ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
เรียนรู้กฎหมาย ไว้เป็นแนวทางป้องกันตนเอง และไม่ให้ถูกเอาเปรียบบุคคลต่างๆ
sithiphong:
สปส.เตือนผู้ประกันตน ม.39 ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน ถูกตัดสิทธิ์ทันที
-http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=762&id=3986-
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ขอให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ควรส่งเงินสมทบตามกำหนด หากขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน ถูกตัดสิทธิ์ทันที และควรหมั่นตรวจสอบการนำส่งเงินสมทบอย่างสม่ำเสมอ
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้พบปัญหาของผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวนมากขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน ทำให้สิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนแรกที่ขาดส่ง หรือกรณีที่ผู้ประกันตนให้หักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคารฯ แต่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอ ทำให้สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตนได้ จึงขอเตือนผู้ประกันตนให้ความสำคัญในการตรวจสอบการนำส่งเงินสมทบ อย่างสม่ำเสมอ และควรนำส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง หากผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน และกรณีภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ถึง 9 เดือน จะถูกตัดสิทธิการเป็นผู้ประกันตนทันที
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถส่งเงินสมทบได้ 4 วิธี คือ
(1) จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
(2) จ่ายเงินทางธนาณัติ
(3) ส่งผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
(4) เปิดบัญชีประเภทออมทรัพย์เพื่อให้ทางธนาคารหักจากบัญชีเงินฝาก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
ซึ่งหากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบโดยวิธีหักจากบัญชีธนาคารจะต้องมีเงินให้เพียงพอเพื่อหักเงินสมทบ โดยธนาคารคิดค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท หากเดือนใดวันที่ 15 เป็นวันหยุดทำการจะเลื่อนไปหักบัญชีในวันทำการถัดไป ธนาคารจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ผู้ประกันตนทางไปรษณีย์
สำนักงานประกันสังคมขอย้ำให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ทราบว่าหากนำส่งเงินสมทบล่าช้าเกินกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)
…………………………………….………………………………
ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม
สอบถามประกันสังคม โทร.1506 ให้บริการ 24 ชั่วโมง / www.sso.go.th
sithiphong:
เรื่องน่ารู้ ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
-http://money.kapook.com/view79943.html-
เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
เช่าซื้อรถยนต์ ต้องทำยังไง ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ต้องจ่ายเงินทั้งหมดก่อนหรือไม่ มาดูข้อมูลก่อนทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กัน
ต้องยอมรับว่า รถยนต์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในยุคปัจจุบันที่แทบขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว ดังนั้นสำหรับคนที่กำลังอยากซื้อรถยนต์สักคัน แต่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ เรามีข้อมูลน่ารู้ จากหนังสือชุดรู้รอบเรื่องการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย www2.bot.or.th มาฝากให้ได้ศึกษาข้อมูลกันแล้วจ้า
รู้..ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อรถ
ก่อนที่จะตัดสินใจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อรถ เราควรทราบถึงสาระสำคัญบางประการ ของประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ดังนี้
1. เมื่อผู้เช่าซื้อจ่ายเงินครบตามสัญญาแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถจะตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที ผู้เช่าซื้อจะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนรถให้เป็นของผู้เช่าซื้อภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับเอกสารประกอบการจดทะเบียนครบถ้วน
2. ถ้าผู้เช่าซื้อต้องการจ่ายค่าเช่าซื้อทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีก่อนกำหนด ผู้เช่าซื้อต้องให้ส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยเช่าซื้อ ที่ยังไม่ถึงกำหนดจ่าย
3. ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการติดตามทวงถามหนี้ทั้งหมด ตามที่ผู้เช่าซื้อได้จ่ายไปตามจริง
4. สัญญาเช่าซื้ออาจถูกยกเลิก (และอาจนำไปสู่การถูกยืดรถได้ในที่สุด) หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้ 3 งวดติดต่อกัน และผู้ให้เช่าซื้อได้มีจดหมายลงทะเบียนตอบรับแจ้งผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และผู้เช่าซื้อไม่ได้ปฏิบัติตาม
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) www.ocpb.go.th หรือสอบถามได้ที่ โทร. 1166
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือชุดรู้รอบเรื่องการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย
-http://www2.bot.or.th/FinancialLiteracy/FCC/eBook4/-
sithiphong:
เป็นหนี้บัตรเครดิต จะโดนยึดเงินเดือนไหม!!
-http://money.sanook.com/170812/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B6%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99/-
เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ หมุนจ่ายไม่ทัน ใครเคยเป็นบ้าง ถ้าใครไม่เคยนับว่าเป็นเรื่องดีที่รู้จักการบริหารการเงิน แต่ถ้าใครกำลังเผชิญสภาวะนี้อยู่ ลองอ่านบทความนี้ดู
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ อายัดเงินเดือน โบนัส ได้หรือไม่
การใช้เงินอนาคตผ่านบัตรพลาสติก ทั้งบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดนั้น หากสามารถบริหารการเงินได้เป็นอย่างดี ใช้แล้วจ่ายตรงกำหนดเวลา จะได้รับประโยชน์มากทั้งการสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของรางวัล และการเลื่อนเวลาการจ่ายเงินสดออกไป แต่หากไม่รู้เท่าทันการใช้เงินอนาคตเหล่านี้ หวังเพียงแค่โปรโมชั่นของแถมมากมายจากการสมัคร แล้วใช้จ่ายอย่างไม่ลืมหูลืมตา อาจเป็นโทษมหันต์ได้เช่นกัน
ข้อควรรู้ก่อนเริ่มต้นทำบัตรเครดิตนั้น ผู้ใช้บัตรเครดิต จำเป็นต้องมี "วินัยในการใช้เงิน" คือ ต้องจ่ายชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนด หากชำระเต็มจำนวนได้ยิ่งดี พยายามมีบัตรเครดิตให้น้อยใบที่สุดเพื่อควบคุมหนี้ ใช้จ่ายในวงเงินที่เราสามารถชำระคืนได้ และหมั่นตรวจสอบว่าในแต่ละเดือนมีพฤติกรรมใช้จ่ายเงินเกินตัวหรือไม่ เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มมีพฤติกรรมดังกล่าว ควรเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย พิจารณาให้ดีว่ารายจ่ายส่วนใหญ่เป็นของจำเป็นหรือฟุ่มเฟือย แค่นี้ก็ไม่ต้องปวดหัวกับการมีหนี้แล้วครับ
พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหา คือ รูดบัตรเครดิตใช้เงินล่วงหน้าก่อน อยากได้อะไรก็รูดๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงศักยภาพในการชำระหนี้ ว่าจะมีเงินชำระหนี้หรือไม่ จะรู้ตัวอีกทีก็เมื่อวงเงินเต็มไม่สามารถรูดได้อีกนั่นล่ะครับ พอนานวันเข้าก็หาทางออกด้วยการกู้เงินจากบัตรกดเงินสดมาชำระหนี้บัตรเครดิต และกู้หมุนเวียนสลับไปเรื่อยๆ แรกๆ ก็ยังหมุนเงินคล่องมือ แต่หลังจากมีหนี้หลายใบ ก็เริ่มกู้เงินไม่ได้แล้ว พอเงินหมุนไม่คล่อง ไม่สามารถจ่ายเจ้าหนี้ได้ จากที่เคยรูดหรือกดเงินสดได้ ก็เริ่มเป็นกังวลกับการที่ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้ กลัวเจ้าหนี้จะมาทวงหนี้ถึงที่ทำงาน ซึ่งปัญหาหนี้เหล่านี้ส่งผลให้ลูกหนี้บางรายที่ยังคงมีความสามารถชำระหนี้ได้ ไม่กล้าไปทำงานหรือบางรายลาออกไปเลยก็มี
สำหรับผู้ที่เป็นหนี้สินมากมายและไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้วนั้น ข้อควรรู้ประการหนึ่ง คือ เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์สินที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ อุปกรณ์เครื่องครัว โทรทัศน์ หรือ ทรัพย์สินที่ใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากินได้ แต่หากเป็นทรัพย์สินมีค่าอย่างอื่น เช่น บ้าน รถยนต์ เงินฝากในบัญชีธนาคาร สร้อย แหวน ทองคำ กรมบังคับคดีมีสิทธิ์ที่จะยึดทรัพย์สินเพื่อนำมาชำระหนี้ได้
สำหรับคำถามเจ้าหนี้สามารถอายัดเงินเดือน หรือโบนัส ได้หรือไม่นั้น หลักเกณฑ์การอายัดเงินเดือนที่ควรทราบไว้ คือ ลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของข้าราชการจะไม่ถูกอายัดเงินเดือน หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือเป็นพนักงานบริษัทแล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิ์อายัดเงินเดือนเพื่อใช้หนี้ได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินเดือนเท่านั้น ทั้งนี้ หากมีค่าใช้จ่ายจำที่จำเป็นอื่นๆ อีก เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาลพ่อแม่ซึ่งเจ็บป่วยอยู่ สามารถนำหลักฐานเพื่อลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้อีก
ข้อควรรู้อีกประการ คือ หากลูกหนี้มีเงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท เจ้าหนี้ไม่สามารถสั่งอายัดเงินเดือนได้ เนื่องจากต้องเหลือเงินขั้นต่ำให้ใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวันด้วย กรณีที่มีเงินเดือนมากกว่า 10,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น มีรายได้เดือนละ 20,000 บาท ลูกหนี้จะถูกอายัดเงินได้สูงสุดไม่เกิน 6,000 บาท ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายแต่ละเดือน 14,000 บาท เป็นต้น
นอกเหนือจากเงินเดือนแล้ว เงินได้และทรัพย์สินอื่นๆ เจ้าหนี้สามารถสั่งอายัดได้หรือไม่นั้น สำหรับบัญชีเงินฝาก เจ้าหนี้สามารถสั่งอายัดได้ทั้งจำนวน ในส่วนของรายได้อื่น เช่น เงินโบนัส หากเป็นช่วงสิ้นปีแล้วมีโบนัส เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ 50% ในส่วนของทรัพย์สินที่เป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือหากร่วมทุนอยู่กับผู้อื่นเปิดบริษัท กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาด และอายัดทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ถูกอายัดเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ทั้งจำนวน
จะเห็นได้ว่าการเริ่มต้นเป็นหนี้นั้น ไม่ได้เป็นการได้เงินมาใช้ฟรีๆ เพียงแต่เป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า ต้องใช้คืนหนี้ทั้งเงินต้นรวมทั้งดอกเบี้ย หากคุณเป็นผู้ที่ยังเป็นหนี้ไม่มากนักและพอที่จะชำระหนี้ไหว ต้องการที่จะปลดหนี้เพื่อความเป็นไทให้กับตัวเอง เริ่มต้นวันนี้ยังไม่สายครับ เพียงแค่จัดการโอนหนี้รวมเป็นก้อนเดียว มีบัตรเครดิตเพียงแค่เพื่อใช้จ่ายได้สะดวกหรือยามจำเป็น ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องพยายามรักษาเครดิตคุณไว้ให้ดี เพราะหากก่อหนี้เสียไว้แล้ว และต้องการกู้ซื้อบ้านหรือทำธุรกิจในอนาคต อาจดับความฝันในอนาคตได้
โดย : คนอง ศรีพิบูลพานิชย์, AFPT
ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย
sithiphong:
เกณฑ์การยึด-อายัดทรัพย์-อายัดเงินเดือน
-http://www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=40192&Itemid=64-
-http://www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&catid=7&Itemid=64&view=category&limitstart=0&limit=20-
การถูกยึดทรัพย์
เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระคืนตามคำพิพากษาภายใน 15 หรือ 30 วันแล้วแต่ศาลจะกำหนดในคำพิพากษา
(ขอให้มียอดเข้าไปหลังมีคำพิพากษาภายในช่วงเวลานี้ คือ จ่ายคืนบางส่วนก็ได้ ไม่ใช่จ่ายเต็ม) คือ จะจ่าย Haircut หรือผ่อนจ่ายตามที่ตกลงได้กับเจ้าหนี้ก็ได้
เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้
โดยให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป
1. ทรัพย์สินที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด ทรัพย์ที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น
โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัว แต่ถ้าเป็นสร้อย แหวน นาฬิกา
ของเหล่านี้แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดได้เพราะไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต
2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ ถ้ามูลค่ารวมกัน 100,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร(ถ้าประกอบธุรกิจรับถ่ายเอกสาร) ในกรณีที่เครื่องมือประกอบอาชีพมีราคาสูงกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถขอต่อศาลได้
หากมีเจ้าหนี้หลายราย ทรัพย์ใดถูกยึดไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้รายอื่นมายึดซ้ำ เจ้าหนี้รายใดยึดก่อนก็ได้สิทธิก่อน
การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ
หากศาลตัดสินแล้ว เราควรติดต่อทนายโจทก์ว่าจะจ่ายอย่างไร จะผ่อนชำระหรือจ่ายงวดเดียวก็แล้วแต่จะตกลงกัน
แต่หากลูกหนี้เพิกเฉยไม่ติดต่อ ไม่ยอมจ่ายเงิน หรือตกลงเรื่องการจ่ายเงินไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะทำเรื่องขอยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน และหากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2, 3, 4 ... จะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิว ให้รายแรกอายัดครบก่อน ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกินสิบปี หากเกินสิบปีก็จะหมดอายุความ
.........................................................
เกณฑ์การอายัดเงินเดือนของกรมบังคับคดี หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของข้าราชการจะไม่ถูกอายัดเงินเดือน หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัท ฯลฯ จะถูกอายัดเงินเดือน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. อายัดเงินเดือนไม่เกิน 30 %
*** ลูกหนี้เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท --- อายัดไม่ได้
*** ลูกหนี้เงินเดือนเกิน 10,000 บาท อายัดได้ 30 % แต่จะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10000 บาท
เช่น
- ลูกหนี้เงินเดือน 9,500 บาท ไม่ถูกอายัด
- ลูกหนี้เงินเดือน 12,000 บาท ถูกอายัด 2,000 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,000 บาท
- ลูกหนี้เงินเดือน 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,500 บาท
***หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่นค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาล สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่ กรมบังคับคดีเพื่อให้ลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้
*** การอายัดเงินเดือนจะให้บริษัทนำส่ง หรือลูกหนี้นำส่งกรมบังคับคดีเองก็ได้
2. เงินโบนัส จะถูกอายัดไม่เกิน 50 %
3. เงินตอบแทนการออกจากงาน จะถูกอายัด 100 %
4. เงินค่าตอบแทนต่างๆ / ค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง
*** การถูกอายัดจะขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าจะสืบทราบหรือไม่และร้องขอต่อศาลว่าจะอายัดเท่าไหร่
5. บัญชีเงินฝาก ---อายัดได้
6. เงิน กบข --- อายัดไม่ได้
7. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท ----อายัดไม่ได้ (พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)
แต่ถ้าทำกองทุนต่างๆกับธนาคารต้องดูตามหลักเกณฑ์ของ กองทุนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ และมีข้อห้ามการบังคับคดีหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ และไม่มี ข้อห้ามก็จะอายัดได้
8. เงินค่าวิทยะฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน
9. หุ้น ---กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือ ถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้
10. เงินสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท หากเจ้าหนี้สืบทราบว่าเป็นสมาชิกสหกรณ์ใด สามารถอายัดเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้
11. ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท
---หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์---กรมบังคับคดีจะอายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สิน
ของผู้ถูกอายัดเท่านั้น ไม่ได้อายัดทั้งหมด อาจดูเฉพาะส่วนของเงินปันผล
ใบหุ้นฯลฯ ของผู้ถูกอายัด
.........................................................
การถูกอายัดเงินเดือน กรมบังคับคดีจะอายัด 30% จากเงินเดือนเต็ม ก่อนหักภาษี และประกันสังคม เช่น 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท จะเหลือเงินไว้ใช้ จ่ายภาษี ประกันสังคม ฯลฯ 10500 บาท
.........................................................
การอายัดเงินเดือน ลูกหนี้จะถูกอายัดจากยอดเงินเดือนเต็ม
บ้านหรือที่ดินถึงแม้จะติดจำนองหรือผ่อนอยู่กับธนาคาร ก็ถูกยึดไปขายทอดตลาดได้
รถยนต์หรือจักรยานยนต์ หากยังติดไฟแนนซ์อยู่จะยึดไม่ได้ เพราะกรรมสิทธิ์เป็นของบริษัทไฟแนนซ์
ยังไม่ใช่ทรัพย์สินของคุณ
หากลูกหนี้ผู้ถูกอายัดเงินเดือนมีภาระที่ต้องจ่ายเงินกู้ให้แก่ หน่วยงานอื่น เช่นสหกรณ์ต่างๆ
ลูกหนี้จะต้องคำนวณว่า เงินเดือนที่เหลือจากการถูกอายัดมีเพียงพอ
ที่จะใช้จ่ายประจำวันตลอดเดือน และเหลือพอที่จะจ่ายเงินกู้คืนให้สหกรณ์หรือไม่
- หากลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือน และถูกหักเงินกู้สหกรณ์แล้ว ยังมีเงินพอใช้และเหลือเก็บบ้างก็ถือว่าไม่เป็นไรไม่ต้องกังวล
- แต่หากถูกอายัดเงินเดือน และถูกหักเงินกู้สหกรณ์แล้วเงินเหลือไม่พอใช้จ่าย
ก็ควรหาทางแก้ไข เพราะถ้าไม่แก้ไขมันอาจจะนำไปสู่ปัญหาการหมุนจ่ายแบบเดิมอีกรอบ
ทำให้แก้ไขปัญหาหนี้ไม่หมดสักที โดยลูกหนี้ควรจะ...
1 .เจรจากับทางสหกรณ์ หาทางลดหย่อนยอดเงินที่ต้องชำระคืนในแต่ละเดือนโดยอาจจะยืดระยะผ่อนชำระ
ให้นานออกไป(ในกรณีที่ถูกหักบัญชีอัตโนมัติ)
2. อาจจะหยุดจ่ายและให้ทางสหกรณ์ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย
และอายัดเงินเดือนต่อไป (วิธีนี้อาจสร้างปัญหาให้กับสหกรณ์ได้)
ลูกหนี้ยังสามารถใช้วิธีที่ 3 คือ
3. ลูกหนี้สามารถนำยอดเงินที่ถูกหักจ่ายคืนให้สหกรณ์มาขอ ลดหย่อนเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้ (ขอลดหย่อนได้สูงสุด 50% เท่านั้น)
หมายความว่า ให้ลูกหนี้นำยอดภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ลูกหนี้ต้องจ่ายรวมทั้งเงินที่ต้องชำระคืนแก่
สหกรณ์มารวมยอดและขอลดยอด การอายัดเงินเดือน ไม่ให้กรมบังคับคดีอายัดเงินเดือนจาก ยอดเต็มถึง 30 % ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ในการขอลดยอดการถูกอายัดจะขอลดยอดได้มากที่สุด คือให้กรมบังคับคดีอายัดไม่ต่ำกว่า 15%
***วิธีที่สามนี้เป็นวิธีที่น่าทำที่สุด***
รวบรวมโดย: sunshine
******************************************************************************
อ่านเพิ่มเติม
100 คำถามยอดนิยม ของเวบไซด์กรมบังคับคดี
led.go.th/100q/main.asp
-http://led.go.th/100q/main.asp-
ท่านถาม - เราตอบ ของเวบไซด์กรมบังคับคดี
test.led.go.th/faqn/faq.asp
-http://test.led.go.th/faqn/faq.asp-
เวบไซด์กรมบังคับคดี
led.go.th/
sithiphong:
ข้อต่อสู้ในคดีแพ่งที่ลูกหนี้ควรศึกษา
-http://www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&catid=7&id=1897&Itemid=64&view=topic-
เมื่อตนเองต้องตกอยู่ในฐานะลูกหนี้และอาจต้องถูกฟ้องคดีต่อศาล ลูกหนี้บางคนตกใจและยิ่งต้องเจอกับการทวงหนี้แบบไม่ค่อยจะถูกต้องนักจากตัวแทนฝ่ายเจ้าหนี้ด้วยแล้ว
บางคนอาจเกิดอาการเครียดและเท่าที่เคยปรากฏเป็นข่าวบางคนถึงกับคิดฆ่าตัวตายเนื่องจากไม่รู้ว่าจะหาเงิน
จากที่ไหนมาใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้ปัญหาเหล่านี้อาจจะไม่ต้องกังวลนัก หากท่านรู้ถึงข้อต่อสู้ที่ตนเองมีอยู่เพื่อจะได้นำไปใช้ชี้แจงกับฝ่ายเจ้าหนี้ได้
สำหรับข้อต่อสู้ของลูกหนี้นั้นก็มี...เป็นต้นว่า
- ตนเองเป็นหนี้จริงหรือไม่ สัญญาที่เจ้าหนี้อ้างว่าลูกหนี้เป็นหนี้อยู่นั้นเป็นสัญญาปลอมหรือไม่
- หนี้ที่เจ้าหนี้นำมาทวงถามกับลูกหนี้นั้น สามารถบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ หรือเป็นโมฆะหรือไม่ หรือได้ทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
- ในส่วนดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้เรียกร้องมานั้น ได้มีการคิดถูกต้องตามสัญญาหรือไม่ และเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ (กฎหมายกำหนดให้คิดได้ไม่เกิน 15% ต่อปี ยกเว้นกรณีที่เจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินสามารถคิดได้ตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตไว้)
- และเรื่องสำคัญหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาเรียกร้องเอาแก่ลูกหนี้นั้นขาดอายุความหรือยัง หากขาดอายุความแล้วเมื่อลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาล ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง
แต่ถ้าลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว ศาลก็ไม่สามารถนำปัญหาเรื่องหนี้ขาดอายุความหรือไม่มาวินิจฉัยได้ ลูกหนี้ก็เสียประโยชน์ไป
อายุความฟ้องคดีก็มีเป็นต้นว่า
1. หนี้บัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
2. กรณีเช่าซื้อ แบ่งเป็น
2.1 กรณีที่เรียกเอาค่าเสียหายจากสภาพทรัพย์สินชำรุดบุบสลาย เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้ให้เช่าซื้อกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ได้ให้เช่าซื้อไปแล้ว หากพบว่ามีการชำรุดบุบสลายผู้ให้เช่าซื้อต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ตนได้รับทรัพย์นั้นคืน
2.2 ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้ภายในอายุความ 2 ปี
2.3 อายุความฟ้องเรียกค่าติดตามยึดทรัพย์คืน, เรียกค่าเสียหายหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อ, เรียกค่าเสียหายให้ผู้เช่าซื้อชดใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อแทน, เรียกค่าเสียหายหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อ เหล่านี้ต้องฟ้องภายในอายุความ 10 ปี
3. กรณีหนี้เงินกู้ต้องฟ้องภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
4. มูลหนี้ค่าสินค้าที่ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาค่าสินค้าที่ได้ส่งมอบไปนั้นมีอายุความ 2 ปี แต่ถ้าซื้อสินค้ามาเพื่อใช้ในกิจการของตน เช่น ผู้รับเหมาซื้ออุปกรณ์ก่อสร้างมาใช้ในกิจการที่ตนรับเหมานั้นมีอายุความ 5 ปี
5. และสำหรับกรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิต ไม่ว่าหนี้เดิมจะมีอายุความยาวกว่าหนึ่งปีไปอีกเท่าใดก็ตาม เจ้าหนี้จะต้องฟ้องกองมรดกของลูกหนี้ให้ชำระหนี้เสียภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรรู้ว่าลูกหนี้ตาย
6. สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด
7. กรณีเจ้าหนี้จำนอง จำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินดังกล่าวนั้นตลอดไปไม่มีอายุความ แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้ (แต่ลูกหนี้ก็ต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย ศาลจึงจะวินิจฉัยให้ได้)
*** สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องอายุความได้จากในกระทู้นี้ ***
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=813&Itemid=29
ที่กล่าวมานี้ก็เป็นกรณีตัวอย่างพอสังเขป เพื่อให้ลูกหนี้หรือแม้แต่ฝ่ายเจ้าหนี้ได้รู้ถึงสิทธิของตนเอง ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน แต่อย่างไรก็ตามหากเราเป็นหนี้แล้ว ก็ควรจะต้องชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ ไม่เจตนาแนะนำให้เบี้ยวหนี้ แต่ต้องการให้ท่านที่ไม่มีกำลังพอจะชำระหนี้ในขณะนี้ ไม่ต้องตกใจจนเกินไปนัก
หากหนี้ไม่ขาดอายุความ และมีการฟ้องร้องบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีกำลังที่จะชำระคืนได้ไหว ก็ให้เจรจากับเจ้าหนี้ขอผ่อนชำระก็ได้ โดยจะเจรจาเองหรือแต่งตั้งทนายความให้ไปเจรจาแทนตนเองก็ได้ แต่ไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป เนื่องจากการเป็นหนี้นั้นไม่มีโทษทางอาญา(กล่าวคือไม่มีโทษจำคุกหรือปรับนั่นเอง) หากมีใครมาขู่ว่าจะนำตำรวจมาจับหรือจะต้องถูกจำคุก ก็ไม่ต้องกลัว เพราะตำรวจไม่มีอำนาจจับกุมลูกหนี้ในเรื่องคดีแพ่ง
ฟันธง...
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version