ผู้เขียน หัวข้อ: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"  (อ่าน 150521 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #240 เมื่อ: มีนาคม 21, 2016, 09:48:24 pm »
หักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว จะต้องยื่นคำนวณภาษีอีกไหม
-http://money.kapook.com/view143840.html-

 จัดการกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย อย่างรายได้ เงินปันผลกองทุนรวม และเงินปันผลหุ้นสามัญอย่างถูกวิธี จะช่วยให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างคุ้มค่า

          ช่วงเดือนมีนาคมน่าจะเป็นเวลาที่หลายคนกำลังรวบรวมเอกสารต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งปัญหาที่มักพบบ่อย ๆ คือ คนที่มีรายได้อื่นนอกจากเงินเดือนแต่ไม่ได้ยื่นแสดงรายได้ดังกล่าวด้วยสาเหตุบางอย่าง เช่น ไม่รู้ว่าต้องนำมารวมในแบบประเมิน หรือคิดว่าหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว แปลว่าเราหมดภาระภาษีแล้ว หรือจงใจเลี่ยงไม่แสดงรายได้เพราะคิดว่าทางการไม่น่าจะตรวจเจอ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ไม่ช้าก็เร็วจะทำให้เกิดการลงโทษคือ มีเบี้ยปรับตามมา แล้วเราจะจัดการกับภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายไปแล้วอย่างไร K-Expert มีคำแนะนำในเรื่องนี้มาฝากค่ะ

          ในทางกฎหมาย "ไม่รู้ไม่ได้แปลว่าไม่ผิด" เพราะการจะแยกระหว่างคนที่ไม่รู้แล้วไม่ได้ยื่นภาษีออกจากคนที่รู้แต่จงใจไม่ยื่นภาษีนั้นทำได้ยาก จึงเป็นหน้าที่ของผู้ยื่นแบบประเมินที่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อให้สามารถยื่นภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนค่ะ

          หลายคนมีรายได้เสริม เช่น เป็นวิทยากรในงานสัมมนา เป็นอาจารย์รับเชิญสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิช่วยออกข้อสอบ เป็นต้น เงินที่ได้มาจากงานเหล่านี้ถือเป็นเงินได้ประเภท 40 (2) คือมาจากการรับจ้างที่จะได้เงินเมื่อทำงานเสร็จสิ้น เวลาได้เงินมานั้นผู้ว่าจ้างจะทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งกรมสรรพากร 3% ของเงินได้

          สำหรับคนที่รับงานในลักษณะที่เข้าข่ายนักแสดงสาธารณะ เช่น ถ่ายโฆษณา เล่นละคร แสดงตลก ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ของเงินได้

          ผู้มีเงินได้อย่างเรา ๆ มักคิดไปเองว่า ผู้ว่าจ้างได้ "จ่ายภาษีแทน" ให้เรียบร้อยแล้ว แต่การหักภาษี ณ ที่จ่ายเหล่านี้เป็นเพียงการนำส่งภาษีบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นผู้มีเงินได้ยังคงต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่น ๆ ของตัวเองเพื่อยื่นภาษีอีกครั้ง

หลายคนมักถามว่าแล้วกรมสรรพากรจะรู้ได้อย่างไร กรมสรรพากรรู้ค่ะ เพราะตอนผู้ว่าจ้างทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นต้องมีการระบุว่ารายได้นี้จ่ายให้ใคร โดยบันทึกข้อมูลเลขที่บัตรประชาชนของผู้รับเงินไว้ด้วย ซึ่งข้อมูลนี้อยู่ในระบบเรียบร้อยแล้ว ใครที่คิดว่าตัวเองยื่นภาษีพลาดไปก็ขอให้ไปแจ้งสำนักงานสรรพากรพื้นที่เพื่อคำนวณภาษีใหม่จะดีกว่าค่ะ

          ส่วนคนที่ได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมเวลาที่เราไปเปิดบัญชีกองทุนรวมนั้นจะมีช่องให้เลือกว่าจะยินยอมให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ไว้หรือไม่ หลายคนมักเลือกไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่การทำแบบนี้จะทำให้เกิดภาระความรับผิดชอบตามมาโดยผู้มีเงินได้ต้องนำเงินปันผลจากกองทุนรวมมายื่นเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีด้วย และที่สำคัญกว่านั้นผู้ที่เลือกยินยอมบ้าง ไม่ยินยอมบ้าง ต้องยื่นแสดงเงินปันผลของกองทุนรวมอื่น ๆ ทุกรายการ แม้ว่าบางกองทุนจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วก็ตามค่ะ

          สำหรับคนที่คาดว่าจะมีรายได้ในฐานภาษีตั้งแต่ 15% ขึ้นไป แนะนำให้เลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และต้องหักสำหรับทุกกองทุนรวมด้วยเพราะการหักภาษี ณ ที่จ่ายในกรณีของเงินปันผลกองทุนรวมนั้นถือเป็นภาษีสุดท้ายคือ "จ่ายแล้วจบ" ไม่ต้องนำมารวมคำนวณในฐานภาษีของเราทำให้เกิดประโยชน์ทางภาษีมากกว่าค่ะ

          การลืมแสดงรายการเงินได้สองประเภทที่ได้กล่าวข้างต้นนั้นจะส่งผลให้เกิดการตีความว่ามีเจตนาที่จะหลบเลี่ยงภาษีและทำให้เกิดเบี้ยปรับตามมา อย่างไรก็ดี มีเงินได้อีกประเภทหนึ่งที่เรามักลืมนำมาแสดง ทำให้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีไม่คุ้มเงินได้นั้นก็คือ "เงินปันผลหุ้นสามัญ" ค่ะ

          เงินปันผลที่เราได้รับจากหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และถือเป็นภาษีสุดท้ายเช่นกัน แต่การละเลยไม่นำเงินปันผลจากหุ้นมารวมคำนวณนี้อาจทำให้พลาดโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จาก "เครดิตภาษีเงินปันผล" เพราะเงินปันผลที่เราได้รับมานั้นเป็นกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่หักภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว หากนำเงินก้อนเดียวกันที่เคยถูกหักภาษีไปแล้วมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดาอีกจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการเสียภาษี กรมสรรพากรจึงกำหนดเรื่องเครดิตภาษีเงินปันผลขึ้นมาเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนนี้ และทำให้เราเสียภาษีตามความเป็นจริงค่ะ

          เห็นไหมคะว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายมีความสำคัญต่อการวางแผนภาษีไม่น้อยเลย อย่าลืมศึกษารายละเอียดให้เข้าใจและยื่นภาษีให้ถูกต้องกันด้วยนะคะ

K-Expert Action

          - เลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลกองทุนรวม สำหรับผู้ที่มีฐานภาษีตั้งแต่ 15% ขึ้นไป
          - ขอเครดิตภาษีเงินปันผลจากหุ้นสามัญเพื่อไม่ให้เสียภาษีซ้ำซ้อน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://k-expert.askkbank.com/Pages/K-ExpertHome.aspx-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #241 เมื่อ: มีนาคม 24, 2016, 06:14:15 am »
สินเชื่อส่วนบุคคล กับ สินเชื่อบัตรกดเงินสด คิดให้ดีเลือกให้ถูก
-http://money.sanook.com/370095/-


-https://moneyhub.in.th/-
สนับสนุนเนื้อหา

แน่นอนว่าหลายคนคงไม่อยากเป็นหนี้ เป็นสิน กัน แต่ถ้ามีความจำเป็นกันจะทำยังไงดี แต่นะว่าจำเป็น ถ้าต้องเป็นหนี้เพื่อไปท่องเที่ยว เพื่อให้มีรูปถ่ายมาอวดคนอื่นๆ บนหน้าเฟสว่าฉันก็ไปมาแล้วนะที่นี้ ขอย้ำว่าอย่าทำดีกว่า หรือจะเป็นหนี้เพื่อให้เพื่อนเห็นว่าฉันนี้แบรนด์เนมนะจ๊ะ ก็จะย้ำเน้นๆ อีกว่าหยุดคิดไปได้เลย...เป็นหนี้เพื่อความจำเป็นดีกว่า เช่น ต้องเข้าโรงพยาบาล ต้องจ่ายค่าเทอมให้ลูก หรือต้องซ่อมรถถ้าไม่ซ่อมไม่มีทำงานแน่ หรือจะเป็นต้องซ่อมบ้าน ถ้าไม่ทำน้ำรั่วเข้าบ้านของในบ้านพังอีกต่างหาก

โดยสินเชื่อด่วนด่วนแบบนี้ก็มีให้เลือก 2 แบบ คือ สินเชื่อส่วนบุคคล หรือจะเป็นสินเชื่อบัตรกดเงินสด ที่ว่าด่วนก็คือ แต่ละธนาคารจะใช้เอกสารและเวลาในการพิจารณาอนุมัติไม่มาก 3-5 วันก็รู้ผลแล้ว แต่ดอกเบี้ยของสินเชื่อทั้ง 2 ตัวนี้ก็แพงอยู่ ประมาณ 28% ต่อปี แต่เวลาทีเซลล์โทรมาขายจะบอกเราแค่ว่า 2% ต่อเดือน ซึ่งทำให้หลายคนติดกับดักมาแล้ว

ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อเงินสด คือ สินเชื่อที่ธนาคารให้เราเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายส่วนตัว จะใช้อะไรก็ได้ ธนาคารจะไม่มาตรวจสอบเราเหมือนกับเวลาเรากู้ซื้อบ้านหรือรถยนต์ที่จะต้องให้เห็นว่าซื้อบ้านจริง ซื้อรถยนต์จริง ทีนี้พอได้เงินก้อนมาก็สนุกละซิเรา ไม่มีใครมาบังคับว่าจะเอาเงินไปทำอะไรบ้าง ก็กลายเป็นว่าเอาไปใช้แบบไม่คิด แต่เวลาจ่ายคืนนี่ซิคิดหนักจนแทบเป็นบ้ากันเลยทีเดียว

เรามาดูที่สินเชื่อส่วนบุคคลกันก่อนดีกว่า สินเชื่อส่วนบุคคล คือ เมื่อธนาคารพิจารณาอนุมัติวงเงินให้เราแล้ว ธนาคารจะโอนเงินเข้าบัญชีให้กับเรามาหนึ่งก้อน เราจะเอาไปทำอะไรก็ได้ จ่ายค่าเทอมลูก ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน หรือจะเอาไปปลดหนี้บัตรเครดิต ก็ได้แต่ต้องห้ามใช้เงินจากบัตรเครดิตอีก ไม่งั้นก็จะเป็นงูกินหางไปเรื่อยๆ เวลาจ่ายคืนก็จะต้องจ่ายคืนให้ธนาคารเป็นงวดๆ เช่น 12 เดือน 24 เดือนหรือสูงสุดอาจจะเป็น 84 เดือนกันเลยทีเดียว และแต่ละงวดก็จะจ่ายเงินที่เท่ากันทุกงวด แต่บางธนาคารก็ใจดีหากเรามีเงินมาจ่ายเพิ่มในแต่ละงวดก็จะไปตัดเงินต้นให้เราทันที ก็จะช่วยให้เราประหยัดดอกเบี้ยได้

ส่วนสินเชื่อบัตรกดเงินสด ก็คือ เมื่อธนาคารอนุมัติวงเงินให้เราแล้ว เราจะได้มาเป็นบัตร 1 ใบ พร้อมกับรหัสกดเงินเหมือนกับบัตรเอทีเอ็ม ที่เราสามารถกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารไหนก็ได้ เมื่อกดเงินเอาเงินออกมาเราถึงจะถูกคิดดอกเบี้ย และเมื่อนำเงินไปคืนทั้งจำนวนก็จะถูกคิดดอกเบี้ยด้วยจำนวนเงินที่กดออกมาและจำนวนวันที่เอาเงินออกมาด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากเราจ่ายคืนด้วยจำนวนเงินขั้นต่ำ ส่วนที่เหลือก็จะถูกคิดดอกเบี้ยต่อไป แต่ไม่ใช่ลดต้นลดดอกเหมือนกับสินเชื่อส่วนบุคคล แต่เราจะถูกคิดดอกเบี้ยด้วยจำนวนเงินก้อนแรกที่กดเงินออกมา เช่น กดมา 10,000 บาท จ่ายคืนเพียง 1,000 บาท เราก็จะถูกคิดดอกเบี้ยที่ 10,000 บาทไปตลอดจนกว่าจะจ่ายคืนหมด

ทีนี้ก่อนที่จะเป็นหนี้สินอะไรสักอย่างก็ต้องคิดกันให้ดีว่าเป็นหนี้แล้ว เอาใช้เรื่องจำเป็นจริงๆ ใช่หรือเปล่า เพราะถ้าไม่ใช่ก็ต้องคิดให้ดีๆ เพราะดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายสำหรับสินเชื่อทั้ง 2 อย่างนี้ ประมาณ 10 เท่าของดอกเบี้ยเงินฝากกันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นก่อนจะเป็นหนี้ต้องท่องไว้ว่า ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ ไม่มีก็ไม่ต้องซื้อ ไม่มีก็ไม่ต้องเที่ยว ใช้ของที่มีอยู่ก่อน นอนอยู่บ้านชิวๆ ดีกว่า จำไว้ให้ขึ้นใจ ใช้เงินให้น้อยกว่าที่หาได้ ที่เหลือก็แบ่งไปเก็บ พอมีแล้วก็ค่อยซื้อ ค่อยเที่ยว จะได้ไม่ทุกข์กันทีหลัง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #242 เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 10:03:04 pm »
ครม.ไฟเขียวปรับภาษีเงินได้บุคคลฯ เริ่มหัก ณ ที่จ่ายปี′60-ขุนคลังยันไม่ขึ้น VAT
-http://money.sanook.com/375947/-


ประชาชาติธุรกิจ สนับสนุนเนื้อหา


ครม.ไฟเขียวปรับภาษีเงินได้บุคคลฯ เริ่มหัก ณ ที่จ่ายปี′60 แลกรัฐสูญรายได้ 3.2 หมื่นล้านบาท/ปี หวังเพิ่มจับจ่ายดันเก็บ VAT ได้เพิ่มขึ้นทดแทน "อภิศักดิ์" ยันยังไม่ปรับขึ้น VAT ช่วงปี 2559 นี้ ชี้รอเศรษฐกิจโลกฟื้น-รัฐต้องการงบฯเพิ่ม

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า วันนี้ (19 เม.ย.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ หลังจากเมื่อ 2-3 เดือนก่อนได้เห็นชอบคงอัตราจัดเก็บภาษีนิติบุคคลไว้ที่ 20% ไปแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้อัตราภาษีที่แท้จริง (effective rate) ออกมาใกล้เคียงกัน โดยหลักใหญ่ ๆ จะปรับอยู่ 3 เรื่อง คือ 1) การหักค่าใช้จ่าย 2) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ และ 3) ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้มีผลในการหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป (เริ่มยื่นแบบฯ ต้นปี 2561)

สำหรับรายละเอียดการปรับปรุงทั้ง 3 เรื่อง ประกอบด้วย

1) ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์โดยให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้

2) ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้

(1) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท

(2) ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท

(3) ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000 บาท/คน)

(4) ในกรณีที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท

(5) กองมรดกเดิมให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท และ

(6) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วนคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท

และ 3) ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ดูตาราง)

ดูรูป

"การปรับปรุงขั้นเงินได้ และอัตราภาษีเที่ยวนี้ยังเหมือนกับในพระราชกฤษฎีกาครั้งที่แล้ว คือมี 7 ขั้นอัตรา แต่เฉพาะเรตที่เก็บ 35% เดิมจะเก็บจากที่มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,001 บาทขึ้นไป จะเปลี่ยนเป็นต้องเสียเมื่อรายได้ 5,000,001 บาทขึ้นไป ดังนั้นคนมีเงินได้ 4,000,001-5,000,000 บาท จะเสียที่ 30% คือได้ลดลงมา ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแค่ราว 20,000 คน จากผู้เสียภาษีทั้งสิ้น 10.3 ล้านคน" นายอภิศักดิ์กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ดังนี้

(1) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว

- หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 50,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 100,000 บาท

- หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 100,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 200,000 บาท

(2) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน

- หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

- หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 60,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 120,000 บาท

(3) กรณีกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

และ (4) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

"ถามว่าทำไมเราปรับสูตรนี้ ก็เพราะว่า ถ้าเราดูภาษีนิติบุคคล 20% เมื่อรวมกับเงินปันผลอีก 10% จะมีเอฟเฟ็กต์ทีฟเรตที่ 28% ฉะนั้นการปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามสูตรที่ว่านี้ เมื่อคำนวณเฉลี่ยออกมา เอฟเฟ็กต์ทีฟเรตจะอยู่ที่ 29% ซึ่งใกล้เคียงกัน จากของเดิมที่อัตราต่างกันมาก คนรายได้สูงจะไปตั้งบริษัท เพื่อจะได้เสียภาษีน้อย แต่อันนี้การเสียภาษีน้อยก็จะไม่เกิด" นายอภิศักดิ์กล่าว

รมว.คลัง กล่าวว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้โดยผู้เสียภาษีที่มีเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนและหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการอื่น จะเริ่มเสียภาษีเมื่อมีเงินได้ 26,000 บาทต่อเดือน

ขณะที่คาดว่าการปรับโครงสร้างภาษีดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปราว 32,000 ล้านบาทต่อปี แต่หวังว่าจะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้มากขึ้นจากปัจจุบันมีสัดส่วน 41% ของรายได้ภาษีทุกประเภท

"สิ่งที่เราหวัง คือเงินรายได้ภาษีที่หายไปนี้ จะกลับไปสู่ประชาชน แล้วกลับไปหมุน ทำให้เกิดรายจ่ายที่มากขึ้น พอเขาใช้จ่ายเราก็จะได้ VAT ซึ่งปกติภาษีบุคคลฯ มีสัดส่วนประมาณ 17% ภาษีนิติบุคคล 32% VAT 41% ภาษีธุรกิจเฉพาะประมาณ 3% ภาษีปิโตรเลียมประมาณ 5% และอื่น ๆ ที่เหลือ ก็หวังว่าเมื่อลดในส่วน 17% ก็จะไปเพิ่ม VAT ให้มากขึ้นกว่า 41%" รมว.คลังกล่าว

นอกจากนี้ รมว.คลัง ยืนยันว่า รัฐบาลจะยังไม่มีการปรับขึ้นภาษี VAT ในช่วงปี 2559 นี้ เพราะยังจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภาครัฐ และจะกลับมาพิจารณาว่าจะปรับขึ้น VAT หรือไม่อีกครั้ง เมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาขยายตัวได้ดี และเมื่อรัฐไม่มีงบประมาณเพียงพอต่อความต้องการลงทุนเพิ่ม
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #243 เมื่อ: เมษายน 22, 2016, 10:25:47 pm »
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2560 ปรับใหม่ ดูชัด ๆ เงินเดือนเริ่มต้นเท่าไรถึงต้องเสียภาษี
-http://money.kapook.com/view146748.html-

 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2560 ปรับโครงสร้างครั้งนี้ช่วยเสียภาษีน้อยลง แต่มนุษย์เงินเดือนจะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนเท่าไรกัน ลองมาดู

        มนุษย์เงินเดือนได้เฮกันดัง ๆ เมื่อคณะรัฐมนตรีไฟเขียวปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2560 ซึ่งมีทั้งเพิ่มวงเงินหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวเป็น 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เพิ่มค่าลดหย่อนทั้งส่วนตัว คู่สมรส บุตร รวมทั้งปรับอัตราภาษีในช่วงอัตราร้อยละ 30-35 ที่จากเดิมมีรายได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไปต้องเสียภาษี 35% ปรับเป็นต้องมีรายได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป (อ่านข่าว ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2560 ค่าลดหย่อนเพียบ เงินเดือน 26,000 ถึงเสียภาษี)

          การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2560 ดังกล่าว ส่งผลให้มนุษย์เงินเดือนเสียภาษีในอัตราน้อยลง ซึ่งทางเพจเฟซบุ๊ก กรมสรรพากร (Revenue Department) ก็ได้ทำภาพมาให้ดูกันชัด ๆ ว่า มนุษย์เงินเดือนจะเริ่มมีภาษีที่เงินเดือนแค่ไหน หากใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวเพียงอย่างเดียว



รูปแรก

กรณีโสด หรือสมรสแต่แยกยื่นภาษี

         - ใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวเพียงอย่างเดียว : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 25,833 บาท
         - มีบุตร 1 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 28,333 บาท
         - มีบุตร 2 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 30,833 บาท
         - มีบุตร 3 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 33,333 บาท
         - มีบุตร 4 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 35,833 บาท

กรณีคู่สมรสมีเงินได้และรวมยื่นภาษี

         - ใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวและคู่สมรสเพียงอย่างเดียว : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 39,166 บาท
         - มีบุตร 1 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 44,166 บาท
         - มีบุตร 2 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 49,166 บาท
         - มีบุตร 3 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 54,166 บาท
         - มีบุตร 4 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 59,166 บาท

         ส่วนใครที่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ประกันชีวิต, กองทุน LTF-RMF, ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา, เงินบริจาคต่าง ๆ ฯลฯ เงินเดือนเริ่มต้นที่จะต้องเสียภาษีในปี 2560 ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย โดยการปรับโครงสร้างภาษีครั้งนี้จะใช้สำหรับการยื่นแบบภาษีในปี 2561


รูปที่สอง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กรมสรรพากร, เฟซบุ๊ก กรมสรรพากร (Revenue Department)
-https://www.facebook.com/RevenueDepartment/photos/a.195554743806681.53390.193960577299431/1273309289364549/?type=3-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #244 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2016, 07:32:42 am »
เอาแล้ว!! อีก 2 ปี ข้างหน้า ธนาคารปิด ห้างใหญ่ปิด ลูกจ้างตกงาน รู้ก่อนได้เปรียบ…
-http://www.zabbzeed.com/4025-


ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนไปอย่างที่คุณคิดไม่ถึง อยากให้ผู้ชมทุกคนได้ฟังคลิปนี้ ว่าโลกเรา สังคมเรา

กำลังจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน คุณต้องปรับตัว คุณต้องเปลี่ยน หากคุณไม่เปลี่ยน ทุกอย่างมันจะเปลี่ยนคุณ

แรงกระเพื่อมที่จะเกิดขึ้นใหม่ หลังการประมูลจบครบทุกคลื่น
https://www.youtube.com/watch?v=vbCQN1jGnEI
-https://www.youtube.com/watch?v=vbCQN1jGnEI-


เรียบเรียงโดย : แซ่บภัทร
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #245 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2016, 05:41:21 am »
อยากพ้นกรรมเรื่อง “หนี้สิน” ต้องแก้ที่ต้นเหตุ!
-http://horoscope.sanook.com/110029/-


การเป็นหนี้โดยไม่จำเป็นและปัญหาความเดือนร้อนจากการเป็นหนี้รู้สึกว่าทำอะไรก็ติดขัดไปหมด จะได้เงินก็มีคนมาตัดหน้า ทำอะไรก็มีคนมาขวางเพราะเราอาจจะเคยโกหก หรือ เอาเปรียบใครมา เป็นวิบากกรรม หาได้มาก็มีเรื่องต้องจ่าย ทำอะไรติดขัดไม่ราบรื่น พบกับอุปสรรคต่างๆ ทำอะไรก็ไม่ขึ้น หยิบจับอะไรเป็นเสียหาย ไร้คนช่วยเหลือมองไปทางไหนก็มืดมน ซึ่งมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1.พ้นกรรมหนี้สินจะทำอย่างไร หนี้สิน ถือเป็นผลพวงของกรรมอย่างหนึ่งอันเกิดจากกิเลสความต้องการในทางกามารมณ์ ที่ควบคุมไม่ได้ เพราะความอยากได้ อยากมี อยากเป็นเหมือนดังเช่นผู้อื่นจึงก่อให้เกิดความพยายามตะเกียกตะกายที่จะมีทรัพย์สินให้มากขึ้น โดยที่ไม่ได้สำรวจศักยภาพความสามารถในการหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่าย จึงเกิดแต่ความทุกข์และกลายเป็นหนี้ในที่สุด

2. “อย่าคิดที่จะเพิ่มหนี้อีก” หากอยากเป็นคนดีก็ต้องหยุดทำความชั่วเสียก่อน อยากหยุดหนี้สินก็ต้องหยุดสร้างหนี้ฉันนั้น ถ้าเป็นหนี้บัตรเครดิตใบหนึ่งด้วยจำนวนเงินที่มากพอแล้ว ก็ไม่ควรไปสร้างหนี้เพิ่มให้กลายเป็นภาระดินพอกหางหมู หากพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นในทางธรรมก็คือ “ลดความอยากลงเสีย” หนี้ก็จะไม่เพิ่มขึ้น

3. ลดการใช้จ่ายเกินความจำเป็น คนที่ประสบปัญหามีหนี้มากก็เพราะมัวปล่อยจิตใจให้ไหลไปตามความอยากเพราะ “การซื้อหาด้วยอารมณ์” มากกว่า “การซื้อหาด้วยเหตุผล” จึงเป็นเหตุให้เป็นหนี้สินมากมาย ซึ่งเมื่อได้ของสิ่งนั้นมาแล้วก็ใช่ว่าจะได้ใช้สอยอย่างคุ้มค่าตามที่ซื้อไปหรือไม่

4. หลีกเลี่ยงการหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จะก่อให้เกิดหนี้ เช่น การใช้บัตรเครดิต เปรียบเหมือนถ้าคุณเป็นจอมยุทธที่ชอบท่องเที่ยวในยุทธภพต้องการเป็นผู้ผดุงความยุติธรรม และให้สัญญากับตนเองว่าจะไม่ฆ่าหรือทำร้ายใคร แต่บังเอิญได้พกกระบี่อย่างดีที่สุดติดตัวไว้อำนวยความสะดวกที่จะสังหารผู้อื่นได้ทุกเมื่อ เช่นนี้แล้ว ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงการพลั้งเผลอฆ่าคนได้แน่นอน
การใช้บัตรเครดิตเพื่อการใช้จ่ายที่ดีนั้น ควรใช้บัตรเครดิตเพียงแค่ใบเดียวเท่านั้น โดยมูลค่าบัตร จะต้องมีวงเงินอยู่ในขั้นต่ำที่สุด ที่สำคัญต้องสามารถรูดใช้ได้ไม่เกิน 25% ของรายได้ และแนวทางป้องกันหนี้บัตรเครดิตที่ดีที่สุดก็คือ การเลิกใช้บัตรเครดิตไปเลย เพราะการมีบัตรเครดิตจะทำให้ชะล่าใจ จับจ่ายซื้อของอย่างเกินความจำเป็น

5. มีการจัดสรรเงินทองอย่างเป็นระบบ เป็นข้อหนึ่งในหลักธรรมที่ว่า “สมถชีวิตา” หรือ เลี้ยงชีพให้เหมาะสม โดยการแบ่งเงินรายได้ออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ เช่น เก็บเงิน 60% และไว้ใช้จ่ายอีก 40% วิธีนี้จะทำให้มีเงินเก็บที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ที่สำคัญหากเราได้รับเงินพิเศษที่นอกเหนือไปจากเงินรายได้ที่ได้รับตามปกติแล้ว ก็ควรนำเอาเงินส่วนนั้นเก็บไว้เป็นทุนฉุกเฉินสำรองเอาไว้ เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินคุณก็จะได้มีเงินทุนสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็นได้

6. ต้องชำระหนี้สิน ไม่มีใครหนีหนี้ได้พ้นต่อให้เราหลบหนีไปไกลสักเท่าไหร่ก็จะถูกตามทวงถามเอาคืนได้สักวันหนึ่ง เพียงแต่การจ่ายหนี้นั้นต้องกระทำอย่างมีปัญญาด้วย สิ่งหนึ่งที่ควรพึงระลึกเอาไว้เสมอ ๆ ก็คือ การชำระหนี้อย่างพอดี ๆ ควรผ่อนชำระหนี้สินอย่างพอเหมาะตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น เพื่อที่จะได้เงินเหลือใช้ทำอย่างอื่นต่อไป การทุ่มใช้หนี้ทั้งหมดจนไม่มีเงินเหลือไว้กินไว้ใช้ ต่อยอดชีวิตให้เดินหน้าต่อไปย่อมไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง แต่เราต้องแสดงเจตจำนงการใช้หนี้ให้ชัดเจน นอกจากนั้นแล้วก็ควรไล่ดูหนี้สินที่มีทั้งหมด ตรวจสอบดูว่าตนเองมีหนี้สินอะไรบ้าง และแต่ละอย่างต้องใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ เพื่อจะได้คำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้อย่างลงตัว ทั้งค่าใช้จ่าย เงินเก็บ และเงินชำระหนี้

7. มีการวางแผนการใช้จ่ายและการใช้ชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือการคิดก่อนทำ การวางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้รู้ว่าวันหนึ่งๆ เราจะต้องจ่ายอะไรบ้าง และต้องมีการจำกัดวงเงินเมื่อต้องออกไปแสวงหาความสุขส่วนตัวทั้งหลาย คือไม่ว่าจะสนุกมากน้อยเพียงใด ก็ต้องใช้จ่ายตามวงเงินที่ได้กำหนดเอาไว้จะดีที่สุด วิธีนี้จะได้ผลมากน้อย ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวจิตคุณเองที่จะต้องซื่อสัตย์ และที่สำคัญต้องเลิกนิสัยการขอหยิบยืมเงินคนอื่นรวมถึงฝึกความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งเร้านอกกายมากมายไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือของใช้ต่างๆ ที่ไม่มีความจำเป็น หากลองสำรวจจิตตนเองก็จะพบว่า สิ่งใดที่เราอยากได้มามากๆ แล้วสิ่งนั้นไม่ได้มีความจำเป็นต่อชีวิตมากนัก จิตก็จะเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นได้เร็ว เพียงแค่ 3 วัน 7 วันก็ทำให้รู้สึกเฉยๆ หรือเบื่อหน่ายได้แล้ว

8. เพิ่มรายได้ด้วยงานพิเศษ รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เราสามารถวางแผนจัดการกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างลงตัวมากขึ้น และยังช่วยให้มีเงินเหลือไปชำระหนี้บางส่วนได้อีกด้วย สิ่งนี้ต้องเริ่มต้นด้วยจิตที่ขยันขันแข็งจะสร้างรายได้ ซึ่งจะนำไปสู่การหางานพิเศษที่ไม่หนักหนาจนเกินไปในช่วงนอกเวลางานปกติ เมื่อมีรายได้มากขึ้นย่อมสามารถคลี่คลายปัญหาหนี้สินได้เร็วขึ้นเช่นกัน

9. ออมเงิน หรือการรักษาให้ดี ถือเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้กับตัวเราเองได้มากที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าเราจะมีภาระหนี้สินหรือไม่ หรือจะมีเงินรายได้มากน้อยขนาดไหน การออมเงินทีละเล็กละน้อย ก็จะทำให้เราได้มีเงินเก็บซึ่งเป็นเงินก้อนขึ้นมาเอง และเงินส่วนนี้เองจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้จ่ายในอนาคตต่อไปได้ หนี้สินที่เกิดขึ้นกับตัวเราทั้งหมดมีเหตุจากความโลภ ความอยาก จงระงับความอยากให้มากที่สุดแล้วโอกาสเกิดหนี้ก็จะน้อยลง โอกาสจะเบี้ยวหนี้ หนีหนี้ก็ยิ่งน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมีพื้นฐานมาจากธรรมะของพระพุทธเจ้าว่าด้วยคาถา “หัวใจเศรษฐี” ที่ว่า “อุอากาสะ” คือ ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร และเลี้ยงชีวิตให้เหมาะสม ใครได้ประพฤติปฏิบัติตามก็จะพ้นหนี้สินได้และไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจเรื่องทรัพย์และความเป็นอยู่อีกต่อไป
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #246 เมื่อ: มกราคม 11, 2018, 07:45:55 pm »
มีน้องท่านนึงที่สนิทกันมาก จะซื้อบ้าน โทร.มาหาผมและสอบถามในเรื่องของโปรโมชั่นต่างๆของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ผมเองได้ให้คำแนะนำไปบางส่วนแล้ว ผมเห็นว่า ผมน่าจะนำเรื่องนี้มาเผยแพร่ให้ได้ทราบกัน แต่ผมว่ามีหลายๆท่านที่ทราบในเรื่องนี้แล้ว และมีบางท่านที่ไม่ทราบในเรื่องเหล่านี้

ผมจึงมาแนะนำเบื้องต้น เรื่องของการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ ว่ามีวิธีคิดอย่างไร

เรื่องแรก การคำนวนว่า ดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ใน 3 ปีแรก หรือในทุกๆ 3 ปี ว่ามีค่าเฉลี่ยเท่าไหร่ เพื่อเปรียบเทียบดอกเบี้ยระหว่างธนาคารหลายๆแห่ง

ผมยกตัวอย่างเพื่อการอธิบายครับ

ธนาคาร A มีโปรโมชั่น ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร A อัตรา MRR เท่ากับ 7.120%ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ปีแรก = 3.00%

ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR-2.00%

วิธีคำนวนดอกเบี้ย

ปีแรก 3.00%ต่อปี ให้นำ 3 คูณ 12(เดือน) ได้ผลลัพย์คือ 36

ปีที่สอง และ ปีที่ 3 MRR-2.00% ให้นำ MRR(คือ 7.120 – 2.00 ที่นำ 2 มาลบ จากโปรโมชั่น) ได้เท่ากับ 5.120 แล้วให้นำ 5.120 คูณ 24 (เดือน ทำไมต้องนำ 24 มาคูณ เนื่องจาก 1 ปี มี 12 เดือน แต่ในโปรโมชั่น 2 ปีถัดมา จะมีจำนวนเดือนคือ 24 เดือน) ได้ผลลัพย์ 122.88

แล้วนำผลลัพย์ทั้งสองยอด(คือ 36 และ 122.88) มาบวกกัน 36+122.88 จะได้ผลลัพย์เท่ากับ 158.88 เมื่อได้ผลลัพย์ 158.88 แล้วให้นำผลลัพย์นี้ มาหารด้วยจำนวนเดือนของ 3 ปี(36 เดือน) 158.88 หาร 36 จะได้ผลลัพย์สุทธิที่เป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ก็คือ 4.413%

ธนาคาร B มีโปรโมชั่น ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร B อัตรา MLR เท่ากับ 6.250%ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เดือนที่ 1 – 6 (6 เดือนแรก) = 0.00% เดือนที่ 7 – 12 (6เดือนต่อมา) = MLR -1.00%

ปีที่ 2 MLR -0.50

ปีที่ 3 = MLR-0.75%

วิธีคำนวนดอกเบี้ย

เดือนที่ 1-6 (6 เดือนแรก ในปีแรก) ให้นำ 0.00 คูณ 6 (เดือน) ได้ผลลัพย์ 0.00

เดือนที่ 7-12 (6 เดือนหลัง ในปีแรก) ให้นำ 6.250-1.00 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.250 แล้วนำมาคูณ 6 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 31.50

ปีที่ 2 ให้นำ 6.250 -0.50 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.750 แล้วนำมาคูณ 12 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 69.000

ปีที่ 3 ให้นำ 6.250 – 0.75 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.500 แล้วนำมาคูณ 12 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 66.000

ให้นำผลลัพย์ทั้ง 4 ยอด มาบวกกัน ( 0.00 + 31.50 + 69.00 + 66.00 ) จะได้เท่ากับ 166.50 แล้วนำ 166.50 หารด้วย 36 (เดือน เนื่องจาก ระยะเวลา 3 ปี จะเท่ากับ 36 เดือน) จะได้ผลลัพย์สุทธิที่เป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ก็คือ 4.625

ดังนั้น เมื่อเทียบอัตราดอกเบี้ยระหว่าง ธนาคาร A กับ ธนาคาร B จะเห็นได้ว่า อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยใน 3 ปี ของธนาคาร A จะถูกกว่า ธนาคาร B

ผมจะให้มองอีก 3 ประเด็น

ประเด็นแรก ธนาคาร B เสนออัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรก 0.00% (ไม่คิดดอกเบี้ย) แต่ธนาคาร A เสนออัตราดอกเบี้ยใน 1 ปีแรก 3.00% นั้นเป็นวิธีการคำนวนของแต่ละธนาคารว่า จะทำให้ลูกค้าเตะตาในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย คนส่วนใหญ่จะชอบมี 0% แต่หารู้ไม่ว่า ในปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ทางธนาคารได้บวกในส่วนเพิ่มที่ธนาคารจะได้ดอกเบี้ยมากกว่าธนาคารที่คิดดอกเบี้ยในปีแรก *****แต่ผมจะบอกว่า หากเรารู้วิธีการคำนวนแล้ว เราจะไม่หลงกลในเรื่องนี้*****

ประเด็นที่สอง การคิดประเภทอัตราดอกเบี้ย เป็น MLR หรือ MRR นั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร ว่าจะคิดประเภทอัตราดอกเบี้ยในแบบไหน แต่ก็อีกนั่นแหละครับ *****แต่ผมจะบอกว่า หากเรารู้วิธีการคำนวนแล้ว เราจะไม่หลงกลในเรื่องนี้*****

ประเด็นที่สาม หากเราสามารถลดดอกเบี้ยได้ เราจะประหยัดเงินของเราได้ และจะทำให้เราสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ครบกำหนดเร็วขึ้น ผมยกตัวอย่างให้เห็น

ภาระหนี้ 2,768,501.69 บาท หากเราได้ลดดอกเบี้ย 0.50% (ได้ลดไป 50 สตางค์) เราจะลดการจ่ายดอกเบี้ยต่อเดือน(สมมุติว่า 1 เดือนมี 30วัน) ไปจำนวน 1,137.74 บาท (คิดจาก 2,768,501.69 คูณ 0.50 หาร 100 เมื่อได้ผลลัพย์จำนวน 13,842.51 แล้วนำ 13,842.51 ไปคูณ 30 (จำนวนวัน) หารด้วย 365 ( 1 ปีมี 365 วัน) จะได้ผลลัพย์สุทธิ 1,137.74 บาท ผลลัพย์นี้ก็คือ ดอกเบี้ยที่เราได้ลด ลดแล้วไปทำอะไร เงินที่ได้นี้ จะไปชำระต้นเงินกู้ ถึงแม้ว่า เราจะจ่ายเงินชำระหนี้ต่อเดือนเท่าเดิม แต่ระยะเวลาจะสั้นลง

เพราะ

1.เมื่อต้นเงินชำระมากขึ้น ทำให้การจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง

2.การชำระต้นเงินได้มากขึ้น ทำให้ระยะเวลาการชำระหนี้น้อยลงด้วยเช่นกัน

เรื่องสุดท้าย ไม่ว่าเป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบไหน จะเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจในการใช้บริการแต่ละธนาคาร อีกส่วนหนึ่งที่ผมมองก็คือ service (การให้บริการ) ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการก่อนการขาย , การให้บริการระหว่างการขาย และ การให้บริการหลังการขาย ว่า มีการบริการที่ดีและประทับใจลูกค้าหรือไม่ ต่อให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่ากันเล็กน้อย บางครั้ง ลูกค้าอาจจะเลือกผู้ที่ให้บริการที่ดีกว่า ก็เป็นได้

ลูกค้า มีสิทธิในการเลือกใช้บริการของสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หรือ ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิตต่างๆ หากเราใช้บริการแล้วทางสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ได้ให้บริการเรา ตามเจตนาที่เราต้องการ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เรามีสิทธิที่จะร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เช่น หากเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือ ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เราสามารถร้องเรียนผ่าน ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้

มาต่อกันเรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อว่า ในแต่ละเดือน เราสามารถคำนวนในเบื้องต้นในเรื่องของจำนวนดอกเบี้ยได้ เรามาดูกันว่า คิดดอกเบี้ยอย่างไร

ผมยกตัวอย่างดังนี้

นาย โน๊ตตี้ โบ๊ตซัง มีวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงินกู้ 5,000,000 บาท(ห้าล้านบาทถ้วน) อัตราดอกเบี้ย MRR - 1.00%ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันเท่ากับ 7.120%) อัตราดอกเบี้ย เท่ากับ 6.120%) ระยะเวลาการขอกู้ 30 ปี ( 360 เดือน ) หลังจากนั้น 5 ปีต่อมา มีภาระหนี้คงเหลือ 4,556,127.50 บาท เราอยากทราบดอกเบี้ยที่จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ มาดูวิธีการคำนวนกัน

นำภาระหนี้คงเหลือ 4,556,127.50 บาท คูณกับอัตราดอกเบี้ย 6.120% (4,556,127.50 คูณ 6.120 หาร 100) จะได้ผลลัพย์ คือ 278,835.003 บาท

ให้นำ 278,835.003 หารด้วย 365 (เป็นจำนวนวันใน 1 ปี) (278,835.003 หาร 365) จะได้ผลลัพย์ คือ 763.931 (นี่คือจำนวนดอกเบี้ยต่อวัน)

ให้นำผลลัพย์จำนวนดอกเบี้ยต่อวัน คือ 763.931 คูณกับจำนวนวัน (โดยปกติ สินเชื่อจะมีการชำระหนี้ทุกวันสิ้นเดือน แต่หากว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุด อาจจะมีการชำระในวันทำการถัดไป) ในบรรทัดนี้ ผมสมมุติว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันทำการ เมื่อรวมจำนวนวันแล้วได้ 30 วัน เราจะนำ 763.931 คูณด้วย 30(วัน) ผลลัพย์ก็คือ 22,917.945 บาท (เป็นดอกเบี้ยของเดือนนั้นๆ) หากเดือนไหนมี 31 วัน เราต้องนำ 31 ไปคูณผลลัพย์ที่เป็นจำนวนดอกเบี้ยต่อวัน

ในบรรทัดนี้ ผมสมมุติว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุด คือ วันเสาร์ เราจะต้องไปชำระในวันจันทร์ เราต้องนับจำนวนวันเพิ่มขึ้นอีก 3 วัน คือ วันศุกร์ , วันเสาร์ และวันอาทิตย์ แต่หากวันสิ้นเดือนเป็นวันศุกร์ เราก็ไม่ต้องเพิ่มจำนวนวันดังกล่าว

อีกเรื่องก็คือ การชำระหนี้สินเชื่อในแต่ละเดือน ในวันที่เราชำระหนี้ นั่นหมายถึง เราชำระดอกเบี้ยตั้งแต่ที่เราชำระครั้งที่แล้วจนถึงวันที่เราชำระ แต่ในวันที่เราชำระ ดอกเบี้ยของวันนั้น ในระบบของแต่ละธนาคาร ยังไม่ได้ประมวลผลให้ จึงทำให้ดอกเบี้ยของในวันที่เราชำระหนี้ในเดือนนั้นๆ เราต้องไปชำระในเดือนถัดไป

สรุปเรื่องของการคำนวนจำนวนดอกเบี้ยในแต่ละเดือน

ต้นเงินกู้ (ภาระหนี้ปัจจุบัน) คูณด้วยอัตราดอกเบี้ย หาร 100 แล้วนำไปคูณจำนวนวัน หารด้วย 365 (วัน)

อีกเรื่องที่อยากจะบอกกัน ในกรณีของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หากเราไปขอลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร(การป้องกันRefinanceไปยังสถาบันการเงินอื่น) แล้ว หากเรายังไม่พอใจ เราไปขอลดได้อีก หรือ เราสามารถที่จะแจ้งขอย้ายวงเงินสินเชื่อไปยังสถาบันการเงินอื่นได้ ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย

เกือบลืม ผมมา กระซิบกันเบาๆ ว่า โดยปรกติ กรมธรรมประกันอัคคีภัย ที่เราต้องทำในกรณีที่เราต้องทำในตอนที่เราใช้วงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีอยู่ข้อนึงที่มักจะไม่ทราบกันก็คือ หากเกิดความเสียหายจากน้ำที่อยู่ภายในบ้าน เช่น ท่อน้ำภายในบ้านแตก หรือเกิดรอยรั่ว ขึ้นทำให้น้ำรั่วออกมาทำความเสียหายให้กับ พื้นบ้าน (เช่นพื้นปาร์เก้) หรือคิ้ว หรือส่วนอื่นๆ (ที่เป็นอุปกรณ์ของบ้าน แต่ไม่ใช่อุปกรณ์ตกแต่งบ้านเพิ่มเติมหรือเฟอร์นิเจอร์) เราสามารถแจ้งเคลมประกันได้ด้วย

ผมขอต่ออีกนิด เรื่องของการเสนอขายประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตที่เป็นรายสามัญ(จ่ายค่าเบี้ยประกันทุกๆปี) หรือ การประกันชีวิตคุ้มครองภาระหนี้ของสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นในชื่อแบบไหน ผู้ที่เสนอขาย ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจาก คปภ. เป็น ตัวแทนประกันชีวิต หรือ นายหน้าประกันชีวิต เสมอ ผู้ที่เสนอขายต้องแสดงใบอนุญาตและแจ้งชื่อ นามสกุล และเลขที่ใบอนุญาต ให้ลูกค้าทราบเสมอ

ส่วนเรื่องการเสนอการขายประกันวินาสภัย เช่น การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ผู้ที่เสนอขาย ต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตเช่นกัน เป็นใบอนุญาต ตัวแทนประกันวินาสภัย หรือ นายหน้าประกันวินาสภัย เหมือนกับการเสนอขายประกันชีวิตที่ผมได้อธิบายให้ทราบไปแล้ว

ในส่วนของ บริษัทประกันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือ ประกันวินาสภัย(เช่น ประกันรถยนต์ , ประกันอัคคีภัยต่างๆ เป็นต้น) หากผู้ที่เสนอขาย ไม่ได้ปฎิบัติตามที่ผมแจ้ง หรือ มีปัญหาในเรื่องของการบริการต่างๆ , การเคลมสินไหมต่างๆ เป็นต้น เราสามารถร้องเรียนผ่าน คปภ.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ได้เช่นกัน

ในเจตนาผมที่นำมาลง เพื่อเป็นวิทยาทานให้หลายๆคนที่ไม่ทราบ ได้ทราบกัน ผมยึดถือในเรื่องที่ในหลวงที่เคยสอนประชาชนของท่านว่า พระองค์ท่านให้เบ็ดมาเพื่อตกปลา แต่ไม่ยอมให้ปลา ผมหวังว่า สิ่งที่ผมได้อธิบายไปนี้ มีประโยชน์กับท่านบ้างไม่มากก็น้อย ครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #247 เมื่อ: มกราคม 11, 2018, 09:21:31 pm »
ผมเขียนคำว่า ผลลัพย์ ผิด

ที่ถูกต้อง ต้องเขียนว่า ผลลัพธ์

ต้องขอโทษด้วยครับ

มีน้องท่านนึงที่สนิทกันมาก จะซื้อบ้าน โทร.มาหาผมและสอบถามในเรื่องของโปรโมชั่นต่างๆของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ผมเองได้ให้คำแนะนำไปบางส่วนแล้ว ผมเห็นว่า ผมน่าจะนำเรื่องนี้มาเผยแพร่ให้ได้ทราบกัน แต่ผมว่ามีหลายๆท่านที่ทราบในเรื่องนี้แล้ว และมีบางท่านที่ไม่ทราบในเรื่องเหล่านี้

ผมจึงมาแนะนำเบื้องต้น เรื่องของการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ ว่ามีวิธีคิดอย่างไร

เรื่องแรก การคำนวนว่า ดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ใน 3 ปีแรก หรือในทุกๆ 3 ปี ว่ามีค่าเฉลี่ยเท่าไหร่ เพื่อเปรียบเทียบดอกเบี้ยระหว่างธนาคารหลายๆแห่ง

ผมยกตัวอย่างเพื่อการอธิบายครับ

ธนาคาร A มีโปรโมชั่น ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร A อัตรา MRR เท่ากับ 7.120%ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ปีแรก = 3.00%

ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR-2.00%

วิธีคำนวนดอกเบี้ย

ปีแรก 3.00%ต่อปี ให้นำ 3 คูณ 12(เดือน) ได้ผลลัพย์คือ 36

ปีที่สอง และ ปีที่ 3 MRR-2.00% ให้นำ MRR(คือ 7.120 – 2.00 ที่นำ 2 มาลบ จากโปรโมชั่น) ได้เท่ากับ 5.120 แล้วให้นำ 5.120 คูณ 24 (เดือน ทำไมต้องนำ 24 มาคูณ เนื่องจาก 1 ปี มี 12 เดือน แต่ในโปรโมชั่น 2 ปีถัดมา จะมีจำนวนเดือนคือ 24 เดือน) ได้ผลลัพย์ 122.88

แล้วนำผลลัพย์ทั้งสองยอด(คือ 36 และ 122.88) มาบวกกัน 36+122.88 จะได้ผลลัพย์เท่ากับ 158.88 เมื่อได้ผลลัพย์ 158.88 แล้วให้นำผลลัพย์นี้ มาหารด้วยจำนวนเดือนของ 3 ปี(36 เดือน) 158.88 หาร 36 จะได้ผลลัพย์สุทธิที่เป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ก็คือ 4.413%

ธนาคาร B มีโปรโมชั่น ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร B อัตรา MLR เท่ากับ 6.250%ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เดือนที่ 1 – 6 (6 เดือนแรก) = 0.00% เดือนที่ 7 – 12 (6เดือนต่อมา) = MLR -1.00%

ปีที่ 2 MLR -0.50

ปีที่ 3 = MLR-0.75%

วิธีคำนวนดอกเบี้ย

เดือนที่ 1-6 (6 เดือนแรก ในปีแรก) ให้นำ 0.00 คูณ 6 (เดือน) ได้ผลลัพย์ 0.00

เดือนที่ 7-12 (6 เดือนหลัง ในปีแรก) ให้นำ 6.250-1.00 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.250 แล้วนำมาคูณ 6 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 31.50

ปีที่ 2 ให้นำ 6.250 -0.50 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.750 แล้วนำมาคูณ 12 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 69.000

ปีที่ 3 ให้นำ 6.250 – 0.75 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.500 แล้วนำมาคูณ 12 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 66.000

ให้นำผลลัพย์ทั้ง 4 ยอด มาบวกกัน ( 0.00 + 31.50 + 69.00 + 66.00 ) จะได้เท่ากับ 166.50 แล้วนำ 166.50 หารด้วย 36 (เดือน เนื่องจาก ระยะเวลา 3 ปี จะเท่ากับ 36 เดือน) จะได้ผลลัพย์สุทธิที่เป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ก็คือ 4.625

ดังนั้น เมื่อเทียบอัตราดอกเบี้ยระหว่าง ธนาคาร A กับ ธนาคาร B จะเห็นได้ว่า อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยใน 3 ปี ของธนาคาร A จะถูกกว่า ธนาคาร B

ผมจะให้มองอีก 3 ประเด็น

ประเด็นแรก ธนาคาร B เสนออัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรก 0.00% (ไม่คิดดอกเบี้ย) แต่ธนาคาร A เสนออัตราดอกเบี้ยใน 1 ปีแรก 3.00% นั้นเป็นวิธีการคำนวนของแต่ละธนาคารว่า จะทำให้ลูกค้าเตะตาในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย คนส่วนใหญ่จะชอบมี 0% แต่หารู้ไม่ว่า ในปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ทางธนาคารได้บวกในส่วนเพิ่มที่ธนาคารจะได้ดอกเบี้ยมากกว่าธนาคารที่คิดดอกเบี้ยในปีแรก *****แต่ผมจะบอกว่า หากเรารู้วิธีการคำนวนแล้ว เราจะไม่หลงกลในเรื่องนี้*****

ประเด็นที่สอง การคิดประเภทอัตราดอกเบี้ย เป็น MLR หรือ MRR นั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร ว่าจะคิดประเภทอัตราดอกเบี้ยในแบบไหน แต่ก็อีกนั่นแหละครับ *****แต่ผมจะบอกว่า หากเรารู้วิธีการคำนวนแล้ว เราจะไม่หลงกลในเรื่องนี้*****

ประเด็นที่สาม หากเราสามารถลดดอกเบี้ยได้ เราจะประหยัดเงินของเราได้ และจะทำให้เราสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ครบกำหนดเร็วขึ้น ผมยกตัวอย่างให้เห็น

ภาระหนี้ 2,768,501.69 บาท หากเราได้ลดดอกเบี้ย 0.50% (ได้ลดไป 50 สตางค์) เราจะลดการจ่ายดอกเบี้ยต่อเดือน(สมมุติว่า 1 เดือนมี 30วัน) ไปจำนวน 1,137.74 บาท (คิดจาก 2,768,501.69 คูณ 0.50 หาร 100 เมื่อได้ผลลัพย์จำนวน 13,842.51 แล้วนำ 13,842.51 ไปคูณ 30 (จำนวนวัน) หารด้วย 365 ( 1 ปีมี 365 วัน) จะได้ผลลัพย์สุทธิ 1,137.74 บาท ผลลัพย์นี้ก็คือ ดอกเบี้ยที่เราได้ลด ลดแล้วไปทำอะไร เงินที่ได้นี้ จะไปชำระต้นเงินกู้ ถึงแม้ว่า เราจะจ่ายเงินชำระหนี้ต่อเดือนเท่าเดิม แต่ระยะเวลาจะสั้นลง

เพราะ

1.เมื่อต้นเงินชำระมากขึ้น ทำให้การจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง

2.การชำระต้นเงินได้มากขึ้น ทำให้ระยะเวลาการชำระหนี้น้อยลงด้วยเช่นกัน

เรื่องสุดท้าย ไม่ว่าเป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบไหน จะเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจในการใช้บริการแต่ละธนาคาร อีกส่วนหนึ่งที่ผมมองก็คือ service (การให้บริการ) ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการก่อนการขาย , การให้บริการระหว่างการขาย และ การให้บริการหลังการขาย ว่า มีการบริการที่ดีและประทับใจลูกค้าหรือไม่ ต่อให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่ากันเล็กน้อย บางครั้ง ลูกค้าอาจจะเลือกผู้ที่ให้บริการที่ดีกว่า ก็เป็นได้

ลูกค้า มีสิทธิในการเลือกใช้บริการของสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หรือ ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิตต่างๆ หากเราใช้บริการแล้วทางสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ได้ให้บริการเรา ตามเจตนาที่เราต้องการ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เรามีสิทธิที่จะร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เช่น หากเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือ ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เราสามารถร้องเรียนผ่าน ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้

มาต่อกันเรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อว่า ในแต่ละเดือน เราสามารถคำนวนในเบื้องต้นในเรื่องของจำนวนดอกเบี้ยได้ เรามาดูกันว่า คิดดอกเบี้ยอย่างไร

ผมยกตัวอย่างดังนี้

นาย โน๊ตตี้ โบ๊ตซัง มีวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงินกู้ 5,000,000 บาท(ห้าล้านบาทถ้วน) อัตราดอกเบี้ย MRR - 1.00%ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันเท่ากับ 7.120%) อัตราดอกเบี้ย เท่ากับ 6.120%) ระยะเวลาการขอกู้ 30 ปี ( 360 เดือน ) หลังจากนั้น 5 ปีต่อมา มีภาระหนี้คงเหลือ 4,556,127.50 บาท เราอยากทราบดอกเบี้ยที่จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ มาดูวิธีการคำนวนกัน

นำภาระหนี้คงเหลือ 4,556,127.50 บาท คูณกับอัตราดอกเบี้ย 6.120% (4,556,127.50 คูณ 6.120 หาร 100) จะได้ผลลัพย์ คือ 278,835.003 บาท

ให้นำ 278,835.003 หารด้วย 365 (เป็นจำนวนวันใน 1 ปี) (278,835.003 หาร 365) จะได้ผลลัพย์ คือ 763.931 (นี่คือจำนวนดอกเบี้ยต่อวัน)

ให้นำผลลัพย์จำนวนดอกเบี้ยต่อวัน คือ 763.931 คูณกับจำนวนวัน (โดยปกติ สินเชื่อจะมีการชำระหนี้ทุกวันสิ้นเดือน แต่หากว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุด อาจจะมีการชำระในวันทำการถัดไป) ในบรรทัดนี้ ผมสมมุติว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันทำการ เมื่อรวมจำนวนวันแล้วได้ 30 วัน เราจะนำ 763.931 คูณด้วย 30(วัน) ผลลัพย์ก็คือ 22,917.945 บาท (เป็นดอกเบี้ยของเดือนนั้นๆ) หากเดือนไหนมี 31 วัน เราต้องนำ 31 ไปคูณผลลัพย์ที่เป็นจำนวนดอกเบี้ยต่อวัน

ในบรรทัดนี้ ผมสมมุติว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุด คือ วันเสาร์ เราจะต้องไปชำระในวันจันทร์ เราต้องนับจำนวนวันเพิ่มขึ้นอีก 3 วัน คือ วันศุกร์ , วันเสาร์ และวันอาทิตย์ แต่หากวันสิ้นเดือนเป็นวันศุกร์ เราก็ไม่ต้องเพิ่มจำนวนวันดังกล่าว

อีกเรื่องก็คือ การชำระหนี้สินเชื่อในแต่ละเดือน ในวันที่เราชำระหนี้ นั่นหมายถึง เราชำระดอกเบี้ยตั้งแต่ที่เราชำระครั้งที่แล้วจนถึงวันที่เราชำระ แต่ในวันที่เราชำระ ดอกเบี้ยของวันนั้น ในระบบของแต่ละธนาคาร ยังไม่ได้ประมวลผลให้ จึงทำให้ดอกเบี้ยของในวันที่เราชำระหนี้ในเดือนนั้นๆ เราต้องไปชำระในเดือนถัดไป

สรุปเรื่องของการคำนวนจำนวนดอกเบี้ยในแต่ละเดือน

ต้นเงินกู้ (ภาระหนี้ปัจจุบัน) คูณด้วยอัตราดอกเบี้ย หาร 100 แล้วนำไปคูณจำนวนวัน หารด้วย 365 (วัน)

อีกเรื่องที่อยากจะบอกกัน ในกรณีของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หากเราไปขอลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร(การป้องกันRefinanceไปยังสถาบันการเงินอื่น) แล้ว หากเรายังไม่พอใจ เราไปขอลดได้อีก หรือ เราสามารถที่จะแจ้งขอย้ายวงเงินสินเชื่อไปยังสถาบันการเงินอื่นได้ ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย

เกือบลืม ผมมา กระซิบกันเบาๆ ว่า โดยปรกติ กรมธรรมประกันอัคคีภัย ที่เราต้องทำในกรณีที่เราต้องทำในตอนที่เราใช้วงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีอยู่ข้อนึงที่มักจะไม่ทราบกันก็คือ หากเกิดความเสียหายจากน้ำที่อยู่ภายในบ้าน เช่น ท่อน้ำภายในบ้านแตก หรือเกิดรอยรั่ว ขึ้นทำให้น้ำรั่วออกมาทำความเสียหายให้กับ พื้นบ้าน (เช่นพื้นปาร์เก้) หรือคิ้ว หรือส่วนอื่นๆ (ที่เป็นอุปกรณ์ของบ้าน แต่ไม่ใช่อุปกรณ์ตกแต่งบ้านเพิ่มเติมหรือเฟอร์นิเจอร์) เราสามารถแจ้งเคลมประกันได้ด้วย

ผมขอต่ออีกนิด เรื่องของการเสนอขายประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตที่เป็นรายสามัญ(จ่ายค่าเบี้ยประกันทุกๆปี) หรือ การประกันชีวิตคุ้มครองภาระหนี้ของสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นในชื่อแบบไหน ผู้ที่เสนอขาย ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจาก คปภ. เป็น ตัวแทนประกันชีวิต หรือ นายหน้าประกันชีวิต เสมอ ผู้ที่เสนอขายต้องแสดงใบอนุญาตและแจ้งชื่อ นามสกุล และเลขที่ใบอนุญาต ให้ลูกค้าทราบเสมอ

ส่วนเรื่องการเสนอการขายประกันวินาสภัย เช่น การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ผู้ที่เสนอขาย ต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตเช่นกัน เป็นใบอนุญาต ตัวแทนประกันวินาสภัย หรือ นายหน้าประกันวินาสภัย เหมือนกับการเสนอขายประกันชีวิตที่ผมได้อธิบายให้ทราบไปแล้ว

ในส่วนของ บริษัทประกันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือ ประกันวินาสภัย(เช่น ประกันรถยนต์ , ประกันอัคคีภัยต่างๆ เป็นต้น) หากผู้ที่เสนอขาย ไม่ได้ปฎิบัติตามที่ผมแจ้ง หรือ มีปัญหาในเรื่องของการบริการต่างๆ , การเคลมสินไหมต่างๆ เป็นต้น เราสามารถร้องเรียนผ่าน คปภ.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ได้เช่นกัน

ในเจตนาผมที่นำมาลง เพื่อเป็นวิทยาทานให้หลายๆคนที่ไม่ทราบ ได้ทราบกัน ผมยึดถือในเรื่องที่ในหลวงที่เคยสอนประชาชนของท่านว่า พระองค์ท่านให้เบ็ดมาเพื่อตกปลา แต่ไม่ยอมให้ปลา ผมหวังว่า สิ่งที่ผมได้อธิบายไปนี้ มีประโยชน์กับท่านบ้างไม่มากก็น้อย ครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #248 เมื่อ: มกราคม 13, 2018, 09:56:46 am »
วันนี้ ผมขอนำเรื่องของการประกันชีวิตในเบื้องต้น  นำมาลงให้อ่านกัน  ความเห็นส่วนตัวผม  การประกันชีวิตเป็นเรื่องที่ดี  มีประโยชน์ มีคุณค่า  อ่านให้ครบทุกบรรทัดน๊ะครับ

แต่เราต้องเลือก  เรื่องที่ต้องเลือก มีดังนี้
1.บริษัทที่รับทำประกัน  ต้องมีความน่าเชื่อถือ  มีปัญหาในเรื่องของการติดต่อ  , มีปัญหาในเรื่องของประวัติในการเคลมของบุคคลอื่นๆ  เป็นต้น

2.ประเภทของกรมธรรม มีทั้งเรื่องของระยะเวลาในการส่งเบี้ยฯ ,  จำนวนทุนประกัน (ซึ่งมีผลกับค่าเบี้ยประกันรายปีที่มีจำนวนมากหรือจำนวนน้อย)

3.ตัวแทนประกันชีวิต หรือ นายหน้าประกันชีวิต  ต้องเลือกคนที่ไว้วางใจในการบริการเรา และ ต้องเลือกคนที่มีความรอบรู้ มีความสามารถในการแนะนำในเรื่องของประกันชีวิตให้เราได้

4.ตัวแทนประกันชีวิต หรือ นายหน้าประกันชีวิต ก่อนที่นำเสนอประกันชีวิต ต้องแสดงใบอนุญาต และ ต้องแจ้งชื่อ - นามสกุล และเลขที่ในใบอนุญาตเสมอ  เพราะการขายประกันชีวิต ต้องได้รับอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เสมอ



********** มาถึงประเด็นสำคัญ  การทำประกันชีวิต ต้องเป็นการทำโดยความสมัครใจ  ต้องไม่มีการบังคับทั้งทางตรง และ ทางอ้อม โดยเด็ดขาด  หากเจอในปัญหานี้

เป็นต้นว่า

การขอสินเชื่อใหม่  ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ สินเชื่อธุรกิจ แล้วธนาคารมีการแจ้งว่า ต้องทำประกันชีวิต  หากไม่ทำประกันชีวิต วงเงินสินเชื่อจะไม่ผ่าน

หรือ

การขอลดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศํย (การRifinance(การย้ายวงเงิน) สินเชื่อที่อยู่อาศัยไปยังสถาบันการเงินอื่น)  ว่า  ต้องทำประกันชีวิต  (หรือต้องประกันวินาศภัย เช่น ประกันอุบัติเหตุ)  หากไม่ทำประกันชีวิต หรือ ประกันวินาศภัยแล้ว ไม่สามารถดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยได้  หรือ ลดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่มากนัก

เพราะการทำประกันชีวิต หรือ การทำประกันวินาศภัย ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกค้าเป็นหลัก  ต้องไม่มีประเด็นในเรื่องอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องได้  หากพบเรื่องราวในประเด็นนี้  สามารถร้องเรียนเข้าไปที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)  ผมแนะนำว่า ควรทำเป็นหนังสือ และให้ทาง คปภ.แจ้งกลับมาเป็นหนังสือด้วย ผมว่าดีที่สุด  โดยปกติส่วนตัวหากมีเหตุเกิดขึ้น ผมจะทำเป็นหนังสือ จะได้เป็นหลักฐานเก็บไว้ด้วยครับ

การร้องเรียน สามารถร้องเรียนไปได้ที่
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
1. การยื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงาน คปภ. ไม่เป็นเหตุให้อายุความฟ้องคดีตามกฎหมายสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด
2. สำนักงาน คปภ.ขอสงวนสิทธิในการไม่ดำเนินการตามเรื่องที่ยื่นหากปรากฎว่าข้อความที่ร้องเรียนไม่ถูกต้องหรือไม่อาจติดต่อผู้ร้องเรียนได้
3. หากตรวจสอบพบว่าเลขประจำตัวประชาชนที่กรอกไม่ตรงกับเลขประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง จะถือว่าเป็นการแจ้งเบาะแสให้ทราบเท่านั้น

ทั้งนี้ ท่านสามารถร้องร้อนผ่านช่องทางต่างๆได้ดังนี้
1. กระดานรับร้องเรียน
2. ทาง e-mail: ppd@oic.or.th
3. ที่สำนักงาน คปภ. โดยตรง

ติดต่อ/ร้องเรียน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ที่อยู่ : 22/79 อาคาร สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ชั้น 5 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2515-3999 โทรสาร. 0-2515-3970  **********

-------------------------------------------------------------------------

การประกันชีวิต คืออะไร
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

การประกันชีวิต เป็นวิธีการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องจากการตาย การสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และการสูญเสียรายได้ในยามชรา โดยที่เมื่อบุคคลใดต้องประสบกับภัยเหล่านั้น ก็ได้รับเงินเฉลี่ยช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว โดยบริษัทประกันชีวิตจะทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการนำเงินก้อนดังกล่าวไปจ่าย ให้แก่ผู้ได้รับภัย

การประกันชีวิต แยกออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.ประเภทสามัญ เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท และมีการชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี, ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน หรือรายเดือน

2. ประเภทอุตสาหกรรม เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ โดยทั่วไปตั้งแต่ 10,000 - 30,000 บาท เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ การชำระเบี้ยประกันภัยจะชำระเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ ฉะนั้นจึงมีระยะเวลารอคอย คือ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บตามธรรมชาติ บริษัทจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ แต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมด

3. ประเภทกลุ่ม เป็นการประกันชีวิตที่กรมธรรม์หนึ่งจะมีผู้เอาประกันชีวิตร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ในการพิจารณารับประกันอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท การประกันชีวิตกลุ่มนี้อัตราเบี้ยประกันชีวิตจะต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภท อุตสาหกรรม

แบบของการประกันชีวิต
การประกันชีวิตมีมากมายหลายแบบ แต่ละแบบจะมีลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป
แบบการประกันชีวิตพื้นฐานมีอยู่ 4 แบบคือ
 
1. แบบตลอดชีพ เป็นการประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อใดในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการประกันภัยแบบนี้เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับจุนเจือ บุคคลที่อยู่ในความอุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทำศพ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระของคนอื่น

2. แบบสะสมทรัพย์ เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกัน ภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ ส่วนของการออมทรัพย์ คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนเมื่อสัญญาครบกำหนด

3. แบบชั่วระยะเวลา เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอา ประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง การเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร การประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ เบี้ยประกันภัยจึงต่ำกว่าแบบอื่น ๆ และไม่มีเงินเหลือคืนให้หากผู้เอาประกันภัยอยู่จนครบกำหนดสัญญา

4. แบบเงินได้ประจำ เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันอย่างสม่ำเสมอ ให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือน นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไป แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ สำหรับระยะเวลาการจ่ายเงินได้ประจำนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอา ประกันชีวิตที่จะเลือกซื้อ

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต
 
1.ด้านการออม

ลักษณะการออมของการทำประกันภัยนั้นจะเป็นในลักษณะแบบกึ่งบังคับ โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องมีหน้าที่ในการจ่ายเบี้ยประกัน อย่างสม่ำเสมอ และหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบตามที่กรมธรรม์กำหนดไว้ ก็จะได้เงินคืนตามเงื่อนไขของสัญญา ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือออมเงินเพื่อไว้ใช้ยามชรา  หรือออมไว้เพื่อเก็บเป็นทุนการศึกษาของบุตรหลาน ทั้งนี้การออมวิธีนี้ไม่สามารถถอนเงิน  ในลักษณะของการฝากเงินได้ แต่สามารถเวนคืนกรมธรรม์ ซึ่งมูลค่าเวนคืนตามกรมธรรม์ที่ได้จะถูกหักค่าธรรมเนียมในการเวนคืนจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการทำประกันชีวิตมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลงทุนระยะยาว

2.ชีวิตของผู้เอาประกันภัย

การประกันชีวิตสามารถช่วยสร้างความมั่นคงของรายได้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้ ในกรณีการทำประกันคุ้มครองการเจ็บป่วย หรือการประกันอุบัติเหตุ ผู้เอาประกันภัยจะได้เงินทดแทนเพื่อใช้ในการเลี้ยงชีพในกรณีทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงได้

3.ด้านการให้ความคุ้มครองและบรรเทาความเดือนร้อนให้กับผู้ที่อยู่ในอุปการะคุณ

การทำประกันชีวิตจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องการเงิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของครอบครัว อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในครอบครัว

4.ด้านการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

เนื่องจากรัฐบาลได้ให้การส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิต ดังนั้น ผู้ที่ทำประกันชีวิตก็สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตไปใช้เป็นค่า ลดหย่อนใน การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับแบบทั่วไป และ 200,000 บาทสำหรับ แบบบำนาญ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาสนใจการทำประกันชีวิตเพิ่มขึ้นเพื่อความมั่นคงในชีวิต

5.ด้านอื่นๆ

การทำประกันชีวิตเปรียบเสมือนการเตรียมเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เมื่อกรมธรรม์ครบกำหนดระยะเวลาหนึ่ง ก็จะมีมูลค่าเงินสด
หากผู้เอาประกันภัยมีความจำเป็นทางการเงินก็สามารถขอกู้เงินจำนวนหนึ่งตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดไปใช้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำได้

ขั้นตอนดำเนินการ

1. ติดต่อบริษัทประกันชีวิตได้โดยตรงหรือผ่านตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย

2. เลือกแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ

3. วงเงินเอาประกันภัยที่ต้องการ โดยพิจารณาประกอบกับรายได้ประจำที่ได้รับ และกำลังความสามารถในการส่งเบี้ยประกันภัย

4. กรอก รายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่านในแบบคำขอเอาประกันชีวิต โดยแถลงความจริงทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติการรักษาพยาบาลและคำแถลงเกี่ยวกับสุขภาพ เพราะการปิดบังในสาระสำคัญเหล่านี้จะเป็นเหตุให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม กรมธรรม์

5. ใน กรณีที่ตัวแทนเป็นผู้กรอกแบบคำขอเอาประกันชีวิตแทนท่าน ให้ตรวจสอบความถูกต้องก่อนลงชื่อในแบบคำขอเมื่อได้รับกรมธรรม์ ควรตรวจสอบความถูกต้อง หากพบข้อมูลที่ผิด เช่น ชื่อผู้รับประโยชน์หรือชื่อผู้เอาประกันภัยผิดพลาด ฯลฯ ให้ทักท้วงบริษัทเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง

6. จ่าย ค่าเบี้ยประกันชีวิตตามกำหนดทุกครั้ง โดยติดต่อชำระที่บริษัท สาขา หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือผ่านธนาคารในกรณีชำระผ่านตัวแทนของบริษัท ให้เรียกใบเสร็จรับเงินตามแบบพิมพ์ของบริษัทเก็บไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง

7.แจ้งให้ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุชื่อในกรมธรรม์ หรือบุคคลในครอบครัวทราบ ถึงการทำประกันชีวิต และสถานที่เก็บกรมธรรม์

*****8. ติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สำนักงาน คปภ.เขต สำนักงาน คปภ.ภาค และสำนักงาน คปภ. จังหวัด ทุกครั้งที่มีปัญหา*****

ที่มา http://www.oic.or.th/th/consumer/fund/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99

ที่มา http://www.oic.or.th/th/consumer/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95#1

 #ประกันชีวิต
#ร้องเรียนผ่านคปภ.
#สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
#สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
#สินเชื่อRefinance
#ธนาคารพาณิชย์ทุกสาขาทั่วประเทศ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #249 เมื่อ: มกราคม 13, 2018, 10:00:25 am »
มีน้องท่านนึงที่สนิทกันมาก จะซื้อบ้าน โทร.มาหาผมและสอบถามในเรื่องของโปรโมชั่นต่างๆของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ผมเองได้ให้คำแนะนำไปบางส่วนแล้ว ผมเห็นว่า ผมน่าจะนำเรื่องนี้มาเผยแพร่ให้ได้ทราบกัน แต่ผมว่ามีหลายๆท่านที่ทราบในเรื่องนี้แล้ว และมีบางท่านที่ไม่ทราบในเรื่องเหล่านี้

ผมจึงมาแนะนำเบื้องต้น เรื่องของการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ ว่ามีวิธีคิดอย่างไร

เรื่องแรก การคำนวนว่า ดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ใน 3 ปีแรก หรือในทุกๆ 3 ปี ว่ามีค่าเฉลี่ยเท่าไหร่ เพื่อเปรียบเทียบดอกเบี้ยระหว่างธนาคารหลายๆแห่ง

ผมยกตัวอย่างเพื่อการอธิบายครับ

ธนาคาร A มีโปรโมชั่น ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร A อัตรา MRR เท่ากับ 7.120%ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ปีแรก = 3.00%

ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR-2.00%

วิธีคำนวนดอกเบี้ย

ปีแรก 3.00%ต่อปี ให้นำ 3 คูณ 12(เดือน) ได้ผลลัพย์คือ 36

ปีที่สอง และ ปีที่ 3 MRR-2.00% ให้นำ MRR(คือ 7.120 – 2.00 ที่นำ 2 มาลบ จากโปรโมชั่น) ได้เท่ากับ 5.120 แล้วให้นำ 5.120 คูณ 24 (เดือน ทำไมต้องนำ 24 มาคูณ เนื่องจาก 1 ปี มี 12 เดือน แต่ในโปรโมชั่น 2 ปีถัดมา จะมีจำนวนเดือนคือ 24 เดือน) ได้ผลลัพย์ 122.88

แล้วนำผลลัพย์ทั้งสองยอด(คือ 36 และ 122.88) มาบวกกัน 36+122.88 จะได้ผลลัพย์เท่ากับ 158.88 เมื่อได้ผลลัพย์ 158.88 แล้วให้นำผลลัพย์นี้ มาหารด้วยจำนวนเดือนของ 3 ปี(36 เดือน) 158.88 หาร 36 จะได้ผลลัพย์สุทธิที่เป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ก็คือ 4.413%

ธนาคาร B มีโปรโมชั่น ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร B อัตรา MLR เท่ากับ 6.250%ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เดือนที่ 1 – 6 (6 เดือนแรก) = 0.00% เดือนที่ 7 – 12 (6เดือนต่อมา) = MLR -1.00%

ปีที่ 2 MLR -0.50

ปีที่ 3 = MLR-0.75%

วิธีคำนวนดอกเบี้ย

เดือนที่ 1-6 (6 เดือนแรก ในปีแรก) ให้นำ 0.00 คูณ 6 (เดือน) ได้ผลลัพย์ 0.00

เดือนที่ 7-12 (6 เดือนหลัง ในปีแรก) ให้นำ 6.250-1.00 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.250 แล้วนำมาคูณ 6 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 31.50

ปีที่ 2 ให้นำ 6.250 -0.50 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.750 แล้วนำมาคูณ 12 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 69.000

ปีที่ 3 ให้นำ 6.250 – 0.75 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.500 แล้วนำมาคูณ 12 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 66.000

ให้นำผลลัพย์ทั้ง 4 ยอด มาบวกกัน ( 0.00 + 31.50 + 69.00 + 66.00 ) จะได้เท่ากับ 166.50 แล้วนำ 166.50 หารด้วย 36 (เดือน เนื่องจาก ระยะเวลา 3 ปี จะเท่ากับ 36 เดือน) จะได้ผลลัพย์สุทธิที่เป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ก็คือ 4.625

ดังนั้น เมื่อเทียบอัตราดอกเบี้ยระหว่าง ธนาคาร A กับ ธนาคาร B จะเห็นได้ว่า อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยใน 3 ปี ของธนาคาร A จะถูกกว่า ธนาคาร B

ผมจะให้มองอีก 3 ประเด็น

ประเด็นแรก ธนาคาร B เสนออัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรก 0.00% (ไม่คิดดอกเบี้ย) แต่ธนาคาร A เสนออัตราดอกเบี้ยใน 1 ปีแรก 3.00% นั้นเป็นวิธีการคำนวนของแต่ละธนาคารว่า จะทำให้ลูกค้าเตะตาในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย คนส่วนใหญ่จะชอบมี 0% แต่หารู้ไม่ว่า ในปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ทางธนาคารได้บวกในส่วนเพิ่มที่ธนาคารจะได้ดอกเบี้ยมากกว่าธนาคารที่คิดดอกเบี้ยในปีแรก *****แต่ผมจะบอกว่า หากเรารู้วิธีการคำนวนแล้ว เราจะไม่หลงกลในเรื่องนี้*****

ประเด็นที่สอง การคิดประเภทอัตราดอกเบี้ย เป็น MLR หรือ MRR นั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร ว่าจะคิดประเภทอัตราดอกเบี้ยในแบบไหน แต่ก็อีกนั่นแหละครับ *****แต่ผมจะบอกว่า หากเรารู้วิธีการคำนวนแล้ว เราจะไม่หลงกลในเรื่องนี้*****

ประเด็นที่สาม หากเราสามารถลดดอกเบี้ยได้ เราจะประหยัดเงินของเราได้ และจะทำให้เราสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ครบกำหนดเร็วขึ้น ผมยกตัวอย่างให้เห็น

ภาระหนี้ 2,768,501.69 บาท หากเราได้ลดดอกเบี้ย 0.50% (ได้ลดไป 50 สตางค์) เราจะลดการจ่ายดอกเบี้ยต่อเดือน(สมมุติว่า 1 เดือนมี 30วัน) ไปจำนวน 1,137.74 บาท (คิดจาก 2,768,501.69 คูณ 0.50 หาร 100 เมื่อได้ผลลัพย์จำนวน 13,842.51 แล้วนำ 13,842.51 ไปคูณ 30 (จำนวนวัน) หารด้วย 365 ( 1 ปีมี 365 วัน) จะได้ผลลัพย์สุทธิ 1,137.74 บาท ผลลัพย์นี้ก็คือ ดอกเบี้ยที่เราได้ลด ลดแล้วไปทำอะไร เงินที่ได้นี้ จะไปชำระต้นเงินกู้ ถึงแม้ว่า เราจะจ่ายเงินชำระหนี้ต่อเดือนเท่าเดิม แต่ระยะเวลาจะสั้นลง

เพราะ

1.เมื่อต้นเงินชำระมากขึ้น ทำให้การจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง

2.การชำระต้นเงินได้มากขึ้น ทำให้ระยะเวลาการชำระหนี้น้อยลงด้วยเช่นกัน

เรื่องสุดท้าย ไม่ว่าเป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบไหน จะเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจในการใช้บริการแต่ละธนาคาร อีกส่วนหนึ่งที่ผมมองก็คือ service (การให้บริการ) ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการก่อนการขาย , การให้บริการระหว่างการขาย และ การให้บริการหลังการขาย ว่า มีการบริการที่ดีและประทับใจลูกค้าหรือไม่ ต่อให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่ากันเล็กน้อย บางครั้ง ลูกค้าอาจจะเลือกผู้ที่ให้บริการที่ดีกว่า ก็เป็นได้

ลูกค้า มีสิทธิในการเลือกใช้บริการของสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หรือ ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิตต่างๆ หากเราใช้บริการแล้วทางสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ได้ให้บริการเรา ตามเจตนาที่เราต้องการ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เรามีสิทธิที่จะร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เช่น หากเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือ ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เราสามารถร้องเรียนผ่าน ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้

มาต่อกันเรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อว่า ในแต่ละเดือน เราสามารถคำนวนในเบื้องต้นในเรื่องของจำนวนดอกเบี้ยได้ เรามาดูกันว่า คิดดอกเบี้ยอย่างไร

ผมยกตัวอย่างดังนี้

นาย โน๊ตตี้ โบ๊ตซัง มีวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงินกู้ 5,000,000 บาท(ห้าล้านบาทถ้วน) อัตราดอกเบี้ย MRR - 1.00%ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันเท่ากับ 7.120%) อัตราดอกเบี้ย เท่ากับ 6.120%) ระยะเวลาการขอกู้ 30 ปี ( 360 เดือน ) หลังจากนั้น 5 ปีต่อมา มีภาระหนี้คงเหลือ 4,556,127.50 บาท เราอยากทราบดอกเบี้ยที่จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ มาดูวิธีการคำนวนกัน

นำภาระหนี้คงเหลือ 4,556,127.50 บาท คูณกับอัตราดอกเบี้ย 6.120% (4,556,127.50 คูณ 6.120 หาร 100) จะได้ผลลัพย์ คือ 278,835.003 บาท

ให้นำ 278,835.003 หารด้วย 365 (เป็นจำนวนวันใน 1 ปี) (278,835.003 หาร 365) จะได้ผลลัพย์ คือ 763.931 (นี่คือจำนวนดอกเบี้ยต่อวัน)

ให้นำผลลัพย์จำนวนดอกเบี้ยต่อวัน คือ 763.931 คูณกับจำนวนวัน (โดยปกติ สินเชื่อจะมีการชำระหนี้ทุกวันสิ้นเดือน แต่หากว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุด อาจจะมีการชำระในวันทำการถัดไป) ในบรรทัดนี้ ผมสมมุติว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันทำการ เมื่อรวมจำนวนวันแล้วได้ 30 วัน เราจะนำ 763.931 คูณด้วย 30(วัน) ผลลัพย์ก็คือ 22,917.945 บาท (เป็นดอกเบี้ยของเดือนนั้นๆ) หากเดือนไหนมี 31 วัน เราต้องนำ 31 ไปคูณผลลัพย์ที่เป็นจำนวนดอกเบี้ยต่อวัน

ในบรรทัดนี้ ผมสมมุติว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุด คือ วันเสาร์ เราจะต้องไปชำระในวันจันทร์ เราต้องนับจำนวนวันเพิ่มขึ้นอีก 3 วัน คือ วันศุกร์ , วันเสาร์ และวันอาทิตย์ แต่หากวันสิ้นเดือนเป็นวันศุกร์ เราก็ไม่ต้องเพิ่มจำนวนวันดังกล่าว

อีกเรื่องก็คือ การชำระหนี้สินเชื่อในแต่ละเดือน ในวันที่เราชำระหนี้ นั่นหมายถึง เราชำระดอกเบี้ยตั้งแต่ที่เราชำระครั้งที่แล้วจนถึงวันที่เราชำระ แต่ในวันที่เราชำระ ดอกเบี้ยของวันนั้น ในระบบของแต่ละธนาคาร ยังไม่ได้ประมวลผลให้ จึงทำให้ดอกเบี้ยของในวันที่เราชำระหนี้ในเดือนนั้นๆ เราต้องไปชำระในเดือนถัดไป

สรุปเรื่องของการคำนวนจำนวนดอกเบี้ยในแต่ละเดือน

ต้นเงินกู้ (ภาระหนี้ปัจจุบัน) คูณด้วยอัตราดอกเบี้ย หาร 100 แล้วนำไปคูณจำนวนวัน หารด้วย 365 (วัน)

อีกเรื่องที่อยากจะบอกกัน ในกรณีของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หากเราไปขอลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร(การป้องกันRefinanceไปยังสถาบันการเงินอื่น) แล้ว หากเรายังไม่พอใจ เราไปขอลดได้อีก หรือ เราสามารถที่จะแจ้งขอย้ายวงเงินสินเชื่อไปยังสถาบันการเงินอื่นได้ ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย

เกือบลืม ผมมา กระซิบกันเบาๆ ว่า โดยปรกติ กรมธรรมประกันอัคคีภัย ที่เราต้องทำในกรณีที่เราต้องทำในตอนที่เราใช้วงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีอยู่ข้อนึงที่มักจะไม่ทราบกันก็คือ หากเกิดความเสียหายจากน้ำที่อยู่ภายในบ้าน เช่น ท่อน้ำภายในบ้านแตก หรือเกิดรอยรั่ว ขึ้นทำให้น้ำรั่วออกมาทำความเสียหายให้กับ พื้นบ้าน (เช่นพื้นปาร์เก้) หรือคิ้ว หรือส่วนอื่นๆ (ที่เป็นอุปกรณ์ของบ้าน แต่ไม่ใช่อุปกรณ์ตกแต่งบ้านเพิ่มเติมหรือเฟอร์นิเจอร์) เราสามารถแจ้งเคลมประกันได้ด้วย

ผมขอต่ออีกนิด เรื่องของการเสนอขายประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตที่เป็นรายสามัญ(จ่ายค่าเบี้ยประกันทุกๆปี) หรือ การประกันชีวิตคุ้มครองภาระหนี้ของสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นในชื่อแบบไหน ผู้ที่เสนอขาย ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจาก คปภ. เป็น ตัวแทนประกันชีวิต หรือ นายหน้าประกันชีวิต เสมอ ผู้ที่เสนอขายต้องแสดงใบอนุญาตและแจ้งชื่อ นามสกุล และเลขที่ใบอนุญาต ให้ลูกค้าทราบเสมอ

ส่วนเรื่องการเสนอการขายประกันวินาสภัย เช่น การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ผู้ที่เสนอขาย ต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตเช่นกัน เป็นใบอนุญาต ตัวแทนประกันวินาสภัย หรือ นายหน้าประกันวินาสภัย เหมือนกับการเสนอขายประกันชีวิตที่ผมได้อธิบายให้ทราบไปแล้ว

ในส่วนของ บริษัทประกันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือ ประกันวินาสภัย(เช่น ประกันรถยนต์ , ประกันอัคคีภัยต่างๆ เป็นต้น) หากผู้ที่เสนอขาย ไม่ได้ปฎิบัติตามที่ผมแจ้ง หรือ มีปัญหาในเรื่องของการบริการต่างๆ , การเคลมสินไหมต่างๆ เป็นต้น เราสามารถร้องเรียนผ่าน คปภ.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ได้เช่นกัน

ในเจตนาผมที่นำมาลง เพื่อเป็นวิทยาทานให้หลายๆคนที่ไม่ทราบ ได้ทราบกัน ผมยึดถือในเรื่องที่ในหลวงที่เคยสอนประชาชนของท่านว่า พระองค์ท่านให้เบ็ดมาเพื่อตกปลา แต่ไม่ยอมให้ปลา ผมหวังว่า สิ่งที่ผมได้อธิบายไปนี้ มีประโยชน์กับท่านบ้างไม่มากก็น้อย ครับ

#สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
#การRefinanceสินเชื่อ
#การย้ายวงเงินสินเชื่อไปสถาบันการเงินอื่น
#อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
#การคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
#ธนาคารพาณิชย์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)