ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล  (อ่าน 59711 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 8 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #80 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 08:29:51 am »

ซิตกันกล่าวว่า "เมื่อเดินทางกลับ พระมหาจักรพรรดิทั้งสองต้องให้ข้าพเจ้ากราบทูลรายงานเป็นแน่ พระคุณท่านจะโปรดกรุณาให้คำเตือน ที่เป็นหลักสำคัญในการสอนของพระคุณท่านแก่ข้าพเจ้าบ้างได้ไหมครับ? เพื่อข้าพเจ้าจะได้สามารถกราบทูลให้พระมหาจักรพรรดิทรงทราบ และยังจะได้ชี้แจงแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไปในเมืองหลวงอีกด้วย เสมือนกับว่าแสงเพลิงจากประทีปดวงหนึ่งที่อาจจุดต่อให้แก่ประทีปอื่นๆ อีกหลายร้อยหลายพันดวง บรรดาคนโง่ทั้งหลายจะได้เกิดปัญญา และแสงสว่างย่อมก่อให้เกิดแสงสว่าง ต่อไปโดยไม่สิ้นสุด"

        พระสังฆนายกตอบว่า "หลักธรรมนั้นไม่ได้หมายถึงแสงสว่างหรือความมืด แสงสว่างและความมืดนั้น หมายถึงความคิดที่อาจสับเปลี่ยนกันได้ ฉะนั้นการกล่าวว่า แสงสว่างก่อให้เกิดแสงสว่างต่อไปไม่สิ้นสุด จึงผิด เพราะว่ามันมีความจบสิ้น เนื่องจากความสว่างและความมืดเป็นคำคู่ตรงข้าม ในวิมลกีรตินิเทศสูตร กล่าวว่า หลักธรรมนั้นไม่มีข้ออุปมา เพราะว่าไม่ใช่เป็นคำที่อาจเทียบเคียงกันได้"

        ซิตกันแย้งว่า "แสงสว่างหมายถึงปัญญา และความมืดก็มหายถึงกิเลส ถ้าผู้เดินทางไม่ได้ทำลายกิเลส ด้วยอำนาจแห่งปัญญาแล้ว เขาจะพาตัวให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏอันไม่มีเบื้องต้นได้อย่างไร?"

        พระสังฆนายกตอบว่า "กิเลสคือโพธิ สองอย่างนี้เหมือนกัน ไม่ต่างกัน การทำลายกิเลสด้วยปัญญา เป็นคำสอนของสำนักสาวกภูมิและสำนักปัจเจกพุทธภูมิ ซึ่งสานุศิษย์ของสำนักเหล่านั้น ใช้ยานเทียมด้วยแพะและใช้ยานเทียมด้วยกวาง สำหรับผู้มีความเฉียบแหลมและปัญญาสูง คำสอนดังกล่าวคงจะไร้ประโยชน์ทั้งสิ้น"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2010, 08:37:24 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #81 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 08:38:44 am »

  ซิตกันถามว่า "ถ้ากระนั้น คำสอนของสำนักมหายานได้แก่อะไร?"

        พระสังฆนายกตอบว่า "ในทรรศนะของสามัญชน ปัญญาและอวิชชาเป็นของสองสิ่งแยกจากกัน ส่วนคนฉลาด ผู้ได้ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้จริงแห่งจิต โดยตลอดแล้ว ย่อมรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีธรรมชาติเป็นอย่างเดียวกัน ธรรมชาติอันเป็นอย่างเดียวกัน หรือธรรมชาติอันเป็นของคู่นี้ คือสิ่งที่เรียกว่า ธรรมชาติที่แท้จริง ซึ่งในกรณีของสามัญชนและคนโง่ก็ไม่ได้มีน้อยลง และในกรณีของปราชญ์ผู้บรรลุความรู้แจ้งแล้วก็ไม่ได้มีมากขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้ไหวสะเทือนในสภาพที่มีความวุ่นวาย และก็ไม่ได้สงบนิ่งในสภาพที่มีสมาธิ ไม่ใช่เป็นสิ่งถาวร และก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ไม่ถาวร ไม่ได้ไปหรือไม่ได้มา ไม่อาจพบได้จากภายนอก และก็ไม่อาจพบได้จากภายใน หรือไม่อาจพบได้ในอวกาศ ซึ่งอยู่ในระหว่างสิ่งทั้งสองนี้ เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความมีอยู่และความไม่มีอยู่ เป็นสิ่งที่มีธรรมชาติและปรากฏการณ์อยู่ในสภาพ ความเป็นเช่นนั้น ตลอดไป เป็นสิ่งที่ถาวรและไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งนี้แหละคือหลักธรรม"

        ซิตกันถามว่า "ท่านกล่าวว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่เหนือความมีอยู่ และความไม่มีอยู่ ถ้าเช่นนั้นท่านจะอ้างว่า ต่างกับคำสอนของพวกมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งสอนอย่างเดียวกันนี้ได้อย่างไร?"

        พระสังฆนายกตอบว่า "ในคำสอนพวกมิจฉาทิฏฐิ คำว่า ไม่มีอยู่" หมายถึงการสิ้นสุดของคำว่า "มีอยู่" ส่วนคำว่า "มีอยู่" ก็ใช้เปรียบเทียบในทางตรงกันข้ามกับคำว่า "ไม่มีอยู่" สิ่งที่เขาหมายถึงความไม่มีอยู่ ไม่ใช่หมายถึงการทำลายล้างโดยแท้จริง และสิ่งที่เขาเรียกว่า "มีอยู่" ก็ไม่ได้หมายถึงความมีอยู่อย่างแท้จริง สิ่งที่ฉันหมายถึง  เหนือ  ความมีอยู่และความไม่มีอยู่ ก็คือโดยเนื้อแท้แล้วย่อมไม่มีอยู่ แต่ในปัจจุบันขณะก็ไม่ได้ถูกทำลายล้างไป นี่แหละเป็นความต่างกัน ระหว่างคำสอนของฉันกับคำสอนของพวกมิจฉาทิฏฐิ.

        ถ้าท่านปรารถนาจะทราบถึงประเด็นสำคัญในคำสอนของฉัน ท่านควรสลัดตัวของท่าน ให้ปลอดจากความคิดทั้งปวง ไม่ว่าดีหรือเลว เมื่อนั้น จิตของท่านจะอยู่ในภาวะอันบริสุทธิ์ สงบ และสันติตลอดเวลา  ทั้งคุณประโยชนที่จะได้รับจากการนี้ ก็มีมากมายหลายเท่าดุจเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา."

        คำสอนของพระสังฆนายก ทำให้ซิตกันบรรลุธรรมโดยสมบูรณ์ในทันใดเขากราบนมัสการและอำลาพระสังฆนายกกลับเมืองหลวง เมื่อถึงพระราชวังแล้วก็กราบทูลรายงานต่อพระมหาจักรพรรดิ์ ตามที่พระสังฆนายกได้กล่าว

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #82 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 09:25:55 am »

(Angel Falls)เวเนซุเอลา สูงที่สุดในโลก ๙๗๙ เมตร

        ครั้นถึงวันขึ้นสามค่ำเดือนเก้า ปีเดียวกันนั้น พระมหาจักรพรรดิ์มีพระบรมราชโองการ ประกาศชมเชยพระสังฆนายกตามความดังนี้:-

        "ด้วยเหตุชราภาพและสุขภาพไม่สมบูรณ์ พระสังฆนายกได้ปฏิเสธการนิมนต์มาเมืองหลวง ท่านขอสละชีวิตปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อคุณประโยชน์ของพวกเรา ท่านเป็นเนื้อนาบุญแห่งชาติโดยแท้จริง ท่านได้ปฏิบัติตามอย่างท่านวิมลกีรติ ซึ่งพักฟื้นอยู่ในเมืองไวสาลี ทำการเผยแพร่คำสอนของมหายานให้ไพศาล ด้วยการถ่ายทอดหลักธรรมของสำนักธยานและด้วยการอธิบายหลักธรรมแห่งการไม่เป็นของคู่

        จากการถ่ายทอดธรรมของซิตกัน ผู้ซึ่งได้รับส่วนแบ่งในความรู้ทางพุทธะจากสังฆนายก ข้าพเจ้าทั้งสองจึงได้มีโอกาสเข้าใจถึงคำสอนชั้นสูงของพระพุทธศาสนา นี่จะต้องเนื่องมาจากกุศลและรากเง่าแห่งความดี ที่ข้าพเจ้าได้สร้างสมมาแต่ชาติปางก่อน มิฉะนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็คงไม่ได้เกิดมาทันพระคุณท่าน.

        ในการน้อมสักการะต่อพระคุณของพระสังฆนายก ข้าพเจ้าสุดวิสัยที่จะกล่าวคำใดๆ ให้ทัดเทียมได้ ฉะนั้น เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งความคารวะอันสูงที่มีต่อพระคุณท่าน ข้าพเจ้าทั้งสอง ขอถวายจีวรโมลาและบาตรผลึกมาพร้อมนี้ และโดยคำสั่งนี้ ให้เป็นหน้าที่ของข้าหลวงชิวเจา ที่จะปฏิสังขรณ์พระอารามของพระคุณท่าน และดัดแปลงบ้านเดิมของพระคุณท่าน ให้เป็นวิหารทั้งให้ชื่อว่า กว็อกเยน(นาบุญแห่งรัฐ)


ในพระปรมาภิไธย......ฯลฯ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #83 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 09:44:24 am »



หมวดที่ ๑๐
คำสอนสุดท้าย

  วันหนึ่งพระสังฆนายกสังให้ตามตัวสานุศิษย์ของท่าน คือ ฟัตห่อย, ชีชิง, ฟัตตัด, ชินวุย, ชิชวง, ชิตุง, ชิไช, ชิต่าว, ฟัตจุน, ฟัตอู, ฯลฯ และได้กล่าวกับท่านเหล่านั้นว่า

        ท่านทั้งหลาย ผิดกับคนอื่นๆ ที่เหลือ เมื่อฉันเข้าปรินิพพานไปแล้ว พวกท่านแต่ละคนจะได้เป็นอาจารย์ธยานคนละเมือง ฉะนั้นฉันจะให้คำเตือนแก่พวกท่านในเรื่องการสั่งสอน เพื่อท่านจะได้รักษาธรรมเนียมแห่งสำนักของเรา



ครั้งแรกจงกล่าวธรรมสามประเภท ต่อไปก็กล่าวถึงสิ่งที่เป็นของคู่
ประเภทตรงข้าม 36 คู่ อันเป็นอาการไหวตัวของภาวะที่แท้แห่งจิต

จากนั้นก็สอนวิธีหลีกเลี่ยงความสุดโต่งทั้งสองข้าง ในการเข้ามา
หรือการออกไป
การสอนทุกคราว อย่าเบนออกไปจากภาวะที่แท้แห่งจิต 

เมื่อใครถามปัญหาท่านจงตอบเขาไปในลักษณะตรงข้าม เพื่อให้เกิด
เป็นคำคู่ประเภทตรงข้าม
เช่นการมาและการไป ก็เป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกัน


เมื่อเพิกถอนการอ้างอิงต่อกันและกันของคู่คำนี้
โดยสิ้นเชิงแล้ว

ก็จะเหลือเป็นความหมายอันเฉียบขาดคือ ไม่ใช่การมา และไม่ใช่การไป


ธรรม 3 ประเภท  นั่นคือ
     
ขันธ์       (กองหรือหมวดหมู่)
อายตนะ    (ที่ประชุมกันหรือที่พบกัน)     
ธาตุ       (ตัวประกอบของวิญญาณ)


ขันธ์ 5 ได้แก่

รูป (สสารหรือวัตถุ) 
เวทนา (การรับอารมณ์หรือการเสวยอารมณ์) 
สัญญา  (ความจำได้หรือความสำเหนียกรู้ในอารมณ์) 
สังขาร (ความเจตนาของจิต)
และวิญญาณ (ความรู้ในอารมณ์)

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #84 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 09:53:36 am »

น้ำตกไนแองการา
ประกอบด้วยสองน้ำตกใหญ่ คือน้ำตกอเมริกัน (American Fall)

และน้ำตกแคนาดา (Canadian Fall) หรือน้ำตกเกือกม้า (Horseshoe Fall) 
น้ำตกทั้งสองถูกคั่นด้วยเกาะกลางชื่อว่า Goat Island


ขอบพระคุณที่มาภาพ จาก : http://cherokee.exteen.com/20100313/niagara-falls


อายตนะ 12 ได้แก่ อายตนะภายนอก (วัตถุแห่งอารมณ์) 6 ประการ คือ

วัตถุทางรูป (รูปายตนะ)
วัตถุทางเสียง (สัททายตนะ)
วัตถุทางกลิ่น (คันธายตนนะ)
 
วัตถุทางรส (รสายตนะ) 
วัตถุทางสัมผัส (โผฏฐัพพายตนะ) 
วัตถุทางความคิด (ธัมมายตนะ)


        อายตนะภายใน (อวัยวะรับอารมณ์) 6 ประการ คือ

อวัยวะทางตา (จักขุยตนะ)
อวัยวะหู (โสตายตนะ)
อวัยวะจมูก (ฆานายตนะ)
 
อวัยวะลิ้น (ชิวหายตนะ)
อวัยวะกาย (กายายตนะ) 
อวัยวะใจ (มนายตนะ)


         ธาตุ 18 ได้แก่
 
วัตถุแห่งอารมณ์ 6
อวัยวะรับอารมณ์ 6
และ วิญญาณซึ่งรู้ในอารมณ์ 6


        "เนื่องจาก ภาวะที่แท้แห่งจิต" เป็นสิ่งก่อกำเนิดธรรมทั้งหลาย จึงเรียกว่าวิญญาณคลัง (อาลยะ) ในทันทีที่เริ่มวิถีแห่งความคิดนึก หรือวิถีแห่งการหาเหตุผล ภาวะที่แท้แห่งจิตก็กลายรูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ เมื่อวิญญาณซึ่งรับรู้ในอารมณ์ทั้ง6 เกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุแห่งอารมณ์ทั้ง 6 นั้นจากทวารทั้ง 6  ดังนั้น กิจของธาตุ 18 จึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้แห่งจิต  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติกิจในทางชั่ว หรือปฏิบัติกิจในทางดี ก็แล้วแต่ว่าภาวะที่แท้แห่งจิต จะอยู่ในอารมณ์ใด  อารมณ์ชั่วหรืออารมณ์ดี กิจอันชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน  กิจอันดีเป็นลักษณะของพุทธะ เพราะมีความรู้สึกที่เป็นของคู่ประเภทตรงกันข้าม  ฝังติดเป็นนิสัยอยู่ในภาวะที่แท้แห่งจิต

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #85 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 10:11:02 am »




    สิ่งที่เป็นของคู่ประเภทตรงข้าม 36 ประการ ได้แก่

        วัตถุภายนอก 5 ประการ คือ

ฟ้าและดิน
อาทิตย์และจันทร์
แสงสว่างและความมืด
ธาตุบวกและธาตุลบ
ไฟฟ้าและน้ำ

        ธรรมลักษณะ 12 ประการ คือ

คำพูดและธรรม
การรับและการปฏิเสธ 
สาระและไม่เป็นสาระ
 
รูปและปราศจากรูป 
ความแปดเปื้อนและความไม่แปดเปื้อน 
ความมีอยู่และความว่างเปล่า 

ความเคลื่อนไหวและความสงบนิ่ง
ความบริสุทธิ์และมลทิน
สามัญชนและปราชญ์
 
พระสงฆ์และฆราวาส
คนแก่และคนหนุ่ม
ความใหญ่และความเล็ก

        กิจของภาวะที่แท้แห่งจิต 19 คู่ คือ

ยาวและสั้น
ดีและชั่ว
อวิชชาและปัญญา 
โง่และฉลาด
กระวนกระวายและสงบนิ่ง
กรุณาและชั่วช้า

ศีลและไม่มีศีล 
ตรงและคด
เต็มและว่าง 
ชันและระดับ
กิเลสและโพธิ 
ถาวรและไม่ถาวร 

เมตตาและโหดร้าย 
สุขและโกรธ
อ่อนโยนและหยาบช้า
ไปข้างหน้าและถอยหลัง
มีอยู่และไม่มีอยู่
ธรรมกายและกายเนื้อ

สัมโภคกายและนิรมานกาย


        "ผู้รู้จักวิธีใช้สิ่งทั้ง 36 คู่เหล่านี้ ย่อมตระหนักชัดถึง หลักการที่แผ่ซ่านไปในทุกสิ่ง ซึ่งกล่าวไว้ทั่วไปในพระสูตรทั้งหลาย  ไม่ว่าเขาจะเข้ามาหรือออกไป เขาย่อมสามารถหลีกเลี่ยงความสุดโต่งทั้งสองข้างนี้ได้

        "ในการปฏิบัติกิจของภาวะที่แท้แห่งจิต และ ในการสนทนากับผู้อื่น ทางภายนอกเราควรเปลื้องตัวเสียจากการยึดติดอยู่กับวัตถุ เมื่อจะต้องเกี่ยวข้องกับวัตถุนั้นๆ ส่วนภายในตามคำสอนถึงความว่างเปล่า เราควรเปลื้องตนออกจากความคิดที่ว่าขาดสูญ การเชื่อว่า วัตถุทั้งหลายมีความจริงแท้ หรือเชื่อว่าขาดสูญ ย่อมก่อให้เกิดมิจฉาทิฏฐิอย่างฝังรากลึก หรือพอกพูนอวิชชาให้หนาแน่นยิ่งขึ้น"




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2011, 07:07:00 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #86 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 10:20:14 am »


     "ผู้ที่เชื่ออย่างยึดมั่นในลัทธิขาดสูญ ย่อมดูหมิ่นพระสูตรทั้งหลาย ในแง่ที่ว่าภาษานั้นไม่จำเป็น ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว พวกเราก็ผิดในการที่พูด เพราะคำพูดย่อมก่อให้เกิดเนื้อหาทางภาษา  และเขาก็อาจแย้งได้อีกว่า สำหรับวิธีตรงนั้นภาษาเป็นอันยกเลิกได้  แต่เขาจะพอใจกับคำว่า ยกเลิก  ซึ่งก็เป็นภาษาเช่นกัน ฉะนั้นหรือ?  เมื่อได้ยินผู้อื่นกล่าวถึงพระสูตร คนเช่นนี้จะตำหนิผู้พูดในทำนองว่า ติดอยู่กับตำรา มันเป็นความชั่วอย่างพอตัวทีเดียว ที่ยึดถือความคิดเห็นผิดๆเช่นนี้ไว้กับตน พวกท่านควรรู้ว่า การกล่าวร้ายต่อพระสูตร เป็นความผิดอย่างมหันต์ เพราะผลลัพธ์ที่จะได้นั้นหนักมากทีเดียว

        "ผู้ที่เชื่อในความจริงแท้ของวัตถุภายนอก ก็พยายามค้นหารูปนั้นด้วยการปฏิบัติในลัทธิบางอย่าง เขาอาจจัดห้องบรรยายไว้อย่างกว้างขวาง เพื่อถกเถียงกันถึงลัทธิเที่ยงแท้และลัทธิขาดสูญ แต่คนเช่นนี้ แม้อีกมากมายหลายกัลป์ ก็ไม่อาจตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิตได้"





        "เราควรเดินทางไปตามคำสอนของพระธรรม อย่าปล่อยใจให้เฉื่อยชาเพราะจะเกิดอุปสรรคแก่ความเข้าใจในหลักธรรมได้  การสอนหรือการฟังพระธรรมโดยไม่ได้ปฏิบัติตามย่อมเป็นการเปิดช่องให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ฉะนั้น เราควรเดินทางไปตามคำสอนของพระธรรม และในการเผยแพร่ธรรม ก็ไม่ควรให้ความคิดเห็นถึงความจริงแท้แห่งวัตถุ มาชักนำเราไป"



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #87 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 10:47:32 am »




   "ถ้าท่านเข้าใจสิ่งที่ฉันพูด และนำไปใช้ในการสั่งสอน ในการปฏิบัติและในชีวิตประจำวัน ท่านจะสามารถจับความสำคัญของสำนักเราได้"

        เมื่อมีปัญหาถามมา จงตอบไปในทำนองปฏิเสธ ถ้าเป็นปัญหากล่าวปฏิเสธ จงตอบในทำนองบอกรับ ถ้าถูกถามถึงสามัญชน จงตอบเรื่องของปราชญ์จากการเปรียบเทียบกันหรืออ้างอิงก้นระหว่างสิ่งตรงข้ามทั้งคู่ จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจใน ทางสายกลาง ได้ถ้าปัญหาต่างๆ ถามมาในทำนองนี้ ท่านจงอย่าตอบให้ผิดไปจากสัจจะ"

        "สมมุติมีคนถามท่านว่า ความมืดคืออะไร ท่านก็ตอบเขาไปว่า ความสว่างเป็นเหตุ ความมืดเป็นปัจจัย เมื่อความสว่างหายไป ความมืดก็ตามมาสองสิ่งนี้อยู่ในลักษณะเปรียบเทียบต่อกันและกัน  จากการเปรียบเทียบกันหรือ อ้างอิงกัน ระหว่างสิ่งตรงข้ามทั้งคู่ ก็จะเกิด ทางสายกลาง ขึ้น

        จงตอบปัญหาอื่นๆ ทั้งปวงในทำนองเดียวกันนี้ ในการถ่ายทอดธรรมให้สานุศิษย์ของท่าน ท่านควรมอบคำสอนนี้ต่อๆกันไป ตามอนุชนแต่ละชั้นเพื่อเป็นเครื่องประกันความถาวรแห่งเป้าหมายและจุดประสงค์ของสำนักเรา"

       ในเดือนเจ็ด แห่งปีเยนซี อันเป็นปีที่หนึ่ง แห่งรัชสมัยไตกิ๊กหรือเยนโว พระสังฆนายกได้สั่งให้ศิษย์บางท่านไปสร้างสถูปไว้แห่งหนึ่ง ในวัดกว็อกเยน ที่ชุนเจา  และกำชับให้แล้วเสร็จโดยด่วน พอจวนสิ้นฤดูร้อนในปีต่อมา สถูปนั้นก็แล้วเสร็จเรียบร้อย

        ครั้นถึง วันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนเจ็ด พระสังฆนายก ประชุมสานุศิษย์ของท่าน และกล่าวว่า:-





        "ฉันจะจากโลกนี้ไปในเดือนแปด  หากใครยังมีข้อสงสัยอันใด เกี่ยวกับหลักธรรมแล้ว จงถามเสียให้ทันเวลา เพื่อท่านจะได้เข้าใจให้กระจ่าง เพราะท่านอาจไม่พบใครที่จะสอนท่านอีก  เมื่อฉันจากไปแล้ว"

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2011, 03:27:25 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #88 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 10:58:20 am »



ข่าวร้าย ทำให้ท่านฟัตห่อยและสานุศิษย์อื่นๆ น้ำตาไหล
ส่วนท่านชินวุยนั้น ตรงกันข้าม คงสงบนิ่ง

พระสังฆนายกกล่าวชมเชยท่านชินวุยว่า "อาจารย์หนุ่มชินวุยคนเดียวเท่านั้นในที่นี้
ที่ได้บรรลุถึงฐานะของจิต

ที่ไม่ยินดีหรือยินร้ายต่อความดีหรือความชั่ว ไม่รู้จักความดีใจหรือเสียใจ
และไม่ไหวสะเทือนต่อคำเยินยอหรือติฉิน


แต่ท่านอบรมอยู่ในภูเขานี้ก็หลายปีแล้ว  ท่านได้รับความก้าวหน้าบ้าง
ขณะนี้ท่านร้องไห้ทำไม

ท่านกังวลต่อฉัน  เพราะฉันไม่รู้ว่าฉันจะไปที่ไหนกระนั้นหรือ? แต่ฉันรู้
มิฉะนั้น ฉันคงบอกท่านล่วงหน้าไม่ได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น 

เรื่องที่ทำให้ท่านร้องไห้ก็คือ ท่านไม่รู้ว่าฉันจะไปที่ไหน
ถ้าท่านร้องไห้เพราะเหตุนั้นก็ไม่น่าจะร้อง ในสภาพแห่งความเป็นเช่นนั้น

 



โดยเนื้อแท้แล้ว ย่อมไม่มีการมาหรือการไป ไม่มีการเกิดหรือการดับ
นั่งลงเถิดทุกๆท่าน ฉันจะกล่าวโศลก  ว่าด้วย ความจริงแท้   และความลวง

กับโศลกว่าด้วย ความเคลื่อนไหวและความสงบนิ่ง ให้ท่านฟัง
จงนำไปศึกษา
แล้วความเห็นของท่าน

ก็จะอยู่ในแนวเดียวกับความเห็นของฉัน
  จงนำไปปฏิบัติ แล้วท่านจะทราบถึง
เป้าหมายและจุดประสงค์แห่งสำนักของเรา"

        ที่ประชุมต่างทำความเคารพและขอฟังโศลกนั้น:-




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #89 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 11:12:41 am »




ในสรรพสิ่งทั้งหลายย่อมไม่มีอะไรจริงแท้
ดังนั้นเราควรเปลื้องตน ออกเสียจากความคิดเห็น ถึงความจริงแท้แห่งวัตถุเหล่านั้น

ใครที่เชื่อ ในความจริงแท้ของวัตถุ
ย่อมถูกพันธนาการอยู่ด้วยความคิดเห็นเช่นนั้นซึ่งล้วนเป็นสิ่งลวง

ใครที่ตระหนักชัดถึงความจริงแท้ในตัวเขาเอง
ย่อมรู้ว่า จิตที่แท้ต้องค้นหาต่างที่กับปรากฏการณ์ที่ผิด

ถ้าจิตของใครถูกพันธนาการไว้ด้วยปรากฏการณ์ที่เป็นความลวงแล้ว
จะไปหาความจริงแท้ได้ที่ไหน ในเมื่อปรากฏการณ์ทั้งหลายไม่ใช่ความจริงแท้

สัตว์ทั้งหลายย่อมเคลื่อนไหว     วัตถุทั้งปวงย่อมหยุดนิ่ง





ใครฝึกตนให้เป็นผู้ไร้ความเคลื่อนไหว ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไร
นอกจากทำตนให้แน่นิ่งอย่างวัตถุ
ถ้าท่านจะหาความสงบนิ่งที่ถูกแบบ ก็ควรสงบนิ่งภายในการเคลื่อนไหว

ความสงบนิ่ง (เหมือนอย่างวัตถุ) ก็เป็นเพียงความสงบนิ่ง (ไม่ใช่ธยาน)
ในสรรพวัตถูทั้งหลายนั้น ท่านจะไม่พบเมล็ดพืชแห่งความเป็นพุทธะ

ท่านผู้เชี่ยวชาญในการจำแนกธรรมลักษณะต่างๆ ย่อมพำนักอยู่อย่างสงบนิ่ง
ในหลักธรรมลักษณะต่างๆย่อมพำนักอยู่อย่างสงบนิ่งในหลักธรรมเบื้องแรก

ด้วยเหตุนี้ท่านจึงสำเหนียกรู้ในสิ่งทั้งหลาย นี่แหละคือหน้าที่ของตถตา 
บรรดาผู้ที่ดำเนินไปตามมรรคจงกระตุ้นเตือนตนเอง และคอยหมั่นระวัง





ในฐานะที่เป็นสานุศิษย์ของสำนักมหายาน จงอย่ารวบรัดเอาความรู้
ประเภทที่จะผูกพันท่านไว้กับกงจักร แห่งการเกิดและตาย

สำหรับบุคคลที่มีความรู้สึกสอดคล้องกัน จงอธิบายกันในหลักธรรม
ทางพระพุทธศาสนา

ส่วนบุคคลที่มีทัศนะต่างจากเรา
จงปฏิบัติต่อเขาอย่างสุภาพ  ซึ่งเป็นการอำนวยความสุขให้กับเขา

เรื่องการโต้เถียงไม่ใช่วิธีการของสำนักเรา   เพราะเป็นการขัดแย้งกับหลักธรรม
การยึดมั่นหรือขัดแย้งกับสิ่งอื่น โดยไม่คำนึงถึงหลักข้อนี้

ย่อมเป็นการผลักไสให้ภาวะที่แท้แห่งจิตของตน ตกไปสู่ความขมขื่นแห่งโลกียภูมิ