ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล  (อ่าน 59997 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 04:41:22 pm »




ซึ่งเราจะพบความสว่างไสวได้  ในเขตนั้นฯ
การเสาะแสวงหาความสว่างไสว  ในที่อื่นจากโลกนี้
เป็นของพิลึกกึกกือ  เหมือนการเที่ยวหาเขากระต่ายฯ

สัมมาทิฏฐิ  เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า  "เลิศเหนือโลก"
มิจฉาทิฏฐิ  เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า "ข้องอยู่ในโลก"
เมื่อใดทิฏฐิทั้งสองอย่าง
ไม่ว่าสัมมาหรือมิจฉา  ถูกสลัดพ้นออกไป
เมื่อนั้นโพธิแท้   ย่อมปรากฏ ฯ
โศลกนี้มีไว้สำหรับพวก  "นิกายฉับพลัน"



และโศลกนี้ ยังถูกขนานนามว่า  "มหาธรรมนาวา" (เพื่อแล่นข้ามฝั่งสังสารวัฏ)
กัลป์แล้วก็กัลป์เล่า  คงตกอยู่ภายใต้ความมืดบอด
แต่ครั้นถึงคราวตรัสรู้ มันกินเวลาแวบเดียวเท่านั้น เขาก็เข้าถึงพุทธภูมิฯ



ก่อนจบเทศนา  พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า  "บัดนี้ในวิหารแห่งไทฟันนี้  อาตมาได้แสดงธรรมให้ท่านฟัง  ถึงคำสอนแห่ง  "นิกายฉับพลัน" แล้ว ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงซึ่งล้วนแต่มีธรรมธาตุอันนั้นประจำอยู่  ในตัวทุกคนแล้วจงเข้าใจธรรมะนี้  และลุถึงความเป็นพุทธะเถิด"

        เมื่อได้ฟังธรรมกถาที่พระสังฆปริณายากล่าวจบลงแล้ว  ข้าหลวงไว่ แห่งชิวเจา  พวกข้าราชการ  นักศึกษาฝ่ายเต๋า  และชาวบ้านเหล่านั้นได้เข้าถึงความสว่างไสว ทั่วถึงกัน  เขาเหล่านั้น  พร้อมกันทำความเคารพและออกอุทานเป็นเสียงเดียวกันว่า "สาธุ สาธุ  ใครจะนึกไปถึงว่า  พระพุทธเจ้าได้มาอุบัติขึ้นในนครกวางตุ้ง"



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2012, 06:13:19 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 04:51:46 pm »




หมวดที่ 3
ว่าด้วยข้อปุจฉา-แลวิสัชนา
********************

วันหนึ่ง ท่านข้าหลวงไว่ ได้จัดให้มีการประชุมกันถวายภัตตาหารเจแด่ พระสังฆปริณายก  และขอร้องให้ท่านแสดงธรรมแก่ประชุมชนที่กำลังประชุมกันคับคั่ง เมื่อเสร็จจากการฉันแล้ว ท่านข้าหลวงไว่ได้อาราธนาให้ท่านขึ้นธรรมมาสน์ (ซึ่งท่านได้ตกลงรับ) เมื่อได้โค้งคำนับด้วยความเคารพ 2 ครั้ง 2 ครา  พร้อมๆกับบรรดาข้าราชการ  นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ได้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั่นแล้ว  ข้าหลวงไว่ได้กล่าวขึ้นว่า  กระผมได้ฟังบทธรรมที่พระคุณเจ้าแสดงแล้ว รู้สึกว่าเป็นของลึกซึ้งเกินกว่ากำลังความคิดและถ้อยคำของกระผมจะบรรยายได้  และกระผมมีปัญหาอยู่บางประการ ซึ่งหวังว่าพระคุณเจ้าคงจะกรุณาชี้แจงให้เห็นกระจ่าง

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ถ้าท่านมีความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ก็ขอให้ท่านถามมา อาตมาจะได้ชี้แจง
        ข้าหลวงไว่ได้ถามขึ้นว่า หลักธรรมต่างๆ ที่พระคุณเจ้าได้แสดงไปแล้วนี้ เป็นหลักที่ประสังฆปริณายกโพธิธรรม ได้วางไว้บัญญัติไว้มิใช่หรือ?
        พระสังฆปริณายก ตอบว่า ใช่

        กระผมได้สดับตรับฟังมาว่า เมื่อพระโพธิธรรมได้พบปะและสังสนทนากันเป็นครั้งแรกกับ พระจักรพรรดิวู่แห่งราชวงศ์เหลียง นั้น ท่านสาธุคุณองค์นั้นได้ถูกพระจักรพรรดิถามถึงข้อที่ว่า พระองค์จะได้รับกุศล (Merits) อะไรบ้าง ในการที่พระองค์ได้กระทำการก่อสร้างพระวิหาร การอนุญาตให้คนบวช(ซึ่งในสมัยนั้นพระบรมราชานุญาตเป็นของจำเป็นมาก) การโปรยทานและการถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสง์ในราชกาลของพระองค์ และท่านสาธุคุณองค์นั้น ได้ถวายพระพรว่า การกระทำเช่นว่านั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย  ในเรื่องนี้ กระผมไม่เข้าใจเลยว่า  ทำไมพระสังฆปริณายกโพธิธรรม จึงได้ถวายพระพร เช่นนั้น ของพระคุณเจ้าโปรดชี้แจงด้วยเถิด

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ถูกแล้ว  การกระทำเช่นว่านั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใด  ท่านอย่าได้มีความสงสัยในถ้อยคำของพระมุนีองค์นั้นเลย พระจักรพรรดิเองต่างหาก มีความเข้าพระทัยผิด และพระองค์ไม่ได้ทรงทราบถึงคำสอนอันถูกต้อง  ตามแบบแผน  ก็การกระทำเช่นสร้างวิหาร การอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจ เช่นกล่าวนี้จะนำมาให้ได้ก็แต่เพียงความปิติอิ่มใจต่างๆ เท่านั้น ซึ่งไม่สมควรจะถือว่าเป็นกุศล กุศลจะมีได้ก็แต่ในธรรมกาย ไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันกับการทำเพื่อความปิติอิ่มใจ ดังกล่าวมานั้นเลย (*14)





*14 เราจะเห็นได้ว่า แม้ในสมัยโบราณ นิกายเซ็นแห่งประเทศจีน ก็ยังคงมีการถือคำว่ากุศลกันอย่างถูกต้องตามความหมายเดิมของคำว่า "กุศล"(กุศล-ตัดความชั่วสิ่งห่อหุ้ม สันดานเหมือนหญ้ารก) ซึ่งในที่นี้ หมายความถึงสิ่งที่จะช่วยขจัดเครื่องกางกั้น มิให้ลุถึงความรอดพ้นจากอำนาจกิเลส หรือกล่าวโดยตรง กุศล ก็ได้แก่เครื่องช่วยให้จิตหลุดรอดไปจากสิ่งครอบคลุมห่อหุ้ม จนไม่เห็นโพธินั่นเอง ฉะนั้น จึงไม่หมายความไปถึงวัตถุภายนอก เช่น การให้ทาน หรือการสร้างวิหารเป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ควรจะเรียกว่า "บุญ" มากกว่าที่จะเรียกว่า "กุศล" (ปุญญ-เครื่องให้ฟูใจ) ครั้นตกมาถึงสมัยพวกเรานี้ คำว่ากุศล ใช้ปนเปไปกับคำว่าบุญ จนอ่านข้อความตอนนี้เข้าใจได้ยาก (ผู้แปลไทย พุทธทาส)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2012, 04:40:45 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 05:09:05 pm »



พระสังฆปริณายกได้กล่าวต่อไปว่า การเห็นแจ้งชัดในจิตเดิมแท้ นั้น เรียกว่า กุง (กุศลวิบาก) และความคงที่สม่ำเสมอ นั้น เรียกว่า แต๊ก (กุศลสมบัติ) และเมื่อใด ความเป็นไปทางฝ่ายจิตของเรา มีการเคลื่อนไหวคล่องแคล่วไม่มีติดขัด จนทำให้เราทราบไม่ขาดสาย ถึงภาวะที่แท้จริง พร้อมทั้งการทำหน้าที่อย่างประหลาดลึ้ลับของใจของเราเอง  เมื่อนั้น เรียกว่าเราเข้าถึงแล้วซึ่ง กุงแต๊ก (กุศล) ที่เป็นภายใน

         การระวังจิตของตนไว้ ให้คงอยู่ในภาวะที่ปราศจากความเผยอผยองพองตัวเรียกว่า กุง ที่เป็นภายนอก  การวางตัวไว้ในสภาพที่เหมาะสมทุกวิถีทาง เรียกว่า แต๊ก  รู้ว่าทุก ๆสิ่ง คือการแสดงออกของจิตเดิมแท้ เรียกว่า กุง  และรู้ว่าส่วนที่เป็นประธานของจิต เป็นอิสระแล้วจากความคิดอันเป็นเครื่องถ่วงทั้งหลาย นี้เรียกว่า แต๊ก  การไม่แล่นเพริดเตลิดไปจากจิตเดิมแท้ เรียกว่า กุง และการที่เมื่อใช้จิตนั้นทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่เผลอทำจิตนั้นให้มืดมัวเสียรูปไป นี้เรียกว่า แต๊ก  ถ้าท่านแสวงหากุศลภายในธรรมกาย  และทำตามที่อาตมาได้กล่าวนี้จริงๆแล้ว กุศลที่ท่านได้รับ  จะต้องเป็นกุศลจริง ผู้ปฏิบัติเพื่อกุศล จะไม่หมิ่นผู้อื่น และในที่ทุกโอกาสเข้าปฏิบัติต่อทุกๆ คนด้วยความยำเกรงนับถือ ผู้ซึ่งมีการดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปรกตินิสัย ย่อมไม่สามารถขจัดมานะอหังการออกไปเสียได้  ซึ่งส่อว่าเขา ยังขาดกุง เพราะความถือตัว และความดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปรกตินิสัยเขาย่อมไม่เห็นแจ้งต่อจิตเดิมแท้  และนี่ส่อว่าเขา ยังขาดแต๊ก

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เมื่อใดความเป็นไปทางฝ่ายจิตทำหน้าที่ของมันได้โดยไม่มีที่ติดขัด เมื่อนั้นเรียกว่า มีกุง เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันในลักษณะที่ตรงแน่ว  เมื่อนั้นเรียกว่า มีแต๊ก การฝึก การฝึกทางจิต จัดเป็น กุง การฝึกทางที่เกี่ยวกับกาย จัดเป็น แต๊ก

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  กุศลนั้นเป็นสิ่งที่ต้องแสวงหาภายในจิตเดิมแท้ และเป็นสิ่งที่หาไม่ได้จากาการโปรยทาน การถวายภัตตาหาร ฯลฯ และอื่นๆ เหตุฉะนั้น  เราต้องรู้จักแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างความปิติอิ่มใจกับตัวกุศลแท้  คำที่พระสังฆปริณายกของเรากล่าวไปนั้นไม่มีอะไรผิด  พระจักรพรรดิวู่เองต่างหาก  ที่ไม่เข้าใจในหนทางอันแท้จริง

                ข้าหลวงไว่  ได้เรียนถามปัญหาข้อต่อไปอีกว่า  กระผมได้สังเกตเห็นเขาทำกันทั่วไป ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต  ในการออกนามพระอมิตาภะและตั้งอธิษฐานจิตขอให้ไปบังเกิดในดินแดนอันบริสุทธิ์  ทางทิศตะวันตก เพื่อขจัดความสงสัยของกระผม  ขอพระคุณเจ้าจงกรุณาตอบให้แจ้งชัด  ว่ามันจะเป็นได้หรือไม่  ที่เขาเหล่านั้นจะพากันไปเกิดที่นั้น

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  ท่านทั้งหลายจงฟังอาตมาอย่างระมัดระวังสักหน่อย  แล้วอาตมาจะได้อธิบาย เมื่อกล่าวตามสูตรที่สมเด็จพระภควันต์ได้ตรัสไว้ที่นครสาวัตถี เพื่อนำประชาสัตว์ไปสู่แดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตกนั้น มันก็เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า แดนบริสุทธิ์นั้นอยู่ไม่ไกลไปจากที่นี่เลย  เพราะตามระยะทางคิดเป็นไมล์ ก็ได้108,000ไมล์เท่านั้น  ซึ่งโดยแท้จริงแล้วระยะทางนี้ หมายถึงอกุศล 10 และมิจฉัตตะ 8 ภายในตัวเรานั่นเอง (*15)  สำหรับคนพวกที่ยังมีใจต่ำ มันก็ต้องอยู่ไกลอย่างแน่นอน  แต่สำหรับพวกที่มีใจสูงแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า มันอยู่ใกล้นิดเดียว


*15 อกุศล 10 อย่าง (ซึ่งหมายถึงอกุศลกรรมบท) คงกำหนดให้อย่างละหมื่นไมล์ ส่วนมิจฉัตตะ 8 อย่างนั้น คงกำหนดให้อย่างละพันไมล์ จึงได้แสนแปดหมื่นไมล์
มิจฉัตตะนั้น คือความผิดตรงกันข้ามกับมรรคมีองค์แปด (ผู้แปลไทย พุทธทาส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 14, 2012, 05:44:45 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 05:25:17 pm »



        แม้ว่าพระธรรมจะเป็นของคงเส้นคงวารูปเดียวกันทั้งนั้น  แต่คนนั้นๆย่อมแตกต่างกันโดยจิตใจ  เพราะขนาดแห่งความฉลาดและความเขลาของมนุษย์มีอยู่แตกต่างกันนี่เอง  จึงมีคนบางคนเข้าใจในพระธรรมได้ก่อนคนเหล่าอื่น เมื่อพวกคนไร้ปัญญากำลังพากันท่องนามของพระอมิตาภะ และอ้อนวอนของให้ได้เกิดในแดนบริสุทธิ์อยู่นั้น  คนฉลาดก็พากันชำระใจของเขาให้สะอาดแทน  เพราะเหตุว่า  ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้นั้นมีอยู่ว่า "เมื่อใจบริสุทธิ์  แดนแห่งพระพุทธเจ้า ก็บริสุทธิ์พร้อมกัน

        แม้ว่าพวกท่านทั้งหลายจะเป็นชาวตะวันออก  ถ้าใจของท่านบริสุทธิ์ท่านก็เป็นคนไม่มีบาป  อีกทางหนึ่งตรงกันข้าม  ต่อให้ท่านเป็นชาวตะวันตกเสียเอง  ใจที่โสมมของท่าน  หาอาจช่วยให้ท่านเป็นคนหมดบาปได้ไม่  เมื่อคนชาวตะวันออกทำบาปเข้าแล้ว  เขาออกนามอมิตาภะ  แล้วอ้อนวอนเพื่อไปเกิดทางทิศตะวันตก  ที่นี้ถ้าในกรณีที่คนบาปนั้นเป็นชาวตะวันตกเสียเองแล้ว เขาจะอ้อนวอนให้ไปเกิดที่ไหนเล่า? คนสามัญและคนเขลา ไม่เข้าใจในจิตเดิมแท้และไม่รู้จักแดนบริสุทธิ์อันมีอยู่พร้อมแล้วในตัวของตัว  ดังนั้นเขาจึงปรารถนาที่จะไปเกิดทางทิศตะวันออกบ้าง  ทางทิศตะวันตกบ้าง  แต่สำหรับคนที่มีปัญญาแล้วที่ไหนๆก็ไม่สำคัญ  เขาคงเป็นสุข และบันเทิงเริงรื่นอยู่เสมอ

        ท่านทั้งหลาย  เมื่อใจของท่านบริสุทธิ์จากบาปแล้ว ทิศตะวันตกก็อยู่ไม่ไกลจากที่ตรงนี้ มันลำบากนักก็อยู่ตรงที่ว่า คนใจโสมมต้องการจะไปเกิดที่นั่นด้วยการตะโกนร้องเรียกหาพระอมิตาภะเท่านั้น

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ในเรื่องนี้  สิ่งที่จะต้องทำเป็นข้อแรกก็คือจัดการกับอกุศล 10 ประการเสียให้หมดสิ้นไป เมื่อนั้นก็เป็นอันว่าเราได้เดินทางเข้าไปแล้ว 100.000ไมล์  ขั้นต่อไป เราจัดการกับมิจฉัตตะ 8 เสียให้สิ้นสุดก็เป็นอันว่าหนทางอีก 8.000ไมล์นั้น เราเดินผ่านทะลุไปแล้ว (เมื่อเป็นดังนี้แดนบริสุทธิ์จะหนีไปข้างไหน)  ก็ถ้าเราสามารถเห็นแจ้งขัดในจิตเดิมแท้อยู่เสมอและดำเนินตนตรงแน่วอยู่ทุกขณะแล้ว  พริบตาเดียวเท่านั้นเราก็ไปถึงแดนบริสุทธิ์ได้และพบพระอมิตาภะอยู่ที่นั่น (นะโมอมิตาพุทธ)

        ถ้าท่านทั้งหลายเพียงแต่ประพฤติกุศล 10 ประการเท่านั้น  ท่านก็หมดความจำเป็นที่จะต้องไปเกิดที่นั่น ในฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าท่านไม่จัดการกับอกุศล 10 ประการให้เสร็จสิ้นไปแล้ว พระพุทธเจ้าองค์ไหนเล่าที่จะพาท่านไปยังที่นั่น? ถ้าท่านเข้าใจในหลักธรรม  อันกล่าวถึงธรรมชาติที่ไม่มีการเกิด (ซึ่งหักเสียซึ่งวงกลมแห่งการเกิดและการตาย) ของนิกาย "ฉับพลัน" แล้ว มันจะพาท่านไปให้เห็นทิศตะวันตกได้ในอึดใจเดียว  แต่ถ้าท่านไม่เข้าใจ ท่านจะไปถึงที่นั้นด้วยลำพังการออกนามอมิตาภะได้อย่างไรกันหนอ  เพราะหนทาง 108,000ไมล์นั้นมันไกลไม่ใช่เล่น เอาละท่านทั้งหลายจะพอใจไหม ถ้าอาตมาจะยกเอาแดนบริสุทธิ์มาวางไว้ตรงหน้าท่านในเดี๋ยวนี้?

        ที่ประชุมได้ทำความเคารพ แล้วตอบพระสังฆปริณายกว่า ถ้าเราทั้งหลายอาจเห็นแดนบริสุทธิ์ได้ ณ ที่ตรงนี้แล้ว เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรารถนาไปเกิดที่โน่น ขอพระคุณเจ้าจงได้กรุณาให้เราทั้งหลายได้เห็นแดนบริสุทธิ์นั้น โดยยกมาวางที่นี่เถิด



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2012, 10:08:35 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2010, 08:24:36 am »



  พระสังฆปริณายกได้กล่าวตอบว่า ท่านทั้งหลาย  เนื้อกายของเรานี้เป็นนครแห่งหนึ่ง  ตา หู จมูก ลิ้นของเราเป็นประตูเมือง  ประตูนอกมี 4 ประตู ประตูในมีหนึ่งประตู ได้แก่อำนาจปรุงแต่งสำหรับคิดนึก ใจนั้นเป็นแผ่นดิน จิตเดิมแท้เป็นเจ้าแผ่นดิน ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลแห่งใจ  ถ้าจิตเดิมแท้อยู่ข้างใน ก็แปลว่าเจ้าแผ่นดินยังอยู่  แล้วกายและใจของเราก็ชื่อว่ายังมีอยู่  เมื่อจิตเดิมแท้ออกไปเสียแล้ว  ก็ชื่อว่าเจ้าแผ่นดินไม่อยู่  กายและใจของเราก็ชื่อว่าสาบสูญไปแล้ว  เราต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นพุทธะในภายในจิตเดิมแท้  และต้องไม่เสาะหาจิตเดิมแท้ในที่อื่นนอกจากตัวเราเอง ผู้ที่ถูกความเขลาครอบงำมองไม่เห็นจิตเดิมแท้นั้น  จัดเป็นคนสามัญ 

ผู้ที่มีความสว่างมองเห็นจิตเดิมแท้ของตนเอง  จัดเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง  ความเป็นคนมีเมตตากรุณา  เป็นพระอวโลกิเตศวร (คือพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในจำนวนโพธิสัตว์สององค์ในแดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตก)  การเพลินในการโปรยทาน คือพระมหาสถมะ (พระโพธิสัตว์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งคู่กัน  ความสามารถทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ คือ องค์พระศากยมุนี (พระนามอีกพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้) 

ความสม่ำเสมอคงที่และความตรงแน่ว คือ พระอมิตาภะ  ความคิดเรื่องตัวตนหรือเรื่องความมีความเป็น คือเขาพระสุเมรุ  ใจที่สามานย์ ได้แก่มหาสมุทร กิเลส คือละลอกคลื่น ความชั่วคือมังกรร้าย ความเท็จคือผีห่า  อารมณ์ภายนอกอันน่าเวียนหัว คือสัตว์น้ำต่างๆ  ความโลภและความโกรธ คือโลกันตนรก  อวิชชาและความมัวเมา คือสัตว์เดรัจฉานทั่วไป

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ถ้าท่านประพฤติในกุศล 10 ประการอย่างมั่นคง  แดนสุขาวดีก็จะปรากฏแก่ท่านในทันที  เมื่อใดท่านขจัดความเห็นว่าตัวตนและความเห็นว่าเป็นนั่นเป็นนี่ออกไปเสียได้  เขาพระสุเมรุก็จะหักคะมำพังทลายลงมา  เมื่อใดจิตไม่ย้อมด้วยความชั่วอีกต่อไป  เมื่อนั้นน้ำในมหาสมุทร (แห่งสังสาระ)  ก็เหือดแห้งไปสิ้น  เมื่อท่านเป็นอิสระอยู่เหนือกิเลส เมื่อนั้นลูกคลื่นและละลอกทั้งหลายก็สงบเงียบลง  เมื่อใดความชั่วร้ายไม่กล้าเผชิญหน้าท่าน  เมื่อนั้นปลาร้ายและมังกรร้ายก็ตายสิ้น

                            

        ภายในมณฑลแห่งจิตนั้น  มีองค์ตถาคตแห่งความตรัสรู้  ซึ่งสองแสงอันแรงกล้าออกมาทำความสว่างที่ประตูภายนอกทั้งหกประตู  และควบคุมมันให้บริสุทธิ์  แสงนี้แรงมากพอที่จะทะลุผ่านสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้งหก  และเมื่อมันย้อนกลับเข้าภายในไปยังจิตเดิมแท้  มันจะขับธาตุอันเป็นพิษทั้ง 3 อย่างให้หมดไป  และชำระล้างบาปชนิดที่จะทำให้เราตกนรก  หรืออบายอย่างอื่น  แล้วจะทำความสว่างไสวให้เกิดแก่เราทั้งภายในและภายนอก  จนกระทั่งเราไม่มีอะไรแตกต่างจากพวกที่เกิดในแดนบริสุทธิ์  ทางทิศตะวันตก  ที่นี้ถ้าเราไม่ฝึกตัวเราให้สูงถึงขนาดนี้แล้ว  เราจะบรรลุถึงแดนบริสุทธิ์นั้นได้อย่างไรกัน?

เมื่อที่ประชุมได้ฟังเทศนาของพระสังฆปริณายกจบลงแล้ว  ต่างพากันทราบถึงจิตเดิมแท้ของตนๆอย่างแจ้งชัด  ทุกคนพากันทำความเคารพ  และอุทานออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า "สาธุ" เขายังได้พากันสวดมนต์ภาวนา  ขอสรรพสัตว์ในสากลจักรวาลนี้  เมื่อได้ยินธรรมเทศนานี้แล้ว  จงเข้าใจได้อย่างซึมซาบในทันทีทันใดเถิด

        พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า  ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ผู้ใดอยากทำการปฏิบัติ (ทางจิต)  จะทำที่บ้านก็ได้  ไม่มีความจำเป็นสำหรับคนเหล่านั้น ที่จะต้องอยู่ในสังฆราม  พวกที่ปฏิบัติตนอยู่กับบ้านนั้น  อาจเปรียบกันได้กับชาวบ้านทางทิศตะวันออกที่ใจบุญ  พวกที่อยู่ในสังฆาราม  แต่ละเลย ต่อการปฏิบัตินั้น  ไม่แตกต่างอะไรกันกับชาวบ้านที่อยู่ทางทิศตะวันตก  แต่ใจบาป  จิตบริสุทธิ์ได้เพียงใด  มันก็เป็น  "แดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตก  กล่าวคือ จิตเดิมแท้ของบุคคลนั้นเอง" เพียงนั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 14, 2012, 06:50:51 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2010, 08:47:32 am »



      ข้าหลวงไว่ได้เรียนถามขึ้นว่า  เราทั้งหลายควรฝึกตัวอย่างไรเมื่ออยู่ที่บ้าน ขอพระคุณเจ้าโปรดสั่งสอนเถิด

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  อาตมาจะสอนโศลกว่าด้วยนิรรูปให้สักหมวดหนึ่ง  ถ้าท่านทั้งหลายเก็บเอาข้อความออกมาปฏิบัติตามแล้ว  ท่านก็จะอยู่ในสภาพเช่นเดียวกันกับพวกที่อาศัยอยู่กับอาตมาเนืองนิจเหมือนกัน  ในทางตรงข้าม  ถ้าท่านทั้งหลายไม่ปฏิบัติมัน  ท่านก็จะหาความเจริญในทางจิตไม่ได้  แม้ว่าท่านจะโกนหัว  และสละบ้านเรือนออกแสวงบุญ (คือบวชเป็นพระ)  โศลกนั้น  มีดังต่อไปนี้


ผู้มีใจเที่ยงธรรม  การรักษาศีลไม่เป็นของจำเป็น
ผู้มีความประพฤติตรงแน่ว  การปฏิบัติในทางฌานมันจะมีมาเอง (แม้จะไม่ตั้งใจทำ)

สำหรับหลักแห่งการกตัญญูกตเวทีนั้น  เราอุปัฏฐากบิดามารดา รับใช้ท่านอย่างฐานลูก
สำหรับหลักแห่งความเป็นธรรมนั้น 
ผู้ยิ่งใหญ่กับผู้ต่ำต้อยยืนเคียงข้างอาศัยกันและกัน (ในคราวคับขัน)

สำหรับหลักแห่งความปรารถนาดีต่อกันนั้น  ผู้อาวุโสกับผู้อ่อนอาวุโส ต้องสมัครสมานกัน
สำหรับหลักแห่งขันตินั้น 
เราไม่ให้มีการทะเลาะเบาะแว้ง  แม้จะตกอยู่ในท่ามกลางของหมู่อมิตรอันกักขฬะ

ถ้าเรามีความเพียร  รอคอยจนได้ไฟอันเกิดจากการเอาไม้มาสีกัน
เมื่อนั้น
บัวสีแดง(พุทธภาวะ)  ก็จะโผล่ออกมาเองจากตมสีดำ(ความมืดมนก่อนตรัสรู้)




สิ่งที่มีรสขม ย่อมถูกใช้เป็นยาดี
สิ่งที่ฟังแล้วไม่ไพเราะหู นั้นคือคำตักเตือนอันจริงใจของผู้เตือนที่แท้จริง


จากการแก้ไขความผิดให้กลับเป็นความถูก  เราย่อมได้รับสติปัญญา
โดยการต่อสู้
เพื่อรักษาความผิดของตัวไว้  เราแสดงนิมิตแห่งความมีจิตผิดปรกติออกมา


ในวันหนึ่งๆที่ชีวิตล่วงไปเราควรปฏิบัติความไม่เห็นแก่ตัวอยู่ตลอดเวลา
แต่ว่าพุทธภาวะนั้น  ไม่มีหวังที่จะได้มาจากการให้เงินเป็นทาน

โพธิปัญญานั้น หาพบได้เฉพาะจากภายในใจของเราเอง
และไม่มีความจำเป็น
ที่จะเสาะหาความจริง  อันเด็ดขาดของพระศาสนาจากภายนอก

ผู้ซึ่งได้ฟังโศลกนี้แล้ว นำไปปฏิบัติ
อย่างจริงจัง
จะประสบแดนสุขาวดีอยู่ตรงเบื้องหน้าเขา นั่นแล.

พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า  ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ท่านทุกคนจงปฏิบัติตามคำสอนที่กล่าวไว้ในโศลกนี้เถิด  เพื่อว่าท่านจะได้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้  และลุถึงพุทธภาวะได้โดยตรงๆ พระธรรมไม่คอยใคร  อาตมาก็กำลังจะกลับไปโซกายเดี๋ยวนี้  ท่านทั้งหลายจงเลิกประชุมเถิด ถ้าท่านยังมีปัญหาใดๆ  ท่านจงไปถามที่นั่นเถิด

        ในการได้สมาคมกันคราวนี้  ท่านข้าหลวงไว่  ข้าราชการ คนใจบุญและสุภาพสตรีผู้อุทิศเคร่งครัดทั้งหลาย  ผู้ได้มาร่วมประชุม ณ ที่นั้น ได้เกิดความสว่างไสวทุกคน  เขารับคำสอนไปปฏิบัติด้วยความซื่อตรงแน่วแน่.



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 14, 2012, 10:51:54 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2010, 09:12:00 am »




หมวดที่ 4
ว่าด้วย สมาธิ และปรัชญา
*16
******************

ในสมัยอื่นอีก  พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง  ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ในระบบคำสอนของอาตมานั้น  สมาธิ และปรัชญา นับว่าเป็นหลักสำคัญ  แต่ท่านทั้งหลายอย่าได้เข้าใจผิดไปว่า  ธรรมะข้อนี้แยกจากกันได้เป็นอิสระ  เพราะเหตุว่ามันเป็นของรวมอยู่ด้วยกันอย่างที่จะแยกกันไม่ได้  และมิใช่เป็นของสองอย่าง  ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความเป็นของตัวเอง  สมาธินั่นแหละคือตัวจริงของปรัชญา  ในเมื่อปรัชญาเป็นแต่เพียงอาการไหวตัวของสมาธิ  ในขณะที่เราได้ปรัชญา  สมาธิก็มีพร้อมอยู่ในนั้นแล้ว หรือจะกล่าวกลับกันว่า  เมื่อมีสมาธิ  เมื่อนั้นก็มีปรัชญา  ดังนี้ก็ได้  ถ้าท่านทั้งหลายเข้าใจหลักอันนี้  ก็แปลว่าท่านเข้าใจความสัมพันธ์อันมีส่วนเสมอกันระหว่างสมาธิกับปรัชญา  ผู้ศึกษาไม่ควรจะไปคิดว่า  มันมีอะไรแตกต่างกันในระหว่างคำว่า  "สมาธิให้เกิดปรัชญา"  กับคำว่า  "ปรัชญาให้เกิดสมาธิ"  การถือความเห็นว่าแยกกันได้นั้น  ย่อมส่อว่ามันมีอะไรที่เด่นๆ  อยู่ถึงสองฝักสองฝ่าย  ในธรรมะนี้

        สำหรับบุคคลที่ลิ้นของเขาพูดได้ไพเราะ  แต่ใจของเขาไม่สะอาดนั้น สมาธิและปรัชญาไม่มีประโยชน์อะไรแก่เขา  เพราะสมาธิและปรัชญาของเขาไม่ทางจะสมส่วนสัมพันธ์กันได้เลย  อีกทางหนึ่งซึ่งตรงกันข้าม  คือถ้าทั้งใจและดีทั้งถ้อยคำที่พูด  ทั้งกิริยาอาการภายนอกกับความรู้สึกในใจก็ประสานกลมกลืนกันแล้ว  นั่นแหละคือกรณีสมาธิและปรัชญา ได้สัมพันธ์กันอย่างสมส่วน

        การโต้แย้งกันนั้น  ไม่จำเป็นต้องเกิดแก่นักศึกษา  ที่มีความสว่างไสวแล้ว  การมัวเถียงกันว่าปรัชญาเกิดก่อน  หรือสมาธิเกิดก่อนนั่นแหละ  จะทำให้ผู้นั้นตกอยู่ในภาวะเช่นเดียวกับคนที่ถูกอวิชชาครอบงำทั้งหลาย  การเถียงกันย่อมหมายถึงความดิ้นรนจะเป็นฝ่ายชนะ  ย่อมเสริมกำลังให้แก่ความยัดมั่น  ถือมั่นว่าตัวตน  และย่อมจะผูกพันเราไว้กับความยึดถือ  ด้วยความสำคัญว่าตัวตน ว่าสัตว์  ว่าชีวะ  ว่าบุคคล

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  สมาธิและปรัชญานั้น  ควรจะเปรียบกับอะไรเล่า?  ธรรมะสองชื่อนี้  ควรจะเปรียบกันกับตะเกียง  และแสงของมันเอง  มีตะเกียง ก็มีแสง  ไม่มีตะเกียงมันก็มืด  ตะเกียงนั่นแหละคือตัวการแท้ของแสงสว่าง  และแสงสว่างเป็นแต่สิ่งซึ่งแสดงออกของตะเกียง  โดยชื่อ ฟังดูเป็นสองอย่าง  แต่โดยเนื้อแท้แล้ว  มันเป็นของอย่างเดียว  และทั้งเป็นของอันเดียวกันด้วย  กรณีเช่นนี้แหละ ได้กับสมาธิและปรัชญา


*16 คำว่าปรัชญา ท่างฝ่ายมหายานนั้น ตรงกับคำว่าปัญญา ในฝ่ายเถรวาท  แต่คำปรัชญาในที่นี้มิได้เป็นคำเดียวกับปรัชญาในภาษาไทย  ซึ่งใช้เป็นคำแปลของคำว่าคิดกัน Philosophy  ในมหายานใช้รูปศัพท์สันสกฤตเช่นนั้นเอง (ผู้แปลไทย พุทธทาส)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2012, 04:46:33 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 11:14:14 am »



ในสมัยอื่นอีก  พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง 
ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  การบำเพ็ญ  "สมาธิที่ถุกวิธี" นั้น ได้แก่การทำให้เป็นระเบียบตายตัว 
เพื่อให้เราเป็นคนตรงแน่วในทุกโอกาส  ไม่ว่าคราวเดิน ยืน นั่ง หรือนอน 
วิมลกีรฺตินิเทศสูตร  มีข้อความว่า  "ความเป็นผู้ตรงแน่วนั่นแหละคือเมืองอริยะ  "แดนบริสุทธิ์"

ท่านทั้งหลายจงอย่าปล่อยใจให้คดเคี้ยวไปมา และอย่าประพฤติ
ความตรงแน่ว
เพียงสักว่าที่ริมฝีปาก 
เราต้องบำเพ็ญให้ตรงแน่วจริงๆ  และไม่ผูกพันตัวเองไว้กับสิ่งใดๆ

คนพวกที่งมงายอยู่ภายใต้อวิชชา  ย่อมเชื่ออย่างดื้อดึงไปตามตัวหนังสือ(*17)
ฉะนั้นเขาจึงรั้นที่จะแปล  เอาตามชอบใจของตัวเอง ในการแปลคำว่า  "สมาธิที่ถูกวิธี"

ซึ่งเขาเหล่านั้นพากันแปลว่า  "นั่งอย่างเงียบติดต่อกันไป  โดยไม่ยอมให้
ความคิดอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในจิต" 
การแปลความหมายเช่นนี้  เป็นการจัดตัวเราเองให้ลงไปอยู่ในชั้นเดียวกับ
วัตถุที่ไร้ชีวิตวิญญาณทั้งหลาย
 

และยังจะกลายเป็นสิ่งสะดุดเกะกะกีดขวางหนทางตรง  อันเราพึงทำให้เปิดโล่งอยู่เสมอ 

ถ้าเราทำใจของเราให้พ้นจากการข้องแวะในสิ่งทั้งหลายทุกสิ่งได้แล้ว 
ทางนั้นก็จะเตียนโล่ง  ถ้าไม่อย่างนั้น  ชื่อว่าขัง(*18) ตัวเราเอง 

ถ้าหากว่าคำแปลที่ว่า "นั่งอย่างเงียบติดต่อกันไป ฯลฯ" เป็นคำแปลที่ถูกต้อง  แล้วทำไม
ในคราวหนึ่งท่านสารีบุตรจึงถูกท่านวิมลกีรติขนาบเอาเนื่องจากนั่งเงียบๆ ในป่านั้นเอง(*19)



*17 คำนี้ไม่สามารถแปลไปตามต้นฉบับซึ่งมีอยู่ว่า ".....ย่อมเชื่ออย่างดื้อดึงในธรรมลักษณะ...." เพราะจะไม่ทำให้ผู้อ่านจับใจความอย่างใดได้เลย  จึงถอดใจความอย่างง่ายเสียทีเดียว  และแปลว่าเชื่อตามตัวหนังสือ  คำว่า "ธรรมลักษณะ"นี้ หาคำแปลยากที่สุดแม้ นายว่อง มูล่ำ  เองก็ถึงกับแปลแตกต่างกันทุกแห่ง  ทั้งสามแห่ง  แต่ข้าพเจ้าได้พยายาม ทบทวนดูแล้ว  จึงแปลอย่างนี้โดยอาศัยหลักคู่แรกของ  ธรรมลักษณะ  คือคำพูด  กับตัวธรรมจริง  นายว่องมูล่ำ ไม่แปล ใช้ทับศัพท์เอาแล้ววงเล็บไว้ว่า (Thing and Form) ซึ่งไม่ทำความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านทั่วไปได้เลย (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

*18 ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เรียนถามพระอาจารย์ในนิกายธยาน ชื่อเช็กตาว ผู้สืบต่อมาจากศิษย์องค์หนึ่งของพระสังฆปริณายกองค์ที่หก  ว่า  "อะไรเป็นความหลุดรอด?" พระอาจารย์รูปนั้นได้ย้อนถามว่า "ใครเล่าที่จับท่านใส่กรงขัง?"  ความเหมาะสมของคำตอบนี้เป็นอย่างเดียวกันแท้กับข้อความในตัวบทข้างบนนี้ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังฆประณายกองค์ที่หกได้เล่าว่า  พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้าไม่ยอมถกด้วยเรื่อง ธยาน และ วิมุติ จะยอมถกเฉพาะเรื่องจิตเดิมแท้เท่านั้น (ในหมวดที่1) นั่นก็คือ  ท่านได้แสดงแง่คิดอย่างเดียวกันกับอุทาหรณ์ข้างบน (ผู้แปลเดิม ดิปิงเซ่)

*19 ท่านวิมลกีรติ  กล่าวแก่ท่านสารีบุตรว่า เมื่อกล่าวถึงการนั่งเงียบๆ แล้ว มันควรจะหมายถึงว่า  เขาไม่เกิดในโลกทั้งสามอีกต่อไป (คือความรู้สึกของเขามีระดับอยู่เหนือกามโลก  รูปโลก และอรูปโลก) มันควารจะหมายถึงว่า ขณะที่อยู่ในนิโรธสมาบัติ (ฌานขั้นที่ดับสัมปฤตีได้)  นั้นเขาก็สามารถทำการเคลื่อนไหวต่างๆทางกายได้  เช่น  การเดิน การยืน การนั่ง การนอน ฯลฯ มันควรจะหมายถึงว่า  โดยไม่ต้องหันเหออกจากทางแห่งบัญญัติ  เขาสามารถทำกิจการต่างๆทางวิสัยโลกได้ มันควรจะหมายถึงว่า เขาคอยอยู่ข้างในก็หามิได้  ข้างนอกก็หามิได้  มันควรจะหมายถึงว่า เขาบำเพ็ญโพธิปักขิยธรรมสามสิบเจ็ดประการอยู่  โดยปราศจากความหวั่นไหวด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ  มันความจะหมายถึงว่า โดยไม่ต้องมีการทำลายล้างกิเลสอีกต่อไป เขาก็สามารถเข้า ถึงนิพพาน ผู้ที่สามารถนั่งได้เช่นนี้แหละจะได้รับความรับรองจากพระพุทธเจ้า"  วิมลกีรฺติ. นิเทศ.สูตร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 14, 2012, 06:30:35 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 11:59:32 am »


ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อาจารย์สอนกัมมัฏฐานบางคน  สอนศิษย์ของตัวให้เฝ้าระวังจิตของในให้นิ่งเงียบ  ถึงกับว่าหมดความเคลื่อนไหวเป็นไปของจิตเอาเสียทีเดียว  เมื่อเป็นดังนั้น  พวกศิษย์ก็พากันเลิกถอนการระดมกำลังจิตเสียสิ้นเชิง  คนหลงผิดเหล่านี้ก็พากันฟั่นเฟือน  เนื่องจากมีความเชื่อถือในคำแนะนำนั้นเกินไป  กรณีเช่นว่านี้มีอยู่ทั่วไป   ใช่ว่าจะมีนานๆครั้งก็หามิได้ และนับว่าเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวงที่สอนผู้อื่นให้ทำเช่นนั้น

        ในสมัยอื่นอีก  พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง  ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-
        ในพุทธศาสนาชนิดที่เป็นไปตามคัมภีร์นั้น ความแตกต่างระหว่างนิกาย "ฉับพลัน" กับ "นิกายเชื่องช้า"  มิได้มีอยู่อย่างชัดแจ้ง ความแตกต่างเท่าที่เห็นกันอยู่ก็มีแต่เพียงว่า  ตามธรรมชาติที่เกิดมา  คนบางพวกรู้อะไรได้เร็วในเมื่อคนอีกบางพวกที่ทึบต่อการที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆ  พวกที่สว่างไสว  ก็สามารถเห็นแจ้งสัจจธรรม  ได้ทันที  ในเมื่อพวกที่อยู่ภายใต้อวิชชาจะต้องค่อยๆฝึกตัวเองต่อไป  แต่ความแตกต่างเช่นกล่าวนี้  จะไม่ปรากฏเลย  ถ้าหากว่าเรามารู้จักใจของตนเอง  และรู้แจ้งต่อสภาพแท้ของเราเอง  เพราะฉะนั้น คำว่า "เชื่องช้า" กับคำว่า "ฉับพลัน" สองคำนี้ เป็นเพียงภาพเลือนๆมากกว่าที่จะเป็นของจริง


ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  มันเป็นจารีตในนิกายของเรา 
ในการที่จะ   ถือเอา 
"ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"  ว่าเป็นผลที่เราจำนงหวัง   

ถือเอา  "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์"  ว่าเป็นมูลรากอันสำคัญ
และ   ถือเอา  "ความไม่ข้องติด" ว่าเป็นหลักหรือต้นตอ  อันเป็นประธานสำคัญ 

"ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์" นั้น 
หมายถึงความไม่ถูกอารมณ์ดึงดูดเอาไป  ในเมื่อได้สัมผัสกันเข้ากับอารมณ์
 
"ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" นั้น  หมายถึง
ความไม่ถูกลากเอาไป  โดยความคิดอันแตกแยกแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง 
ในขณะที่กำลังบำเพ็ญภาวนาทางจิต
 



"ความไม่ข้องติด"  นั้น หมายถึงลักษณะเฉพาะแห่ง  จิตเดิมแท้  ของเรานั่นเอง

        สิ่งทุกสิ่ง  ไม่ว่าดีหรือเลว  สวยงามหรือน่าเกลียด  ควรจัดเป็นของว่างอย่างเดียวกัน 
แม้ในขณะที่โต้เถียงและทะเลาะวิวาท  เราควรประพฤติต่อเพื่อนและต่อศัตรูของเราอย่างเดียวกัน 

และไม่มีการ   นึกถึง   การแก้เผ็ด 

ในการฝึกความนึกคิดของตนเอง จงปล่อยให้อดีตเป็นอดีต 
ถ้าเราเผลอให้ความคิดของเรา  ที่เป็นอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต 

มาจับติดต่อกัน เป็นห่วงโซ่  แล้วก็หมายว่า   เราจับตัวเอง   ใส่กรงขัง 
ในฝ่ายตรงกันข้าม  ถ้าเราไม่ยอมให้ใจของเรา   ข้องติดอยู่  ในสิ่งใดๆ   

 เราจะลุถึง   ความหลุดพ้น  เพื่อผลอันนี้  เราจึงถือเอา 
"ความไม่ข้องติด"  ว่าเป็นหลักหรือต้นตอ  อันเป็นประธานสำคัญ

         การทำตัวเราเอง  ให้เป็นอิสระ  จาการถูกดูดดึงไปตามอารมณ์ภายนอกนี้
เรียกว่า  "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์"  เมื่ออยู่ในฐานะ   ที่จะทำได้




ดังนั้น  สภาพธรรม(ที่มีในเรา)  ก็จะบริสุทธิ์  เพื่อผลอันนี้
เราจึง   ถือเอา  "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์"  ว่าเป็นมูลรากอันสำคัญ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 22, 2013, 09:12:18 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 01:48:05 pm »
 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม เนื้อหาประดับไว้ในธรรมะจิต ภาพสวย คนโพสน่ารัก..
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~