ผู้เขียน หัวข้อ: พระอภิธรรมสังคิณีมาติกาบรรยาย : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร  (อ่าน 23281 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๓๙. อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา

 ในลำดับนี้จะได้แสดงในบทที่ ๓๙ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีอารมณ์ไม่มีประมาณ กระทำความยินดีมากไม่มีสิ้นสุด โดยความอธิบายว่า จิตของปุถุชนนั้น อารมณ์ไม่มีประมาณ ยินดีในลาภไม่มีประมาณ ยินดีในยศไม่มีประมาณ ยินดีในความสรรเสริญก็ไม่มีประมาณ ยินดีในความสุขก็ไม่มีประมาณ เพราะฉะนั้นจึงได้ทรงตรัสว่า อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ เมื่อจะชี้ตัวอย่างให้เป็นพยาน ก็ได้แก่นิทานสุนัขจิ้งจอกที่ลักมนต์ของพราหมณ์ไป ก็ปรารถนาเป็นใหญ่กว่าสัตว์ในป่าหิมพานต์ ครั้นได้สำเร็จดังความประสงค์ของตนแล้ว ก็ปรารถนาจะเป็นใหญ่กว่ามนุษย์ ก็หาได้สำเร็จดังความปรารถนานั้นไม่ เพราะตนเป็นสัตว์เดียรัจฉานไม่รู้จักประมาณตน จนแก้วหูแตกตายไปฉะนั้น เพราะฉะนั้นจึงว่าจิตของปุถุชนไม่มีประมาณ สมกับพระบาลีว่า อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๓๙ ก็ยุติลงแต่เพียงนี้ฯ
   

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๔๐. หีนา ธัมมา

     ในลำดับนี้จะได้แสดงในติกมาติกาบทที่ ๔๐ ต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า หีนา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายยังอารมณ์ให้เลวต่ำช้า โดยความอธิบายว่า กามคุณทั้ง ๕ เป็นธรรมอย่างต่ำ กระทำให้สัตว์เลวทราบต่ำช้า สมดังพระบาลีว่า หีโน คาโม โปถุชชะชิโก อะนะริโย แปลว่า ความประกอบในความสุข หีโน เป็นธรรมอันต่ำช้าเลวทราม คาโม เป็นธรรมของชาวบ้าน โปถุชชะนิโก เป็นธรรมของปุถุชน อะนะริโย ไม่ใช่ธรรมของพระอริยเจ้า ดังนี้ โดยความอธิบายว่า กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านี้ เมื่อบุคคลผู้ใดประพฤติให้เป็นไปมากอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านี้ เมื่อบุคคลผู้ใดประพฤติให้เป็นไปมากอยู่ในจิตสันดานแล้ว ก็กระทำให้บุคคลผู้นั้นตกต่ำอยู่ในโลก คือกระทำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้งสามไม่มีกำหนดชาติ ไม่สามารถจะยกตนให้พ้นจากสังสารทุกข์นี้ได้เพราะเป็นโลกียธรรม ยังสัตว์ให้หมุนเวียนไปต่าง ๆ ไม่อาจจะยังตนให้พ้นจากสังสารทุกข์นี้ได้ ดังบุรุษที่มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในภรรยาซึ่งเป็นชู้กับบุรุษผู้เป็นน้องชาย ครั้นน้องชายฆ่าให้ตายแล้วก็ไปบังเกิดเป็นงูเหลือม ครั้นตายจากงูเหลือมแล้วก็ไปบังเกิดเป็นสุนัข ครั้นตายจากสุนัขแล้วก็ไปบังเกิดเป็นโค เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเรือนแห่งภรรยานั้น เพราะโทษแห่งกามคุณ ด้วยเหตุฉะนี้จึงเรียกชื่อว่า หีนาธรรม เป็นธรรมอันพระอริยเจ้าทั้งหลาย อันมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน ไม่ได้สรรเสริญว่าเป็นธรรมอันประเสริฐ ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า หีนา ธัมมา ฉะนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๔๑. มัชฌิมา ธัมมา

    ในบทที่ ๔๑ นั้นมีพระบาลีว่า มัชฌิมา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีอารมณ์เป็นอย่างกลาง ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่ร้อนไม่เย็น โดยความอธิบายว่า อารมณ์นั้นดี ก็ไม่ดี ชั่วก็ไม่ชั่ว เลวก็ไม่เลว ประณีตก็ไม่ประณีต เป็นกลาง ๆ อยู่ เพราะฉะนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะจึงได้ทรงตรัสว่า เป็นหนทางแห่งอริยมรรคทั้ง ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ถ้าจะว่าเป็นอุเบกขาก็ได้อยู่ เพราะอารมณ์นั้นไม่ยินดียินร้าย เปรียบเหมือนเรือข้ามฟากออกจากท่าแล้ว แต่ยังไม่ทันถึงฝั่ง อยู่แต่ในระหว่าง ธรรมที่ชื่อว่า มัชฌิมา นั้นก็ได้แก่อารมณ์ที่ออกจากทุกข์แล้ว แต่ยังไม่ทันถึงสุข ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า มัชฌิมา ธัมมา ดังนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๔๒. ปะณีตา ธัมมา

    ในบทที่ ๔๒ นั้นมีพระบาลีว่า ปะณีตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายประณีต โดยความอธิบายว่า บุคคลที่ตั้งอยู่ในศีล ๕ ศีล ๘ อันเป็นไปกับด้วยพระไตรสรณคมน์นั้น ประณีตกว่าบุคคลที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในศีล ๕ ศีล ๘ อันเป็นไปกับด้วยพระไตรสรณคมน์ พระสกิทาคาประณีตกว่าพระโสดาบัน พระอนาคาประณีตกว่าพระสกิทาคา พระอรหันต์ประณีตกว่าพระอนาคา พระอัครสาวกประณีตกว่าพระปกติสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้าประณีตกว่าพระอัครสาวกทั้งปวง พระพุทธเจ้าประณีตกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ปณีตธรรม เป็นธรรมละเอียดกว่ามัชฌิมาธรรม มัชฌิมาธรรมละเอียดกว่าหีนาธรรม โดยความอธิบายว่า คนหยาบกับคนละเอียดต่างกัน ธรรมที่ชื่อว่าปณีตธรรมนั้น ได้แก่ธรรมของบุคคลผู้มีสติ ดังเรื่องฉัตตาปาณิอุบาสก ขณะกำลังเข้าเฝ้าและฟังธรรมพระบรมศาดาอยู่นั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จมายังที่ประทับของพระพุทธองค์ ฉัตตปาณิอุบาสกจึงคิดว่าเราควรลุกขึ้นต้อนรับพระราชาหรือไม่หนอ หากเราไม่ลุกขึ้นต้อนรับ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็อาจจะทรงกริ้ว แต่หากเราลุกขึ้นต้อนรับ ก็จักได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้ความเคารพพระราชา แต่หาได้เคารพพระบรมศาสดาและพระสัทธรรม (ซึ่งเป็นธรรมอันประณีตกว่า) ไม่ ครั้นคิดแล้วดังนี้ จึงตัดสินใจไม่ลุกขึ้นต้อนรับพระราชา นั่งฟังธรรมในที่อันควรข้างหนึ่งต่อไป แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๔๒ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๔๓. มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา

 ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๔๓ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีทิฏฐิอันผิด เป็นธรรมอันเที่ยงที่จะไปสู่ทุคติ โดยความอธิบายว่า ทิฏฐิอันเห็นผิดนั้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ อุฉเฉททิฏฐิ ๑ สัสสตทิฏฐิ ๑ อกิริยาทิฏฐิ ๑ ความเห็นว่าบุญบาปไม่มี หรือเห็นว่าตายแล้วไม่เกิดสูญไป ทั้งนี้เรียกว่า อุฉเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นของเที่ยงไม่กลับกลอกยักย้ายแปรผันเช่นว่าเดียรัจฉานก็เป็นเดียรัจฉาน เดียรัจฉานไม่กลับเป็นมนุษย์ ความเห็นเช่นนี้เรียกชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่ต้องบำเพ็ญบุญกุศล สิ่งใดถึงกำหนดแล้วก็สำเร็จไปเอง ความเห็นเช่นนี้เรียกชื่อว่า อกิริยทิฏฐิ ทิฏฐิทั้งสามประการเหล่านี้เที่ยงที่จะไปสู่อบายภูมิทั้ง ๔ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา ดังนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๔๔. สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา

    ในบทที่ ๔๔ นั้นมีพระบาลีว่า สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีทิฏฐิอันชอบ แลเป็นธรรมอันเที่ยงที่จะไปสู่นิพพาน โดยความอธิบายว่าทิฏฐิอันชอบมีอยู่ ประการ ทุกขเยยญาณัง ความเห็นในปัญจขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็นทุกข์ ๑ ทุกขสมุททเยยญาณัง ความเห็นในตนว่าเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ๑ ทุกขนิโรธเยยญาณัง ความเห็นในธรรมว่าเป็นเครื่องดับทุกข์ได้จริง ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเยยญาณัง ความเห็นในพระนิพพานว่าเป็นหนทางดับทุกข์ได้ ๑ ความเห็นทั้ง ๔ ประการนี้แล ท่านเรียกชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐินั้นแปลว่า ความเห็นดี เห็นชอบ ความเห็นดีเห็นชอบนี้แลเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ โดยความอธิบายว่า ความเห็นธรรมของจริงเป็นความเห็นชอบ ความเห็นชอบนั้นก็คือ ความเห็นสมมุติว่าเป็นธรรมไม่จริง ธรรมที่โลกสมมุติตามใจนั้นแล เป็นธรรมไม่จริง เมื่อเห็นตามสมมุติ ถอนสมมุติเสียได้แล้วเรียกว่า วิมุติธรรม ที่เป็นวิมุตติธรรมนี้แล เรียกว่า ความเห็นจริงเห็นชอบ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา ดังนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                     

๔๕. อะนิยะตา ธัมมา

    ในบทที่ ๔๕ นั้นมีพระบาลีว่า อะนิยะตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง บุญก็ไม่เที่ยง บาปก็ไม่เที่ยง โดยความอธิบายว่า ปุถุชนนั้น บุญก็กระทำ บาปก็สร้าง แต่ไม่เที่ยงที่จะไปสู่สวรรค์ และไม่เที่ยงที่จะไปสู่นรก เพราะไม่เป็นใหญ่เมื่อเวลาใกล้จะตาย ถ้าบุญส่งให้ก็ไปสวรรค์ ถ้าบาปส่งให้ก็ไปนรก เพราะเหตุฉะนี้จึงแปลว่า เป็นธรรมไม่เที่ยง ในเวลาอสัญกรรมใกล้จะตาย เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะนิยะตา ธัมมา ฉะนี้ฯ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๔๕ ก็ยุติแต่เพียงเท่านี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                       

๔๖. มัคคารัมมะณา ธัมมา

    ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๔๖ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า มัคคารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีพระอริยมรรคเป็นอารมณ์ โดยความอธิบายว่า ธรรมดาว่าพระอริยเจ้าก็ย่อมยินดีแต่ในหนทางของพระอริยเจ้า เหมือนหนึ่งพระโสดาบันท่านก็ยินดีในธรรมที่ท่านละไว้แล้ว ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ ความถือตัวถือตน ๑ วิจิกิจฉา ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย ๑ สีลัพตปรามาส ความลูบคลำในวัตรปฏิบัติอย่างอื่น ๆ ๑ การละธรรมทั้งสามประการนี้เป็นอารมณ์แห่งพระโสดาบันบุคคล พระสกิทาคาก็มีอารมณ์ ๕ พระอนาคาก็มีอารมณ์ ๗ พระอรหันต์ก็มีอารมณ์ ๑๐ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า มัคคารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๔๗. มัคคะเหตุกา ธัมมา

    ในบทที่ ๔๗ นั้นมีพระบาลีว่า มัคคะเหตุกา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องอุดหนุนแก่พระอริยมรรค โดยความอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พระอริยมรรคนั้น มีอยู่ ๓ ประการ ธรรมทั้ง ๓ ประการนั้นก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลนั้นแปลว่า ละเสียจากบาป สมาธินั้นแปลว่า จิตถอนจากบาป ตั้งอยู่ในที่ชอบ ไม่ตกไปในบาป ปัญญานั้นแปลว่า รู้จักกิเลส เครื่องเศร้าหมองไม่มีในจิต จิตไม่ตกไปในกิเลส ความที่รู้ว่ากิเลสเครื่องเศร้าหมองไม่มีในจิต ดังนี้ เรียกชื่อว่า ปัญญา ธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้แล เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พระอริยมรรค หรืออีกประการหนึ่ง ความเห็นเป็นพระไตรลักษณญาณก็จัดว่าปัญญาในที่นี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า มัคคะเหตุกา ธัมมา ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๔๘. มัคคาธิปะติโน ธัมมา   

    ในบทที่ ๔๘ นั้นมีพระบาลีว่า มัคคาธิปะติโน ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นใหญ่ในทางที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพานนั้นก็ได้แก่นิสัยที่แก่กล้า จึงจะดำเนินไปสู่พระนิพพานได้ ถ้านิสัยไม่แก่กล้าแล้ว ก็ดำเนินไปไม่ได้ ธรรมที่เป็นใหญ่ในที่นี้ก็ได้แก่ที่นิสัยอย่างต่ำเพียงแสนมหากัปป์ อย่างยิ่งเพียง ๑๖ อสงไขย ถ้ายังไม่ครบก็ยังเป็นไปไม่ได้ บุคคลที่มีบารมีอ่อนแอ มีนิสัยอ่อนแออยู่นั้น ก็ได้แก่พระจุลกาลได้บรรพชาแล้วก็ต้องสึกออกไปเป็นฆราวาสอีก ดังนี้ บุคคลผู้มีนิสัยบารมีเป็นใหญ่ในที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพานได้นั้น ก็ได้แก่พระมหากาลผู้พี่ชายของจุลกาล ฉะนี้ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๔๘ ก็ยุติลงแต่เพียงเท่านี้ฯ