ผู้เขียน หัวข้อ: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong  (อ่าน 40747 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:41:54 pm »
อธิบายคำย่อใน
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก

      ในยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก  มีคำย่อที่ควรทราบ  ดังนี้:-
๑.   อา  ปา  มะ  จุ  ปะ  เป็นคำย่อพระวินัยปิฎกทั้ง ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
อา   =   อาทิกัมมิกะ (การกระทำที่เป็นต้นบัญญัติ)  หมายเอาพระวินัยของพระภิกษุ  ตั้งแต่อาบัติปาราชิกลงมาจนถึงสังฆาทิเสส
ปา   =   ปาจิตตีย์  เป็นชื่อของอาบัติที่มาในปาฏิโมกข์ (คำว่า “ปาฏิโมกข์”  คือ ศีลที่เป็นใหญ่เป็นสำคัญอันพระสงฆ์จะต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน)
มะ   =   มหาวัคค์  คือ วรรคใหญ่ของพระวินัย  แบ่งออกเป็นหมวด (ขันธกะ) ต่าง ๆ ๑๐ หมวด
จุ   =   จุลลวัคค์  คือ วรรคเล็กของพระวินัย  แบ่งออกเป็นหมวด (ขันธกะ) ต่าง ๆ ๑๒ หมวด
ปะ   =   ปริวาร  คือ หัวข้อเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ของพระวินัย  เป็นการสรุปเนื้อความวินิจฉัยปัญหาใน ๔ เรื่องข้างต้น
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:42:29 pm »
๒.   ที  มะ  สัง  อัง  ขุ  เป็นคำย่อพระสุตตันตปิฎกทั้ง ๒๑,000 พระธรรมขันธ์
ที   =   ทีฆนิกาย  แปลว่า หมวดขนาดยาว หมายถึง หมวดที่รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ส่วนหนึ่ง  ไม่ปนกับพระสูตรประเภทอื่นในหมวดนี้  มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๓๔ สูตร
มะ   =   มัชฌิมนิกาย  แปลว่า ขนาดกลาง  หมายถึง หมวดที่ราบรวมพระสูตรขนาดกลางไม่สั้นเกินไป  ไม่ยาวเกินไปไว้ส่วนหนึ่ง  ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๑๕๒ สูตร
สัง   =   สังยุตตนิกาย  แปลว่า หมวดประมวล  คือ ประมวลเรื่องในพระสูตรที่เป็นประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่  มีจำนวนทั้งสิ้น ๗,๗๖๒ สูตร
อัง   =   อังคุตตรนิกาย  แปลว่า หมวดที่ยิ่งด้วยองค์  คือ จัดลำดับ ธรรมะในพระสูตรไว้เป็นหมวด ๆ ตามลำดับตัวเลข  เช่น หมวดธรรมะ ๒ ข้อ  เรียกว่า ทุกนิบาต  หมวดธรรมะ ๑๐ ข้อ  เรียกว่า ทสกนิบาต เป็นต้น  ในหมวดนี้ มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๙,๕๕๗ สูตร
ขุ   =   ขุททกนิกาย  แปลว่า หมวดเล็กน้อย  รวบรวมข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน ๔ หมวดข้างต้นมารวมไว้ในหมวดนี้ทั้งหมด  เมื่อจะแบ่งโดยหัวข้อใหญ่ก็มี ๑๕ เรื่อง  คือ
๒.๑   ขุททกปาฐะ  แปลว่า บทสวดเล็ก ๆ น้อย  โดยมากเป็นบทสวดสั้น ๆ  เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
๒.๒   ธรรมบท  แปลว่า บทแห่งธรรม  คือ ธรรมภาษิตสั้น ๆ ประมาณ ๓๐๐ หัวข้อ (ส่วนเรื่องพิสดาร  มีท้องเรื่องประกอบปรากฏในอรรถกถา)
๒.๓   อุทาน  แปลว่า  คำที่เปล่งออกมา  หมายถึง คำอุทานที่เป็นธรรมภาษิต    มีท้องเรื่องประกอบเป็นเหตุปรารภในการเปล่งอุทานของพระพุทธเจ้า
๒.๔   อิติวุตตกะ  แปลว่า “ข้อความที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้”  เป็นการอ้างอิงว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสข้อความไว้อย่างนี้  ไม่มีเรื่องประกอบ  มีแต่ที่ขึ้นต้นว่าข้าพเจ้า      ได้ยินมาว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสไว้อย่างนี้
๒.๕   สุตตนิบาต  แปลว่า รวมพระสูตร  คือ รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน  มีชื่อสูตรบอกกำกับไว้
๒.๖   วิมานวัตถุ  แปลว่า เรื่องของผู้ได้วิมานแสดงเหตุดีที่ให้ได้ผลดีตามคำบอกเล่าของผู้ได้ผลดีนั้น ๆ
๒.๗   เปตวัตถุ  แปลว่า เรื่องของเปรตหรือผู้ล่วงลับไป  ที่ทำกรรมชั่วไว้
๒.๘   เถรคาถา  ภาษิตต่าง ๆ ของพระเถระผู้เป็นอรหันตสาวก
๒.๙   เถรีคาถา  ภาษิตต่าง ๆ ของพระเถระผู้เป็นอรหันตสาวิกา
๒.๑๐   ชาดก  แสดงภาษิตต่าง ๆ เกี่ยวโยงกับคำสอนประเภทเล่านิทาน (ท้องเรื่องพิสดาร  มีในอรรถกถาเช่นเดียวกับธรรมบท)
๒.๑๑   นิทเทส  แบ่งออกเป็น มหานิทเทส กับ จูฬนิทเทส  คือ มหานิทเทส เป็นคำอธิบายพระพุทธภาษิตในสุตตนิบาต (หมายเลข ๕) รวม ๑๖ สูตร  ส่วนจูฬนิทเทสเป็นคำอธิบาย  พระพุทธภาษิตในสุตตนิบาท (หมายเลข ๕) ว่าด้วยปัญหาของมาณพ    ๑๖ คน  กับ ขัคควิสาณสูตร  กล่าวกันว่าเป็นภาษิตของพระสารีบุตรเถระ
๒.๑๒   ปฏิสัมภิทามัคค์  แปลว่า ทางแห่งปัญญาอันแตกฉาน  เป็นคำอธิบายหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  ซึ่งกล่าวกันว่าพระสารีบุตรเถระได้กล่าวไว้
๒.๑๓   อปทาน  แปลว่า คำอ้างอิง  เป็นประวัติส่วนตัวที่แต่ละท่านเล่าไว้  ซึ่งอาจแบ่งได้  คือ เป็นอดีตประวัติของพระพุทธเจ้า  ของพระเถระอรหันตสาวก  ของพระเถรีอรหันตสาวิกา  ส่วนที่เป็นประวัติการทำความดีของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น  มีคำอธิบายว่าเป็นพระพุทธภาษิตตรัสเล่าให้พระอานนท์ฟัง
๒.๑๔   พุทธวังสะ  แปลว่า วงศ์ของพระพุทธเจ้า  หลักการใหญ่เป็นการแสดงประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ องค์  รวมทั้งของพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงเป็น ๒๕ องค์  นอกนั้นมีเรื่องเบ็ดเตล็ดแทรกเล็กน้อย
๒.๑๕   จริยาปิฎก  แปลว่า คัมภีร์แสดงจริยา  คือ การบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า  ซึ่งแบ่งหลักใหญ่ออกเป็น ทาน (การให้)  ศีล (การรักษากายวาจา             ให้เรียบรอย)  และเนกขัมมะ (การออกบวช)
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:43:05 pm »
๓.   สัง  วิ  ธา  ปุ  กะ  ยะ  ปะ  เป็นคำย่อพระอภิธรรมปิฎกทั้ง ๔๒,000 พระธรรมขันธ์
สัง   =   สังคณี  ว่าด้วยการรวมหมู่ธรรมะ  คือ ธรรมะแม้จะมีมากเท่าไร  ก็อาจรวมหรือจัดเป็นประเภท ๆ ได้เพียงไม่เกิน ๓ ประเภท
วิ   =   วิภังค์  ว่าด้วยการแยกธรรมะออกเป็นข้อ ๆ เช่น  เป็นขันธ์ ๕ เป็นต้น  ทั้งสังคณีและวิภังค์นี้  เทียบด้วยคำว่า สังเคราะห์ (Synthesis) และวิเคราะห์ (Analysis) ในวิทยาศาสตร์  เป็นแต่เนื้อหาในทางศาสนากับทางวิทยาศาสตร์  มุ่งไปคนละทาง  คงลงกันได้ในหลักการว่า  ควรเรียนรู้ทั้งในทางรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม  เช่น รถคันหนึ่งควรรู้ทั้งการประกอบเข้าเป็นคันรถ  และการแยกส่วนต่าง ๆ ออกฉะนั้น
ธา   =   ธาตุกถา  ว่าด้วย ธาตุ  คือ ธรรมะทุกอย่าง  อาจจัดเป็นประเภทได้โดย ธาตุ อย่างไร
ปุ   =   ปุคคลบัญญัติ  ว่าด้วย บัญญัติ ๖ ประการ  เช่น บัญญัติขันธ์  บัญญัติอายตนะ  จนถึงบัญญัติเรื่องบุคคล  พร้อมทั้งแจกแจงรายละเอียดเรื่องบัญญัติบุคคล    ต่าง ๆ ออกไป
กะ   =   กถาวัตถุ  ว่าด้วย คำถาม-คำตอบ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า เป็นคำถาม ๕๐๐ คำตอบ ๕๐๐ แต่ตัวเลข ๕๐๐ นี้  อาจหมายเพียงว่าหลายร้อย  เพราะเท่าที่นับกันดูแล้ว  ได้คำถาม-คำตอบ  อย่างละ ๒๑๙ ข้อ)
ยะ   =   ยมก  ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ ๆ บางทีการจัดคู่ก็มีลักษณะเป็นตรรกวิทยา  ซึ่งจะได้กล่าวถึงในภาค ๓ ย่อความแห่งพระไตรปิฎก
ปะ   =   ปัฏฐาน  ว่าด้วย ปัจจัย  คือ สิ่งสนับสนุน ๒๔ ประการ
เป็นอันว่า  หัวใจย่อแห่งพระไตรปิฏก  คือ อา ปา มะ จะ ปะ, ที มะ สัง อัง ขุ,   สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ  มีปรากฏสมบูรณ์ในยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:43:51 pm »
๔.   โส  โส  สะ  สะ  อะ  อะ  อะ  อะ  นิ  ชุดนี้เป็นคำย่อของโลกุตรธรรม ๙  คือ มรรค ๔    ผล ๔  และนิพพาน ๑
โส   =   โสดาปัตติมรรค  คือ มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน       ทีแรก  เป็นเหตุละสังโยชน์ ได้  คือ สักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉา  สีลัพพตปรามาส
โส   =   โสตาปัตติผล  คือ ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน  อันเป็นผลที่พระโสดาบันพึงเสวย
สะ   =   สกทาคามิมรรค  คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี  เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ ข้างต้น  และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
สะ   =   สกทาคามิผล  คือ ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย
อะ   =   อนาคามิมรรค  คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี  เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕
อะ   =   อนาคามิผล  คือ ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:44:23 pm »
หมายเหตุ

  ข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ของ สุชีพ  ปุญญานุภาพ  หน้า ๒๐ - ๒๓
  สังโยชน์ ๑๐ ได้แก่  สิ่งที่ผูกมัดจิตใจ ๑๐ ข้อ  คือ
(เบื้องต่ำ ๕ ข้อ)
   ๑.   สักกายทิฎฐิ  ได้แก่ ความเห็นว่าเป็นตัวตนเป็นของตน
   ๒.  วิจิกิจฉา  ได้แก่ ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ
   ๓.  สีลัพพตปรามาส  ได้แก่ ความถือมั่นในศีลและวัตร โดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย ไม่รู้ความหมาย
   ๔.  กามราคะ  ได้แก่ ความกำหนัดในกาม
   ๕. ปฏิฆะ  ได้แก่ ความกระทบกระทั่วในจิตใจ  ความหงุดหงิดขัดเคือง
         (เบื้องสูงเป็นสิ่งที่ผูกมัดจิตใจ อย่างละเอียด ๕ ข้อ)
   ๖.  รูปราคะ  ได้แก่ ความติดใจในรูปฌาณ  หรือในรูปธรรมอันประณีต
   ๗.  อรูรราคะ  ได้แก่ ความติดใจในอรูปฌาณ  หรือในอรูปธรรม
   ๘.  มานะ  ได้แก่ ความสำคัญตน  คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
   ๙.  อุทธัจจะ  ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน
   ๑๐. อวิชชา  ได้แก่ ความไม่รู้จริง  ความหลง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:45:05 pm »
อะ   =   อรหัตตมรรค  คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์  เป็นเหตุให้ละสังโยชน์ได้ทั้งหมด ๑๐ ข้อ
อะ   =   อรหัตตผล  คือ ผลความเป็นพระอรหันต์  ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย
นิ   =   นิพพาน  คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว  ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด  เพราะไร้กิเลส  ไร้ทุกข์  เป็นอิสระสมบูรณ์
๕.   เต  ชะ  สุ  เน  มะ  ภู  จะ  นา  วิ  เว  ชุดนี้เป็นคำย่อของการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในสิบชาติสุดท้ายก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  ที่นิยมเรียกกันว่า      พระจ้าสิบชาติ  หรือทศชาติชาดก
เต   =   พระเตมีย์  บำเพ็ญเนกขัมมบารมี  คือ การออกบวชปลีกตัวปลีกใจออกจากกาม
ชะ   =   พระมหาชนก  บำเพ็ญวิริยบารมี  คือ ความเพียรความแกล้วกล้า  ไม่เกรงกลัวอุปสรรค  พยายามบากบั่นอุตสาหะเรื่อยไป  ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่
สุ   =   พระสุวรรณสาม  บำเพ็ญเมตตาบารมี  คือ ความรักใคร่  ความปรารถนาดี  มีไมตรีจิตคิดเกื้อกูล
เน   =   พระเนมิราช  บำเพ็ญอธิษฐานบารมี  คือ ความตั้งใจมั่น  การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว  วางจุดหมายแห่งการกระทำไว้แน่นอน
มะ   =   พระมโหสถ  บำเพ็ญปัญญาบารมี  คือ ความรอบรู้  ความหยั่งรู้เหตุผล  เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
ภู   =   พระภูริทัตต์  บำเพ็ญศีลบารมี  คือ การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย
จะ   =   พระจันทกุมาร  บำเพ็ญขันติบารมี  คือ ความอดทน  ความทนทานของจิตใจ  ไม่ลุอำนาจกิเลส  ใช้สติปัญญาควบคุมจิตใจตนได้
นา   =   พระนารทะ  บำเพ็ญอุเบกขาบารมี  คือ ความวางใจเป็นกลางไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้าย  หรือชอบชัง  รักเกลียด
วิ   =   พระวิธูร  บำเพ็ญสัจจบารมี  คือ ความจริง พูดจริง ทำจริง และจริงใจ
เว   =   พระเวสสันดร  บำเพ็ญทานบารมี  คือ การให้  การเสียสละ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:45:53 pm »
๖.   อะ  สัม  วิ  สุ  โล  ปุ  สะ  พุ  ภะ  ชุดนี้เป็นคำย่อของพระพุทธคุณ ๙  คือ
อะ   =   อะระหัง
สัม   =   สัมมาสัมพุทโธ
วิ   =   วิชชาจะระณะสัมปันโน
สุ   =   สุคะโต
โล   =   โลกะวิทู
ปุ   =   อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ
สะ   =   สัตถา  เทวะมะนุสสานัง
พุ   =   พุทโธ
ภะ   =   ภะคะวา


  หัวใจพระพุทธคุณ  ข้อว่า  ปุ นั้น  ใช้อักษรแรกของคำที่ ๒ (ปุริสะทัมมะสาระถิ)
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:46:45 pm »
๗.   อิ  สวา  สุ  และ  สุ  สวา  อิ  เป็นคำย่อของคุณพระรัตนตรัย
อิ   =   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมา  สัมพุทโธ  วิชชาจะระณะ        สัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ ฯ
สวา   =   สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก  เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ ฯ
สุ   =   สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  อุชุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  สามีจิปะฏิปันโน          ภะคะวาโต  สาวะกะสังโฆ,  ยะทิทัง  จัตตาริ,  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา,        เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  อาหุเนยโย  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลี      กะระณีโย,  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ ฯ
(ข้อ ๖ และ ๗  ดูคำแปลในบทสวดถวายพรพระ)
๘.   มะอะอุ  ในยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้  ปรากฏกลับกันไปมา (อนุโลม  ปฏิโลม)  มีความหมายถึงการภาวนา  โดยนึกถึงคุณพระรัตนตรัย  ใน นโม  การัฏฐกคาถา   กล่าวถึงคำย่อนี้เป็น โอม  ว่า  นะโม โอมาตยารัทธัสสะ  ระตะนัตตยัสสะ  สาธุกัง  แปลว่า การนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยที่ขึ้นต้นว่า  โอม  (อะ อุ มะ)  ดังนี้ ให้สำเร็จประโยชน์


  ดู นโมการัฏฐกคาถาเพิ่มเติม  ในมนต์พิธีแปลฉบับมาตรฐาน  หน้า ๙๙  โดย มนต์ธานี สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง พ.ศ.๒๕๔๒
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:47:20 pm »
อนึ่ง คำย่อในยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกที่ไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ (และคำแปล ข้างต้น) พึงทราบว่าเป็นมนต์คาถาที่ประดับยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกให้อลังการ และศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น  อีกทั้ง ท่านที่เคยสวดฉบับอื่นที่มีคำบางคำหรือบางวรรคไม่ต้องกันกับฉบับนี้  ไม่ได้หมายความว่าฉบับของท่านผิด  หรือฉบับนี้ผิด  และไม่ได้ทำให้อานิสงค์การสวดน้อยลงแต่อย่างใด  เพราะการสวดอาศัยศรัทธาเป็นหลัก  ในส่วนของหลักภาษายังสามารถพิจารณาเพื่อหาความถูกต้องได้อีก
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:48:15 pm »
พระอิติปิโสรัตนมาลา

นโม   ๓   จบ
(อิ)   อิฎโฐ  สัพพัญญุตะญาณัง      อิจฉันโต  อาสะวักขะยัง
   อิฎฐัง  ธัมมัง  อนุปปัตโต      อิทธิมันตัง  นะมามิหัง
(ติ)   ติณโณ  โญ  วัฎฎะทุกขัมหา      ติณณัง  โลกานะมุตตะโม
   ติสโส  ภูมี  อะติกกันโต      ติณณัง  โอฆัง  นะมามิหัง
 (ปิ)   ปิโย  เทวะมะนุสสานัง         ปิโย พรหมา นะมุตตะโม
   ปิโย  นาคะสุปัณณานัง      ปิณินทริยัง  นะมามิหัง
(โส)   โสกา  วิระตะจิตโต  โย      โสภะมาโน  สะเทวะเก
   โสกัปปัตเต  ปะโมเทนโต      โสตะวัณณัง  นะมามิหัง
(ภะ)   ภัชชิตา  เยนะ  สัทธัมมา      ภัคคะปาเปนะ  ตาทินา
   ภะเย  สัตเต  ปะหาเสนโต      ภะยะสันตัง  นะมามิหัง
(คะ)   คะมิโต  เยนะ  สัทธัมโม      คะมาปิโต  สะเทวะกัง
   คัจฉะมาโน  สิวัง  รัมมัง      คัมยะธัมมัง  นะมามิหัง
(วา)   วานา  นิกขะมิ  โย  ตัณหา      วาจัง  ภาสะติ  อุตตะมัง
   วานะ  นิพพาปะนัตถายะ      วายะมันตัง  นะมามิหัง
(อะ)   อะนัสสาสะกะสัตตานัง      อัสสาสัง  เทติ  โยชิโน
   อะนันตะคุณะสัมปันโน      อันตะคามิง  นะมามิหัง
(ระ)   ระโต  นิพพานะสัมปัตเต      ระโต  โส  สัตตะโมจะเน
   รัมมาเปตีธะ  สัตเตโย         ระณะจาคัง  นะมามิหัง
(หัง)   หัญญะเต  ปาปะเก  ธัมเม      หังสาเปติ  ปะรัง  ชะนัง
   หังสมานัง  มาหาวีรัง         หันตะปาปัง  นะมามิหัง
(สัม)   สังขะตาสังขะเต  ธัมเม      สัมมาเทเสสิ  ปาณินัง
   สังสารัง  สังวิฆาเฏติ         สะสัมพุทธัง  นะมามิหัง
(มา)   มาตะวา  ปาลิโต  สัตเต      มานะถัทเธ  ปะมัททิโน
   มานิโต  เทวะสังเฆหิ         มานะฆาฏัง  นะมามิหัง
(สัม)   สัญจะยัง  ปาริมิง  สัมมา      สัญจิตวา  สุขะมัตตะโน
   สังขารานัง  ชะยัง  กัตวา      สันตะคามิง  นะมามิหัง
(พุท)   พุชฌิตวา  จะตุสัจจานิ      พุชฌาเปติ  มะหาชะนัง
   พุชฌาเปนตัง  สิวัง  มัคคัง      พุทธะเสฏฐัง  นะมามิหัง
(โธ)   โธติ  ราเคจะ  โทเสจะ         โธติ  โมเหจะ  ปาณินัง
   โธตาสะวัง  มะหาวีรัง         โธตะกะเลสัง  นะมามิหัง
(วิช)   วิวิจเจวะ  อะสัทธัมมา         วิจิตวา  ธัมมะ  เทสะนัง
   วิเวเก  ฐิตะจิตโต  โย         วิทิตันตัง  นะมามิหัง
(ชา)   ชาติธัมโม  ชะราธัมโม         ชาติอันโต  ปะกาสิโต
   ชาติเสฏเฐนะ  พุทเธนะ      ชาติโมกขัง  นะมามิหัง
(จะ)   จะยะเต  ปุญญะสัมภาเร      จะเยติ  สุขะ  สัมปะหัง
   จะชันตัง  ปาปะ  กัมมานิ      จะชาเปนตัง  นะมามิหัง
(ระ)   ระมิตัง  เยนะ  นิพพานัง      รักขิตัง  โลกะสัมปะทัง
   ระชะ  โทสาทิ  กะเลเสหิ      ระหิตัง  ตัง  นะมามิหัง
(ณะ)   นามิโตเยวะ  พรหเมหิ         นระเทเวหิ  สัพพะทา
   นะทันโต  สีหะนาทัง  โย      นะทันตัง  ตัง  นะมามิหัง
(สัม)   สังขาเร  ติวิธโลเก         สัญชานาติ  อะนิจ  จะโต
   สัมนิพพานะ  สัมปัตโต      สัมปัสสันตัง  นะมามิหัง
(ปัน)   ปันนะกะเต  โพธิสัมภาเร      ปะสัฏโฐ  โสสะเทวะเก
   ปัญญายะ  อะสะโมโหติ      ปะสันนัง  ตัง  นะมามิหัง
(โน)   โน  เทติ  นิระยัง  คันตุง      โน  จะปาปัง  อะการะยิง
   โน  สะโมอัตถิ  ปัญญายะ      โนนะ  ธัมมัง  นะมามิหัง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)