ง
พ่อของเขามักจะตำหนิเขาเสมอว่า เขาฝึกฝนกระบี่ได้ไม่ดี
ไม่สามารถเข้าถึงวิถีทางแห่งกระบี่ชั้นยอดได้
แล้วตัดขาดความเป็นพ่อลูกกับเขา

ชายหนุ่มนั้นจึงเดินทางไปที่ภูเขาแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นที่อยู่ของมือกระบี่ชื่อดังท่านหนึ่ง

นักกระบี่ชื่อดังพูดอย่างไม่มีเยื่อใยว่า
“เจ้าไม่อาจทำตามจุดประสงค์ของข้าได้หรอก”

“หากข้าหมั่นตั้งใจฝึกฝน ต้องใช้เวลากี่ปีถึงจะกลายเป็นมือกระบี่ชั้นหนึ่งได้”
“ตามอายุของเจ้า”
“ข้ารอนานอย่างนั้นไม่ได้ เพียงแต่ท่านยอมสอนข้า ข้ายอมทนรับความลำบาก
ทุกอย่างเพื่อให้ถึงจุดหมาย และหากข้ายอมเป็นทาสรับใช้ จะต้องใช้เวลาเท่าไหร่?”

“อาจจะเป็นสิบปี” อาจารย์กระบี่ชื่อดังตอบ
“ท่านพ่อของข้าอายุมากแล้ว ไม่นานข้าคงต้องกลับไปดูแลปรนนิบัติท่าน
และหากข้าเพิ่มความมานะฝึกฝนให้มากยิ่งขึ้น ต้องใช้เวลาสักเท่าไหร่?”

“อืม อาจจะเป็นสามสิบปี”
“ท่านพูดอย่างนั้นได้ยังไง? เมื่อกี้ก็บอกว่าสิบปี ตอนนี้ก็บอกว่าสามสิบปี
ข้าไม่กลัวความลำบากอะไร แต่ต้องใช้เวลาที่สั้นที่สุดที่จะถึงสุดยอดเคล็ดวิชา”

“อืม ถ้าอย่างนั้น เจ้าคงต้องฝึกอีกเจ็ดสิบปีถึงจะได้ อย่างเจ้าเร่งรีบที่จะหวังผล
ส่วนใหญ่มักจะไปไม่ถึงจุดมุ่งหมาย”
ในที่สุด ชายหนุ่มนั้นก็เข้าใจแล้วว่า เป็นเพราะตนเองขาดความอดทนจึงถูกปฏิเสธ
จึงตอบว่า “ก็ได้ ข้ายอมทำตามแล้ว”

                   

แต่อาจารย์นั้นก็ตั้งกฎไว้ว่า ห้ามพูดถึงเรื่องต่างๆของกระบี่ และห้ามแตะต้องถูก
ดาบทุกชนิด และให้ทำครัว ล้างจาน จัดที่นอน เก็บกวาดบ้านและทุกที่ทั่วบริเวณ
รวมทั้งดูแลสวนดอกไม้ด้วย แล้วก็ไม่เคยพูดถึงเรื่องการฝึกกระบี่เลย

สามปีผ่านไป ชายหนุ่มนั้นก็ยังคงทำงานหนักอยู่อย่างนั้น ทุกครั้งที่คิดถึง
อนาคตของตนเอง ก็รู้สึกเศร้าใจยิ่งนัก ที่เคยตั้งใจไว้จะฝึกกระบี่ให้ได้ดี
แต่ไม่เคยไม่เคยได้ฝึกเลยแม้แต่ครั้งเดียว

วันหนึ่ง ท่านอาจารย์ค่อยๆย่องไปทางด้านหลังเขา แล้วใช้กระบี่ไม้แทงเขา
อย่างแรงไปหนึ่งครั้ง
วันที่สอง ขณะที่ชายหนุ่มกำลังสาละวนอยู่กับการทำกับข้าว
ท่านอาจารย์ก็ย่องไปแทงด้านหลังอีก

หลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ชายหนุ่มนั้นจะต้องคอย
ระมัดระวังป้องกันไม่ให้ถูกแทง วันหนึ่งยี่สิบสี่ชั่วโมง หากไม่ระวังแม้แต่
วินาทีเดียว เขาก็จะได้ลิ้มรสชาติของการถูกแทง
แต่เขาก็ได้เรียนรู้เหตุผลของหลักการนี้ หลังจากที่เข้าใจแล้ว อาจารย์ก็ยอม
สอนวิชาให้ ที่สุดเขาก็ได้เป็นกระบี่มือหนึ่งแห่งยุคนั้น

                                     

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version