ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล  (อ่าน 59723 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #50 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 12:46:22 am »



ลำดับนั้น  ภิกษุฟัตตัต  ได้ยกเรื่องอื่นขึ้นมาถามต่อไปว่า พระสูตรได้กล่าวว่า "นับตั้งแต่พระสาวกขึ้นไปจนถึงพระโพธิสัตว์  แม้ท่านเหล่านี้จะได้พยายามจนสุดกำลัง  ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจทั่วถึงในพุทธธรรม" ดังนี้ แต่ใต้เท้า  ได้ทำให้กระผมเข้าใจว่า แม้คนธรรมดาเราถ้าเข้าใจแจ่มแจ้งถึงใจของตนเอง เขาก็ได้ชื่อว่าลุถึงพุทธธรรมแล้ว  ดังนี้  กระผมเกรงไปว่า  ยกเว้นพวกที่เฉียบแหลมอย่างยิ่งเสียแล้ว  คนนอกนั้นจะสงสัยไม่เชื่อคำสอนของใต้เท้า ยิ่งกว่านั้น  ในสูตรมีกล่าวถึงยาน 3 ชนิด คือเกวียนเทียมด้วยแพะ (สาวกยาน)เกวียนเทียมด้วยกวาง (ปัจเจกพุทธยาน)  และเกวียนเทียมด้วยวัว (โพธิสัตว์ยาน) แล้วก็ยานทั้งสามนี้ ผิดแปลกแตกต่างไปจากเกวียนวัวขาวได้อย่างไรเล่า?

       พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ในข้อนี้  พระสูตรได้แสดงไว้ชัดเจนแล้ว ท่านเองต่างหากที่เข้าใจผิด เหตุผลที่ว่า  ทำไมพระสาวก พระปัจเจกพุทธะและพระโพธิสัตว์  ไม่สามารถเข้าใจในพุทธธรรมได้ ก็เพราะท่านเหล่านั้นเพ่งจ้องต่อพุทธธรรม  ท่านเหล่านั้นสามารถประมวลกำลังความเพียรทั้งหมดเพื่อเพ่งก็จริง แต่เขายิ่งเพ่งหนักเข้าเท่าไร  เขาก็ยิ่งห่างออกไปจากธรรมนั้นมากขึ้นเพียงนั้น  พระโคตมะพุทธเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้  แก่คนธรรมดาทั่วไป  มิใช่ตรัสแก่พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆด้วยกัน  แต่สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับเอาคำสอนที่พระองค์ทรงแนะให้  พระองค์ก็ปล่อยให้เขาหลุดไปจากหมู่  ดูเหมือนท่านจะยังไม่ทราบว่า  เพราะเราได้นั่งอยู่บนเกวียนวัวขาวเรียบร้อยแล้ว  เราก็ไม่มีความจำเป็น  ที่จะออกเที่ยวแสวงหางเกวียนอื่นอีกสามชนิดเหล่านั้น ยิ่งกว่านั้น  พระสูตรก็ได้บอกแก่ท่านอย่างแจ่มแจ้งแล้วว่า มีพุทธยานเท่านั้น ไม่มียานอื่นที่ไหนอีก  ในฐานะเป็นยานที่สองที่สาม  เพราะเหตุที่จะให้เราเข้าใจในยานอันเอกอันนี้เอง พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนเรา  ด้วยวิธีที่พระองค์ทรงช่ำชองมาแล้ว  มีปริยายต่างๆ ทรงใช้เหตุผลและข้อถกเถียง มีปริยายต่างๆ พร้อมทั้งนิทานเปรียบและภาพเปรียบ  และอื่นๆ ทำไมท่านจึงไม่อาจเข้าใจได้ว่ายานทั้งสามเหล่านั้น  เป็นของสมมุติให้เด็กเล่น  สำหรับใช้กับเรื่องที่ล่วงไปแล้ว ส่วนยานอันเอกคือพุทธยานนั้น เป็นของชั้นยอดเยี่ยม  และเพื่อใช้กับเรื่องในปัจจุบันๆ

        พระสูตรได้สอนให้ท่านตั้งหน้าบำเพ็ญไปโดยไม่ต้องเป็นห่วงถึงของสมมุติให้เด็กเล่นเหล่านั้น  และให้เพ่งตรงไปยังของชั้นสูงสุดอย่างเดียว เมื่อถึงขั้นสูงสุดแล้ว  ท่านก็จะพบว่า  สิ่งที่เรียกกันว่า "ชั้นสูงสุด" นี้ ก็มิได้มีอยู่เลย  ท่านจะรู้สึกเห็นด้วยในข้อที่ว่า ท่านเองผู้เดียว  เป็นเจ้าของสิ่งอันสูงค่าเหล่านี้  และสิ่งเหล่านี้ มันขึ้นอยู่กับการจัดการทำของท่านเองล้วนๆ*40 เมื่อใดท่านเปลื้องตัวออกมาเสียได้จากการนึกเดาเอาเองว่า  สิ่งเหล่านี้เป็นของพ่อหรือเป็นของลูกๆ หรือว่ามันอยู่ที่การจัดการทำของคนนั้นคนนี้  เมื่อนั้นแหละท่านจะได้ชื่อว่าดำเนินการสาธยายพระสูตรไปโดยถูกทาง  เมื่อทำได้ดังนี้ พระสูตรก็จะชื่อว่า  อยู่ในกำมือของท่านทุกกัปป์ทุกกัลป์  และท่านก็จะชื่อว่าสาธยายพระสูตรทุกเช้าเย็น  ตลอดทุกเวลาทีเดียว


*40การที่อ้างถึงบท "นิยายอุปมา"  ในพระสูตร เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นในข้อที่ว่าพุทธธรรมมีอยู่ในคนทุกคนแล้ว ผู้แปลไทย พุทธทาส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2012, 12:19:17 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 12:55:07 am »



ที่มาภาพ จาก :http://www.asomsanti.com/forums/viewtopic.php?f=4&t=126

เมื่อภิกษุฟัตตัตได้รับคำสั่งสอนจนเห็นแจ้งเช่นนั้น  ได้กล่าวสรรเสริญพระสังฆปริณายก 
ด้วยความปลาบปลื้มใจเป็นล้นพ้น  ด้วยโศลกเหล่านี้ว่า:-


 ความสำคัญผิดว่าเราได้รับกุศลเป็นอันมากในการสาธยายพระสูตร
มากกว่าสามพันครั้ง
ได้ถูกขับไล่ไปหมดด้วยคำพูดคำเดียว ของ ท่านอาจารย์แห่งสำนักโซกาย*41
ผู้ที่ไม่เข้าใจในความมุ่งหมายของการที่  พระพุทธ   บังเกิดขึ้นในโลกนี้
ย่อมเป็นผู้   ไม่สามารถ   ข่มขี่กิเลสร้าย อันตนได้สะสมมา เป็นชาติๆ
ยานสามชนิด ซึ่งเทียมด้วยแพะ กวาง และวัว ตามลำดับ นั้นจะเป็นเพียงของเด็กเล่นไปเอง
ในเมื่อ  ระดับทั้งสาม คือ ชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสุด อันเป็นของที่อธิบายกันอยู่ในชั้นที่
เรียนธรรมะไปตามแบบแผน
ได้ถูกจัดทำไปจนถึงที่สุดแล้ว จริงๆ
น้อยคนเหลือเกิน ที่จะยอมเห็นด้วย ว่า ในเรือนที่ไฟกำลังจะไหม้นั่นเอง
มีพระธรรมราชา ซึ่งเราจะหาพบได้




พระสังฆปริณายก  ได้กล่าวแก่ภิกษุฟัตตัตต่อไปว่า  ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป
ภิกษุฟัตตัตควรจะเรียกตัวเองว่า  "ภิกษุผู้สาธยายพระสูตร" ได้แล้ว
หลังจากการสนทนากันครั้งนี้ ภิกษุฟัตตัตก็สามารถ
จับฉวยเอาใจความอันลึกซึ้ง
ของพระพุทธศาสนาได้

และเธอยังคงสาธยายพระสูตรไปดังเช่นก่อน


*41 อาจารย์แห่งสำนักโซกาย  ก็คือ พระสังฆปริณายก ผู้แปลไทย พุทธทาส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2013, 01:58:26 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 12:58:25 am »

ภิกษุชิท็อง  เป็นชาวบ้านชูเจาแห่งอานฟุง ได้อ่านลังกาวตารสูตรมาเกือบพันครั้ง

 แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายของตรีกาย  และปรัชญาทั้งสี่
  เหตุนั้น จึงได้ไปหาพระสังฆปริณายก ให้ช่วยอธิบายความ

        พระสังฆปริณายกได้ให้คำอธิบายว่า ในกายทั้งสามนั้น 
ธรรมกายอันบริสุทธิ์  ก็คือ ตัวธรรมชาติตัวแท้ของท่าน  นั่นเอง 

สัมโภคกายอันสมบูรณ์ ก็คือ ตัวปรีชาญาณของท่าน 
ส่วนนิรมานกายนับด้วยหมื่นแสน ก็คือ การกระทำกรรมต่างๆของท่าน
 

ถ้าท่านจะให้กายทั้งสามนี้  เป็นของต่างหากจากจิตเดิมแท้ 
มันก็เกิดมี  "กายซึ่งปราศจากปัญญา"  ขึ้นมาเท่านั้นเอง 

ถ้าท่านเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า  กายทั้งสามนี้ ไม่มีตัวตน
แท้จริงของมันเอง อะไรที่ไหนอีก

(เพราะมันเป็นแต่เพียงสมบัติของจิตเดิมแท้) ดั่งนี้แล้ว 
ท่านก็จะลุถึงโพธิของปรัชญาสี่ประการโดยแน่นอน จงฟังโศลกของฉัน

ดังต่อไปนี้:-

กายทั้งสามมีอยู่แล้ว ในจิตเดิมแท้ของเรา
ซึ่งโดยการงอกงามของจิตเดิมแท้  นั่นเอง ปรัชญาทั้งสี่ก็ปรากฏตัว

เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านไม่ต้องหลับตาหรืออุดหูของท่าน
เพื่อหลีกเลี่ยงอารมณ์ภายนอก

ท่านก็สามารถเข้าถึง   พุทธภาวะ   ได้โดยจังๆหน้ากับอารมณ์
เมื่อข้าพเจ้าได้อธิบายแก่ท่านอย่างเปิดเผย (จนเห็นเอง) เช่นนี้แล้ว

จงเชื่ออย่างแน่วแน่เถิด  ท่านจะหลุดพ้น จากความหลงตลอดไป
อย่าไปตามคน พวกที่แสวงหา  "การตรัสรู้" จากภายนอก

คนพวกนี้ พูดถึงโพธิ อย่างพร่ำเพรื่อ (แต่ตัวยังไม่เคยรู้เห็นเสียเลย)


ภิกษุชิท็อง  ได้ขอร้องต่อไปว่า  "ขอใต้เท้าได้กรุณาให้กระผมทราบข้อความ  อันเกี่ยวกับปรัชญาทั้งสี่นั้นบ้างเถิด" พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ถ้าท่านเข้าใจในเรื่องกายสามนี้แล้ว  ท่านก็จะเข้าใจในเรื่องปรัชญาทั้งสี่ได้เอง  ฉะนั้น  คำถามของท่านเป็นของไม่จำเป็น  ถ้าท่านทำให้ปรัชญาทั้งสี่อยู่ต่างหาก จากกายทั้งสามเสียแล้ว  ก็จะเกิดมี ปรัชญาซึ่งปราศจากกายขึ้นโดยแน่นอน ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้ มันหาใช่เป็นปรัชญาไม่

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 01:00:42 am »


พระสังฆปริณายก ได้กล่าวโศลกอื่นต่อไปอีกว่า:-


        "ปัญญาอันเปรียบด้วยกระจกส่อง"  นั้นบริสุทธิ์อยู่เอง  โดยธรรมชาติ

"ปัญญาเห็นความเสมอภาค"  นั้น ย่อมเปลื้องจิต เสียจากเครื่องกั้นทั้งปวง

"ปัญญา   เครื่องเห็น  สิ่งทั้งปวง"  นั้น  เห็น  สิ่งทั้งปวง  แจ่มแจ้ง
โดยไม่ต้อง
อาศัย  แนวแห่ง  เหตุและผล

"ปัญญา  เครื่องกระทำ  สิ่งทั้งปวง"  นั้น  มีลักษณะอย่างเดียว
กันกับ
"ปัญญา  อันเปรียบด้วย  กระจกส่อง"



        วิญญาณทั้งห้าข้างต้น*42 และอาลัยวิญญาณ*43 
ย่อม  "แปรรูป"
เป็น  ปรัชญา  ในขั้นที่  ตรัสรู้เป็นพุทธะ
 

อย่างเดียวกับที่  กลิษตมโนวิญญาณ*44  และ มโนวิญญาณ*45 
แปรรูปเป็น   ปรัชญา   ในขั้นที่   เป็นโพธิสัตว์*46

  คำที่เรียกว่า  "การแปรรูปของวิญญาณ"  ดังที่กล่าวนี้
เป็นเพียงการเปลี่ยนชื่อ   ที่ใช้เรียกเท่านั้น   ส่วน  ตัวจริง หามีอะไรเปลี่ยนไม่*47 

เมื่อใดท่านสามารถ  เปลื้อง ตัวเองให้หมดจด  จากความผูกพัน   ของโลกิยารมณ์

ในขณะที่   มี "การแปรรูปของวิญญาณ"
  ดังกล่าวมาแล้ว 

เมื่อนั้นท่านชื่อว่า   ตั้งอยู่ใน นาคสมาธิ อันทยอยกันเกิดขึ้นติดต่อกันไป  ตลอดกาลเนืองนิจ


*42 วิญญาณห้า คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ฯลฯ  ผู้อธิบายจีน

*43 วิญญาณคลังใหญ่ หรือวิญญาณโลก  ผู้อธิบายจีน

*44 วิญญาณเฉพาะตน  ผู้อธิบายจีน

*45 วิญญาณคิดนึก  ผู้อธิบายจีน

*46 ในระยะที่หนึ่ง คือระยะ "มุทิตา"  อันเป็นระยะที่โพธิสัตว์พิจารณาเห็นความว่างเปล่าของตัวตน  และของสิ่งทั้งปวงอย่างแจ่มแจ้ง นั่นเองที่ท่าน  "แปรรูป" กลิษตมโนวิญญาณ ไปเป็น  "ปัญญาเครื่องรู้สิ่งทั้งปวง"  เมื่อมีการบรรลุ  พุทธภาวะวิญญาณห้าข้างตน  จะถูก  "แปรรูป" ไปเป็น  ปัญญาเครื่องกระทำสิ่งทั้งปวง และอาลัยวิญญาณ  เป็น "ปัญญาเปรียบด้วยกระจกส่อง"  ผู้อธิบายจีน

*47 ในจิตเดิมแท้  ไม่อาจมีสิ่งที่เรียกกันว่า  "การแปรรูป"  เมื่อคนตรัสรู้ธรรมก็ใช้คำว่า "ปัญญา"  เมื่อยังไม่ตรัสรู้ใช้คำว่า  "วิญญาณ"  หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คำว่า  "การแปรรูป"  คำนี้ใช้เป็นเครื่องเปรียบ  หรือภาพพจน์ เท่านั้น  ผู้อธิบายจีน

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #54 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 01:02:30 am »


ภิกษุชิท็อง  ได้ฟังคำอธิบายนี้  ได้มีความเห็นแจ้งในปรัชญา
แห่งจิตเดิมแท้ในขณะนั้นเอง  และได้กล่าวโศลกแก่พระสังฆปริณายกดังต่อไปนี้:-


แน่นอนเหลือเกิน  กายทั้งสาม มีอยู่ ในจิตเดิมแท้

เมื่อใจเรา รู้ธรรม สว่างไสว  ปรัชญาทั้งสี่ ก็ปรากฏเด่นอยู่ในนั้น

เมื่อใด กายและปรัชญาเหล่านั้น  เกิดความรู้แจ้ง ซึ่งกันและกัน ว่าเป็น ของ อันเดียวกัน

เมื่อนั่นเราก็สามารถตอบสนองคำขอร้องของสัตว์ทั้งปวง
(โดยเหมาะสม
แก่อุปนิสัยและอารมณ์ของสัตว์นั้น) ไม่ว่าสัตว์นั้นๆจะอยู่ในรูปร่างใด

การเริ่มต้นปฏิบัติ  ด้วยการ แสวงหา กายสามและปรัชญาสี่  นั้น
เป็นการ ถือเอาทางที่ผิด  โดยสิ้นเชิง 

(เพราะเมื่อ  สิ่งเหล่านี้  มีอยู่ ในเราเองแล้ว  เรื่องของมัน--ก็คือทำให้  เห็นแจ้ง  ออกมา
ไม่ใช่เที่ยววิ่ง  แสวงหา)
                                                                                                                                                           
การพยายามจะ  "จับฉวย"  หรือ "กุมตัว" สิ่งเหล่านี้  เป็นการกระทำ
ที่ขัดขวางต่อ ธรรมชาติแท้ ของมัน อย่างตรงกันข้าม

เพราะได้อาศัยใต้เท้าแหละขอรับ  บัดนี้กระผมจึงสามารถ  จับใจความ  อันลึกซึ้ง  ของมันได้.

และตั้งแต่นี้ต่อไป กระผมสามารถ สลัดทิ้ง ความเท็จเทียมและชื่อต่างๆที่หลงตั้งขึ้นเรียก
ตามโมหะของตนๆตลอดนิจกาล*48


*48 บันทึก  เมื่อจับใจความของคำสอนได้แล้ว  ผู้ปฏิบัติก็ตั้งหน้าบำเพ็ญไปได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่ใช้เรียกสิ่งนั้นๆ เพราะว่าชื่อทั้งหมดเป็นเพียงของสมมุติให้เด็กเล่นเท่านั้นเอง (แม้สุดแต่ชื่อว่า มรรค ผล นิพพาน ฯลฯ) ผู้คัดลอกจีน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2010, 01:09:36 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #55 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 03:54:07 am »

    พระภิกษุ ชิซ็วง  เป็นชาวบ้านตำบลไกวกายแห่งชุนเจา  เข้ามาบวชตั้งแต่เป็นเด็ก  และเเข็งขันในการพากเพียรเพื่อการเห็นแจ้งจิตเดิมแท้  วันหนึ่งภิกษุรูปนี้ได้มานมัสการพระสังฆปริณายก  และถูกท่านสังฆปริณายกถามว่า มาแต่ไหน และมาทำไม

        ภิกษุ ชิช็วง ได้ตอบว่า  "เมื่อไม่นานมานี้  กระผมได้ไปที่ภูเขาผาขาวในเขตฮุงเจา เพื่อสนทนากับพระอาจารย์ต้าตุง  ผู้ที่สามารถพอจะสอนกระผมให้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้  และลุถึงพุทธภาวะด้วยเหตุนั้น  แต่เพราะเหตุที่กระผมยังคงมีความสงสัยอยู่หลายประการ  จึงอุตส่าห์เดินทางมาไกลถึงที่นี่เพื่อนมัสการพระอาจารย์  ขอได้โปรดอธิบายข้อสงสัยเหล่านั้น  แก่กระผมด้วยเถิด

        พระสังฆปริณายกได้ถามขึ้นว่า  เขาได้แนะนำท่านว่าอย่างบ้างเล่า?

        ภิกษุ ชิช็วง เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้พักอยู่ที่นั่นจนถึงสามเดือนแล้วโดยมิได้รับคำแนะนำอย่างใดเลย   และมีความกระหายในธรรมแรงกล้าขึ้นทุกที  คืนวันหนึ่งกระผมลำพังผู้เดียว  ได้เข้าไปในห้องของท่านอาจารย์ต้าตุงนั้น  และถามท่านว่าจิตเดิมแท้ของผมคืออะไร  ท่านถามว่า  "เธอมองเห็นความว่างอันไม่มีขอบเขตจำกัดไหม?" 

กระผมตอบท่านว่า "มองเห็น"  ท่านถาม ต่อไปว่า  ความว่างที่ว่านั้น มีรูปร่างเฉพาะของมันเองหรือไม่?  ครั้นกระผมตอบว่า  ความว่างย่อมไม่มีรูปร่าง  ฉะนั้น  จึงไม่มีรูปร่างโดยเฉพาะของมันเอง  ดังนี้แล้ว  ท่านกล่าวต่อไปว่า  "จิตเดิมแท้ของเธอ"  เป็นเหมือนกับความว่างอย่างตรงเผ็งที่เดียวละ  การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า  ไม่มีสิ่งใดเลย  ที่เราอาจมองพบตัวมัน  นี่คือ "ทิฏฐิอันถูกต้อง" 

การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า  ไม่มีสิ่งใดเลยที่เราอาจรู้จักมัน (ให้ถูกต้อง) ได้ นี่แหละคือ "ความรู้อันถูกต้อง" การเห็นอย่าแจ่มแจ้งว่า มันไม่ใช่เขียว  มันไม่ใช่เหลือง  มันไม่ใช่สั้น มันไม่ใช่ยาว ว่ามันเป็นของบริสุทธิ์อยู่โดยธรรมชาติ  และว่าเนื้อแท้ของมันนั้น  สมบูรณ์และสดใส  นี่แหละคือการเห็นแจ้งจิตเดิมแท้  และลุถึงพุทธภาวะได้ด้วยเหตุนั้น  ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  "ธรรมะที่ทำให้คนเป็นพระพุทธะ" แต่กระผมไม่เข้าใจคำสอนของท่านอาจารย์ต้าตุงเสียเลย ขอใต้เท้ากรุณาทำความแจ่มแจ้งให้แก่กระผมด้วยเถิดขอรับ

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  คำสอนของท่านผู้นั้นชี้ชัดอยู่แล้วว่าเขายังมีความรู้สึกที่นึกเอาเอง  ในเรื่องอันเกี่ยวกับ  "ทิฏฐิ" และ  "ความรู้" เหลืออยู่  และอันนี้เอง  ที่ส่อให้เห็นว่า  ทำไมเขาจึงไม่สามารถทำความกระจ่างให้แก่ท่านได้  จงฟังโศลกของฉันดังต่อไปนี้:-

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #56 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 03:56:32 am »




การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า  ไม่มีสิ่งใดเลย  ที่เราอาจมองพบตัวมัน 
แต่แล้วก็ยังคง เก็บเอา ความรู้สึกว่า  "ความไม่อาจจะมองเห็นได้"  ไว้อีก

ข้อนี้  เปรียบเหมือนกับดวงอาทิตย์  ที่ถูกบังอยู่ด้วยเมฆที่ลอยมาขวางหน้า
การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีสิ่งใดเลย  ที่เราอาจจะรู้จักมันได้
แต่แล้วก็เก็บเอา
  ความรู้สึกว่า "ความที่ไม่อาจจะรู้ได้"  ไว้อีก

ข้อนี้ อาจเปรียบกันได้กับท้องฟ้าแจ่มแจ้ง แต่เสียรูปไปเพราะสายฟ้าแลบ
การปล่อยให้ความรู้สึก นึกเอาเองเช่นนี้  เกิดขึ้นตามสบายในใจของท่าน
ย่อมแสดงว่า  ท่านไม่รู้จักจิตเดิมแท้อย่างถูกต้องด้วย  ทั้งไม่มีเครื่องมืออะไร 
ที่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้ท่านรู้ได้ด้วย
ถ้าท่านรู้อย่างแจ้งฉาน  แม้เพียงขณะเดียวเท่านั้นว่า ความรู้สึกที่นึกเอาเองเช่นนี้
 เป็นความผิดใช้ไม่ได้แล้ว
แสงสว่างภายในจิตของท่านเอง  จะลุกโพลงออกมาอย่างถาวร



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2012, 01:05:41 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #57 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 03:57:51 am »




เมื่อได้ฟังดังนั้น ภิกษุ ชิช็วง  รู้สึกว่า  ใจของตนได้สว่างไสวในขณะนั้นเอง
เพราะเหตุนั้น
เธอจึงกล่าวโศลกแก่พระสังฆปริณายก ดังต่อไปนี้:-

การยอมให้ความรู้สึกว่า  "ความไม่อาจจะมองเห็นได้"  และ  "ความไม่อาจจะรู้ได้"
เกิดขึ้นในใจ ตามความพอใจของตัวนั้น

เป็นการแสวงหาโพธิ  โดยไม่ต้องเปลื้องตัวเองไห้อิสระจากความคิดต่างๆ
ที่ตนเดาเอาเอง  ในเรื่องอันเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวง

ผู้ที่ผยองพองตัว ด้วยความรู้สึกอันเบาเต็งว่า "บัดนี้เรารู้แจ้งแล้ว" นั้น
ก็ยังไม่ดีไปกว่าเมื่อเขายังไม่รู้สึกอะไรเลย

ถ้าหากข้าพเจ้าไม่ได้มาหมอบอยู่แทบเท้าของพระสังฆปริณายก
ข้าพเจ้าก็ยังคงงงงัน  ไม่รู้จะเดินทางไหนถูกอยู่นั่นเอง

ในวันหนึ่ง  ภิกษุ ชิช็วง  ได้ถามพระสังฆปริณายกว่า  พระพุทธองค์ได้ประกาศคำสอน
เรื่อง "ยานสามชนิด"  และเรื่อง  "ยานชั้นสูงสุด" ไว้ด้วย
แต่กระผมไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้  ขอให้ใต้เท้าจงกรุณาอธิบายเถิด"



พระสังฆปริณายกได้ตอบว่าในการพยายามเพื่อเข้าใจเรื่องเหล่านี้ ท่านควรจะ
ส่องดูที่ใจของท่านเอง
และทำตัวต่อสิ่งทั้งปวง ในภายนอก อย่างมีอิสระ

ความแตกต่างระหว่างยานทั้งสี่ชนิด มิได้อยู่ที่ตัวธรรมะ แต่อยู่ที่ความแตกต่าง
ของใจคนที่จะปฏิบัติธรรมะ


การดู การฟัง  การท่องพระสูตร  เป็นยานขนาดเล็ก
การรู้ธรรมและเข้าถึงความหมายเป็นยานขนาดกลาง

การเอาธรรมะ  ที่รู้นั้น  มาปฏิบัติจนเป็นปกติวิสัย นี่คือยานขนาดใหญ่
การเข้าใจธรรม  ทั้งปวง  อย่างปรุโปร่ง ได้ดื่มรสธรรมะ  นั้น  อย่างสมบูรณ์

เป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง มีใจอยู่เหนือสิ่งทั้งปวง และไม่ถืออะไรไว้

โดยความเป็นของของตน นี่แหละคือยานอันสูงสุด


เนื่องจากคำว่า "ยาน" (พาหนะ)  คำนี้ หมายถึง  "เครื่องเคลื่อน" (กล่าวคือ
การน้อมนำมาปฏิบัติ)
ดังนั้น  ข้อโต้แย้งในเรื่องนี้  ไม่มีความจำเป็นเสียเลย

ทั้งหมดทั้งสิ้น มันขึ้นอยู่กับการฝึกฝนตัวเอง ดังนั้น ท่านไม่จำเป็นจะต้องถามปัญหาใดๆอีกเลย
แต่ฉันขอเตือนท่านให้ระลึกไว้ว่า  ตลอดทุกกาลเวลา   จิตเดิมแท้นั้นคงดำรงอยู่

ในภาวะแห่ง  "ความเป็นเช่นนั้น" อยู่เสมอ

    ภิกษุ ชิช็วง  แสดงความเคารพและขอบคุณพระสังฆปริณายก จำเดิมแต่นั้นมา
ท่าน  ได้ทำตน  เป็นผู้ปรนนิบัติพระสังฆปริณายก  จนตลอดชีวิตพระสังฆปริณายก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2011, 01:49:49 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #58 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:00:16 am »

ทะเลสาปโตบา สุมาตรา อินโดนีเซีย

ภิกษุ ฉิต่าว เป็นชาวเมืองน่ำหอยแห่งกวางตุ้ง  ได้มาหาพระสังฆปริณายก  เพื่อขอคำแนะนำตักเตือน  ได้กล่าวแก่พระสังฆปริณายกว่า "นับแต่กระผมได้บวชมานี้ กระผมได้อ่านมหาปรินิวาณสูตรมากว่า 10 ปีแล้ว แต่กระผมก็ยังไม่สามารถจับฉวยเอาใจความสำคัญของสูตรนั้นได้  ขอใต้เท้าได้โปรดสอนแก่กระผมด้วยเถิด

        พระสังฆปริณายกได้ถามว่า  พระสูตรตอนไหนเล่า ที่ท่านยังไม่เข้าใจ?

        ภิกษุ ฉิฉ่าว จึงกล่าวตอบว่า  "ข้อความในพระสุตรตอนที่กระผมไม่เข้าใจนั้นมีว่า "สิ่งทุกสิ่งไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร  ดังนั้น  สิ่งทั้งปวงจึงตกอยู่ใต้อำนาจ ของธรรมที่เป็นความเกิดขึ้น และความแตกดับ(กล่าวคือสังขตธรรม) เมื่อความเกิดขึ้นและความแตกดับมาสิ้นสุดลงด้วยกัน  ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์*49 และความสิ้นสุด ของการเปลี่ยนแปลง (กล่าวคือนิพพาน) ย่อมปรากฏขึ้นมา

   พระสังฆปริณายกได้ถามว่า  อะไรเล่าที่ทำให้ท่านสงสัย?

        ภิกษุ ฉิต่าว ได้ตอบว่า  สิ่งที่มีชีวิตทั้งปวงย่อมมีกาย 2 กาย กล่าวคือ กายเนื้อและกายธรรม กายเนื้อไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร  มันมีอยู่  และตายไป. ส่วนกายธรรมนั้น ตั้งอยู่อย่างถาวร, ไม่รู้อะไร ไม่มีความรู้สึกอะไร. ทีนี้ ในพระสูตรกล่าวว่า "เมื่อความเกิดขึ้น" และความแตกดับ สิ้นสุดลงด้วยกัน ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลง (กล่าวคือนิพพาน) ย่อมปรากฏขึ้นมา"  ดังนี้ กระผมไม่เข้าใจได้เลยว่า  กายไหนสิ้นสุดลง  และกายไหนยังอยู่เพื่อดื่มรสแห่งศานตินั้น. มันเป็นไปไม่ได้ที่กายเนื้อจะดื่มรสแห่งศานติ  เพราะว่าเมื่อมันตาย  มหาภูตะทั้งสี่ (วัตถุธาตุ กล่าวคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) จะกระจัดกระจายจากกัน และการกระจัดกระจายจากกันนั้น  เป็นความทุกข์ล้วนๆ และตรงกันข้ามจากศานติสุขโดยสิ้นเชิง ถ้าหากว่าเป็นธรรมกายที่สิ้นสุดลงไป  แล้วมันก็จะตกอยู่ในลักษณะเช่นเดียวกันกับสิ่งที่ "มิใช่สัตว์" ซึ่งได้แก่ ผักหญ้า ต้นไม้ ก้อนหิน และอื่นๆ ฯลฯ  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว  ใครเล่าจะเป็นผู้ดื่มรสแห่งศานตินั้น

       ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สภาวะธรรมดา ย่อมเป็นหัวใจหรือตัวการ ของความเกิดขึ้น และความแตกดับ.  อันแสดงตัวออกมาในรูปของขันธ์ทั้งห้า (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หรือถ้าจะกล่าวกันอย่างง่ายๆ ก็คือว่า มีตัวการแต่ตัวเดียว  แต่อาการของมันมีถึงห้าอย่างนั่นเอง  กระแสแห่งการเกิดขึ้นและการแตกดับนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด  เมื่ออาการหรือการทำตามหน้าที่ยัง  "มีออกมา" จากตัวการนั้นแล้ว  กระแสนั้นก็ไหลไปเรื่อย, เมื่อการปฏิบัติงานหรืออาการนั้น ถูก "ดูด" กลับคืนไปยังตัวการ  กระแสก็หยุดไหล  เมื่อการถือกำเนิดใหม่ยังมีได้อยู่เพียงใด  ก็ย่อมไม่มี  "การสิ้นสุดแห่งความเปลี่ยนแปลง"  อยู่เพียงนั้น  ดังจะเห็นได้ไนกรณีของสัตว์มีชีวิตทั่วไป.  ถ้าการถือกำเนิดใหม่  ไม่เข้ามาแทรกแซงแล้ว, สิ่งต่างๆก็จะอยู่ในสภาพของสิ่งที่ไร้ชีวิต  ดังเช่นวัตถุต่างๆ  ที่ไม่มีชีวิตทั้งหลาย  เมื่อเป็นดังนี้แล้ว, ภายในขอบเขตอันจำกัดเฉียบขาดของนิพพานนั้น  ย่อมมีไม่ได้แม้แต่ความมีอยู่ ของสัตว์  เช่นนี้แล้ว  จะมีความเปรมปรีดิ์ (ในการดื่มรสของนิพพาน) อะไรกันได้เล่า?

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  ท่านก็เป็นบุตรคนหนึ่งของพระชินะพุทธ (คือเป็นภิกษุ)  ทำไมจึงมารับเอกความเห็นผิดแห่งสัสตทิฏฐิ  และอุจเฉททิฏฐิ ของพวกเห็นผิดนอกพุทธศาสนา,  และทั้งกล้าตำหนิคำสอนของลัทธิอุตตรยาน?


*49ความหยุดได้โดยสมบูรณ์ หมายถึงความที่หลุดพ้นจากเครื่องปรุงแต่ง  คือ พ้นอำนาจของอวิชชา  ตัณหา นั่นเอง และหมายถึง นิพพาน ผู้แปลไทย พุทธทาส

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #59 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:01:26 am »

Ice Flowers

  ข้อแย้งของท่านยืนยันว่า มีกายธรรมอยู่ต่างหากจากกายเนื้อ,  และว่า "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์"  และ "ความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง"  นั้นต้องแสวงหาจากที่อื่นนอกไปจาก  "ความเกิดขึ้นและความแตกดับ"  ยิ่งกว่านั้น  จากข้อที่กล่าวว่า  "นิพพานเป็นความเปรมปรีดิ์ไม่มีที่สิ้นสุด" นั่นเอง ท่านเชื่อโดยการพิสูจน์เอาว่า ต้องมีใครคนใดคนหนึ่ง  ที่ทำหน้าที่เป็นผู้เปรมปรีดิ์.

        ความเห็นผิดเหล่านี้เอง มิใช่อื่น ที่ทำให้คนทั้งปวงทะเยอทะยานอยากเกิดเป็นสัตว์ชนิดที่มีอวัยวะรู้รสของอารมณ์. และปรนปรือตัวเองด้วยความเพลิดเพลินอย่างวิสัยโลก.  และเพื่อคนเหล่านี้. ซึ่งเป็นเหยื่อของอวิชชา; ซึ่งถือว่าการประชุมของข้นธ์ทั้งห้า เป็นตัวตน และถือสิ่งนอกนั้นว่ามิใช่ตัวตน; ซึ่งหลงรักการเกิดของตัว  และเกลียดชังความตาย  อย่างสุดจิตสุดใจ; ซึ่งลอยไปมาอยู่  ในวังวนของความเกิด  และความตาย

 โดยไม่มีการสำนึกถึงความว่างกลวงไร้แก่นสารของโลกียภพ ซึ่งเป็นแต่เพียงความฝันหรือมายา; ซึ่งทำความทุกข์ขึ้นใส่ตัวเองโดยไม่จำเป็น  ด้วยการพ่วงตัวเองเข้ากับสังสารวัฏแห่งการเวียนเกิด; ซึ่งเข้าใจผิดต่อภาวะแห่งความแปรมปรีดิ์ ไม่มีที่สิ้นสุดของนิพพาน ในฐานะเป็นความทุกข์อีกแบบหนึ่ง; และซึ่งแล่นตามหาความเพลิดเพลินจากอารมณ์อยู่เนืองนิจ.  เหล่านี้เองแท้ๆ ที่พระพุทธองค์ผู้ทรงพระมหากรุณา  ได้ทรงแสดงศานติอันแท้จริงของนิพพานไว้ให้เขาโดยจำเพาะเจาะจง.

        ไม่ว่าในขณะใดหมด  นิพพานย่อมไม่มีปรากฏการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง, หรือแห่งการแตกดับ.  ไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ ของความเกิดขึ้นและความแตกดับ.  นิพพานเป็นการแสดงออกของ "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์  และความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง"  แต่แม้ในขณะแห่งการแสดงออกนั้น  ก็ไม่มี  "ความเห็น"  ว่าเป็นการแสดงออก, ดั่งนั้นจึงถูกเรียกว่า  "ความเปรมปรีดิ์อันไม่รู้จักหมดสิ้น"  ซึ่งไม่ต้องมีตัวผู้เปรมปรีดิ์หรือผู้ไม่เปรมปรีดิ์  แต่อย่างใด.

        ไม่มีสิ่งใดที่จะกล่าวได้ว่า  "มีตัวการอยู่ตัวหนึ่ง  แล้วมีอาการของมันห้าอย่าง"  เหมือนที่ท่านยืนยัน, ท่านกำลังกล่าวป้ายร้ายพระพุทธองค์ และกำลังใส่ร้ายพระธรรม  โดยที่ท่านไปไกลจนถึงกับกล่าวว่า  ภายใต้ขอบเขตอันจำกัดเฉียบขาดของนิพพาน  ย่อมมีไม่ได้  แม้แต่ความมีอยู่ของสัตว์ทุกชนิด.  จงฟังโศลกของฉันดังต่อไปนี้:-