ผู้เขียน หัวข้อ: ทาน ศีล ภาวนา  (อ่าน 8614 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:02:46 pm »
อภัยทาน มีวิธีการปฏิบัติอย่างไร ?
-http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=479.0-


 ฉะนั้น  ทุกครั้งที่เราเห็นเหตุการณ์แปลกประหลาดเกิดขึ้นกับชีวิตใครหรือแม้แต่เกิด กับเราเอง  และเราเองไม่สามารถจะวิเคราะห์ได้ด้วยปัญญาธรรมดา  ขอให้ลองมองผ่านกฎเกณฑ์แห่งกรรมดูบ้าง  ก็จะช่วยให้จิตใจของเราโปร่งเบาขึ้นมาได้

 การคิดถึงกฎแห่งกรรม หาใช่การคิดแบบทอดธุระ หรือโยนบาป  โดยไม่คิดจะแก้ปัญหาไม่  การคิดเรื่องกฎแห่งกรรม  เป็นหลักการสัญข้อหนึ่งในการแก้ปัญหาทางใจตามหลักพระพุทธศาสนา  หลักธรรม เป็นกฎเกณฑ์ที่ให้ผลได้แยบยลทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ปัญหาบางอย่างที่แก้ไม่ตก  ที่สลัดไม่ออก  ที่ไม่มีทางจะหลบลี้หนีได้  เป็นสิ่งที่เราต้องแบกรับด้วยชีวิต  เราต้องพิจารณาความจริงย้อนหลัง  และยอมรับเหตุการณ์นั้นให้ได้

 สิ่งหนึ่งที่ควรคิดคือ  เรื่องผลกรรมที่เกิดขึ้นจากกรรมในอดีตที่เราไม่ได้ทำให้เป็น  “อโหสิกรรม”  คือไม่ยอมให้อภัยในภพชาติที่แล้ว  และวันนี้สิ่งที่เกิดกับเรา  จึงเป็นสิ่งสมควร  สมเหตุสมผล
 วิธีแก้คือ  เราต้องยอมรับความจริงของสิ่งที่เกิดกับตัวเรานั้นให้ได้  หากคิดได้เช่นี้  ก็จะทำให้จิตใจเราเยือกเย็นและอ่อนโยนลงได้

 ความทุกข์ส่วนใหญ่  มักเกิดจากการไม่ยอมรับความจริงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้  ความทุกข์ของมนุษย์ส่วนมาก  มักเกิดจากต้องการเปลี่ยนแปลง  แต่เปลี่ยนไม่ได้  หรือไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง  แต่กลับเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น

 ถามว่าการให้อภัยในความผิดพลาดของคนๆ หนึ่ง  เป็นสิ่งที่ทำยากหรือง่าย  คำตอบคือ ทำง่าย  หากเราฝึกหัดทำเป็นประจำ

 ขอให้เราฝึกเสมอๆ ว่า  ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรกับเรา  ขอให้เราฝึกให้อภัยทุกวัน  ทำเหมือนที่เราแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์  ขอให้เราทำทุกครั้ง  ทำทุกวินาที  ทำเหมือนกรวดน้ำหลังทำบุญ  เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่

 เมื่อเราสร้าง  “อภัยทาน”  ให้เป็นลักษณะนิสัยตลอดเวลาได้แล้ว  เราจะรู้สึกว่า  การให้อภัยแก่ใครนั้น  เป็นเรื่องง่ายดาย  เป็นเรื่องธรรมดาๆ  คือทำได้โดยไม่ต้องฝืนใจทำ

 ขอให้เราทราบไว้ว่า  เมื่อเราหัดสร้าง  “อภัยทาน”  เป็นปกติแล้ว  เศษกรรมต่างๆ  แทนที่จะติดตามเราไปข้ามภพข้ามชาติ  ก็จะถูกสลัดออก  คือตามไปไม่ได้  เพราะมิได้เป็นกรรมอีกต่อไป  หากแต่เป็นแต่เพียงกิริยาที่แสดงออก  เพราะเราให้อภัยเสียแล้ว

 เมื่อเราให้อภัยเสียแล้ว  ใครๆ ที่ผูกอาฆาตพยาบาทเราไว้  แรงพยาบาทของเขา  ก็จะหมดโอกาสติดตามเรา  เพราะกรรมนั้นหมดแรงส่ง  เนื่องจากเราได้ “อโหสิ”  เสียแล้ว

 จึงขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย  มาฝึกปฏิบัติ  “อภัยทาน”  และ  “อโหสิกรรม”  ตั้งแต่บัดนี้กันเถิด  เพื่อยุติสนิมในใจ  คือความอาฆาตพยาบาท  เพื่อยุติแรงส่งของกรรมที่ตามไปเผล็ดผลอันเผ็ดร้อนข้ามภพข้ามชาติ

 พึง หลับตาให้ใจสงบครู่หนึ่งก่อน  แล้วตั้งใจกล่าวคำแผ่เมตตาเบาๆ  ดังนี้
  สัพเพ  สัตตา    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
  อเวรา  โหนตุ    จงเป็นสุขๆ เถิด  อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย
  อัพยาปัชฌา  โหรตุ   จงเป็นสุขๆ เถิด  อย่าได้พยาบาทเบียดเบียน
ซึ่งกันและกันเลย
  อนี ฆา  โหนตุ    จงเป็นสุขๆ เถิด  อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
  สุขี  อัตตานัง  ปริหรันตุ   จงเป็นผู้มีสุข  รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น
เทอญ

ตายไม่มี
 “สัตว์ทุกชนิดกลัวตาย  เพราะคิดว่าความตายเป็นภัยร้ายแรงของชีวิต  ผวาว่าความตายใครๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้  เกิดความสิ้นหวังท้อแท้ว่าความตายไม่อาจรักษาด้วยการเยียวยาใดๆ  แต่ความจริงแล้วความตายนี้แลคือทิพยโอสถชนิดเลิศ  ที่ธรรมชาติใช้รักษาโรคร้ายทุกชนิดของธาตุขันธ์  ความตายจึงมิใช่สิ่งที่น่ากลัวเพราะความตายเป็นทิพยโอสถของชีวิต”

 สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนให้พิจารณามรณสติเพื่อบรรเทาความมัว เมาในชีวิต  ในเวลา  ในความประมาท  ก็เพราะต้องการให้คนมีสติตื่นตัว  ให้รู้ว่า ความตายอยู่แค่ปลายจมูกเท่านั้น  เรารู้วันเวลาเกิดได้  แต่เวลาตายเราไม่รู้  และไม่มีทางจะรู้ด้วยหากไม่เจริญมรณสติเป็นประจำ

 การเจริญมรณสติ  คือนึกถึงความตายบ่อยๆ  อย่างนี้  จะสอนใจให้กล้าเผชิญความจริงได้ไม่ยาก
 เมื่อพิจารณาความจริงอีกขั้นหนึ่ง  เหนือจากสมมติสัจจะคือ  พิจารณาให้เห็นความจริงตามหลักธรรมชาติ  มองทุกอย่างให้เห็นเป็น อนัตตา  ปราศจากตัวตนที่ควรเข้าไปยึดมั่น  อย่างที่ตรัสแสดงใน  อนัตตลักขณสูตร  เราก็จะเข้าใจได้ว่า  ความตายไม่มี  และไม่มีอะไรตาย  สิ่งที่เราเรียกว่าตายเป็นแต่เพียงการปรับตัว  และเปลี่ยนสภาพของธาตุ  ๔ คือ  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  กับวิญญาณของธาตุเท่านั้น
 
ตามธรรมดาของร่างกายเป็นทุกข์และอยู่ได้ยาก  ต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา  เราเห็นกันทุกคน  แต่มีน้อยที่ใส่ใจ

 ขอให้พิจารณาง่ายๆ  ดังนี้  จากเล็กสุดในท้องแม่  เลือดก้อนหนึ่งค่อยเจริญเติบโตมาเป็นตัวคน  เมื่อโตมากก็จำต้องออกมาอยู่นอกท้องแม่  มิฉะนั้นจะเกิดปัญหา  เราสมมติเรียกว่า “เกิด”  แท้จริงการเกิดก็คือวิธีเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ทนได้ยากอย่างหนึ่งของธรรมชาติ นั่นเอง  จากนั้นก็เป็นก้อนเลือดมีชีวิต  นอนแบเบาะ  หัดกิน  หัดพูด  หัดคลาน  หัดรับสัมผัสจากโลกใบใหญ่นอกครรภ์แม่  การพึ่งตัวเองมีมากขึ้นตามลำดับ

 เขาต้องกินเอง  ดื่มเอง  หัดเดินเอง  และการที่ได้คิดเอง  ทำเองนี่แล  เป็นความปรารถนาสุดยอดของชีวิต

 ความยิ่งใหญ่ของชีวิตอยู่ที่ได้รับอิสรภาพตามลำดับ  เป็นอิสระทั้งกายและใจตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่องวิมุติ  ความหลุดพ้น  แท้จริงแล้วก็คืออิสรภาพนั่นเอง  เพราะหลุดพ้นจากบ่วงจึงเป็นอิสระแล้ว  อะไรคือบ่วงคล้องชีวิต

 ต่อมาเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย  เขาก็หัดเดินเอง  วิ่งเอง  วินาทีแรกที่เขาเกินเองได้โดยที่ไม่มีคุณแม่คอยประคอง  เป็นวินาทีแห่งความสุข  เมื่อเขายืนด้วยลำแข้งของตนเองได้เป็นอิสระไม่เป็นภาระของใคร  เป็นตัวของตัวเองแล้ว  ความภูมิใจจะเกิดขึ้นทันที

 เขาจะรู้สึกมั่นใจในชีวิต  แต่ก็มั่นใจเพราะมีคุณพ่อคุณแม่ยืนเคียงข้าง  เพราะภายในจิตลึกๆ  ก็ยังต้องการที่พึ่งอยู่  ใจยังต้องมีที่พักพิงที่มั่นคง  นั่นคือที่พึ่งอันอบอุ่นจากคุณพ่อคุณแม่

 วัยเด็กนี้เอง  เป็นวันที่หนูน้อยต้องได้รับการอบรมบ่มเพาะปลูกฝังจริต  นิสัย  ใจคอ  เรียนรู้ดีชั่ว  ควรมิควร  เรียนรู้ ถูกกับผิด  จากคุณพ่อคุณแม่  ก่อนที่จะออกไปสู่โลกกว้าง  ทางไกล

 การเรียนรู้ถูกกับผิดนั้น  เรียนได้จากทุกสถานที่  เพราะเป็นขาวกับดำชัดเจน  และมีกฎเกณฑ์ตายตัว  ส่วนการจะรู้ว่าอะไร ควรไม่ควร นั้นยาก  ต้องใช้ใจต่อใจ  ใช้จิตสำนึกแทนตัวอักษร  ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เท่านั้นจะให้เราได้ดีกว่าใครๆ  ในข้อนี้

 บางครั้งสิ่งที่ว่าถูกต้องนั่นเองกลับเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ  ไม่ควรพูด  ไม่ควรคิด  เรื่องละเอียดอ่อนเช่นนี้  คนที่จะกล้าบอกเรา  ก็มีแต่คนที่รักเราจริงๆ  เท่านั้น  แล้วใครเล่าจะรักเราบริสุทธิ์  มีความเมตตาอาทร  และอ่อนโยนเท่ากับพ่อแม่

 โตมาหน่อย  เราก็ต้องเรียนรู้โลกกว้าง  มีการศึกษา  มีงานทำ  มีครอบครัว  แล้วชีวิตใหม่ต้วน้อยก็ถือกำเนิดมาดูโลกกับเราอีก  เจ้าหนูน้อยก็เป็นอย่างที่เราเคยเป็น  เขาเริ่มต้นชีวิตอย่างที่เราเคยเริ่มต้นมา  วันผ่านไป  วัยก็ตามมา  แต่สิ่งที่ผ่านมามิใช่เพียงกาลเวลาที่ผ่านไป  ทุกอย่างได้จารึกปรัชญาชีวิตเอาไว้ให้เราได้รำลึกถึงทุกเหตุการณ์ณ์เสมอ  แม้ความจำจะลืมบางอย่างไปแต่ใจยังจดจำ

 ขณะที่ลูกเจริญไปข้างหน้า  ความชราตามหาเรา  วัยเราเจริญลง  วัยลูกเจริญขึ้น  ก็มาถึงช่วงวัยแก่เฒ่า  เราอาจคิดว่าตัวเองแก่  เพราะเห็นหน้าตาเหี่ยวย่น  ผมหงอก  ฟันหลุด  เจ็บปวด  ป่วยไข้ไม่สบาย  เรี่ยวแรงหมด  นั่งโอย  แม้นอนก็ยังโอย  เราคิดว่านี่คือวัยชรา

 ความเป็นจริงเราชรามาตั้งแต่เกิด  ชรามาเยือนเราตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  แต่เราไม่คิดกันเท่านั้นเอง
 คำว่า “วัย” ที่เราพูดว่าเจริญวัย  แท้จริงก็คือเจริญความเสื่อมเพราะคำว่า  “วัย”  แปลว่า “เสื่อมสินไป”  เราแก่ตั้งแต่เกิด  เรามิได้แก่เฉพาะวันนี้เท่านั้น

 และแล้วก็มาถึงบั้นปลายของชีวิต  เราเรียกว่า “ตาย”  ความจริงตายไม่มี  ตายเป็นเพียงคำสมมติเรียกชื่อ  “ทิพยโอสถ”  ที่สามารถรักษาโรคร้ายทุกชนิด

 ที่เราสมมติเรียกว่าตายนั้น  เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ขันธ์ ๕  ปรับความสมดุลเท่านั้นเอง
 ความสมดุลของธาตุ ๔   ขันธ์ ๕  คือการดำรงอยู่อย่างเป็นสุขของชีวิต  ถ้าธาตุ ๔  ขันธ์ ๕  ขาดความสมดุล  ชีวิตก็เป็นทุกข์เพราะความเจ็บ  ก็คือความไม่สมดุลของธาตุทั้ง ๔  ขันธ์ ๕

เมื่อเจ็บมาก  ก็แสดงว่า  ธาตุตัวใดตัวหนึ่งทำงานบกพร่อง  เช่น  อาหารไม่ย่อยเราก็เป็นทุกข์  แสดงว่าธาตุไฟไม่ทำงาน  ธาตุดินมีปัญหา  ระบบเลือดแย่  แสดงว่าธาตุน้ำเดินไม่สะดวก  เป็นต้น
 เมื่อธาตุทั้ง ๔  ทำงานไม่ได้  หรือทำงานไม่คล่องตัว  ตัวชีวิตก็รวนเร  ทรงตัวอยู่ไม่ได้  ก็จำเป็นต้องปรับสภาพเพื่อให้อยู่ได้  วิธีปรับสภาพอาจจะด้วยวิธีใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย  มีเยียวยา  หรือผ่าตัด  สุดแท้แต่ความเหมาะสม

 ในโลกแห่งเทคโนโลยี  มนุษย์เราช่างอาจหาญพากเพียรต่อสู้เอาชนะความตายด้วยวิธีการต่างๆ  แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้  เพราะเป็นการพยายามที่ฝืนระบบธรรมชาติ  หากไม่ฝืนธรรมชาติ  วินาทีธาตุขันธ์แยกจากกัน  ก็จะเป็นความสงบสุขมากกว่านี้  เพราะไม่ได้ถูกบีบบังคับ

 ความจริง  คนเราเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ควรจะปล่อยให้ธรรมชาติเยียวยาดีกว่า  มิใช่ยอมให้เทคโนโลยีมาก้าวก่ายจนเกินไป  ชีวิตมาจากธรรมชาติ  ก็จำเป็นต้องใช้ธรรมชาติเยียวยา  มิใช่เทคโนโลยีจนนาทีสุดท้าย

 ธรรมชาติคือหมอที่ดีที่สุดของชีวิต  เมื่อธาตุ ๔  จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองขั้นสุดท้าย  ขอยืนยันว่า  มิใช่เทคโนโลยี  มิใช่เครื่องมือทางวัตถุ  ต้องเป็นธรรมชาติ  มนุษย์เราควรปล่อยให้ตัวชีวิตเป็นอิสระก่อนสิ้นลมจะดีกว่า  เพื่อให้ธาตุ ๔  ขันธ์ ๕  ปรับสภาพเข้าหากันให้ลงตัว  ให้จบลงอย่างเป็นสุข
 ธรรมชาติไม่เคยทำลายใคร  ไม่เคนก่อทุกข์ให้ใคร  การฝึกต่างหากที่เป็นการก่อทุกข์  ขอให้มั่นใจในระบบการทำงานของธรรมชาติเพราะตัวตนของเรามาจากธรรมชาติ

 เพราะฉะนั้น  ความตายไม่มี  มีแต่เพียงการปรับเปลี่ยนสภาวะของธาตุขันธ์เท่านั้น  เหมือนกับตะวันออกตะวันตกไม่มี  มีเพียงการเคลื่อนไหว  หมุนตัว (วัฏฏะ)  ของลูกโลก  เมื่อมองจากจุดที่อยู่เหนือโลก  (โลกุตระ)  หรือนอกโลกเรา  คือมองจากความเป็นจริงมิใช่มองจากสิ่งที่เราเห็นด้วยตา  เช่น  มุมมองจากยานอวกาศ  เราก็จะเห็นเพียงลูกโลกดวงกลมๆ  ไม่มีที่ใดบอกว่าตะวันออกด้านนี้ตะวันตกด้านโน้น  ทุกอย่างเป็นวงโคจรการทำงานตามธรรมชาติในระบบสุริยจักรวาล

 เมื่อมองจากสภาวะที่เป็นจริงของชีวิตในมุมที่เป็นจริง  เกิดแก่เจ็บตายก็เป็นการทำงานตามระบบธรรมชาติเท่านั้น  เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  จึงเป็นเพียงวงจรการเดินทาง (สังสารวัฏ)  ของชีวิต  เหมือนเราเห็นพระอาทิตย์ขึ้น  แล้วก็เดินทางไปสู่การอัสดง  นั่นเป็นการมองตามที่ตาเห็นเท่านั้น

 เมื่อเราไม่เห็นดวงอาทิตย์  เราคิดว่าอาทิตย์ตกดิน  แต่ความจริงมิใช่ดวงอาทิตย์ตกดิน  และก็มิใช่ว่าไม่มีดวงอาทิตย์  วินาทีที่หายไปจากสายตาเรานั่นเอง  ดวงอาทิตย์ก็ไปปรากฏแก่สายตาของคนอีกผากหนึ่งของมุมโลก

 อีกมิติหนึ่งของชีวิตก็เช่นกัน  เมื่อธาตุ ๔  ขันธ์ ๕  แยกกันตามธรรมชาติเราร้องไห้เสียใจ  เพราะมองว่าเป็นการตาย  มองเห็นเหมือนอาทิตย์อัสดง  แต่อาจจะมีมิติหนึ่งที่กำลังหัวเราะดีใจรับชีวิตใหม่เหมือนกับคนอีกฟากหนึ่ง กำลังรอให้พระอาทิตย์อุทัยแสงในมุมของตน

 นี่คือสิ่งที่พิจารณาตามความจริง  ทั้งระบบสุริยจักรวาลและระบบของชีวิต  ซึ่งชีวิตเองเป็นเพียงเศษธุลีของ สุริยจักรวาลเท่านั้น

 มนุษย์เกิดมาสู่โลก  นึกว่าโลกนี้เป็นของเรา  เราเป็นเจ้าของจึงยึดยื้อฉุดแย่งแบ่งปันกันเป็นเจ้าของ  ความยึดมั่นครอบครองจึงเกิดขึ้น  เพราะมนุษย์ยึดติด  กำโลกไว้แน่นนี่เอง  เขาจึงเป็นทุกข์  เป็นทุกข์เนื่องจากไม่เคยสมหวังในสิ่งใดจริงๆ  พอกำสิ่งนี้ไว้ได้  อย่างอื่นก็หลุดมือ  ต้องคว้าหาใหม่ตลอดเวลา  เมื่อได้มาก็ดูเหมือนดีใจ  แต่พอเสียไปก็เป็นทุกข์

 ความจริงแล้ว  ไม่มีอะไรเลยจริงๆ  ที่เข้าไปยึดถือแล้วไม่ทำให้เราเจ็บตัว  แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ  น้อยๆ ก็ตามท่านจึงสอนให้อยู่ในโลกนี้อย่างบางเบา  สัมผัสสมบัติของโลกแต่เพียงแผ่วเบา  อย่าหอบหิ้ว  แบกหาม  กอดกำ  เหนี่ยวรั้ง  คือ  เมื่อทำชีวิตบนโลกให้บางเบา  แล้วเราจะพอหาความสุขในชีวิตได้บ้าง  แต่ถ้าพิจารณาความจริงของชีวิตและของโลก  ต้องให้หนักแน่น  ทำแผ่วเบาไม่ได้

 แปลว่า  ถึงจุดหนึ่ง  ต้องไม่คิดแบกหามยึดมั่นมาก  เพราะไม่มีอะไรเป็นของเราจริงๆ  แม้สิ่งที่เรามีกรรมสิทธิ์วันนี้  สุดท้ายก็มิใช่ของเรา  สิ่งที่เรารักที่สุดก็ไม่อาจอยู่กับเราได้  เพราะสุดท้ายปลายทางเราต้องจากสิ่งนั้นไป  ทิ้งทุกอย่างไว้ให้คนข้างหลังดูแล ชีวิตเป็นของน้อยอย่างนี้

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 24, 2010, 04:02:52 PM โดย nathaponson »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:03:26 pm »
อภัยทาน มีวิธีการปฏิบัติอย่างไร ?
-http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=479.0-

มีเรื่องเล่าว่า  เหล่าเทพบุตรเทพธิดากำลังเก็บดอกไม้บนสรวงสวรรค์  เทพธิดาตนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลดี  มีสามี  มีลูก  มีทรัพย์สมบัติมาก  ทำบุญทำทาน  รักษาศีล  เจริญสมาธิปัญญาในพระพุทธศาสนา  ทำประโยชน์ให้แก่แผ่นดินมาก  เมื่ออายุได้ ๙๐ กว่า  ก็สิ้นอายุ  เธอไปเกิดเป็นเทพธิดาอีกครั้ง  หัวหน้าเทพเมื่อเห็นเธอจึงถามว่า  เมื่อเช้านี้เธอหายไปไหน

 เธอก็เล่าให้ฟังว่า  เธอไปเกิดในมนุษย์โลก  มีครอบครัวแสวงหาสมบัติ  เกลือกกลั้ว  เกลื่อนกล่นอยู่กับการมี  การเป็น  มีสามี  มีลูก  มีเกียรติ  มียศ  มีเพื่อนฝูง  มีบริวาร  เลี้ยงลูกจนเติบโต  มีหลาน  มีเหลนไม่น้อย  และเธอก็มีอายุยืนถึง  ๙๐ ปี  ด้วยอานิสงส์บุญเมื่อตายลงจึงมาเกิดที่นี่อีก

 เทพบุตรฟังแล้วถึงกับตะลึงว่า  ชีวิต ๙๐ ปีในโลกมนุษย์นั้นเป็นเพียงชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของเทวโลกเท่านั้นหรือ

 บาง ท่านอาจไม่เข้าใจ  แต่เมื่อมองดูภพภูมิต่างมิติระหว่างมนุษย์เรากับสัตว์เดรัจฉานก็น่าจะเห็น ได้ชัด  สัตว์บางตัวมีอายุเพียง ๗ วัน  ๑๕ วัน  ๑ เดือน  เขาก็เต็มที่แล้ว  ขณะที่เรามีอายุขัย ๘๐ หรื ๙๐ ปี  หรือสัตว์เดรัจฉานบางชนิดก็มีอายุมากกว่าเราหลายเท่า  เช่น  เต่า  ช้าง  เป็นต้น

 การเรียนรู้ชีวิต  ต้องมองให้เห็นความจริงทั้งในภพกว้างและมุมแคบ  เพื่อคลายความติดยึดอันรุนแรง  ที่ท่านเรียกว่า  "อุปทาน”  ตัวติดยึดนี่เอง  คือจุดกำเนิดแห่งทุกข์ทั้งปวง

 เราอยู่ในโลกยุคเทคโนโลยี  โลกทั้งโลกอยู่ในกำมือเราก็จริงแต่ไม่อาจกำทุกสิ่งไว้ในอำนาจ  ทุกอย่างผ่านมาแล้วก็ผ่านไป

 การมองชีวิตตามหลักสัจธรรม  ตามธรรมชาติ  แก้ทุกข์ได้ยิ่งคราที่ใจได้ทุกข์ถึงที่สุดเราต้องกล้าหาญ  มองให้เห็นความจริง  กล้าเผชิญรากแก้วความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ)  นี้ให้ได้  เพราะความจริงทำให้คนฉุกคิดได้  ความจริงตามธรรมชาติไม่เคยทำร้ายใคร  หรือทำลายใคร  ท่านจึงบอกว่าประเสริฐ  สิ่งที่ทำให้คนลุ่มหลงต่างหากที่ประทุษร้ายคน

 ความตายไม่มี  มีเพียงการปรับสภาพของธาตุขันธ์
 เมื่อปรับเปลี่ยนได้ที่  ซ่อมแซมจุดบกพร่องได้แล้ว  ก็มารวมตัวกันใหม่  เราก็สมมติว่า “เกิด”  เมื่อเกิดแล้วโต  แก่เฒ่า  และทำงานหนัก  เมื่อชำรุดทรุดโทรมก็จำเป็นต้องซ่อม  หากซ่อมไม่ไหวก็แยกส่วน  ซึ่งเราสมมติเรียกว่า  “ตาย"” และก็วนเวียนกันอยู่เช่นนี้  เกิด-ตาย  เกิด-ตาย  เป็นวังวนแห่งสังสารวัฏ  ชีวิตมีเท่านี้จริงๆ

“ความตายไม่มี  มีแต่การปรับเปลี่ยนเพื่อความสมดุลของธรรมชาติเท่านั้น”
 คำนี้สำคัญ  ที่เราควรใคร่ครวญพิจารณาทุกเช้า  หลังตื่นนอน  ก่อนออกจากบ้าน  แม้ในที่ทำงาน
 ขณะที่ย่ำเท้าเปล่าลงบนยอดหญ้า  ก่อนจะลงมือทำอะไรทั้งหมดในวันนั้น  ให้พิจารณาความจริงตรงนี้ก่อน  ให้รุ่งอรุณของแต่ละวันเป็นรุ่งอรุณที่สดใส  เป็นรุ่งอรุณที่งดงามกับชิต

 ขณะที่พระอาทิตย์ทอแสงส่องโลก  ปัญญาต้องทอแสงส่องใจ
 การปรับเปลี่ยนชีวิตต้องการวิถีธรรมชาติ  มิใช่เทคโนโลยี  หมอที่ดีที่สุดที่จะปรับความสมดุลของธาตุ ๔  ขันธ์ ๕ คือธรรมชาติ

การเข้าใจระบบการทำงานของธรรมชาติ  ต้องเท้าเปล่าสัมผัสดิน  ต้องทำใจให้อยู่เหนืออารมณ์  มองโลกตามความเป็นจริง  เมื่อเข้าใจธรรมชาติ  ก็จะเข้าใจสัจธรรม  และการกล้าเผชิญความจริงของชีวิตเท่านั้น  ที่จะช่วยรักษาเยียวยาคราวที่ทุกข์สัมผัสใจ

 โอกาสตรงนี้  ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน  ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะหรือฐานะใด  เพียงแต่ใครจะเริ่มต้นเรียนรู้ก่อนใครเท่านั้นเอง
...
ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือ  อภัยทาน  รักบริสุทธิ์  โดย ปิยโสภณ  วัดพระราม ๙  กาญจนาภิเษก
http://www.dhammasavana.or.th/article.php?a=131
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:10:47 pm »
อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต
ปัญจมวรรค ทานสูตร
-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=278-

               อรรถกถาทานสูตร               
               ในทานสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ทานํ ได้แก่ สิ่งที่พึงให้. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาพร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่าทาน. บทว่า ทาน นี้ เป็นชื่อของการบริจาคสมบัติ. บทว่า อามิสทานํ ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสทานด้วยสามารถแห่งความเป็นของที่จะต้องให้.

               อธิบายว่า ปัจจัย ๔ เหล่านั้น ท่านเรียกว่าอามิส เพราะเป็นเครื่องจับต้องด้วยกิเลสมีตัณหาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาเป็นเครื่องบริจาคปัจจัย ๔ เหล่านั้น ชื่อว่าอามิสทาน.

               บทว่า ธมฺมทานํ ความว่า บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เมื่อ (แสดง) จำแนกกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถออกไปว่า
               ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
               ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ
               ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ตำหนิ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
               ธรรมเหล่านี้สมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไร้ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดังนี้
               กระทำกรรมและผลของกรรมให้ปรากฏ ดุจชี้ให้เห็นโลกนี้และโลกหน้า โดยประจักษ์แสดงธรรม ให้เลิกละอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมทาน

               ส่วนบุคคลบางพวกชี้แจงสัจจะทั้งหลายให้แจ้งชัดว่า
                         ธรรมเหล่านี้เป็นอภิญไญยธรรม
                         ธรรมเหล่านี้เป็นปริญไญยธรรม
                         ธรรมเหล่านี้เป็นปหาตัพพธรรม
                         ธรรมเหล่านี้เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม
                         ธรรมเหล่านี้เป็นภาเวตัพพธรรม ดังนี้

               แสดงธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อบรรลุอมตธรรม นี้ชื่อว่าธรรมทานขั้นสุดยอด.
               บทว่า เอตทคฺคํ ตัดบทเป็น เอตํ อคฺคํ แปลว่า (ธรรมทานนี้เป็นเลิศ).
               บทว่า ยทิทํ ความว่า บรรดาทานสองอย่างเหล่านี้ ธรรมทานที่กล่าวแล้วนี้นั้น เป็นเลิศคือประเสริฐสุด ได้แก่สูงสุด.
               อธิบายว่า บุคคลจะหลุดพ้นจากอนัตถะทั้งปวง คือก้าวล่วงทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ ก็เพราะอาศัยธรรมทานอันเป็นอุบายเครื่องยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ก็ธรรมทานที่เป็นโลกิยะ เป็นเหตุแห่งทานทุกอย่าง คือเป็นรากเง่าของสมบัติทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
                                   การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
                         รสแห่งพระธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
                         ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
                         ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.๑-
____________________________
๑- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๔

               ในอธิการนี้ อภัยทานพึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เข้ากันด้วยธรรมทานนั่นเอง. การไม่บริโภคปัจจัยทั้งหลายเสียเอง แต่ปัจจัย ๔ อันตนพึงบริโภคแล้วแจกจ่ายแก่คนเหล่าอื่น โดยมีความประสงค์จะเผื่อแผ่แก่คนทั่วไป ชื่อว่า อามิสฺสํวิภาโค (แจกจ่ายอามิส). ความเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายน้อย แสดงอ้างธรรมที่ตนรู้แล้ว คือบรรลุแล้วแก่คนเหล่าอื่น โดยมีความประสงค์จะเผื่อแผ่ธรรมแก่คนทั่วไป ชื่อว่า ธมฺมสํวิภาโค (แจกจ่ายธรรม).
               การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์คนเหล่าอื่นด้วยปัจจัย ๔ และด้วยสังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า อามิสานุคฺคโห (อนุเคราะห์ด้วยอามิส). การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์คนเหล่าอื่นด้วยธรรม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ชื่อว่า ธมฺมานุคฺคโห (อนุเคราะห์ด้วยธรรม).
               คำที่เหลือมีนัยกล่าวแล้วทั้งนั้น.
               พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
               บทว่า ยมาหุ ทานํ ปรมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายตรัส ทานใดว่าเยี่ยม คือสูงสุด โดยความที่จิต (เจตนา) เขต (ปฏิคาหก) และไทยธรรมเป็นของโอฬาร หรือโดยยังโภคสมบัติเป็นต้นให้บริบูรณ์ คือยังโภคสมบัติเป็นต้นให้เผล็ดผล.
               อีกอย่างหนึ่ง ตรัสว่าเยี่ยม เพราะย่ำยีคือกำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์อื่นๆ มีโลภะและมัจฉริยะเสียได้.
               บทว่า อนุตฺตรํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายตรัสทานใด ชื่อว่าเว้นจากทานอื่นที่ยอดเยี่ยมกว่า และให้สำเร็จความยิ่งใหญ่ เพราะยังเจตนาสมบัติเป็นต้นให้เป็นไปดียิ่ง และเพราะความเป็นทานมีผลเลิศ โดยความเป็นยอดทาน.
               แม้ในบทว่า ยํ สํวิภาค นี้พึงนำเอาบททั้งสองว่า ปรมํ อนุตฺตรํ มาเชื่อมประกอบเข้าด้วย.
               บทว่า อวณฺณยิ ความว่า ประกาศแล้ว คือสรรเสริญแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า๒-
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกเมื่อให้โภชนะ ชื่อว่าย่อมให้ฐานะทั้ง ๕ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ดังนี้ และโดยนัยมีอาทิว่า๓-
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลของการจำแนกทานอย่างนี้ ดังนี้.
____________________________
๒- องฺ. ปญฺจก. เล่ม ๒๒/ข้อ ๓๗
๓- ขุ. อิติ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๐๔

               ก็เพื่อจะทรงแสดงทานและวิธีที่การจำแนกทานว่า (มีผล) อย่างยิ่ง คือยอดเยี่ยมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า อคฺคมฺหิ ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคมฺหิ ความว่า ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในพระอริยสงฆ์ผู้ประเสริฐที่สุด คือเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม เพราะประกอบไปด้วยคุณพิเศษมีศีลเป็นต้น.
               บทว่า ปสนฺนจิตฺโต ความว่า ยังจิตให้เลื่อมใส คือกำหนดด้วยความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม และความเชื่อในพระรัตนตรัย.
               อธิบายว่า ทานคือการให้ไทยธรรมแม้น้อย ย่อมมีอานุภาพมาก คือสว่างโชติช่วง แผ่ไพศาลไปได้มาก เพราะความถึงพร้อมด้วยจิต (เจตนาสัมปทา) และเพราะความถึงพร้อมด้วยเขต (ปฏิคาหก).
               สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า
                                   เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักษิณาทาน (ที่บำเพ็ญ)
                         ในพระตถาคตเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสาวก
                         ของพระองค์ ชื่อว่ามีผลน้อย ย่อมไม่มี ดังนี้.๔-
____________________________
๔- ขุ. วิมาน. เล่ม ๒๖/ข้อ ๔๗

               บทว่า วิญฺญู ได้แก่ ผู้มีปัญญา.
               บทว่า ปชานํ ความว่า รู้ชัดซึ่งผลของทานและอานิสงส์ของทานโดยชอบทีเดียว.
               บทว่า โก น ยเชถ กาเล ความว่า ใครเล่าจะไม่ให้ทานในกาลเวลาที่สมควร.
               อธิบายว่า ทานย่อมสำเร็จ (เกิดมีพร้อม) เฉพาะในเวลาที่ประจวบกับเหตุ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ศรัทธา ๑ ไทยธรรม ๑ ปฏิคาหก ๑ ไม่ใช่เกิดมีได้โดยประการอื่น.
               อีกอย่างหนึ่ง จะให้ (ทาน) แก่ปฏิคาหกทั้งหลายได้ ในกาลอันควร (เท่านั้น)
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการจำแนกและอนุเคราะห์ด้วยอามิสทาน ด้วยพระคาถาที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงการจำแนกและการอนุเคราะห์ด้วยธรรมทาน จึงตรัสพระคาถาที่สองว่า เย เจว ภาสนฺติ ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภยํ ความว่า คนทั้ง ๒ ฝ่าย คือผู้แสดง (และ) ผู้ฟัง (ผู้รับ) ที่ท่านกล่าวไว้แล้วว่า ภาสนฺติ สุณนฺติ (ย่อมกล่าว ย่อมฟัง) ดังนี้.
               ก็ในบทว่า อุภยํ นั้น มีความย่อดังต่อไปนี้
               คนเหล่าใดมีจิตเลื่อมใสแล้วในศาสนา คือพระสัทธรรมของพระสุคต คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นประธาน คือวิมุตตายตนะย่อมแสดงด้วย ย่อมฟังด้วยประโยชน์ กล่าวคือธรรมทาน การแจกจ่ายธรรม และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมของผู้แสดงและปฏิคาหกเหล่านั้น ชื่อว่ายอดเยี่ยม เพราะยังปรมัตถประโยชน์ให้สำเร็จ ชื่อว่าย่อมบริสุทธิ์ เพราะหมดจดจากมลทินที่ทำความเศร้าหมองทุกอย่างมีความเศร้าหมองเพราะตัณหาเป็นต้น
               ถามว่า ของคนเช่นไร?
               ตอบว่า ของคนผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระสุคต ก็คนเหล่าใดไม่ประมาทในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือในโอวาทที่ทรงพร่ำสอนที่พระองค์ทรงประกาศแล้วโดยสังเขปอย่างนี้ว่า๕-
                         การไม่ทำบาปทั้งปวง ๑
                         การยังกุศลให้ถึงพร้อม ๑
                         การยังจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๑
                         นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
____________________________
๕- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๕๔   ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๔

               ดังนี้ แล้วยังสิกขา ๓ มีอธิสีลสิกขาเป็นต้นให้ถึงพร้อมโดยเคารพ ประโยชน์ย่อมบริสุทธิ์แก่คนเหล่านั้น ย่อมยังคนเหล่านั้นให้ผ่องแผ้วเกินเปรียบ ด้วยอรหัตผลวิสุทธิฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาทานสูตรที่ ๙               
               ---------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ปัญจมวรรค ทานสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 277อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 278อ่านอรรถกถา 25 / 279อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=6453&Z=6470

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:12:15 pm »
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
-http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=5079&Z=5126-


ปุญญาภิสันทสูตร

             [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้ นำความสุข
มาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ห้วงบุญ
ห้วงกุศล ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๑ นำความสุขมาให้ ให้
อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ

             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๒ ฯลฯ

             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้
เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๓ ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นมหาทาน อันบัณฑิตพึงรู้ว่า
เป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย
ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์
ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด ทาน ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่
เบียดเบียน แก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความ
ไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย
ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน หาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
ทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสาย
แห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิต
ไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วง
บุญห้วงกุศลประการที่ ๔ ฯลฯ

             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ
นี้เป็นทานประการที่ ๒ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๕ ฯลฯ

             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๓ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๖ ฯลฯ

             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ฯลฯ นี้
เป็นทานประการที่ ๔ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๗ ฯลฯ

             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ
สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง
ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นทานประการที่ ๕ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็น
เชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
อันบัณฑิตไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ ให้อารมณ์
อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล
เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๕๐๗๙ - ๕๑๒๖. หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=5079&Z=5126&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=129             
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_23

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:18:04 pm »
 ๗๔.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓
-http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/show.php?id=74-

จริยาปิฎก
๑. การบำเพ็ญทานบารมี
๑. อกิตติจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของอกิตติดาบส
           [๑]  ในสี่อสงไขยแสนกัป  ความประพฤติอันใดในระหว่างนี้   ความประพฤติทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ   เราจักเว้นความประพฤติในภพน้อยใหญ่ในกัปล่วงแล้วเสีย    จักบอกความประพฤติในกัปนี้  จงฟังเรา  ในกาลใด  เราเป็นดาบส  ชื่ออกิตติ  เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าใหญ่อันว่างเปล่า    สงัดเงียบ   ปราศจากเสียงอื้ออึง   ในกาลนั้น   ด้วยเดชแห่งการประพฤติตบะของเรา   สมเด็จอัมรินทร์ผู้ครองไตรทิพย์ทรงร้อนพระทัย        ทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา  เราได้เห็นอินทพราหมณ์มาขึ้นอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา     จึงเอาใบหมากเม่าที่เรานำมาแต่ป่า   อันไม่มีน้ำมัน    ทั้งไม่เค็มให้หมด      พร้อมกับภาชนะ.
             ครั้นได้ให้หมากเม่าแก่อินทพราหมณ์นั้นแล้ว เราจึงคว่ำภาชนะ    ละการแสวงหารบทมากเม่าใหม่    เข้าไปยังบรรณศาลา     แม้ในวันที่  ๒   แม้ในวันที่  ๓  อินทพราหมณ์ก็เข้ามายังสำนักของเรา   เราไม่หวั่นไหว  ไม่อาลัยในชีวิต  ได้ให้หมดสิ้นเช่นวันก่อนเหมือนกัน    ในสรีระของเราไม่มีความหมองศรีเพราะการอดอาหารนั้นเป็นปัจจัย  เรายังวันนั้น ๆ      ให้น้อมล่วงไปด้วย     ปีติ    สุข   และความยินดี   ถ้าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคลผู้ประเสริฐ      แม้เดือนหนึ่งสองเดือนเราก็ไม่หวั่นไหว     ไม่ท้อแท้ใจพึงทานอันอุดม  เมื่อให้ทานแก่  อินทพราหมณ์นั้น      เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้   เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น     จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้.
                           จบอกิตติจริยาที่  ๑
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:20:35 pm »
อานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล, ภาวนา )
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-http://www.kanlayanatam.com/sara/sara68.htm-

ทาน

การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

องค์ประกอบข้อที่ ๑ . " วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์ "
วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

ตัวอย่าง ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตและเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทาน คือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีก หากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่จะได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหามาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์นั้นก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ด้วย

ตัวอย่าง ๒ ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ รวมตลอดถึงการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะที่ไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้น ย่อมเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ ด้วยนำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า " บริโภคโดยความเป็นหนี้ " แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างไร สมัยหนึ่งในรัชการที่ ๕ มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อ " ยายแฟง " ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง ๒๕ สตางค์ แกจะชักเอาไว้ ๕ สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ ๒ , ๐๐๐ บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแกทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ ๑ สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะว่าเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูก ๆ แต่มาขายแพงจนเกินส่วนนั้น ย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน

วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลว ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่


องค์ประกอบข้อที่ ๒ . " เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์ "
การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่นความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ " โลภกิเลส " และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย เมตตาธรรมของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตา พรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น

ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

( ๑ ) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะทานก็จะมีจิตที่โสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน

( ๒ ) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังมือให้ทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตใจโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น

( ๓ ) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ
เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องจากเมตตาจิต ที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์ และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน นับว่าเป็นเจตนาบริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้ จะทำให้ยิ่ง ๆ บริสุทธิ์มากขึ้นไปอีก หากผู้ใดให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยการวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือ ไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงวัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านตั้งแต่ก่อนนั้น ได้ล้มหายตายจากไปแล้วทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลยจนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ไดยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่น ๆ ต่อ ๆ ไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จึงนับว่าเป็นสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลงนับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเราได้ถาวรได้ตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ต้องอยูในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็แก่เฒ่าและตายไปในที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง

เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาแล้วด้วย เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้ แต่ก็ยังมีข้ออันควรระวังอยู่ก็คือ " การทำทานนั้นอย่าได้เบียดเบียนตนเอง " เช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มาก ๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้ เมื่อได้ทำไปแล้วตนเองและสามี ภริยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลน เพราะว่าไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง เจตนานั้นย่อมไม่บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:21:11 pm »
อานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล, ภาวนา )
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-http://www.kanlayanatam.com/sara/sara68.htm-

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ

ตัวอย่าง ๑ ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน ไปยืนถ่ายภาพลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อให้ได้รับความนิยมยกย่องนับถือ โดยที่แท้จริงแล้วตนมิได้มีเจตนาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้ใด เรียกว่า " ทำทานด้วยความโลภ " ไม่ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความอยากได้ คืออยากได้หน้า ๆได้เกียรติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ

ตัวอย่าง ๒ ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียหาย เช่นทีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้างแต่มีทรัพย์น้อย เมื่อมีพวกมาเรี่ยไรบอกบุญ ต้องจำใจทำทานไปเพราะความเกรงใจพวกพ้อง หรือเกรงว่าจะเสียหน้า ตนจึงได้สละทรัพย์ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำทานด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ทำทานด้วยจิตเมตตาที่มุ่งจะสงเคราะห์ผู้อื่น ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดาย ให้ไปแล้วก็เป็นทุกข์ใจ บางครั้งก็นึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หากเสียดายมาก ๆ จนเกิดโทสะจริตกล้าแล้ว นอกจากจะไม่ได้บุญแล้ว ที่จะได้ก็คือบาป

ตัวอย่าง ๓ ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะว่าอยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะว่าหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้รำรวยเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ทำทาน ๑๐๐ บาท แต่ขอให้ร่ำรวยนับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆก็มาขอเบิกในชาตินี้ จะมีที่ไหนให้เบิก การทำทานด้วยความโลภเช่นนี้ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย สิ่งที่จะได้พอกพูนเพิ่มให้มากและหนาขึ้นก็คือ " ความโลภ "

ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำเหตุครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง เช่นเดียวกับปลูกต้นมะม่วง เมื่อรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยไปตามธรรมดาเรื่อยไป แม้จะไม่อยากให้เจริญเติบโตและออกดอกออกผล ในที่สุดต้นไม้ก็จะต้องเจริญเติบโตและผลิตดอกออกผลตามมา สำหรับผลของทานนั้น หากน้อยหรือมีกำลังไม่มากนัก ย่อมน้อมนำให้เกิดในมนุษย์ชาติ หากมีกำลังแรงมากก็อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติในเทวโลกจนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่บ้าง ประกอบกับไม่มีอกุศลกรรมอื่นแทรกให้ผลก็อาจจะน้อมนำให้มาบังเกิดในมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวยมั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่มีลาภผลมาก ทำมาหากินขึ้นและร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปเพราะวินาศภัย โจรภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ

แต่จะมั่งคั่งร่ำรวยในวัยใดก็ย่อมแล้วแต่ผลทานแต่ชาติก่อน ๆ จะส่งผล คือ

๑ . ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนที่จะลงมือทำทานก็มีจิตเมตตาโสมนัสร่าเริง เบิกบานยินดีในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้นอุดมสมบูรณ์พูนสุขไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนแร้นแค้น ไม่ต้องขวนขวายหาเลี้ยงตนเองมาก แต่ถ้าเจตนานั้นไม่งามบริสุทธิ์พร้อมกันทั้ง ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นก็ย่อมส่งผลให้ไม่สม่ำเสมอกัน คือแม้ว่าจะร่ำรวยตั้งแต่วัยต้นโดยเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม หากในขณะที่กำลังลงมือทำทานเกิดจิตเศร้าหมองเพราะหวนคิดเสียดายหรือหวงแหนทรัพย์ที่จะให้ทานขึ้นมา หรือเกิดหมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆแต่ก็ยังฝืนใจทำทานไปเพราะเสียไม่ได้หรือเพราะตามพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ เช่นนี้ผลทานย่อมหมดกำลังให้ผลระยะที่ ๒ ซึ่งตรงกับวัยกลางคน ซึ่งจะมีผลทำให้ทรัพย์สมบัติหายนะไปด้วยประการต่างๆแม้จะได้รับมรดกมาก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้ หากเจตนาในการทำทานนั้นเศร้าหมองในระยะที่ ๓ คือทำทานไปแล้วหวนคิดขึ้นมาทำให้เสียดายทรัพย์ ความหายนะก็มีผลต่อเนื่องมาจนบั้นปลายชีวิตด้วย คือทรัพย์สินคงวิบัติเสียหายต่อเนื่องจากวัยกลางคนตลอดไปจนถึงตลอดอายุขัยชีวิตจริงของผู้ที่เกิดบนกองเงินกองทองก็มีให้เห็น เป็นตัวอย่างที่เมื่อได้รับทรัพย์มรดกแล้วก็วิบัติเสียหายไป หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวัยต้นแต่ก็ต้องล้มละลายในวัยกลางคน และบั้นปลายชีวิต แต่ถ้าได้ตั้งเจตนาในการทำทานไว้บริสุทธิ์ครบถ้วนพร้อม ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นย่อมส่งผลสม่ำเสมอ คือร่ำรวยตั้งแต่เกิด วัยกลางคนและจนปัจฉิมวัย

๒ . ร่ำรวยในวัยกลางคนการที่ร่ำรวยในวัยกลางคนนั้น สืบเนื่องมาจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๒ กล่าวคือไม่งามบริสุทธิ์ในระยะแรก เพราะก่อนที่จะลงมือทำทานก็มิได้มีจิตศรัทธามาก่อน ไม่คิดจะทำทานมาก่อนแต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง เช่นทำตามพวกพ้องอย่าเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ลงมือทำทานอยู่ก็เกิดโสมนัสรื่นเริงยินดีในทานที่กำลังกระทำอยู่นั้น ด้วยผลทานชนิดนี้ย่อมทำให้มาบังเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมาในวัยต้น ครั้นเมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจที่ทำก็ประสบความสำเร็จรุ่งเรื่อง และหากเจตนาในการทำทานได้งามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้นย่อมส่งผลรุ่งเรื่องตลอดไปจนถึงบั้นปลายชีวิต หากเจตนาในการทำทานไม่บริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ แม้ธุรกิจหรือกิจการงานจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองในวัยกลางคน แต่ก็ล้มเหลวหายนะในบั้นปลาย ทั้งนี้เพราะผลทานหมดกำลังส่งผลไม่ตลอดจนถึงบั้นปลาชีวิต

๓ . ร่ำรวยปัจฉิมวัย คือร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตนั้น สืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนางามไม่บริสุทธิ์ในระยะแรกและระยะที่ ๒ แต่งามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ ๓ กล่าวคือ ก่อนและในขณะลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดีในการทำทานนั้นแต่อย่างใด แต่ได้ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่น ทำตามๆพวกพ้องไปอย่างเสียมิได้ แต่เมื่อได้ทำไปแล้วต่อมาหวนคิดถึงผลทานนั้น ก็เกิดจิตโสมนัสร่าเริง ยินดีเบิกบาน หากผลทานชนิดนี้จะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลที่ยากจนข้นแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียนและขวนขวายสร้างตนเองมากตั้งแต่วัยต้นจนล่วงวัยกลางคนไปแล้ว กิจการงานหรือธุรกิจนั้นก็ยังไม่ประสบกับความสำเร็จ เช่นต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทางเหมาะ ทำให้กิจการนั้นเจริญรุ่งเรื่องทำมาค้าขึ้นและร่ำรวยอย่างไม่คาดหมาย ซึ่งชีวิตจริง ๆ ของคนประเภทนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มาก


องค์ประกอบข้อที่ ๓ . " เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์ "
คำว่า " เนื้อนาบุญ " ในที่นี่ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล
เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา ๑ กำมือ
แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม ( วัตถุทานบริสุทธิ์ )
และ ผู้หว่านคือกสิกรก็มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป้นอาชีพ ( เจตนาบริสุทธิ์ ) แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกัน เมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ดี ก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย การทำทานนั้น ผลิตผลที่ผู้ทำทานจะได้รับก็คือ " บุญ " หากผู้ที่รับการให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้ว ผลของทานคือบุญก็จะได้เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์ เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการต่าง ๆ
ฉะนั้นในการทำทาน ตัวบุคคลผู้รับของที่เราให้ทานจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เราผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้ คนที่รับการให้ทานนั้นหากเป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง ก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย ฉะนั้นคติโบราณที่กล่าวว่า " ทำบุญอย่าถามพระ หรือ ตักบาตรอย่าเลือกพระ " เห็นจะใช้ไม่ได้ในสมัยนี้ เพราะว่าในสมัยนี้ไม่เหมือนกับท่านในสมัยก่อนๆที่บวชเพราะมุ่งจะหนีสงสาร โดยมุ่งจะทำมรรคผลและนิพพานให้แจ้ง ท่านจึงเป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ แต่ในสมัยนี้มีอยู่บางคนที่บวชด้วยคติ ๔ ประการ คือ " บวชเป็นประเพณี บวชหนีทหาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน " ธรรมวินัยใดๆท่านไม่สนใจ เพียงแต่มีผ้าเหลืองห่มกาย ท่านก็นึกว่าตนเป็นพระและเป็นเนื้อนาบุญเสียแล้ว ซึ่งป่วยการจะกล่าวไปถึงศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แม้แต่เพียงศีล ๕ ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ว่าท่านจะมีหรือไม่ การบวชที่แท้จริงแล้วก็เพื่อจะละความโลภ ความโกรธ ความหลง ปัญหาว่า


ทำอย่างไรจึงจะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ข้อนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับวาสนาของเราผู้ทำทานเป็นสำคัญ หากเราได้เคยสร้างสมอบรมสร้างบารมีมาด้วยดีในอดีตชาติเป็นอันมากแล้ว บารมีนั้นก็จะเป็นพลังวาสนาน้อมนำให้ได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ทำทานครั้งใดก็มักโชคดี ได้พบกับท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปเสียทุกครั้ง หากบุญวาสนาของเราน้อยและไม่มั่นคง ก็จะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญบ้าง ได้พบกับอลัชชีบ้าง คือดีและชั่วคละกันไป เช่นเดียวกับการซื้อสลากกินแบ่งสลากกินรวบ หากมีวาสนาบารมีเพราะได้เคยทำบุญให้ทานฝากกับสวรรค์ไว้ในชาติก่อน ๆ ก็ย่อมมีวาสนาให้ถูกรางวัลได้ หากไม่มีวาสนาเพราะไม่เคยทำบุญทำทานฝากสวรรค์เอาไว้เลย ก็ไม่มีสมบัติสวรรค์อะไรที่จะให้เบิกได้ อยู่ ๆ ก็จะมาขอเบิก เช่นนี้ก็ยากที่จะถูกรางวัลได้
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:21:47 pm »
อานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล, ภาวนา )
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-http://www.kanlayanatam.com/sara/sara68.htm-

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ


๑ . ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

๒ . ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓ . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๔ . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๕ . ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ
พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น " พระ " แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า " สมมุติสงฆ์ " พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น " พระ " ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ " พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า " และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

๖ . ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ( ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น )

๗ . ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๘ . ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๙ . ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๐ . ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๑ . ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๒ . ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๓ . การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า " การถวายวิหารทาน " แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน " อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น " โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ " ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

๑๔ . การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ( ๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " ธรรมทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ "

๑๕ . การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " อภัยทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ " การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู " ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ " ละโทสะกิเลส " และเป็นการเจริญ " เมตตาพรหมวิหารธรรม " อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง " พยาบาท " ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
อย่างไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่น ๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า " ฝ่ายศีล " เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:22:43 pm »
ขออนุญาตลงเรื่อศีล และ ภาวนา ต่อครับ

อานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล, ภาวนา )
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-http://www.kanlayanatam.com/sara/sara68.htm-

ศีล

" ศีล " นั้น แปลว่า " ปกติ " คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับคือ ศีล๕ ศิล ๘ ศิล ๑๐ และ ศีล ๒๒๗ และในบ รรดาศีลชนิดเดียวกันก็ยังจัดแบ่งออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล ( ศีลระดับกลาง ) และอธิศีล ( ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์ )
คำว่า " มนุษย์ " นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แ ต่อาจจะเรียกว่า " คน " ซึ่งแปลว่า " ยุ่ง " ในสมัยพระพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น " มนุษย์ธรรม " ส่วนหนึ่งในมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการ ผู้ที่จะมีวาสนาได้เกิดมาเป็นมนุษย์จะต้องถึงพร้อมด้วยมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการเป็นปกติ ( ซึ่งรวมถึงศีล ๕ ด้วย ) รายละเอียดจะมีประการใดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้

การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน

ทั้งในการถือศีลด้วยกันเองก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้ คือ

๑ . การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๒ . การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓ . การถือศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

๔ . การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้ว รักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาที่มี ศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม


ฉะนั้นในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมบารมีในบารมี ๑๐ ทัศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง ๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อ ๆ ไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้นั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้วย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น ซึ่งล้วนแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและที่บำเพ็ญมา ครั้นเมื่อสิ้นบุญในเทวโลกแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่แต่เพียงเล็กๆน้อยๆหากไม่มีอกุลกรรมอื่นมาให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๔ ประการ เช่น อานิสงส์ของการรักษา ศีล ๕ กล่าวคือ

๑ . ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๑ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเศษของบุญที่รักษาข้อนี้ เมื่อน้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะมีพลานามัยที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ ไม่มีอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้บาดเจ็บหรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันควร

๒ . ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๒ ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้ ด้วยเศษของบุญที่น้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้ามักจะประสบกับช่องทางที่ดี ทำมาค้าขึ้นและมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่างๆเช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ

๓ . ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๓ ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครอง หรือคนในปกครองของผู้อื่น ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลในข้อนี้ เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มักได้พบกับรักแท้ที่จริงจังและจริงใจ ไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะ ครั้นเมื่อมีบุตรธิดาก็ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นฉุดคร่าอนาจารไปทำให้เสียหาย บุตรธิดาย่อมเป็นอภิชาตบุตร ซึ่งจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล

๔ . ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๔ ด้วยการไม่กล่าวมุสา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุ้มเสียงไพเราะ พูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผลชนิดที่เป็น " พุทธวาจา " มีโวหารปฏิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้ฟังและเชื่อถือ สามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อยู่ในโอวาทได้ดี

๕ . ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๕ ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัย เครื่องหมักดองของมึนเมา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีสมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉานและทรงจำได้ง่าย ไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสียสติวิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อนหรือปัญญานิ่ม


อานิสงส์ของศีล ๕ มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่ง ๆ ขึ้นตามระดับและประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้นจะมีอานิสงส์เพียงไรก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้นกลาง ๆ ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตใจนั้นศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้

ฉะนั้น การรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่า การภาวนา เพราะการภาวนานั้น เป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสารวัฏ การภาวนา จึง เป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงสุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุดเป็นกรรมดีอันยิ่งใหญ่เรียกว่า " มหัคคตกรรม " อันเป็นมหัคคตกุศล
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:23:26 pm »
อานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล, ภาวนา )
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-http://www.kanlayanatam.com/sara/sara68.htm-

ภาวนา



การเจริญภาวนา นั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น
มี ๒ อย่างคือ " สมถภาวนา ( การทำสมาธิ )" และ " วิปัสสนาภาวนา ( การเจริญปัญญา )" แยกอธิบายดังนี้ คือ

๑ . สมถภาวนา ( การทำสมาธิ )
สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิหรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น ๆ
วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า " กรรมฐาน ๔๐ "
ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างอบรมมาแต่ในอดีตชาติ
เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่น ๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย

แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดปละด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากว่าศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน ( เป็นกำลัง ) ให้เกิดสมาธิขึ้น

อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้
ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า " แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่าวพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู "

คำว่า " จิตสงบ " ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า " ขนิกสมาธิ " คือสมาธิเล็ก ๆน้อย ๆ สมาธิแบบเด็ก ๆที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลงแล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดทรงจิตอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้นจาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์ ( มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้นที่ ๒ คือ ดาวดึงส์ )

สมาธินั้นมีหลายขั้นตอน
ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน ( อัปปนาสมาธิ ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก
สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ ( เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาส คือ ชั้นที่ ๑๒ ถึงชั้นที่ ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ ) รูปฌาน ๑ ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๓ สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑
ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า " เนวสัญญา นาสัญญายตนะ " นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔ , ๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่า นิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน

การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุดเพราะไม่ต้องเสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น
การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินเสียทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ยังต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างเทียบกันไม่ได้

อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนา หรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น
การเจริญวิปัสสนา ( การเจริญปัญญา ) จึงจะ เป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้

๒ . วิปัสสนาภาวนา ( การเจริญปัญญา )
เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นฌานในระดับใดก็ตาม
แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้

อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะว่าสมาธินั้นมุ่งแต่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียวโดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไร ๆ
แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ " ขันธ์ ๕ " ซึ่งนิยมเรียกกันว่า " รูป - นาม " โดย รูป มี ๑ ส่วน นาม นั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็น พระไตรลักษณ์ คือ เป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย

๑ . อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้วก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาวและเฒ่าแก่จนตายไปในที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ

สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่งที่เรียกว่าอุปาทานขั้นธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆมาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆของชีวิตขึ้นมาก่อน ซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองๆไม่เห็น เรียกกันว่า " เซลล์ " แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆเหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นมาแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน

๒ . ทุกขัง ได้แก่ " สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ " ทุกขัง ในที่นี้ไม่ได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะทนตั้งอยู่ในสภาพนั้น ๆได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัวและต้องเปลี่ยนแปลงตลอดไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็กจะให้ทรงสภาพเป็นเด็ก ๆ เช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนหนุ่มและสาวแล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัวเช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ที่เรียกว่าเวทนา อันได้แก่ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้ว จะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้ นานไปอารมณ์เช่นนั้นหรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆจางไปแล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน

๓ . อนัตตา ได้แก่ " ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ " โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนแต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เช่น รูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่าเซลล์ แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้น จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบ ๆ ว่าเป็นธาตุ ๔ มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯ เรียกว่า " ธาตุดิน " ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก ฯลฯ รวมเรียกว่า " ธาตุน้ำ " ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า " ธาตุไฟ " ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า " ธาตุลม " ( โดยธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้มิได้หมายความอย่างเดียวกับคำว่า " ธาตุ " อันหมายถึงแร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์ ) ธาตุ ๔ หยาบ ๆ เหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคน สัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำ ส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ และส่วนที่เป็นลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)