ผู้เขียน หัวข้อ: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"  (อ่าน 150507 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #60 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2013, 02:28:39 pm »
เมื่อผมถูกตำรวจควบคุมตัวไม่ให้ออกจาก ธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน
-http://pantip.com/topic/30484962-

ความคิดเห็นที่ 163
ผม นายคมสัน จันทร์สืบสาย ผู้จัดการธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน ขอแสดงความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด และต้องขอโทษแทนธนาคารกรุงไทย และบริษัทในเครือของธนาคาร  ที่เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้นในสาขาที่กระผมรับผิดชอบ  ซึ่งกระผมได้สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้น และได้โทรศัพท์นัดหมายกับคุณวรเทพ เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไขในเรื่องที่เกิดขึ้น   เรียบร้อยแล้ว
      กระผมขอยืนยันและให้ความเชื่อมั่นกับคุณวรเทพว่า  ถึงแม้จะไม่มีกล้องวงจรปิดในบริเวณนั้น ผมรับรองว่าเรื่องนี้จะได้รับการตรวจสอบอย่างโปร่งใส และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
                                              ขอขอบคุณสำหรับทุกความเห็น และต้องขอโทษในเรื่องที่เกิดขึ้นอีกครั้ง


ความคิดเห็นที่ 21
สวัสดีค่ะคุณลูกค้า
ธนาคารกรุงไทยขออภัยในความไม่สะดวกในการให้บริการค่ะ _/\_  รบกวนขอชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ ทางหลังบ้านเพื่อประสานงานตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนะคะ



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #61 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2013, 02:40:33 pm »
เมื่อผมถูกตำรวจควบคุมตัวไม่ให้ออกจาก ธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน
-http://pantip.com/topic/30484962-


ความคิดเห็นที่ 17
อ่า ตอบได้อย่างเดียวว่าคุณภาเป็นพนักงานกรุงไทย แอ็กซ่า ไม่ใช่พนักงานกรุงไทยครับ (แอ็กซ่าเป็นบริษัทที่เกิดจากกรุงไทยกับประกันแอ็กซ่าร่วมกันครับ)

งงมั๊ย ... เหมือนกับ KTC กับ KTB ครับ คนละบริษัทกัน แต่อยู่เครือเดียวกันประมาณนั้น

ส่วนเรื่องอื่นๆ อยากให้ฟ้องกลับฐานแจ้งความเท็จต่อจนท.ตำรวจ
และชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริงไปที่บริษัทกรุงไทยแอ็กซ่า รวมถึงสำนักงานเขตที่ดูแลธ.กรุงไทย สาขานี้ครับครับ เพื่อไม่ให้เกิดเห็นการณ์แบบนี้อีก

ปล. เรื่องนี้ผมได้ฟังความข้างเดียว  รับทราบแค่ข้อมูลส่วนของ จขกท. ฉะนั้นจึงแนะนำตามที่เห็นในข้อความครับ หากข้อเท็จจริงผิดไปจากนี้ก็รอดูข้อมูลแล้วค่อยว่ากัน


ความคิดเห็นที่ 18
ของผมกู้กรุงไทยเหมือนกัน  แค่โทรไปคอลเซ็นเตอร์ บอกว่าไม่ได้ใบเสร็จมาหลายเดือนแล้ว

แค่เนี้ย  ผจก.สาขาที่เรากู้โดนตัดคะแนนเลยนะครับ  ทั้งๆที่ผมไม่ได้มีเจตนาอะไรแบบนั้นเลย แค่อยากได้ใบเสร็จไว้ป้องกันตัวเฉยๆ

ถ้ารู้ชื่อจริง นามสกุลจริง  ลองโทรไปคอลเซ็นเตอร์ดูครับ


ความคิดเห็นที่ 19
เขามาอ่านรู้สึกว่าอ่านแล้วรู้สึกโมโหแทนคะ ( ถ้าเป็นตามคุณเล่ามานะคะ ) ลองยื่นเรื่องกับแบงค์อื่นดูคะ จริงๆเรื่องประกันทางแบงค์ไม่สิทธิบังคับเราทำนะ มีในกฎหมายห้ามไว้ด้วยคะ จะมีแต่ประกันประเภทที่ว่าเมื่อเรากู้ผ่านแล้วจะทำก้อคือประมาณว่าถ้าเราเป็นอะไรไปคนข้างหลังไม่ต้องรับภาระหนี้สิ้นที่เราเป็นอยู่ แต่การกระทำของพนักงานที่แสดงออกกับคุณ น่ากลัวที่สุด


ความคิดเห็นที่ 37
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือ "จิตใจ" ของผู้อื่น ผู้นั้นกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ผู็ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวา่งโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(ข้อแนะนำโปรดหลอกถามให้ได้ว่าทำอย่างงี้เป็นประจำ)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ผู้ใดกระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือโดยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ(ข้อนี้ก็เช่นกัน ทำให้เค้าหลุดปากพูดว่าเค้าทำเป็นประจำ เจ้าหน้าจะได้นำไปประกอบการพิจารณาลงโทษขั้นสูงสุด)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 379

อันนี้ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวไหม

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ(คือถ้าบอกล้างก็จะเป็นโมฆะถ้าให้การรับรองก็สมบูรณ์) แต่การถูกกลฉ้อฉลต้องถึงขนาดซึ่งถ้าไม่มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้ทำขึ้น



ความคิดเห็นที่ 41
อ่านมาตั้งแต่ต้นจนจบ ในส่วนคำถามที่คุณอยากทราบ คงต้องให้ทางกรุงไทยมาชี้แจงแล้วล่ะ

แต่ในส่วนที่คุณเสียความรู้สึกนั้น คงต้องเสียความรู้สึกอยู่แล้ว แต่ส่วนอื่นๆ ผมไม่เห็นว่าจะเสียหายตรงไหน

- ถ้าคุณกู้บ้านไม่ผ่าน คุณก็ไปติดต่อแบงค์อื่นก็ได้ ใช่ว่าจะมีแต่กรุงไทยที่คุณจะขอกู้ได้ เราไม่จำเป็นต้องง้อแบงค์สักหน่อย
- ชื่อคุณไม่น่าจะอยู่ในบันทึกของตำรวจ เพราะคุณไม่ได้ถูกเชิญไปที่โรงพัก อีกทั้งยังมีหลักฐานว่าคุณไม่ได้หมิ่นประมาท (จากเทปที่อัดเสียง) ไม่ได้ทำร้ายร่างกาย ตำรวจคงไม่ได้ลงบันทึกประจำวันไว้หรอกครับ
- จะปกครองลูกน้องยังไง ก็ปกครองเหมือนเดิม ไม่เห็นมีอะไรเสียหาย ถ้าคุณไม่ได้เป็นฝ่ายผิด ลูกน้องคุณคงเข้าใจ
- เจ้าหน้าที่คนอื่นจะบริการคุณหรือไม่ ทำไมต้องแคร์ แบงค์นี้ไม่บริการก็ไปใช้บริการที่อื่น หรือสาขาอื่น ผมคิดว่าคนที่ต้องอาย คือพนักงานแบงค์ที่คุณมีปัญหาด้วยมากกว่า ที่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่ดีต่อลูกค้า ไม่ใช่ตัวคุณ
- ลูกค้าธนาคารคนอื่น ควรจะเห็นใจคุณมากกว่าที่จะประนามคุณ ถ้าคุณไม่ได้ทำนิสัย หรือมารยาทที่ไม่ดี แถมลูกค้าท่านอื่นสมควรที่จะไม่พอใจการบริการของแบงค์ซะด้วยซ้ำนะครับ
- ทำไมคุณต้องกลัวคนอื่นด้วยล่ะ ในเมื่อคุณไม่ได้ทำอะไรผิด ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่พอใจบริการของที่นี่ ก็ไปใช้บริการแบงค์อื่น หรือถ้าคุณคิดจะใช้บริการของที่นี่อยู่ ก็ไปใช้สาขาอื่น มีเจ้าหน้าที่คนอื่นยังยินดีต้อนรับ ใช้ว่าพนักงานแบงค์ทุกคน ทุกสาขาเขาจะบริการไม่ดีซะทุกคนสักหน่อย
- ภาพในกล้องวงจรปิดมันมีทุกที่ คุณเดินเข้า 7-11 มันก็มีกล้องวงจรปิด ถ้าไม่ได้ทำผิดสักอย่าง แล้วจะกลัวอะไร

ผมว่าคุณจะวิตกจริตเกินไปนะสำหรับหลายๆ เรื่อง ถ้าเป็นผมๆ ไม่แคร์หรอก ไม่ได้ทำอะไรผิดสักอย่าง จะกลัวตำรวจ กลัวพนักงานคนอื่น จะอายใครทำไม คนที่อายคือคนที่ทำผิดมากกว่า

สำหรับความต้องการของคุณที่อยากจะให้ทางแบงค์ดำเนินการกับพนักงานที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คงต้องให้ทางแบงค์จัดการเอง

แต่สำหรับในเรื่องการทำประกัน ผมเห็นว่าเดี๋ยวนี้หลายๆ แบงค์มีนโยบายเหมือนกันนะ ถ้าเขาจะไม่อนุมัติให้คุณกู้ หากคุณไม่ทำประกัน คุณก็ควรจะทำใจ เพราะเดี๋ยวนี้แบงค์นอกจากปล่อยกู้แล้ว ยังต้องทำรายการอื่นๆ อีก

ปัจจุบันเข้าแบงค์ฝาก-ถอนเงินธรรมดา พนักงานก็ยัดเยียดอยู่นั่นแหละ ทำประกันชีวิตไหมพี่ มีบัตรเครดิตหรือยัง สนใจซื้อกองทุนหรือเปล่า บลาๆๆๆ มากมายสารพัดสินค้า ที่จะพยายามยัดเยียดคุณ

ผมคิดว่าทุกแบงค์มีนโยบายคล้ายกันหมดแหละครับ เขาคิดว่าคนที่ไปขอกู้เดือดร้อน อยากได้เงิน เขาก็เลยได้โอกาสยัดเยียดสินค้าพ่วงมาให้ด้วยมากกว่าครับ



ความคิดเห็นที่ 154
เจ้าของกระทู้ทนให้เค้าพูดจาอย่างนี้อยู่่ได้ไง เป็นคนอื่นคงฟาดเปรี้ยงเข้าให้แล้ว
แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าเราไปขอกู้เงินเค้า ก็ต้องทนฟัง ยอมๆไปหน่อย แต่เยอะขนาดนี้น่าจะจัดหนักหน่อย
แจ้งความกลับเลยครับ ร้องไปธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย 
แจ้งไปทาง คปภ. ให้ตรวจผลสอบใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตว่ามีใหม ที่ขายๆกันอยู่เนี่ยะ ถ้ามีให้ถอนใบอนุญาต
และถ้าเค้าผิดจริงให้ทางธนาคารทำเป็นหนังสือมาครับ เซ้นด้วย ไม่ใช่มาขอโทษด้วยวาจาแล้วจบไป



ความคิดเห็นที่ 155
สงสัยว่า เรื่องทำประกันต้องตกลงกันก่อนแต่แรกแล้วไม่ใช่หรอครับ แล้วไม่ตรงตามเงื่อนไขคืออะไร ในเมื่อประกันบ้านมันมีแบบเดียว คือคุ้มครองจากการเสียชีวิตและชำระเบี้ยครั้งเดียว ถ้าลูกค้าเกิดเป็นอะไรขึ้นมาหนี้ก็เสียเป็นภาระกับธนาคาร ซึ่งธนาคารทุกที่เค้าก็ให้ทำหมด อาจจะยกเว้นแค่ออมสิน ถ้าเช่นนั้นรบกวนเจ้าของกระทู้บอกด้วยที่ว่าไม่ตรงตามที่คุยคืออะไร ผมไม่ได้เข้าข้างธนาคารและก็เห็นด้วยที่ว่าพนักงานที่ชื่อภาผิด แต่ผมแค่สงสัยประเด็นที่ จขกท กล่าวตอนแรกว่าตกลงทำไปแล้ว แล้วทำไมถึงเกิดเปลี่ยนใจ ทั้งที่ธนาคารอนุมัติแล้ว


http://pantip.com/topic/30484962

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #62 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2013, 02:47:13 pm »
พนักงานของบริษัทนายหน้าประกันภัยต้องมีใบอนุญาตหรือไม่? ฉบับที่ 156
-http://www.sumret.com/content.php?id=919&group_id=26-


สวัสดีครับ .พบกับการก้าวไปอย่างมั่นคง ก้าวไปอย่างปลอดภัย กับ....ก้าวทันประกันภัยและ เพื่อไม่ให้ต้องเสียเวลาเรามาก้าวทันกันต่อเลยครับ
                คำถาม  : จากคุณ  สมชาย กรุงเทพฯ “ ได้รับคำเชิญชวนจากเพื่อนให้เปิดบริษัทนายหน้าประกันวินาศภัย มีคำถามอยากทราบว่า ลูกจ้างของบริษัทที่จะทำหน้าที่ในการดำเนินการเพื่อรับประกันภัยนั้นต้องมีใบอนุญาตเป็นนายหน้าด้วยหรือไม่อย่างไร?”

                อ.ประสิทธิ์ : ก่อนอื่นต้องขออนุญาตนำข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาอธิบายความกันก่อนนะครับว่า บุคคลที่ถือว่าเป็นคนกลางในธุรกิจประกันภัยในอันจะดำเนินการจัดทำประกันภัยก็คือ ตัวแทน  และ นายหน้า   ซึ่งตาม ปพพ.มาตรา 845 นั้นหมายถึง  “บุคคลหรือ นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจบริการแก่สาธารณะ เพื่อชี้ช่องหรือจัดการให้ทำสัญญาประกันภัย ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย”  หรือพูดภาษาง่ายๆก็คือบุคคล หรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่บริษัทประกันภัย ที่ทำหน้าที่ในการขายประกันภัยและรับเบี้ยประกันภัย แทน บริษัทประกันภัยนั่นเองดังนั้นความเป็นตัวแทนหรือความเป็นนายหน้าในความหมายจึงคล้ายกันจะมี ความแตกต่างระหว่างการเป็นตัวแทน กับ การเป็นนายหน้าประกันภัยนั้น ก็มีเพียงเล็กน้อย คือ ตัวแทนหมายถึงคนที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นตัวแทนของบริษัทหนึ่งบริษัทใด โดยบุคคลนั้นจะทำหน้าที่ในการขายให้กับบริษัทนั้นๆเป็นการเฉพาะ ในขณะที่ บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าประกันภัยนั้น สามารถเสนอขายและดำเนินการเพื่อรับประกันภัยแทนบริษัทประกันภัยได้หลายบริษัท โดยเฉพาะการเป็นนายหน้าประกันภัย นั้นจะมีอยู่ สองแบบคือ   1. การเป็นนายหน้า แบบบุคคล ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปที่มีใบอนุญาตเป็นหน้าหน้าประกันภัย และ 2. .การเป็นนายหน้าแบบนิติบุคคล  หมายถึง การประกอบธุรกิจเป็นบริษัทนายหน้าประกันภัย  ซึ่งจะเหมือนกันทั้งการประกันชีวิต และ การประกันวินาศภัย

             ทีนี้เรามาเข้าคำถามของคุณ สมชายครับที่ถามว่าการดำเนินการประกอบธุรกิจเป็นบริษัท นายหน้าประกันภัยนั้นจะมีข้อบังคับอย่างไรบ้าง..โดยผมอธิบายเป็นสามขั้นตอนดังนี้ครับ

             ขั้นตอนที่หนึ่ง : การขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดนั้นก็เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ว่าด้วยบริษัท
                          จำกัดทั่วไป
            ขั้นตอนที่สอง : การยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าที่นิติบุคคลกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและ
                          ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ( แบบ นว.5 ) โดยต้องมีรายละเอียดอันเป็นสาระ
                          สำคัญดังนี้

             1.    บริษัทนั้นต้องมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการนายหน้าประกันวินาศภัย

             2.    ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า สองล้านบาทโดยการชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่า

             3.    กรรมการ 3  ในสี่ ต้องมีสัญชาติไทย และต้องมีใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยไม่น้อยกว่า 5 คน

             4.    เอกสารประกอบการขอยื่นต้องยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าที่นิติบุคคลนั้นต้องครบสมบูรณ์ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนใขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย

ขั้นตอนที่สาม : ต้องเปิดดำเนินการธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยภายใน 2 เดือนหลังได้รับใบอนุญาตโดย
              การดำเนินการนั้นต้องปฏิบัตตามกฎหมายและข้อบังคับตลอดจนกฎระเบียบของ คปภ. ดังนี้
               1.    ต้องดำรงกองทุนไม่น้อยกว่า หนึ่งล้านบาทตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
               2.    ต้องจัดทำสมุดทะเบียน และสมุดบัญชี และเอกสารเกี่ยวกับธุรกิจ
               3.    ต้องยื่นรายงานผลประกอบการธุรกิจต่อนายทะเบียนตามที่กำหนด
               4.    ต้องมีนายหน้าปฏิบัติงานประจำในสำนักงานนิติบุคคลนั้นไม่นอยกว่า 1 คนเพื่อให้บริการประชาชน
               5.    ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทประกันภัยให้เป็นผู้สามารถดำเนินการเพื่อรับประกันภัยและรับค่าเบี้ยประกันภัยได้

               ดังนั้นจากคำถามของคุณสมชาย ที่ถามว่าพนักงานลูกจ้างของบริษัทนายหน้าประกันวินาศภัยจะต้องมีใบอนุญาตเป็นนายหน้าหรือไม่นั้น.. คำตอบจึงไม่จำเป็นครับเพราะว่าบริษัทนายหน้านั้นเป็นนิติบุคคลแล้ว การดำเนินการใดๆก็จะเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทจำกัดทั่วไปคือลูกจ้างที่ทำการในทางที่จ้างตามที่นายจ้างมอบหมายให้กระทำการก็มีผลผูกพันกับนิติบุคคลนั้นแล้ว เพียงแต่สิ่งที่บริษัทนายหน้าจะต้องดำเนินการเพิ่มเติมในส่วนของการเสนอขายและรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยนั้นต้องให้ทางบริษัททำหนังสือมอบอำนาจให้กับพนักงานที่มีหน้าที่ในกการรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย มาตรา 66:    วรรคสองกำหนดว่า นายหน้าประกันวินาศภัยหรือพนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน อาจรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทประกันภัยนั้น    ( หากฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี  ปรับไม่เกิน  200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ )และ มาตรา 66/2:    ที่กำหนดไว้ว่า นายหน้าประกันวินาศภัย หรือ พนักงานของบริษัทต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจจากบริษัททุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงาน ของบริษัทภัยต้องออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัททุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท (ปรับไม่เกิน 30,000 บาท) และหากการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้เอาประกันภัย   ( โทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ) และนอกจากนี้แล้วคุณสมชายในฐานะเจ้าของกิจการเองก็ต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติในการนำเสนอขายประกันภัยของพนักงานของท่านด้วยอีกทางหนึ่งเนื่องจากได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายว่าตัวแทนหรือนายหน้าประกันวินาศภัยต้องแสดงใบอนุญาตการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าทุกครั้งที่มีการสเสนอขายประกันให้กับลูกค้าประชาชน คุณสมชายในฐานะเจ้าของกิจการก็ต้องแจ้งให้พนักงานต้องแจ้งและแสดงใบอนุญาตการเป็นนายหน้านิติบุคคลให้กับลูกค้าหรือประชาชนทุกครั้งเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายในช่องทางหนึ่งช่องทางใดก็ตาม

             ดูเหมือนว่ารายละเอียดและเงื่อนไขจะมากทำให้เกิดความยุ่งยากหรือไม่... ก็ต้องขอเรียนกับคุณสมชาย และท่านผู้อ่านด้วยนะครับว่า อาชีพการเป็นตัวแทน หรือ นายหน้านั้น จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างยิ่งที่ผ่านมานั้นค่อนข้างมีปัญหา การที่กฎหมายมีการกำหนดไว้ให้เป็นเช่นนี้นั้นก็เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานทางวิชาชีพตัวแทน หรือ นายหน้าให้มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีการกำหนดอีกครับว่าตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยจะต้องเข้ารับการอบรมทุกครั้งก่อนมีการต่ออายุใบอนุญาตเพื่อปลุกจิตสำนึกการให้บริการ อันเป็นการส่งเสริมจรรยาบรรณในอาชีพเพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองและการบริการที่ดีจากธุรกิจประกันภัย หากมองในภาพรวมแล้วประชาชนทั่วไปย่อมได้ประโยชน์อย่างแน่นอน ...ครั้งหน้าเราจะมาพูดถึงเรื่องจรรยาบรรณของตัวแทน และ นายหน้าประกันวินาศภัยกันครับ...แล้วพบกัน..สวัสดีครับ.  ประสิทธิ์  คำเกิด                 


อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ปีที่ 7 ฉบับที่ 156 ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 36-31 พฤษภาคม 2552
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #63 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2013, 02:49:57 pm »

ซื้อขายประกันภัยทางโทรศัพท์...กฎเกณฑ์ที่ผู้ซื้อควรรู้
-http://www.oknation.net/blog/print.php?id=534537-

ได้อ่าน ภัยใกล้ตัว..! สมัครบัตรเครดิต แถมหลอกขายประกันชีวิต เป็นหนี้ไม่รู้ตัว ยิ่งกว่าโดนกระชากกระเป๋า ของบล็อกเกอร์ สิปาง
เลยคิดว่าน่าจะนำเรื่องนี้มาลงให้เราได้รู้สิทธิของเราในฐานะผู้ซื้อ...เพื่อประโยชน์ของเราเอง ค่ะ
*****

ซื้อขายประกันภัยทางโทรศัพท์
กฎเกณฑ์ที่ผู้ซื้อควรรู้

ค้นหาใน บมจ. ไทยเศรษฐกิจประกันภัย http://www.tsi.co.th/tips.asp?tid=193

ทุกวันนี้การเสนอขายสินค้าผ่านโทรศัพท์ หรือเทเลมาร์เก็ตติ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญในการทำตลาดสินค้าหลากหลายประเภท โดยเฉพาะประกันภัยที่ใช้ช่องทางนี้ค่อนข้างมาก แม้ด้านหนึ่งการขายผ่านช่องทางนี้จะทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มรำคาญ และรู้สึก "ไม่ชอบ" จนมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่อีกด้านหนึ่งก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกซื้อผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้ง เพราะ "ชอบ" ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายได้เช่นกัน เห็นได้จากยอดขายกรมธรรม์ผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้งในไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่ากว่า 2.3 พันล้านบาท ซึ่งประเมินภาพรวมทั้งปีอาจสร้างเบี้ยสูงถึง 1 หมื่นล้านบาท

ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการบริหารความ "ชอบ" และ "ไม่ชอบ" ของคนสองกลุ่มนี้ก็คือ การมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อควบคุมการขายผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้ง และไม่เป็นการรบกวนผู้บริโภคจนก่อให้เกิดความรำคาญ ซึ่งธุรกิจประกันภัยถือเป็นธุรกิจแรกที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขายทั้งในเชิงของการเป็นมาตรฐานจริยธรรมทางวิชาชีพ และการเป็นกฎหมาย



หลักปฏิบัติที่สำคัญของการขายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์นั้น

    ประการแรก ตัวแทนหรือนายหน้าที่จะโทรศัพท์ไปเสนอขายแบบประกันนั้นจะต้องสอบใบอนุญาตการเป็นตัวแทน
    ทั้งยังต้องขึ้นทะเบียนการเป็นผู้เสนอขายแบบประกันผ่านทางโทรศัพท์กับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ด้วย
    ขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องวิเคราะห์ฐาน ลูกค้าเพื่อมาออกแบบกรมธรรม์ให้เหมาะสม
    รวมถึงแบบประกันที่จะเสนอขายต้องได้รับอนุมัติจาก คปภ.ก่อนเช่นกัน

การเสนอขาย

ในการโทรศัพท์ไปเสนอขายแบบประกันจะต้องอยู่ในช่วงวันจันทร์-เสาร์ ระหว่างเวลา 08.30-19.00 น. โดยขั้นตอนการเสนอขาย ตัวแทนต้องแจ้งชื่อ-สกุล, เลขที่ใบอนุญาต และชื่อบริษัทประกัน ซึ่งต้องชี้แจงว่าจะเป็นการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย

หากผู้บริโภคไม่สนใจและปฏิเสธที่จะสนทนาต่อตัวแทนก็ต้องยุติการเสนอขายทันที พร้อมกับบันทึกชื่อลูกค้ารายดังกล่าวไว้ในอีกบัญชีหนึ่งและต้องไม่ติดต่อไปเสนอขายกรมธรรม์แก่ลูกค้ารายนั้นอีกไม่น้อยกว่า 6 เดือน

ในกรณีที่ลูกค้าสนใจและอนุญาตให้เสนอขายกรมธรรม์ได้ ตัวแทนต้องขออนุญาตบันทึกเสียงการสนทนาก่อนจะเสนอขายและอธิบายรายละเอียดของแบบประกันทั้งความคุ้มครอง, ผลประโยชน์, ข้อยกเว้น, เบี้ยประกัน, ระยะเวลาเอาประกัน ไปจนถึงช่องทางการชำระเบี้ย

หลังการซื้อขาย

หลังจากตกลงซื้อกรมธรรม์ภายใน 7 วันหลังจากส่งกรมธรรม์ไปให้ผู้เอาประกันแล้ว บริษัทจะต้องโทรศัพท์ไปขอคำยืนยันจากผู้เอาประกันอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้เอาประกันยังมีระยะเวลาในการขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย (free look period) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์จากบริษัท ในกรณีนี้ผู้เอาประกันจะได้รับเบี้ยคืนเต็มจำนวนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้บริโภคต้องการทราบว่าผู้เสนอขายได้ข้อมูลของตนเองมาได้อย่างไร ตัวแทนก็ต้องแจ้งถึงแหล่งที่มาของข้อมูลของผู้บริโภคด้วย

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ ผู้บริโภคแต่ละรายอาจถูกโทรศัพท์ไปเสนอขายกรมธรรม์หลายครั้งจากหลายบริษัท เนื่องจากแต่ละบริษัทก็จะมีฐานข้อมูลของตนเองและไม่ได้เชื่อมโยงเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน ลูกค้ารายหนึ่งอาจปฏิเสธไปแล้วแต่กลับมีบริษัทอื่น โทร.เข้ามาเสนอขายอีกก็เป็นได้ ซึ่งเป็นโจทย์ที่สมาคมประกันชีวิตไทย และภาคธุรกิจ รวมถึง คปภ.จะช่วยกันหาทางแก้ไขในอนาคตเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค ทั้งยังต้องไม่ขัดกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความลับลูกค้าของสถาบันการเงินอีกด้วย ในอนาคตอันใกล้น่าจะได้เห็นระบบนี้อย่างแน่นอน

ที่มา นสพ บ้านเมือง

เคยโพสต์ไว้ที่นี่ -http://dhanita-rpk.spaces.live.com/Blog/cns!926D7AD01F9C551F!1103.entry-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #64 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2013, 02:59:27 pm »
วิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย เทคนิคง่าย ๆ ที่ควรรู้
-http://hilight.kapook.com/view/86389-




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ในยุคปัจจุบันที่เน้นความสะดวกสบายในการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ การใช้บัตรเครดิตถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก และยังเป็นการแบ่งเบาภาระสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินก้อน แต่ต้องการซื้อสินค้าราคาค่อนข้างสูง รวมทั้งสามารถใช้บัตรเครดิตถอนเงินสดจากตู้ ATM ได้อีกด้วย แน่นอนว่า การที่สามารถใช้บัตรรูดซื้อสินค้าหรือบริการ รวมทั้งกดเงินสดได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินที่มีอยู่ในบัญชี แม้จะเป็นข้อดีสำหรับผู้ใช้บัตร แต่ถือเป็นข้อเสียที่ให้เสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรได้เช่นกัน

          ทั้งนี้ เพื่อให้เราสามารถใช้บัตรเครดิตได้อย่างสบายใจหายห่วง วันนี้เราจึงนำวิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัยมาฝาก ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

          1. ลงลายมือชื่อเจ้าของบัตรทันทีที่ได้รับบัตรใหม่

          2. เก็บรักษาบัตรไว้ในที่ปลอดภัย

          3. ไม่ควรเขียนหรือเก็บรหัสไว้รวมกับบัตร

          4. หากเป็นไปได้ ควรให้บัตรอยู่ในสายตาตลอดเวลาในขณะที่ร้านค้ากำลังดำเนินการขออนุมัติวงเงิน

          5. ต้องตรวจสอบหมายเลขบัตร ชื่อผู้ถือบัตร และยอดเงินในเซลส์สลิปว่าถูกต้องหรือไม่ก่อนลงลายมือชื่อ

          6. ตรวจดูให้แน่ใจว่าได้รับบัตรคืนหลังการใช้ทุกครั้ง และบัตรที่ร้านค้าคืนมาต้องไม่สลับกับบัตรของผู้อื่น

          7. พึงระวังว่าร้านค้ารูดบัตรเพียงครั้งเดียวต่อการทำรายการซื้อขายหนึ่งครั้ง หากมีการรูดบัตรเกินควรสอบถามและขอทำลายใบเสร็จ ที่บันทึกข้อมูลผิดหรือรายการที่ยกเลิกแล้ว

          8. ตรวจสอบใบเรียกเก็บเงินประจำเดือนกับใบเสร็จที่มี หากมีรายการเรียกเก็บเงินใดที่ไม่ถูกต้องให้แจ้งผู้ออกบัตรทันที

          9. หากไม่ได้รับใบเรียกเก็บเงินประจำเดือนตรงตามเวลา ให้สอบถามไปยังผู้ออกบัตรถึงสาเหตุที่ล่าช้า

          10. ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด อย่าเซ็นชื่อลงในใบบันทึกรายการที่ยังมิได้เขียนจำนวนเงิน

          11. อย่าแจ้งรหัสส่วนตัวที่ใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินจากเครื่อง ATM ให้คนอื่นทราบอย่างเด็ดขาด

          12. ไม่ควรเปิดเผยข้อมูล ส่วนตัวใด ๆ ของท่านกับใครขณะใช้บัตรเครดิต และแสดงบัตรประชาชนหรือเอกสารอื่น ๆ เมื่อท่านเห็นสมควรว่าจำเป็นเท่านั้น

          13. ในการตั้งรหัสบัตรเพื่อกดเงินสด พยายามเลือกรหัสที่ท่านสามารถจำได้ง่าย แต่ไม่ควรใช้ตัวเลขที่ผู้อื่นอาจเดาได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ วันเกิด ทะเบียนรถ เป็นต้น

          14. หากรู้สึกว่าพนักงานขายทางโทรศัพท์คะยั้นคะยอขอหมายเลขบัตรเครดิตของท่าน ให้สงสัยไว้ก่อนและปฏิเสธไป

          15. อย่าวางบัตรไว้ใกล้แหล่งที่เป็นแม่เหล็ก เพราะแถบแม่เหล็กด้านหลังบัตรจะได้รับความเสียหาย ทำให้เครื่องไม่สามารถอ่านข้อมูลจากบัตรได้

          16. หากบัตรของท่านติดอยู่ในเครื่อง ATM ควรระวังผู้ที่แสดงความหวังดีเข้ามาช่วยเหลือ เพราะผู้ที่มาช่วยอาจแฝงด้วยเจตนาที่ไม่ดีและอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อล่วงรู้รหัสบัตรของท่าน แล้วอาจนำบัตรของท่านที่ค้างอยู่ในตู้ ATM มากดถอนเงินในภายหลัง

          17. จดจำหมายเลขบัตรและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ออกบัตร เพื่อติดต่อสถาบันผู้ออกบัตรได้ทันทีในกรณีบัตรสูญหาย ถูกขโมย หรือสอบถามข้อสงสัย ตลอดจนเมื่อมีปัญหาจากการใช้บัตร

          สำหรับใครที่ใช้บัตรเครดิตค่อนข้างบ่อย คงต้องหัดทำตัวเป็นคนช่างสังเกตมากขึ้น เพราะไม่อาจรู้ได้เลยว่า เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจะเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งการปฏิบัติตามวิธีในข้างต้นนี้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่บัตรเครดิตของเราจะถูกลักลอบนำไปใช้หรือโดนปลอมแปลงได้



หมายเหตุ : แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 14.10 น. วันที่ 27 พฤษภาคม 2556


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
bfiia.org, bot.or.th

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #65 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2013, 06:19:38 am »


รู้เขา-รู้เรา เล่นหุ้นร้อยครั้งชนะเจ็ดสิบครั้ง
Monday, 10 June 2013

-http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/06/10/1299-





เรื่องของการลงทุนนั้นหลายคนจะพูดว่ามันเหมือนกับการรบ   ดังนั้น  กลยุทธ์และปรัชญาของสงครามสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนหรือการเล่นหุ้นได้  และถ้าพูดถึงเรื่องนี้แล้วดูเหมือนว่ากฎแห่งการยุทธ์ที่โด่งดังที่ทุกคนคุ้นเคยที่สุดก็คือ  “รู้เขา-รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ของซุนหวู่ ปราชญ์แห่งสงครามชาวจีน   ในฐานะที่ศึกษาเรื่องของประวัติศาสตร์และกลยุทธ์ของสงครามมาบ้างบวกกับการที่อยู่ในตลาดหุ้นและการลงทุนมานาน   ผมเองคิดว่ากฎแห่งสงครามข้อนี้ใช้ได้   แต่ถ้าจะพูดให้ตรงความเป็นจริงไม่พูดโอเวอร์เพื่อเน้นหลักการผมอยากจะปรับคำเป็นว่า  “รู้เขา-รู้เรา  เล่นหุ้นร้อยครั้ง  ชนะเจ็ดสิบครั้ง”  ในกรณีของการลงทุนหรือการเล่นหุ้นซึ่งไม่มีทางที่เราจะเล่นร้อยชนะร้อย   ว่าที่จริงผมคิดว่าซุนหวู่เองก็ไม่ได้คิดว่ารบร้อยครั้งต้องชนะร้อยครั้ง  โลกนี้มีเรื่องที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นเสมอไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงครามหรือหุ้น

           คำว่า “รู้เขา” นั้น  ในเรื่องของหุ้นผมคิดว่ามีอยู่สองเรื่องนั่นก็คือ  เขาคนแรกก็คือ Mr. Market หรือ “นายตลาด”  ตามคำพูดของ เบน เกรแฮม ซึ่งก็คือนักลงทุนโดยรวมในตลาดหุ้นหรือพูดง่าย ๆ  ก็คือตลาดหุ้นนั่นเอง   เราจะต้องรู้ว่าตลาดหุ้นนั้นมี  “พฤติกรรม” หรือ  “กลยุทธ์ในการเล่นหุ้น”  อย่างไร   ถ้าเราเชื่อ เบน เกรแฮม  ตลาดหุ้นนั้นมักจะ  “คุ้มดี คุ้มร้าย”  อยู่เรื่อย ๆ  เอาแน่อะไรไม่ได้  บางทีในช่วงที่  “อารมณ์ดี” เป็นพิเศษ  พวกเขาก็แห่กันเข้ามาซื้อหุ้นให้ราคาหุ้นสูงลิ่วเกินกว่าพื้นฐานไปมาก  แต่ในบางช่วงที่เกิดอาการ “หดหู่” อย่างหนัก  พวกเขาก็เทขายหุ้นจนราคาต่ำกว่าพื้นฐานไปมาก  หน้าที่ของเราก็คือ  เราต้องรู้และฉกฉวยประโยชน์จากพฤติกรรมของพวกเขาแทนที่จะดีใจหรือตกใจและทำตาม

          แต่ถ้าเราเชื่อนักวิชาการตลาดหุ้น  พวกเขาก็จะบอกว่านักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นในตลาดนั้นต่างก็มีเหตุผล  นั่นก็คือ  เขาจะซื้อหุ้นในราคาที่เหมาะกับพื้นฐานของมันเสมอเช่นเดียวกับคนที่ขายหุ้น  แน่นอน  ความเห็นหรือการวิเคราะห์ว่ามูลค่าพื้นฐานคือเท่าไรนั้นคนสองคนอาจจะมองไม่เหมือนกันและนั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงมีการซื้อและขายหุ้นเกิดขึ้น  อย่างไรก็ตาม  โดยเฉลี่ยแล้วความคิดของนักลงทุนเกี่ยวกับมูลค่าของหุ้นแต่ละตัวก็มักจะถูกต้องเช่นเดียวกับดัชนีตลาดหุ้นที่เป็นตัวแทนของหุ้นทั้งหมดที่จะสะท้อนพื้นฐานของตลาด  ส่วนการที่บางครั้งราคาหุ้นขึ้นไปสูงมากหรือตกต่ำลงมากนั้นเป็นเพราะว่าพื้นฐานของกิจการหรือภาวะทางการเงินเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงทำให้นักลงทุนซื้อหรือขายหุ้นมาก  ไม่ใช่เรื่องที่นักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นอารมณ์ดีหรืออารมณ์หดหู่แต่อย่างใด

           การรู้จัก “นายตลาด” หรือ “รู้เขา”  นั้น  จะช่วยให้เราตัดสินใจลงทุนหรือเล่นหุ้นได้ดีขึ้นแน่นอน  ประเด็นก็คือ  ถ้าเราสรุปว่าภาวะตลาดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้  อาจจะเนื่องจากเพราะคนในตลาดหุ้นเป็นคนที่มีอารมณ์ “แปรปรวน”  ทำให้คาดเดายาก  หรือคนในตลาดอาจจะมีเหตุผลเป็นนักลงทุนที่มีข้อมูลและความสามารถวิเคราะห์สูงแต่เนื่องจากภาวการณ์แวดล้อมเช่นเรื่องของเศรษฐกิจ  การเงิน และตลาดการเงินระหว่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตลอดเวลา  ดังนั้น  การที่เราจะพยายามไปฉกฉวยประโยชน์จากภาวะตลาดจึงอาจจะไม่มีประโยชน์อะไร

             “เขา”  อีกคนหนึ่งที่เราจะต้องรู้ก็คือ  บริษัทจดทะเบียนหรือหุ้น  นี่คือเขาที่เราจะต้องรู้ก่อนที่จะเข้าไปลงทุน  สิ่งที่จะต้องรู้ก็คือ  เขาหรือบริษัทเป็นอย่างไร?  ทางหนึ่งที่จะใช้ในการเรียนรู้เขาก็คือ  การกำหนดหรือบอกให้ได้ว่าบริษัทอยู่ในหุ้นกลุ่มไหนใน 6 กลุ่ม ตามแนวทางของ ปีเตอร์ ลินช์ นั่นคือ  บริษัทเป็นกิจการที่โตช้า  โตเร็ว  วัฏจักร  แข็งแกร่ง ฟื้นตัว หรือมีทรัพย์สินมาก  ถ้าเรารู้  การลงทุนซื้อและขายหุ้นตัวนั้นก็ทำได้ง่าย  เพราะพวกเขาก็จะมีพฤติกรรมของราคาหรือการให้ผลตอบแทนที่พอจะคาดการณ์ได้  แต่การวิเคราะห์ว่าหุ้นแต่ละตัวควรจะเป็นกิจการประเภทไหนนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย  บ่อยครั้งเราก็เข้าใจผิดเนื่องจากเรายังศึกษาไม่ลึกพอ  เช่น  เราดูแต่ข้อมูลที่เป็นตัวเลขในระยะเวลาสั้นอาจจะเพียง 2-3 ปี แล้วก็สรุปโดยไม่ได้ดูปัจจัยทางคุณภาพซึ่งต้องใช้เหตุผลทางธุรกิจซึ่งประกอบไปด้วยการตลาด  การผลิต  การเงิน  การแข่งขัน  และอื่น ๆ  อีกมาก   หนทางที่จะเข้าใจหรือ “รู้เขา”  ในแง่ของตัวบริษัทนั้น  วิธีที่ดีก็คือ  หลังจากศึกษาข้อมูลด้านคุณภาพอย่างดีแล้ว   เราจะต้องศึกษาข้อมูลที่เป็นตัวเลขย้อนหลังให้ยาวที่สุดเพื่อที่จะยืนยันหรือพิสูจน์ว่าความคิดหรือการวิเคราะห์ทางด้านคุณภาพของเราถูกต้อง ตัวอย่างเช่น  ถ้าเป็นกิจการโตเร็ว  ข้อมูลยอดขายและกำไรควรที่จะมีแนวโน้มโตขึ้นทุกปีอย่างมั่นคงไม่มีปีไหนถดถอยเป็นต้น

            การ “รู้เรา”  นั้น  หมายความว่าต้องรู้ว่าเราเป็นคนที่มีแนวทางการลงทุนหรือเล่นหุ้นอย่างไร  วิธีการนั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้องในแง่ของทฤษฎีและประวัติศาสตร์หรือไม่?  นอกจากนั้น  ในทุกครั้งที่ตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้น  เรารู้หรือไม่ว่าเรากำลังทำอะไรหรือทำอย่างไรอยู่?   บางคนอาจจะคิดว่าการ  “รู้เรา”  นั้นไม่เห็นจะยาก  เราก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าเราคิดหรือทำอะไรไม่ใช่หรือ?  ผมเองคิดว่าไม่ใช่!

           คนจำนวนมากรวมถึงคนที่เรียกตัวเองว่า  VI  คิดว่าเขาเป็น  “นักลงทุน”  ซึ่งเน้นลงทุนโดยอิงกับพื้นฐานหรือผลประกอบการระยะยาวของบริษัท   แต่สิ่งที่เขาทำมาตลอดนั้นก็คือการซื้อและขายหุ้นเปลี่ยนตัวอย่างรวดเร็วเป็นนิจสิน  ในกรณีแบบนี้  เราก็ควรจะต้องรู้ตัวหรือ  “รู้เรา”  ว่า  เราเป็น  “นักเก็งกำไร”  เพียงแต่เราอาศัยผลประกอบการที่อาจจะกำลังดีขึ้นมาเก็งกำไร

           การ “รู้เรา” อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือ  “อัตราความกล้าเสี่ยงของเรา”  ว่าอยู่ในระดับไหน?  นี่ก็เช่นเดียวกัน  อย่าบอกหรือคิดว่าเราเป็นคน  “อนุรักษ์นิยม”  เป็นคนที่เน้นความปลอดภัยสูงไม่ชอบเสี่ยงถ้าพฤติกรรมตามปกติของเรานั้นมันขัดแย้งกัน   ตัวอย่างเช่น  เรามักจะลงทุนในหุ้นน้อยตัวมากหุ้นเพียง 2-3 ตัวมีสัดส่วนเป็น 70-80%  ของพอร์ตขึ้นไปเกือบตลอดเวลา  แถมใช้มาร์จินหรือกู้เงินมาซื้อหุ้นอีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์  แบบนี้จะบอกว่าเราเน้นความปลอดภัยไม่ได้   อย่างไรก็ตาม  การที่จะสามารถวิเคราะห์ได้อย่างปราศจากความลำเอียงนั้นบางทีก็เป็นเรื่องยากอยู่เหมือนกัน   เหตุก็เพราะคนเรามักมีความเชื่อมั่นตนเองสูง  ดังนั้น  เรามักไม่ยอมรับว่าพอร์ตของเรามีความเสี่ยงสูง  เรามักจะคิดว่า  “เรารู้ดี”  เรารู้ว่าที่เราทำอยู่นั้นสำหรับคนที่ไม่รู้จริงอาจจะเสี่ยง   แต่สำหรับเราแล้วเรารู้ว่าหุ้นตัวนั้นดีมากมี Margin of Safety สูง  และดังนั้นมันจึงไม่เสี่ยง

             การ “รู้เรา”  ประเด็นสุดท้ายก็คือ  ในเรื่องสถานการณ์เฉพาะจุด  นั่นก็คือ  ในบางช่วงหรือบางสถานการณ์ที่ “ผิดปกติ”  เราอาจจะทำอะไรบางอย่างที่  “ออกนอกกรอบ” พฤติกรรมหรือแนวความคิดที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สอดคล้องกับปรัชญาหรือแนวทางของตนเอง  ตัวอย่างเช่น  ในยามที่หุ้นตกหนักมากและเราดูว่าหุ้นถูกและมีความปลอดภัยสูง  เราอาจจะใช้มาร์จินบางส่วนมาซื้อหุ้น   หรือเราอาจจะมีหุ้นบางตัวมากเกินไปในพอร์ต  กรณีแบบนี้เราต้องรู้ว่ามันอาจจะอันตราย  และดังนั้นในไม่ช้าเมื่อมีโอกาสเราก็ควรจะต้องปรับพอร์ตให้กับมาสู่สถานะปกติ เป็นต้น
             การ “รู้เรา”  นั้น  บ่อยครั้งเป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการ  “รู้เขา”  เนื่องจากการมีความ  “ลำเอียง” ในเรื่องของการวิเคราะห์ตนเอง  แต่ถ้าเราจะประสบความสำเร็จในระยะยาวแล้วละก็  ผมคิดว่าเราจะต้องมีสติและรู้ตัวตลอดเวลา  เท็คนิคที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ  ในการลงทุนนั้นเราจะต้อง  “ถ่อมตัว”  อย่างจริงใจ  เตือนตัวเองว่า  เราอาจจะแพ้ได้เสมอ  อย่างที่จอร์จ โซรอส พูดว่า  “I am not invincible”     



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #66 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2013, 10:34:59 am »
ประกันภัย...ความลับที่ประกันภัยไม่ยอมบอกคุณ แต่..คุณต้องรู้..


-http://auto.sanook.com/5575/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2...%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88..%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/-



บ่อยครั้งที่ผู้เอาประกันซื้อกรมธรรม์ประกันภัยด้วย ความเชื่อและเครดิต มากกว่าที่จะตั้งใจอ่านสัญญาในกรมธรรม์

   

          บ่อยครั้งที่ผู้เอาประกันซื้อกรมธรรม์ประกันภัยด้วยความเชื่อและเครดิต มากกว่าที่จะตั้งใจอ่านสัญญาในกรมธรรม์ซึ่งเต็มไปด้วยภาษากฏหมายเข้าใจยาก  ด้วยเหตุนี้ความรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ที่หลายคนยังไม่ทราบจึงยังคง เป็นปริศนาต่อไป การเข้าใจกรมธรรม์แบบง่ายๆ จึงน่าจะสามารถช่วยให้คุณรักษาสิทธิประโยชน์ของคุณไว้ได้อย่างเต็มที่

10 เรื่อง "ต้อง" รู้เกี่ยวกับประกันภัย


          1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จะมีผลทันทีที่ผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันภัยให้ กับบริษัท (รวมไปถึงนายหน้าผู้เอาประกันด้วย) ดังนั้นแม้การซื้อผ่านนายหน้าถ้ามีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้องก็จะปฏิเสธความ รับผิดชอบมิได้

          2. ในกรณีที่รถคุณเสียหายอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถซ่อมกลับคืนได้ บริษัทต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกัน และรถคันนั้นจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย

          3. ค่าแอกเซ็ปต์ หรือค่าใช้จ่ายส่วนแรกนั้น ในกรณีไม่มีคู่กรณีจะจ่ายเพียง 1,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้าคนอื่นขับไปทำให้เกิดความเสียหาย ต้องจ่าย 6,000 บาท

          4. ค่าอะไหล่ที่เกิดจากการซ่อม ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องเป็นเงินตามราคาประเมินเพื่อนำไปจัดหาเองได้ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไหล่แท้หรือไม่

          5. หากภายในรถของคุณมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบก๊าซ NGV หรือ LPG เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งให้บริษัททราบ เพราะหากเกิดเหตุและรถคันเอาประกันเป็นฝ่ายผิด ความคุ้มครองที่จะได้รับจากการประกันอาจไม่สมบูรณ์

          6. หากคุณขับรถชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันภัยและรถของท่านเป็น "ฝ่ายถูก" คุณควรตรวจสอบไปที่บริษัทประกันภัยว่าตามรายงานอุบัติเหตุนั้น รถของคุณเป็นฝ่ายถูกจริงเหรอ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์

          7. การดูแลขนย้ายรถที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุเพื่อไปซ่อมที่อู่เป็นหน้าที่ ของบริษัท แม้ว่าจะต้องย้ายรถไปโรงพักหรือที่ใดก็ตามตั้งแต่หลังเกิดเหตุจนกระทั่งซ่อม เสร็จ บริษัทประกันภัยจะต้องรับภาระส่วนนี้ แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าซ่อม

          8. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน และคุณไม่แน่ใจว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิด คุณไม่จำเป็นต้องเซ็นรับผิดในใบเครม เพราะไม่ใช่กติกาหรือข้อกฏหมายแต่เป็นหน้าที่ที่บริษัทซึ่งคุณทำประกันจะไป ทำการตกลง

          9. อย่าคิดหนีในกรณีที่ขับรถชนคน ให้ช่วยเหลือคนเจ็บให้เต็มที่ และถ่ายรูปหลักฐานที่เกิดเหตุไว้ต่อสู้คดี เพราะศาลจะพิจารณาจากความมีน้ำใจที่คุณช่วยเหลือผู้อื่น บางทีโทษทางอาญาอาจเหลือแค่การรอลงอาญา และตกลงค่าเสียหายกันตามสมควรแต่ถ้าคุณหนีจะติดคุกทันที

          10. ประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายในขณะที่รถของคุณถูกลากจูง หรือขับรถขณะที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150mg% หรือขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เว้นแต่ในกรณีที่ทำประกันประเภทระบุชื่อคนขับ และความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในขณะที่คนระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่

 

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:"ข่าวเข้ม ฉับไว เป็นกลาง"


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #67 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:32:54 pm »
หยุดสแปม ! แล้วมาดูเทคนิคการทำตลาดผ่าน E-mail อย่างถูกวิธีดีกว่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 มิถุนายน 2556 08:22 น.
       บทความโดย ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาด ดอท คอมจำกัด
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000066605-



       ตอนนี้ผมเชื่อว่าทุกคนกำลังปวดหัวกับอีเมล์ต่างๆ ที่คุณไม่ต้องการมันเลย แต่มันมาโผล่ในกล่องเมล์คุณอยู่ได้ทุกวี่ทุกวัน เราเรียกอีเมล์เหล่านี้ว่า สแปม (Spam)
       
       “สแปมเมล์” (Spam Mail) หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ส่ง (ซึ่งมักจะไม่ปรากฏชื่อและที่อยู่ของผู้ส่ง) ได้ส่งไปยังผู้รับอย่างต่อเนื่อง โดยส่งจำนวนครั้งละมากๆ และมิได้รับความยินยอมจากผู้รับ  โดยการส่งสแปมเมล์นั้น อาจมีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ก็ได้
       
             เมื่อก่อนสแปมเมล์ มักจะมาจากต่างประเทศ โดยมักจะเป็นเมล์ที่เกี่ยวกับการขายยาไวอากร้า กู้เงินสร้างบ้าน (Mortgage) สมัครเว็บโป๊ ฯลฯ ซึ่งการตรวจสอบและป้องกันก็สามารถทำได้ง่ายๆ คือ อันไหนภาษาอังกฤษก็ลบมันออกซะ (สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ใช้ อีเมล์ภาษาอังกฤษ)
       
       แต่เดี๋ยวนี้เมืองไทยเราก็เริ่มพัฒนาตามต่างประเทศแล้วครับ โดยคุณจะเห็นได้จากอีเมล์แปลกๆ ที่คุณไม่ต้องการ มันมาในรูปแบบภาษาไทยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ลดน้ำหนัก, ทำงานที่บ้าน, งานสัมมนา อะไรต่างๆ มากมาย ที่เริ่มจะหลั่งไหลเข้ามาในกล่องอีเมล์ของคุณซะงั้น
       
        หลายๆคนมักจะทึกทักเอาเองว่า การส่งอีเมล์ไปหาคนจำนวนมากๆแบบนี้ มันคือการตลาดออนไลน์แบบหนึ่งที่ทำผ่านอีเมล์ (E-Mail Marketing) แต่รู้ไหมครับว่า การทำสแปมเมล์กับการตลาดผ่านอีเมล์ มันมีความแตกต่างกันอยู่มากเลยทีเดียว

       หลักการทำการตลาดผ่านอีเมล์ที่ถูกต้อง
       
       1. ส่งเมล์ให้กับผู้ที่คุณรู้จักอยู่แล้ว หรือผู้รับแสดงความจำนงในการรับเมล์
              ควรส่งเมล์ให้กับคนที่รู้จักเค้าอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการส่วนตัว หรือในทางธุรกิจ หรือส่งผ่านผู้ให้บริการส่งอีเมล์ โดยที่ผู้ให้บริการเหล่านั้น ได้รับสิทธิในการส่งข่าวสารจากสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งอีเมล์สแปมสวนใหญ่ จะไม่ได้รับสิทธิในการส่งจากผู้รับ
       
       2. มีส่วน "ยกเลิก (Unsubscribe)" การรับอีเมล์
               ภายในอีเมล์ที่ส่งจะต้องมีการยกเลิกรับอีเมล์ได้ และต้องทำการยกเลิก และไม่ทำการส่งอีเมล์กลับไปอีก และภายหลังจากแจ้งการยกเลิกรับอีเมล์ ควรจะมีอีเมล์ยืนยันการยกเลิกรับกลับไป เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับ แต่หลายๆ คนมักกลัวและไม่กล้ายกเลิก เพราะจะกลายเป็นการยืนยันว่าอีเมล์ที่ส่งมามีตัวตน และผู้รับจริงๆ
       
       3. แจ้งผู้รับเมล์ว่าคุณคือใคร
               ในอีเมล์ควรมีการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ส่ง ได้แก่ ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อบริษัท, ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้, เบอร์โทรศัพท์ เพื่อยืนยันว่าคุณมีตัวตนจริง
       
       4. ใช้เนื้อหาที่เป็นความจริง
               เนื้อหาที่ใช้ภายในอีเมล์ควรเป็นความจริง ไม่กล่าวอ้างเกินความจริงมากเกินไป และไม่ควรใช้ FW: หรือ RE ในหัวข้อการส่ง เพราะจะทำให้ผู้รับเข้าใจผิดได้
       
       5. เคารพสิทธิของผู้รับ
             ไม่ควรคุกคามหรือก้าวก่ายสิทธิของผู้รับมากจนเกินไป และในที่เก็บอีเมล์จากผู้รับควรแจ้งเจตนา และเป้าหมายในการส่งข้อมูลหาผู้รับให้ชัดเจนว่าจะส่งเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไรไปบ้าง
       
       6. อย่าไปแอบเอา (ดูด) อีเมล์มากจากที่อื่น
               ข้อนี้ชัดมาก คือ อย่าไปเอาอีเมล์มาจากที่อื่น โดยปราศจากการยินยอมจากเจ้าของอีเมล์ หลายๆคนชอบใช้โปรแกรมไปดูดอีเมล์มาจากเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งข้อนี้เองที่ ผู้ส่งสแปมเมล์หลายๆที่ใช้กัน

       ลงโทษสแปมเมอร์
       
       หากท่านที่ได้รับอีเมล์ที่ไม่ต้องการ ท่านสามารถหยุดและลงโทษพวกที่ส่งอีเมล์หาท่านได้หลายวิธี
       แจ้งไปยังหน่วยงานที่รับแจ้งปัญหาเรื่องการสแปม  เช่น www.spamcop.net ซึ่งที่นี้จะรวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ที่ทำการสแปมจัดเก็บลงฐานข้อมูล และส่งต่อให้กับผู้ให้บริการอีเมล์ทั่วโลก เพื่อบล็อคหรือกันรายชื่อเว็บไซต์เหล่านั้น เข้ามาในอีเมล์ของผู้รับ (ส่งทีเดียวกันได้ทั่วโลก) หากท่านเจออีเมล์สแปมเยอะ ก็ช่วยกันเข้าไปแจ้งหน่อยครับ จะเป็นผลดีต่อส่วนรวมครับ
       
       หากคุณใช้ Free Email เช่น hotmail.com หรือ Yahoo.com ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการฟรีอีเมล์ จะมีบริการให้แจ้งว่า อีเมล์ที่เข้ามามีฉบับไหนเป็นสแปมบ้าง หากมีการแจ้งไปหลายๆคนต่อไปอีเมล์สแปมจากเว็บไซต์ต่างๆนั้น ก็จะไม่สามารถส่งเข้ามาที่ผู้ให้บริการฟรีอีเมล์นั้นได้อีก
       
       โทรกลับไปหาเลย  บางครั้งในอีเมล์ที่ส่งเข้ามาซ้ำซาก จะมีอีเมล์หรือเบอร์โทรอยู่ คุณก็สามารถโทรไปหาเค้าและแจ้งว่า ให้หยุดการกระทำดังกล่าวได้แล้ว และนำชื่อของคุณออกจากรายชื่อในการส่งอีเมล์ของเค้าด้วย (วิธีนี้ได้ผลดีมาก ผมใช้ประจำ)
       
       แก้เผ็ดกลับ (วิชามาร) หากเค้ายังคงส่งมาอีกเรื่อย ๆ หาวิธีแก้เผ็ด คือ นำเบอร์โทรศัพท์ของเค้าไปโพสต์ในเว็บเกย์ ให้คนโทรเข้ามาหา เค้าจะได้สำนึกเสียบ้าง (แต่อย่าใช้วิธีนี้ไปในทางที่ผิดนะครับ)
       
              จะเห็นได้ว่า การตลาดผ่านอีเมล์เป็นวิธีการตลาดที่มีประสิทธิภาพมาก แต่การที่คุณจะนำมาใช้หรือปฏิบัติ คุณควรจะเคารพกฎและกติกาของการทำการตลาดลักษณะนี้ด้วย เพราะมันอาจจะส่งภาพลบต่อสินค้าหรือบริการของคุณ
       
       และตอนนี้ทางหน่วยงานรัฐบาล กำลังร่างกฎหมายเกี่ยวกับการสแปมเมล์ ซึ่งหากคุณเป็นสแปมเมล์ ก็จะถือว่าทำผิดกฎหมาย จะมีบทลงโทษที่รุนแรง ซึ่งตอนนี้หลายๆ ประเทศเค้ามีกฎหมายลักษณะนี้แล้ว หยุดส่งเหอะเชื่อผม.!
       
         ขอบคุณข้อมูลจากนิตยสาร SMEs PLUS ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2555

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #68 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2013, 10:38:10 pm »
 หุ้น (กจ. 12/2543)
-http://www.sec.or.th/securities_issuance/Content_0000000148.jsp?categoryID=CAT0000066-

ขอบเขตการบังคับใช้ ของประกาศ กจ. 12/2543

ใช้บังคับกับ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทมหาชนจำกัด

แต่ไม่ใช้บังคับกับ การเสนอขายหุ้นในกรณีต่อไปนี้
1.  การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Issue) ของบริษัทมหาชนจำกัด
       ไม่ต้องยื่นคำขอ และ filing เพราะได้รับยกเว้นตามมาตรา 33 ของ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ
        กรณีเป็น บริษัทจดทะเบียนต้องยื่นข้อสนเทศการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อนการเสนอขาย
2.  การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทจำกัด
        บริษัทจำกัดเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ได้เฉพาะต่อผู้ถือหุ้นเดิมเท่านั้น เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจำกัดเสนอ
ขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป
3.  การเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นเดิม
        ไม่ต้องยื่นคำขอ แต่ต้อง ยื่น filing หากเป็นการเสนอขายแบบ PO
4.  การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพ แก่กรรมการหรือพนักงาน   (กจ. 36/2544)
5.  การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่พร้อมกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (กจ. 6/2543)

ประเภทการเสนอขาย

Initial Public Offering หรือ IPO หมายถึง การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนในครั้งแรก

    ขั้นตอนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (IPO และ PO)
    เกณฑ์อนุญาต IPO
    การเสนอขายหุ้นแก่กรรมการและผู้บริหาร พร้อมการทำ IPO
    การเสนอขายหุ้นแก่บุคคลอื่นในราคาต่ำกว่าราคา IPO และบริษัทนั้นจะทำ IPO เพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์
    การเปิดเผยข้อมูล (การยื่น filing)
    การสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (book building)
    หน้าที่ภายหลังการขาย

Public Offering หรือ PO หมายถึง การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนในครั้งต่อ ๆ ไป

    ถ้าเป็นบริษัทจดทะเบียนใช้เกณฑ์อนุญาต PO
    ถ้าเป็นบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ใช้เกณฑ์อนุญาต IPO
    การเปิดเผยข้อมูล (การยื่น filing)
    การสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (book building)
    หน้าที่ภายหลังการขาย

Private Placement หรือ PP หมายถึงการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจำกัด

    ได้รับอนุญาตเป็นการทั่วไป (ไม่ต้องยื่นคำขอ และ filing)
    เงื่อนไขการอนุญาต PP
    หน้าที่ภายหลังการขาย PP

PP ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด หมายถึง การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทจดทะเบียนแบบ PP ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดเกิน 10%

    เกณฑ์อนุญาตกรณีขายต่ำกว่าราคาตลาด
    ขั้นตอนอื่นๆ เหมือน PP

Public Placement ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด หมายถึง การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทจดทะเบียนให้เฉพาะบุคคลที่กำหนด (placement) ซึ่งไม่ใช่แบบ PP และไม่เข้าข่ายข้อยกเว้น ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดเกิน 10%

    เกณฑ์อนุญาต PO + เกณฑ์อนุญาตกรณีขายต่ำกว่าราคาตลาด
    ขั้นตอนอื่นๆ เหมือน PO



     สรุปการอนุญาตหุ้น




“สำนักงานยกเลิกประกาศ กจ. 12/2543 และได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ที่ ทจ. 28/2551ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15  ธันวาคม  พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สำนักงานอยู่ระหว่างการปรับปรุงสรุปหลักเกณฑ์ดังกล่าวตามประกาศ ทจ. 28/2551 และจะนำเสนอในหน้า website ต่อไป”
   
        
    

ฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล
ภีระภาพ โทร. 0-2695-9999 ext. 6214
E-mail: peerapar@sec.or.th

ปรับปรุงล่าสุด  19 มี.ค. 2552
สอบทานล่าสุด  19 มี.ค. 2552

http://www.sec.or.th/securities_issuance/Content_0000000148.jsp?categoryID=CAT0000066

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #69 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2013, 10:42:09 pm »
book building


การสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (book building) และการกำหนดราคาเสนอขายเป็นช่วงราคา (ประกาศ นจ.1/2545)

-http://www.sec.or.th/securities_issuance/Content_0000000187.jsp?categoryID=CAT0000066-


     ในการกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO หรือหุ้นกู้ ซึ่งยังไม่เคยมีราคาตลาดมาก่อน บริษัทที่ออกหลักทรัพย์และผู้จัดจำหน่าย (underwriter)
จำเป็นต้องมีการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ ณ ระดับราคาต่าง ๆ เพื่อให้กำหนดราคาขายได้อย่างเหมาะสม

    การสำรวจราคาดังกล่าว มักกระทำต่อผู้ลงทุนสถาบัน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงเพียงพอที่จะกำหนดทิศทางราคาของหลักทรัพย์
และมีความรู้ความเข้าใจที่จะวิเคราะห์ราคาหลักทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนของตนเอง มีอำนาจต่อรองให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์
ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้องเพียงพอสำหรับการตัดสินใจลงทุน

การสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ ต้องทำในลักษณะดังต่อไปนี้

    ทำได้เฉพาะกับนักลงทุนสถาบัน 13 ประเภท แต่ไม่รวมถึงผู้ลงทุนที่ซื้อหลักทรัพย์ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
    กำหนดเป็นช่วงราคา ให้ผู้ลงทุนระบุจำนวนหลักทรัพย์ที่ต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆ
    ระยะเวลาที่สำรวจความต้องการซื้อ ใกล้เคียงกับวันที่กำหนดราคาขาย
    แจกร่างหนังสือชี้ชวน ให้แก่ผู้ลงทุนที่จะสำรวจความต้องการซื้อ ซึ่งร่างหนังสือชี้ชวนมีข้อมูลครบถ้วน ยกเว้นเรื่องราคาและการจำหน่าย

     นอกจากนี้ ผู้เสนอขายที่ต้องการกำหนดราคาเสนอขายเป็นช่วงราคา โดยยังไม่ระบุราคาเสนอขายที่แน่นอนไว้ในแบบ filing ที่มีผลใช้บังคับแล้ว
สามารถกระทำได้ หากมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดแจ้ง เพียงพอ สำหรับการชำระเงินเพื่อจองซื้อหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนต้องชำระในราคาสูงสุดไปก่อน และหากราคาเสนอขายจริงต่ำกว่าราคาสูงสุด ผู้เสนอขายจะต้องคืนเงินส่วนเกินให้ผู้ลงทุน และในระหว่างนั้น จะต้องไม่นำเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ก่อน
   
        
    

ฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล
มะลิ โทร. 0-2695-6107
E-mail: corgov@sec.or.th

ปรับปรุงล่าสุด  4 ก.ย. 2550
สอบทานล่าสุด  4 ก.ย. 2550

http://www.sec.or.th/securities_issuance/Content_0000000187.jsp?categoryID=CAT0000066

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)