ผู้เขียน หัวข้อ: พระอภิธรรมสังคิณีมาติกาบรรยาย : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร  (อ่าน 23340 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

               

๓๐. เนวาจะยะคามิโน นาปะจะยะคามิโน ธัมมา

    ในบทที่ ๓๐ นั้นมีพระบาลีว่า เนวาจะยะคามิโน นาปะจะยะคามิโน ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นเหตุจะยังสัตว์ให้ได้ถึงซึ่งความสุข ด้วยการสะสมก็ไม่ใช่ ด้วยการไม่สะสมก็ไม่ใช่ โดยความอธิบายว่า สะสมแต่การบุญ ไม่สะสมการบาป แต่ธรรมบทนี้แปลว่าไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป เปรียบเหมือนหนึ่งคนนอนหลับไม่สุขไม่ทุกข์ฉะนั้น ถ้ามิฉะนั้นก็เปรียบเหมือนคนที่หนีร้อนไปหาเย็น หนีร้อนออกไปพ้นจากร้อนแล้วแต่ยังไม่ทันถึงความเย็น ยังอยู่ในระหว่างกลาง ๆ ฉะนี้ เมื่อจะชี้บุคคลเป็นนิทัศนอุทาหรณ์แล้ว ก็ได้แก่พระมหาเถรที่บอกแก่นายช่างแก้วมณีว่า โทษยังมีแก่บุคคลในโลกฉะนี้ เพราะตัวของท่านนั้นไม่สุขไม่ทุกข์ ท่านอยู่ในระหว่างกลางไม่ร้อนไม่เย็น โดยเหตุนี้ก็ย่อมพิสดารอยู่ในคัมภีร์พระธรรมบทนี้ แล้วนำมาแสดงในที่นี้แต่โดยสังเขปกถาให้สมกับพระบาลีว่า เนวาจะยะคามิโน นาปะจะยะคามิโน ธัมมา ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๓๑. เสกขา ธัมมา

    เบื้องหน้าแต่นี้จะได้แสดงในติกมาติกาที่ ๓๑ สืบต่อไป โดยนับพระบาลีว่า เสกขา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่จำจะต้องศึกษาดังนี้ ธรรมที่จำจะต้องศึกษานั้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ เป็นธรรม ๓ ประการฉะนี้

    พระสกาวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า ธรรมทั้ง ๓ ประการนี้จะต้องศึกษาอย่างไรจึงจะเรียกว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาได้ พระปรวาทีฯ จึงวิสัชนาว่า ในสิกขาทั้ง ๓ นั้นก็คือ ศีลกล้า ๑ ศีลยิ่ง ๑ ศึกษาให้จิตยิ่ง ๑ ศึกษาให้ปัญญายิ่ง ๑ โดยความอธิบายว่า ศีลนั้นก็มีอยู่ ๓ สถาน คือ ศีลอย่างต่ำ ๑ ศีลอย่างกลาง ๑ ศีลอย่างยิ่ง ๑ ผู้รักษาศีลนั้น บางคนก็เปล่งอุบายวาจาว่าจะรักษาศีล ไม่กระทำบาปด้วยกายวาจา ครั้นบาปมาถึงแก่ตนเข้าแล้ว ก็ไม่มีเจตนาจะรักษาศีลนั้นไว้ได้ ขืนกระทำบาปลงไปด้วยกาย วาจา ดังนี้ เรียกชื่อว่าศีลอย่างต่ำ บุคคลผู้รักษาศีลนั้นบางคนก็ตั้งเจตนาไว้ว่าจะรักษาศีล ไม่ควรกระทำบาปด้วยกายวาจา ครั้นบาปมาถึงแก่ตนเข้าแล้ว ก็คิดได้ว่าเรารักษาศีล ไม่ควรกระทำบาปด้วยกายวาจา ดังนี้ เรียกชื่อว่าศีลอย่างกลาง บุคคลผู้รักษาศีลนั้นบางคนก็รักษาพร้อมด้วยกายวาจา ไม่กระทำบาปจริง ๆ จนเห็นพระอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ดังนี้ เรียกชื่อว่าศีลอย่างยิ่ง อีกประการหนึ่ง บุคคลที่เป็นสัตตบุรุษมารักษาศีล ๕ ได้บริสุทธิ์ดีแล้วก็ยังไม่พอแก่ศรัทธา จึงรักษาศีล ๑๐ ให้ยิ่งขึ้นไป จนได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ดังนี้ เรียกว่าศึกษาในศีลชื่ออธิศีลสิกขา

    พระสกาวาทีฯ จึงขออุปมากับพระปรวาทีฯ อีกต่อไป พระปรวาทีฯ จึงได้อุปมาต่อไปว่า ธรรมดาว่าบุคคลที่ปลูกต้นไม้หวังผลแล้ว ก็ย่อมระวังรักษา หมั่นรดน้ำพรวนดิน ไม่ให้ต้นไม้นั้นเหี่ยวแห้งตายไป คอยระวังรักษาอยู่ทุกทิวาราตรีมิได้ขาด จนต้นไม้นั้นงอกงามเจริญขึ้น มีดอกออกผลสมความประสงค์ของตนฉันใดก็ดี บุคคลผู้มีวิรัติเจตนามารักษาสีลหวังต่อความสุขแล้วนั้น ก็ย่อมตั้งเจตนาระวังรักษาไม่ให้อุปกิเลสเข้ามาท่วมทับศีลได้ และยังศีลของตนให้บริบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เหมือนบุคคลที่ปลูกต้นไม้ฉะนั้นฯ

    เบื้องหน้าแต่นี้จะได้แก้ไขในอธิจิตสิกขาต่อไป บุคคลที่จะกระทำจิตให้ยิ่งนั้นก็พึงคิดว่าเราจะให้ทานตามได้ตามมี ครั้นเห็นทานมีผลแล้ว ก็พึงคิดว่าเราจะรักษาศีลต่อไป ครั้นเห็นศีลมีผลมากกว่าทานแล้ว ก็พึงคิดว่าเราจะเจริญภาวนาต่อไป ครั้นเห็นอานิสงส์ในการฟังพระธรรมเทศนานั้นว่ามีผลมากยิ่งกว่าทาน ศีล ภาวนานั้นแล้ว ก็อุตสาหะฟังพระธรรมเทศนาโดยเคารพ ด้วยหวังตั้งจิตว่าจะรับเอาข้ออันเป็นแก่นสาร ดังนี้เรียกว่าศึกษาให้จิตยิ่ง ชื่อว่าอธิจิตสิกขา

    เบื้องหน้าแต่นี้จะได้แก้ไขในอธิปัญญาสิกขาสืบต่อไป บุคคลผู้กระทำปัญญาให้ยิ่งนั้น ก็พึงให้รู้จักบำเพ็ญทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา แลสดับฟังพระธรรมเทศนาเหมือนอย่างอธิศีล อธิจิตฉะนั้น โดยความอธิบายว่า ปัญญาที่เป็นสามัญลักษณ์ คือรู้ว่าสังขารธรรมเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สามัญปัญญานี้แลเรียกว่าพระปริยัติ เมื่อรู้จักพระปริยัติโดยลักษณะสามัญฉะนี้แล้ว ก็บังเกิดนิพพิทาญาณหยั่งรู้หยั่งเห็นในทางปฏิบัติ ว่าปฏิบัตินั้นยิ่งกว่าพระปริยัติ คือความเบื่อหน่ายในสังขารธรรมทั้งปวง เมื่อรู้ว่าจิตของตนมีความเบื่อหน่ายแล้ว ก็ได้รู้ว่าความปฏิบัติอย่างนี้ เป็นความปฏิบัติยิ่งกว่าพระปริยัติ ปัญญาเป็นนิพพิทาญาณนี้แลเรียกว่าปฏิบัติ เมื่อมากำหนดรู้จักปฏิบัติโดยมีนิพพิทาญาณฉะนี้แล้ว ก็บังเกิดมุญจิตุกามยตาญาณ หยั่งรู้หยั่งเห็นในทางปฏิเวธ ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า เสกขา ธัมมา ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๓๒. อะเสกขา ธัมมา

    เบื้องหน้าแต่นี้จะได้แสดงในติกมาติกาที่ ๓๒ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อะเสกขา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่ศึกษา โดยความอธิบายว่า ธรรมที่ไม่ศึกษานั้น ก็ได้แก่ความเกียจคร้านกระทำในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญานั้น เสื่อมทรุดไปทุกทิวาราตรีกาล เปรียบปานประหนึ่งว่า บุคคลปลูกต้นไม้หวังผลแลเป็นคนเกียจคร้าน ไม่หมั่นระวังรักษา รดน้ำพรวนดิน แล้วต้นไม้นั้นก็มีแต่เศร้าโศกเหี่ยวแห้งตายไป เปรียบสัตว์ในอบายภูมิทั้ง ๔ สัตว์ในอบายภูมิทั้ง ๔ นั้น เมื่อเดิมทีก็เป็นมนุษย์นี้เอง แต่มนุษย์ที่ปราศจากศีล สมาธิ ปัญญาที่ดีชอบ จึงต้องทนทุกขเวทนาเห็นสภาวะปานนี้ เพราะอะไรเป็นเดิมเหตุ ก็เพราะความที่ไม่ศึกษาในศีล สมาธิ ปัญญานี่เอง

    พระสกาวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า การที่ไม่ศึกษานั้นจะมีโทษอย่างไร จะได้แก่บุคคลจำพวกใด?

    พระปรวาทีฯ จึงวิสัชนาแก้ว่า บุคคลผู้มีความประมาท เกียจคร้าน ไม่ศึกษาในหนทางศีล สมาธิ ปัญญา และไม่แสวงหาซึ่งความสุขแก่ตนนั้น ย่อมมีโทษมากหลายประการ เปรียบเหมือนหนึ่งบุคคล ๒ จำพวก เดินทางไกลกันดารด้วยน้ำ จำพวกหนึ่งเกียจคร้านไม่เพียรเดินไป จำพวกหนึ่งมีมานะเพียรเดินไป ครั้นเดิน ๆ ก็กระหายน้ำเป็นกำลัง คนเกียจคร้านนั้นจึงบอกกับเพื่อนกันว่า เราเห็นจะเดินไปไม่ไหว ขี้เกียจเต็มทีแล้ว เพื่อนที่มีมานะถึงตักเตือนขึ้นว่า ท่านจงอุตสาหะเดินไปอีกสักหน่อย ก็จะพบต้นมะขามป้อม กินแก้กระหายน้ำ ถัดต้นมะขามป้อมนั้นไปก็จะพบต้นมะเฟือง ถัดต้นมะเฟืองนั้นไปก็จะพบสระน้ำ ได้อาบกินตามความสบายใจ คนเกียจคร้านนั้นจึงบอกว่า เราเดินไปไม่ไหว เราอดน้ำมาสามวันแล้ว เพราะฉะนั้น เราจะเข้าอาศัยพักอยู่ในสถานที่นี้ พวกมีมานะไม่เกียจคร้านอุตสาหะเดินไป ก็ถึงต้นมะขามป้อม ได้กินผลมะขามป้อมแล้วก็มีกำลังเดินต่อไป ก้ได้ถึงต้นมะเฟือง ได้กินผลมะเฟืองก็มีกำลังเดินต่อไป ก็ได้บรรลุถึงสระน้ำ ก็ได้อาบได้กินโดยความสบายใจ จนได้บรรลุความสุขสันต์ภิรมย์ สมดังมโนประสงค์ของตน บุคคลเกียจคร้านนั้นก็ถึงแก่ความตายไปในสถานที่นั้น

    เพราะเหตุนั้นจึงว่า บุคคลที่ไม่ศึกษานั้นย่อมประกอบไปด้วยโทษคือความตาย เกิดอยู่ในสังขารทุกข์ ไม่มีกำหนดชาติ ทั้งกันดารลำบากเดือดร้อนต่าง ๆ ฉะนี้ ดังมีนัยพระพุทธฎีกาว่า อิธะ ตัปปะติ อิธะ โมหะติ เปจจะโมหะติ โดยเนื้อความว่า บุคคลจะได้ความเดือดร้อนในโลกนี้แล้ว มิหนำซ้ำไปเดือดร้อนในอบายภูมิทั้ง ๔ อีกนั้น ก็เพราะตนไม่ได้บำเพ็ญกุศลสุจริตไว้ และไม่ได้ศึกษาในศีล สมาธิ ปัญญา ให้เป็นที่พึ่งแก่ตนในกาลก่อน เพราะฉะนั้นจึงได้ประสบแต่อนิฏฐารมณ์ คือความเดือดร้อน ทั้งในอิธโลกและปรโลกฉะนี้ บุคคลที่ไม่เดือดร้อนย่อมมีแต่ความชื่นชมในโลกนี้แล้ว มิหนำซ้ำไปชื่นชมในปรโลกอีกนั้น ก็เพราะท่านได้บำเพ็ญสุจริตไว้ แลได้ศึกษาศีล สมาธิ ปัญญา ไว้ให้เป็นที่พึ่งแก่ตนแต่ในกาลก่อน เพราะฉะนั้นท่านจึงได้ประสบแต่อิฏฐารมณ์ คือความชื่นชมยินดีทั้งในอิธโลกและปรโลกฉะนี้ฯ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๓๓. เนวะเสกขา นาเสกขา ธัมมา

    เบื้องหน้าแต่นี้จะได้แสดงในบบที่ ๓๓ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า เนวะเสกขา นาเสกขา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายจะศึกษาก็ไม่ใช่ จะไม่ศึกษาก็ไม่ใช่ โดยความอธิบายว่า ไม่ต้องศึกษาก็ได้สำเร็จ เป็นขึ้นได้เองตามภูมิที่ ดังมีบุคคลเป็นนิทัศนอุทาหรณ์ว่า พระศรีธาตุราชกุมารไม่ต้องศึกษาก็สำเร็จวิชาการได้หมด ไม่ว่าสรรพวิชาสิ่งใด ๆ ก็ได้สำเร็จได้ทุกประการฉะนั้น ถ้ามิฉะนั้นเปรียบเหตุต้นไม้ไม่มีคนปลูก ขึ้นเอง แต่ไม่ขึ้นทั่วไป เฉพาะขึ้นได้แต่ดินที่อันควร ฉันใดก็ดี มรรคผลธรรมวิเศษจะบังเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยภูมิอันควร มีกิเลสก็ไม่บังเกิด ไม่มีกิเลสก็ไม่บังเกิด เฉพาะบังเกิดขึ้นได้แต่ท่านที่มีบารมีแก่กล้า

ฉะนั้น โดยเนื้อความว่าธรรมในที่นี้ ประสงค์บุคคลที่มีอุปนิสัยเคยได้กระทำมาแต่ในกาลก่อน เพราะเหตุนั้นจึงแปลว่าศึกษาก็ไม่ใช่ ไม่ศึกษาก็ไม่ใช่ ฉะนี้ ดังมีบุคคลเป็นนิทัศน์ตัวอย่าง เมื่อพระกุมารกัสสปได้ฟังพยากรณ์ภาษิต ๑๕ ข้อ ซึ่งมีในธัมมิกปัญหาสูตรนั้น ก็อุตสาหะทรงจำไว้ได้แม่นยำ บริกรรมภาวนามาสิ้นกาลนานแล้ว ก็ยังไม่ได้สำเร็จมรรคผลอันใด ครั้นมาภายหลัง ท้าวมหาพรหมจึงมาถามปัญหาอันนั้นแก่กุมารกัสสป กุมารกัสสปจึงนำปัญหานั้นไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงพยากรณ์ภาษิตปัญหา ๑๕ ข้อตั้งแต่ต้นจนอวสานที่สุด พระกุมารกัสสปก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาปรากฏในพุทธศาสนาดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า เนวะเสกขา นาเสกขา ธัมมา

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๓๔. ปะริตตา ธัมมา

    ในลำดับนี้จะได้แก้ไขในติกมาติกาบทที่ ๓๔ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า ปะริตตา ธัมมา แปลว่า ธรรมมีประมาณน้อย โดยความอธิบายว่า บุคคลผู้มีสติปัญญาน้อยจะเจริญธรรมที่มากก็ไม่ได้ ไม่เป็นผลสำเร็จ พาให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญใจ ดังมีในชาดกว่า พระจุฬบัณถกมีสติปัญญาน้อย ไปเรียนวิชาอยู่ในสำนักแห่งทิศาปาโมขก์อาจารย์ ก็จำอะไรไม่ได้ จำได้แต่ ฆเฏสิ กิงกะระณา อะหังปิ ตัง ชานามิ เท่านั้น ก็ยังเกิดผลให้สำเร็จได้และเป็นนิสัยติดตามมา ครั้นถึงศาสนาของสมเด็จพระพุทธองค์ทรงพระนามว่าสมณโคดม โดยความหวังตั้งจิตก็ได้ไปบวชอยู่ในสำนักแห่งมหาบัณถกผู้เป็นพี่ชาย จะเล่าเรียนอะไรก็ไม่ได้ ให้บังเกิดความเดือดร้อนรำคาญใจ จึงหนีไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า

โดยความหวังตั้งใจว่าจะลาสิกขา ครั้นไปถึงสำนักพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงทราบด้วยพระปัญญาญาณว่า จะได้สำเร็จแก่พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณแต่ธรรมมีประมาณน้อย เพราะฉะนั้นพระองค์จึงผูกพระคาถาให้เจริญบริกรรม ๑๐ อักขระว่า ระโช หะระณัง ระชัง หะระติ ดังนี้ พระจุฬบันถกก็จำได้ อุตสาหะเจริญบริกรรมไป ก็เป็นผลได้สำเร็จพระอรหันต์ได้ เพราะธรรมมีประมาณน้อย แลมีนิสัยน้อยพอควรแก่อารมณ์ ฉะนี้ อีกประการหนึ่ง เมื่อจะได้สำเร็จนั้นก็เพราะจิตที่น้อยลง ๆ ธรรมที่น้อยนั้น ก็เฉพาะมีอารมณ์น้อยลง ๆ เหมือนกัน เปรียบเหมือนสูปังและพยัญชนังที่มีรสอันอร่อยดี ถึงจะมีน้อยก็เป็นที่บริโภคมีกำลัง เพราะรสนั้นถูกต้องกันกับอัธยาศัยของผู้ที่บริโภค เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า ปะริตตา ธัมมา ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๓๕. มะหัคคะตา ธัมมา

    ในบทที่ ๓๕ นั้น พระบาลีว่า มะหัคคะตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเลิศใหญ่ โดยความอธิบายว่า ธรรมที่พระองค์ทรงตรัสเทศนาเป็นอุเทสวารนั้นชื่อว่าธรรมอันเลิศ ครั้นพระองค์ทรงจำแนกออกไปให้มากเป็นนิเทศวารนั้น ชื่อว่า ธรรมอันมาก เพราะฉะนั้นจึงได้แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเลิศใหญ่ฉะนี้ เพราะเหตุว่าพระองค์ทรงอธิบายให้มากออกไปตามวิสัยของบุคคลผู้มีปฏิสัมภิทาญาณ เช่น อย่างพระสารีบุตรได้ฟังแต่พระคาถาบทหนึ่งว่า เย ธัมมา เหตุปัปภะวา เท่านี้ ก็ได้ตรัสรู้แทงตลอดไปได้ถึง ๑,๐๐๐ นัย แลทะลุไปในพระอริยสัจทั้ง ๔ ฉะนี้ เพราะสติปัญญาของท่านมาก เป็นวิสัยของพระอัครสาวกเบื้องขวา เพราะฉะนั้นจึงจะสามารถจะตรัสรู้แทงตลอดถึงมหัคคตธรรมนั้นได้ มหัคคตธรรมกับปริตตธรรมเป็นของคู่กัน เพราะมีธรรมน้อยก่อนแล้วบังเกิดธรรมมาก เช่นพระจุลบันถกได้เรียนคาถาว่า ระโช หะระณัง ระชัง หะระติ และพระสารีบุตรได้ฟังคาถาว่า เย ธัมมา เหตุปัปภะวา เท่านี้ แล้วก็สามารถตรัสรู้แทงตลอดไปในธรรมที่มากนั้นได้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า มะหัคคะตา ธัมมา ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๓๖. อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา

    ในบทที่ ๓๖ นั้น พระบาลีว่า อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นไม่มีประมาณ ญาณปัญญาที่พระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมนั้นก็ไม่มีประมาณ เมื่อจะมีอุปมาเหมือนอย่างพระพุทธเจ้า แลพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลายที่ล่วงไปแล้วนั้น แลยังจะมาในเบื้องหน้านั้นก็ประมาณไม่ได้ ฉันใดก็ดี ธรรมที่แสดงมาทั้งนี้ก็มีอุปไมยเหมือนกันฉะนั้น ที่ท่านประมาณไว้ว่าแปดหมื่นสี่พันพระรรมขันธ์ดังนี้ ก็ประมาณได้โดยสังขิตนัย เพราะเหตุว่าธรรมทั้งหลายที่ได้แสดงมา ตั้งแต่กุสลาเป็นต้นเหล่านี้ เมื่อจะแจกออกไปแต่บทใดบทหนึ่ง ก็ไม่มีที่จะจบลงไปได้ ที่ได้แสดงมาทั้งนี้แต่โดยสังขิตนัย พอควรแก่ความเข้าใจ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะทรงตรัสเทศนาเป็นอุเทสวารแต่โดยย่อ ๆ ฉะนี้ ก็กำหนดได้ถึงสี่หมื่นสองพันพระธรรมขันธ์ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๓๗. ปะริตตารัมมะณา ธัมมา

    ในบทที่ ๓๗ นั้น พระบาลีว่า ปะริตตารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีอารมณ์น้อย โดยความอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายกระทำความยินดีให้น้อยลง หรือกระทำความยินดีให้หมดไป ไม่มีอารมณ์คือว่าอารมณ์ฟุ้งซ่านดังนี้

   พระสกาวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า ธรรมทั้งหลายอย่างไรที่ว่ากระทำให้อารมณ์น้อยลง ไม่กระทำให้อารมณ์ฟุ้งซ่านไป ขอท่านจงได้แสดงเพื่อให้เกิดความเลื่อมใสต่อไป ณ กาลบัดนี้

   พระปรวาทีฯ จึงวิสัชนาว่า มรณธรรรมนี้แลเป็นธรรมที่ยังอารมณ์ให้น้อยลง แลไม่กระทำอารมณ์ให้ฟุ้งซ่านไป อารมณ์จะฟุ้งซ่านไปก็เพราะเหตุที่ได้เห็นรูป ฟังเสียง เป็นต้น เพราะฉะนั้นอารมณ์จึงฟุ้งซ่านไป เมื่อบุคคลผู้ใดมีธรรมเป็นอารมณ์อยู่ในสันดานแล้ว บุคคลผู้นั้นก็มีความยินดีน้อย จัดได้ชื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแลมีอารมณ์อันน้อยลง เป็นผู้ไม่ประมาทมัวเมาไปในอารมณ์ต่าง ๆ ฉะนี้ ดังมีในพระอัปปมาทธรรมที่พระองค์ทรงตรัสถามภิกขุบริษัทว่า ท่านทั้งหลายคิดถึงมรณธรรมวันละเท่าใด ภิกขุองค์หนึ่งจึงทูลว่า ข้าพระองค์คิดถึงความตายในเวลาเมื่อไปบิณฑบาตว่า เรายังไม่ทันจะกลับจากบิณฑบาต ก็จะตายเสียในระหว่างที่เดินไปบิณฑบาตฉะนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะก็ทรงตรัสติเตียนว่า ยังมีความประมาทอยู่ ฉะนี้

ภิกขุองค์หนึ่งจึงทูลว่า ข้าพระองค์คิดถึงมรณธรรมในเวลาเมื่อจะฉันจังหันว่า เรายังไม่ทันจะกลืนอาหารลงไปในลำคอ ก็จะตายเสียในระหว่างกลางที่จะกลืนคำอาหารลงไปดังนี้ สมเด็จพระพุทธองค์ก็ทรงตรัสติเตียนว่า ยังมีความประมาทมากอยู่ ฉะนี้ ภิกขุองค์หนึ่งจึงทูลว่า ข้าพระองค์คิดถึงมรณธรรมตามลมอัสสาสะปัสสาวะว่า เราหายใจออกไปแล้วไม่หายใจกลับเข้ามาก็จะตายเสียในระหว่างลมอัสสาวะปัสสาวะนั้น ดังนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะก็ทรงตรัสสรรเสริญว่า ดูก่อนภิกขุผู้เห็นภัยในชาติ ถ้าท่านปรารถนาจะยังความยินดีให้น้อยลง ก็จงมนสิการกำหนดถึงมรณธรรมตามลมอัสสาสะปัสสานะนี้เถิด ก็จะบังเกิดความสังเวช สลดใจได้ศรัทธาความเชื่อมั่นในพระคุณรัตนะทั้ง ๓ ประการ อันเป็นเครื่องป้องกันสรรพภัยทั้งปวง อันจะเกิดมีมาถึงแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งภายในแลภายนอก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้เห็นภัยในชาติ เมื่อพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายองค์ใดมาระลึกถึงมรณธรรมอยู่เป็นนิตย์อย่างนี้แล้ว พระโยคาวจรเจ้าองค์นั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท และกระทำอารมณ์ให้น้อยลง ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า ปะริตตารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้


ออฟไลน์ ดอกโศก

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 862
  • พลังกัลยาณมิตร 595
    • rklinnamhom
    • ดูรายละเอียด
อนุโมทนาค่ะ

 :13:

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๓๘. มะหัคคะตารัมมะณา ธัมมา

    ในบทที่ ๓๘ นั้น โดยพระบาลีว่า มะหัคคะตารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีอารมณ์มาก ยังอารมณ์ให้ฟุ้งซ่านมากดังนี้ โดยความอธิบายว่า ความยินดีในรูปก็มีมาก ความยินดีในเสียงก็มีมาก ความยินดีในกลิ่นก็มีมาก ความยินดีในรสก็มีมาก ความยินดีในสัมผัสก็มีมาก ความยินดีในธรรมก็มีมาก เมื่อบุคคลผู้ใดมีความยินดีมากในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เหล่านี้แล้ว บุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีอารมณ์มากฉะนี้

    พระสกวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า บุคคลมีความยินดีมากในกามคุณทั้ง ๕ จะมีโทษอย่างไร จะได้แก่บุคคลผู้ใด?
 
    พระปรวาทีฯ จึงวิสัชนาว่า บุคคลมากไปด้วยกามคุณทั้ง ๕ นั้น ย่อมมีโทษเมื่อภายหลัง ดังมีบุคคลเป็นนิทัศนอุทาหรณ์ว่า พระบรมโพธิสัตว์ของเราได้เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสักกมันธาตุราช ในกาลครั้งนั้นมีความปรารถนาจะเรียนวิชาให้สำเร็จ ด้วยหวังพระทัยว่าจะหานางแก้ว ครั้นได้นางแก้วตามความประสงค์แล้ว ก็ปรารถนาเป้นพระบรมจักรพรรดิราชสืบต่อไป ครั้นได้เป็นพระบรมจักรพรรดิราชดังความประสงค์แล้ว ก็ปรารถนาเป็นใหญ่กว่ามนุษย์ในทวีปทั้งสี่สืบต่อไป ครั้นได้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ในทวีปทั้งสี่สมความประสงค์แล้ว ก็ปรารถนาเป็นใหญ่กว่าเทวดาต่อไป ครั้นได้เป็นใหญ่กว่าเทวดาสำเร็จดังความประสงค์แล้ว ก็ปรารถนาเป็นใหญ่กว่าพระอินทร์ต่อไป แต่ไม่สมความประสงค์ กลับตกลงมาจากสวรรค์ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า มะหัคคะตารัมมะณา ธัมมา