ผู้เขียน หัวข้อ: มิลินทปัญหา  (อ่าน 107299 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #140 เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 02:16:45 pm »

         

  ปัญหาที่ ๑๕ ถามเรื่องการตัดสิ่งที่สุขุม

   
   " ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลอาจตัดสิ่งที่สุขุมกว่าสิ่งทั้งหลายได้หรือ? "
   
   " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อะไรชื่อว่าเป็นสิ่งสุขุมกว่าสิ่งทั้งหลาย"
   
   " ขอถวายพระพร พระธรรม ชื่อว่าสุขุมกว่าสิ่งทั้งหลาย แต่ธรรมะไม่ใช่สุขุมไปทั้งหมด
     คือ สุขุมก็มี หยาบก็มี แต่ว่าสิ่งที่ควรตัดด้วยปัญญามีอย่างเดียว คือ ธรรมะ นอกจากนั้นไม่มี "
   
   " ชอบแล้ว พระนาคเสน "





ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #141 เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 02:23:05 pm »


  ปัญหาที่ ๑๖ ถามความต่างกันแห่งวิญญาณเป็นต้น

   
   " ข้าแต่พระนาคเสน ปัญญา วิญญาณ ชีพในภูต เหล่านี้ มีอรรถะ พยัญชนะต่างกันหรือว่ามีอรรถะอย่างเดียวกัน มีพยัญชนะต่างกัน ? "
   
   " ขอถวายพระพร วิญญาณ มีการ รู้สึก เป็นลักษณะ ปัญญา มีการ รู้ทั่ว เป็นลักษณะ ชีพในภูต คือในผู้ที่เกิดแล้วไม่มี"
   
   " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าไม่มีชีพเป็นตัวเป็นตน ก็ใครเล่าเห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้มสัมผัสด้วยกาย รู้จักอารมณ์ด้วยใจ ?"
   
   " ขอถวายพระพร ถ้าชีพเห็นรูปด้วยตาตลอดถึงรู้จักอารมณ์ด้วยใจแล้วเมื่อเปิดตาขึ้น ชีพนั้นก็ต้องมีหน้าไปข้างนอก ต้องได้เห็นรูปดาวได้ดีเมื่อเปิดหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชีพนั้นก็ต้องหันหน้าไปภายนอก รู้จักอารมณ์ได้ดีอย่างนั้นหรือ ? "
   
   " ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า "   
   " ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ชีพก็ไม่มีในภูต "
   
   " ชอบแล้ว พระนาคเสน "




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #142 เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 02:31:16 pm »


  ปัญหาที่ ๑๗ ถามถึงเรื่องสิ่งที่ทำได้ยากของพระพุทธเจ้า

   
   " ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งที่ทำได้ยากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำนั้น ได้แก่อะไร ? "
   
   " ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำสิ่งที่ทำได้ยาก ได้แก่การทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่มีรูปร่าง อันมีอยู่ในจิต เจตสิกอันเป็นไปในอารมณ์อันเดียวเหล่านี้ได้ว่า อันนี้เป็นผัสสะ อันนี้เป็นเวทนา อันนี้เป็นสัญญา อันนี้เป็นเจตนา อันนี้เป็นจิต "
   
   " ขอนิมนต์อุปมาด้วย "
   
   " ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับบุรุษคนหนึ่งลงเรือไปที่มหาสมุทร วักน้ำขึ้นมาวางไว้ที่ลิ้น ก็รู้ว่านี้เป็นน้ำคงคา นี้เป็นน้ำยมนา นี้เป็นน้ำสรภู นี้เป็นน้ำอจิรวดี นี้เป็นน้ำมหิ ดังนี้ได้ เป็นของง่ายหรือยากล่ะ ?"
   
   " เป็นของยาก พระผู้เป็นเจ้า "
 
   " ขอถวายพระพร การที่พระพุทธเจ้าทรงบอกสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ที่มีในจิตใจ ที่เป็นอารมณ์อันเดียวกันว่า นี้เป็นผัสสะ นี้เป็นเวทนา นี้เป็นสัญญา นี้เป็นเจตนา นี้เป็นจิต ดังนี้ยิ่งยากกว่านั้น "
   
   " ถูกดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า "




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #143 เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 03:38:39 pm »

   ปัญหาที่ ๑๘ พระเจ้ามิลินท์ทรงเลื่อมใสได้ปวารณาพระนาคเสน

   
     พระนาคเสนถวายพระพรว่า   
   " มหาบพิตรทรงทราบว่า เวลานี้เป็นเวลาอะไรแล้ว ? "
   
   " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมทราบว่าเวลานี้เป็นเวลามัชฌิมยามแล้ว เพราะคบเพลิงสว่างไสว "
   
     ขณะนั้นพวกเจ้าพนักงานก็นำผ้า ๕ พับมาถวาย ข้าราชการโยนกทั้งหลายก็ทูลขึ้นว่า
   
   " พระภิกษุองค์นี้ฉลาดมาก เป็นบัณฑิตแท้ พระเจ้าข้า"
   
     พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า   
   " ถูกแล้ว...เธอทั้งหลาย ถ้ามีอาจารย์อย่างนี้ มีศิษย์อย่างนี้ ไม่ช้าก็ต้องรู้ธรรมะได้ดี "
   
     พระเจ้ามิลินท์ทรงยินดีด้วยการแก้ปัญหาของพระนาคเสน จึงถวายผ้ากัมพลราคาแสนตำลึงแก่พระนาคเสนแล้วตรัสว่า
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป โยมจะให้จัดอาหารไว้วันละ ๑๐๘ สำรับ สิ่งใดที่สมควรอันมีในพระราชวังนี้ โยมขอปวารณาพระผู้เป็นเจ้าทั้งนั้น"
   
   " อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพพอมีชีวิตอยู่ได้ก็แล้วกัน"
   
     พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน โยมรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้าพอมีชีวิตอยู่ได้ ก็แต่ว่าขอพระผู้เป็นเจ้าจงรักษาตัวของพระผู้เป็นเจ้า และรักษาตัวของโยมไว้ ข้อที่ว่า ขอให้พระผู้เป็นเจ้ารักษาตัวพระผู้เป็นเจ้าไว้นั้น

คืออย่าให้มีผู้ติเตียนได้ว่าพระนาคเสนทำให้พระเจ้ามิลินท์ทรงเลื่อมใสแล้ว ก็ไม่ได้อะไร ข้อที่ว่า ขอให้รักษาตัวโยมไว้นั้น คืออย่างไร...คืออย่าให้มีผู้กล่าวได้ว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงเลื่อมใสแล้ว ไม่ได้ทรงแสดงอาการเลื่อมใสแต่อย่างใด"
   
     พระเถระจึงตอบว่า   
   " แล้วแต่พระราชประสงค์ "
   
     พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า
   
   " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พญาราชสีห์อันบุคคลขังไว้ในกรงทอง ย่อมหันหน้าไปภายนอกฉันใด ถึงโยมจะอยู่ครองบ้านครองเมือง ก็หันหน้าไปภายนอกฉันนั้น ถ้าโยมออกไปบรรพชา ก็จะมีชีวิตอยู่ไม่นาน เพราะศัตรูโยมมีมาก "


   แสดงความชื่นชมต่อกัน

   ครั้นพระนาคเสนเถระแก้ปัญหาพระเจ้ามิลินท์เสร็จแล้ว จึงกลับไปสู่สังฆาราม เมื่อพระนาคเสนกลับไปแล้วไม่ช้า พระเจ้ามิลินท์ก็ทรงคิดดูว่า เราได้ถามเป็นอย่างไร พระผู้เป็นเจ้าแก้เป็นอย่างไร จึงทรงนึกได้ว่า สิ่งทั้งปวงเราก็ได้ถามดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้าก็ได้แก้ดีแล้ว ฝ่ายพระนาคเสนก็นึกอย่างเดียวกันกับพระเจ้ามิลินท์ เช้าขึ้นจึงได้ครองจีวรสะพายบาตรเข้าไปที่พระราชนิเวศน์ แล้วนั่งลงบนอาสนะ พระเจ้ามิลินท์กราบไหว้แล้ว จึงตรัสขึ้นว่า

   " ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่าคิดว่า โยมได้ถามปัญหาพระนาคเสนแล้ว พระผู้เป็นเจ้าย่อมให้ราตรีที่ยังเหลืออยู่ สิ้นไปด้วยความยินดีนั้น ขออย่าเห็นอย่างนี้ "

    โยมได้นึกอยู่ตลอดราตรีว่า การถามของเราเป็นอย่างไร การแก้ของพระผู้เป็นเจ้าเป็นอย่างไร ก็นึกได้ว่า เราถามดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแล้ว พระเถระก็ตอบว่า

   " ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรอย่าคิดว่า อาตมภาพได้แก้ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์แล้ว มหาบพิตรย่อมทรงบรรทมหลับตลอดราตรีที่ยังเหลืออยู่ด้วยความยินดีนั้น ขออย่าทรงเห็นอย่างนี้ อาตมภาพได้คิดอยู่ตลอดราตรีที่ยังเหลืออยู่ว่า พระเจ้ามิลินท์ถามอะไรแล้ว เราได้แก้อะไรแล้ว ก็นึกได้ว่า พระเจ้ามิลินท์ได้ถามสิ่งทั้งปวงแล้ว เราก็ได้แก้สิ่งทั้งปวงแล้ว "

   เป็นอันว่า ปราชญ์ทั้งสองนั้น ได้แสดงความชื่นชมยินดีต่อกันและกันอย่างนี้


  จบวรรคที่ ๗ จบมิลินทปัญหา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2011, 03:45:54 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #144 เมื่อ: มกราคม 19, 2011, 07:00:44 pm »


    มิลินทปัญหา
    นอกวรรค โคตมีปัญหา

   
    เรื่องถวายผ้าของพระนางโคตมี
   
     พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า"
   
ข้าแต่พระนาคเสนเมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีจะถวายผ้าคู่ใหม่แก่พระพุทธเจ้านั้น
พระพุทธเจ้าตรัสว่า   " ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด
เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้วก็จักเป็นอันบูชาแก่เราด้วยบูชาสงฆ์ด้วย "
   
ดังนี้ โยมจึงขอถามว่า พระตถาคตเจ้าไม่เป็นผู้มีพระคุณหนัก มีพระคุณวิเศษ เป็นผู้ควรแก่ถวายกว่าพระสงฆ์หรือ เพราะว่าผ้าคู่นั้นเป็นผ้าที่พระเจ้าแม่น้าทรงปลูกฝ้ายเอง เก็บเอง ดีดเอง ปั่นเอง กรอเอง ทอเอง ถ้าพระตถาคตเจ้ามีพระคุณยิ่งกว่าวิเศษกว่าพระสงฆ์แล้ว ก็จะต้องตรัสว่า เมื่อถวายเราก็จักมีผลมาก ต้องไม่ให้ถวายสงฆ์ เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้าไม่ให้ถวายพระองค์ ให้ถวายแก่พระสงฆ์เสียนี้แหละ โยมจึงยังสงสัยอยู่ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแก้ไขให้โยมสิ้นสงสัยเถิด "
   

   " พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า "
   
" เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้เป็นพระเจ้าแม่น้า น้อมนำผ้ามาถวาย พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า จงถวายสงฆ์ เมื่อถวายสงฆ์แล้วเป็นอันเชื่อว่า บูชาเราด้วย บูชาสงฆ์ด้วย ที่ไม่ได้ทรงโปรดให้ถวายพระองค์นั้น ไม่ใช่เพราะพระองค์เป็นผู้ไม่ควรเคารพ หรือไม่ควรถวาย เป็นเพราะทรงเล็งเห็นประโยชน์ในอนาคตว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จักเป็นที่สักการบูชา เมื่อจะทรงยกย่องคุณของสงฆ์ให้ปรากฏ จึงได้ตรัสว่า ขอพระนางจงถวายสงฆ์ เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันชื่อว่าได้บูชาเราด้วย ได้บูชาสงฆ์ด้วย"
   

   อุปมาเหมือนบิดายกย่องบุตร"
   
เปรียบเหมือนบิดาเมื่อยังมีชีวีตอยู่ ย่อมยกย่องคุณความดีอันมีอยู่ของบุตร ในที่เฝ้าพระราชาซึ่งประทับในท่ามกลางของหมู่อำมาตย์นายประตู หมู่โยธา ราชบริพาร ทั้งหลายให้ปรากฏ ด้วยคิดว่าต่อไปข้างหน้า บุตรของเราจักได้เป็นที่บูชาของคนทั้งหลาย ข้อนี้มีอุปมาฉันใด พระตถาคตเจ้าเมื่อจะทรงยกย่องคุณของพระสงฆ์ในปรากฏ ดัวยทรงเล็งเห็นประโยชน์ในอนาคตว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จักเป็นที่บูชาของคนทั้งหลายจึงได้ตรัสว่า
   
   " จงถวายแก่สงฆ์ เมื่อถวายสงฆ์แล้วจักเป็นอันบูชาเราด้วย บูชาสงฆ์ด้วย "
   
ฉันนั้น ขอถวายพระพร ไม่ใช่ว่าสงฆ์จะมีคุณยิ่งวิเศษกว่าพระตถาคตเจ้า เพียงด้วยเหตุที่โปรดให้ถวายผ้าเท่านั้น
   
อีกประการหนึ่ง มารดาบิดาย่อมให้บุตรนุ่งผ้า แต่งตัวให้บุตร อาบน้ำให้บุตรขัดสีให้บุตรเป็นธรรมดา บุตรเป็นผู้ยิ่งกว่าหรือวิเศษกว่ามารดาบิดา ด้วยเหตุเพียงมารดาบิดานุ่งผ้าให้แต่งตัวให้ อาบน้ำให้ ขัดสีให้เท่านั้นหรืออย่างไร ? "
   
   " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่บุตรประเสริฐกว่ามารดาบิดาด้วยเหตุเพียงเท่านี้"
   
"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ไม่ใช่พระสงฆ์ยิ่งกว่า วิเศษกว่า ด้วยเหตุเพียงโปรดให้ถวายผ้าเท่านั้น แต่เมื่อพระตถาคตเจ้าจะทรงกระทำสิ่งที่ควรกระทำแก่สงฆ์ จึงโปรดให้ถวายผ้าแก่สงฆ์ "
   

   อุปมาเหมือนพระราชา"
   
อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่ามีบุรุษคนใดคนหนึ่ง น้อมนำเครื่องบรรณาการมาถวายพระราชา พระราชาได้พระราชทานเครื่องบรรณาการนั้นแก่ข้าราชการ หรือทหาร หรือปุโรหิต คนใดคนหนึ่ง ผู้ที่ได้รับพระราชาทานนั้น จะได้ชื่อว่ายิ่งกว่า วิเศษกว่าพระราชา ด้วยเหตุเพียงได้รับพระราชาทานของนั้นเท่านั้นหรืออย่างไร? "
   
   " ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า "
   
" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือไม่ใช่พระสงฆ์เป็นผู้ยิ่งกว่า วิเศษกว่า พระตถาคตเจ้า ด้วยการให้ถวายผ้าเท่านั้น อีกประการหนึ่ง พระสงฆ์ย่อมเกิดจากพระตถาคตเจ้า เมื่อพระตถาคตเจ้าจะตั้งพระสงฆ์ไว้ในตำแหน่งควรบูชาแทนพระพุทธเจ้า จึงได้โปรดให้ถวายผ้า
   
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตเจ้าทรงดำริว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรบูชาอยู่
ตามความจริงแล้วไม่ใช่ว่าพระตถาคตเจ้าจะทรงยกย่องพระสงฆ์ว่า เป็นผู้ควรบูชายิ่งกว่าพระองค์
   
   อีกประการหนึ่ง ผู้ใดควรแก่การบูชา พระตถาคตเจ้าก็ทรงสรรเสริญการบูชานั้น
   
ดูก่อน มหาราชะ มหาบพิตรพระราชสมภาร องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นวิสุทธิเทพยิ่งกว่าเทพยดาอื่น เมื่อจะทรงยกย่องข้อปฏิบัติ คือความมักน้อยไว้ ก็ได้ตรัสไว้ใน คัมภีร์มัชฌิมนิกาย อันว่าด้วยธรรมทายาทว่า
   
   " ภิกษุองค์ก่อนโน้น เป็นผู้ควรบูชากว่า ควรสรรเสริญกว่า"
   
ดังนี้ ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งในโลก จะยิ่งกว่า วิเศษกว่า พระตถาคตเจ้า พระตถาคตเจ้าเป็นผู้ควรแก่การถวายทานเป็นผู้เยี่ยม เป็นผู้ยิ่ง "
   
   ภาษิตสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า
   
ดูก่อนมหาราชะ มีเทวบุตรองค์หนึ่งชื่อว่า มาณวคามิกะ ได้กล่าวขึ้นในท่ามกลางเทพยดาและมนุษย์ ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าว่า
   
   " ภูเขาเวปุลลบรรพต เป็นภูเขาประเสริฐกว่าภูเขาทั้งปวง อันมีในแขวงราชคฤห์ ภูเขาเสตบรรพต เป็นภูเขาใหญ่กว่าภูเขาทั้งหลายในป่าหิมพานต์ ดวงอาทิตย์ประเสริฐกว่าสิ่งที่มีในอากาศทั้งสิ้น มหาสมุทรใหญ่กว่าแม่น้ำทั้งหลาย ดวงจันทร์ดีกว่าดวงดาวทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเลิศกว่ามนุษย์โลกและเทวโลกทั้งสิ้น "
   
   ดังนี้ คำนี้ มาณวคามิกะเทพบุตร ได้กล่าวไว้ถูกต้องดีแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงเห็นชอบด้วยแล้ว อนึ่ง พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวไว้ว่า
   
   " ผู้ถึงสรณะ หรือยกมือไหว้ ด้วยใจเลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็อาจช่วยผู้นั้นให้ข้ามพ้นได้" ดังนี้ ส่วนองค์สมเด็จพระชินสีห์ผู้ทรงกำจัดพลมารเสียได้แล้ว ผู้เป็นวิสุทธิเทพยิ่งกว่าเทพยดาทั้งหลาย ก็ได้ตรัสไว้ว่า
   
   " บุคคลเอก เมื่อจะเกิดขึ้นในโลก ก็เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สุขของโลก
     บุคคลเอกนั้นได้แก่ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า"
   
     ดังนี้ ขอถวายพระพร "   
   " ดีแล้ว พระนาคเสน โยมขอรับไว้ด้วยดีซึ่งการกล่าวแก้ปัญหาข้อนี้"

   

   จบนอกวรรค

http://agaligohome.com/index.php?topic=205.135

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 06, 2011, 06:05:57 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #145 เมื่อ: มกราคม 19, 2011, 07:22:36 pm »



Law of nature

                 มิลินทปัญหา
ปรารภเมณฑกปัญหา



ลำดับนั้น พระนาคเสนเถระได้กลับสู่สังฆารามอีก พระเจ้ามิลินท์
ผู้มีพระวาจาเฉลียวฉลาด ผู้ชอบไต่ถาม ผู้มีความรู้ยิ่ง ผู้เฉียบแหลม
ได้เข้าใกล้พระนาคเสน เพื่อให้ความรู้แตกฉาน เมื่อมีการไต่ถามโต้เถียงกับพระนาคเสน
อยู่เนือง ๆ ไม่ขาดสาย ก็มีความรู้แตกฉานชำนาญในพระไตรปิฎก

อยู่มาคืนวันหนึ่งเมื่อทรงรำลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า อันประกอบด้วย
องค์ ๙
ก็ได้ทรงเห็น
เมณฑกปัญหา (คือปัญหาสองแง่ ) อันเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก
ด้วยถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นปริยาย ( คือโดยอ้อม) ก็มี
ตรัสไว้โดยอรรถะ ( คือมีความหมายลึกซึ้ง ) ก็มี เป็นคำของพระสาวก ก็มีอยู่

ความหมายของถ้อยคำเหล่านั้นเป็นของรู้ได้ยาก เปรียบเหมือนแพะชนกัน
นานไปเบื้องหน้า จะเกิดวิววาทกันในถ้อยคำเหล่านั้น
เราควรจักให้พระนาคเสนเลื่อมใสต่อเราแล้ว ให้กล่าวแก้ซึ่ง
เมณฑกปัญหา
คือปัญหาอัน อุปมาจับแพะชนกัน ให้แจ้งไว้
ปัญหาที่แก้ยากเหล่านั้น " จักมีผู้แก้ได้ " ตามทางที่
พระนาคเสน " ได้ชี้ไว้ "



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #146 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2011, 05:28:54 am »

  ทรงสมาทานวัตรบท ๘

   เมื่อพระเจ้ามิลินทร์ทรงดำริดังนี้แล้ว รุ่งเช้าขึ้นก็เสด็จเข้าสู่ที่สระสรง ทรงประดับประดาพระองค์ดีแล้ว ก็ทรงระลึกถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน แล้วทรงสมาทานวัตรบท ๘ ว่า เราจะประพฤติตบะ จักทำให้อาจารย์ยินดีแล้ว จักถามปัญหา ทรงดำริดังนี้แล้ว ก็ทรงเปลื้องเครื่องประดับของกษัตริย์ ทรงแต่งพระองค์เป็นมุนี สมาทานคุณธรรมทั้ง ๘ คือ

   ๑. จักไม่ทรงวินิจฉัยอรรถคดีตลอดถึง ๗ วัน
   ๒. ไม่ให้เกิดราคะ
   ๓. ไม่ให้เกิดความโกรธ
   ๔. ไม่ให้เกิดความหลง

   ๕. จักนบนอบกระทั่งทารกทาริกาของพวกทาสี
   ๖. จักรักษากายวาจาให้ดี
   ๗. จะรักษาอายตนะทั้ง ๖ ให้ดี
   ๘. จักทำใจมีเมตตา

   ครั้นทรงมั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๘ นี้ ตลอด ๗ วันแล้ว รุ่งเช้าวันที่ ๘ ก็เสวยพระกระยาหารเช้า แล้วสำรวมพระเนตรเป็นอันดี มีพระวาจาพอประมาณ มีพระอริยาบถอันดี มีพระหฤทัยมั่นคงเบิกบาน แล้วเข้าไปหาพระนาคเสนเถระ กราบไหว้แล้วทรงยืนตรัสว่า

   " ข้าแต่พระนาคเสน โยมมีเรื่องที่จะสนทนากับพระผู้เป็นเจ้าในป่าที่เงียบสงัดโดยลำพังสองคนไม่มีผู้อื่นปะปน ป่านั้นต้องเป็นป่าประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นป่าที่สมควรแก่สมณะ เป็นป่าที่สมควรถามปัญหา ในการถามและแก้นั้นไม่ควรให้มีข้อลี้ลับ ควรให้แจ่มแจ้งทุกข้อ ควรให้เข้าใจได้ด้วยอุปมา

   ข้าแต่พระนาคเสน แผ่นดินใหญ่นี้ ย่อมเป็นที่เก็บเป็นที่ซ่อน ซึ่งสิ่งที่ควรเก็บควรซ่อนฉันใด โยมก็สมควรฟังข้อลึกลับ ที่ควรเก็บควรซ่อนไว้ฉันนั้น เมื่อมีข้อควรปรึกษาเกิดขึ้น โยมก็สมควรแก่การปรึกษา "

   พระเจ้ามิลินท์ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็พร้อมกับพระเถระออกไปสู่ป่าใหญ่แห่งหนึ่งแล้วตรัสต่อไปอีกหลายอย่าง


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #147 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2011, 05:33:20 am »

ที่ไม่ควรปรึกษากัน ๘ ประการ

พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน บุรุษผู้จะปรึกษาหารือกัน ควรรู้ไว้ว่า ที่ควรงดเว้นมีอยู่ ๘ คือ

๑. ที่อันไม่สม่ำเสมอ
๒. ที่มีภัย
๓. ที่มีลมแรง
๔. ที่กำบัง

๕. ที่ศาลเจ้า
๖. ที่ถนนหนทาง
๗. ที่ก้าวขึ้นก้าวลง
๘. ที่ท่าน้ำ

ที่ทั้ง ๘ นี้ เป็นที่ควรงดเว้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า

เมื่อปรึกษากันในที่ไม่สม่ำเสมอ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่สบาย เรื่องที่ปรึกษาหารือกันก็จะไม่สม่ำเสมอดี
เมื่อปรึกษากันในที่มีภัย ใจก็จะสะดุ้งกลัว จะไม่แลเห็นเหตุผลได้ดี
เมื่อปรึกษากันในที่มีลมแรง เสียงลมพัดตลบอบไป มิอาจที่จะคิดความหมายนั้นได้
เมื่อปรึกษากันในที่กำบัง ก็จะมีผู้แอบฟัง

เมื่อปรึกษากันที่ศาลเจ้า ของหนัก ๆ ก็จะหักพังลงมา
เมื่อปรึกษากันที่หนทาง ก็จะไม่ได้ความดี เพราะมีคนเดินไปมาสับสน
เมื่อปรึกษากันในที่ขึ้นลง จิตใจก็จะไม่มั่นคง
เมื่อปรึกษากันในที่ท่าน้ำ ก็จะมีผู้รู้แพร่งพราย

เพราะฉะนั้น จึงควรเว้นที่ทั้ง ๘ คือ ที่ไม่สม่ำเสมอ ที่มีภัย ที่มีลมแรง ที่มีกำบัง ที่ศาลเจ้า ที่หนทาง ที่ก้าวขึ้นก้าวลง ที่ท่าน้ำ เหล่านี้เสีย "



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #148 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2011, 05:47:10 am »


คนที่ไม่ควรปรึกษา ๘ จำพวก

เมื่อพระเจ้ามิลินท์ทรงแสดงที่ควรเว้น ๘ แห่งดังนี้แล้ว จึงทรงแสดงบุคคลควรเว้นอีก ๘ จำพวกว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลผู้ที่ถูกปรึกษาแล้ว ทำเรื่องให้เสียไปมีอยู่ ๘ จำพวก คือ

๑. คนมีราคะจริต คือหนักในทางราคะ
๒. คนโทสะจริต มากด้วยโทสะ
๓. คนโมหะจริต มากด้วยความลุ่มหลง
๔. คนมานะจริต มากด้วยการถือตัว

๕. คนโลภเห็นแต่จะได้
๖. คนขี้เกียจ ย่อท้อ อ่อนแอ
๗. คนเห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว
๘. คนพาล คือคนโง่มุทะลุ "



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #149 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2011, 05:55:27 am »


พระนาคเสนจึงถามว่า
" คนทั้ง ๘ จำพวกนั้น ให้โทษอย่างไร ? "

" คนราคะจริต เมื่อปรึกษาด้วยอำนาจราคะ ก็ทำเรื่องที่ปรึกษาให้เสียไป ถึงคนจำพวกอื่นอีก ๗ จำพวกก็เหมือนกัน
"เพราะฉะนั้น บุคคล ๘ จำพวก คือ คนหนักในราคะ โทสะ โมหะ มานะ โลภะ เกียจคร้าน เห็นแก่ตัว โง่เขลา จึงเรียกว่า " คนทำให้เสียเรื่องปรึกษา "

คนที่ปิดความลับไม่ได้ ๙ จำพวก
" ข้าแต่พระนาคเสน บุคคล ๙ จำพวกปิดข้อความอันลี้ลับไว้ไม่ได้ บุคคล ๙ จำพวกนั้น ได้แก่จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. คนราคะจริต หนักในราคะ
๒. คนโทสะจริต มากด้วยโทสะ
๓. คนโมหะจริต มากด้วยความหลง
๔. คนขี้เกียจ ขี้กลัว
๕. คนหนักในอามิส

๖. สตรีทั้งปวง
๗. นักเลงสุราและนักเลงต่าง ๆ
๘. คนชอบแต่งตัว
๙. เด็กทั่วไป ทั้งหญิงทั้งชาย "

พระเถระถามอีกว่า
" บุคคล ๙ จำพวกนั้น มีโทษอย่างไรบ้าง "

พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
" บุคคล ๙ จำพวกนั้น

จำพวกราคะ ก็ปิดความลับไม่ได้ด้วยอำนาจราคะ คือเมื่อรักใครแล้ว ก็เปิดความลับให้ฟัง
จำพวกโทสะ เมื่อโกรธขึ้นมา ก็พูดความลับโพล่งออกมา
จำพวกโมหะ เมื่อใครพูดดีก็หลงเชื่อแล้วเปิดความลับให้ฟัง
จำพวกขี้ขลาด เมื่อกลัวก็เปิดความลับ
จำพวกหนักในอามิส เมื่อมีผู้ให้อามิสสินจ้าง ก็บอกความลับ

จำพวกสตรี เป็นจำพวกมีปัญญาน้อย เมื่อถูกซักดักหน้าดักหลัง ก็เปิดความลับให้ฟัง
จำพวกนักเลงสุรา เมื่อเมาแล้วก็เปิดความลับง่าย
จำพวกชอบแต่งตัว ก็กังวลอยู่แต่เรื่องแต่งตัว อาจจะเผลอพูดความลับออกมาได้ง่าย
จำพวกทารก ก็มีความคิดยังอ่อนเกินไป ไม่อาจปิดความลับไว้ได้"