ผู้เขียน หัวข้อ: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"  (อ่าน 149405 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 17 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #180 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 08:50:03 am »
รายจ่าย ลงทุนอะไร ที่หักภาษีได้บ้าง?

-http://money.sanook.com/224113/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/-


ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีแล้ว เหลืออีก 2 เดือนเศษก็จะหมดปี สำหรับมนุษย์เงินเดือน มนุษย์ลูกจ้าง ก็คงฝันหวานถึงวันหยุดยาว เงินโบนัส(หากมี)และโอกาสใช้จ่ายเงินกับช่วงเทศกาลวันส่งท้ายปีและรับปีใหม่กันแล้ว

แต่หลังจากนั้น มนุษย์เงินเดือนผู้มีรายได้ทั้งหลาย ต้องไม่ลืมว่า จะต้องเตรียมยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันด้วย ซึ่งตามปรกติ กรมสรรพากรจะกำหนดให้ยื่นแบบตั้งแต่ต้นปี คือวันที่1 มกราคม จนไปถึงสิ้นเดือน มีนาคมของทุกปี

ทั้งนี้คนที่มีรายได้ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบเพื่อเสียภาษีประจำปีด้วย  ดังนั้น ในช่วงสุดท้ายของปี หากใครจะลงทุนหรือบริหารการเงินอย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด วันนี้ sanook money จะรวบรวมข้อมูลมาให้เป็นแนวทางเบื้องต้นว่า แต่ละคนสามารถหักค่าใช้จ่ายจากอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะการลงทุนอะไรที่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายในการเสียภาษีได้บ้าง รับรองว่าหลายคนจะได้รับเงินภาษีคืนอย่างแน่นอน.....





เริ่มต้นจากการหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช่จ่ายในครอบครัว
      กรณีคนโสด สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้  30,000 บาท
      กรณีสมรส หากคู่สมรสไม่มีรายได้และไม่ได้แยกยื่นภาษีสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีก 30,000 บาท
      และหากมีบุตร สามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 15,000 บาท(รวมบุตรบุตรธรรม) สามารถหักได้รวมกันแล้วไม่เกิน 3 คน โดยบุตรต้องมีอายุ ต่ำกว่า 25 ปี และหากกำลังศึกษาอยู่ในประเทศสามารถหักเพิ่มเติมได้อีกคนละ 2,000 บาท
      นอกจากนี้หากใครมีบิดา มารดาอายุ 60 ปี ขึ้นไป ต้องเลี้ยงดูสามารถหักค่าใช้จ่าย ได้อีกคนละ 30,000 บาท  นอกจากนี้เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ยังนำมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทอีกด้วย
      และใครมีภาระต้องอุปการคนพิการ หรือ ทุพพลภาพ ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 60,000 บาท

การหักค่าใช่จ่ายจากรายจ่ายเพื่อเข้ากองทุนต่างๆ
      ปรกติคนทำงานกรณีลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท จะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในทุกเดือน ซึ่ง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักภาษีได้ทั้งหมด และ
      หากใครที่สมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  สามารถนำเงินที่ส่งเข้ากองทุนฯมาหักภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท         
      ส่วนข้าราชการซึ่งสมัครกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กบข. ก็เช่นกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำเงินส่งกองทุนมาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาทเช่นกัน

การหักค่าใช้จ่ายจากการลงทุนเพื่อสร้างอนาคต หรือ การสร้างหลักประกันในอนาคต

      กรณีนี้ ใครที่มองเห็นเงินก้อน หรือ คาดว่าได้โบนัสก้อนงามในปีนี้แน่ๆวางแผนได้เลยครับว่าจะลงทุนในการลงทุนประเภทนี้เท่าไรอย่างไร เพราะสามารถนำมาหักภาษีได้มากโขทีเดียว
      ประกันฯ   โดยเบี้ยประกันชีวิต และ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
      เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
 
      เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF หักได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท


       
      ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้มาหักภาษีได้ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีมีคนกู้ร่วมก็สามารถนำไปเฉลี่ยกัน  โดยเพดานคือรวมกันแล้วไม่เกิน100,000 บาทเช่นกัน

      หลังจากหักค่าลดหย่อนเหล่านั้นแล้ว หากใครที่สนับสนุนทางด้านการศึกษายังมีสิทธิทางภาษีโดย เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา  มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการบริจาคเพื่อการกุศลต่างๆที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้อีกซึ่งสามารถติดตามรายระเอียดตามที่มีการประกาศโดยกรมสรรพากรอีกด้วย ทั้งนี้เงินบริจากที่เราคุ้นเคยอย่างเช่น
     การบริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ โดยองค์การสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาจะสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ด้วยเช่นกัน

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #181 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 08:50:34 am »
รายจ่าย ลงทุนอะไร ที่หักภาษีได้บ้าง?

-http://money.sanook.com/224113/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/-


ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีแล้ว เหลืออีก 2 เดือนเศษก็จะหมดปี สำหรับมนุษย์เงินเดือน มนุษย์ลูกจ้าง ก็คงฝันหวานถึงวันหยุดยาว เงินโบนัส(หากมี)และโอกาสใช้จ่ายเงินกับช่วงเทศกาลวันส่งท้ายปีและรับปีใหม่กันแล้ว

แต่หลังจากนั้น มนุษย์เงินเดือนผู้มีรายได้ทั้งหลาย ต้องไม่ลืมว่า จะต้องเตรียมยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันด้วย ซึ่งตามปรกติ กรมสรรพากรจะกำหนดให้ยื่นแบบตั้งแต่ต้นปี คือวันที่1 มกราคม จนไปถึงสิ้นเดือน มีนาคมของทุกปี

ทั้งนี้คนที่มีรายได้ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบเพื่อเสียภาษีประจำปีด้วย  ดังนั้น ในช่วงสุดท้ายของปี หากใครจะลงทุนหรือบริหารการเงินอย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด วันนี้ sanook money จะรวบรวมข้อมูลมาให้เป็นแนวทางเบื้องต้นว่า แต่ละคนสามารถหักค่าใช้จ่ายจากอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะการลงทุนอะไรที่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายในการเสียภาษีได้บ้าง รับรองว่าหลายคนจะได้รับเงินภาษีคืนอย่างแน่นอน.....





เริ่มต้นจากการหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช่จ่ายในครอบครัว
      กรณีคนโสด สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้  30,000 บาท
      กรณีสมรส หากคู่สมรสไม่มีรายได้และไม่ได้แยกยื่นภาษีสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีก 30,000 บาท
      และหากมีบุตร สามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 15,000 บาท(รวมบุตรบุตรธรรม) สามารถหักได้รวมกันแล้วไม่เกิน 3 คน โดยบุตรต้องมีอายุ ต่ำกว่า 25 ปี และหากกำลังศึกษาอยู่ในประเทศสามารถหักเพิ่มเติมได้อีกคนละ 2,000 บาท
      นอกจากนี้หากใครมีบิดา มารดาอายุ 60 ปี ขึ้นไป ต้องเลี้ยงดูสามารถหักค่าใช้จ่าย ได้อีกคนละ 30,000 บาท  นอกจากนี้เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ยังนำมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทอีกด้วย
      และใครมีภาระต้องอุปการคนพิการ หรือ ทุพพลภาพ ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 60,000 บาท

การหักค่าใช่จ่ายจากรายจ่ายเพื่อเข้ากองทุนต่างๆ
      ปรกติคนทำงานกรณีลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท จะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในทุกเดือน ซึ่ง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักภาษีได้ทั้งหมด และ
      หากใครที่สมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  สามารถนำเงินที่ส่งเข้ากองทุนฯมาหักภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท         
      ส่วนข้าราชการซึ่งสมัครกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กบข. ก็เช่นกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำเงินส่งกองทุนมาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาทเช่นกัน

การหักค่าใช้จ่ายจากการลงทุนเพื่อสร้างอนาคต หรือ การสร้างหลักประกันในอนาคต

      กรณีนี้ ใครที่มองเห็นเงินก้อน หรือ คาดว่าได้โบนัสก้อนงามในปีนี้แน่ๆวางแผนได้เลยครับว่าจะลงทุนในการลงทุนประเภทนี้เท่าไรอย่างไร เพราะสามารถนำมาหักภาษีได้มากโขทีเดียว
      ประกันฯ   โดยเบี้ยประกันชีวิต และ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
      เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
 
      เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF หักได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท


       
      ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้มาหักภาษีได้ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีมีคนกู้ร่วมก็สามารถนำไปเฉลี่ยกัน  โดยเพดานคือรวมกันแล้วไม่เกิน100,000 บาทเช่นกัน

      หลังจากหักค่าลดหย่อนเหล่านั้นแล้ว หากใครที่สนับสนุนทางด้านการศึกษายังมีสิทธิทางภาษีโดย เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา  มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการบริจาคเพื่อการกุศลต่างๆที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้อีกซึ่งสามารถติดตามรายระเอียดตามที่มีการประกาศโดยกรมสรรพากรอีกด้วย ทั้งนี้เงินบริจากที่เราคุ้นเคยอย่างเช่น
     การบริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ โดยองค์การสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาจะสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ด้วยเช่นกัน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #182 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2014, 05:56:30 am »
25 วิธีเด็ด ! ตรวจเช็คบ้านก่อนโอน จะได้ไม่โดนหลอก

-http://home.sanook.com/1153/25-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%94-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81/-


Sanook! Home มีเพื่อนที่เพิ่งเซ็นโอนบ้านไป แต่ผลปรากฏว่าโอนไปตั้งแต่ต้นปี ผ่านไปจนเกือบครึ่งปียังไม่ได้เข้าอยู่ เพราะบ้านมีความเสียหายที่ต้องซ่อมแซมมาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้เพื่อนเลยนั่งกุมขมับ เรื่องนี้จึงเป็นบทเรียนว่าก่อนเซ็นโอนบ้านกับหมู่บ้านใดก็ตาม เราต้องตรวจบ้านอย่างละเอียด ด้วยความเป็นห่วง จึงนำวิธีตรวจรับบ้านมาให้ลูกบ้านสนุก โฮมเก็บเอาไว้เป็นความรู้ค่ะ

เรื่องน้ำ
1.เปิดก๊อกน้ำทุกจุด ทุกตัวในบ้าน ดูว่าน้ำรั่วหรือไม่ หรือเมื่อปิดก๊อกน้ำแล้ว มิเตอร์ยังวิ่งอยู่แสดงว่ามีจุดที่น้ำรั่ว
2.เทน้ำลงบนทุกจุดที่มีทางระบายน้ำเพื่อดูการทำงานของท่อระบายน้ำ
3.เปิดน้ำแล้วดูการทำงานของปั๊มน้ำว่าทำงานปกติไหม และน้ำแรงแค่ไหน
4.ในห้องน้ำต้องมีของให้ครบทั้งอ่างล้างหน้า ก๊อกน้ำ ชักโครก สายชำระ ที่ใส่กระดาษทิชชู ที่แขวนผ้าเช็ดตัว ก๊อกน้ำและฝักบัว ฝาปิดท่อน้ำแบบกันกลิ่น

เรื่องไฟฟ้า
5.เปิด-ปิดไฟทุกดวงในบ้านว่าดวงไหนติด ดวงไหนไม่ติด หากไม่ติดให้รีบแจ้งทันที หรืออยากจะย้ายไฟดวงไหนให้แจ้ง และจดเอาไว้
6.ใช้ไขควงวัดไฟจิ้มไปที่น็อตของปลั๊กไฟ เพื่อตรวจสอบว่าไฟรั่วหรือเปล่า จากนั้นเปิดปลั๊กไฟเพื่อดูการเดินสายไฟว่ามี 3 เส้นหรือไม่ ต้องมีสายดินด้วย แล้วเอาไดร์ทเป่าผมลองเสียบแล้วดูว่ามีปลั๊กไฟอันไหนบ้างที่ใช้ไม่ได้
7.ในห้องน้ำต้องมีการเดินสายไฟสำหรับติดเครื่องทำน้ำอุ่นให้ หรือถ้าจะติดเครื่องทำน้ำร้อนที่อ่างอาบน้ำต้องให้ช่างเดินไฟไว้ให้เรียบร้อย แล้วก็ให้เดินเหมือนเดินไฟในบ้านคือมีสายดินด้วย และต้องมีเบรกเกอร์ติดแยกไว้ต่างหาก
8.ปีนหลังคาขึ้นไปดูใต้ฝ้าว่ามีการร้อยสายไฟใส่ท่อไว้ให้เรียบร้อยหรือเปล่า ก่อนขึ้นไปเปิดใต้ฝ้าต้องปิด Main Breaker ก่อน เหตุที่ใต้ฝ้าต้องร้อยสายไฟใส่ท่อเพราะเผื่อเวลาฝนตก หลังคารั่ว น้ำโดนสายไฟแล้วจะเป็นอันตรายกับบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้
9.ปิดไฟทุกดวงในบ้าน แล้วดูว่ามิเตอร์ไฟวิ่งไหม ถ้ามิเตอร์วิ่งแสดงว่าไฟรั่ว ต้องตรวจหาและแก้ไขทันที
10.สายดินของ Main Breaker ต้องฝังลึกประมาณ 2 เมตร ลองเช็คดูแล้วให้เขาฝังให้ใหม่ หรือเสียเงินฝังเองก็ได้
11.ให้เปลี่ยนหลอดไฟทุกดวงในบ้านเป็นหลอดประหยัดไฟแทน เพราะจะประหยัดเงินของเราลงได้เยอะ
12.ปลั๊กไฟนอกอาคารต้องมีตัวกั้นน้ำเพราะถ้าฝนตกจะได้ไม่เป็นอันตราย
13.กระดิ่งหน้าบ้านต้องเดินสายไฟ 3 เส้นเหมือนกัน ควรมียางกันน้ำ หรือมีกล่องครอบกันน้ำ
14.ควรติดไฟไว้รอบๆ บ้าน และเลือกติดเป็นสวิทซ์เปิดไฟ

งานพื้น
15.เดินลากเท้าเปล่าไปกับพื้นดูว่าปูพื้นเรียบร้อยไหม จากนั้นใส่ถุงเท้าเดินอีกรอบจะได้รู้ว่ามีรอยหรือเปล่า และตามร่องที่ปูสะอาดไหม
16.ใช้เหรียญบ้านเคาะที่พื้นดูว่ามีเสียงพื้นโป่งหรือเปล่า หากมีให้เอากระดาษกาวแปะทำเครื่องหมายไว้
17.ให้เอาลูกแก้ววางบนพื้น และห่างกันประมาณ 10 ซม.แล้วดูว่าลูกแก้วไหลไปทางไหน ถ้าไหลไปรวมกันแสดงว่าพื้นเป็นหลุม แต่หากจุดไหนไม่มีลูกแก้วอยู่แสดงว่าพื้นปูด

งานกำแพง
18.เช็คดูว่ากำแพงสะอาดไหม วอลเปเปอร์ที่ติดไว้เรียบเสมอกันหรือเปล่า ทำโดยใช้หน้าแนบติดกับกำแพง และดูว่ามีจุดไหนโป่งหรือเปล่า
19.ตรวจความตรงของขอบบัวติดผนังโดยใช้ไม้บรรทัดวางกับพื้นแล้วเลื่อนไปเรื่อยๆ หากมีช่วงที่โป่งหรือเว้าตัวของขอบบัว เราจะเห็นช่องระหว่างไม้บรรทัด
20.เช็คสีนอกอาคาร ดูว่ามีรอยรั่ว หรือร้าวไหม ถ้ามีให้แก้ไขด่วน
21.ประตู หน้าต่าง ต้องลองเปิดดูว่ามีการทรุดตัวไหม ลองปิดประตูแล้วเอาไฟฉายส่องดูว่ามีแสงลอดไหม รวมทั้งเมื่อล็อคประตูแล้วให้เอากุญแจลองไขดูทุกดอก
22.ประตูรั้วหน้าบ้านลงล็อคดีหรือเปล่า ใช้งานได้จริงไหม ใส่แม่กุญแจได้หรือเปล่า

งานใต้หลังคา
23.ควรตรวจในช่วงหน้าฝนเพื่อดูการรั่วซึม โดยขึ้นไปให้เหยียบที่โครงเหล็กของหลังคาแทนเหยียบบนฝ้า เพราะอาจเกิดอันตรายได้ จากนั้นใช้ไฟฉายส่อง ถ้ามีแสงลอดออกมาจากด้านนอกแสดงว่าหลังคารั่ว ต้องให้ทางโครงการมาซ่อมให้ทันที
24.ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาหากฉีกขาดต้องให้ทางโครงการมาซ่อมให้
25.สายไฟต้องร้อยอยู่ใต้โครงเหล็กหลังคา ไม่ใช่ร้อยอยู่เหนือโครงเหล็ก เพราะหากเกิดไฟช็ออตในขณะที่เราปีนขึ้นไป จะเกิดอันตรายได้
เห็นไหมคะ การตรวจเช็คก่อนเซ็นโอนบ้านมีหลายข้อที่คนซื้อบ้านควรรู้ และที่สำคัญเมื่อพบความชำรุด ความเสียหายต่างๆ แล้วต้องรีบแจ้งให้ทางโครงการแก้ไข โดยมีการลงรายละเอียด เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและวันที่ เพียงเท่านี้ลูกบ้าน Sanook! Home ก็จะได้เป็นเจ้าของบ้านแบบมีความสุขกันถ้วนหน้า

ขอบคุณข้อมูลจาก www.pantip.com


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #183 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2014, 08:08:43 am »
จัดพอร์ตลงทุน

-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-


ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่

แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง

หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)

กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ

แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #184 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2014, 08:16:58 am »
จัดพอร์ตลงทุน

-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-


ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่

แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง

หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)

กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ

แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #185 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2014, 08:17:19 am »
จัดพอร์ตลงทุน

-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-


ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่

แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง

หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)

กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ

แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #186 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2014, 08:17:42 am »
จัดพอร์ตลงทุน

-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-


ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่

แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง

หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)

กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ

แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #187 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2014, 09:24:03 pm »
10 ข้อแนะนำสำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อกองทุน LTF
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2557 09:23 น.

-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000130509-

โดยทีมจัดการการลงทุน บลจ.ทิสโก้ จำกัด

ต้องยอมรับกันว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยสามารถปรับตัวขึ้นมาได้เหนือความคาดหมายของนักลงทุนโดยรวม แม้ว่าจะมีปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศเข้ามาฉุดรั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงก็ตาม โดย SET Index สามารถไปทำจุดสูงสุดของปีนี้ที่ 1,600.16 ในวันที่ 26 กันยายน 2557 อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนตุลาคมจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยมีการปรับฐานค่อนข้างมาก

โดยเฉพาะกลุ่มยูโรโซน เนื่องจากความกังวลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวลงจากภาวะเงินฝืดและอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับนักลงทุนทั่วโลกผิดหวังต่อการตอบสนองจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ต่อนโยบายทางการเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ที่ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร การปรับฐานเนื่องจากแรงเทขายทำกำไรดังกล่าวตามมาซึ่ง “โอกาส” ของการลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนที่มีเงินได้เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ประจำปี เครื่องมือในการออมลำดับต้นๆ ที่คนส่วนมากนึกถึงคงจะหนีไม่พ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

กองทุน LTF ถือได้ว่าเป็นของขวัญจากภาครัฐที่ออกมาเพื่อสนับสนุนการลงทุนในหุ้นระยะยาวแทนที่จะเป็นการซื้อๆ ขายๆ เก็งกำไรกันรายวัน เพราะฉะนั้น นักลงทุนที่นำเงินมาลงทุนในกองทุนนี้จะได้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นของแถม เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่วางไว้ (ซื้อและถือครองไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน) ในวันนี้ทางทีมผู้เขียนมี 10 ข้อแนะนำสำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อกองทุน LTF มาฝากกันครับ

1. เลือกนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้: ปกติแล้ว กองทุน LTF ถูกกำหนดให้ลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 65% ของ NAV ซึ่งปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ มีการออกกองทุน LTF ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่หลากหลาย เช่น หุ้น 70%, 75% หรือ 100% ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนทั่วไปที่ยอมรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน

2. จ่ายปันผล?: กองทุน LTF มีทั้งแบบจ่ายเงินปันผลและไม่จ่ายเงินปันผล หากท่านเลือกแบบจ่ายเงินปันผลก็เสมือนกับท่านได้รับผลตอบแทนระหว่างทาง แต่เงินปันผลที่ได้รับจะต้องเสียภาษี (ให้เลือกระหว่างหัก ณ ที่จ่าย 10% หรือนำมารวมคำนวณในการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี) เปรียบเทียบกับแบบไม่จ่ายเงินปันผล ซึ่งผลประโยชน์ต่างๆ ในกองทุนนั้น ผู้จัดการกองทุนก็จะนำเงินที่ได้ไปลงทุนให้ผลประโยชน์งอกเงยต่อไป ช่วยให้ท่านไม่ต้องมาปวดหัวกับการยื่นและคำนวณภาษีประจำปี

3. เลือกกองทุนที่มีผลการดำเนินงานที่“สม่ำเสมอ”: ผลการดำเนินการย้อนหลังที่ดีในปีก่อนอาจไม่ใช่สิ่งที่จะรับประกันได้ว่ากองทุนนั้นจะมีผลงานที่ดีในปีถัดไป หากแต่การมีผลการดำเนินงานที่ดีสม่ำเสมอ ไม่ผันผวนจนเกินไป และบริหารกองทุนสอดคล้องกับนโยบายการลงทุน เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรให้ความสำคัญมากกว่า

4. ค่าใช้จ่ายกองทุน: อย่าลืมพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของกองทุนด้วย โดยข้อมูลตัวหนึ่งที่ควรดูคือ อัตราส่วนค่าใช้จ่าย (Expense Ratio)

5. ไม่รอซื้อ LTF ในนาทีสุดท้าย: หลายๆ ท่านมักรอเวลาจนเกือบสิ้นปีแล้วค่อยลงทุน และอาจจบที่การซื้อของแพง ในขณะที่หลายๆ ครั้งการจับจังหวะลงทุนเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายโดยเฉพาะปีที่ตลาดมีความผันผวนมากๆ การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging) น่าจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ข้างต้นและยังเป็นการสร้างวินัยการออมที่ดีอีกด้วย

สำหรับท่านยังมีความกังวลเกี่ยวกับความถูกความแพงของตลาดหุ้นไทย 4 ข้อแนะนำต่อไปนี้น่าจะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นครับ

6. Switching: หากท่านมีเงินออมไว้ในหุ้นอยู่แล้ว (หุ้นรายตัว, กองทุนรวมหุ้นไทย) การทำ switching ไปหากองทุน LTF ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีอย่างยิ่ง เพราะด้วยจำนวนเงินเดียวกัน ความเสี่ยงใกล้เคียงกัน ความถูกความแพงก็จะเป็นประเด็นรองไปเลย ยิ่งถ้าจากหุ้นรายตัวมาเป็นกองทุน LTF ก็ยิ่งดีเข้าไปอีก เพราะท่านได้ย้ายเงินไปสู่ปลายทางที่มีการกระจายความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ

7. LTF = Asset Class: ให้มองกองทุน LTF เสมือนเป็น Asset Class หนึ่งในการทำ Asset Allocation หมายความว่า ความถูกความแพงของตลาดหุ้นยังคงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องเอาใจใส่ แต่ก็ไม่มากเท่ากับการจัดสรรเงินลงทุนตามความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ในแต่ละปีที่ผ่านไป ความมั่งคั่ง (wealth) ที่เพิ่มขึ้น ท่านยังคงสามารถเจียดเงินลงทุนตามตราสารประเภทต่างๆ ได้ เพียงแต่การใส่เงินเข้ากองทุน LTF อาจจะต้องถือนานกว่าหุ้นรายตัวอื่นๆ แต่ก็เป็นวินัยที่ดีในการลงทุน

8. ลดหย่อนภาษี = Loss Cushion: ให้มองยอดเงินลดหย่อนภาษีเสมือนเป็น Cushion ของความเสี่ยงหุ้นขาลง ซึ่งถ้าหุ้นปรับตัวลงไปมากพอๆ กับจำนวนเงินที่เราลดหย่อน ก็ยิ่งเป็นโอกาสที่จะทยอยซื้อเพิ่ม เพียงแต่อาจจะร่นเวลาการจัดสรรเงินลงทุนไปยังกองทุน LTF เร็วกว่าการทยอยซื้อตลอดปี ซึ่งก็เป็นทางเลือกที่ดีหากเรามีความยืดหยุ่นในการลงทุน

9. มองกันยาวๆ: หากท่านเป็นคนที่ลงทุนในกองทุน LTF เป็นประจำ ความถูกความแพงของตลาดหุ้นน่าจะเป็นสิ่งที่ไม่น่ากังวล เพราะหากดูผลตอบแทนย้อนหลังไป 2-3 ปี เมื่อนำผลตอบแทนมาเฉลี่ยกันแล้วน่าจะเป็นที่พอใจหากเปรียบเทียบกับตราสารประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ก็เพราะในปีที่ไม่ดีก่อนหน้า ก็มีปีที่ดีปีอื่นๆ ชดเชยกันไป

10. อย่ามองข้าม RMF: คนทำงานส่วนใหญ่มักลงทุนในกองทุน LTF เพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษี และไม่เลือกกองทุน RMF เพราะรู้สึกว่าต้องลงทุนต่อเนื่องจนครบอายุ 55 ปีจึงจะสามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนได้ ความจริงแล้ว กองทุน RMF เป็นเครื่องมือสำคัญของการออมเพื่อวัยเกษียณ การมีเงื่อนไขของเวลาเป็นการสร้างวินัยการออมป้องกันไม่ให้นำเงินก้อนนี้ไปใช้ระหว่างทาง

นอกจากนี้ กองทุน RMF ในปัจจุบันมีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลาย (หุ้นในประเทศ/ต่างประเทศ, ตราสารหนี้, สินค้าโภคภัณฑ์) ซึ่งสามารถตอบโจทย์นักลงทุนที่มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #188 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2014, 10:11:39 pm »
สุขภาพการเงินที่แข็งแรง สร้างได้ไม่ยาก

-http://money.kapook.com/view104749.html-


สุขภาพการเงินที่แข็งแรง สร้างได้ไม่ยาก (ธนาคารกสิกรไทย)

        สุขภาพการเงินที่แข็งแรงสามารถสร้างได้ โดยการออมเงินสม่ำเสมอทุกเดือน และแบ่งเงินออมบางส่วนไปลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก

        หลังจากที่เราได้เช็คสุขภาพการเงินกันไปและได้ทราบผลตรวจสุขภาพการเงินของเราเอง โดยการตอบคำถาม 2 ข้อคือ ทุกวันนี้มีเงินใช้สบาย ๆ แบบที่ไม่มีหนี้ท่วมหัว และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต้องใช้เงิน ก็มีเงินสำรองเพียงพอไว้ใช้จ่ายกันแล้ว ในสัปดาห์นี้เรามาทำให้สุขภาพการเงินที่ดีของเรามีความแข็งแรงมากขึ้นดีกว่า ด้วยการทำตามคำแนะนำ 2 ข้อ ดังต่อไปนี้ค่ะ

ข้อ 1 เก็บออมเงินสม่ำเสมอทุกเดือน

        หลังจากที่เราปลดหนี้ได้สำเร็จและมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 6 เท่าของรายจ่ายในแต่ละเดือนแล้ว คราวนี้เราก็จะมีเงินเหลือสำหรับเก็บออมอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน

        แต่ถ้าใครรู้ตัวว่า ตัวเองเป็นคนใช้เงินเก่งและเก็บเงินไม่ค่อยอยู่ ก็ลองบังคับตัวเองให้ออมเงินก่อนอย่างน้อย 15% ของรายได้ต่อเดือน แล้วค่อยนำเงินที่เหลือจากการออมไปใช้จ่าย เช่น มีรายได้เดือนละ 15,000 บาท ก็ออมก่อน 15% คือ 2,250 บาท โดยแนะนำให้นำเงินส่วนนี้ไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี เนื่องจากเป็นบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีเงินฝากประเภทอื่น และดอกเบี้ยที่ได้ก็ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งบัญชีเงินฝากประเภทนี้จะเหมาะกับคนที่ออมเงินเป็นประจำ ยอดเงินเท่ากันทุกเดือน เช่น ออมเดือนละ 2,000 บาท และออมได้ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปค่ะ

        สำหรับใครที่สามารถออมเงินได้อย่างสม่ำเสมอทุกเดือนก็ถือว่าเก่งมากค่ะ แต่แค่นั้นยังไม่พอ ถ้าอยากให้สุขภาพการเงินของเราแข็งแรงขึ้นไปอีกก็ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ค่ะ
 
ข้อ 2 นำเงินไปลงทุนในรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก

        เมื่อสามารถออมเงินได้สม่ำเสมอทุกเดือนแล้ว เราควรจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากเพื่อเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่จะเลือกลงทุนในรูปแบบไหนนั้น ให้ดูที่จุดประสงค์ในการใช้เงินและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้เป็นหลักค่ะ เช่น หากยังไม่มีเป้าหมายในการใช้เงินระยะสั้น และรับความเสี่ยงได้ปานกลาง แนะนำให้แบ่งเงินออมส่วนหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมผสม ซึ่งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก แต่หากรับความเสี่ยงได้สูง แนะนำให้แบ่งเงินออมส่วนหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นเนื่องจากมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่ากองทุนรวมผสมค่ะ

        ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง เมื่อมีความเสี่ยงสูงขึ้น ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงหรือขาดทุนสูงได้เช่นกัน ดังนั้นเงินที่จะนำมาลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจะต้องเป็นเงินเย็นเท่านั้น และก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในรูปแบบใดก็ตาม ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นค่ะ

จะเห็นได้ว่า สุขภาพการเงินที่ดีและแข็งแรงสามารถสร้างได้ไม่ยาก เริ่มจาก

         มีเงินใช้สบาย ๆ แบบที่ไม่มีหนี้ท่วมหัว

         เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต้องใช้เงิน ก็มีเงินสำรองเพียงพอไว้ใช้จ่าย 6 เท่าของรายจ่ายในแต่ละเดือน โดยออมเงินไว้ในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น

         มีเงินเหลือเก็บออมอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน

         นำเงินไปลงทุนในรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก

        เพียงเท่านี้เราทุกคนก็จะมีสุขภาพการเงินที่ดีและแข็งแรงกันถ้วนหน้า หากวันนี้ใครยังไม่สามารถทำได้ครบทั้ง 4 ข้อ ก็อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป ขอเพียงเรามุ่งมั่น ตั้งใจ และมีเป้าหมายอย่างชัดเจน สักวันเราก็จะมีสุขภาพการเงินที่ดีและแข็งแรงได้ค่ะ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับที่ปรึกษาลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย ได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com และ เว็บบอร์ด K-Expert ซึ่งจัดทำขึ้นผ่านทางเว็บไซต์ www.askKBank.com/K-Expert และติดตามข่าวสารการเงินได้ที่ Twitter@KBank_Expert

Tips

         จดบันทึกรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือน และปรับลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลง

         ศึกษารูปแบบการลงทุนที่สนใจอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน

         พยายามดูแลรักษาสุขภาพการเงินให้ดีและแข็งแรงอยู่เสมอ







คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #189 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2014, 08:44:05 am »
วิกฤตพลิกชีวิต...ล้มได้ ก็ลุกได้

-http://money.sanook.com/215569/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95...%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89/-



ตลาดหุ้นมีความผันผวนตลอดเวลา เมื่อมี “หุ้นขึ้น” ก็ต้องมี “หุ้นลง” สลับกันแบบนี้เรื่อยไป ไม่แตกต่างกับชีวิตของเราอาจจะเจอช่วง “ขาขึ้น” ที่เจอแต่สิ่งดีๆ ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ จับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมดและบางช่วงอาจจะเป็น “ขาลง” ที่เจอแต่เรื่องแย่ๆหลายเรื่องพร้อมกัน เหมือนโปรโมชั่นชีวิตขาลงที่จะทำอะไรล้วนเจอแต่อุปสรรค หากเราเข้าใจสัจธรรมตรงนี้ก็จะสามารถทำใจและปรับตัวให้เข้ากับแต่ละสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น


คุณศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิ หรือที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในชื่อของ "ศิริวัฒน์แซนด์วิช"  เป็นอดีตนักลงทุนที่ครั้งหนึ่งเคยประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตจากการเป็นผู้บริหารหลักทรัพย์และเจ้าของโครงการคอนโดมิเนียมมูลค่าหลายพันล้านบาทและรู้จักกับคำว่าล้มละลายในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ชีวิตที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมายเหล่านี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆคนที่เจอวิกฤตเช่นเดียวกันให้ผ่านพ้นมาได้ รวมถึงเป็นประสบการณ์ให้กับนักลงทุนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดีในเรื่องการลงทุนอย่างไม่ประมาท

3 บทเรียนจากวิกฤตพลิกชีวิต...ล้มได้ ก็ลุกได้


บทเรียนที่ 1 การประสบความสำเร็จนั้นนำไปสู่ความล้มเหลว
 เมื่อเราทำอะไรที่ประสบความสำเร็จไปทุกอย่าง ทำธุรกิจอะไรก็เติบโตได้กำไรมากมายและไม่เคยล้มเหลวเลยนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เพราะเราจะมีความมั่นใจสูงสุดว่าทุกอย่างต้องทำสำเร็จ เมื่อความมั่นใจมีมากล้นจนมองไม่เห็นสัญญาณของความล้มเหลวก็จะทำให้เราตัดสินใจด้วยความประมาท เช่น กู้เงินมาทำธุรกิจเพื่อให้กิจการขยายตัวเร็วที่สุดเพราะมั่นใจว่าเป็นโอกาสที่สร้างกำไรได้อย่างมหาศาล โดยไม่ระมัดระวังว่าหากเกิดเรื่องเลวร้ายขึ้นจะมีแผนสำรองอย่างไร เหมือนชีวิตที่ไม่รู้จักวางแผนฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากผลลัพธ์ออกมาไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิดไว้ ดังนั้น หากเรามีความมั่นใจกับทุกเรื่องก็ควรใส่คำว่า “ระมัดระวังและไม่ประมาท” เข้าไปด้วย เพื่อเป็นความมั่นใจที่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์
 
บทเรียนที่ 2 เราจะรู้สึกดีขึ้นหากเจอคนที่แย่กว่าเรา
 ช่วงปี 40 หลายคนมีหนี้สินเพิ่มขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวหรือถูกให้ออกจากงานกระทันหัน เมื่อไม่มีงานทำบวกกับหนี้สินพอกพูน ทำให้หลายคนเกิดความเครียด ไม่มีจิตใจที่อยากจะหายใจอยู่บนโลกนี้อีกต่อไปจึงหนีปัญหาด้วยวิธีฆ่าตัวตายมากขึ้นเพราะคิดว่าปัญหาของตนเองนั้นใหญ่เกินกว่าจะแก้ไขได้ จากกรณีของคุณศิริวัฒน์ที่ยืนขายแซนด์วิชก็มีทั้งคนที่มาให้กำลังใจให้เขาสู้ต่อไปและบางคนที่มาขอบคุณเรื่องราวหนี้สินพันล้าน จนทำให้เขาเลิกคิดฆ่าตัวตายเพราะทำให้รู้สึกว่าหนี้ของคนอื่นมากกว่าแต่ก็ยังสู้ชีวิต ส่วนหนี้ของตนเอง 15 ล้านนั้นดูเล็กลงไปมาก

บทเรียนที่ 3 ล้มได้...ก็ลุกได้
 จิตใจที่ไม่เคยถูกกระทบกระเทือนจากความล้มเหลวนั้นเป็นเหมือนเพชรเม็ดงามที่ถูกฝังอยู่ในเหมืองไม่มีใครเห็นความงดงาม แต่ถ้าหากจิตใจผ่านพ้นเรื่องราวเลวร้ายที่สุดในชีวิตมาได้ก็จะเหมือนเพชรที่ถูกเจียระไนกลายเป็นเพชรเม็ดงามทรงคุณค่าที่ใครๆต้องการครอบครอง จากกรณีของคุณศิริวัฒน์ที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายจนทำให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความอดทนกับปัญหา กล้าเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และใช้ความรู้ความสามารถที่มีสร้างทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ได้


 "ศิริวัฒน์แซนด์วิช" นับเป็นตัวอย่างประสบการณ์ชีวิตที่ครบรสชาติมากๆ ซึ่งคนรุ่นใหม่ควรศึกษาเป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อจะได้ระมัดระวังในการใช้ชีวิตและการลงทุนมากขึ้น แม้ว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอาจจะแตกต่างกับในอดีต แต่เราสามารถนำวิธีคิดเหล่านี้ไปปรับใช้ได้ เพราะไม่มีใครสามารถคาดการณ์อนาคตถูกต้อง 100% เราเพียงใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทโดยเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตเป็นตัวนำทางเพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

ผู้เขียน : อภินิหารเงินออม
สนับสนุนข้อมูลโดย : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  (-www.set.or.th/onlineinvestor-)
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)