ผู้เขียน หัวข้อ: มธุรัตถวิลาสินี  (อ่าน 19772 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:10:15 pm »
อุทายีอมาตย์ รับพระราชดำรัสใส่เกล้าแล้ว ก็นำข่าวของพระราชา
ไปถึงกรุงราชคฤห์. ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ก็บรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยบุรุษพันหนึ่ง ตั้งอยู่ในเอหิภิกขุภาวะแล้วเพ็ญเดือนผัคคุนี [เดือน ๔]

ก็ดำริฤดูเหมันต์ก็ล่วงไปแล้ว ถึงฤดูวสันต์เข้านี่แล้ว ราวป่าก็มีดอกไม้บาน

สะพรั่ง หนทางก็เหมาะที่จะเดิน เป็นกาลสมควรที่พระทศพลจะทรงทำการ

สงเคราะห์พระประยูรญติ ครั้นดำริแล้วก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พรรณนา

คุณการเสด็จพุทธดำเนิน เพื่อเข้าไปยังพระนครแห่งพระสกุลด้วยคาถาประมาณ

๖๐ คาถา

๑. องฺคาริโน ทานิ ทุมา ภทนฺเต
ผเลสิโน ฉทนํ วิปฺปหาย
เต อจฺจิมนฺโตว ปภาสยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ต้นไม้ทั้งหลาย สลัดใบ
มีแต่ลำต้น เตรียมจะติดช่อติดผล ต้นไม้เหล่านั้น
ส่องพระกายสว่าง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒. ทุมา วิจิตฺตา สุวิราชมานา
รตฺตงฺกุเรเหว จ ปลฺลเวหิ
รตนุชฺชลมณฺฑปสนฺนิภาสา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ต้นไม้ทั้งหลาย งดงาม รุ่งเรืองด้วยหน่อสีแดง
และใบอ่อน ประหนึ่งมณฑปที่รุ่งเรืองด้วยรัตนะ ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๓. สุปุปฺผิตคฺคา กุสุเมหิ ภูสิตา
มนุญฺญภูตา สุจิสาธุคนฺธา
รุกฺขา วิโรจนฺ ติ อุโภสุ ปสฺเสสุ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ต้นไม้ทั้งหลาย บนยอดมีดอกบานงาม ประดับ
ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย น่าชื่นใจ ดอกสะอาด สวย และ
มีกลิ่นหอม อร่ามไปทั้งสองข้างทาง ข้าแต่พระมหา-
วีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระ-
เจ้าข้า
๔. ผเลหิเนเกหิ สมิทฺธิภูตา
วิจิตฺตรุกฺขา อุภโตวกาเส
ขุทฺทํ ปิปาสมฺปิ วิโนทยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ต้นไม้ที่งดงามทั้งหลาย ในโอกาสสองข้างทาง
ดกดื่นด้วยผลเป็นอันมาก บรรเทาความยากไร้ ทั้ง
ความหิวระหายได้ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕. วิจิตฺตมาลา สุจิปลฺลเวหิ
สุสชฺชิตา โมรกลาปสนฺนิภา
รุกฺขา วิโรจนฺติ อุโภสุ ปสฺเสสุ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ต้นไม้ทั้งหลาย มีดอกงดงาม อันใบอ่อนที่สะอาด
ตกแต่งแล้ว เสมือนต้นหางนกยูง อร่ามไปทั้งสอง
ข้างทาง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๖. วิโรจมานา ผลปลฺลเวหิ
สุสชฺชิตา วาสนิวาสภูตา
โตเสฺนฺติ อทฺธานกิลนฺตสตฺเต
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ต้นไม้ทั้งหลาย รุ่งโรจน์ อันผลและใบอ่อน
ตกแต่งแล้ว ประดับประดาด้วยน้ำหอม ย่อมปลอบ
ประโลมใจเหล่าสัตว์ที่เหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกล
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๗. สุผุลฺลิตคฺคา วนคุมฺพนิสฺสิตา
ลตา อเนกา สุวิราชมานา
โตเสนฺติ สตฺเต มณิมณฺฑปาว
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
เถาวัลย์เป็นอันมาก อาศัยพุ่มไม้ในป่า บนยอด
ออกดอกบานสวย สง่างาม ย่อมปลอบประโลมใจ
เหล่าสัตว์ เหมือนมณฑปมณี ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๘. ลตา อเนกา ทุมนิสฺสิตาว
ปิเยหิ สทฺธึ สหิตา วธูว
ปโลภยนฺติ หิ สุคนฺธคนฺธา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
เถาวัลย์เป็นอันมาก อาศัยตัดต้นไม้ ประหนึ่งหญิง
สาวไปกับชายที่รัก มีกลิ่นหอมอบอวลประโลมใจ
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๙. วิจิตฺตนีลาทิมนุญฺญวณฺณา
ทิชา สมนฺตา อภิกูชมานา
โตเสนฺติ มญฺชุสฺสรตา รตีหิ
สโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ฝูงนก มีสีสรรสวยงามน่าชื่นใจ มีสีเขียวเป็นต้น
ส่งเสียงร้องไพเราะโดยรอบ ด้วยความยินดี ปลอบ
ประโลม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:11:05 pm »
๑๐. มิคา จ นานา สุวิราชมานา
อุตฺตุงฺคกณฺณา จ มนุญฺญเนตฺตา
ทิสา สมนฺตา มภิธาวยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ฝูงเนื้อนานาชนิด เกลื่อนกราด ยกหูชูชัน เบิ่งตา
น่าชื่นใจ พากันวิ่งไปรอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็น
สมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๑. มนุญฺญภูตา จ มหี สมนฺตา
วิราชมานา หริตา ว สทฺทลา
สุปุปฺผิรุกฺขา โมฬินิวลงฺกตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
แผ่นปฐพีมีหญ้าแพรกขึ้นเขียวขจีส่องประกาย
โดยรอบน่าชื่นใจ ต้นไม้ดอกบานงาม ก็ประดับดุจ
โมลี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระ-
อังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า
๑๒. สุสชฺชิตา มุตฺตมยาว วาลุกา
สุสณฺฐิตา จารุสุผสฺสทาตา
วิโรจนยนฺเตว ทิสา สมนฺตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ทรายทั้งหลาย ดูดังมุกดาอันธรรมดาจัดแต่งไว้
ทรวดทรงงามให้สัมผัสดีดังทอง ส่องแสงสกาว
รอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๓. สมํ สุผสฺสํ สุจิภูมิภาคํ
มนุญฺญปุปฺโผทยคนฺธวาสิตํ
วิราชมานํ สุจิมญฺจ โสภํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
พื้นแผ่นดินสะอาด ราบเรียบ สัมผัสดี กลิ่นเกิด
จากดอกไม้หอม ตลบอบอวลน่าชื่นใจ ส่องประกาย
สะอาดงาม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๔. สุสชฺชิตํ นนฺทนกานนํว
วิจิตฺตนานา ทุมสณฺฑมณฺฑิตํ
สุคนฺธภูตํ ปวนํ สุรมฺมํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ป่าใหญ่อันธรรมดาตกแต่งดีแล้ว ประดับด้วย
ต้นไม้นานาชนิดเรียงรายงามตระการ มีกลิ่นหอม น่า
รื่นรมย์อย่างดี ดั่งสวนนันทวัน ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๕. สรา วิจิตฺตา วิวิธา มโนรมา
สุสชฺชิตา ปงฺกชปุณฺฑรีกา
ปสนฺนสีโตทกจารุปุณฺณา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
สระทั้งหลาย หลากชนิดวิจิตรน่ารื่นรมย์ใจ อัน
ธรรมดาตกแต่งไว้ มีบัวบุณฑริก เต็มเปี่ยมด้วยน้ำเย็น
ใสดั่งทอง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๖. สุผุลฺลนานาวิธปงฺกเชหิ
วิราชมานา สุจิคนฺธคนฺธา
ปโมทยนฺเตว นรามรานํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ
สระทั้งหลาย อร่ามเหลืองด้วยบัวนานาชนิดดอก
บานงาม กลิ่นกรุ่นสะอาด ทำให้เหล่ามนุษย์ชาติแล
เทพดาบันเทิงใจ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๗. สุผุลฺลปงฺเกรุหสนฺนิสินฺนา
ทิชา สมนฺตา มภินาทยนฺตา
โมทนฺติ ภริยาหิ สมงฺคิโน เต
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ฝูงนักจับกอบัวที่ดอกบานร้องเจี๊ยบจ๊าบไปรอบ ๆ
นกเหล่านั้นบันเทิงพร้อมกับตัวเมีย ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๘. สุผุลฺลปุปฺเผหิ รชํ คเหตฺวา
อลี วิธาวนฺติ วิกูชมานา
มธุมฺหิ คนฺโธ วิทิสํ ปวายติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ฝูงผึ้งเก็บละอองจากดอกไม้บานส่งเสียงร้องบิน
เวียนว่อน กลิ่นน้ำหวาน ก็กำจายไปทั่วทิศ ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๑๙. อภินฺนนาทา มทวารณา จ
คิรีหิ ธาวนฺติ จ วาริธารา
สวนฺติ นชฺโช สุวิราชิตาว
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
โขลงช้างเมามัน ส่งเสียงแปร๋แปร๋นแล่นออก
จากซอกเขา และกระแสน้ำก็พราวพรายไหลจากลา
แม่น้ำ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:12:05 pm »
๒๐. คิรี สมนฺตาว ปทิสฺสมานา
มยูรคีวา อิว นีลวณฺณา
ทิสา รชินฺทาว วิโรจยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ขุนเขาทั้งหลาย ปรากฏเห็นอยู่รอบๆ มีสีเขียว
ขาบ เหมือนคอนกยูง รุ่งทะมึน เหมือนเมฆ ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๒๑. มยูรสงฺฆา คิริมุทฺธนสฺมึ
นจฺจนฺติ นารีหิ สมงฺคิภูตา
กูชนฺติ นานามธุรสฺสเรหิ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ฝูงยูงผู้พร้อมด้วยตัวเมีย พากันฟ้อนรำเหนือยอด
คิรี กู่ก้องด้วยเสียงอันไพเราะต่างๆ ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๒. สุวาทิกา เนกทิชา มนุญฺญา
วิจิตฺตปตฺเตหิ วิราชมานา
คิริมฺหิ ฐตฺวา อภินาทยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ฝูงนกเป็นอันมาก มีเสียงเพราะ น่าชื่นใจ
เลื่อมพรายด้วยขนปีกอันงดงาม ยืนร้องก้องกังวาน
เหนือคิรี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๓. สุผลฺลปุปฺผา กรมาภิกิณฺณา
สุคนฺธนานาทลลงฺกตา จ
คีรี วิโรจนฺติ ทิสา สมนฺตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ภูเขาทั้งหลาย มีดอกไม้บานงาม เกลื่อนกลาด
ด้วยต้นเล็บเหยี่ยว ประดับด้วยกลีบดอกไม้นานาชนิด
มีกลิ่นหอม งามระยับไปรอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๔. ชลาสยา เนกสุคนฺธคนฺธา
สุรินฺทอุยฺยานชลาสยาว
สวนฺติ นชฺโช สุวิราชมานา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ชลาศัยลำน้ำมีกลิ่นหอมกรุ่นเป็นอันมาก พร่าง
พรายไหลมาแต่แม่น้ำ เหมือนชลาลัยในอุทยานของ
ท้าวสักกะจอมเทพ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๕. วิจิตฺตติตฺเถหิ อลงฺกตา จ
มนุญฺญนานามิคปกฺขิปาสา
นชฺโช วิโรจนฺติ สุสนฺทมานา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
แม่น้ำทั้งหลาย ประดับด้วยท่าน้ำอันงาม เป็น
ที่ฝูงเนื้อและนกนานาชนิดลงดื่มกินน่าชื่นใจ ไหลอยู่
พร่างพราย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๖. อุโภสุ ปสฺเสสุ ชลาสเยสุ
สุปุปฺผิตา จารุสุคนฺธรุกฺขา
วิภูสิตคฺคา สุรสุนฺทรี จ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
กลุ่มต้นไม้งาม กลิ่นหอม ออกดอกบาน ณ
ชลาลัยทั้งสองฝั่ง ยอดมีดอกประดับ สวยงามสง่า
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๒๗. สุคนฺธนานาทุมชาลกิณฺณํ
วนํ วิจิตฺตํ สุรนนฺทนํว
มโนภิรามํ สตตํ คตีนํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ป่าเกลื่อนกลาดด้วยแนวไม้นานาชนิด มีกลิ่น
หอม งดงามดังสวนนันทนวันของเทวดา เป็นที่รื่น-
รมย์ใจยิ่งของผู้ที่ไปเนื่อง ๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็น
สมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๘. สมฺปนฺนนานาสุจิอนฺนปานา
สพฺยญฺชนา สาธุรเสน ยุตฺตา
ปเถสุ คาเม สุลภา มนุญฺญา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ข้าวน้ำอันสะอาดนานาชนิด สมบูรณ์พร้อมทั้ง
กับแกล้ม ประกอบด้วยรสอร่อย หาได้ง่ายในหมู่บ้าน
ใกล้ทาง น่าชื่นใจ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย
สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๙. วิราชิตา อาสิ มหี สมนฺตา
วิจิตฺตวณฺณา กุสุมาสนสฺส
รตฺตินฺทโคเปหิ อลงฺกตาว
มโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
แผ่นดินแห่งที่ตั้งดอกไม้ ที่มีสีสรรงดงาม ก็
เรืองอร่ามไปโดยรอบ ยามราตรีก็ประดับด้วยหิ่งห้อย
ทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๐. วิสุทฺธสทฺธาทิคุเณหิ ยุตฺตา
พุทฺธราชํ อภิปตฺถยนฺตา
หิ ตตฺเถว ชนา สมนฺตา
ย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ชนทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น
อันบริสุทธิ์ ปรารถนายิ่งนักซึ่งราชะคือภาวะเป็นพระ-
สัมพุทธเจ้า มีอยู่เป็นอันมากรอบ ๆ ณ แผ่นดินนั้น
นั่นแล ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:13:01 pm »
๓๑. วิจิตฺรอารามสุโปกฺขรญฺโญ
วิจิตฺนานาปทุเมหิ ฉนฺนา
ภิเสหิ ขีรํว รสํ ปวายติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
สระโบกขรณีอันงามน่ารื่นรมย์ ปกคลุมด้วย
ปทุมนานาชนิดอันงาม ย่อมหลั่งรสดุจน้ำมัน โดย
เหง้าทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๒. วิจิตฺรนีลจฺฉทเนนลงฺกตา
มนุญฺญรุกฺขา อุภโตวกาเส
สมุคฺคตา สตฺตสมูทภูตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ต้นไม้น่าชื่นใจทั้งหลาย ประดับด้วยใบเขียวงาม
ขึ้นสล้าง ณ โอกาสสองข้างทาง เป็นที่ชุมนุมของสัตว์
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
รสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๓. วิจิตฺรนีลพฺภมิวายตํ วนํ
สุรินฺทโลเก อิว นนฺ ทนํ วนํ
สพฺโพตุกํ สาธุสุคนฺธปุปฺผํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
วนะที่ครึ้มด้วยเมฆคือตัดต้นไม้เขียวตระการ มีดอก
บานงามและหอมทุกฤดู ดั่งนันทนวัน ในภพของ
องค์อัมรินทร์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำ-
หรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๔. สุภญฺชสํ โยชนโยชเนฺสุ
สุภิกฺขคามา สุลภา มนุญฺญา
ชนาภิกิณฺณา สุลภนฺนปานา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
หนทางดี ทุก ๆ โยชน์ หมู่บ้านมีอาหารดี หา
ได้ง่าย น่าชื่นใจ มีผู้คนหนาแน่น มีข้าวน้ำหาได้
สะดวก ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๕. ปหูตฉายูทกรมฺมภูตา
นิวาสินํ สพฺพสุขปฺปทาตา
วิสาลสาลา จ สภา จ พหู
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ศาลากว้างและสภาที่ประชุม มีร่มเงาและน้ำ
มากพอน่ารื่นรมย์ มอบความสุขทุกอย่างแก่ผู้อยู่อาศัย
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๓๖. วิจิตฺรนานาทุมสณฺฑมณฺฑิตา
มนุญฺญอุยฺยานสุโปกฺขรญฺโญ
สุมาปิตา สาธุสุคนฺธคนฺธา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
สระโบกขรณีดีในอุทยานที่น่าชื่นใจ ประดับด้วย
แนวต้นไม้นานาชนิดอันงาม อันธรรมดาสร้างสรรไว้
มีกลิ่นหอมกรุ่นสำเร็จประโยชน์ ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๗. วาโต มุทูสีตลสาธุรูโป
นภา จ อพฺภา วิคตา สมนฺตา
ทิสา จ สพฺพาว วิโรจยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ลมอ่อนเย็นให้สำเร็จประโยชน์ และท้องฟ้าก็
ปราศจากเมฆหมอกโดยรอบทิศทั้งหลายก็สว่างไสวไป
หมด ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๘. ปเถ รโชนุคฺคมนตฺถเมว
รตฺตึ ปวสฺสนฺติ จ มนฺทวุฏฺฐี
นเภ จ สูโร มุทุโกว ตาโป
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ฝนตกน้อยๆ ในราตรีเพื่อไม่ให้ฝุ่นละอองฟุ้งขึ้น
ที่หนทาง ดวงอาทิตย์ในท้องฟ้าก็มีแสงแดดอ่อน ๆ
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
รสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๙. มทปฺปพาหา มทหตฺถิสงฺฆา
กเรณุสงฺเฆหิ สุกีฬยนฺติ
ทิสา วิธาวนฺติ จ คชฺชยนฺตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ
ฝูงช้างพลายซุกซน มีงวงซุกซน หยอกเล่นกับ
ฝูงช้างพังทั้งหลาย ร้องคำรณวิ่งแล่นไปรอบทิศ ข้า
แต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๔๐. วนํ สุนีลํ อภิทสฺสนียํ
นีลพฺภกูฏํ อิว รมฺมภูตํ
วิโลกิตานํ อติวิมฺหนียํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
วนะเขียวสด น่าพิศยิ่งนัก น่ารื่นรมย์ เป็น
ของน่าประหลาดสำหรับคนที่มองดู เหมือนยอดเมฆ
สีคราม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:14:28 pm »
๔๑. วิสุทฺธมพฺภํ คคนํ สุรมฺมํ
มณิมเยหิ สมลงฺกตาว
ทิสา จ สพฺพา อติโรจยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ท้องฟ้าปราศจากเมฆหมอก น่ารื่นรมย์ดี ทิศ
ทุกทิศจะเป็นเหมือนประดับด้วยสิ่งที่ทำด้วยแก้วมณี
รุ่งโรจน์อยู่ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๒. คนฺธพฺพวิชฺชาธรกินฺนรา จ
สุคีติยนฺตา มธุรสฺสเรน
จรนฺติ ตสฺมึ ปวเน สุรมฺเม
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
เหล่าคนธรรพ์ พิทยาธร และกินนรขับร้องเพลง
ด้วยเสียงอันไพเราะ พากันเที่ยวไปในป่าใหญ่ที่น่า
รื่นรมย์นั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๓. กิเลสสงฺฆสฺส ภิตาสเกหิ
ตปสฺสิสงฺเฆหิ นิเสวิตํ วนํ
วิหารอารามสมิทฺธิภูตํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
วนะอันหมู่ผู้มีตบะ ผู้กลัวแต่หมู่กิเลสของตนเอง
ซ่องเสพแล้ว เป็นวิหาร เป็นอารามที่สำเร็จประโยชน์
ข้าแต่พระมหาวีระเป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๔๔. สมิทฺธินานาผลิโน วนนฺตา
อนากุลา นิจฺจมโนภิรมฺมา
สมาธิปีตึ อภิวฑฺฒยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
วนะให้สำเร็จผลต่าง ๆ ไม่อากูลเป็นที่น่ารื่นรมย์
ยิ่งแห่งใจเป็นนิตย์ เพิ่มพูนสมาธิจิตและปีติ ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๔๕. นิเสวิตํ เนกทิเชหิ นิจฺจํ
คาเมน คามํ สตตํ วสนฺตา
ปุเร ปุเร คามวรา จ สนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
วนะอันฝูงนกเป็นอเนก ซ่องเสพอยู่เป็นนิตย์
หมู่คนจากบ้านตำบลหนึ่ง สู่บ้านตำบลหนึ่ง ก็อยู่กัน
เป็นประจำ หมู่บ้านทั้งหลาย ก็กลายเป็นแต่ละเมืองๆ
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๔๖. วตฺถนฺนปานํ สยนาสนญฺจ
คนฺธญฺจ มาลญฺจ วิเลปนญฺจ
ตหึ สมิทฺธา ชนตา พหู จ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ชุมชนเป็นอันมาก อาศัยผ้า ข้าวน้ำ ที่นั่งที่นอน
ของหอม ดอกไม้และเครื่องลูบไล้ ก็สำเร็จประโยชน์
อยู่กันในเมืองนั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๗. ปุญฺญิทฺธิยา สพฺพยสคฺคปตฺตา
ชนา จ ตสฺมึ สุขิตา สมิทฺธา
ปหูตโภคา วิวิธา วสนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ชนทั้งหลายถึงความเลิศแห่งยศทุกอย่าง ด้วย
บุญฤทธิ์ มั่งคั่งมีโภคะต่าง ๆ อย่างเป็นอันมาก อยู่
ฉันเป็นสุขในเมืองนั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย
สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๘. นเภ จ อพฺภา สุวิสุทฺธวณฺณา
นิสา จ จนฺโท สุวิราชิโตว
รตฺติญฺจ วาโต มุทุสีตโล จ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
เมฆหมอกในท้องฟ้า ก็มีสีหมดจด ดวงจันทร์
ก็ส่องแสงสว่างไปตลอดทิศ และยามราตรี ลมก็โชย
อ่อนๆ เย็นๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๙. จนฺทุคฺคเม สพฺพชนา ปหฏฺฐา
สกงฺคเณ จิตฺรกถา วทนฺตา
ปิเยหิ สทฺธึ อภิโมทยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
พอดวงจันทร์โผล่ขึ้นมา ชนทั้งปวง ก็ร่าเริง
สนทนากันแต่เรื่องที่ดีงาม ณ ลานบ้านของตน บันเทิง
ยิ่งนักกับคนรักทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย
สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๐. จนฺทสฺส รํสีหิ สภํ วิโรจิ
มหี จ สํสุทฺธมนุญฺญวณฺณา
ทิสา จ สพฺพา ปริสุทฺธรูปา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
รัศมีแห่งดวงจันทร์ สว่างตลอดท้องฟ้า พื้น
แผ่นพสุธา ก็มีสีสรรหมดจดน่าชื่นใจ และทิศทั้งหลาย
ก็บริสุทธิ์ไปหมด ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:15:29 pm »
๕๑. ทูเร จ ทิสฺวา วรจนฺทรํสี
ปุปฺผึสุ ปุปฺผานิ มหีตลสฺมึ
สมนฺตโต คนฺธคุณตฺถิกานํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
เพราะต้องรัศมีแห่งดวงจันทร์อันประเสริฐแต่ไกล
ดอกไม้ทั้งหลาย บนผืนแผ่นดินโดยรอบ จึงแย้มบาน
สำหรับคนทั้งหลายที่ต้องการคุณคือความหอม ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๕๒. จนทสฺส รํสีหิ วิลิมฺปิตาว
มหี สมนฺตา กุสุเมนลงฺกตา
วิโรจิ สพฺพงฺคสุมาลินีว
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
พื้นแผ่นดินถูกฉาบไว้ ด้วยรัศมีแห่งดวงจันทร์
ประดับดอกไม้โดยรอบก็สง่างาม ดั่งสตรีประดับมาลัย
งามทั่วสรรพางค์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๓. กุจนฺติ หตฺถีปิ มเทน มตฺตา
วิจิตฺตปิญฺฉา จ ทิชา สมนฺตา
กโรนฺติ นาทํ ปวเน สุรมฺเม
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
แม้ช้างทั้งหลาย เมามัน ก็ส่งเสียงโกญจนาท
และเหล่านกที่มีขนหางงาม ก็ร้องลั่นรอบป่าใหญ่ ที่
น่ารื่นรมย์ดี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำ-
หรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๔. ปถญฺจ สพฺพํ ปฏิปชฺชนกฺขมํ
อิทฺธํ จ รฏฺฐํ สธนํ สโภคํ
สพฺพตฺถุตํ สพฺพสุขปฺปทานํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
อนึ่งหนทางทุกสายก็ควรแก่การเดิน ทั้งรัฐอาณา-
จักรก็มั่งคั่ง มีทรัพย์ มีโภคะ มี่ทุกสิ่ง ให้ความสุขทุก
อย่าง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระ-
อังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๕. วนญฺจ สพฺพํ สุวิจิตฺตรูปํ
สุมาปิตํ นนฺทนกานนํว
ยตีน ปีตึ สตตํ ชเนติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
วนะทุกวนะ ล้วนแต่งดงาม อันธรรมดาสร้าง
สรรไว้ ประดุจสวนนันทนวัน ให้เกิดปิติแก่นักพรต
ทั้งหลายเนืองๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๖. อลงฺกตํ เทวปุรํว รมฺมํ
กปิลวตฺถุํ อิติ นามเธยฺยํ
กุลนครํ อิธ สสฺสิริกํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระนครของพระสกุล มีนามว่า กรุงกบิลพัศดุ์
ประดับประดาน่ารื่นรมย์ ดุจเทพนคร เป็นพระนคร
มีสิริสง่าในโลกนี้ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๗. มนุญฺญอฏฺฏาลวิจิตฺตรูปํ
สุผุลฺลปงฺเกรุหสณฺฑมณฺฑิตํ
วิจิตฺตปริขาหิ ปุรํ สุรมฺมํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
พระนครงดงามด้วยหอรบน่าชื่นใจ ประดับด้วย
บัวบานสะพรั่ง น่ารินรมย์อย่างดี ด้วยค่ายคูอันวิจิตร
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
รสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๘. วิจิตฺตปาการญฺจ โตรณญฺจ
สุภงฺคณํ เทวนิวาสภูตํ
มนุญฺญวิถิ สุรโลกสนฺนิภํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ปราการอันวิจิตร เสาระเนียด และพระลานอัน
งาม เป็นที่ประทับขององค์สมมติเทพ [พระมหา-
กษัตริย์] ถนนที่น่าชื่นใจ ดุจดั่งเทวโลก ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๕๙. อลงฺกตา สากิยราชปุตตา
วิราชมานา วรภูสเนหิ
สุรินฺทโลเก อิว เทวปุตฺตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
เหล่าศากยราชบุตรแต่งพระองค์ งามรุ่งเรือง
ด้วยเครื่องประดับอันประเสริฐ ประดุจเหล่าเทพบุตร
ในภพอัมรินทร์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๖๐. สุทฺโธทโน มุนิวรํ อภิทสฺสนาย
อมจฺจปุตฺเต ทสธา อเปสยิ
พเลน สทฺธึ มหตา มุนินฺท
สมโย มหาวีร องฺคิรสานํ.
ข้าแต่พระจอมมุนี พระเจ้าสุทโธทนะมหาราช มี
พระราชประสงค์จะทรงพบพระจอมมุนี จึงทรงส่งบุตร
อมาตย์ พร้อมด้วยกองกำลังขนาดใหญ่ ถึง ๑๐ ครั้ง
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
รสแล้ว พระเจ้าข้า.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:16:31 pm »
๖๑. เนวาคตํ ปสฺสติ เนว วาจํ
โสกาภิภูตํ นรวีรเสฏฺฐํ
โตเสตุมิจฺฉามิ นราธิปตฺตํ
สมโย มหาวีรํ วงฺคีรนานํ
พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ไม่ทรงเห็นพระองค์
เสด็จมา ไม่ทรงได้ยินพระวาจา ข้าพระองค์ประสงค์
จะปลอบพระองค์ผู้แกล้วกล้าผู้ประเสริฐสุดในนรชน
ผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน ซึ่งถูกความเศร้าโศกครองงำแล้ว
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
รสแล้ว พระเจ้าข้า.
๖๒. ตํทสฺสเนนพฺภุตปีติราสิ
อุทิกฺขมานํ ทฺวิปทานมินฺทํ
โตเสหิ ตํ มุนินฺท คุณเสฏฺฐํ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ข้าแต่พระจอมมุนี ผู้มีกองปีติน่าอัศจรรย์ เพราะ
การเห็นพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปลอบ พระผู้
เป็นเจ้าแห่งหมู่มนุษย์ ผู้มีพระคุณอันประเสริฐ ซึ่งตั้ง
พระเนตรรอคอยพระองค์นั้นด้วยเถิด ข้าแต่พระมหา
วีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระ-
เจ้าข้า.
๖๓. อาสาย กสฺสเต เขตฺตํ พีชํ อาสาย วปฺปติ
อาสาย วาณิชา ยนฺติ สมุทฺทํ ธนหารกา
ยาย อาสาย ติฏฺฐามิ สา เม อาสา สมิชฺฌตุ.
ชาวนาไถนาก็ด้วยความหวัง หว่านพืชก็ด้วย
ความหวัง พ่อค้านำทรัพย์ไปทางทะเลก็ด้วยความหวัง
ข้าพระองค์ยืนหยัดอยู่ด้วยความหวังใด ขอความหวัง
นั้นจงสำเร็จแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.
๖๔. นาติสีตํ นาติอุณฺหํ นาติทุพฺภิกฺขฉาตกํ
สทฺทลา หริตา ภูมิ เอส กาโล มหามุนี.
ข้าแต่พระมหามุนี ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก
อาหารหาไม่ยากและไม่อดอยาก พื้นแผ่นดินเขียวขจี
ด้วยหญ้าแพรก นี้เป็นกาลอันสมควรแล้ว พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า ดูก่อนอุทายี เธอสรรเสริญ
การเดินทาง ทำไมหนอ. ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระชนกของพระองค์ มีพระราชประสงค์จะพบ

พระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงทำการสงเคราะห์พระประยูรญาติเถิด พระเจ้าข้า

พระศาสดาตรัสว่า ดีละ อุทายี เราตถาคตจักทำการสงเคราะห์พระประยูรญาติ

ถ้าอย่างนั้น เธอจงบอกกล่าวแก่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจักบำเพ็ญคมิยวัตร

[ธรรมเนียมของภิกษุผู้จะเดินทาง]. พระเถระทูลรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ

พระเจ้าข้า แล้วก็บอกกล่าวแก่ภิกษุสงฆ์.

พระศาสดาทรงแวดล้อมด้วยภิกษุขีณาสพรวมทั้งหมดสองหมื่นรูป คือ
กุลบุตรชาวอังคะและมคธะหมื่นรูป กุลบุตรชาวกรุงกบิลพัสดุ์หมื่นรูป เสด็จ

ออกจากกรุงราชคฤห์ เดินทางวันละโยชน์ ๆ สองเดือนก็เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงแล้ว ฝ่ายเจ้าศากยะทั้งหลาย ก็ช่วยกันเลือก

สถานที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหมายพระทัยจักพบพระญาติผู้

ประเสริฐสุดของตน จึงกำหนดแน่ชัดว่า อารามของนิโครธศากยะ น่ารื่น-

รมย์ ให้จัดทำวิธีปฏิบัติทุกวิธี จึงพากันถือของหอมและดอกไม้ออกไปรับเสด็จ

แต่งพระองค์ด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง บูชาด้วยของหอมดอกไม้และจุรณเป็นต้น

ต้น นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังนิโครธารามนั่นแล.

ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระขีณาสพสองหมื่นรูปแวดล้อม
แล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อย่างดีที่เขาจัดไว้. ฝ่ายพวกเจ้าศากยะ เป็น

ชาติมีมานะ กระด้างเพราะมานะ ต่างคิดกันว่า สิทธัตถกุมารหนุ่มกว่าเรา

เป็นกนิษฐภาดา เป็นบุตร เป็นภาคิไนย เป็นนัดดา จึงกล่าวกะเหล่าราชกุมาร

ที่หนุ่ม ๆ ว่า พวกเจ้าจงไหว้ เราจักนั่งอยู่ข้างหลัง ๆ พวกเจ้า. เมื่อเจ้าศากยะ

เหล่านั้นนั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น

แล้ว ทรงพระดำริว่า พระญาติเหล่านี้ไม่ยอมไหว้เรา เพราะตนเป็นคนแก่

เปล่า เพราะพระญาติเหล่านั้น ไม่รู้ว่า ธรรมดาของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นไร

ธรรมดากำลังของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นไร หรือว่าธรรมดาของพระพุทธเจ้าเป็น

เช่นนี้ ธรรมดากำลังของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นนี้ ถ้ากระไร เราเมื่อจะแสดง

กำลังของพระพุทธเจ้าและกำลังของฤทธิ์ ก็ควรทำปาฏิหาริย์ จำเราจะเนรมิตที่

จงกรมแล้วด้วยรัตนะล้วน กว้างขนาดหมื่นจักรวาลในอากาศ เมื่อจงกรม ณ

ที่จงกรมนั้น ตรวจดูอัธยาศัยของมหาชนแล้ว จึงจะแสดงธรรม. ด้วยเหตุนั้น

เพื่อแสดงความปริวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย

จึงกล่าวว่า

เพราะพระญาติเหล่านั้น พร้อมทั้งเทวดาและ
มนุษย์ ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดคนนี้เป็นเช่นไร
กำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเป็นเช่นไร กำลังของพระ-
พุทธเจ้าเป็นประโยชน์เพื่อเกื้อกูลแก่โลกเป็นเช่นไร.
เพราะพระญาติเหล่านั้น พร้อมทั้งเทวดาและ
มนุษย์ไม่รู้ดอกว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดคนเป็นเช่นนี้
กำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเป็นเช่นนี้ กำลังของพระ-
พุทธเจ้า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกเป็นเช่นนี้.
เอาเถิด จำเราจักแสดงกำลังของพระพุทธเจ้าอัน
ยอดเยี่ยม จักเนรมิตที่จงกรมประดับด้วยรัตนะ ใน
นภากาศ.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:17:38 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เหเต ชานนฺติ ความว่า เพราะว่า
พระญาติเหล่านั้น ไม่ทรงรู้. น อักษร มีอรรถปฏิเสธ. หิ อักษร เป็น

นิบาตลงในอรรถว่าเหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่เทวดาและมนุษย์มีพระญาติ

เป็นต้นของเราเหล่านั้น เมื่อเราไม่ทำให้แจ่มแจ้งถึงกำลังของพระพุทธเจ้า และ

กำลังของฤทธิ์ ก็ย่อมไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นเช่นนี้ กำลังของฤทธิ์เป็นเช่นนี้

ฉะนั้น เราจะพึงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า และกำลังของฤทธิ์ของเรา ดังนี้.

ท่านประสงค์เอาอุปปัตติเทพว่า เทวดา ในคำว่า สเทวมนุสฺสา นี้. เป็นไป

กับเทวดาทั้งหลาย เหตุนั้น จึงว่า สเทวา คนเหล่านั้นคือใคร คือมนุษย์.

มนุษย์ทั้งหลายพร้อมกับเทวดา ชื่อว่า สเทวมานุสา. อีกนัยหนึ่ง พระเจ้า

สุทโธทนะ สมมติเทพ ท่านประสงค์เอาว่า เทวดา. เป็นไปกับเทวดา คือ

พระเจ้าสุทโธทนะ เหตุนั้น จึงชื่อว่า สเทวา. มนุษย์ที่เป็นพระญาติ ชื่อว่า

มานุสา. มนุษย์ทั้งหลาย พร้อมด้วยเทวดา คือพร้อมด้วยพระเจ้าสุทโธทนะ

ชื่อว่า สเทวมานุสา. อธิบายว่า หรือว่า มนุษย์ที่เป็นญาติของเราเหล่านี้

พร้อมด้วยพระราชา ย่อมไม่รู้กำลังของเรา. แม้เทวดาที่เหลือก็สงเคราะห์เข้าไว้

ด้วย. เทวดาทั้งหมด ท่านเรียกว่า เทวดา เพราะอรรถว่า เล่น. ชื่อว่า

เล่น เป็นอรรถของธาตุมีกีฬธาตุเป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง เทวดาด้วย มนุษย์

ด้วย ชื่อว่าเทวดาและมนุษย์. เป็นไปกับด้วยเทวดาและมนุษย์ ชื่อว่า สเทว-

มานุสา. เหล่านั้นคือใคร. พึงเห็นการเติมคำที่เหลือว่า โลกา โลกทั้งหลาย.

บทว่า พุทฺโธ ได้แก่ ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้ รู้ตามซึ่งสัจธรรมทั้ง ๔.

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

อภิญฺเญยฺยํ อภิญฺญาตํ ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิตํ
ปหาตพฺพํ ปหีนํ เม ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ.
สิ่งที่ควรรู้ยิ่งเราก็รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรเจริญเราก็
เจริญแล้ว สิ่งที่ควรละเราก็ละแล้ว เพราะฉะนั้น เรา
จึงเป็นพุทธะ นะพราหมณ์.
ก็ในที่นี้ พึงเห็นว่า พุทธศัพท์ สำเร็จความในอรรถว่า เป็นกัตตุการก
(ปฐมาวิภัตติ) ชื่อว่า พุทธะ เพราะเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ผู้บรรลุคุณวิเศษ

ทราบกันอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ

หนอ. ในที่นี้ พึงเห็นว่า พุทธศัพท์สำเร็จความในอรรถว่า เป็นกรรมการก.

หรือว่า ความรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีอยู่ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ชื่อว่า พุทธะ อธิบายว่า ผู้ทรงมีความรู้. คำนั้นทั้งหมดพึงทราบตามแนวศัพท-

ศาสตร์. บทว่า กีทิสโก ความว่า เป็นเช่นไร น่าเห็นอย่างไร เสมือนอะไร

มีผิวอย่างไร มีทรวดทรงอย่างไร ยาวหรือสั้น.

บทว่า นรุตฺตโม ได้แก่ ความสูงสุด ความล้ำเลิศ ความประเสริฐสุด
แห่งนรชน หรือในนรชนทั้งหลาย เหตุนั้น จึงชื่อว่า นรุตตมะ.

ความสำเร็จ ชื่อว่า อิทธิ ในคำว่า อิทฺธิพลํ นี้. ชื่อว่า อิทธิ
เพราะอรรถว่า สำเร็จผล เพราะอรรถว่าได้. อีกนัยหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายสำเร็จ

ได้ด้วยคุณชาตินั้น คือเป็นผู้สำเร็จ จำเริญ ถึงความสูงยิ่ง เหตุนั้น คุณชาติ

นั้น จึงชื่อว่า อิทธิ คุณชาติเครื่องสำเร็จ.

ก็อิทธินั้นมี ๑๐ อย่าง เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า
บทว่า อิทฺธิโย ได้แก่ อิทธิ ๑๐๑ อย่าง. อะไรบ้าง คือ อธิษฐานา-
อิทธิ ๑ วิกุพพนาอิทธิ ๑ มโนมยาอิทธิ ๑ ญาณวิปผาราอิทธิ ๑

สมาธิวิปผาราอิทธิ ๑ อริยาอิทธิ ๑ กัมมวิปากชาอิทธิ ๑ ปุญญวโต-

อิทธิ ๑ วิชชามยาอิทธิ ๑ ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ เพราะ

ประกอบโดยชอบในกิจกรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย ๑

๑. ขุ. ป. ๓๑/ข้อ ๖๘๐

อิทธิเหล่านั้น ต่างกันดังนี้. โดยปกติคนเดียวย่อมนึกเป็นมากคน
นึกเป็นร้อยคนหรือพันคนแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า เราเป็นมากคน ฤทธิ์ที่

แยกตัวแสดงอย่างนี้ ชื่อว่า อธิษฐานาอิทธิ เพราะสำเร็จด้วยอำนาจอธิษฐาน.

อธิษฐานาอิทธินั้น มีความดังนี้ ภิกษุเข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิญญา

ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้ว ถ้าปรารถนาเป็นร้อยคน ก็ทำบริกรรมด้วยบริ-

กรรมจิตเป็นกามาวจรว่า เราเป็นร้อยคน เราเป็นร้อยคน แล้วเข้าฌาณอันเป็น

บาทแห่งอภิญญาอีก ออกจากฌานนั้นแล้วนึกอธิษฐานอีก ก็เป็นร้อยคน

พร้อมกับจิตอธิษฐานนั่นเอง. แม้ในกรณีพันคนเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ใน

อธิษฐานาอิทธินั้น จิตที่ประกอบด้วยปาทกฌาน มีนิมิตเป็นอารมณ์ บริกรรม

จิตมีร้อยคนเป็นอารมณ์บ้าง มีพันคนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์บ้าง

บริกรรมจิตเหล่านั้นแล เป็นไปโดยอำนาจแห่งสี มิได้เป็นไปโดยอำนาจ

แห่งบัญญัติ แม้อธิษฐานจิต ก็มีร้อยคนเป็นอารมณ์อย่างเดียว. แต่อธิษฐาน

จิตนั้น ก็เหมือนอัปปนาจิต เกิดขึ้นในลำดับโคตรภูจิตเท่านั้น ประกอบด้วย

จตุตถฌานฝ่ายรูปาวจร. แต่ผู้นั้น ละเพศปกติเสีย แสดงเพศกุมารบ้าง แสดง

เพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง ฯลฯ แสดงกระบวนทัพแม้ต่างๆ บ้าง ฤทธิ์

ที่มาโดยอาการดังกล่าวมาอย่างนี้ ชื่อว่า วิกุพพนาอิทธิ เพราะเป็นไป โดย

ละเพศปกติ ทำให้แปลก ๆ ออกไป.

ฤทธิ์ที่มาโดยนัยนี้ว่า ภิกษุในพระศาสนานี้เนรมิตกายอื่นนอกจากกาย
นี้ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

เป็นต้น ชื่อว่า มโนมยาอิทธิ [มโนมยิทธิ] เพราะเป็นไปโดยสำเร็จแห่ง

สรีระที่สำเร็จมาแต่ใจ อันอื่น ในภายในสรีระนั่นเอง.

๑. ดู. ขุ.ป. ๓๑/ข้อ ๗๙๔

คุณวิเศษที่บังเกิดด้วยอานุภาพแห่งพระอรหัตญาณ อันพึงได้ด้วย
อัตภาพนั้น ก่อนหรือหลังญาณเกิด หรือในขณะนั้นเอง ชื่อว่า ญาณวิปผารา

อิทธิ. ท่านพระพากุละ และท่านพระสังกิจจะ ก็มีญาณวิปผาราอิทธิ. เรื่อง

พระเถระทั้งสองนั้น พึงกล่าวไว้ในข้อนี้.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:18:43 pm »
คุณวิเศษที่บังเกิดด้วยอานุภาพสมถะก่อนหรือหลังสมาธิ หรือในขณะ
นั้นเองชื่อว่า สมาธิวิปผาราอิทธิ. ท่านพระสารีบุตร ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ.

ท่านพระสัญชีวะ ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ. อุตตราอุบาสิกา ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ

สามาวดีอุบาสิกา ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ เรื่องทั้งหลายของท่านเหล่านั้นดังกล่าว

มานี้ ก็พึงกล่าวในข้อนี้ แต่ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวไว้พิศดาร เพื่อบรรเทาโทษ

คือความยืดยาวของคัมภีร์.

อริยาอิทธิเป็นอย่างไร ภิกษุในพระศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เรานั่งอยู่
มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลไซร้ ย่อมอยู่ มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลอยู่

ในอารมณ์นั้น ถ้าหวังว่าเราพึงอยู่ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลไซร้

ย่อมอยู่ มีความว่าปฏิกูลในอารมณ์นั้น ฯลฯ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ใน

อารมณ์นั้น. แม้อิทธินี้ก็ชื่อว่า อริยาอิทธิ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งพระอริยะ

ทั้งหลายผู้ถึงความชำนาญทางใจ.

กัมมวิปากชาอิทธิเป็นอย่างไร ฤทธิ์มีการไปทางอากาศได้เป็นต้น
ของเหล่านกทั้งหมด ของเทวดาทั้งหมด ของมนุษย์ต้นกัปและของวินิปาติกสัตว์

บางเหล่าชื่อว่า กัมมวิปากชาอิทธิ.

ปุญญวโตอิทธิเป็นอย่างไร. พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จทางอากาศไป
กับกองทัพ ๔ เหล่า. ภูเขาทองขนาด ๘๐ ศอก บังเกิดแก่ชฏิลกคฤหบดี ฤทธิ์

นี้ชื่อว่า ปุญญวโตอิทธิ. โฆสกคฤหบดี แม้เมื่อถูกเขาพยายามฆ่าในที่ ๗ แห่ง

ก็ไม่เป็นไร ชื่อว่า ปุญญวโตอิทธิ. ความปรากฏของแพะทั้งหลาย ที่ทำด้วย
รัตนะ ๗ในประเทศประมาณ ๘ กรีสแก่เมณฑกเศรษฐี ชื่อว่าปุญญวโตอิทธิ.

วิชชามยาอิทธิเป็นอย่างไร ฤทธิ์ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า พวก
วิทยาธรร่ายวิทยาเหาะได้ แสดงช้างในอากาศบนท้องฟ้า โอกาสที่เห็นได้ใน

ระหว่างช้าง ฯลฯ แสดงกระบวนทัพต่างๆ บ้าง ชื่อว่า วิชชามยาอิทธิ.

คุณวิเศษที่ทำกิจกรรมนั้นแล้วบังเกิด เป็นอิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ
ด้วยการประกอบโดยชอบเป็นปัจจัย ดังนี้ อิทธินี้ จึงชื่อว่า อิทธิ เพราะ

อรรถว่า สำเร็จ ด้วยการประกอบโดยชอบในกิจกรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย.

อธิบายว่า กำลังแห่งฤทธิ์ ๑๐ อย่างนี้ชื่อว่า อิทธิพละ กำลังแห่งฤทธิ์ พระญาติ

เหล่านี้ ไม่รู้จักกำลังแห่งฤทธิ์ของเรา.

กำลังแห่งปัญญาคือพระอรหัตมรรค อันให้คุณวิเศษที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตระทั้งหมด ท่านประสงค์ว่า กำลังแห่งปัญญา. พระญาติเหล่านี้ไม่รู้จัก

กำลังแห่งปัญญาแม้นั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่ากำลังแห่งปัญญานี้

เป็นชื่อของญาณที่ไม่สาธารณะ ๖ ประการ. พุทธานุภาพหรือทศพลญาณ

ชื่อว่ากำลังแห่งพระพุทธเจ้าในคำว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้านี้. ญาณ ๑๐ คือ

๑. ฐานาฐานญาณ ญาณที่กำหนดรู้ฐานะเหตุที่ควรเป็นได้ และ
อฐานะ เหตุที่ไม่ควรเป็นได้.

๒. อตีตานาคตปัจจุปปันนกัมมวิปากชานนญาณ ปรีชากำหนด
รู้ผลแห่งกรรมที่เป็นอดีตและปัจจุบัน.

๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง
๔. อเนกธาตุนานาธาตุโลกชานนญาณ ปรีชากำหนดรู้โลกคือ
รู้ธาตุเป็นอเนกและธาตุต่างๆ.

๕. นานาธิมุตติกญาณ ปรีชากำหนดรู้อธิมุตติคืออัธยาศัยของสัตว์
ทั้งหลายอันเป็นต่างๆ กัน.

๖. อาสยานุสยญาณ [อินทริยปโรปริยัตตญาณ] ปรีชากำหนด
รู้ ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.

๗. ฌานวิโมกขสมาธิสมาปัตติสังกิเลสโวทานวุฏฐานยถา-
ภูตญาณ ปรีชากำหนดรู้ตามเป็นจริงในความเศร้าหมองความบริสุทธิ์และ

ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ.

๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาฌ ปรีชากำหนดรู้ระลึกชาติหนหลังได้.
๙. จุตูปปาตญาณ ปรีชากำหนดรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.
๑๐. อาสวักขยญาณ ปรีชากำหนดรู้ทำอาสวะให้สิ้นไป.
คำว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้า เป็นชื่อของญาณ ๑๐ เหล่านี้. บทว่า
เอทสํ แปลว่า เช่นนี้ . หรือปาฐะ ก็อย่างนี้เหมือนกัน.

ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตสงในอรรถว่าร้องเชิญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชี้พระองค์ด้วยบทว่า อหํ. ทรงอธิบายว่าอย่างไร ทรงอธิบายว่า ก็เพราะ

เหตุที่ญาติทั้งหลายของเราไม่รู้กำลังแห่งพระพุทธเจ้าหรือพุทธคุณ อาศัยความ

ที่ตนเป็นคนแก่เปล่า ไม่ไหว้เราผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดในโลกทั้งปวง ด้วย

อำนาจมานะอย่างเดียว ฉะนั้น ธงคือมานะของพระญาติเหล่านั้นมีอยู่ เราจะ

รานมานะแล้วจึงพึงแสดงธรรมเพื่อพระญาติจะได้ไหว้เรา. บทว่าทสฺสยิสฺสามิ

ได้แก่ พึงแสดง. ปาฐะว่า ทสฺเสสฺสามิ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือน

กัน. บทว่า พุทฺธพลํ ได้แก่ พุทธานุภาพ หรือญาณวิเศษของพระพุทธเจ้า.

บทว่า อนุตฺตรํ แปลว่า ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า. สถานที่จงกรมท่านเรียกว่า

จงฺกมํ ที่จงกรม. บทว่า มาปยิสฺสามิ ได้แก่ พึงเนรมิต. ปาฐะว่า จงฺกมนํ

มาเปสฺสามิ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน . บทว่า นเภ ได้แก่ ใน

อากาศ. บทว่า สพฺพรตนมณฺฑิตํ ได้แก่ ตกแต่งประดับด้วยรัตนะ เพราะ

อรรถว่าให้เกิดความยินดีทั้งหมด อย่างละ ๑๐ ๆ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี

แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินทองและแก้วลาย ชื่อว่าประดับด้วย

รัตนะทั้งปวง. ซึ่งที่จงกรมนั้นอันประดับด้วยรัตนะทั้งปวง อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า นเภ รตนมณฺฑิตํ ประดับด้วยรัตนะในนภากาศก็มี.

ครั้งนั้น พอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริอย่างนี้ เทวดาทั้งหลายมี
ภุมมเทวดาเป็นต้น ที่อยู่ในหมื่นจักรวาล ก็มีใจบันเทิง พากันถวายสาธุการ.

พึงทราบว่า พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศความข้อนั้น ก็ได้ตั้ง

คาถาเป็นต้นว่า

เหล่าเทวดาภาคพื้นดิน ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาว-
ดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวส-
วัตดี และเหล่าเทวดาฝ่ายพรหม ก็พากันร่าเริงเปล่ง
เสียงดังถูกก้อง.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:19:59 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุมฺมา ได้แก่ ที่ตั้งอยู่ภาคพื้นดิน เช่น
ตั้งอยู่ที่หิน ภูเขา ป่าและต้นไม้เป็นต้น. บทว่า มหาราชิกา ได้แก่ ผู้เป็น

ฝ่ายมหาราช. อธิบายว่า เทวดาที่อยู่ในอากาศได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาที่อยู่

ภาคพื้นดิน ก็เปล่งเสียงดัง ต่อนั้น เทวดาเมฆหมอก จากนั้นเทวดาเมฆร้อน

เทวดาเมฆเย็น เทวดาเมฆฝน เทวดาเมฆลม ต่อจากนั้น เทวดาชั้นจาตุ-

มหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวส-

วัตดี ต่อจากนั้นหมู่พรหม พรหมชั้นพรหมปุโรหิต ชั้นมหาพรหม ชั้น

ปริตตาภา ชั้นอัปปมาณาภา ชั้นอาภัสสรา ชั้นปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา

ชั้นสุภกิณหา ชั้นเวหัปผลา ชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา ชั้นสุทัสสา ชั้นสุทัสสี

ต่อจากนั้น เทวดาชั้นอกนิษฐา ได้ยินเสียงก็เปล่งเสียงดัง เทวดามนุษย์และนาค

เป็นต้นทั้งหมด ในสถานที่ ๆโสตายตนะรับฟังได้ เว้นอสัญญีสัตว์และอรูปวจร-

สัตว์ มีใจตกอยู่ใต้อำนาจปีติ ก็พากันเปล่งเสียงดังก้องสูงลิบ. บทว่า อานนฺ-

ทิตา ได้แก่ มีใจบันเทิงแล้ว อธิบายว่า เกิดปีติโสมนัสเอง. บทว่า วิปุลํ

ได้แก่ หนาแน่น.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงเข้าสมาบัติที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ใน
ลำดับที่ทรงพระพุทธดำริแล้วนั่นเอง ทรงอธิษฐานว่า ขอแสงสว่างจงมีทั้ง

หมื่นจักรวาล. พร้อมกับอธิษฐานจิตนั้น แสงสว่างก็ปรากฏ ตั้งแต่แผ่นดินไป

จนจดอกนิษฐภพ. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

แผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกก็สว่างจ้า โลกันตริก-
นรกอันหนาก็ปิดไว้ไม่ได้ ความมืดทึบก็ถูกขจัดใน
ครั้งนั้น เพราะพบปาฏิหาริย์ อันน่ามหัศจรรย์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสิตา แปลว่า สว่างแจ้งแล้ว. ใน
คำว่า ปฐวีนี้ ปฐวีนี้มี ๔ อย่าง คือ กักขฬปฐวี สสัมภารปฐวี นิมิตตปฐวี

สมมุติปฐวี.

ในปฐวี ๔ อย่างนั้น ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า ผู้มีอายุ
ปฐวีธาตุภายในเป็นอย่างไร. ของหยาบ ของแข้น ภายใน จำเพาะตน อันใด

ดังนี้ อันนี้ชื่อว่า กักขฬปฐวี.

ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า อนึ่งภิกษุใดขุดเองก็ดี ใช้ให้ขุด
ก็ดีซึ่งแผ่นดินดังนี้ ชื่อว่า สสัมภารปฐวี ปฐวีธาตุ ๒๐ ส่วน มีเกศา ผมเป็น

ต้น และส่วนภายนอกมีเหล็ก โลหะเป็นต้นอันใด ปฐวีแม้นั้น เป็นปฐวีพร้อม

ด้วยส่วนประกอบมีวรรณะ สีเป็นต้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า สสัมภารปฐวี.

ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมจำได้ซึ่งปฐวี
กสิณดังนี้ ชื่อว่า นิมิตตปฐวี ท่านเรียกว่า อารัมมณปฐวี บ้าง.

ผู้ได้ฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ บังเกิดในเทวโลกย่อมได้ชื่อว่าปฐวี-
เทพ โดยการบรรลุปฐวีกสิณฌาน สมจริง ดังที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า

อาโปเทพและปฐวีเทพ ดังนี้ นี้ชื่อว่า สมมติปฐวี. พึงทราบว่าชื่อว่า ปัญญัติ-

ปฐวี. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาสสัมภารปฐวี.

บทว่า สเทวกา แปลว่า พร้อมทั้งเทวโลก. ปาฐะว่า สเทวตา ก็มี
ถ้ามีก็ดีกว่า. ความก็ว่า มนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกสว่างจ้าแล้ว. บทว่า ปุถู

แปลว่า มาก. คำว่า โลกนฺตริกา นี้เป็นชื่อของสัตว์นรกจำพวกอสุรกาย ก็

โลกันตริกนรกเหล่านั้น เป็นโลกันตริกนรก นรกหนึ่ง ระหว่างจักรวาลทั้ง

สาม. โลกันตริกนรก นรกหนึ่งๆ ก็เหมือนที่ว่างตรงกลางของล้อเกวียน ๓

ล้อ ซึ่งตั้งจดกันและกัน ว่าโดยขนาด ก็แปดพันโยชน์. บทว่า อุสํวุตา

ได้แก่ ไม่ตั้งอยู่เบื้องต่ำ. บทว่า ตโม จ ได้แก่ ความมืด. บทว่า ติพฺโพ

ได้แก่ หนาทึบ. เป็นความมืดเป็นนิตย์ เพราะไม่มีแสงสว่างของดวงจันทร์

และดวงอาทิตย์. บทว่า วิหโต ได้แก่ ถูกกำจัดแล้ว. บทว่า ตทา ความว่า

กาลใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ทรงแผ่

แสงสว่างเพื่อทรงทำปาฏิหาริย์ กาลนั้นความมืดทึบอันตั้งอยู่ในโลกันตริกนรก

ทั้งหลายก็ถูกกำจัดให้หายไป.

บทว่า อจฺเฉรกํ ได้แก่ ควรแก่การปรบมือ. อธิบายว่าควรแก่การ
ปรบด้วยนิ้วมือโดยความประหลาดใจ. บทว่า ปาฏิหีรํ ได้แก่ ชื่อว่าปาฏิหีระ

เพราะนำปฏิปักษ์ไป. หรือ ชื่อว่าปาฏิหีระ เพราะนำไปเฉพาะซึ่งดวงจิตที่เข้า

ถึงทิฏฐิและมานะของสัตว์ทั้งหลาย. หรือว่า ชื่อว่าปาฏิหีระ เพราะนำมาเฉพาะ

ซึ่งความเลื่อมใสของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส. ปาฐะว่า ปาฏิเหระ ดังนี้ก็มี.

ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน คำนี้เป็นชื่อของคุณวิเศษแห่งวิธีการจัดแสงสว่างใน

ข้อนี้. พึงนำคำนี้ว่า เทวดา มนุษย์และแม้สัตว์ที่บังเกิดในโลกันตริกนรกทั้งหลาย

แลเห็นปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว ก็เข้าถึงปีติและโสมนัสอย่างยิ่ง

ดังนี้แล้ว ก็พึงเห็นความในคำนี้ว่า เพราะเห็นปาฏิหาริย์อันมหัศจรรย์. นอกจาก

นี้จะเอาคำปลายมาไว้ต้นก็ไม่ถูก หรือจะเอาคำต้นมาไว้ปลาย ก็ไม่ถูก.

บัดนี้ เพื่อแสดงว่า มิใช่มีแสงสว่างในมนุษยโลกอย่างเดียวเท่านั้น
ในโลกกล่าวคือสังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลก แม้ทั้งสาม ก็มีแสงสว่าง

ทั้งหมดเหมือนกัน ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า

แสงสว่างอันโอฬารไพบูลย์ก็เกิดในโลกนี้โลกอื่น
และโลกทั้งสองพร้อมด้วยเทพ คนธรรพ์ มนุษย์และ
รากษสขยายไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องบนและเบื้องขวาง.