ผู้เขียน หัวข้อ: มิลินทปัญหา  (อ่าน 107298 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #200 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 08:48:35 am »

พระเทวทัตกลิ้งก้อนศิลา

" การที่พระบาทของพระพุทธเจ้าถูกสะเก็ดศิลาแล้ว ทำให้เกิดเวทนานั้น ไม่ใช่มีลม หรือดี เสมหะ หรือสิ่งทั้ง ๓ นี้ เป็นสมุฏฐานเลย ไม่ใช่เกิดด้วยการเปลี่ยนฤดู หรือด้วยการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ เกิดด้วยการกระทำของผู้อื่นต่างหาก คือพระเทวทัต ผู้ผูกอาฆาตต่อพระตถาคตเจ้ามาหลายแสนชาติแล้ว ได้กลิ้งก้อนศิลาใหญ่ลงไปจากยอดภูเขา ด้วยคิดจักให้ตกถูกพระพุทธองค์ แต่ก้อนศิลาที่กลิ้งลงมานั้น ได้มากระทบก้อนศิลาใหญ่อีก ๒ ก้อน ก้อนศิลานั้นได้แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ กระจายไป มีสะเก็ดเล็ก ๆ ก้อนหนึ่งได้กระเด็นไปถูกพระบาทของพระพุทธเจ้าทำให้พระโลหิตห้อขึ้น จะว่าเวทนานั้นเกิดด้วยผลแห่งกรรม หรือด้วยการกระทำของพระองค์ไม่ได้ทั้งนั้น เกิดด้วยการกระทำของผู้อื่นต่างหาก "

ยกอุปมาขึ้นเปรียบเทียบ

" พืชย่อมงอกงามไม่ดี ย่อมเป็นเพราะที่ดินไม่ดี หรือเพราะพืชไม่ดีฉันใด เวทนานั้นก็เกิดแก่พระพุทธเจ้า เพราะผลแห่งกรรม หรือเพราะการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉันนั้น นอกนั้นย่อมไม่มี

โภชนะที่กินเข้าไปแล้วย่อยไม่ดี ย่อมเป็นเพราะท้องไม่ดี หรือเพราะโภชนะนั้นไม่ดีฉันใด เวทนาของพระพุทธเจ้านั้น ก็เกิดด้วยผลแห่งกรรม หรือเกิดด้วยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งฉันนั้น

ก็แต่ว่า เวทนาอันเกิดด้วยผลแห่งกรรม และเกิดด้วยการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้า มีด้วยเหตุ ๑ อย่างนอกจาก ๒ อย่างนี้ ต่างหาก


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #201 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 09:00:27 am »

ใครไม่อาจปลงพระชนม์ของพระพุทธเจ้าได้

แต่ว่าเวทนาทั้งที่น่าต้องการ และไม่น่าต้องการ ดีและไม่ดี ย่อมมีในพระวรกายอันประกอบด้วยธาตุ ๔ ของพระพุทธเจ้าได้

เป็นของธรรมดาก้อนดินที่บุคคลขว้างขึ้นไปในอากาศ ย่อมตกลงมาที่พื้นดิน ก้อนดินเหล่านั้นได้ตกลงมาที่พื้นดิน ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อนหรือ...มหาบพิตร? "

" หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า ก้อนดินเหล่านั้นไม่ได้ตกลงมาที่พื้นดินด้วยกรรมอะไร"

" ขอถวายพระพร ควรเห็นว่าพระวรกายของพระตถาคตเจ้า ก็เปรียบเหมือนกับพื้นดินฉะนั้น การที่สะเก็ดศิลาถูกพระบาทของพระตถาคตเจ้านั้น ไม่ใช่เป็นเพราะบุพพกรรม

อาตมภาพขอถามมหาบพิตรว่า การที่แผ่นดินใหญ่นี้ ถูกมนุษย์ทั้งหลายทำลายและขุดนั้น เป็นด้วยบุพพกรรมหรือ ? "
" ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า "

" ข้อที่สะเก็ดศิลาถูกพระบาทของพระพุทธเจ้า ทำให้พระโลหิตห้อนั้น ก็ไม่ใช่เพราะบุพพกรรมฉันนั้น ถึงพระโรคลงแดงก็ไม่ได้เกิดด้วยบุพพกรรม เกิดด้วย ลม ดี เสมหะ ๓ อย่าง กำเริบต่างหาก

ทุกขเวทนาทางพระกายของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดด้วยบุพพกรรมเลย เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ ต่างหาก
ข้อนี้ สมกับที่สมเด็จพระมหามุนีได้ตรัสไว้ใน " โมลิยสีวกเวยยากรณะ" ในสังยุตตนิกายว่า

" ดูก่อนสีวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้นเพราะมี " ดี " เป็นสมุฏฐาน บางอย่างมี " ลม " เป็นสมุฏฐาน บางอย่างมี " สิ่งทั้ง ๓ " นั้นเป็นสมุฏฐาน บางอย่างเกิดขึ้นเพราะเปลี่ยนฤดู บางอย่างเกิดขึ้นเพราะบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ บางอย่างเกิดขึ้นเพราะการกระทำของผู้อื่น บางอย่างเกิดขึ้นเพราะผลของกรรม

สมณพราหมณ์เหล่าใดเห็นว่า สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งสิ้น เกิดขึ้นเพราะบุพพกรรมทั้งนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าแล่นเลยความจริงไป ความคิดความเห็นของสมณพราหมณ์เหล่านั้นผิดไป "
เพราะฉะนั้นแหละ มหาบพิตร อาตมาจึงว่า เวทนาทั้งสิ้นไม่ใช่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ไม่ใช่เกิดเพราะกรรมทั้งนั้น เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้าได้เผาอกุศลกรรมสิ้นแล้ว จึงได้ถึงพระสัพพัญญุตญาณ ขอให้มหาบพิตรทรงจำไว้อย่างนี้เถิด ขอถวายพระพร "

" ดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า โยมขอรับจำไว้อย่างนี้ "

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #202 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 09:05:52 am »

ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องสิ่งที่ควรทำยิ่งของพระพุทธเจ้า

สมเด็จพระราชาธิบดินทร์มิลินทราชพระบาทท้าวเธอตรัสถามปัญหาข้อต่อไปอีกว่า

" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า สิ่งที่ควรทำทั้งสิ้น สมเด็จพระมหามุนินทร์ทรงทำสำเร็จแล้วที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ ไม่มีสิ่งที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ไม่มีการสะสมสิ่งที่ทำแล้ว ดังนี้ แต่มีปรากฏอยู่ว่า พระตถาคตเจ้าได้ทรงประทับอยู่ในที่สงัดถึง ๓ เดือน

ถ้าพระตถาคตเจ้าได้ทำสิ่งที่ควรทำหมดแล้ว คำที่ว่า พระตถาคตเจ้าทรงเจ้าอยู่ในที่สงัดอยู่ถึง ๓ เดือนนั้นก็ผิดไป
ถ้าถือว่าการที่พระตถาคตเจ้าเข้าอยู่ในที่สงัดตลอด ๓ เดือนนั้นถูก คำที่ว่า พระตถาคตเจ้าได้ทำสิ่งที่ควรทำหมดแล้วนั้นก็ผิดไป

ข้าแต่พระนาคเสน การอยู่ในที่สงัด คือการเข้าฌานสมบัติ ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จแล้ว เหมือนกับความจำเป็นที่จะต้องทำด้วยยา ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีโรค ความจำเป็นด้วยโภชนาหาร ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หิวฉะนั้น ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้วขอได้โปรดแก้ไขด้วยเถิด "

พระนาคเสนเถระวิสัชนาว่า
" ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จแล้ว ที่ภายใต้โพธิพฤกษ์ไม่มีสิ่งที่ควรทำอีก ไม่มีการสะสมสิ่งที่ควรทำไว้แล้วนั้นก็จริง คำที่ว่า พระตถาคตเจ้าได้ทรงเข้าฌานสมาบัติอยู่ตลอด ๓ เดือนนั้นก็จริง คือเมื่อพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงเจ้าฌาน อันมีคุณมาก มีคุณเป็นเอนก แล้วจึงสำเร็จพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อทรงระลึกถึงคุณที่ฌานเหล่านั้น ได้กระทำไว้แล้ว จึงทรงเข้าฌานอีก เหมือนกับผู้ได้รับพรจากพระราชา คือได้ลาภยศจากพระราชาแล้ว เมื่อระลึกถึงพระคุณของพระราชา ก็ไปเฝ้าพระราชาอยู่เนือง ๆ หรือเหมือนกับบุรุษผู้เจ็บไข้ได้หายเจ็บไข้เพราะหมอคนใด เมื่อระลึกถึงคุณของหมอคนนั้น ก็ไปหาหมอเนือง ๆ ไปเพิ่มทรัพย์ให้หมอคนนั้นอีกเนือง ๆ ฉะนั้น "

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #203 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 09:13:25 am »

การเข้าฌานมีคุณ ๒๘

" ขอถวายพระพร การเข้าฌานมีคุณ ๒๘ เมื่อสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงระลึกถึงคุณ ๒๘ นั้น ก็ทรงเข้าฌาน คุณแห่งการเข้าฌาน ๒๘ นั้น คือ

๑. รักษาตัว
๒. ทำให้อายุเจริญ
๓. ให้เกิดกำลัง
๔. ปิดเสียซึ่งโทษ
๕. กำจัดเสียซึ่งสิ่งที่ไม่ใช่ยศ
๖. ทำให้เกิดยศ
๗. กำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม

๘. ทำให้เกิดความยินดีในธรรม
๙. กำจัดเสียซึ่งภัย
๑๐. กระทำให้เกิดความกล้าหาญ
๑๑. กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
๑๒. ทำให้เกิดความเพียร
๑๓. กำจัดเสียซึ่งราคะ
๑๔. ระงับเสียซึ่งโทสะ

๑๕. กำจัดเสียซึ่งโมหะ
๑๖. กำจัดเสียซึ่งมานะ
๑๗. ทิ้งเสียซึ่งวิตก
๑๘. ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
๑๙. ทำให้จิตรักในที่สงัด
๒๐. ทำให้เกิดร่าเริง
๒๑. ทำให้เกิดปีติ

๒๒. ทำให้เป็นที่เคารพ
๒๓. ทำให้เกิดลาภ
๒๔. ทำให้เป็นที่รักแก่ผู้อื่น
๒๕. รักษาไว้ซึ่งความอดทน
๒๖. กำจัดเสียซึ่งอาสวะแห่งสังขารทั้งหลาย
๒๗. เพิกถอนเสียซึ่งการเกิดในภพต่อไป
๒๘. ให้ถึงซึ่งสามัญผลทั้งปวง


ดูก่อนมหาราชะ การเข้าฌานย่อมมีคุณ ๒๘ ประการดังนี้ สมเด็จพระชินสีห์ทั้งหลายจึงทรงเจ้าฌาน อีกประการหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงต้องการเสวยสุขอันสงบ ก็ทรงเข้าฌาน

อนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายย่อมทรงเข้าฌานโดยเหตุ ๔ คือ เพื่อความอยู่เป็นสุข ๑ เพื่อความไม่มีโทษมีแต่มากด้วยคุณ ๑ เพื่อความเจริญแห่งพระอริยะอย่างไม่เหลือ ๑ เป็นของที่พระพุทธเจ้าทั้งปวงสรรเสริญว่าประเสริฐ ๑ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงเจ้าฌานด้วยเหตุเหล่านี้ ไม่ใช่ทรงเข้าฌานด้วยเหตุที่ยังมีสิ่งที่ควรทำอยู่ หรือด้วยเหตุเพื่อจะสะสมสิ่งที่ควรทำแล้ว ทรงเข้าด้วยทรงเล็งเห็นคุณวิเศษโดยแท้ขอถวายพระพร "

" พระผู้เป็นเจ้าโปรดนี้ โยมไม่มีข้อสงสัย โยมจะรับไว้ซึ่งถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยประการดังนี้ "

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #204 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 09:21:57 am »

ปัญหาที่ ๑๐ ถามเรื่องกำลังอิทธิบาท

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า

"ดูก่อนอานนท์อิทธิบาททั้ง ๔ เป็นของที่พระตถาคตเจ้าได้อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานพาหนะแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ตั้งไว้เนือง ๆ แล้ว สะสมไว้มั่นแล้ว ปรารภไว้ดีแล้ว เมื่อพระตถาคตเจ้าจำนงจะดำรงอยู่ตลอดกัป หรือเกินกัปกัปก็ได้ "
แล้วตรัสอีกว่า
" เมื่อล่วง ๓ เดือนจากนี้ไป พระตถาคตเจ้าจักปรินิพพาน "

ดังนี้ ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้าทรงเจริญอิทธิบาท ๔ จนสามารถให้อยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัปนั้นเป็นของจริง การกำหนดเดือนนั้นก็ผิดไป
ถ้าการกำหนดเดือนนั้นถูก คำว่า จะดำรงอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่านั้นก็ผิดไป

คำของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ผิดเป็นคำจริงทั้งนั้น
ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ เป็นปัญหาลึกละเอียด รู้ได้ยาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงทำลายเสียซึ่งข่าย คือความเห็นเถิด "

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร ข้อที่ว่าพระตถาคตเจ้าทรงเจริญอิทธิบาท อาจให้ทรงอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่านั้นก็เป็นของจริง การกำหนดเดือนนั้นก็เป็นของจริง เพราะกัปที่ตรัสไว้นั้น หมายถึงอายุกัป

ไม่ใช่ว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงกำลังของพระองค์ จึงได้ทรงตรัสไว้อย่างนั้น แต่เมื่อจะทรงแสดงกำลังแห่งอิทธิบาท จึงได้ตรัสไว้อย่างนั้นต่างหาก ขอถวายพระพร

เมื่อพระราชาจะทรงแสดงกำลังรวดเร็วแห่งม้าอาชาไนย ก็ได้ตรัสขึ้นในท่ามกลางมหาชนว่า ม้าตัวประเสริฐนี้อาจวิ่งไปรอบโลก แล้วกลับมาถึงที่นี้ได้ในขณะเดียว ดังนี้ ไม่ใช่ว่าตรัสอย่างนี้ เพื่อจะทรงแสดงความรวดเร็วของพระองค์ ทรงประสงค์เพื่อจะทรงแสดงความรวดเร็วของม้าอาชาไนยต่างหาก

ข้อที่พระตถาคตเจ้าตรัสอย่างนั้นก็เพื่อจะทรงแสดงกำลังอิทธิบาทเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อจะทรงแสดงกำลังของพระองค์เลย พระตถาคตเจ้าไม่ต้องการความมีความเป็นทั้งปวงแล้ว ทรงติเตียนภพ คือ ความมีความเป็นทั้งสิ้น ข้อนี้สมกับพระพุทธฎีกาขององค์สมเด็จพระมหามุนีทรงตรัสไว้ว่า

" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าคูถถึงมีเล็กน้อย ก็มีกลิ่นเหม็นฉันใด ภพถึงมีเพียงเล็กน้อย ชั่วดีดนิ้วมือเดียว เราตถาคตก็ไม่สรรเสริญ "

มหาบพิตรทรงเข้าพระทัยว่า พระพุทธเจ้าทรงพอพระทัยในภพทั้งปวง เพราะอาศัยอิทธิฤทธิ์หรือไม่ ? "
" หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า "

" ถ้าอย่างนั้นก็เป็นอันว่า เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาจะทรงแสดงกำลังอิทธิบาท จึงได้ทรงบันลือพระพุทธสีหนาทไว้อย่างนั้น ขอถวายพระพร "
" ถูกแล้ว พระนาคเสน โยมยินดีรับคำที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนามานี้ "

จบวรรคที่ ๑

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #205 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 09:41:13 am »



เมณฑกปัญหา วรรคที่ ๒
ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่ง ไม่ใช่แสดงธรรมอันไม่ควรรู้ยิ่ง "

ดังนี้ แต่ต่อมาได้ตรัสไว้ในพระวินัยบัญญัติว่า
" ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วงไปแล้ว สงฆ์จำนงถอนขุททานุขุททกสิกขาบท ก็ถอนเถิด "

ดังนี้ จึงขอถามว่า พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขุททานุขุททกสิกขาบทนั้น ทรงบัญญัติไว้ไม่ดีหรือ หรือว่าทรงบัญญัติไว้ในเวลายังไม่มีเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงอนุญาตให้ถอนขุททานุขุททกสิกขาบท ในเมื่อพระองค์ล่วงลับไปแล้ว
ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้าทรงแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่ง การโปรดให้ถอนสิกขาบทก็ผิดไป ถ้าการโปรดให้ถอนสิกขาบทเป็นการถูก การที่ว่าแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่งผิดไป ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ เป็นปัญหาอันสุขุมละเอียด ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงความกว้างขวางแห่งกำลังญาณ เหมือนกับมังกรที่อยู่ในท้องสาครฉะนั้นเถิด "

พระนาคเสนถวายพระพรว่า
" มหาราชะ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เราแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่ง ไม่ใช่แสดงธรรมอันไม่ควรรู้ยิ่ง ดังนี้จริงและตรัสไว้อีกในพระวินัยบัญญัติว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จำนงจะถอนขุททานุขุททกสิกขาบท ก็จงถอนเถิด ดังนี้ก็จริง เป็นอันว่าจริงทั้งสองคำ ขอถวายพระพร เมื่อพระตถาคตเจ้าจะทรงทดลองภิกษุทั้งหลายว่า สาวกของเราจักเลิกถอนขุททานุขุททกสิกขาบทที่เราอนุญาตไว้ หรือจักยึดมั่นไว้ ดังนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนั้น มหาราชะ เหมือนอย่างว่า พระเจ้าจักรพรรดิตรัสแก่พระราชโอรสว่า

" ลูกเอ๋ย...บ้านเมืองอันกว้างขวางนี้ มีมหาสมุทรเป็นที่สุดในทิศทั้งปวง เป็นของปกครองยาก เมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว จงสละปัจจัตประเทศตามความประสงค์เถิด "
พระราชกุมารเหล่านั้น จะยอมสละปัจจัตประเทศ อันตกอยู่ในเงื้อมมือของตน ตามพระดำรัสสั่งของพระราชบิดาหรือไม่ ? "

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระราชกุมารเหล่านั้น มีแต่อยากจะหาเพิ่มขึ้นอีกถึงสองเท่า ด้วยความโลภ จะสละทิ้งบ้านเมืองที่อยู่ในเงื้อมมือของตนแล้วได้อย่างไร "
" ขอถวายพระพร ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละพระพุทธบุตรทั้งหลาย ก็มีแต่จะเพิ่มสิกขาบทอื่นเข้าไปอีก ด้วยความโลภในธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ อย่าว่าแต่สิกขาบทอื่นที่ทรงบัญญัติไว้แล้วเลย "

" ข้าแต่พระนาคเสน ขุททานุขุททกสิกขาบทนั้น ได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ขุททกสิกขาบท ได้แก่ ทุกกฎฯ อนุขุททกสิกขาบท ๆ ได้แก่ ทุพภาษิตฯ ขุททานุขุททกสิกขาบททั้งสองนี้เมื่อก่อนพระอรหันต์ทั้งหลายเกิดความสงสัย ท่านจึงได้รวมเข้าไว้เป็นอันเดียวกับสิกขาบทอื่น ๆ ด้วย ธรรมสังคีตปริยาย เพราะเห็นว่าปัญหานั้นสมเด็จพระภควันต์ได้เข้าไปเห็นแล้ว "

" ข้าแต่พระนาคเสน ข้อลี้ลับของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เก็บไว้นานแล้ว ได้เปิดให้ปรากฏขึ้นในโลกวันนี้แล้ว "

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #206 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 09:50:27 am »

ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องปัญหาที่แก้ด้วยการพักไว้

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
" ดูก่อนอานนท์ อาจริยมุฏฐิ คือกำมือแห่งอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า "
แต่ภายหลัง พระมาลุงกยบุตร ได้ทูลถามก็ไม่ทรงแก้ จึงว่าปัญหานี้ จักเป็นปัญหาที่เด็ดขาดลงไปใน ๒ อย่าง ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง คือไม่ทรงแก้เพราะไม่รู้ หรือเพราะกระทำข้อลี้ลับไว้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า กำมือแห่งอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่พระตถาคต ดังนี้เป็นคำจริงแล้ว การที่ไม่ทรงแก้นั้น ก็ต้องเป็นเพราะไม่ทรงล่วงรู้ ถ้าทรงล่วงรู้แต่ไม่แก้ คำว่า "กำมือแห่งอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ก็ต้องมีแก่พระตถาคต "
ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ ละเอียดลึกซึ้งนัก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงทำลายเสียซึ่งข่าย คือ ทิฏฐิเถิด "

พระนาคเสนเถระถวายพระพรว่า
" สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้อย่างนั้นจริง แต่ที่ไม่ทรงแก้นั้น ไม่ใช่เพราะไม่ทรงล่วงรู้ ไม่ใช่เพราะกระทำให้เป็นข้อลี้ลับไว้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ได้แสดงแก้ปัญหาไว้เป็น ๔ประการ คือ

๑. เอกังสพยากรณ์ เมื่อมีผู้ถามก็แก้ออกไปทีเดียว
๒. วิภัชชพยากรณ์ แยกแล้วจึงแก้
๓. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ ย้อนถามแล้วจึงแก้
๔. ฐปนียพยากรณ์ แก้ด้วยการงดไว้


ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่า ฐปนียปัญหา เหตุไรปัญหานั้นจึงเป็นฐปนียปัญหา เหตุว่าไม่มีเหตุที่จะให้ทรงแก้ปัญหานั้น เพราะการเปล่งพระวาจาอันไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายพระพร "

" สาธุ... พระนาคเสน โยมยอมรับว่าเป็นอย่างนั้น "

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #207 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 10:04:19 am »

ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องมรณภัย

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสไว้ว่า " บุคคลทั้งปวงกลัวอาชญา บุคคลทั้งปวงกลัวความตาย " ดังนี้ และตรัสไว้อีกว่า
"พระอรหันต์ล่วงเสียซึ่งความกลัวทั้งปวงแล้ว "
จึงขอถามว่า ความกลัวอาชญา หรือความสะดุ้งมีอยู่แก่พระอรหันต์หรือ...อีกอย่างหนึ่ง พวกสัตว์นรกที่ถูกไฟไหม้อยู่เป็นนิจนั้น เมื่อจะพ้นจากนรกใหญ่อันมีเปลวไฟลุกอยู่เป็นนิจนั้นยังจะกลัวความตายหรือ?

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญา กลัวต่อความตายนั้นถูกแล้ว คำที่ว่าพระอรหันต์ล่วงความกลัวทั้งปวงแล้วก็ผิด
ถ้าคำว่า พระอรหันต์ล่วงความกลัวทั้งปวงแล้วนั้นถูก คำว่าบุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญา กลัวต่อความตายนั้นก็ผิด
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแสดงให้สิ้นสงสัยเถิด พระคุณเจ้าข้า"

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร คำว่า บุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญา กลัวต่อความตายนั้น ไม่ได้หมายถึงพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ได้ตัดต้นเหตุที่จะให้เกิดความกลัวแล้ว

บุคคลเหล่าใดยังมีกิเลสอยู่ ยังมีความเห็นเป็นตัวเป็นตนแรงกล้าอยู่ ยังเอนเอียงในสุขทุกข์อยู่ สมเด็จพระบรมครูหมายถึงบุคคลเหล่านั้น จึงได้ตรัสว่า บุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญา กลัวความตาย พระอรหันต์ทั้งหลายได้ตัดคติทั้งปวงแล้ว ตัดเสียซึ่งปฏิสนธิมิได้เกิดในภพทั้งสาม หักซึ่งโครงแห่งนายช่าง คือตัณหาแล้ว ตัดเหตุแห่งภพทั้งปวงแล้ว กำจัดสังขาร กุศล อกุศล เสียสิ้นแล้ว กำจัดอวิชชาไม่ให้มีพืชต่อไปแล้ว เผากิเลสทั้งปวงแล้ว ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายแล้ว เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่สะดุ้งต่อภัยทั้งปวง

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #208 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 10:14:00 am »

อุปมามหาอำมาตย์ทั้ง ๔

ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจมหาอำมาตย์ทั้ง ๔ ของพระราชาที่ได้รับพระราชทานยศศักดิ์ฐานันดรแล้วมีอยู่ เมื่อมีกรณียกิจเกิดขึ้นพระราชาก็ตรัสสั่งว่า
" คนทั้งปวงในแผ่นดินของเรา จงกระทำพลีแก่เรา มหาอำมาตย์ทั้ง ๔ จงทำให้เรื่องนี้สำเร็จ "
อาตมภาพขอถามว่า ความสะดุ้งต่อภัยคือ พลี จะมีแก่มหาอำมาตย์ทั้ง ๔ นั้นหรือไม่ ? "
" ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า "

" เพราะเหตุไร มหาบพิตร ? "
" เพราะเหตุว่ามหาอำมาตย์ทั้ง ๔ นั้น เป็นที่ผู้พระราชาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งสูงแล้ว เป็นผู้ล่วงเสียซึ่งพลีแล้ว คำที่พระราชาตรัสสั่งว่า บุคคลทั้งปวงจงกระทำพลีนั้น หมายบุคคลเหล่านั้น นอกจากมหาอำมาตย์ทั้ง ๔ นั้น อย่างนี้แหละพระผู้เป็นเจ้า "

" ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ว่าบุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญา กลัวต่อความตายนั้น สมเด็จพระภควันก็ไม่ได้ตรัสหมายถึงพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ได้ตัดต้นเหตุที่จะให้สะดุ้งกลัวเสียหมดแล้ว หมายเฉพาะผู้ยังมีกิเลสเท่านั้น"
"ข้าแต่พระนาคเสน คำว่า " ทั้งปวง" นี้จะว่าเป็นคำมีเศษหามิได้ เป็นคำไม่มีเศษโดยแท้ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงชี้แจงเหตุการณ์ในข้อนี้ให้โยมฟัง"

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #209 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 10:23:45 am »

อุปมาดั่งนายบ้าน

" มหาราชะ เปรียบประดุจดังนายบ้านสั่งให้บอกลูกบ้านว่า
"พวกที่อยู่ในบ้านของเราทั้งสิ้น จงมาประชุมกันในสำนักของเรา"
ผู้รับสั่งก็ไปยืนประกาศในท่ามกลางบ้านขึ้นด้วยเสียงอันดังถึง ๓ ครั้งว่า

" ชาวบ้านทั้งสิ้น จงรีบไปประชุมในสำนักเจ้าของบ้าน"
ลำดับนั้น ชาวบ้านก็รีบไปประชุมกันผู้รับคำสั่งนั้นก็บอกเจ้าของบ้านว่า
"ชาวบ้านทั้งปวงมาประชุมกันแล้ว สิ่งใดที่ควรกระทำขอจงกระทำเถิด"

เป็นอันว่า เมื่อนายบ้านผู้นั้นจะให้ลูกบ้านเท่าที่เห็นปรากฏมาประชุม ก็สั่งลูกบ้านทั้งหมด ลูกบ้านที่รับคำสั่งแล้ว ก็ไม่ได้มาประชุมหมด แต่นายบ้านก็รับว่า ลูกบ้านของเราประชุมหมดแล้ว ความจริงที่ไม่ได้มาประชุมก็มีอยู่อีกเป็นอันมาก คือ สตรี บุรุษ ทาสี ทาส ลูกจ้าง คนตาบอด หญิงมีครรภ์ แพะ แกะ ช้าง สุนัข โค แม่โคนม แต่พวกนั้นก็ไม่ได้นับเข้าในพวกที่ไม่ได้มาประชุมฉันใด

บุคคลเหล่าใดที่ยังมีกิเลสอยู่ สมเด็จพระบรมครูก็ทรงหมายบุคคลเหล่านั้น จึงตรัสว่า บุคคลทั้งปวงสะดุ้งต่ออาชญาฉันนั้นขอถวายพระพร

ถ้อยคำมีเศษ ก็มีความหมายมีเศษก็มีฯ
ถ้อยคำมีเศษ ส่วนความหมายไม่มีเศษก็มีฯ
ถ้อยคำไม่มีเศษความหมายมีเศษก็มีฯ
ถ้อยคำไม่มีเศษความหมายไม่มีเศษก็มีฯ


เพราะฉะนั้น จึงควรพิจารณาความหมาย ควรรับทราบความหมายอนุโลมตามกัน ๑ มีความหมายยิ่งไปกว่าเหตุ ๑ มีความหมายเกี่ยวกับจะต้องถามอาจารย์ ๑ มีความหมายที่จะต้องอธิบายออกไป ๑ เมื่อเข้าใจความหมายอย่างนี้ จึงจะเป็นอันวินิจฉัยตัดสินปัญหานั้นได้ดี ขอถวายพระพร "

# ๒๒๔ น.๑๕ / http://agaligohome.com/index.php?topic=205.225