ผู้เขียน หัวข้อ: ทาน ศีล ภาวนา  (อ่าน 8604 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:24:26 pm »
อานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล, ภาวนา )
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-http://www.kanlayanatam.com/sara/sara68.htm-

สมาธิ ย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนี่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้

ส่วนวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้นเอง ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา และวิญญาณ

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็น พระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และ เมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่าจิตตกระแสธรรมตัด กิเลสได้

ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่จะนึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาใน ที่พระท่านเรียกว่า " ญาณทัสสนะ " เห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า " สมาธิอบรมปัญญา " คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า " ปัญญาอบรมสมาธิ "
ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย

อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเสมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผลต่อไป

ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่ก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น

ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า " ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงทีว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม "
ดังนี้ จะเห็นได้ว่าวิปัสสนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม้ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใดแต่ก็ได้กำไรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทานเหมือนกับกรวด และทราย ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบกับศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา

แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแล้วแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุดก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียวโดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลย เมื่อเกิดชาติหน้าเพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพานก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า " ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความจริงดังกล่าว "
กล่าวคือ แม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น " โมฆะบุรุษ " คือบุรุษที่สูญเปล่า


ต่อไปนี้เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่าย ๆ ประจำวัน
ซึ่งควรจะทำให้บ่อย ๆ ทำเนือง ๆ ทำให้มาก ๆ ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ๆคือไม่ว่าจะยืน นั่ง หรือนอน ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง ๔ ประการดังต่อไปนี้ หากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า " จิตของผู้นั้นไม่ห่างวิปัสสนา และเป็นผู้ที่ไม่ห่างจากมรรค ผล นิพพาน " คือ

๑ . มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน หรือมรณานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็ คือการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ อันความมรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก การระลึกถึงความตายจึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพรากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า " มรณัสสติ ( การระลึกถึงความตาย ) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด " อันมรณัสสติกรรมฐานนนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ้งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้วก็ยังไม่ยอมละ เพราะยังทรงอารมณ์มรณัสสตินี้ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า " ตถาคตนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก "

มรณัสสติกรรมฐานนั้น โด ยปรกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธจริต คือคนที่ฉลาด การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ก็คือการพิจารณาถึงความจริงทีว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่แล้วก็ตายไปในที่สุด ไม่อาจจะล่วงพ้นไปได้ทุกผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนยากดี มี จน เด็ก หนุ่มสาว เฒ่าแก่ สูงต่ำ เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย " ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและสร้างบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า "

ผู้ที่ประมาทมั่วเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า " หลงลำเนาเขาป่ากู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจย่อมหูหนวกและตาบอด " และกล่าวไว้อีกว่า " หลงยศลืมตาย หลงกายลืมเนา " และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจวาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงใหลมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแนนอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปด้วยเลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดังกล่าวมา ก็ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสาระ ประโยชน์อันใดมิได้เลย

มรณัสสติกรรมฐานนั้น เมื่อพิจารณาไปนาน ๆ จิตจะค่อย ๆ สงบและระงับจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ ในที่สุดจิตก็เข้าถึงอุปจารสมาธิ และความจริงกรรมฐานกองนี้เป็นเพียงสมถภาวนาเท่านั้น แต่ก็ใกล้วิปัสสนา เพราะอารมณ์จิตที่ใช้นั้นเป็นการพิจารณาหาเหตุและผลในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งหากพลิกการพิจารณาว่า อันชีวิตของคนและสัตว์ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลายไม่อาจทรงตัวตั้งมั่นอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุด เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้ว ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า " อานนท์ ตถาคตได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตวจะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ การปรินิพพานของเราตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน เราจักนิพพาน ฯลฯ สัตว์ทั้งปวงที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเสมือนภาชนะ ดินที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว เราจักต้องละพวกเธอไป ที่พึ่งของตัวเอง เราได้ทำแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ "

และในวันมหาปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ตรัสพระปัจฉิมโอวาทที่เรียกกันว่า " อัปปมาทธรรม " สั่งสอนพระสาวกเป็นครั้งสุดท้าย จนดูเหมือนว่าพระธรรม ๘๔ , ๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่ทรงสั่งสอนมานานถึง ๔๕ พรรษา ได้ประมวลประชุมรวมกันในพระปัจฉิมโอวาทนี้ว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตถาคตขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด "

๒ . มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน อสุภ ได้แก่สิ่งที่ไม่สวยไม่งาม เช่น ซากศพ คือให้มีจิตพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า ร่างกายของคนและสัตว์อันเป็นที่นิยมรักใคร่เสน่หา และเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหาราคะ กามกิเลส ว่าเป็นของสวยของงาม เป็นที่เจริญตาและใจ ไม่ว่าร่างกายของตนเองและของผู้อื่นก็ตาม แท้ที่จริงแล้วก็เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขัง คือทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ วันเวลาย่อมพรากความสวยสดงดงามให้ค่อย ๆ จากไปจนเข้าสู่วัยชรา ซึ่งจะมองหาความสวยงามใด ๆ หลงเหลืออยู่มิได้อีกเลย และในทันใดที่ตายลงนั้น แม้แต่ผู้ที่เคยสนิทสนมเสน่หารักใคร่ อันรวมถึงสามี ภริยาและบุตรธิดา ต่างก็พากันรังเกียจในทันใด ไม่ยอมเข้าใกล้ บ้านของตนเองที่อุตสาห์สร้างมาด้วยความเหนื่อยยากก็ไม่ยอมให้อยู่ ต้องรีบขน ๆออกไปโดยไวไว้ที่วัด แล้วซากเหล่านั้นก็เน่าเปื่อยสลายไป เริ่มตั้งแต่เนื้อหนังค่อย ๆ พองออก ขึ้นอืด น้ำเลือด น้ำเหลืองก็เริ่มเน่า แล้วเดือดไหลออกจากทวารทั้งหลาย เนื้อหนังแตกปริแล้วร่วงหลุดออกจนเหลือแต่กระดูก ส่งกลิ่นเน่าเหม็นเป็นที่น่ารังเกียจ สะอิดสะเอียน หาความสวยงามน่ารักเสน่หาใดๆมิได้อีกเลย ทั้งไร้คุณค่าและประโยชน์ คงมีค่าแค่เป็นอาหารแก่หมูหนอนเท่านั้น แล้วในที่สุดกระดูกก็กระจัดกระจายเรี่ยราดอยู่ตามดินและทราย แตกละเอียดผุพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยแก่พืชผักต่อไป หาตัวหาตนของเราที่ไหนมิได้เลย สังขารของเราในที่สุดก็เป็นเช่นนี้ ไม่มีอะไรคงเหลือไว้เลย

๓ . มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสสติกรรมฐาน บางทีเรียกกันง่าย ๆ ว่า " กายคตาสติกรรมฐาน " เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มาก เพราะสามารถทำให้ละ " สักกายทิฐิ " อันเป็นสังโยชน์ข้อต้นๆได้โดยง่าย และเป็นกรรมฐานที่เกี่ยวกับการพิจารณาร่างกายให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง ซึ่งมักพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐาน มรณัสสติกรรมฐาน ซึ่งพระอริยะเจ้าทุกๆพระองค์ที่จะบรรลุพระอรหัตน์ผลได้จะต้องผ่านการพิจารณากรรมฐานทั้งสามกองนี้เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนามิได้ ทั้งนี้เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความโลภ ความหลง และความโกรธ ต่างก็เกิดขึ้นที่กายนี้ เพราะว่าความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน จึงได้เกิดกิเลสดังกล่าวขึ้น การพิจารณาละกิเลสก็จะต้องพิจารณาละที่กายนี้เอง มรรค ผล และนิพพาน ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนเลย แต่มีอยู่พร้อม ให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ที่ร่างกายอันกว้างศอกยาววาและหนาคืบนี่เอง

การพิจารณา ก็คือให้มีจิตใคร่ครวญให้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ที่ว่า อันร่างกายของคนและสัตว์ที่เฝ้าทะนุถนอมรักใคร่ว่าสวยงาม เป็นที่สนิทเสน่หาชมเชยรักใคร่ซึ่งกันและกันนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นของปฏิกูล สกปรกโสโครก ไม่สวยไม่งาม ไม่น่ารักใคร่ทะนุถนอม เป็นมูตร คูถ เพราะเป็นที่บรรจุไว้ซึ่งสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นพืชผักและบรรดาซากศพของสัตว์ที่บริโภคเข้าไป ภายในกระเพาะนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นที่รวมฝังซากศพของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นเอง พืชและสัตว์ที่บริโภคเข้าไปก็ล้วนแต่เป็นของที่สกปรก ที่ขับถ่ายออกมาจากทวารทั้งหลายก็เป็นของที่สกปรกโสโครก ซึ่งต่างก็พากันรังเกียจว่าเป็น " ขี้ " มีสารพัดขี้ ซึ้งแม้แต่จะเหลือบตาไปมองก็ยังไม่กล้าที่จะมอง แต่แท้ที่จริงแล้วในท้อง กระเพาะ ลำไส้ภายในร่างกายของทุกผู้คนก็ยังคงมีบรรดาขี้เหล่านี้บรรจุอยู่ เพียงแต่มีหนังห่อหุ้มปกปิดเอาไว้ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกเท่านั้นเอง แต่เราท่านทั้งหลายก็พากันกกกอด คลึงเคล้า เฝ้าชมเชยก้อนขี้เหล่านี้ว่าเป็นของสวยงาม น่ารักน่าใคร่เสน่หายิ่งนัก เมื่อมีการขับถ่ายออกมาจากทวารหูก็เรียกกันว่าขี้หู ขับถ่ายออกมาทางตาก็เรียกขี้ตา ที่ติดอยู่กับฟันก็เรียกขี้ฟัน ที่ออกมาทางจมูกก็เรียกว่าขี้มูก รวมความแล้วบรรดาสิ่งที่ขับออกมาพอพ้นร่างกายในทันใดนั้นเอง จากเดิมที่เป็นของน่ารักน่าเสน่หา ก็กลายมาเป็นของที่น่ารังเกียจไปโดยพลัน กลายมาเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากรักอยากเสน่หาเพราะว่าเป็นขี้ และก็ไม่มีใครอยากจะเป็นเจ้าของด้วย เมื่อไม่มีใครยอมรับเป็นเจ้าของ สิ่งที่ขับถ่ายออกมาทางผิวหนังจึงหาเจ้าของมิได้ ซึ่งต่างก็โทษกันว่าขี้ของใครก็ไม่ทราบได้ นานมาก็กลายมาเป็น " ขี้ไคล " ดังนี้เป็นต้น นอกจากสิ่งที่ขับถ่ายออกมาจะน่ารังเกียจดังกล่าวแล้ว

แม้แต่สังขารร่างกายของคนเราเมื่อได้แยกแยะพิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความจริงที่ว่า เป็นที่ประชุมรวมกันของอวัยวะชิ้นต่างๆที่เป็นตา หู จมูก ลิ้น เนื้อ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำไส้ หนัง พังผืด เส้นเอ็น เส้นเลือด น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสสาวะ ฯลฯ รวมกันเรียกว่าอาการ ๓๒ ซึ่งต่างก็ห้อยแขวนระเกะระกะยางโตงเตงอยู่ภายใน เมื่อแยกหรือควักออกมาดูทีละชิ้น จะไม่มีชิ้นใดที่เรียกกันว่าสวยงามน่ารัก น่าพิศวาสเลย กลับเป็นของที่น่ารังเกียจ ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่าดู แต่สิ่งเหล่านี้ก็รวมประกอบอยู่ภายในร่างกายของเราทุกผู้ทุกคน โดยมีหนังหุ้มห่อปกปิดอยู่โดยรอบ หากไม่มีผืนหนังหุ้มห่อและสามารถมองเห็นภายในได้แล้ว แม้จะเป็นร่างกายของคนที่รักสุดสวาดขาดใจ ก็คงจะต้องเบือนหน้าหนีอกสั่นขวัญหาย บางทีอาจจะต้องถึงขั้นจับไข้ไปเลย ซึ่งอาจจะต้องถึงขั้นทำพิธีปัดรังควาญเรียกขวัญกันอีก หากจะถือว่าน่ารักน่าเสน่หาอยู่ที่ผืนหนังหรือแผ่นหนังรอบกาย ก็ลองลอกออกมาดูก็จะเห็นว่าไม่สวยงามตรงไหนแต่อย่างใด แต่ที่นิยมยกย่องรักใคร่หลงใหลกันอยู่ ก็คือผิวหรือสีของหนังชั้นนอกสุดเท่านั้น ถ้าได้ลอกหรือขูดผิวชั้นนอกสุดออกมาให้เหลือแต่หนังแท้แดงๆแล้ว แม้จะเป็นหนังสดสวยของนางงามจักรวาล ผู้คนก็คงจะต้องเบือนหน้าหนี จึงเป็นที่แน่ชัดว่า คนสวย คนงาม ก็คงสวยและงามกันแค่ผิวหนังชั้นนอกสุด รักและเสน่หาที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นของฉาบฉวยนอกกาย หาได้สวยงามน่ารักเข้าไปถึงตับ ไต ปอด หัวใจ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ น้ำเลือดน้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ ภายในร่างกายด้วยไม่ ส่วนผู้ที่ผิวหรือสีของหนังดำด่าง ไม่สดใสน่าดู ก็พยายามทาลิปสติก แต่งหน้าแต่งตา ทาสี พอกแป้งย้อม และดึงกันเข้าไปให้เต่งตึง และออกเป็นสีสันต่างๆแล้วก็พากันนิยมยกย่องชวนชมกันไป แต่ที่จริงแล้วก็เป็นความหลง โดยหลงรักกันที่แป้งและสีที่พอก หลอกให้เห็นฉาบฉวยอยู่แค่ผิวนอกเท่านั้น

เมื่อมีสติพิจารณาเห็นความเป็นจริงอยู่เช่นนี้ หากจิตมีกำลังก็จะทำให้นิวรณ์ ๕ ประการค่อยๆสงบระงับทีละเล็กละน้อย โดยเฉพาะจิตจะไม่เดือดร้อนกระวนกระวายแส่ส่ายไปในอารมณ์รักๆใคร่ๆ ในที่สุดจิตก็จะสงบเยือกเย็นลงจนถึงขั้นอุปจารสมาธิได้ หากสติมีกำลังพอก็อาจถึงขั้นปฐมฌานได้
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:24:58 pm »
อานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล, ภาวนา )
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
-http://www.kanlayanatam.com/sara/sara68.htm-

กายคตานุสสติกรรมฐานนั้น ความจริงก็เป็นเพียงสมถภาวนาที่ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ถึงขั้นปฐมฌาน แต่ก็เป็นสมถภาวนาที่เจือไปด้วยวิปัสสนาภาวนา เพราะเป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลตามสภาพเป็นจริงของสังขารธรรมหรือสภาวธรรม ซึ่งหากได้พลิกการพิจารณาอาการ ๓๒ ดังกล่าวให้รู้แจ้งเห็นจริงว่าอาการ ๓๒ ดังกล่าวนั้นไม่มีการทรงตัว เมื่อเกิดมีอาการ ๓๒ ขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจจะตั้งมั่นอยู่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราและของเราแต่อย่างใด ร่างกายไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น ต่างก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ดังนี้ก็เป็นวิปัสสนา กายคตานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เมื่อได้พิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความสกปรกโสโครกของร่างกายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า ไม่น่ารักน่าใคร่ จึงเป็นกรรมฐานที่มีอำนาจทำลายราคะกิเลส และเมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวมากๆเข้า จิตก็จะมีกำลังและเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งของตนเองและผู้อื่น จึงเป็นการง่ายที่ " นิพพิทาญาณ " จะเกิดขึ้น

และเมื่อได้เกิดขึ้นแล้วจนมีญาณทัสสนะเห็นแจ้งอาการพระไตรลักษณ์ว่า ร่างกายเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขาแต่อย่างใด จิตก็จะน้อมไปสู่ " สังขารุเปกขาญาณ " ซึ่งมีอารมณ์อันวางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในร่างกายและคลายกำหนัดในรูปนามขันธ์ ๕ เรียกว่าจิตปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทาน - ขันธ์ ๕ ซึ่งจะนำไปสู่การละ " สักกายทิฐิ " อันเป็นการละความเห็นผิดในร่างกายนี้เสียได้ และถ้าละได้เมื่อใด ก็ใกล้ที่จะบรรลุความเป็นพระอริยะเจ้าเบื้องต้นในพระพุทธศาสนาคือเป็น " พระโสดาบัน " สมจริงตามที่ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า " การเจริญกรรมฐานกองนี้จะไม่ห่างมรรค ผล และนิพพาน "

ฉะนั้น กายคตานุสสติกรรมฐาน จึงเป็นกรรมฐานเครื่องที่จะทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้โดยง่าย ซึ่งในสมัยพระพุทธกาล ท่านที่บรรลุแล้วด้วยพระกรรมฐานกองนี้มีเป็นจำนวนมาก ในสมัยที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ใหม่ๆได้เสด็จไปพบพราหมณ์สองสามีภารยา ซึ่งมีบุตรที่สุดสวยชื่อว่า " นางมาคัณฑิยา " พราหมณ์ทั้งสองชอบใจในพระพุทธองค์ จึงได้ออกปากยกนางมาคัณฑิยาให้เป็นภรรยา พระพุทธองค์ไม่ทรงรับไว้และมองเห็นนิสัยของพราหมณ์ทั้งสองที่จะได้บรรลุมรรคผล จึงได้ทรงแสดงพระธรรมให้ฟัง โดยยกเอากายคตานุสติกรรมฐานขึ้นมาเทศน์ ซึ่งได้ตรัสตำหนิโทษแห่งความสวยงามแห่งรูปกายของนางมาคัณฑิยาว่า พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นของปฏิกูล มูตรคูถเน่าเหม็น หาความสวยงามใดๆมิได้เลย พราหมณ์ทั้งสองพิจารณาตามก็ได้ดวงตาเห็นธรรม

ส่วนนางมาคัณฑิยาผูกโกรธ ต่อมาเมื่อนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงโกสัมพี ก็ได้จองล้างจองผลาญพระพุทธองค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพราะแรงพยาบาท อีกท่านหนึ่งก็คือนางอภิรูปนันทา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเขมกะศากยะ ก็จัดว่ามีรูปงามที่สุดในสมัยนั้น และพระนางทรงภาคภูมิหลงใหลในความงดงามของพระนางยิ่งนัก แต่ด้วยบุญบารมีที่เคยได้สร้างสมอบรมมาแล้วเป็นอันมากในอดีตชาติ เป็นเหตุให้พระนางได้สดับพระธรรมของพระพุทธองค์จากพระโอษฐ์ ซึ่งได้ทรงเทศน์กายคตานุสติกรรมฐานควบคู่ไปกับมรณัสสติกรมมฐาน แล้วทรงเนรมิตรูปกายของสาวงามที่งามยิ่งกว่าพระนางให้ปรากฏขึ้น ให้พระนางได้มองเห็น แล้วบันดาลให้รูปเนรมิตนั้นค่อยๆเจริญวัย แก่ แล้วชราโทรมๆลงจนตายไปในที่สุด แล้วก็เน่าเปื่อยสลายไปต่อหน้า พระนางก็น้อมเอาภาพนิมิตนั้นเข้ามาเปรียบเทียบกับร่างกายของพระนางจนเห็นว่าอันร่างกายอันงดงามของพระนางนั้นหาได้งามจริงไม่ ทั้งเป็นอนิจจังและอนัตตา หาสาระแก่นสารที่พึ่งอันถาวรอันใดมิได้เลย จนพระนางได้บรรลุพระอรหันต์ในขขณะนั้นเอง และพระนางเขมาเทวีที่ยิ่งด้วยรูปโฉม และเป็นพระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ในทำนองเดียวกันนี้เอง

๔ . มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน คือ นอกจากจะมีจิตใคร่ครวญถึงความเป็นจริงของร่างกายดังกล่าวมาในข้อ ( ๓ ) แล้ว พึงพิจารณาแยกให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า อันที่จริงร่างกายของเราเองก็ดี ของผู้อื่นก็ดี ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใดเลย

เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ มาประชุม เกาะกุมรวมกันเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง ได้แก่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่าแก่แล้วแตกสลายตายไป ธาตุน้ำก็กลับไปสู่ความเป็นน้ำ ธาตุดินก็กลับไปสู่ความเป็นดิน ธาตุลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม และธาตุไฟก็กลับไปสู่ความเป็นไฟตามเดิม เนื้อตัวร่างกายของเรา เมื่อได้แยกส่วนออกมาดูแล้ว ก็มิได้มีตัวตนที่ตรงไหนแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงเนื้อ กระดูด ตับ ไต ไส้ กระเพาะ เส้นเอ็น หนัง พังผืด เนื้อเยื่อ มันสมอง ไขข้อ ฯลฯ มาเกาะกุมกัน ตัวตนของเราไม่มี

ครั้นเมื่อแยกแยะอวัยวะย่อยๆดังกล่าวออกไปจากหน่วยย่อยๆของชีวิต คือเซลล์เล็กๆที่มาเกาะกุมรวมกัน ก็จะเห็นว่าเซลล์เองก็เนื่องมาจากแร่ธาตุทั้งหลายซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจมารวมกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ไม่มีตัวตนของเราแต่อย่างใด แม้แร่ธาตุต่าง ๆ นั้น ก็เนื่องมาจากพลังงานโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่านั้น หาใช่ตัวตนของเราแต่อย่างใดไม่ ที่หลงกันอยู่ว่าตัวเราของเราหาที่ไหนมิได้เลย

ทุกสรรพสิ่งที่ดิ้นรนแสวงหา สะสมกันเข้าไว้ ในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจาก ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย แม้แต่เนื้อตัว ร่างกายที่ว่าเป็นของเราก็ยังเอาติดตัวไปด้วยไม่ได้ และก็เป็นความจริงที่ได้เห็นและรู้จักกันมานานนับล้านๆปีคนแล้วคนเล่า

ท่านทั้งหลายที่ได้เคยยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์อำนาจวาสนาและทรัพย์สมบัติในอดีตกาล จนเป็นถึงมหาจักรพรรดิมีสมบัติสร้างสมมาด้วยเลือดและน้ำตาของผู้อื่นจนค่อนโลก แต่แล้วในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของท่านที่เคยยิ่งใหญ่ จนถึงกับเป็นผู้ที่ไม่อาจจะแตะต้องได้ แต่แล้วก็ต้องทอดทิ้งจมดินและทราย จนในที่สุดก็สลายไปจนหาไม่พบว่าเนื้อ หนัง กระดูก ขน เล็บ ตับ ไต ไส้ กระเพาะของท่านว่าอยู่ที่ตรงไหน คงเหลืออยู่แต่สิ่งที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ ตามสภาพเดิมที่ก่อกำเนิดมาเป็นตัวของท่านเพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วตัวของเราท่านทั้งหลายก็เพียงเท่านี้มิได้ยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านในอดีต จะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ

ในเมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆกันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้ง จะต้องจากไป ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้

เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ์ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้า แม้หากว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเอาไว้ว่ามีจริงดั่งที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับ แล้วเราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป เราท่านทั้งหลายไม่ขาดทุนหรอกหรือ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ กลับต้องโมฆะเสียเปล่าก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น " โมฆะบุรุษ " โดยแท้
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:28:47 pm »
การรักษาศีล 5
-http://www.sil5.net/index.asp?autherid=14&ContentID=10000024&title=%A1%D2%C3%C3%D1%A1%C9%D2%C8%D5%C5+5&bttcol=False-

ศีล ( Morality ) คือ ความปกติ และการรักษาศีลก็คือ ความตั้งใจรักษาปกติของตน อันเป็นหลักปฏิบัติที่ไม่ทำให้เดือดร้อน
แก่ตนเองและผู้อื่น และเป็นหลักแห่งความประพฤติที่จะทำให้เกิดความสะอาดทางกาย และวาจา ศีลมีหลายประเภท เช่น ศีล 5, ศีล 8, ศีล 10 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ปฏิบัติ แต่ศีลที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดความปกติในสังคมก็คือ ศีล 5 เพราะสะดวก
และง่ายที่จะปฏิบัติ มีดังนี้ คือ
 

•  พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

•  พึงละเว้นจากการลักขโมย ฉ้อฉล

•  พึงละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

•  พึงละเว้นจากการพูดเท็จ

•  พึงละเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา


ศีลทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นหลักจำเป็นในสังคมมนุษย์ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปกติ ทั้งในตนเองและสังคม เพราะช่วยควบคุม
ความประพฤติมิให้พลาดถลำลงในความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจัดอยู่ในระดับศีลธรรมอันเป็นมูลฐานที่จะนำไปสู่ความสงบ
ของจิตใจ ถ้าหากความสะอาดทางกายและวาจาไม่มีแล้ว เราก็ไม่สามารถทำจิตใจให้สงบได้

สรุปได้ว่า ทางสายกลางข้อ 3-4-5 เป็นการปฏิบัติทางศีลเพื่อให้เกิดความปกติทางกายและวาจาเท่านั้น

 

เบญจศีล

ในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น จำเป็นที่แต่ละคน ซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมจะต้องทำตนให้เป็นคนเต็มคน ที่เรียกว่าเป็นมนุษย์ หรือเป็นคน 100% เพื่อให้การอยู่ร่วมกันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีความสงบสุข เกิดศานติสุข ไม่มีเวรภัยต่อกันและกันหลักธรรมที่จะทำคนให้เป็นให้เต็มคนอันยังผลให้การอยู่ร่วมกันมีความสุขมีความสงบสุขนั้นก็คือ เบญจศีลเบญจธรรม อันได้แก่

ตอนที่ ๑ เนื้อความและความหมาย

เบญจศีล แปลว่า ศีล ๕ ได้แก่..

๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น

๒.อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น

๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
บุคคลต้องห้ามสำหรับฝ่ายชาย คือ
(๑) ภรรยาคนอื่น
(๒) ผู้หญิงที่ยังอยู่ในความอุปการะของผู้อื่น (ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่)
(๓) ผู้หญิงที่จารีตต้องห้าม (แม่ ย่า ยาย พี่สาว น้องสาว ลูกสาว ชี หญิงผู้เยาว์

บุคคลที่ต้องห้ามสำหรับฝ่ายหญิง คือ
(๑) สามีคนอื่น
(๒) ชายจารีตต้องห้าม (พ่อ ปู่ ตา พี่ชาย น้องชาย ลูกชาย พระภิกษุ สามเณร ชายผู้เยาว์)

ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ใช่เฉพาะ ห้ามแต่ร่วมสังวาสเท่านั้น แม้แต่การเคล้าคลึง การพูดเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการ ปฏิพัทธ์แม้แต่ด้วยสายตาเนตรสบเนตร เป็นต้น ก็ชื่อว่า การละเมิดศีลข้อนี้แล้ว เมื่อไม่ล่วงละเมิดศีลข้อนี้แล้วเป็นผู้สำสวมในกามยินดีแต่ในภรรยาของตนเท่านั้น (สทารสันโดษ) จงรักภักดีแต่ในสามีของตน (ปติวัตร) ถ้ายังไม่ได้แต่งงานก็ต้องมีกามสังวร ตั้งตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีวัฒนธรรมอันดีชนิดที่ว่า "เข้าตามตรอกออกตามประตู"

๔.มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการพูดเท็จ อันได้แก่คำปด ทวนสาบาน ทำเล่ห์กระเท่ห์ มารยา ทำกิเลส เสริมความสำรวมคำพูดเสียดแทง สับปลับ ผิดสัญยา เสียสัตย์ และคืนคำ แล้ว เป็นผู้รักสัจจะจะพูดแต่คำสัตย์จริงด้วยความจริงใจและปรารถนาดี มุ่งหวังดีต่อผู้ฟัง

๕.สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือแม้แต่บุหรี่ แล้วเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะในการประกอบกิจการทั้งปวง และเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิตในการงาน ในวัย ในเพศ

ผู้จะเป็นคนเต็มคน คือ 100% จะต้องเป็นผู้มีการดำเนินชีวิตประจำวันที่ประกอบด้วยเบญจศีลเบญจธรรมทั้ง ๕ ประเด็นดังกล่าวแล้ว ถ้าขาด ๑ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๘๐ % หรือขาด ๒ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๖๐ % เป็น นับว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน มุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อความเป็นมนุษย์อันจะได้เป็นสมาชิกที่ของสังคม ความสงบสุขในสังคมแต่ละวันจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยหลักมนุษยธรรม หรือ แต่ละคนเป็นคนเต็มคนนั่นเอง

อธิบายเบญจศีลอย่างย่อ ๆ

  เบญจ แปลว่า ๕ ศีล แปลว่า ปกติ เบญจศีล จึงแปลว่า ปกติ ๕ อย่าง แปลว่า ตัด ก็ได้ เพราะตัด จากความชั่ว หรือมนุษยธรรมก็เรียก แปลว่า ธรรมสำหรับมนุษย์ หมายความว่า ธรรมที่ทำคนให้เป็นคนที่ควรแก่การเคารพนับถือความหมายของเบญจศีล
ความเป็นปกติของคน คือความเรียบร้อยสวยงามคนที่ไม่เรียบร้อยจะเป็นที่สวยงามไปไม่ได้ ได้แก่คนที่ผิดปกตินั้นเอง คนที่ไม่ปกตินั้นก็เป็นที่ผิดแปลกไปจากคนอื่น ๆ เช่น
- ปกติคนเราจะต้องไม่ฆ่ากัน ไม่ทำร้ายร่างกายกันเพราะคนก็ดี สัตว์ก็ดีต่างก็รักชีวิตของตนด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ประสงค์จะให้ใครมาฆ่าแกง หรือมาทำร้ายร่างกายตน หรือทรมานตนให้ได้รับความลำบาก คนที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตของคนอื่น สัตว์อื่น จึงชื่อว่าคนผิดคน คือผิดปกติของคน
- ปกติคนเราจะต้องไม่ขโมยทรัพย์สมบัติของกันและกันเพราะใคร ๆ ก็ย่อมรัก ย่อมหวงแหนในทรัพย์สินของตน ไม่ประสงค์จะให้ใครมาเบียดเบียนและล่วงเกินในทรัพย์สินของตน คนที่ขโมยทรัพย์ของผู้อื่น จึงชื่อว่าทำผิดปกติของคนปกติของคนเราจะต้องไม่ล่วงละเมิดประเวณีของกันและกัน เพราะลูกใคร เมียใคร สามีใคร ใคร ๆ เขาก็หวง ไม่ประสงค์จะให้ใครมารับแกขมเหงน้ำใจ ลูกเมียสามีเปรียบเหมือนทรัพย์อันมีค่าของเขา คนที่รับแก ข่มเหงล่วงเกินผู้อื่น จึงชื่อว่าเป็นเป็นผู้ทำผิดปกติของคน
-ปกติของคนเราจะต้องไม่โกหกหลอกลวงกัน เพราะทุกคนไม่พึงปรารถนาจะให้ใครมาโกหกหลอกลวงตน ไม่ปรารถนาจะให้ใครมาหักรานประโยชน์ของตน ปรารถนาแต่ความสัตย์ความจริงด้วยกันทั้งสิ้น คนที่โกหกหลอกลวงผู้อื่นจึงชื่อว่าทำผิดปกติของคน
-ปกติของคนเราจะต้องรักษากายวาจาให้เรียบร้อย บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ร่างกายของตน ไม่ปรารถนาจะให้ร่างกายได้รับความลำบากด้วยทุกขเวทนาต่าง ๆ ทั้งพยายามเสริมสร้างร่างกายให้เจริญด้วยกำลังและสมบูรณ์ด้วยสติปัญญา จึงต้องงดเว้นจากการทำร้ายร่างกายตนเอง ด้วยการไม่ทำตนให้ผิดปกติ
คนที่ดื่มสุรา เมรัย และเสพของมึนเมาต่าง ๆ เช่น กัญชาและเฮโรอีน เป็นต้นจนกลายเป็นคนติดยาเสพติดให้โทษ เป็นคนขาดสติสัมปชัญญะ ตกอยู่ในฐานะแห่งความเป็นผู้ประมาท ชื่อว่าเป็นผู้ทำร้างร่างกายตนเอง จึงจัดว่าเป็นคนทำผิดปกติ

   ศีล ๕ ประการนี้ ท่านเรียกว่า มนุษยธรรม แปลว่า ธรรมสำหรับมนุษย์ ธรรมทำให้คนเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์,เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะ ผู้ที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษยธรรมนี้มาก่อน การเกิดมาเป็นมนุษย์เป็นเรื่องที่ยากแท้ ดังพระพุทธดำรัสว่า"กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยาก" เมื่อเราได้อัตภาพเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วอย่างนี้ ไม่พยายามรักษาสภาพปกติไว้ ก็จะกลายเป็นผู้ทำลายปกติของตนเอง
ผู้ที่ล่วงละเมิดศีล จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำลายมนุษยธรรม ผู้ที่ทำลายมนุษย์ธรรมชื่อว่าเป็นผู้ทำลายปกติของตนเองด้วยประการฉะนี้



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:29:35 pm »
การรักษาศีล 5
-http://www.sil5.net/index.asp?autherid=14&ContentID=10000024&title=%A1%D2%C3%C3%D1%A1%C9%D2%C8%D5%C5+5&bttcol=False-

ตอนที่ ๒ วิรัติ คือการงดเว้น

   การรักษาศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ, การปฏิบัติธรรม คือ การฝึกฝนอบรมจิตใจให้งดงาม, คนดีมีศีลธรรม คือ คนที่มีกายวาจาเรียบร้อยและมีจิตใจงดงาม
การรักษาศีลนั้นมี ๓ วิธี เรียกว่า วิรัติ คือ การงดเว้น ได้แก่

๑.สมาทานวิรัติ การงดเว้นด้วยการสมาทาน
๒.สัมปัตตวิรัติ การงดเว้นในขณะเผชิญหน้า
๓.สมุจเฉทวิรัติ การงดเว้นโดยเด็ดขาด

   การที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์หมดจดเรียบร้อย ต้องประกอบด้วยวิรัติ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

   สมาทานวิรัติ ได้แก่การเปล่งวาจาขอสมาทานศีลจากพระภิกษุ สาม เณร หรือ จากบุคคลผู้มีศีลโดยการเปล่งวาจาขอสมาทานเป็นข้อ ๆ ไปดังนี้

๑.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขา บท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และการใช้ให้คนอื่นฆ่า
ในสิกขาบทนี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลงมือฆ่าด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติก ประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นฆ่า

๒.อะทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมา ทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลัก
ในสิกขาบทนี้ คำว่า "ทรัพย์" หมายเอาทั้งสวิญญาณกทรัพย์ ทรัพยที่มีวิญญาณครอง เช่น คน สัตว์ และ วิญญาณฏทรัพย์ ทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ และหมายความรวมไปถึงสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้และอสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ในสิกขาบทนี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลักด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นลัก

๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมา ทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ในสิกขาบทนี้ คำว่า "การประพฤติผิดในกาม" หมายถึงการร่วมประ เวณีในบุรุษและสตรีที่ไม่ใช่สามี-ภรรยาคู่ครองของตนเอง เช่น มารดาบิดาล่วงละเมิดกับบุตรธิดาของตนเอง หรือพี่ชายพี่สาวล่วงละเมิดกับน้องชายน้องสาวของตนเอง ก็เป็นการผิดประเวณีทั้งสิ้น
สิกขาบทนี้ เป็น สาหัตถิกประโยค เพราะผิดประเวณีด้วยตนเองอย่างเดียว ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นผิดประเวณี

๔.มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และ พูดเพ้อเจ้อ
ในสิกขาบทนี้ คำว่า "มุสาวาท" หมายความรวมไปถึง วจีทุจริต ๔ ประการ คือ การปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และ พูดเพ้อเจ้อ การพูดปด ได้แก่ การพูดเท็จ หรือพูดให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งเรียกว่า มุสาวาท
การพูดคำหยาบ ได้แก่ การด่าว่าคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เรีบกว่า ผรุสวาจา
การพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ การพูดให้ไขว้เขว เหลวไหลไร้สาระ ทำให้เสียประโยชน์ของผู้อื่น เรียกว่า สัมผัปปลาปะสิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยค เพราะพูดด้วยตนเองอย่างเดียว ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะให้ใช้คนอื่นพูด

๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในสิกขาบทนี้ คำว่า "สุราและเมรัย" หมายถึง สุรา ๕ อย่าง และ เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่

สุรา ๕ อย่าง ได้แก่

๑.ปิฏฐสุรา สุราทำด้วยแป้ง
๒.ปูวสุรา สุราทำด้วยขนม
๓.โอทนสุรา สุราทำด้วยข้าวสุก
๔.กิณณะปกะขิตตา สุราที่หมักเชื้อ
๕.สัมภาระสังยุตตา สุราที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่

๑.ปุปผาสโว น้ำดองดอกไม้
๒.ผลาสโว น้ำดองผลไม้
๓.มธวาสโว น้ำดองน้ำผึ้ง หรือน้ำดองน้ำหวาน
๔.คุฬาสโว น้ำดองน้ำอ้อย
๕.สัมภาระสังยุตโต น้ำดองที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

สิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยคเพราะดื่มหรือเสพด้วยตนเอง ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้ผู้อื่นดื่มหรือเสพ

สัมปัตตวิรัติ ได้แก่การงดเว้นในขณะเมื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น เกิดมีการต่อสู้กันขึ้น มีช่องทางพอที่จะฆ่าเขาได้ แต่ระลึกถึงศีลจึงไม่ฆ่า มีช่องทางพอที่จะโกงเขาได้แต่ไม่โกง มีช่องทางพอที่จะล่วงประเวณีได้แต่ไม่ล่วงประเวณี มีเหตุที่จะต้องให้โกหกเขาได้แต่ไม่โกหก มีโอกาสที่จะดื่มน้ำเมาได้ แต่ไม่ดื่มเพราะคำนึงถึงศีลดังกล่าวแล้ว อย่างนี้เป็นต้น เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ แปลว่า งดเว้นได้ในขณะประจวบเข้าเฉพาะหน้า จัดเป็นผู้รักษาศีลเช่นเดียวกัน

สมุจเฉทวิรัติ ได้แก่ การงดเว้นโดยเด็ดขาด แม้อันตรายจะเข้ามาถึงชีวิตตนเอง ก็ไม่ล่วงละเมิดศีล เป็นวิรัติของพระอริยบุคคล ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ถูกบังคับให้ฆ่าคนอื่น ถ้าไม่ทำตนเองก็จะถูกฆ่า ก็ไม่ยอมฆ่าคนอื่นโดยเด็ดขาด ยอมให้เขาฆ่าตนเองดีกว่าที่จะล่วงละเมิดศีล ดังนี้เป็นต้น


ตอนที่ ๓ องค์แห่งศีล ๕

   ในสิกขาบททั้ง ๕ นั้น ในแต่ละสิกขาบทมีองค์ประกอบต่าง ๆ กัน เมื่อครบองค์ศีลจึงขาด ถ้าไม่ครบองค์ศีลยังไม่ขาด เป็นแต่เพียงด่างพร้อยหรือบกพร่องไปบ้างเท่านั้น องค์แห่งศีลทั้ง ๕ นั้นมีดังต่อไปนี้

สิกขาบทที่ ๑

   ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่า เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หมายถึง เว้นจากการฆ่าสัตว์ สิกขาบทที่ ๑ นี้มีองค์ ๕ คือ


๑.สัตว์นั้นมีชีวิต
๒.รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓.มีเจตนาจะฆ่าสัตว์นั้น
๔.พยายามฆ่าสัตว์นั้น
๕.สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น

การฆ่าที่ประกอบไปด้วยองค์ ๕ นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่าก็ตาม ยุยงให้สัตว์อื่นฆ่ากันก็ตาม เช่น จัดให้จิ้งหรีดกัดกันจนตายไป เป็นต้น ศีลก็ขาดทั้งนั้น
สิกขาบทที่ ๑
ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่า เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หมายถึง เว้นจากการฆ่าสัตว์
คำว่า"สัตว์"ในสิกขาบทที่ ๑ นี้ ท่านประสงค์เอาทั้งมนุษย์ชาย-หญิงทุกวัย จนที่สุดแม้กระทั่งที่ยังอยู่ในครรภ์ และสัตว์ดิรัจฉานทุกชนิด

สิกขาบทที่ ๑ นี้มีข้อห้ามไว้ ๓ ประการ ได้แก่

๑.การฆ่า
๒.การทำร้ายร่างกาย
๓.การทรกรรม

ในสิกขาบทที่ ๑ นี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลงมือฆ่าด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นฆ่า
การฆ่าโดยตรงศีลขาด, ส่วนการทำร้ายร่างกาย และการทรกรรม (ทรมาน) สัตว์ รวมเรียกว่า อนุโลมการฆ่า ศีลไม่ขาด เป็นแต่เพียงด่างพร้อยหรือศีลทะลุก็เรียก


การฆ่า
การฆ่า หมายถึง การทำให้ตาย แบ่งเป็น ๒ อย่าง ได้แก่


๑.ฆ่ามนุษย์
๒.ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน


การทำร้ายร่างกาย
การทำร้างร่ายกายนี้ ทางฝ่ายศาสนาถือเป็น "บุพพประโยคของการฆ่า" แบ่งออกเป็น ๓ สถาน ได้แก่

๑.การทำให้พิการ ได้แก่ การทำให้อวัยวะบางส่วนเสีย เช่น การทำให้ตาเสีย การทำให้แขนหรือขาเสีย เป็นต้น
๒.การทำให้เสียโฉม ได้แก่ การทำร้างร่างกายให้เสียรูปเสียงาม แต่ไม่ถึงกับให้พิการ เช่น
๓.การทำให้เจ็บลำบาก ได้แก่ การทำร้างร่างกายซึ่งไม่ถึงกับเสียโฉม แต่เสียความสำราญ เช่น ชกต่อย เฆี่ยนตี


การทรกรรม
ทรกรรม หมายถึง "การประพฤติเหี้ยมโหดแก่สัตว์โดยไม่ปรานี" จัดเป็น ๕ อย่าง ได้แก่

๑.ใช้การ ได้แก่ การใช้สัตว์เป็นพาหนะ อย่างไม่ปรานี มีแต่ใช้ ปล่อยให้อดอยาก ซูบผอม ไม่ให้พักผ่อนตามกาล หรือใช้เกินกำลังของสัตว์
๒.กักขัง ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ไว้ในกรงที่คับแคบเกินไป หรือผูกไว้เพื่อดูชมเล่น แต่ผู้เลี้ยงกักขัง หรือผูกมัดไว้จนไม่สามารถจะผลัดเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่ปรนเปรอเลี้ยงดูให้สัตว์ได้รับความสุขพอสมควร ปล่อยให้อดอยาก เป็นต้น
๓.นำไป ได้แก่ การนำไปผิดอิริยาบถของสัตว์ สัตว์นั้นย่อมได้รับความลำบาก เช่น ผูกขาไก่หิ้วไป
๔.เล่นสนุก ได้แก่การนำสัตว์มาเล่นเพื่อความสนุก เช่นเอาประทัดผูกหางสุนัขแล้วจุดไฟ
๕.ผจญสัตว์ ได้แก่ การเอาสัตว์ให้ชนกันหรือกัดกัน เช่น ชนโค ชนไก่ กัดปลา เป็นต้น


สิกขาบทที่ ๒

   อทินนาทานา เวรมณี เวรมณี แปลว่า "เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยอาการเป็นโจร"
สิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ได้ในที่นี้ หมายถึงสิ่งของ ๒ อย่าง คือ

๑.สิ่งของที่มีเจ้าของ ทั้งที่มีวิญญาณ ซึ่งเรียกว่า สวิญญาณกทรัพย์ และที่ไม่มีวิญญาณ เรียกว่า อวิญญาณกทรัพย์
๒.สิ่งของที่ไม่ใช่ของใคร แต่มีผู้รักษาหวงแหน เช่น สิ่งของที่เป็นของสงฆ์ ของสโมสร ของส่วนรวม เป็นต้น

ในสิกขาบทที่ ๒ นี้ จึงมีข้อห้ามเป็น ๓ อย่าง ได้แก่

๑.โจรกรรม
๒.ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม
๓.กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม

๑.โจรกรรม
โจรกรรม ได้แก่ "กิริยาที่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการเป็นโจร" มี ๑๔ ประเภท ได้แก่
๑.ลัก ได้แก่"กิริยาที่ถือเอาสิ่งของด้วยอาการเป็นโจรในเวลาที่เงียบไม่ให้เจ้าของรู้" มี ๓ ลักษณะ คือ
ก.เมื่อเจ้าของเขาเผลอก็หยิบเอาสิ่งของนั้นไป เรียกว่า "ขโมย"
ข.เวลาสงัดคนแอบเข้าไปในเรือนแล้วหยิบเอาสิ่งของของเขาเรียกว่า"ย่องเบา"
ค.งัดหรือเจาะประตู-หน้าต่างที่ปิดอยู่แล้วถือเอาสิ่งของของเขาเรียกว่า "ตัดช่อง"
๒.ฉก ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของในเวลาที่เจ้าของเขาเผลอ เช่น
วิ่งราว หมายถึง เจ้าของเขาเผลอก็เข้าแย่งเอาแล้ววิ่งหนีไป หรือ
ตีชิง หมายถึง ตีเจ้าของให้เจ็บแล้วถือเอาสิ่งของ
๓.กรรโชก ได้แก่ กิริยาที่แสดงอำนาจให้เจ้าของตกใจกลัวแล้วยอมให้สิ่งของ
๔.ปล้น ได้แก่ กิริยาที่ยกพวกตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปข่มขู่เจ้าทรัพย์แล้วถือเอาสิ่งของของคนอื่นไป
๕.ตู่ ได้แก่ กิริยาที่ร้องเอาสิ่งของขงอผู้อื่นซึ่งมิได้ตกอยู่ในมือตนเอง
๖.ฉ้อ ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นที่ตกอยู่ในมือตนเอง
๗.หลอก ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นโดยการพูดจาหลอกลวงหรือโกหกเอา (ปั้นเรื่องขึ้นให้เจ้าทรัพย์หลงเชื่อแล้วจึงถือเอาทรัพย์ของเขาไป)
๘.ลวง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยการแสดงของอย่างใดอย่างหนึ่งให้เขาเข้าใจผิด (ใช้เพทุบายลวงให้เขาหลงเชื่อ)
๙.ปลอม ได้แก่ กิริยาที่ทำของไม่แท้ให้เห็นว่าเป็นของแท้ขึ้นเปลี่ยนเอาสิ่งของดีหรือ ของแท้ของเขาไป (ทำของปลอมขึ้นเปลี่ยนเอาของแท้ของเขา)
๑๐.ตระบัด ได้แก่ กิริยาที่ยืมสิ่งของของเขาไปแล้วถือเอาเป็นของตนเอง ไม่ส่งคืน (การยืมของเขาแล้วไม่ส่งคืนเจ้าของเดิม โดยยึดถือเอาเป็นของตัวเองไป)
๑๑.เบียดบัง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาเศษ เช่น เก็บเงินค่าเช่าได้มาก แต่ให้เจ้าของแต่เพียงน้อย ๆ(กินเศษกินเลยเล็ก ๆ น้อย ๆ)
๑๒.สัปเปลี่ยน ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของตนที่เลวเข้าไปไว้แทน แล้วเอาของที่ดีของผู้อื่นไปเสีย (เอาของที่ไม่ดีไปเปลี่ยนเอาของที่ดีของเขา)
๑๓.ลักลอบ ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของต้องพิกัดซ่อนเข้ามาโดยไม่เสียภาษี, ค้าของหนีภาษี, ลักลอบขนของหนีภาษี เป็นต้น)
๑๔.ยักยอก ได้แก่ กิริยาที่ยักยอกทรัพย์ของตนที่จะต้องถูกยึดไปไว้เสียในที่อื่น (การใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต)

๒.ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม
ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม ได้แก่ กิริยาที่แสวงหาพัสดุในทางที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ไม่นับเข้าในอาการโจรกรรม แบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
๑.สมโจร ได้แก่ กิริยาที่อุดหนุนโจรกรรมโดยนัย เช่น รับซื้อของโจร คือเป็นผู้รับซื้อสิ่งของที่ผู้อื่นโจรกรรมได้มา
๒.ปอกลอก ได้แก่ กิริยาที่คบคนด้วยอาการไม่ซื่อสัตย์ มุ่งหมายจะเอาทรัพย์สมบัติของ เขาฝ่ายเดียว เมื่อเขาสิ้นตัวแล้วทิ้งเขาเสีย (คบกับคนอื่นโดยหวังผลประโยชน์ตนฝ่ายเดียว)
๓.รับสินบน ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาทรัพย์ที่เขาให้ เพื่อช่วยทำธุระให้แก่เขาในทางที่ผิด

๓.กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม
กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม ได้แก่ กิริยาที่ทำทรัพย์พัสดุของผู้อื่นให้สูญและเป็นสินที่ใช้ตกอยู่แก่ตน มี ๒ ประเภท ได้แก่
๑.ผลาญ ได้แก่ กิริยาที่ทำอันตรายเสียหายแก่ทรัพย์สินพัสดุของผู้อื่น เช่น แกล้งเผาสวนยาง เผาบ้านของเขา เป็นต้น
๒.หยิบฉวย ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาทรัพย์พัสดุของผู้อื่นด้วยความมักง่าย เช่น บุตรหลานประพฤติตนเป็นคนพาลนำเอาทรัพย์สินของพ่อ-แม่ ปู่-ย่า ตา-ยายไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น

สิกขาบทที่ ๒ นี้มีองค์ ๕ คือ


๑.ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒.รู้อยู่ว่าของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๓.มีเจตนาจะถือเอาสิ่งนั้น
๔.พยายามถือเอาสิ่งนั้น
๕.ได้ของนั้นมาด้วยความพยายามนั้น

สิกขาบทที่ ๓

   กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
คำว่า"กาม"ในทีนี้ ได้แก่ กิริยาที่รักใคร่กันในทางประเวณี ซึ่งทั้งชายและ หญิงต่างก็เป็นวัตถุต้องห้ามของกันและกัน

หญิงที่ต้องห้ามในสิกขาบทนี้มี ๔ จำพวก คือ

๑.ภรรยาผู้อื่น ได้แก่ หญิง ๔ จำพวก ได้แก่


ก.หญิงที่แต่งงานแล้ว
ข.หญิงที่ไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันกับชายโดยอาการเปิดเผย
ค.หญิงผู้รับสิ่งของมีทรัพย์เนต้นของชาย แล้วยอมอยู่กับเขา
ง.หญิงที่ชายเลี้ยงเป็นภรรยา


๒.หญิงที่อยู่ในความพิทักษ์รักษาของเขา ได้แก่ หญิงที่ พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง รักษา

๓.หญิงที่จารีตห้าม ได้แก่ หญิง ๓ จำพวก คือ

ก.หญิงที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของตัวเอง และ ผู้ที่เป็นเหล่ากอของตนเอง
ข.หญิงที่อยู่ใต้พระบัญญัติในพระศาสนา เช่น ภิกษุณี ชี เป็นต้น
ค.หญิงที่กฏหมายบ้านเมืองห้ามและลงโทษแก่ชายผู้สมสู่ด้วย

ชายที่ต้องห้ามในสิกขาบทที่ ๓
ชายก็เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงเหมือนกัน ท่านกล่าวแสดงไว้ ๒ จำพวก คือ

๑.ชายอื่นนอกจากสามี เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงที่มีสามี
๒.ชายที่จารีตห้าม เช่น พระภิกษุ สามเณร เป็นต้น เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงทั้งปวง

ในสิกขาบทนี้ คำว่า "การประพฤติผิดในกาม"หมายถึง การร่วมประเวณีในบุรุษและสตรีที่ไม่ใช่สามี-ภรรยาคู่ครองของตนเอง เช่น มารดาบิดาล่วงละเมิดกับบุตรธิดาของตนเอง หรือพี่ชายพี่สาวล่วงละเมิดกับน้องชายน้องสาวของตนเอง ก็เป็นการผิดประเวณีทั้งสิ้น

สิกขาบทที่ ๔

   มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ แปลว่า "ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท"
คำว่า "มุสาวาทา เวรมณี" แปลว่า เว้นจากมุสาวาท, ความเท็จ ชื่อว่า มุสา, กิริยาที่พูด หรือแสดงอาการมุสา ชื่อว่า มุสาวาท ในสิกขาบทที่ ๔ นี้

ในสิกขาบทที่ ๔ มีข้อห้ามเป็น ๓ อย่าง ได้แก่

๑.มุสา กล่าวเท็จ
๒.อนุโลมมุสา กล่าววาจาที่เป็นตามมุสา
๓.ปฏิสสวะ รับแล้วไม่ทำตามรับ

๑.มุสา มีลักษณะ ดังนี้

๑.เรื่องที่กล่าวนั้นไม่เป็นความจริง ๒.ผู้กล่าวจงใจ
๓.กล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ๔.ผู้ฟังเข้าใจผิด

การแสดงมุสานี้ไม่เฉพาะแต่ทางวาจาอย่างเดียวเท่านั้น แม้ทางกายก็อาจเป็นไปได้ เช่น เขียนหนังสือมุสาเขา แสดงอาการ หรือ สั่นศีรษะ ที่ทำให้เขาเข้าใจผิดจากความเป็นจริง


มุสามี ๗ ประเภท ได้แก่

๑.ปด ได้แก่ มุสาจัง ๆไม่อาศัยมูลเลย ท่านแสดงตัวอย่างไว้ ๔ อย่าง ได้แก่
ก.ส่อเสียด หมายถึง ปดเพื่อจะให้เขาแตกแยกกัน
ข.หลอก หมายถึง ปดเพื่อจะโกงเขา
ค.ยอ หมายถึง ปดเพื่อจะยกย่อง
ง.กลับคำ หมายถึง พูดแล้วไม่ทำตามรับ
๒.ทนสาบาน ได้แก่ กิริยาที่เลี่ยงสัตย์ว่าจะพูดตามเป็นจริง แต่ไม่ได้ตั้งใจจริงอย่างนั้น มีปดเป็นบริวาร, หมายถึง สาบานเพื่อหวังผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นพยานทนสาบานแล้วเบิกความเท็จในศาล เป็นต้น
๓.ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ กิริยาที่อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง เช่น อวดรู้วิชาว่าคงกระพัน หรือพูดมุสาด้วยการใช้เพทุบาย ไม่พูดตรง ๆ
๔.มารยา ได้แก่ กิริยาที่แสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง เช่น คนไม่มีศีลแต่ทำทีให้เขาห็นว่าเป็นคนมีศีล, หรือเจ็บเล็กน้อยแต่ทำทีเป็นเจ็บปวดเสียมากมาย เป็นต้น
๕.ทำเลส ได้แก่ การพูดมุสาเล่นสำนวน คือ อยากจะพูดเท็จแต่ทำเป็นเลสเล่นสำนวนให้ผู้ฟังนำไปคิด
๖.เสริมความ ได้แก่ พูดมุสาอาศัยมูลเดิม แต่เสริมความให้มากกว่าที่เป็นจริง หรือเรื่องจริงมีนิดหน่อยแต่กลับพูดขยายความออกเสียยกใหญ่จนเกินความจริงไป เช่น พูดพรรณนาถึงสรรพ คุณยาให้เกินกว่าทั่วยาจะรักษาโรคได้
๗.อำความ ได้แก่ พูดมุสาเดิม แต่ตัดความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้เสีย เพื่อทำความเข้าใจกลายไปเป็นอย่างอื่น (หมายถึง เรื่องจริงนั้นมีมาก แต่กลับพูดให้เห็นเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย)

๒.อนุโลมมุสา
อนุโลมมุสากำหนดรู้ได้ด้วยลักษณะ ๒ อย่าง ได้แก่


๑.วัตถุที่จะกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง
๒.ผู้กล่าวไม่จงใจกล่าวให้ผู้ฟังเข้าใจผิด มี ๒ ประเภท ได้แก่
ก.เสียดแทง ได้แก่ กิริยาที่ว่าให้ผู้อื่นเจ็บใจ เช่น พูดประชด ด่า
ข.สับปรับได้แก่พูดปดด้วยความคะนองวาจาแต่ผู้พูดไม่ตั้งใจจะให้เขาเข้าใจผิด


คำพูดที่จริงที่ไม่สมควรพูด


คำพูดที่จริง แต่ให้โทษแก่ผู้อื่นและผู้พูดเอง เป็นคำพูดที่มุ่งหมายอย่างนั้น ซึ่งคำพูดนั้นมีมูลเหตุมาจากมุสาจึงจัดเข้าในอนุโลมมุสา ได้แก่


๑.คำส่อเสียด ได้แก่ คำพูดที่ได้ยินข้างหนึ่งติเตียนข้างหนึ่งแล้วเก็บไปบอกยุยงเขา เป็นเหตุให้เขาแตกแยกกัน
๒.คำเสียดแทง ได้แก่ การพูดให้เขาเจ็บใจ อ้างวัตถุที่เป็นจริงอย่างนั้นขึ้นพูด เป็นเหตุให้ผู้ที่ต้องถูกว่านั้นเจ็บใจ

๓.ปฏิสสวะ
ปฏิสสวะ ได้แก่ กิริยาที่รับคำผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์คิดจะทำตามที่รับปากไว้จริง ๆ แต่ภายหลังกลับไม่ได้ทำตามที่รับปากไว้นั้น

ปฏิสสวะนี้มี ๓ ประเภท ได้แก่


๑.ผิดสัญญา ได้แก่ การที่ทั้งสองฝ่ายทำสัญญากันว่าจะทำเช่นนั้นเช่นนี้ แต่ภายหลังกลับไม่ได้ทำตามที่สัญญานั้น
๒.เสียสัตย์ ได้แก่ กิริยาที่ให้สัตย์แก่เขาฝ่ายเดียวว่าตนเองจะทำหรือไม่ทำเช่นนั้น เช่นนี้ แต่ภายหลังกลับไม่ทำตามคำพูดนั้น
๓.คืนคำ ได้แก่ การที่รับปากว่าจะทำหรือไม่ทำสั่งนั้นสิ่งนี้โดยมีไม่สัญญา แต่ภาย หลังกัลบไม่ทำตามนั้น

ปฏิสสวะ เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติเสียชื่อเสียง จึงควรจะละเสีย ส่วนการ"ถอนคำ" ไม่นับเป็นปฏิสสวะ


ยถาสัญญา
การพูดมุสาที่ไม่ผิดศีล เรียกว่า "ยถาสัญญา" คือ คำพูดที่บุคคลพูดตามความสำคัญ หรือพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ และผู้พูดมีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่มีเจตนาที่จะพูดให้ผิดไปจากความเป็นจริง มี ๔ ลักษณะ ได้แก่


๑.โวหาร ได้แก่ ถ้อยคำที่ใช้กันเป็นธรรมเนียม เช่น คำลงท้ายของจดหมายซึ่งแสดงความอ่อนน้อมว่า ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง เป็นต้น
๒.นิยาย ได้แก่ เรื่องที่เปรียบเทียบเพื่อให้ได้ใจความเป็นสุภาษิต เช่น นิยายที่จินตกวีแต่งขึ้น
๓.สำคัญผิด ได้แก่ กิริยาที่ผู้พูดสำคัญผิดและพูดออกไปตามความสำคัญผิดนั้น เช่น วันนี้เป็นวันอังคาร เมื่อมีผู้ถามว่าวันนี้เป็นวันอะไร ? ผู้พูดสำคัญว่าเป็นวันพุธ จึงตอบไปว่า "วันพุธ" เช่นนี้ต้น
๔.พลั้ง ได้แก่ กิริยาที่ผู้พูดตั้งใจจะพูดอย่างหนึ่งแต่พูดออกไปอีกอย่างหนึ่ง และการพูดเช่นนี้เมื่อพูดออกไปแล้วควรบอกใหม่ทันที เช่น ถูกถามว่า "ไปไหนมา ?" ก็รีบตอบเลยทันทีว่า "เปล่า…! ไปธุระมานิดหน่อย" คำว่า "เปล่า" นั้นเป็นคำพูดพลั้งหรือพูดด้วยความเคยชิน โดยไม่มีเจตนาจะพูดให้เขาเข้าใจผิด



สิกขาบทที่ ๕

   สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท


ความหมายของ "สุรา และ เมรัย"
น้ำเมาที่เป็นของหมักดอง เช่น กระแช่ น้ำตาลเมาต่าง ๆ ชื่อว่า"เมรัย", เมรัยนั้นที่เขากลั่นอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้รสเข้มข้นขึ้น เช่น เหล้าชนิดต่าง ๆ ชื่อว่า "สุรา"


ในสิกขาบทนี้ คำว่า"สุราและเมรัย" หมายเอา สุรา ๕ อย่าง และ เมรัย ๕ อย่างซึ่งจะขอกล่าวตามลำดับต่อไป


สุรา ๕ อย่าง ได้แก่


๑.ปิฏฐสุรา สุราทำด้วยแป้ง
๒.ปูวสุรา สุราทำด้วยขนม
๓.โอทนสุรา สุราทำด้วยข้าวสุก
๔.กิณณะปกะขิตตา สุราที่หมักเชื้อ
๕.สัมภาระสังยุตตา สุราที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่


๑.ปุปผาสโว น้ำดองดอกไม้
๒.ผลาสโว น้ำดองผลไม้
๓.มธวาสโว น้ำดองน้ำผึ้งหรือน้ำดองน้ำหวาน
๔.คุฬาสโว น้ำดองน้ำอ้อย
๕.สัมภาระสังยุตโต น้ำดองที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

สิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยคเพราะดื่มหรือเสพด้วยตนเองเท่านั้น ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้ผู้อื่นดื่มหรือเสพ

สิ่งมึนเมาที่อนุโลมเข้ากับสุราและเมรัย

การสูบ ฉีด หรือเสพ ยาเสพติดให้โทษ เช่น กัญชา เฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น ทินเนอร์ ฯลฯ เข้าไปในร่างกาย ซึ่งไม่ใมช่การดื่มกินเข้าไปเหมือนสุราและเมรัย ก็จัดว่าผิดศีลข้อที่ ๕ เหมือนกัน เพราะสิ่งเสพติดเหล่านี้ แม้จะไม่ได้ดิ่มกินทางปากก็ตามที แต่ก็สำเร็จเป็นการทำให้มีนเมา ทำให้ไม่สามารถควบคุมสติและควบคุมตนเองได้ เช่นเดียวกับหารดิ่มกินสุราเมรัย ซ้ำยังมีโทษร้ายแรงยิ่งกว่าสุราเมรัยเสียอีก
ยาเสพติด เช่น กัญชา เฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น ทินเนอร์ เป็นต้นนั้น ถึงแม้ว่าไม่มีในครั้งพุทธกาล และพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็ตามที แต่ก็อนุโลมเข้ากันได้กับสุราเมรัยและของมึนเมาอย่างอื่นอีก เพราะอาศัยหลักฐานคือ มหาปเทส ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็นหลัก เพราะฉะนั้นยาเสพติดทุกชนิดที่อนุโลมเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร จึงทำให้ผู้ที่สูบ เสพ หรือ ฉีด สิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิดผิดศีลข้อที่ ๕ ด้วย

มหาปเทสนั้นมี ๔ ประการ ได้แก่.-

๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดต่อสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดต่อสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร
๓. สิ่งใดที่ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดต่อสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร.
๔.สิ่งใดที่ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร(กัปิยะ)ขัดกันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร


สุรา และ เมรัย และสิ่งเสพติดให้โทษทั้งหมดนั้น ย่อมทำให้ผู้ที่ดื่มมึนเมาเสียสติ เป็นบ่อเกิดแห่งความประมาท เลินเล่อเผลอสติ ขาดความยั้งคิด ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำทุกอย่างได้ทั้งหมด ไม่มีความละอาย และเป็นเหตุให้ทำความชั่วอย่างอื่นได้อีกมากมาย สร้างความปั่นป่วนให้สังคม การดื่มสุราเมรัย และหรือเสพยาเสพติดให้โทษ เป็นอบายมุข เป็นหนทางแห่งหายนะ ฉะนั้นน้ำเมาคือสุราเมรัยจึงได้ชื่อว่า "เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

 
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:30:54 pm »
ความหมายของศีล 5
-http://www.sil5.net/index.asp?autherid=13&ContentID=10000024&title=%A4%C7%D2%C1%CB%C1%D2%C2%A2%CD%A7%C8%D5%C5+5&bttcol=False-

ศีล 5 มีความหมายคือ


๑. เว้นจากทำลายชีวิต
๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากพูดเท็จ
๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

 

อาราธนาศีล 5


(ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยันปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตยาถะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติยาถะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

 

ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษา เป็นข้อ ๆ  คำสมาทาน ว่า


ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า)


อทินนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ,ฉ้อ ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช่ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ)


กาเมสุมิจฺฉานารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม)


มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง และคำล่อลวง อำพรางผู้อื่น)


สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่าง ๆ )

อาราธนาศีล ๕

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ
สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ฯ ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต
วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ
ยาจามะ ฯ ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัต
ถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ฯ
อาราธนาศีล ๘ ในวันพระก็แบบเดียวกัน ต่างกันแต่
เปลี่ยน " ปัญจะ" เป็น "อัฏฐะ" เท่านั้น



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:32:01 pm »
ศีล อุโบสถ
-http://www.sil5.net/index.asp?contentID=10000004&title=%C8%D5%C5+%CD%D8%E2%BA%CA%B6&getarticle=15&keyword=&catid=1&title=%C8%D5%C5+%CD%D8%E2%BA%CA%B6&bttcol=False-
เตสํ สมฺปนฺนสีสานํ  สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ       
อปฺปมาทวิหารฺนํ    มาโร มคฺคํ น วินฺทติ

มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์
อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้น เพราะรู้ชอบ
     


จาก . . . ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
( สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ )
 
ประณีต  ก้องสมุทร

         
         ศีล ๕ เป็นศีลของคฤหัสถ์ ที่คฤหัสถ์ทั้งชายหญิงควรรักษาเป็นปกติ เป็น ประจำตลอดชีวิต

          ถึงกระนั้น ศีลที่ยิ่งกว่า ศีล ๕ ขัดเกลากิเลสได้ยิ่งกว่าศีล ๕ ที่คฤหัสถ์ควรรักษาตามโอกาส เป็นครั้งคราว ก็มีอยู่ ศีลที่กล่าวนี้คือ อุโบสถศีล หรือศีลอุโบสถ ซึ่งคฤหัสถ์ชายหญิงบางท่านรักษาในวัน อุโบสถ สมัยก่อนท่านกำหนดวันรักษาอุโบสถศีลไว้มากกว่าวันนี้ แต่ปัจจุบันเหลือวันรักษาอุโบสถศีลเพียง เดือนละ ๔ ครั้งในวันพระคือในวันแรม ๘ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำหรือ ๑๕ ค่ำ ขึ้น ๘ ค่ำและขึ้น ๑๕ ค่ำ แต่บาง ท่านก็ประพฤติยิ่งกว่านั้น โดยอาศัยแนวที่ท่านกล่าวไว้ใน อรรถกถาราชสูตร อังคุตตรนิกายติกนิบาตว่า อุโบสถมี ๓ อย่างคือ

       ๑. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ คือวัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม

       ๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน คือถือเอาวันที่กำหนดไว้ในปกติอุโบสถ เป็นหลัก แล้วเพิ่มรักษาก่อนกำหนด ๑ วัน เรียกว่า วันรับ และหลังวันกำหนดอีก ๑ วัน เรียกว่า วันส่ง เช่นวัน ๘ ค่ำเป็นวันรักษาปกติอุโบสถ ผู้ที่จะรักษาปฏิชาครอุโบสถ ก็เริ่มรักษาตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ ไปสิ้นสุดเอา เมื่อสิ้นวัน ๙ ค่ำ คือรักษาในวัน ๗ ค่ำ ๘ ค่ำและ ๙ ค่ำ รวม ๓ วัน ๓ คืน
       
        ๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำทุกวันตลอดพรรษา ๓ เดือนอย่าง หนึ่ง ถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด ๓ เดือน ก็รักษาให้ตลอด ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว คือรักษาใน กฐินกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ อย่างหนึ่ง ถ้ายัง ไม่อาจรักษาได้ตลอด ๑ เดือน ก็รักษาเพียงครั้งละครึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงสิ้นเดือน ๑๑ อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ

         ศีลอุโบสถนั้นเป็น ศีลรวม หรือ ศีลพวง คือมีองค์ประกอบถึง ๘ องค์ ถ้าขาดไปองค์ใดองค์ หนึ่งก็ไม่เรียกว่า ศีลอุโบสถ ตามพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว ก็ถือว่า ขาดศีลอุโบสถ เพราะเหลือศีลไม่ครบองค์ของอุโบสถศีล พูดง่ายๆว่าขาดศีลองค์เดียว ขาดหมดทั้ง ๘ องค์ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา เป็นพิเศษ

         อุโบสถศีลที่ประกอบด้วยองค์ ๘ มีดังนี้

    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี : งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป

    ๒. อทินนาทานา เวรมณี : งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้

    ๓. อพรหมจริยา เวรมณี : งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์

    ๔. มุสาวาทา เวรมณี : งดเว้นจากการกล่าวเท็จ

    ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี : งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

    ๖. วิกาลโภชนา เวรมณี : งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

    ๗. นัจจคีตวาทิต วิสูกทัสสนมาลาคันธ วิเลปนธารณ มัณฑนวิ ภูสนัฏฐานา เวรมณี : งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ลูบทาทัด ทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะ แห่งการแต่งตัว

    ๘. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี : งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่

        อุโบสถศีลอันมีองค์ ๘ นี้ องค์ที่ ๑-๒-๔-๕ เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ ของศีล ๕ ที่แปลกกัน คือข้อ ๓

        ศีล ๕ นั้น ข้อ ๓ ให้เว้นจากการประพฤติผิดประเวณีในผู้ที่มิใช่คู่ของตน แต่ถ้าเป็นคู่ครอง ของตนแล้วไม่ห้าม แต่ศีลข้อ ๓ ของอุโบสถศีลนั้น ให้งดเว้นจากการเสพประเวณีโดยเด็ดขาด แม้ใน คู่ครองของตนเอง จึงจะชื่อว่า พรหมจริยา คือ ประพฤติอย่างพรหม ส่วนที่เพิ่มเข้ามาคือ ศีลข้อ ๖-๗-๘ อุโบสถศีลนั้นก็มีองค์ของศีลเป็นเครื่องวินิจฉัยว่า การกระทำเช่นไรจึงล่วงศีลไว้เช่นเดียวกับศีล ๕ สำหรับศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ นั้น มีองค์เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ ของศีล ๕ ที่ได้กล่าวไปแล้ว สำหรับศีล ข้อที่เหลือมีเครื่องวินิจฉัย ดังนี้

        ศีลข้อ ๓ อพรหมจริยา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ ๑. อชฺฌาจรณียวตฺถุ วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง ( คือมรรคทั้ง ๓ ) ๒. ตตฺถ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพในวัตถุที่จะพึงล่วงนั้น ๓. เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ ๔. สาทิยนํ มีความยินดี
    ศีลข้อ ๖ วิกาลโภชนา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ ๑. วิกาโล เวลาตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนอรุณขึ้น ๒. ยาวกาลิกํ ของเคี้ยวของกินที่สงเคราะห์เข้าในอาหาร ๓. อชฺโฌหรณปฺปโยโค พยายามกลืนกิน ๔. เตน อชฺโฌหรณํ กลืนให้ล่วงลำคอเข้าไปด้วยความเพียรนั้น

        สำหรับศีลข้อนี้ ควรทราบว่า เวลาตั้งแต่อรุณขึ้นไปจนถึงเที่ยง เรียกว่า กาล คือเป็นเวลาบริโภค อาหาร ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น (ของวันใหม่) เรียกว่า วิกาล เป็นเวลาที่ต้องเว้นจากการบริโภค อาหารทุกชนิด เว้นน้ำธรรมดา และน้ำดื่ม ๘ อย่าง ที่เรียกว่า ๑ อัฏฐบาน ที่มีพุทธานุญาตไว้ น้ำดื่ม ๘ อย่าง ( อัฏฐบาน ) นั้น คือ

        น้ำที่ทำจากผลมะม่วง ๑ ผลหว้า ๑ ผลกล้วยมีเมล็ด ๑ ผลกล้วยที่ไม่มีเมล็ด ๑ ผลมะทราง ๑ ผลจันทน์ หรือผลองุ่น ๑ เง่าบัว ๑ ผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑
    ต่อมาทรงมีพุทธานุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำ ผักดอง น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง และทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด

        อรรถกถาท่านสรุปว่า ในเวลาวิกาลดื่มน้ำผลไม้ได้ทุกชนิด เว้นผลไม้ที่มีผลโตกว่าผลมะตูม ( บางแห่งว่าผลมะขวิด ) วิธีทำนั้นก็ต้องคั้นเอาแต่น้ำ และกรองให้ไม่มีกาก และไม่ผ่านการสุกด้วยไฟ น้ำปานะดังกล่าวนี้เท่านั้นที่ผู้รักษาอุโบสถศีลควรดื่มในเวลาวิกาล นอกนี้ไม่ควร พึงสังเกตว่า ไม่มีน้ำนมสดทุกชนิด คือน้ำนมของสัตว์ หรือนมที่ทำจากพืช เช่นถั่วเป็นต้น

         นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงอนุญาตให้บริโภคเภสัช ๒ ๕ อย่างคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย รวมทั้งงบน้ำอ้อย ในเวลาวิกาลได้

    ๑-๒. พระวินัยปิฎกมหาวรรค เภสัชชขันธกะ ข้อ ๘๖ และข้อ ๒๖

          ศีลข้อ ๗ แบ่งเป็น ๒ ตอน แต่ละตอนมีองค์โดยเฉพาะ ถ้ากระทำผิดศีลตอนใดตอนหนึ่ง เพียงตอนเดียว ก็ถือว่าขาดหมดทั้งสองตอน
    ศีลข้อ ๗ ตอนแรก นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล มีองค์ ๓ คือ ๑. นจฺจาทีนิ การเล่นมีฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น ๒. ทสฺสนตฺถาย คมนํ ไปเพื่อจะดูหรือฟัง ๓. ทสฺสนํ ดูหรือฟัง

       ศีลตอนแรกนี้ท่านห้ามทั้งเล่นเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเล่นแล้วตนดูหรือฟัง ผู้รักษาอุโบสถศีลแล้วยัง เปิดวิทยุฟังเพลง ฟังลิเก หรือมหรสพต่างๆ หรือเปิดโทรทัศน์แล้วหลบไปนั่งในที่ๆ มองไม่เห็นภาพ อาศัย ฟังแต่เสียงการละเล่นต่างๆ มีละคร เป็นต้นจากโทรทัศน์นั้น ย่อมไม่สมควรถือว่าผิดศีลข้อนี้ เพราะมีเจตนา ชัดแจ้ง
    หากมีผู้อื่นเขาเปิดดูหรือฟังอยู่ ผู้รักษาอุโบสถศีลเพียงแต่ผ่านไป ได้เห็นหรือได้ยินเข้า แล้วก็ ผ่านเลยไปอย่างนี้ไม่ผิดแต่ไม่ใช่ว่าไม่ได้มีเจตนาจะดูหรือฟังมาก่อน แต่ผ่านไปเห็นหรือได้ยินเข้า แล้ว เลยพลอยร่วมวงดูหรือฟังกับเขาด้วย อย่างนี้ก็ผิด
    ปกติเราก็ดูก็ฟังกันอยู่ทักวันทุกคืน เราจะหยุดดูหยุดฟังกันสักวันหนึ่ง คืนหนึ่ง ตามอย่าง พระอรหันต์ ท่านมิได้เทียวหรือ ก็ในวินัยของพระอริยเจ้านั้น

        *การขับร้อง คือการร้องไห้ การฟ้อนรำ คือความเป็นบ้า การหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็ก ศีลข้อ ๗ ตอนหลัง มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการลูบทา ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการ แต่งตัว มีองค์ ๓ คือ ๑. มาลาทีนํ อญฺญตรตา เครื่องประดับตกแต่ง มีดอกไม้และของหอม เป็นต้น ๒. อนุญฺญาตการณาภาโว ไม่มีเหตุเจ็บไข้ เป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ๓. อลงฺกตภาโว ทัดทรงประดับตกแต่ง เป็นต้นด้วยจิตคิดจะประดับให้สวยงาม

       ในข้อนี้มีข้อสังเกตคือ บางท่านก่อนไปวัดเพื่อสมาทานอุโบสถศีล ก็ตกแต่งร่างกาย ทาหน้า ทาปาก เป็นต้น อย่างสวยงามเสียก่อน เพราะคิดว่าได้กระทำก่อนสมาทานศีล จึงไม่ผิด แต่เจตนาใน การกระทำเพื่อให้สวยงามมีอยู่จึงถือว่าผิด เพราะผู้ที่จะรักษาอุโบสถศีลนั้น ต้องตั้งเจตนาที่จะรักษาไว้ ตั้งแต่รุ่งเช้าแล้วว่า จะรักษาอุโบสถศีลตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง คำว่า วันหนึ่งคืนหนึ่งนั้น ท่านกำหนดนับตั้งแต่อรุณขึ้นของวันที่รักษาไปจนถึงอรุณขึ้นของวัน ใหม่ ถ้าน้อยกว่ากำหนดนี้ก็ไม่ชื่อว่าวันหนึ่งคืนหนึ่ง ผู้รักษาอุโบสถควรระลึกถึงข้อนี้ด้วย

       ศีลข้อ ๘ อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ มีองค์ ๓ คือ ๑. อุจฺจาสยนมหาสยนํ ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ ๒. อุจฺจสยนมหาสยนสญฺญิตา รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ ๓. อภิสีทนํ วา อภิปชฺชนํ วา นั่งหรือนอนลง

       คำว่า ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่ ในศีลข้อนี้ ท่านหมายเอาที่นั่งและที่นอนที่สูงใหญ่เกินประมาณ ที่ประดับตกแต่งด้วยเครื่องปูลาดที่วิจิตรงดงาม รวมไปถึงที่นอนที่ยัดด้วยนุ่มและสำลีด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้ ยินดีติดใจในความงามและสัมผัสที่อ่อนนุ่มสบายของที่นั่งที่นอนเหล่านั้น

      อุโบสถศีลทั้ง ๔ ข้อที่แตกต่างและเพิ่มขึ้นจากศีล ๕ นั้นถ้าไม่พิจารณาให้ละเอียดแล้ว จะไม่ เห็นว่าศีลทั้ง ๔ ข้อนี้เพิ่มความขัดเกลายิ่งขึ้น จึงไม่น่ายากแก่การรักษา แต่โดยที่แท้แล้วมิได้เป็นเช่นนั้น มิฉะนั้นแล้วก็คงจะไม่มีผู้รักษาอุโบสถศีลน้อยมากอย่างนี้ เมื่อเทียบกับจำนวนพลเมืองทั้งประเทศ

       ก็ปกติของคฤหัสถ์นั้น ยังยินดีติดใจในการการเสพประเวณี ในการบริโภคจนเกิน ประมาณ ในการตกแต่งร่างกายให้สวยงาม ในการนอนสบาย แต่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ อุโบสถศีล ๔ ข้อนี้ขึ้น เพื่อขัดเกลาความยินดี ติดใจในสิ่งเหล่านี้ของคฤหัสถ์เป็นครั้งคราว เพียงชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่งเป็นอย่างต่ำ ๓ วันเป็นอย่างกลาง ( ปฏิชาครอุโบสถ ) ๓ เดือนตลอด พรรษาเป็นอย่างสูง ( ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ ) มิได้ทรงบัญญัติให้รักษาจนตลอดชีวิตอย่าง พระอรหันต์

       เพราะฉะนั้น ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลเพียงชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่งเพราะน้อมระลึกว่า "แม้เราจะรักษา อุโบสถศีลจนตลอดชีวิตอย่างพระอรหันต์ไม่ได้ ก็ขอดำเนินรอยตามท่านด้วยการรักษาอุโบสถศีล อันมีองค์ ๘ นี้ ขั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง" เพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ยังตรัสว่า การรักษาอุโบสถศีลของผู้นั้นมี ผลมากมีอานิสงส์มาก* แม้พระราชาผู้ทรงเป็นใหญ่ใน ๑๖ แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพราะศีลนั้นทำให้เกิดในสวรรค์

    * อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐ วิสาขสูตร อํ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๓๓

       ก็สมบัติมหาศาลของพระราชา ในเมืองมนุษย์นั้นเป็นของเล็กน้อย เปรียบเหมือนสมบัติ ของคนจน เมื่อเทียบกับสมบัติและความสุขอันเป็นทิพย์ในเทวโลก ที่ผู้รักษาอุโบสถศีลจะพึงได้ รับเมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว

        ทั้งนี้เพราะเทวดาผู้เกิดในสวรรค์ชั้นต่ำสุดคือ จาตุมมหาราชิกานั้นยังมีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งวันหนึ่งคืนหนึ่งของสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นเท่ากับ ๕๐ ปีมนุษย์ ลองคิดดูเองเถิดว่า ๕๐๐ ปีทิพย์ นั้นจะเท่ากับกี่ปีมนุษย์ ยิ่งถ้าได้เกิดในสวรรค์ชั้นสูงขึ้นไป อายุก็เพิ่มขึ้นจากชั้นต่ำเป็นทวีคูณ ชั้นปรนิมมิต วสวตีอันเป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด เทวดาในชั้นนี้อายุยืนถึง ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ ( เทวโลกหรือสวรรค์นั้นมี ๖ ชั้น คือ จาตุมมหาราชิกา ดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานนรตี ปรนิมมิตวสวตี )

    อุโบสถศีล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากอย่างนี้

       ถึงกระนั้นพระพุทธองค์ก็มิได้ทรงสอนให้หลงใหลติดใจในสมบัติ และความสุขในโลกสวรรค์ เพราะมิฉะนั้นแล้วพระองค์จะไม่ตรัสกับ นางวิสาขา มหาอุบาสิกาเลยว่า

    อุโบสถ* มี ๓ อย่าง คือ

     ๑. โคปาลกอุโบสถ อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค
     ๒. นิคัณฐอุโบสถ อุโบสถของพวกนักบวชนิครนถ์
     ๓. อริยอุโบสถ อุโบสถของพระอริยะ

    * อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐

        บุคคลผู้รักษาอุโบสถเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโคนั้น เมื่อสมาทานอุโบสถศีลแล้ว ก็ปล่อยใจให้ คิดแต่เรื่องราวของความโลภความต้องการ อยากได้สิ่งโน้นสิ่งนี้มาบำรุงบำเรอตน ไม่ได้คิดจะทำความ ดีอย่างอื่นให้เกิดขึ้นเลย ไม่ผิดอะไรกับคนที่รับจ้างเลี้ยงโค ที่เมื่อถึงเวลาเช้าก็ไปรับโคมาเลี้ยง เวลา เย็นก็นำโคมาส่งเจ้าของแล้วรับเอาค่าจ้างไป กลับบ้านแล้วก็คิดแต่ว่าพรุ่งนี้จะพาโคไปกินหญ้า กินน้ำที่ ไหน คนรับจ้างนั้นไม่เคยได้รับประโยชน์อะไรจากโค มีน้ำนมเป็นต้นเลย ผู้รักษาโคปาลกอุโบสถก็เช่น กัน ไม่ได้รับประโยชน์จากอุโบสถศีลที่ตนรักษาเลย การรักษาแบบ โคปาลกอุโบสถ จึงไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์ เพราะความตรึกไม่บริสุทธิ์ส่วน นิคัณฐอุโบสถ  นั้นเป็นอุโบสถของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งแตกต่างจากการรักษา อุโบสถในพระพุทธศาสนา  กล่าวคือ ในอุโบสถ  พวกนักบวชนิครนถ์  จะแนะนำชักชวนสาวก  เป็นต้นว่า   ไม่ให้ฆ่าสัตว์ในที่ทั้ง ๔ ในที่เลยร้อยโยชน์ไป นอกจากนั้นมิได้ห้าม การแนะนำชักชวนสาวกอย่างนี้ ชื่อว่า ห้ามการฆ่าสัตว์ในที่บางแห่ง ไม่ห้ามฆ่าสัตว์ในที่บางแห่ง  เป็นการขาดความกรุณาเอ็นดูในสัตว์ บางพวก  มิได้ให้ความเอ็นดูแก่สัตว์ทุกหมู่เหล่า  อุโบสถของพวกนิครนถ์จึงไม่มีผลมากแต่ อริยอุโบสถ  นั้นเป็นอุโบสถที่มีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  เพราะผู้รักษามิได้ปล่อยใจให้ ฟุ้งซ่านไปในความยินดีต้องการ  หรือความเศร้าหมองใดๆ  ด้วยอำนาจของกิเลส  แต่มาพากเพียรระลึก ถึงพระคุณของพระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์  ตลอดจนระลึกถึงศีลที่บริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อยของตน  และ ระลึกถึงคุณธรรมของผู้ที่เกิดเป็นเทวดา  ว่าเทวดาเหล่านั้นได้เกิดเป็นเทวดา  เพราะประกอบด้วยศรัทธา   ศีล  สุตะ  จาคะ  ปัญญา  เช่นใด  แม้เราก็ประกอบด้วยศรัทธา  ศีล  สุตะ  จาคะ  ปัญญา  เช่นนั้น  เมื่อพาก เพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า  เป็นต้น  จิตย่อมผ่องใส  ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส  การรักษาอุโบสถ โดยการไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอำนาจของอกุศลแล้วมาเจริญกุศลอย่างนี้  ชื่อว่า  อริยอุโบสถ

       อุโบสถจึงมีผลมาก เพราะจิตของผู้รักษาบริสุทธิ์ ไม่มีผลมากเพราะจิตเศร้าหมอง

       บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญพุทธานุสสติ  ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ *พรหมอุโบสถ อยู่ร่วมกับพรหม และมีจิตผ่องใสเพราะ ปรารภพรหม

    * อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐

    คำว่า พรหม  ในที่นี้ แปลว่า ประเสริฐ เป็นชื่อของพระพุทธเจ้า

       บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญธัมมานุสสติ  ระลึกถึงคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ ธรรมอุโบสถ อยู่ร่วมกับธรรม และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภธรรม

       บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญสังฆานุสสติ  ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ สังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับสงฆ์ และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภสงฆ์

          บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญสีลานุสสติ  ระลึกถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลของตน พระพุทธเจ้า ตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ ศีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภศีล

          ศีลที่บริสุทธิ์นั้น คือ ศีลที่ไม่ขาด  คือไม่ขาดศีลข้อต้นหรือข้อปลายเหมือนผ้าที่ขาดตรงชาย ๑ ไม่ทะลุ  เหมือนผ้าที่ทะลุตรงกลาง เพราะขาดศีลตอนกลางในระหว่างข้อต้นและข้อปลาย ๑ ไม่ด่าง  เหมือนแม่วัวที่มีรอยด่างสีดำหรือแดง รูปกลมหรือยาว ที่หลังหรื่อที่ท้อง เพราะขาด ศีลติดต่อกันเป็นลำดับ ๒ หรือ ๓ ข้อ ๑ ไม่พร้อย  เหมือนแม่วัวที่มีจุดตามตัว เพราะศีลขาดเป็นระหว่างๆ ๑ บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญเทวตานุสสติ  ระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้ไปเกิดเป็นเทวดา พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ เทวดาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา และมีจิตผ่องใสเพราะ ปรารภเทวดา

         ผู้รักษาอุโบสถ เมื่อพากเพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมผ่องใส ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส ครั้นเจริญอนุสสติให้จิตใจสงบอย่างนี้แล้ว ตายไปย่อมเกิดในสวรรค์ หากเจริญธรรมให้สูงยิ่ง กว่านี้ คือเจริญสมถะกรรมฐาน เป็นนิจจนได้ฌาน ฌานก็จะนำเกิดในพรหมโลกหรือหากเจริญวิปัสสนา จนสำเร็จมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาแล้ว ผู้รักษาอุโบสถศีลนั้นก็สามารถกำหนดการ เกิดของตนได้ว่า ยังมีอีกหรือไม่ คือถ้าเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ก็ยังต้องเกิดอีก แต่อย่างมากก็เกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ หากสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่เกิดอีกเลย ก็เพราะอริยอุโบสถมีผลมาก มีอานิสงส์มากอย่างนี้ คืออย่างต่ำทำให้เกิดในสวรรค์ ๖ ชั้น อย่างกลางทำให้เกิดเป็นพรหม อย่างสูงทำให้ไม่เกิดอีกเลย ทุกท่านที่รักษาอุโบสถ จึงควรรักษาอริย อุโบสถ ดำเนินรอยตามพระอริยะ ส่วนผลที่ได้รับจะสูงต่ำเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราเอง รวมทั้งปัญญาบารมีที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่ปางก่อนด้วยใน สักกสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ข้อ ๔๖ พระพุทธองค์ตรัสเตือนอุบาสกชาว สักกชนบท ที่รักษาอุโบสถศีลเป็นบางครั้งบางคราวว่า เป็นผู้ประมาทไม่ทำตามคำพร่ำสอนของพระองค์ ในเมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้ ก็ยังไม่รักษาอุโบสถศีลให้เป็นปกติ ให้ สม่ำเสมอ สาวกของพระองค์นั้นปฏิบัติตามคำพร่ำสอนของพระองค์โดยไม่ประมาทตลอด ๑๐ ปี ย่อม ได้รับความสุขเพียงอย่างเดียวตลอด ๑๐๐ ปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี พึงเป็นพระโสดาบัน พระสกทา คามี พระอนาคามีก็มี

       อย่าว่าแต่ผู้ที่ปฏิบัติตามคำพร่ำสอนของพระองค์ตลอด ๑๐ ปีเลย แม้ปฏิบัติตามคำสอนของ พระองค์น้อยกว่านั้นลงมาตามลำดับจนถึง ๑ วัน ๑ คืน ก็พึงได้รับความสุขอย่างเดียวตลอด ๑๐๐ ปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี พึงเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีก็มี

       เมื่ออุบาสกชาวสักกชนบทได้ฟังพระพุทธองค์ตรัสเตือน พร้อมทั้งแสดงอานิสงส์ของอุโบสถศีล เช่นนั้น ก็กราบทูลรับรองว่า ต่อแต่นี้ไปจะรักษาอุโบสถศีลโดยสม่ำเสมอ มิได้ขาด
     
        ก็ชีวิตของเราทั้งหลายในปัจจุบันนี้ ล้วนมีภัยอันตรายอยู่รอบตัว ไม่มีใครทราบว่าความตายจะ มาถึงเราเมื่อไร แล้วเรายังจะประมาทไม่ทำตามคำพร่ำสอนของพระพุทธองค์ด้วยการรักษาศีล ๕ หรือ อุโบสถศีลให้สม่ำเสมอดอกหรือ ในเมื่อศีลนั้นเป็นอริยทรัพย์ประการหนึ่งในบรรดาอริยทรัพย์ ๗ ประการ ที่พร้อมจะติดตามไปให้ความสุขแก่ผู้รักษาตลอดไป ตราบเท่าที่ยังต้องเกิดอยู่

       เพราะฉะนั้น ผู้รักษาศีลดีแล้ว จึงไม่ต้องตั้งเจตนาปรารถนา ขอความไม่เดือดร้อนและ ความสุข จงเกิดแก่เรา ด้วยว่าความไม่เดือดร้อนและความสุข ย่อมเกิดแก่ผู้มีศีลเป็นธรรมดา แต่ผู้ทุศีลถึงจะตั้งเจตนาปรารถนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนและความสุขจงเกิดแก่เรา เขาก็หา ได้รับผลสมตามเจตนาไม่ เพราะความเดือดร้อน และความทุกข์ย่อมเกิดแก่ผู้ทุศีลเป็นธรรมดา ธรรมที่ปฏิบัติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้อย่างนี้

        สำหรับศีลของคฤหัสถ์อีกอย่างหนึ่ง คือ ศีล ๘ ก็มี ๘ ข้อเหมือนอุโบสถศีล เพียงแต่ไม่กำหนด วันรักษาเหมือนอุโบสถศีล จะรักษาวันใด เมื่อไรก็ได้ เป็นการสะดวกสบายสำหรับผู้ที่ไม่อาจจะรักษาอุโบสถ ศีลในวันพระ ก็สามารถรักษาศีล ๘ ในวันอื่นเป็นการทดแทนได้ บางท่านมีศรัทธารักษาศีล ๘ จนตลอดชีวิต ควรแก่การสรรเสริญ และหากว่าท่านที่รักษาศีล ๘ นั้นจะได้รักษาศีล ๘ ของท่านตามแบบอย่างของพระอริยะ แล้ว ศีลของท่านก็ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

       อนึ่งในการตั้งใจรักษาศีลนั้น อย่านึกว่าต้องไปสมาทานกับพระที่วัดเท่านั้นจึงจะเป็นศีล ความจริง แล้วจะสมาทานที่ไหนก็ได้ คือจะสมาทานที่วัด ในป่า หรือในบ้าน หากมีเจตนาคิดงดเว้นก็เป็นศีลแล้ว หรือ จะคิดงดเว้นเองโดยมิต้องสมาทานก็เป็นศีล โดยเฉพาะอุโบสถศีลนั้น ควรตั้งเจตนาในการรักษาไว้แต่รุ่งเช้า หากมีโอกาสไปวัดจะสมาทานกับพระอีกครั้งหนึ่งก็สมควร ทั้งนี้เพราะตามวัดต่างๆนั้น กว่าจะถึงเวลาที่พระ ท่านลงโบสถ์และให้ศีล ก็มักเป็นเวลาหลังจากที่ท่านฉันอาหารเช้าแล้ว ( โดยมากประมาณ ๙ น. ) ซึ่งเลย เวลาที่อรุณขึ้นมาหลายชั่วโมง ด้วยเหตุนั้นจึงควรสมาทานด้วยตนเองเสียก่อนแต่รุ่งเช้า

        ในอดีต พระพุทธเจ้าของเราในสมัยที่ยังเป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ ก็ยังได้สมาทานศีลอุโบสถด้วย ตนเอง ในขณะที่ลอยอยู่กลางทะเล แม้ในสมัยพุทธกาล คนส่วนมากก็สมาทานศีลที่บ้าน ในวันอุโบสถ แล้วจึงถือดอกไม้ของหอม ไปวัดเพื่อฟังธรรม ( อรรถกถาเล่า ) ท่านมิได้ไปรับศีลจากพระที่วัด หากการรักษาศีลจำเป็นต้องไปสมาทานกับพระเพียงอย่างเดียว ก็น่าคิดว่าผู้ที่อยู่ในถิ่นกันดาร ในที่ไม่มีวัด ไม่มีพระ แต่นับถือพระพุทธศาสนา มิหมดโอกาสที่จะรักษาศีลหรือ เพราะเหตุนี้การทำอะไร จึงต้องอาศัย ปัญญา แม้การรักษาศีลก็ต้องอาศัยปัญญาพินิจพิจารณาให้รอบคอบ อย่าเพียงแต่ทำตามๆ กันโดยขาดเหตุผลด้วยเหตุนี้พระอรหันต์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

    * ศีลเท่านั้นเป็นเลิศ แต่ผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ในโลกนี้ ความชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้เพราะศีลและปัญญา

    * ขุททกนิกาย, ปุณณเถรคาถา, สีลวเถรคาถา

        ความชนะในที่นี้ หมายถึง ความชนะกิเลส มนุษย์ก็ตาม เทวดาก็ตาม จะชนะกิเลส ได้ก็เพราะศีลและปัญญา ศีลที่มีปัญญาเป็นพื้นฐาน จึงไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ไม่เป็นทาส ของตัณหาและทิฏฐิ กล่าวคือ ผู้รักษาศีล มิได้มุ่งรักษาเพราะต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ หรือสมบัติใดๆ มีโภคสมบัติเป็นต้น หรือมิได้รักษาเพราะเห็นผิดว่า เราจะบริสุทธิ์จากกิเลสได้เพราะศีลนี้ หมายความว่าผู้นั้น เห็นผิดว่า ลำพังศีลอย่างเดียว คือศีลเท่านั้นบรรลุนิพพานได้ ซึ่งเห็นผิดไปจากความจริง เพราะผู้จะบรรลุ นิพพานได้นั้น ต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา เบื้องต้นนั้น ศีลเป็นบาทให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นบาทให้เกิดปัญญา แต่เบื้องปลาย ศีล สมาธิ และปัญญา จะประชุมพร้อมกันเป็นมรรคสมังคี ในอริยมรรค มีองค์ ๘ เป็นอริยศีล อริยสมาธิ และอริยปัญญา อริยศีลที่ประกอบด้วยอริยสมาธิ และอริยปัญญา ในขณะนั้นเท่านั้น ที่บรรลุนิพพานได้ อริยศีลนี้ จึงชื่อว่า สีเลน นิพฺพุติ ยนฺติ โดยแท้จริง

          ด้วยเหตุนี้ ศีลที่มีปัญญาเป็นพื้นฐาน จึงเป็นเครื่องกั้นทุจริต เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอันประเสริฐ เป็นเครื่องหอมที่ฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ เป็นสะพานนำไปถึงนิพพาน หากยังไม่ ปรินิพพานตราบใด ย่อมเกิดเป็นมนุษย์ * และเทวดาเท่านั้น

    * อํ. ทุกนิบาต ข้อ ๒๗๕

    จริงหรือไม่ว่า ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

 
กาเยน วาจาย จ โยธ สญฺญโต
มนสา จ กิญฺจิ น กโรติ ปาปํ
น อตฺตเหตุ อลิกํ ภณาติ
ตถาวิธํ สีลวนฺติ วทนฺติ
 
      ผู้ใดสำรวมในโลกนี้ สำรวมทางกาย วาจาและใจ
ไม่ทำบาปอะไรๆ และไม่พูดพล่อย เพราะเหตุแห่งตน
ท่านย่อมเรียกคนเช่นนั้นว่า ผู้มีศีล

จาก :- สรภังคชาดก ขุททกนิกายชาดก ข้อ ๒๔๖๖
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:32:44 pm »
กรรมวิบาก และ อานิสงส์ของศีล ๕
-http://www.sil5.net/index.asp?autherid=24&ContentID=10000024&title=%CD%D2%B9%D4%CA%A7%A4%EC%A2%CD%A7%A1%D2%C3%C3%D1%A1%C9%D2%C8%D5%C5+5&bttcol=False-

กรรมวิบากของศีล ๕

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๑ คือประพฤติปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย (แดนแห่งเปรต)
๔.ย่อมเป็นผู้มีอวัยวะพิการ
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีอายุสั้น

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๒ คือประพฤติทินนาทาน(ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย/ลักทรัพย์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้ยากจนเข็ญในไร้ที่พึง
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ทรัพย์ย่อมฉิบหาย

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๓ คือ ประพฤติผิดในกาม ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีร่างกายทุพลภาพ ขี้เร่ มากไปด้วยโรค
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีศัตรูรอบด้าน

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๔ คือประพฤติมุสาวาท พูดเท็จ ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีวาจาไม่เป็นที่เชื่อถือ มีกลิ่นปากเหม็นจัด
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ จะถูกกล่าวตู่อยู่เสมอ


ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานนา คือผู้ดื่มสุราเมรัย ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓. ย่อมเกิดในเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีสติไม่สมประกอบ
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นบ้า


อนึ่ง โทษแห่งการดื่มสุราเมรัยและเสพสิ่งเสพติดให้โทษซึ่งผู้ประพฤติย่อมได้รับโทษในปัจจุบัน ๖ อย่าง คือ


๑.เสียทรัพย์ ๒.ก่อการทะเลาะวิวาท
๓.เกิดโรค ๔.ถูกติเตียน
๕.เป็นผู้ไม่มียางอาย ๖.ทอนกำลังสติปัญญา



อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ๕

สิกขาบทที่ ๑ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๗ ประการ ได้แก่.-

๑.มีร่างกายสมส่วน ไม่พิการ
๒.เป็นคนแกล้วกล้าว่องไว มีกำลังมาก
๓.ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไม่เศร้าหมอง
๔.เป็นคนอ่อนโยน มีวาจาไพเราะ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลาย
๕.ศัตรูทำร้ายไม่ได้ ไม่ถูกฆ่าตาย
๖.มีโรคภัยเบียดเบียนน้อย
๗.ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน


สิกขาบทที่ ๒ ย่อมไดรับอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.ย่อมมีทรัพย์สมบัติมาก
๒.แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมได้โดยง่าย
๓.โภคทรัพย์ที่หามาได้แล้วย่อมมั่นคงถาวร
๔.สมบัติไม่ฉิบหายเพราะโจรภัย อัคคีภัย และอุทกภัย เป็นต้น
๕.ย่อมได้รับอริยทรัพย์
๖.ย่อมไม่ได้ยินและรู้จักคำว่า "ไม่มี"
๗.อยู่ที่ไหนก็ย่อมเป็นสุข เพราะไม่มีใครเบียดเบียน


สิกขาบทที่ ๓ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.ไม่มีศัตรูเบียดเบียน
๒.เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
๓.มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
๔.ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกระเทยอีก
๕.เป็นผู้สง่า มีอำนาจมาก
๖.มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
๗.มีความสุข ไม่ต้องทำงานหนัก


สิกขาบทที่ ๔ คือ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒.มีวาจาไพเราะ มีไรฟันสม่ำเสมอเป็นระเบียบดี
๓.มีร่างกายสมส่วนบริบูรณ์ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
๔.มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว
๕.มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป
๖.ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้
๗.มีริมฝีปากแดงระเรื่อและบาง


สิกขาบทที่ ๕ มีอานิสงส์โดยย่อ ๖ ประการ ได้แก่


๑.รู้จักอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒.มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ
๓.มีความรู้มาก มีปัญญามาก
๔.ไม่บ้า ไม่ใบ้ ไม่มัวเมาหลงไหล
๕.มีวาจาไพเราะ มีน้ำคำเป็นที่น่าเชื่อถือ
๖.มีความซื่อสัตย์ สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ


อานิสงส์โดยย่อของการรักษาศีล


การรักษาศีลย่อมมีอานิสงส์มากมายจนสุดที่จะบรรยายให้ไหมดได้ แต่เมื่อกล่าวโดยหลักใหญ่ ๆ ซึ่งปรากฏในคำกล่าวสรุปหลังจากที่พระท่านให้ศีลว่ามี ๓ ประการ คือ


๑.ศีลเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ (สีเลนะ สุคติง ยันติ)
๒.ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ (สีเลนะ โภคะสัมปะทา)
๓.ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน (สีเลนะ นิพพุติง ยันติ)


และเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ศีลนั้นมี "ความไม่เดือดร้อน" เป็นอานิสงส์ที่สูงสุด


วิธีการหรือขั้นตอนการสมาทานศีล

เบื้องต้น ผู้ต้องการจะสมาทานศีล พึงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกล่างคำบูชาพระรัตนตรัย ดังต่อไปนี้

คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย, ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว,
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,พระธรรมคือศาสนา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระธรรมเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, หมู่พระสงฆ์ผู้เชื่อฟัง, ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา ซึ่งหมู่พระสงฆะเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)

หลังจากที่ได้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยแล้ว พึงตั้งใจให้แน่วแน่ที่จะสมาทานศีล เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดความปกติทางกาย วาจา โดยกล่าวคำอาราธนาศีล ดังต่อไปนี้

คำอาราธนาศีล ๕

มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ,ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต,วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ,ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
หมายเหตุ.- ถ้าคนเดียวทั้งอาราธนาศีลและรับศีลให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง,
เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ นอกนั้นเหมือนกันหมด

พึงนั่งให้เรียบร้อย สำรวมกาย วาจา ใจ แล้วคำคำสมาทานศีล โดยกล่าวตามพระภิกษุ สามเณร หรือผู้มีศีล ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

คำนมัสการ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

(แปลว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, >>>>>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, >>>>>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)

คำปฏิญาณตนถึงไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต
>>>>>แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต
>>>>>แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต)

ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าวว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า
"อามะ ภันเต"แล้วตั้งใจสมาทานศีล(รับศีล)ตามที่พระท่านนำกล่าวสมาทานต่อไปว่า.-


ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น)

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น)

กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท)

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า ฯลฯ)

(ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าว ผู้รับศีลไม่ต้องว่าตาม)

อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ,
สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา,
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย.


ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า "สาธุ ภันเต" เสร็จแล้วไหว้ หรือ กราบตามสมควรแก่กรณี
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:37:10 pm »
ธรรมะปฏิบัติ การรักษาศีล จำแนกตามประเภทบุคคล : ศีล ๓๑๑
-http://thammapedia.com/practice/patipatti_sil311.php-

“อานนท์ ! พุทธบริษัททั้งสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์เอย ! ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม”

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

"ดูก่อนอานนท์ ธรรมหนึ่งคือ..
อานาปานสติสมาธิ ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์,
สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์,
โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและ วิมุติให้บริบูรณ์"

“..ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
   สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว... ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมดีแล้ว... ย่อมละราคะได้
   วิปัสสนา ที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมละอวิชชาได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ ชื่อว่าปัญญาวิมุติ"

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

การรักษาศีล
จำแนกตามประเภทบุคคล
๑. ศีล ๕ สำหรับทุกคน    
๒. ศีล ๘ อุโบสถศีล    
๓. ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร    
๔. ศีล ๒๒๗ ศีลสำหรับพระภิกษุ
๕. ศีล ๓๑๑ ศีลสำหรับพระภิกษุณี
 


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:38:49 pm »
ธรรมะปฏิบัติ การรักษาศีล จำแนกตามประเภทบุคคล : ศีล ๓๑๑
-http://thammapedia.com/practice/patipatti_sil311.php-

ศีล ๓๑๑ : สำหรับภิกษุณี

ศีล ๓๑๑ ข้อ : ศีลสำหรับพระภิกษณีุ มีในภิกขุนีปาฏิโมกข์, เป็นวินัยของภิกษุณีสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด ดังนี้

๑. ปาราชิก ............................. ๘ ข้อ    
๒. สังฆาทิเสส ....................... ๑๗ ข้อ         
๓. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ .............. ๓๐ ข้อ         
๔. ปาจิตตีย์ ........................ ๑๖๖ ข้อ         
๕. ปาฏิเทสนียะ ....................... ๘ ข้อ
๖. เสขิยะ ๗๕ ข้อ โดยแบ่งเป็น ๔ หมวด คือ    
สารูป ........................... ๒๖ ข้อ
โภชนปฏิสังยุตต์ ............. ๓๐ ข้อ
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ ...... ๑๖ ข้อ
ปกิณณกะ ....................... ๓ ข้อ
๗. อธิกรณสมถะ ...................... ๗ ข้อ

รวมทั้งหมดแล้ว ๓๑๑ ข้อ
ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิกษุณีรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา ๘
( ข้อปฏิบัติของภิกษุณี ๘ ประการ )
ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา คือ เงื่อนไขอย่างเข้มงวด ๘ ประการ ที่ภิกษุณีจะต้องปฏิบัติตลอดชีวิต
     ๑. ต้องเคารพภิกษุแม้จะอ่อนพรรษากว่า
     ๒. ต้องไม่จำพรรษาในวัดที่ไม่มีภิกษุ
     ๓. ต้องทำอุโบสถและรับโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
     ๔. เมื่อออกพรรษาต้องปวารณาตนต่อภิกษุและภิกษุณีอื่นให้ตักเตือนตน
     ๕. เมื่อต้องอาบัติหนัก ต้องรับมานัต (รับโทษ) จากสงฆ์สองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายภิกษุและภิกษุณี ๑๕ วัน
     ๖. ต้องบวชจากสงฆ์ทั้งสองฝ่าย หลังจากเป็น *สิกขามานา เต็มแล้วสองปี
     ๗. จะด่าว่าค่อนแคะภิกษุไม่ได้
     ๘. ห้ามสอนภิกษุเด็ดขาด
*คำว่า "สิกขามานา" แปลว่า ผู้ศึกษา สตรีที่จะบวชเป็นภิกษุณีต้องเป็นนางสิกขามานา ก่อน ๒ ปี

๑. ปาราชิก มี ๘ ข้อ
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวผู้ (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)
๕. นางภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการลูบ, การคลำ, การจับ, การต้อง, การบีบ, ของชายผู้มีความกำหนัด เบื้องบนตั้งแต่ใต้รากขวัญ๑ลงไป เบื้องต่ำตั้งแต่เข่าขึ้นมา
๖. นางภิกษุณีรู้ว่านางภิกษุณีอื่นต้องอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตนเอง ไม่บอกแก่หมู่คณะ ต้องอาบัติปาราชิก.
๗. นางภิกษุณีประพฤติตามภิกษุที่สงฆ์สวดประกาศยกเสียจากหมู่ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืน ไม่ทำตนให้เป็นสหายกับพระธรรม พระวินัย คำสอนของพระศาสดา. นางภิกษุณีนั้น อันสงฆ์พึงตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือนชี้แจง ถ้าสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติปาราชิก.
๘. นางภิกษุณีที่เป็นคณะเดียวกัน ๖ รูป ประพฤติตนไม่สมควร มียินดีการจับมือบ้าง การจับชายสังฆาฏิบ้าง ของบุรุษ ยืนกับบุรุษบ้าง พูดจากับเขาบ้าง นัดหมายกับเขาบ้าง ยินดีการมาตามนัดหมายของเขาบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายให้เขาเพื่อเสพอสัทธรรมบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาราชิกแก่นางภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น.
[กลับขึ้นด้านบน]
๒. สังฆาทิเสส มี ๑๗ ข้อ
๑. นางภิกษุณีฟ้องความกับคฤหบดี บุตรคฤหบดี ทาส กรรมกร หรือแม้โดยที่สุดกับสมณะนักบวช ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๒. นางภิกษุณีรู้อยู่ รับสตรีซึ่งเป็นโจร อันคนทั้งหลายรู้ว่ามีโทษประหาร ให้อยู่ (ให้บวช) โดยไม่บอกเล่า พระราชา, สงฆ์, คณะ, หมู่, พวก เว้นแต่ผู้ที่สมควร (คือบวชในลัทธิอื่นแล้ว หรือบวชในสำนักนางภิกษุณีอื่นอยู่แล้ว) ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๓. นางภิกษุณีแต่ลำพังผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ตาม, ข้ามแม่น้ำก็ตาม, ค้างคืนก็ตาม, ล้าหลังแยกจากหมู่ (ในการเดินทาง) ก็ตาม ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๔. นางภิกษุณีไม่บอกกล่าวสงฆ์ผู้ทำการ ไม่รู้ฉันทะ (ไม่ได้รับความยินยอม) ของคณะ เปลื้องโทษ นางภิกษุณีที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสนา ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๕. นางภิกษุณีมีความกำหนัด รับของเคี้ยวของฉันจากมือบุรุษผู้มีความกำหนัด ด้วยมือของตนมาเคี้ยว มาฉัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๖. นางภิกษุณีผู้พูดจูงใจให้ย่อหย่อนพระวินัยต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๗. ห้ามกล่าวาจา บอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เมื่อโกรธเคือง และเมื่อกล่าวไปแล้ว ให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๘. ห้ามติเตียนภิกษุณีว่านางภิกษุณีทั้งหลาย ลุแก่อคติ ๔ และให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๙. ห้ามรวมกลุ่มกันประพฤติเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี เบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดความชั่วของกันและกันและให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๑๐. ห้ามนางภิกษุณี กล่าวกะนางภิกษุณีที่ถูกสงฆ์สวดประกาศตักเตือนถ้ามีใครขืนทำ ให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน ถ้าไม่ฟัง ให้สวดประกาศเตือน ครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๑๑. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
๑๒. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๓. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๔. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๕. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๖. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง ๓ ครั้ง
๑๗. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
[กลับขึ้นด้านบน]
๓. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ ข้อ)
๑. ห้ามสะสมบาตร    ๑๖. ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
๒. ห้ามอธิษฐานจีวรนอกกาลและแจกจ่าย    ๑๗. รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๓. ห้ามชิงจีวรคืนเมื่อแลกเปลี่ยนกันแล้ว    ๑๘. พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
๔. ห้ามขอของอย่างหนึ่งแล้วขออย่างอื่นอีก    ๑๙. พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
๕. ห้ามสั่งซื้อของกลับกลอก    ๒๐. ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
๖. ห้ามจ่ายของผิดวัตถุประสงค์เดิม    ๒๑. รับเงินทอง
๗. ห้ามขอของมาจ่ายแลกของอื่น    ๒๒. ซื้อขายด้วยเงินทอง
๘. ห้ามพูดติเตียนเมื่อถูกลงโทษโดยธรรม    ๒๓. ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๙. ห้ามขอของของคณะมาจ่ายแลกของอื่น    ๒๔. ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๑๐. ห้ามขอของบุคคลมาจ่ายแลกของอื่น    ๒๕. เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ไว้เกิน ๗ วัน
๑๑. ห้ามขอผ้าห่มหนาวเกินราคา    ๒๖. แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๑๒. ห้ามขอผ้าห่มฤดูร้อน เกินราคา    ๒๗. ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๑๓. เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน    ๒๘. ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๑๔. อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว    ๒๙. กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๑๕. เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน    ๓๐. น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:39:26 pm »
ธรรมะปฏิบัติ การรักษาศีล จำแนกตามประเภทบุคคล : ศีล ๓๑๑
-http://thammapedia.com/practice/patipatti_sil311.php-

๔. ปาจิตตีย์ มี ๑๖๖ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
๑.ห้ามฉันกระเทียม    ๘๔. ห้ามใช้ร่มใช้รองเท้า เว้นแต่จะไม่สบาย
๒.ห้ามนำขนในที่แคบออก ที่แคบได้แก่ ขนรักแร่ และช่องให้กำเนิด    ๘๕. ห้ามไปด้วยยาน เว้นแต่ไม่สบาย
(หมายเหตุ : ทั้งสองสิกขาบทนี้ เห็นได้ว่าเพื่อมิให้ถูกติว่า เลียนแบบคฤหัสถ์ เป็นการบัญญัติตามกาลเทศะ และสิ่งแวดล้อม. ตกมาถึงสมัยนี้ ความรังเกียจคงเปลี่ยนแปลงไป. สิกขาบทเหล่านี้ จึงคงอยู่ในประเภทที่ทรงอนุญาตไว้ก่อนปรินิพพานว่า ถ้าจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ถอนได้ เป็นการเปิดทางให้กาลเทศะ แต่พระสาวกสมัยสังคายนาเห็นว่า ถ้าปล่อยให้ถอนกันตามชอบใจ จะยุ่งกันใหญ่ คืออาจจะไปถอนสิกขาบทที่สำคัญเข้า แต่เห็นเป็นไม่สำคัญ ฉะนั้น ท่านจึงสวดประกาศห้ามถอน เป็นการใช้อำนาจสงฆ์สั่งการ เช่นนั้น).
๓.ห้ามใช้ฝ่ามือตบกันด้วยความกำหนัด    ๘๖.ห้ามใช้ผ้าหยักรั้ง
๔.ห้ามใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้(คำว่า ยางไม้ กินความถึงไม้, แป้ง, ดินเหนียว โดยที่สุด แม้ใบบัว) ใส่ในช่องให้กำเนิด    ๘๗.ห้ามใช้เครื่องประดับกายสำหรับหญิง
๕.ห้ามชำระ(ช่องให้กำเนิด)ลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว    ๘๘. ห้ามอาบน้ำหอมและน้ำมีสี
๖.ห้ามเข้าไปยืนถือน้ำและพัดในขณะที่ภิกษุกำลังฉัน    ๘๙. ห้ามอาบน้ำด้วยแป้งงาอบ
๗.ห้ามทำการหลายอย่างกับข้าวเปลือกดิบ (นางภิกษุณีผู้ขอเอง, ใช้ให้ขอ, ฝัดเอง, ใช้ให้ฝัด, ตำเอง, ใช้ให้ตำ ซึ่งข้าวเปลือกดิบ. หุงต้มเอง ใช้ให้หุงต้ม ฉันข้าวนั้น หรือการฉันข้าวที่ตนทำเองต้องอาบัติ)    ๙๐. ห้ามให้นางภิกษุณีทาน้ำมันหรือนวด
๘.ห้ามทิ้งของนอกฝานอกกำแพง    ๙๑. ห้ามให้นางสิกขามานาทาน้ำมันหรือนวด
๙.ห้ามทิ้งของเช่นนั้นลงบนของเขียวสด    ๙๒. ห้ามให้สามเณรีทาน้ำมันหรือนวด
๑๐.ห้ามไปดูฟ้อนรำขับร้อง    ๙๓.ห้ามให้นางคหินีทาน้ำมันหรือนวด
๑๑.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่มืด    ๙๔.ห้ามนั่งหน้าภิกษุโดยไม่บอกก่อน
๑๒.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่ลับ    ๙๕.ห้ามถามปัญหาภิกษุโดยไม่ขอโอกาส
๑๓.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่แจ้ง    ๙๖.ห้ามเข้าบ้านโดยไม่ใช้ผ้ารัดหรือผ้าโอบ
๑๔.ห้ามทำเช่นนั้นในที่อื่นอีก (ทำเช่นนั้น คือ ภิกษุณี กับบุรุษสองต่อสอง ยืนอยู่บ้าง สนทนากันบ้าง กระซิบที่หูกันบ้าง ส่งนางภิกษุณีที่เป็นเพื่อนไปเสียบ้าง ในถนนรกบ้าง ในถนนตันบ้าง (ถนนเช่นนี้ เข้าทางไหนต้องออกทางนั้น) ในทางแยกบ้าง)    ๙๗.ห้ามพูดปด
๑๕. ห้ามเข้าบ้านผู้อื่นแล้วเวลากลับไม่บอกลา    ๙๘.ห้ามด่า
๑๖. ห้ามนั่งนอนบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของบ้านก่อน    ๙๙.ห้ามพูดส่อเสียด
๑๗. ห้ามปูลาดที่นอนในบ้านโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน    ๑๐๐.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
๑๘. ห้ามติเตียนผู้อื่นไม่ตรงกับที่ฟังมา    ๑๐๑.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุณี)เกิน ๓ คืน
๑๙. ห้ามสาปแช่งด้วยเรื่องนรกหรือพรหมจรรย์    ๑๐๒.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
๒๐. ห้ามทำร้ายตัวเองแล้วร้องไห้    ๑๐๓.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
๒๑. ห้ามเปลือยกายอาบน้ำ    ๑๐๔.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
๒๒. ห้ามทำผ้าอาบน้ำยาวใหญ่เกินประมาณ    ๑๐๕.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
๒๓. ห้ามพูดแล้วไม่ทำ    ๑๐๖.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
๒๔. ห้ามเว้นการใช้ผ้าซ้อนนอกเกิน ๕ วัน(หมายเหตุ : ตามธรรมดานางภิกษุณีมีผ้าสำหรับใช้ประจำ ๕ ผืน คือ ๑. สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนนอก สำหรับใช้เมื่อหนาว) ๒. อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) ๓. อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ๔. สังกัจฉิกะ (ผ้ารัดหรือผ้าโอบ) ๕. อุทกสาฏิกา (ผ้าอาบน้ำ). พิจารณาดูตามสิกขาบทนี้ เป็นเชิงห้าม เว้นการใช้ผ้าซ้อนนอก คือสังฆาฏิอย่างเดียว แต่ในคำอธิบายท้ายสิกขาบท ขยายความเป็นว่า เว้นผืนใดผืนหนึ่งใน ๕ ผืน เกิน ๕ วันไม่ได้ คำว่า เว้น คือไม่นุ่งไม่ห่มหรือไม่ตากแดด).    ๑๐๗.ห้ามทำลายต้นไม้
๒๕. ห้ามใช้จีวรสับกับของผู้อื่น    ๑๐๘.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
๒๖. ห้ามทำอันตรายลาภจีวรของสงฆ์    ๑๐๙.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
๒๗. ห้ามยับยั้งการแบ่งจีวรอันเป็นธรรม    ๑๑๐.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
๒๘. ห้ามให้สมณจีวรแก่คฤหัสถ์หรือนักบวช    ๑๑๑.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
๒๙. ห้ามทำให้กิจการชะงักด้วยความหวังลอย ๆ    ๑๑๒.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
๓๐. ห้ามคัดค้านการเพิกถอนกฐินที่ถูกธรรม    ๑๑๓.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
๓๑. ห้ามนอนบนเตียงเดียวกันสองรูป    ๑๑๔.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
๓๒. ห้ามใช้เครื่องปูลาดและผ้าห่มร่วมกันสองรูป    ๑๑๕.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น
๓๓. ห้ามแกล้งก่อความรำคาญแก่นางภิกษุณี    ๑๑๖.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
๓๔. ห้ามเพิกเฉยเมื่อศิษย์ไม่สบาย    ๑๑๗.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ
๓๕. ห้ามฉุดคร่านางภิกษุณีออกจากที่อยู่    ๑๑๘.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
๓๖. ห้ามคลุกคลีกับคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี    ๑๑๙.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
๓๗. ห้ามเดินทางเปลี่ยวตามลำพัง    ๑๒๐.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
๓๘. ห้ามเดินทางเช่นนั้นนอกแว่นแคว้น    ๑๒๑.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
๓๙. ห้ามเดินทางภายในพรรษา    ๑๒๒.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
๔๐. ห้ามอยู่ประจำที่เมื่อจำพรรษาแล้ว    ๑๒๓.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
๔๑. ห้ามไปดูพระราชวังและอาคารอันวิจิตร เป็นต้น    ๑๒๔.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน
๔๒. ห้ามใช้อาสันทิและบัลลังก์    ๑๒๕.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
๔๓. ห้ามกรอด้าย    ๑๒๖.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
๔๔. ห้ามรับใช้คฤหัสถ์    ๑๒๗.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
๔๕. ห้ามรับปากแล้วไม่ระงับอธิกรณ์    ๑๒๘.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๖. ห้ามให้ของกินแก่คฤหัสถ์ เป็นต้น ด้วยมือ    ๑๒๙.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๗. ห้ามใช้ผ้านุ่งสำหรับผู้มีประจำเดือนเกิน ๓ วัน    ๑๓๐.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๔๘. ห้ามครอบครองที่อยู่เป็นการประจำ    ๑๓๑.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๔๙. ห้ามเรียนติรัจฉานวิชชา    ๑๓๒.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๐. ห้ามสอนติรัจฉานวิชชา    ๑๓๓.ห้ามจี้ภิกษุ
๕๑. ห้ามเข้าไปในวัดที่มีภิกษุโดยไม่บอกล่วงหน้า    ๑๓๔.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๒. ห้ามด่าหรือบริภาษภิกษุ    ๑๓๕.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๓. ห้ามบริภาษภิกษุณีสงฆ์    ๑๓๖.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๔. ห้ามฉันอีกเมื่อรับนิมนต์หรือเลิกฉันแล้ว    ๑๓๗.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๕. ห้ามพูดกีดกันภิกษุณีอื่น    ๑๓๘.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆ เว้นแต่มีเหตุ
๕๖. ห้ามจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ    ๑๓๙.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๗. ห้ามการขาดปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย    ๑๔๐.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๕๘. ห้ามการขาดรับโอวาทและการขาดการอยู่ร่วม    ๑๔๑.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๕๙. ห้ามการขาดถามอุโบสถและการไปรับโอวาท    ๑๔๒.ห้ามฆ่าสัตว์
๖๐. ห้ามให้บุรุษบีบฝี ผ่าฝี เป็นต้น    ๑๔๓.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๖๑. ห้ามให้บวชแก่หญิงมีครรภ์    ๑๔๔.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดีความ-ข้อโต้เถียง) ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๒. ห้ามให้บวชแก่หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนม    ๑๔๕.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๓. ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาซึ่งศึกษายังไม่ครบ ๒ ปี    ๑๔๖.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๔. ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาที่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ    ๑๔๗.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๖๕. ห้ามให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒    ๑๔๘.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๖๖. ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นอายุครบ ๑๒ แล้ว (หมายความถึงตามข้อ 65) แต่ยังมิได้ศึกษา ๒ ปี    ๑๔๙.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๖๗. ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นที่ศึกษา ๒ ปีแล้ว(หมายความถึงตามข้อ 65) แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ    ๑๕๐.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๖๘. ห้ามเพิกเฉยไม่อนุเคราะห์ศิษย์ที่บวชแล้ว    ๑๕๑.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๖๙. ห้ามนางภิกษุณีแยกจากอุปัชฌายะ คือไม่ติดตามครบ ๒ ปี    ๑๕๒.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๐. ห้ามเพิกเฉยไม่พาศิษย์ไปที่อื่น    ๑๕๓.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๑. ห้ามให้บวชแก่หญิงสาวที่อายุไม่ครบ ๒๐ ปี (หมายเหตุ : พึงสังเกตว่า หญิงที่มีสามีแล้ว อายุครบ ๑๒ จะบวชเป็นนางภิกษุณี ต้องเป็นนางสิกขมานาศึกษาอยู่อีก ๒ ปี จนอายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์แล้ว จึงบวชเป็นนางภิกษุณีได้ แต่ถ้ายังมิได้สามี ต้องอายุครบ ๒๐ จึงบวชได้. แต่ก่อนจะบวชเป็นนางภิกษุณี จะต้องเป็นนางสิกขมานา ๒ ปี ทุกรายไป. ฉะนั้น หญิงที่ประสงค์จะบวชเป็นนางภิกษุณี เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะต้องบวชเป็นสามเณรี และเป็นนางสิกขมานาก่อนอายุครบ เพื่อไม่ต้องยึดเวลาเป็นนางสิกขมานาเมื่ออายุครบแล้ว)    ๑๕๔.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๒. ห้ามบวชหญิงที่อายุครบ แต่ยังมิได้ศึกษาครบ ๒ ปี    ๑๕๕.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๓. ห้ามบวชหญิงที่ศึกษาครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ    ๑๕๖.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๔. ห้ามเป็นอุปัชฌาย์เมื่อพรรษาไม่ครบ ๑๒    ๑๕๗.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๗๕. ห้ามเป็นอุปัชฌาย์โดยที่สงฆ์มิได้สมมติ    ๑๕๘.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๗๖. ห้ามรับรู้แล้วติเตียนในภายหลัง    ๑๕๙.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๗๗. ห้ามรับปากว่าจะบวชให้ แล้วกลับไม่บวชให้    ๑๖๐.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๗๘. ห้ามรับปากแล้วไม่บวชให้ในกรณีอื่น    ๑๖๑.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๗๙. ห้ามบวชให้นางสิกขมานาที่ประพฤติไม่ดี    ๑๖๒.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๐. ห้ามบวชให้นางสิกขมานา ที่มารดาบิดาหรือสามีไม่อนุญาต    ๑๖๓.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๑. ห้ามทำกลับกลอกในการบวช    ๑๖๔.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๒. ห้ามบวชให้คนทุกปี    ๑๖๕.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๘๓. ห้ามบวชให้ปีละ ๒ คน    ๑๖๖.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)