ผู้เขียน หัวข้อ: มิลินทปัญหา  (อ่าน 107302 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #190 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 05:33:37 pm »


ปัญหาที่ ๗ เรื่องอายุพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี

สมเด็จพระบรมกษัตริย์ตรัสถามว่า
"ข้าแต่พระนาคเสน ด้วยสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า

" ดูก่อนอานนท์ บัดนี้พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปี เท่านั้น "
แต่ในเวลาจะปรินิพพาน สุภัททปริพาชก ทูลถาม ได้ตรัสอีกว่า

" ดูก่อนสุภัททะ ถ้าพระภิกษุเหล่านี้ยังปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #191 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 05:37:06 pm »


คำนี้เป็นคำไม่มีเศษ เป็นคำเด็ดขาด

ถ้าสมเด็จพระบรมโลกนาถได้ตรัสไว้ว่า " โลกจักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย " ดังนี้เป็นคำจริงแล้ว คำที่ว่า " บัดนี้พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น " ก็ผิด

ถ้าคำว่า " พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น " เป็นคำถูก คำที่ว่า " โลกจักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น " ก็เป็นคำผิด
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้โยมสิ้นสงสัยด้วยเถิด "

พระนาคเสนถวายวิสัชนาว่า
" ขอถวายพระพร ถูกทั้งสอง คือคำที่สมเด็จพระชินวรตรัสไว้ว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น ก็เป็นคำที่ถูก ส่วนที่ตรัสไว้ว่า ถ้าภิกษุเหล่านั้นยังปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายนั้นก็ถูก

คำทั้งสองนั้นมีอรรถพยัญชนะต่างกัน คำหนึ่งเป็น สาสนปริจเฉท คือ เป็นคำกำหนดพระศาสนา อีกคำหนึ่งเป็น ปฏิปัตติปริทีปนา คือ เป็นการแสดงซึ่งปฏิบัติ เป็นอันว่าคำทั้งสองไกลกันมาก ไกลกันเหมือนแผ่นดินกับแผ่นฟ้า เหมือนนรกกับสวรรค์ เหมือนกุศลกับอกุศล และเหมือนทุกข์กับสุขฉะนั้น

แต่ว่าอย่าให้พระดำรัสถามของมหาบพิตรเป็นโมฆะเลย อาตมาภาพจักแสดงคำทั้งสองนั้น ให้เข้าเป็นอันเดียวกันได้

คือคำที่ตรัสว่า " พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีนั้น " เป็นการกำหนดความตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม คือถ้าภิกษุณีไม่บรรพชา พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ถึง ๕,๐๐๐ ปี เมื่อพระตถาคตเจ้าตรัสอย่างนี้ ชื่อว่าตรัสถึงความอันตรธานแห่งพระสัทธรรม หรือชื่อว่าปฏิเสธการบรรลุมรรคผล อย่างนั้นหรือ...มหาบพิตร ? "
" ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า "

" ขอถวายพระพร เมื่อสมเด็จพระชินวรจะทรงกำหนดสิ่งที่หมดไปแล้ว จะทรงกำหนดสิ่งที่ยังเหลืออยู่ ก็ได้ทรงกำหนดไว้อย่างนั้น เหมือนอย่างบุรุษกำหนดของที่หมดไป ถือเอาของที่เหลือขึ้นแสดงแก่ผู้อื่นว่า ของเราหมดไปแล้วเท่านั้น นี้เป็นส่วนที่ยังเหลืออยู่ฉันใด เมื่อสมเด็จพระจอมไตรจะทรงกำหนดพระศาสนาที่หมดไป ก็ได้ทรงแสดงส่วนที่ยังเหลืออยู่ในท่ามกลางเทพยดามนุษย์ทั้งหลายว่า บัดนี้พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น

คำว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่เพียง ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น เป็น สาสนปริจเฉท คือเป็นการกำหนดพระศาสนา ส่วนคำที่ตรัสไว้ในเวลาจะปรินิพพานว่า " ถ้าภิกษุเหล่านี้ยังปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย " ดังนี้นั้น เป็น ปฏิปัตติปริทีปนา คือเป็นการแสดงซึ่งปฏิบัติ

ขอมหาบพิตรจงทรงกระทำ ปริทีปนา กับ ปริจเฉท ให้เป็นอันเดียวกัน ถ้ามหาบพิตรพอพระทัย อาตมาภาพจักแสดงถวายให้เป็นอันเดียวกัน ขอมหาบพิตรอย่ามีพระทัยวอกแวก จงตั้งพระทัยสดับให้จงดีเถิด "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #192 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 05:40:24 pm »


อุปมาดังสระน้ำ

เมื่อพระนาคเสนถวายพระพรอย่างนี้แล้วจึงถวายพระพรต่อไปว่า

" เหมือนอย่างสระน้ำเต็มเปี่ยมด้วยน้ำใหม่มีน้ำเต็มเสมอปากขอบสระ เมื่อเมฆใหญ่ทำให้ฝนตกลงมาที่สระนั้นเนือง ๆ น้ำในสระนั้นจะแห้งจะหมดไปหรือไม่ ? "
" ไม่แห้งไม่หมด พระผู้เป็นเจ้า "

" เพราะอะไร มหาบพิตร "
" เพราะฝนยังตกลงมาอยู่เนือง ๆ น่ะซิ พระผู้เป็นเจ้า "

" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือสระใหญ่อันได้แก่พระสัทธรรมที่เป็นพระศาสนาของสมเด็จพระชินสีห์ เต็มเปี่ยมด้วยน้ำใสสะอาด คือ อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ได้ตรัสมรรคภาวนาไว้แล้ว ผู้ใดกระทำให้ฝนคือ อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ ตกลงมาเนือง ๆ ผู้นั้นได้ชื่อว่าได้อบรมมรรคภาวนาไว้แล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้นสระใหญ่ คือ พระสัทธรรม อันเป็นพระศาสนาสูงสุดของสมเด็จพระบรมสุคต ก็จักตั้งอยู่ตลอดกาลนาน โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายความอย่างนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่าถ้าภิกษุเหล่านี้ยังปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #193 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 05:42:32 pm »


อุปมาเหมือนกองไฟใหญ่

" ขอถวายพระพร เมื่อกองไฟใหญ่กำลังลุกรุ่งเรืองอยู่ มีคนทั้งหลายเอาหญ้าแห้ง ไม้แห้ง มูลโคแห้ง มาทิ้งเข้าในกองไฟใหญ่นั้นเรื่อย ๆ ไป กองไฟใหญ่นั้นจะดับไปหรือไม่ ? "
" ไม่ดับเลย พระผู้เป็นเจ้า มีแต่จะลุกใหญ่เท่านั้น "

" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระศาสนาอันประเสริฐของพระศาสดา ได้สว่างรุ่งเรืองอยู่ในหมื่นโลกธาตุ ด้วย อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ ถ้าศากยบุตรพุทธชิโนรสยังประกอบด้วยองค์ของผู้มีความเพียร ยังฝึกฝนดี ยังไม่ประมาท ยังเต็มใจใน ไตรสิกขา ยังทำสิกขาให้บริบูรณ์ ทำจารีตและสีลสัมปทา ให้บริบูรณ์พระศาสนาก็ยังจักตั้งอยู่ตลอดกาลนาน โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายความอย่างนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่า ถ้าภิกษุเหล่านี้ยังปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #194 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 05:44:55 pm »


อุปมาเหมือนกระจก

" อีกประการหนึ่ง กระจกอันบุคคลขัดดีแล้ว ทำให้ผ่องใสดีแล้ว และมีผู้ขัดอีกเนือง ๆ กระจกนั้นจะมัวหมองได้หรือไม่ ? "
" ไม่มัวหมอง พระผู้เป็นเจ้า มีแต่จะผ่องใสยิ่งขึ้นไป "

" ขอถวายพระพร ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละคือพระศาสนาของสมเด็จภควันบรมศาสดาผ่องใสอยู่เป็นปกติ คือไม่มัวหมองด้วยกิเลสตัณหาแต่อย่างใด ถ้าพระพุทธบุตรเหล่านั้นศึกษาพระศาสนาอันประเสริฐนั้นไว้ให้ผ่องใส ด้วย อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ สัลเลข ธุดงคคุณ อยู่แล้ว พระศาสนาก็จะตั้งอยู่ตลอกกาลนาน โลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระพุทธศาสนามีการปฏิบัติเป็นราก มีการปฏิบัติเป็นแก่น ตั้งอยู่ได้ด้วยการปฏิบัติ "

" ข้าแต่พระนาคเสน ข้อว่า พระสัทธรรมอัตรธานนั้น มีอยู่กี่ประการ ? "


ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #195 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 08:26:07 pm »
 :yoyo078: :yoyo106: :yoyo106:
*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #196 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 07:38:18 am »

อันตรธาน ๓ ประการ

" ขอถวายพระพร อันตรธานนั้น มีอยู่ ๓ ประการ คือ
๑. อธิคมอันตรธาน
๒. ปฏิปัตติอันตรธาน
๓. ลิงคอันตรธาน

เมื่อ อธิคมอันตรธาน แล้ว ถึงมีผู้ปฏิบัติดี ก็ไม่มีธรรมาภิสมัย คือการได้รู้ยิ่งซึ่งธรรม
เมื่อ ปฏิปัตติอันตรธาน แล้ว สิกขาบทบัญญัติก็อันตรธาน ยังเหลือแต่เพศเท่านั้น
เมื่อ ลิงคอันตรธาน แล้ว ก็ขาดประเพณี คือความสืบต่อแห่งเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนา
อันตรธานมีอยู่ ๓ ประการเท่านี้แหละ มหาบพิตร "

" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้ทำปัญหาอันลึกให้ตื้นแล้ว
ได้ทำลายข้อยุ่งยากแล้ว ได้ทำให้ถ้อยคำของผู้อื่นหมดไปแล้ว
พระผู้เป็นเจ้ามาถึงแล้ว ซึ่งความเป็นผู้องอาจในหมู่คณะอันประเสริฐ "

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #197 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 08:04:00 am »

ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องสำเร็จสัพพัญญุตญาณ

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
" ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระตถาคตเจ้าทรงเผาอกุศลสิ้นแล้ว จึงถึงพระสัพพัญญุตญาณ หรือว่าเผาอกุศลยังไม่สิ้นแต่ถึงพระสัพพญญุตญาณ? "

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้าเผากุศลทั้งปวงสิ้นแล้ว จึงถึงพระสัพพัญญุตญาณ การที่จะเผาอกุศลที่ยังเหลืออยู่ ไม่มีอีกเลย "

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ทุกขเวทนาเคยเกิดในพระกายของพระพุทธเจ้าบ้างหรือไม่ ? "
" เคยเกิด มหาบพิตร คือครั้งประทับที่กรุงราชคฤห์ พระบาทได้ถูกสะเก็ดศิลา ครั้งทรงจำพรรษาที่เวฬุวคาม ก็ทรงเกิดโลหิตปักขันทิกาพาธ หมอชีวกก็ถวายยาประจุ อีกครั้งหนึ่งเกิดพระอาพาธลม พระอานนท์ก็ได้เที่ยวหาน้ำร้อนมาถวาย "

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสถามต่อไปว่า
"ถ้าพระตถาคตเจ้าเผาอกุศลทั้งปวงสิ้นแล้ว จึงสำเร็จพระสัพพัญญุตญาณ คำที่ว่า "พระอาพาธเกิดในพระสรีรกายของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า" นั้นก็ผิด

ถ้าคำว่า "พระอาพาธเกิดในพระสรีรกายของพระพุทธเจ้านั้นถูก" คำว่า
"พระตถาคตเจ้าเผาอกุศลทั้งปวงสิ้นแล้ว จึงสำเร็จพระสัพพัญญุตญาณ" นั้นก็ผิด
บุคคลย่อมได้เสวยทุกขเวทนานอกจาก กรรม ไม่มี กรรมเท่านั้นเป็นมูลราก
บุคคลได้เสวยเวทนาเพราะกรรมเท่านั้น
ปัญหาอันเป็นอุภโตโกฏินี้
ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงกำจัดเสียซึ่งความสงสัยเถิด "

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #198 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 08:13:07 am »
 
เหตุให้เกิดทุกขเวทนามี ๘

" ขอถวายพระพร ไม่ใช่ว่าเวทนาทั้งปวงมีกรรมเป็นมูลรากทั้งนั้น
เพราะเหตุที่จะให้เกิดเวทนาอันเป็นทุกข์นั้นมีอยู่ ๘ ประการ คือ

๑. ทุกขเวทนามีลมเป็นสมุฏฐาน
๒. ทุกขเวทนามีดีเป็นสมุฏฐาน
๓. ทุกขเวทนามีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
๔. ทุกขเวทนามีประชุมลม ดี เสมหะเป็นสมุฏฐาน

๕. ทุกขเวทนามีการเปสี่ยนฤดูเป็นสมุฏฐาน
๖. ทุกขเวทนามีการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอเป็นสมุฏฐาน
๗. ทุกขเวทนามีการกระทำของผู้อื่นเป็นสมุฏฐาน
๘. ทุกขเวทนาอันเกิดด้วยผลแห่งกรรม

บุคคลเหล่าใด ถือว่าเกิดด้วยผลแห่งกรรมเดียว ไม่เกี่ยวกับเหตุ ๘ นี้ คำพูดของคนเหล่านั้นผิดไป "

" ข้าแต่พระนาคเสน ทุกขเวทนาอันมีสิ่งทั้ง ๘ นี้เป็นสมุฏฐาน ก็เป็นอันว่า มีกรรมเป็นสมุฏฐานทั้งนั้น เกิดด้วยกรรมทั้งนั้น"

#212

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #199 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 08:34:38 am »

เหตุให้ ลม ดี เสมหะ กำเริบ

" ขอถวายพระพร ถ้าทุกขเวทนาเหล่านั้นมี กรรม เป็นสมุฏฐาน สิ่งเหล่านั้นก็ไม่ต้องมีลักษณะต่างกัน แต่นี่มีลักษณะต่างกัน คือ

ลม เมื่อจะกำเริบก็กำเริบด้วยเหตุ ๑๐ อย่าง อันได้แก่ กำเริบด้วยเย็น ร้อน หิว กระหาย กินมากเกินไป ยืนนานเกินไป เพียรมากเกินไป วิ่งเร็วเกินไป การกระทำของผู้อื่น และผลแห่งกรรม๙ อย่างข้างต้น จะเกิดขึ้นในอดีต อนาคตก็หาไม่ ย่อมเกิดแต่ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรกล่าวว่า เวทนาทั้งปวงเกิดจากกรรม

ส่วน ดี เมื่อกำเริบ จะกำเริบด้วยเหตุ ๓ อย่าง คือ เย็น ร้อน กินไม่เป็นเวลา
เสมหะ กำเริบด้วยเหตุ ๓ อย่าง คือด้วยเย็น ร้อน ข้าว น้ำ
ลม ดี เสมหะ กำเริบด้วยเหตุเหล่านี้แล้วเจือกันชักมาซึ่งเวทนา อันเป็นส่วนของตน ๆ

เวทนาอันเกิดด้วยเปลี่ยนฤดู ก็เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนฤดู
เวทนาอันเกิดด้วยบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ก็เกิดด้วยการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ
คือเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอสมควรกัน

เวทนาอันเกิดจากความเพียร เป็นกิริยาก็มี เป็นวิบากก็มี
เวทนาอันเกิดจากกรรม ย่อมเกิดด้วยกรรมที่ได้กระทำไว้ในปางก่อน

ด้วยเหตุตามที่ว่ามานี้แหละ ชี้ให้เห็นว่าเวทนาอันเกิดด้วยกรรมมีน้อย เกิดด้วยอย่างอื่นมีมาก พวกโง่เขลาก็เข้าใจว่า เกิดด้วยกรรมทั้งนั้น กรรมนั้นไม่มีใครรู้ได้ นอกจากพระพุทธญาณเท่านั้น"