ผู้เขียน หัวข้อ: พระอภิธรรมสังคิณีมาติกาบรรยาย : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร  (อ่าน 23277 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



๙. เนวะวิปากะนะวิปากธัมมะ ธัมมา

    ในลำดับนี้จักได้แสดงในบทที่ ๙ ว่า เนวะวิปากะนะวิปากธัมมะ ธัมมา นี้สืบต่อไป โดยเนื้อความว่า ธรรมทั้งหลายมิใช่เหตุ มิใช่วิบาก แปลว่าธรรมไม่มีวิบาก ไม่มีเหตุปัจจัยดังนี้ โดยความอธิบายว่า ธรรมที่ไม่มีทั้งเหตุทั้งผล เปรียบเหมือนบุคคลที่นอนหลับฝันไปว่า ได้บริโภคอาหารอิ่มหนำสำราญใจ ครั้งตื่นขึ้นมาแล้วอาหารและความอิ่มในฝันก็หายไปหมด อาหารนั้นได้แก่เหตุ ความอิ่มในอาหารนั้นได้แก่ผล บุคคลที่นอนหลับฝันไปนั้นก็ได้แก่ธรรม คือ เนวะวิปากะนะวิปากธัมมะ ธัมมา ฉะนี้ เมื่อตราบใดธรรมนั้นแสดงให้ตรงกับธรรมชื่อว่า เนวะวิปากะนะวิปากธัมมะ ธัมมา ฉะนี้ก็คือพระนิพพานแล้ว เมื่อยังไม่ถึงพระนิพพานตราบใด ธรรมดวงนั้นก็ต้องอาศัยบุญและบาปที่สัตว์กระทำอยู่ ครั้นถึงพระนิพพานแล้ว บุญและบาปก็สูญไปหมด ดังมีพระบาลีปรากฏว่า เอสะ ธัมโม สะนันตะโน ธรรมดวงเดียวนี้แลเป็นธรรมของเก่า เป็นธรรมเครี่องยินดีของสัตตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน หรือแปลอีกนัยหนึ่งว่า เป็นธรรมของพระอริยเจ้าทั้งหลายที่ท่านได้ข้ามไปแล้วจากกิเลส ฉะนี้ฯ

    พระสกวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า ธรรมดวงเดียวนี้เป็นธรรมของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ข้าพเจ้ามีความสนใจมานานแล้ว ข้าพเจ้าอยากจะเข้าใจโดยง่าย ๆ เพราะฉะนั้นขอความกรุณาให้ท่านปรวาทีฯ จงแสดงอุปมาอุปไมยเพื่อให้เกิดสันนิษฐาน ณ กาลบัดนี้ด้วยเถิด ขอรับ?

    พระปรวาทีฯ จึงแสดงอุปมาว่า ธรรมดวงนี้เปรียบเสมือนหนึ่งบุคคลย้อมผ้าด้วยสีต่าง ๆ มีสีเหลือง ดำ แดง เป็นต้น บุคคลที่ย้อมผ้านั้นก็ได้แก่สังขารนั้นเอง สีต่าง ๆ นั้นก็ได้แก่วิบากกรรม คือ ผลแห่งบุญและบาปนั้นเอง ผ้านั้นก็ได้แก่ธรรมชื่อว่า เนวะวิปากะนะวิปากธัมมะ ธัมมา นี้เอง เมื่อบุคคลย้อมผ้าและสีต่าง ๆ นั้นหายสูญจากไปจากผ้าแล้ว ผ้านั้นก็มีสีขาวบริสุทธิ์อย่างเดิม ปราชญ์ผู้มีวิจารณญาณพึงสันนิษฐานเข้าใจตามนัยพระพุทธภาษิตอันวิจิตรพิศดาร ได้แสดงมาในติกมาติกาบทที่ ๙ แต่โดยสังขิตกถาไว้เพียงเท่านี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๑๐. อุปาทินนุปาทานิยา ธัมมา

   ในลำดับนี้จักได้แสดงติกมาติกาบทที่ ๑๐ สืบต่อไป ตามนัยพระบาลีว่า ปาทินนุปาทานิยา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ทรงไว้ซึ่งธรรมชาติอันเป็นเครื่องกำหนดในอุปทาน คือความเข้าไปถือเอาซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นของถาวรมั่นคง หลงว่าเป็นของดีงาม ถือว่าเป็นของตนจริง ๆ เพราะฉะนั้นจึงได้ถือว่าอุปาทานจักบังเกิดขึ้นได้ ก็อาศัยความไม่รู้จักว่าเป็นโทษ เห็นไปว่าเป็นคุณประโยชน์แก่ตน เพราะฉะนั้นจึงได้หลงรักใคร่พอใจ ชอบใจ แต่อันที่จริงนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ ย่อมให้โทษหลายอย่างหลายประการ โทษของรูปนั้นเป็นต้นว่า หนาวก็เป็นทุกข์ ร้อนก็เป็นทุกข์ อยากข้าวอยากน้ำก็เป็นทุกข์

    ถ้าจะอุปมาให้เห็นชัดแล้ว บุคคลที่ถือรูปว่าเป็นของของตนนั้น ย่อมหลงกระทำแต่บาปกรรม เพื่อนำมาบำรุงซึ่งรูปของตนและรูปของท่านผู้อื่น ครั้นตายไปแล้วก็ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาในอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรกเป็นต้น ก็เพราะเหตุที่เขาถือว่ารูปเป็นของของตนนี้เอง อุปมาเหมือนเวทนาบุคคลที่งูกัดตายฉะนั้น อีกประการหนึ่ง บุคคลที่ถือว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของของตนนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มิใช่ของของตนเพราะเป็น วิปริณามะธรรม รู้ยักย้ายกลับกลายไปต่าง ๆ ก็ยังขืนยึดถือไว้ว่าเป็นของของตน เพราะฉะนั้น บุคคลที่ถือไว้ว่าเป็นของของตนนั้น ก็อยากให้มีแต่ความสุขสบาย ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นกลับกลายร่ำไป แต่บุคคลก็ยังขืนยึดถือเอาไว้ว่าเป็นของของตน เพราะฉะนั้นจึงได้ประสบแต่ความทุกข์ยากลำบากใจหลายอย่างหลายประการ เพราะอุปทานเข้าไปยึดถือไว้ไม่วาง ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


๑๑. อะนุปาทินนุปาทานิยา ธัมมา

    จักได้แสดงในบทที่ ๑๑ สืบต่อไปว่า อะนุปาทินนุปาทานิยา ธัมมา นั้นแปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกำหนดถือเอาซึ่งอารมณ์ที่ไม่พึงถือเอา ดังนี้ โดยความอธิบายว่า โลกธรรมทั้ง ๘ คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทั้ง ๔ เหล่านี้เป็นอิฏฐารมณ์ ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และความทุกข์ ทั้ง ๔ เหล่านี้เป็นอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ทั้ง ๘ เหล่านี้เรียกว่า โลกธรรม เพราะโลกธรรมทั้ง ๘ นี้กระทำใจให้ขุ่นมัววุ่นวายไป ไม่ใช่เครื่องระงับ และกระทำใจให้เดือดร้อนไปต่าง ๆ เพราะฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรงตรัสไว้ว่า อะนุปาทินนุปาทานิยา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่ควรเข้าไปถือเอาเป็นอารมณ์ ดังนี้ เพราะเหตุว่าโลกธรรมทั้ง ๘ เหล่านี้เปรียบเหมือนกงจักรสำหรับดักสัตว์ให้หมุนเวียนไป ให้ได้เสวยทุกขเวทนาต่าง ๆ ดังเปรตที่ต้องกงจักรตัดศรีษะ แต่สัตว์ทั้งหลายเห็นว่าโลกธรรมทั้ง ๘ เหล่านี้เป็นความสุข ก็เช่นเดียวกันกับโลกธรรมทั้ง ๘ ที่กระทำสัตว์ให้วุ่นวายเดือดร้อนไป เสวยแต่ความทุกขเวทนา ดังนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๑๒. อะนุปาทินนานุปาทานิยา ธัมมา

   ในบทที่ ๑๒ ว่า อะนุปาทินนานุปาทานิยา ธัมมา นั้นแปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกำหนดถึงธรรมที่ควรพึงถือเอาและธรรมที่ไม่ควรพึงถือเอา ดังนี้ โดยความอธิบายว่า ธรรมที่ควรจะพึงถือเอานั้นก็คือ พระอริยมรรคทั้ง ๘ ประการ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนี้เอง ส่วนธรรมที่ไม่ควรพึงถือเอานั้นคือโลกธรรมทั้ง ๘ นั้นเอง โดยเนื้อความในพระบาลีว่า ไม่ถือซึ่งโลกธรรมทั้ง ๘ และถือเอาพระอริยมรรค ๘ เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า อะนุปาทินนานุปาทานิยา ธัมมา ฉะนี้ แก้ไขมาในติกมาติกา บทที่ ๑๒ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 27, 2013, 11:54:17 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๑๓. สังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา

   จักได้แสดงในติกมาติกาที่ ๑๓ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า สังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา เป็นต้น แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้ โดยความอธิบายว่า บุคคลบางจำพวกได้วิตกคิดไปถึงบุคคลที่ได้ฆ่าคน ที่ได้ลักของของตนไป ที่ได้กระทำล่วงเกินลูกเมียของตน ที่ได้หลอกลวงตน ดังนี้ เหตุ ๔ ประการนี้ย่อมเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งสิ้น เปรียบเหมือนหนึ่งเหตุ ๔ ประการนี้ย่อมเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งสิ้น เปรียบเหมือนหนึ่งตั๊กแตนที่ยินดีในไฟ ถูกร้อนเข้าจึงได้รู้ว่าเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นจึงได้สมกับพระบาลีว่า สังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา ฉะนี้ แต่เดิมทีนั้นจิตก็เศร้าหมองอยู่แล้ว ยังไปคิดเอาอารมณ์เศร้าหมองมาประสมกันด้วยจิตที่เศร้าหมองนั้นอีก จิตก็ยิ่งเศร้าหมองทวีขึ้นไปฉะนี้ แสดงติกมาติกาในบทที่ ๑๓ มาพอสมควรแล้ว จึงขอยุติไว้แต่เพียงนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๑๔. อะสังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา

    จักได้แสดงติกมาติกาในบทที่ ๑๔ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อะสังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่ประกอบไปด้วยจิตอันเศร้าหมองแล้ว และไปคิดเอาแต่อารมณ์ที่ไม่เศร้าหมอง ดังนี้ โดยความอธิบายว่า บุคคลบางจำพวกที่มีจิตอันเศร้าหมองแล้ว แต่ได้คิดถึงคุณพระรัตนตรัยว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้ง ๓ รัตนะนี้ ถ้าใครได้นับถือแล้ว อิจฉิตัง ปัตถิตัง ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็สามารถให้สำเร็จได้ทุกประการ โดยความอุปมาว่า บุคคลที่ว่ายน้ำไป ย่อมคิดถึงแต่ศีล ทาน การกุศลของตนให้เป็นอารมณ์ เปรียบเหมือนอุปพุทธเป็นนิทัศนอุทาหรณ์ว่า อุปพุทธนั้นเดิมเป็นคนยากจนเข็ญใจ ทั้งประกอบไปด้วยโรคาพยาธินั้นก็มาก ทั้งทุกข์ยากลำบากเหลือที่จะประมาณ แต่เขาได้ยึดคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเป็นอารมณ์อยู่เป็นนิตย์ ครั้นภายหลังได้บริโภคธัญญสมบัติ สรรพโรคาพยาธิก็หายไปหมด เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะสังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                      

๑๕. อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา

    จักได้แสดงติกมาติกาในบทที่ ๑๕ สืบต่อไป โดยนับพระบาลีว่า อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา ดังนี้ แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันทรงไว้ซึ่งจิตที่ไม่เศร้าหมอง ความคิดนึกก็คิดนึกในธรรมที่ไม่เศร้าหมอง ดังนี้ โดยความอธิบายว่า จิตที่เป็นกิริยาประกอบไปด้วยธรรม อันเป็นเครื่องถอนออกเสียซึ่งธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องเศร้าหมองอยู่ในสันดาน เปรียบเหมือนหนึ่งทารกไม่มีความยินดีในกามคุณแต่ไปบรรพชา บรรพชาก็เป็นเครื่องกำจัดเสียจากกามคุณ เพราะฉะนั้นจึงสมกับบาลีว่า อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา ซึ่งแปลว่า ธรรมก็ไม่เศร้าหมอง จิตก็ไม่เศร้าหมอง ความคิดนึกในธรรมารมณ์ก็ไม่เศร้าหมองฉะนี้ แก้ไขในบทติกมาติกาที่ ๑๕ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ


                       

๑๖. สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา

      ในลำดับนี้จักได้แสดงติกมาติกาในบทที่ ๑๖ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา เป็นต้น แปลว่า ธรรมทั้งหลายเป็นไปกับวิตกและวิจารณ์ วิตกและวิจารณ์ทั้ง ๒ นี้ โดยความอธิบายว่า บุคคลที่มีวิจารณ์ตรึกตรองไปต่าง ๆ นั้น เปรียบเหมือนหนึ่งพระโสดาบันท่านวิจารณ์ไปว่า สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามานขาดไปแล้ว ไม่มีอยู่ในสันดานของเราแล้ว จะคิดเป็นประการใดหนอ จึงจะสละกามฉันทะ พยาบาท ได้ฉะนี้ ความตรึกตรองไปเช่นนี้เรียกชื่อว่าวิจารณ์ แล้วท่านจึงวิตกไปว่า กามฉันทะ พยาบาท ก็ยังมีอยู่ในสันดานของเรา เราจะคิดเป็นประการใดหนอ เราจึงสละกามฉันทะ พยาบาทไปได้ ฉะนี้

    พระสกวาทีฯ จึงขออุปาอุปไมยต่อไปอีกว่า ข้าแต่ท่านปรวาทีฯ ความข้อนี้ข้าพเจ้ายังมีความสงสัยอยู่ เพราะฉะนั้นขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงอุปมาอุปไมยอีกต่อไป

    พระปรวาทีฯ จึงได้แสดงอุปมาอุปไมยว่า เปรียบเหมือนหนึ่งพ่อค้าลงทุนหากำไร การค้าขายนั้นมีกำไรมากอยู่แล แต่ว่าวิตกไป กลัวบุคคลผู้อื่นเขาจะมาแบ่งซึ่งค้าขายฉะนี้ ถ้ามิฉะนั้นเปรียบเหมือนท่านทายก อุบาสก อุบาสิกาที่ได้โอกาสถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และพิจารณาทดลองของบริโภคเครื่องไทยทานของตนก็เห็นว่าดีแล้ว และคิดไปว่าพระท่านจะชอบหมดทุกองค์ หรือว่าจะไม่ชอบบ้างเป็นประการใด คอยตรวจตราแลดู เพิ่มเติมเปรี้ยวหวานมันเค็มเป็นต้นอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล เรียกว่าวิตกวิจารณ์ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


               

๑๗. อะวิตักกะ วิจาระมัตตา ธัมมา

    ในบทที่ ๑๗ ว่า อะวิตักกะ วิจาระมัตตา ธัมมา นั้นแปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องทรงไว้ซึ่งจิต มาตรว่ามีแต่วิจารณ์ วิตกไม่มี ดังนี้ โดยความอธิบายว่าบุคคลที่กระทำกุศลสุจริต จิตไม่วอกแวกหวั่นไหวแลคิดไปว่าเป็นบุญเป็นกุศลแล้วก็ก้มหน้ากระทำไป มิได้เคลือบแคลงกินแหนงเมื่อภายหลัง ดังบุคคลผู้ชำนาญในการดูเงิน ที่ดีก็ว่าดี ที่แดงก็ว่าแดง เพราะเชื่อมือเชื่อตาของตนฉะนั้น

    พระสกวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า บุคคลมีแต่วิจารณ์ไม่มีวิตกดังนี้ ข้าพเจ้ามีความสงสัยว่า เมื่อบุคคลไม่มีวิตก แล้วจะเอาวิจารณ์มาแต่ไหนเล่า ขอพระผู้เป็นเจ้าแสดงอุปมาอุปไมย เพื่อให้เกิดความเข้าใจอีกต่อไป

    พระปรวาทีฯ จึงได้แสดงอุปมาอุปไมยว่า บุคคลมีแต่วิจารณ์ วิตกไม่มีนั้น เปรียบเหมือนหนึ่งหัวปลีแห่งกล้วย เมื่อเดิมทีนั้นเป็นหัวปลีอยู่ กล้วยหามีไม่ เมื่อปลีนั้นกลายเป็นกล้วยแล้ว เจ้าของกล้วยก็ตัดเอาปลีไปเสีย กล้วยก็แก่ไปทุกวัน เขาก็เรียกว่ากล้วย เขาหาได้เรียกว่าหัวปลีไม่ ดังโลกโวหารที่พูดกันอยู่ว่า บุคคลผู้นั้นกระทำสิ่งใด ๆ ไม่ได้ตรึกตรอง กระทำตามความชอบใจของตนดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะวิตักกะ วิจาระมัตตา ธัมมา

                     


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2012, 10:01:14 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


                 

๑๘. อะวิตักกาวิจารา ธัมมา

    ในบทที่ ๑๘ ว่า อะวิตักกาวิจารา ธัมมา นั้นแปลว่า ธรรมทั้งหลายที่ทรงไว้ซึ่งจิตอันไม่ตกวิจารณ์ ดังนี้ โดยความอธิบายว่า บุคคลจำพวกหนึ่งจะกระทำสิ่งไรก็ไม่ตรึกตรอง ไม่พิจารณา เมื่อเขาว่าดีก็ดีตาม มีแต่ความเชื่ออย่างเดียว
    พระสกวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า บุคคลที่ไม่มีวิตกวิจารณ์ มีแต่ความเชื่ออย่างเดียวนั้นคือใคร ผู้ใดเล่าเป็นตัวอย่าง?

    พระปรวาทีฯ จึงนำบุคคลมาแสดงเพื่อเป็นนิทัศนอุทธาหรณ์ว่า เมื่อพระอานันทะไปกระทำกายคตาสติกรรมฐาน พิจารณาซึ่งอาการ ๓๒ เป็นอนุโลมปฏิโลม ครั้งนั้นก็ยังไม่สำเร็จอาสวักขัยไปได้เพราะวิตกไปถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเชื่อคำพยากรณ์ภาษิตที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า อาตมาจะได้สำเร็จอาสวักขัยในวันนี้ ก็เหตุไฉนยังไม่สำเร็จเล่า อย่ากระนั้นเลยชะรอยว่าความเพียรจะกล้าไป จำอาตมาจะได้พักผ่อนเอนกายเสียสักหน่อยเถิด พอคิดว่าจะจำวัดเอนกายลง ก็หมดความวิจารณ์ถึงอาการ ๓๒ และหมดความวิตกถึงพระพุทธองค์ก็ได้บรรลุอาสวักขัย ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ ด้วยมาตัดวิตกวิจารออกไปเสียได้ฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะวิตักกาวิจารา ธัมมา ซึ่งแปลว่า ธรรมอันหมดวิตกวิจารณ์ฉะนี้ นักปราชญ์ผู้มีวิจารณญาณก็พึงสันนิษฐานโดยสังเขปกถาพอป็นธรรมสวนานิสงส์แต่เพียงนี้ฯ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2012, 10:08:11 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


ภาพพิธีล้างหน้าพระมหามัยมุนี ตอนตี 5 ซึ่งชาวเมืองมัณฑะเลย์จะทำพิธีทุกเช้า

๑๙. ปีติสะหะคะตา ธัมมา

    ณ บัดนี้ จะได้แสดงในติกมาติกาบทที่ ๑๙ เป็นปุญญานุสนธิสืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า ปีติสะหะคะตา ธัมมา เป็นต้น แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันร่วมมาด้วยปีติ ปีตินั้นมีลักษณะ ๕ ประการ คือ ฆนิกาปีติ ๑ อุทกาปีติ ๑ โอกัณติกาปีติ ๑ อุเพงคาปีติ ๑ ผรณาปีติ ๑ ฆนิกาปีตินั้นบังเกิดเป็นขณะ เมื่อบังเกิดดุจหนึ่งว่าสายฟ้าแลบ อุทกาปีตินั้นบังเกิดน้อย เมื่อบังเกิดดุจหนึ่งคลื่นกระทบฝั่ง โอกัณติกาปีตินั้น เมื่อบังเกิดขึ้นกระทำให้กายหวั่นไหว อุเพงคาปีตินั้น เมื่อบังเกิดขึ้นก็กระทำให้ขนพองสยองเกล้า แล้วกระทำให้กายลอยไปบนอากาศได้ ผรณาปีตินั้น เมื่อบังเกิดขึ้นก็ทำให้ซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย เปรียบเหมือนบุคคลที่ได้บริโภคโภชนาหารอันโอชารสต่าง ๆ ฉะนั้น ปีตินั้นแปลว่าอิ่มใจ เป็นที่ยินดีของสัตว์ที่เป็นโลกวิสัยนี้ทั่วไป

    พระสกวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า ปีตินั้นแปลว่าอิ่ม บุคคลที่ได้บริโภคโภชนาหารอันโอชารสต่าง ๆ ก็อิ่ม ได้ลาภที่ชอบใจก็อิ่ม จิตที่ฟุ้งซ่านไปก็อิ่ม จิตที่ระงับก็อิ่ม เรียกว่าปีติ ปีติในที่นี้จะว่าอิ่มด้วยอะไร?

    พระปรวาทีฯ จึงวิสัชนาว่า ปีติในที่นี้แปลว่าอิ่ม เพราะมิได้มีความกังวลอีกต่อไป ดังบุคคลที่หิวอาหารจัด ก็เที่ยวแสวงหาอาหารตามชอบใจของตน ครั้นได้บริโภคอาหารอิ่มแล้ว ก็สิ้นความกังวล ไม่ต้องแสวงหาอีกต่อไป เปรียบเหมือนหนึ่งพระวักลิภิกขุ มีความหวังตั้งใจจะดูพระพุทธเจ้าให้อิ่มใจ เมื่อไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าก็มีความโทมนัสเสียใจ ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว จิตใจที่โทมนัสนั้นก็หายไป ความอิ่มอย่างนี้แลเรียกว่าปีติ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า ปีติสะหะคะตา ธัมมา