ผู้เขียน หัวข้อ: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"  (อ่าน 150529 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #140 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2014, 10:08:23 pm »
เงินเดือน 15,000 บาท เก็บลงทุนอย่างไรให้รวยระเบิด
 
-http://money.kapook.com/view89420.html-

เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Panphol.com

            เงินเดือนของคุณตอนนี้เท่าไหร่ ?

            คุณเก็บเงินในแต่ละเดือนกี่เปอร์เซ็นต์ ไว้ใช้จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์ มีไว้ลงทุนหรือไม่ ?

            หากคุณตกงานกะทันหันจะมีเงินไว้ใช้จ่ายหรือไม่ ?

            ต้องเก็บเงินเท่าไหร่จึงจะทำให้วัยเกษียณมีเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่าย ?

            เงินเดือน 15,000 บาท  เก็บแบบไหน ทำอย่างไรจึงจะรวย ?

            นี่คือคำถามเบื้องต้นที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราต้องคิดและบริหารการเงินในกระเป๋าในแต่ละเดือน  แต่บางคนอ่านแล้วก็อาจฉุกคิดในใจว่า ทุกวันนี้ใช้หนี้ยังไม่พอเลย แล้วจะเอาที่ไหนมาเก็บ ?

            เกี่ยวกับเรื่องนี้เรามีคำแนะนำจาก คุณพรพรหม ภักตร์เปี่ยม ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์หุ้นปันผล Value Investor ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านการออม การลงทุน หุ้น LTF RMF มาฝาก โดยคุณพรพรหมเขียนบทความแนะนำ “เงินเดือน 15,000 บาท เก็บลงทุนไงให้รวยระเบิด” ว่า “มีหนี้ จงใช้หนี้ก่อน หลังจากนั้นอย่าเพิ่งเก็บเงิน ให้บริหารต้นทุนให้ได้ก่อน” ส่วนวิธีการบริหารเงินนั้น ลองไปอ่านบทความเรื่องนี้กัน ซึ่งคุณพรพรหมได้อนุญาตให้กระปุกดอทคอมนำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์เงินเดือน ที่ต้องการเก็บเงินได้อ่านกัน


เงินเดือน 15,000 บาท เก็บลงทุนไงให้รวยระเบิด

            ผมเองก็เริ่มจากเงินเดือน 9,000 บาท ช่วงนั้นยังเป็นหนี้อยู่มากเหมือนกัน จำได้เลยว่าสมัยนั้นมีบัตร EASY BUY ที่จ่ายเท่าไหร่ก็ไม่หมดสักที เพราะไปจัด SONY T1 มา 20,000 เศษ ใช้หนี้อยู่พักใหญ่ จนมีเงินพิเศษจำนวนหนึ่งจึงนำไปชำระทั้งหมด และหักบัตรนั้นทิ้งทันที บอกกับตัวเองว่า “แบบนี้ไม่เอาอีกแล้ว” ฉะนั้น มีหนี้ จงใช้หนี้ก่อน ถ้าหนี้นั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะสร้างรายได้ในอนาคต จัดการมันซะ และ ควรทำมันพร้อมกับความต้องการที่ฟุ้งเฟ้อ อย่างไม่มีเหตุผล

            ผมไม่รู้ว่าท่านมีหนี้เท่าไหร่ แต่ถ้าท่านมีเงินเดือน 15,000 ต้องบังคับให้ตัวเองใช้หนี้ต่อเดือนคิดเป็น 70% ของรายได้ หรือ 10,500 บาท ต่อเดือน เลข 70% เป็นตัวเลขที่ผมชอบ หากเกินนี้เกรงว่าท่านจะไม่มีกินเอาเท่านี้ล่ะพอแล้ว (หรือใครใจหินจะลองสัก 80% ก็ได้) ส่วน 30% ที่เหลือเชื่อผมท่านอยู่ได้ และผมทำมาแล้ว ในช่วงที่ได้เงินเดือน 15,000 ครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน พอขยับฐานเงินเดือน มันก็มีสิ่งที่อยากได้เหมือนคนอื่นเค้าหลายอย่าง และอันดับต้น ๆ ก็คือ โทรศัพท์มือถือ จึงหันไปพึ่งบริการของบัตรเครดิตตอนนั้นเงินเดือน 15,000 ทำได้พอดีเลย แต่วงเงินที่ได้ประมาณ 30,000 บาท ก็จัดเต็มไป บางยอดเป็นเงินผ่อน แต่บางยอดกดเงินสดมาใช้เพราะอยากป๋าบ้าง อะไรบ้าง มันจะไม่สนุกก็ตอนบิลเรียกเก็บนี่ล่ะเล่นเอาหน้ามืด ผมเลือกที่จะจ่ายขั้นต่ำเพราะยังมีเรื่องที่ใช้จ่ายอีกเยอะแยะ หมุนไปได้หลายเดือนหลอกตัวเองไปสักพัก ก็ได้สติว่าจ่าย 2,000 แต่มันมีดอกเบี้ยเพิ่มมาอีกบานตะไท จึงเลือกตัดค่าใช้จ่าย ปกติ 15,000 ต่อเดือนแทบไม่พอกิน เพราะกินข้าววันละ 2 มือ (เช้ากินกับที่บ้าน) มื้อละ 30 + ค่าเดินทางวันละ 120 โดยประมาณ (บ้านอยู่พระราม 2 ทำงาน บางกะปิ)


สรุปค่าใช้จ่ายพื้นฐาน

            ค่าข้าว 60*30 บาท = 1800 บาท

            ค่าเดินทางไม่รวมอาทิตย์ 26*120 = 3120 บาท

            บวกใช้หนี้ 2,000 บาท

            รวมทั้งหมดแล้วเดือนนึงต้องจ่ายประมาณ 6,920 บาท ก็น่าจะเหลือประมาณ 9000 บาท เอาไว้เหลือออม ใช่มะ แต่จริงแล้วไม่เหลือแฮะ สาเหตุมาจาก

            1. เมื่อวงเงินเครดิตเหลือ ก็จะถูกดึงเอามาใช้เนื่องจาก เหตุผล “จำเป็น” ?

            2. มีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่มาก จนไม่รู้ว่ามันหายไปไหน ซึ่งสรุปให้สั้น ๆ เรียกมันว่า “ค่าใช้จ่ายทางสังคม” ซึ่งค่าใช้จ่ายพวกนี้แหละที่มากกว่า “รายจ่ายประจำ”

            ฉะนั้นถ้าจะลดหนี้จงหยุด “ความอยาก” และ รีบใช้หนี้ให้เร็วที่สุด

            เหลือแค่เฉพาะอยู่ได้ ส่วนไอ้ที่อยากได้เอาไว้ทีหลัง

-----------------> ขอขีดเส้นใต้ตรงนี้ ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ไม่ต้องอ่านต่อ <------------------

            หากเคลียหนี้ได้แล้ว ท่านจะเหมือนมนุษย์ผู้เอาชนะได้ทุกสิ่ง เพราะท่านชนะตัวเองไปเรียบร้อยแล้ว ความภูมิใจจะทวีคูณ ไม่ต่างจากการควบคุมอาหาร สิ่งที่จะได้ตามมาคือ วินัยทางการเงินที่เข้มแข็ง ท่านจะรู้จักใช้เงินอย่างรู้คุณค่ามากขึ้น ย้ำว่า "รู้คุณค่ามากขึ้น" แต่ไม่ใช่ตระหนี่ขี้เหนียว

            หากท่านเคลียหนี้ได้แล้ว เราจะกลับเข้าสู่สังคมอีกครั้ง ปล่อยให้มีค่าใช้จ่ายทางสังคมบ้าง ไม่เช่นนั้นแล้วสุขภาพจิตท่านจะแย่เอาได้เหมือนกัน อย่าบีบคั้นตัวเองมากไป เอาให้พอดี หลังจากนี้ อย่าเพิ่งคิดจะเก็บก่อน "เพราะการเก็บก่อน เป็นวิธีหักดิบที่ทำได้ยาก" ต้องบริหารต้นทุนให้ได้ก่อน โดยแยกค่าใช้จ่ายเป็น 5 เรื่องหลักต่อเดือน ดังนี้

            1. เพื่อให้พอดำเนินชีวิตได้ 5,000 บาท คิดเป็น 33.33% ของรายได้

            2. เพื่อให้สิ่งที่อยากได้ แต่เป็นประโยชน์ในการสร้างรายได้ในอนาคต 1,000 บาท คิดเป็น 6.6% ของรายได้

            3. เพื่อให้สิ่งที่ทำให้อยู่ในสังคมได้ 1,000 บาท คิดเป็น 6.6% ของรายได้

            4. เพื่อการศึกษาเรื่องเฉพาะที่จะสร้างเงินได้ในอนาคต 1,000 บาท คิดเป็น 6.6% ของรายได้

            5. เพื่อการลงทุน 7,000 บาท คิดเป็น 46.66% ของรายได้

            หากได้เงินเพิ่ม ท่านก็เอา % ของแต่ละเรื่องไปคูณเงินเดือน ก็จะได้ตัวเลขที่ต้องจัดสรรในแต่ละเดือน

            ข้อ 2 ถึง ข้อ 4 ให้นำเอาไปฝากออมทรัพย์ที่ดอกเบี้ยสูง 3% หรือ กองทุนตราสารหนี้ T+1 ผลตอบแทน 2.8% เพื่อพักเงิน

            ข้อ 5 นำไปลงทุนที่ได้ผลตอบแทนดี และ รับความเสี่ยงได้ ไม่แนะนำให้ลง LTF เพราะเงินเดือนประมาณนี้ ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีแน่นอน หลังหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัว และ อื่น ๆ แล้ว แนะนำให้ไปลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ณ ทีนี้ขอยกตัวอย่างเป็น BGH ซึ่งมีทิศทางการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง หากไม่กล้าใจไม่ถึง ให้ลงเรียนหรือหาหนังสือมาอ่าน "ความรู้จะทำให้มั่นใจ"




            เมื่อลองคำนวณด้วย DCA ย้อนหลัง 3 ปี จะเห็นว่าเราออมเงินไปทั้งหมด 252,000 บาท เกิดเป็นผลกำไรทั้งหมด 216,393.69 บาท (+86%) รวมแล้วมีเงินในมือทั้งหมด 468,393.69 บาท

            3 ปี นอกจากจะได้เงินเก็บในหุ้น 468,393.69 บาท แล้ว ยังได้เงินจากข้อ 2 และ ข้อ 3 ที่ไม่ได้นำไปใช้​(ไม่รวมผลตอบแทนเงินฝาก) อีก 72,000 บาท เงินจำนวนนี้ ซื้อไรดี ^^

 


            แต่เมื่อลองดูย้อนหลัง 5 ปี จะเห็นว่าเราออมเงินไปทั้งหมด 420,000 บาท เกิดผลกำไรทั้งหมด 1,133,300.93 บาท รวมแล้วมีเงินในมือทั้งหมด 1,553,300.93 อุแม้เจ้า

            5 ปี นอกจากจะได้เงินเก็บในหุ้น 1,553,300.93 บาท แล้ว ยังได้เงินจากข้อ 2 และ ข้อ 3 ที่ไม่ได้นำไปใช้​(ไม่รวมผลตอบแทนเงินฝาก) อีก 120,000 บาท เงินจำนวนนี้ ซื้อไรดี ^^

            แน่นอนว่าปัจจุบันผมมีเงิน 1 ล้านบาท แต่เป็นล้านบาท ที่สะสมมาจาก เงินเดือน งานพิเศษ รับเขียนเว็บไซต์ เขียนโปรแกรม ค่าสมาชิกเว็บและจากกำไรหุ้น ช่วงปี 2008 2009 2010 ชีวิตผมเองก็ไม่ได้ โรยด้วยดอกกุหลาบ ปี 2011 ต้องแยกกับภรรยา ทำให้ต้องแบ่งทรัพย์สินและกลับมาเริ่มลงทุนใหม่ในช่วงปี 2012 แต่ก็โชคดีที่ตอนนั้นยังมีหุ้นหลายตัว Under Value อยู่มาก ทำให้กลับมาได้ในปี 2013 ขอขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ และ คุณลูก ที่ให้กำลังใจมาตลอด

            ผมเชื่อว่าหากท่านตั้งใจจริงก็ทำได้ เจอกันที่ความสำเร็จในปี 2015 เมื่อ AEC พร้อม 
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #141 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2014, 10:09:42 pm »
8 นิสัยการเงินที่มีผลต่อสุขภาพ มาจัดการกันเถอะ

-http://money.kapook.com/view89563.html-

เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแมว

         เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ก็มีผลต่อสุขภาพของคนเราอยู่เหมือนกัน นิสัยการเงินเหล่านี้ คือสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของคุณ ดังนั้นลองมาจัดการนิสัยการเงินเพื่อสุขภาพที่ดีกันดีกว่า

         การใช้เงินของคนส่วนใหญ่ มักจะเน้นไปที่สิ่งของที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า เช่น อุปกรณ์ไอที, ไอโฟน, ไอแพด, กล้องถ่ายรูป, เสื้อผ้า เป็นต้น แต่ทว่ากลับมองข้ามความสำคัญของการใช้เงินเพื่อซื้อสุขภาพร่างกายที่ดี ที่แข็งแรง เพื่อต่อยอดในการใช้ร่างกายทำงานหาเงิน ดังนั้น คุณหมอแมว จึงอนุญาตให้กระปุกดอทคอมนำความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการนิสัยการเงินที่มีผลต่อสุขภาพมาฝากกัน ลองไปอ่านแล้วเปลี่ยนนิสัยการเงินของคุณดูนะคะ


8 อุปนิสัยทางการเงินที่คุณควรจัดการเพื่อสุขภาพ โดย คุณหมอแมว


1. ควบคุมเงินที่ใช้ซื้อสินค้าวิตามินอาหารเสริม

         พูดในแง่รวม ๆ วิตามินและอาหารเสริมที่มีผลดีต่อร่างกายมีจำกัด ในปัจจุบันมีงานวิจัยที่ออกมาใหม่ ๆ และตั้งข้อสงสัยถึงประโยชน์ของวิตามินอาหารเสริม

         อาหารเสริมหลายชนิดที่เดิมเคยเป็นที่นิยมและเชื่อว่ามีประโยชน์ เมื่อเวลาผ่านไปกลับพบว่าไม่ได้มีประโยชน์ หนำซ้ำยังอาจจะก่อเกิดโทษได้อีกด้วย (อย่างใบแปะก๊วยที่ไปพบว่าอาจจะทำให้เลือดออกมากขึ้น เบต้าแคโรทีน ที่พบว่าอาจจะทำให้คนที่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งมากขึ้น และวิตามินอี ที่สงสัยกันว่าการกินมาก ๆ อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น หรือสมุนไพร ที่หลาย ๆ ชนิดกินเข้าไปแล้วเกิดตับอักเสบได้)

         หากจะกินวิตามินเสริม แนะนำว่าปรึกษาแพทย์ก่อน แต่หากเป็นคนที่กินอาหารได้ปกติ แนะนำว่าพยายามปรับการกินให้หลากหลาย และเก็บเงินตรงนี้เอาไปทำอย่างอื่นจะดีกว่า


2. ออกกำลังแบบ Dollar Cost Average

         Dollar Cost Average ในทางการเงิน คือการเลือกหาหุ้นหรือการลงทุนที่พื้นฐานดี จากนั้นลงเงินไปเรื่อย ๆ เป็นประจำ โดยไม่ต้องสนใจว่าหุ้นจะขึ้นจะลง ... ถ้าเรามั่นใจว่าเลือกถูกตัวแล้วพื้นฐานดีจริงมันก็จะให้กำไรเราในระยะยาวเอง

         หลักการนี้นำมาปรับกับการออกกำลังกายก็คือ หาวิธีออกกำลังกายที่ใช่กับตัวเรา เหมาะกับสไตล์ของเรา จากนั้นออกกำลังเรื่อย ๆ เป็นระยะ ไม่ต้องหักโหมมาก แต่ว่าทำอย่างสม่ำเสมอ ช่วงไหนว่างมากมีกำลังก็ออกมากอีกหน่อย ช่วงไหนเหนื่อยเพลียจากการทำงาน (ที่ไม่ถึงกับป่วย) ก็ออกลดลงอีกนิด แต่อย่าหยุดออกกำลังกาย  ในระยะยาวสุขภาพจะดีกว่าการไปออกกำลังกายตอนแก่ (เปลี่ยนคำว่าออกกำลังกายเป็นรักษาสุขภาพก็ได้เหมือนกัน)


3. ระวังอุบัติเหตุทางสุขภาพด้วยประกันสุขภาพ ... แบบเชิงรุก

         ปัจจุบันมีประกันสุขภาพหลายชนิด ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ตรวจสอบว่าคุณมีสิทธิการรักษาในแบบใด ประกันสังคม สวัสดิการ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง) ราชการ ... จากนั้นลองคิดดูว่าคุณสามารถรับได้กับระดับการรักษาในโรงพยาบาลที่คุณมีสิทธิแค่ไหน (พอใจกับหมอไหม พอใจกับยาหรือไม่ พอใจกับการรอคอยหรือไม่)

         หากไม่พอใจหรือคิดว่าอยากจะเสริม เช่น จะใช้ประกันภัยเฉพาะเวลาตรวจเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องรอคิวนาน หรือใช้ประกันสุขภาพเพื่อร่วมกับสิทธิการรักษาปกติเพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าห้อง ก็ไปซื้อประกันอีกที

         ทั้งนี้เวลาจะซื้อก็ให้ประเมินสิทธิการรักษาของคุณกับสิ่งที่คุณต้องการ จากนั้นติดต่อตัวแทนประกันและแจ้งเขาไปเพื่อให้เขาเลือกประกันที่ตรงกับเรามากที่สุดมาให้เราดู ... อย่ารอให้ตัวแทนประกันมาหาเอง เพราะคนที่มาเสนอขายให้เรา เขามักจะมีประกันที่เขาต้องการขายให้เราอยู่แล้วซึ่งอาจจะไม่ดีสำหรับเรา


4. เลือกใช้ยาที่ผลิตในประเทศ ในบางโรคที่ไม่ซีเรียส

         สำหรับการป่วยที่ไม่หนักหนามาก อาจจะให้แพทย์เลือกยาที่ผลิตในประเทศแทนการใช้ยาตัวของแท้ เนื่องจากราคายาอาจจะต่างกันได้ 5-10 เท่า ในคุณภาพและผลข้างเคียงที่ต่างกันเพียงเล็กน้อย


5. อาหารเพื่อสุขภาพควรเลือกแบบสายกลาง

         สูตรอาหารแบบสุดขั้วที่ออกมากันมากมาย บางแบบมีการให้กินน้ำมันพืชบางชนิดมากแบบสุด ๆ บางแบบมีการให้กินอาหารโปรตีนมากสุด บ้างก็ให้กินอาหารที่ผ่านความร้อนน้อย ๆ หรือกินดิบ ๆ ฯลฯ

         อาหารในกลุ่มพวกนี้ นอกจากจะไม่มีงานวิจัยชัดเจนว่าช่วยให้อายุยืนยาว ยังเป็นอาหารที่มีราคาแพงกว่าปกติและเสียเวลาเตรียมมากกว่าปกติ ... ซึ่งทำให้เราอาจจะต้องเสียเงินเกินความจำเป็นโดยอาจจะไม่ได้สุขภาพดีขึ้นเท่าไหร่


6. ตรวจสอบสุขภาพของคุณอย่างสม่ำเสมอ และพอดี

         ผมเคยเจอทั้งคนที่ไม่ยอมตรวจสอบสุขภาพของตนเองเลยจนกว่าจะแย่ และเคยเจอทั้งคนที่ตรวจเลือดตรวจเอ็กซ์เรย์ถี่ระดับ 1-2 เดือนต่อครั้ง

         การไม่ตรวจเลย จะทำให้เมื่อคุณป่วย คุณก็จะป่วยอย่างที่ไม่มีการวางแผนไว้ก่อน การตรวจถี่เกินไป จะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากเกินไป และเสียค่าใช้จ่ายไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นได้มาก โรคส่วนใหญ่ที่ไม่ร้ายแรง

         การตรวจประจำปี ปีละครั้งก็เพียงพอแล้ว (และบางครั้งการตรวจบางชนิดอาจจะเว้นได้นานถึง 2-3 ปี)


7. อย่าหลอกตัวเอง

         ผมพบคนที่ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือแม้แต่มะเร็ง ที่เมื่อตรวจพบในตอนแรกที่เป็นไม่มากแล้วปฏิเสธการตรวจต่อเนื่องหรือรับการรักษา บ้างเห็นว่าตนเองยังมีอาการปกติ บ้างเชื่อว่าหมอมักจะบอกให้โอเว่อร์ไว้เพื่อจะได้รักษาหรือขายยา ทำให้สุดท้ายไม่ตรวจต่อหรือไม่สนใจรักษา เมื่อมารักษาอีกครั้งตอนที่มีอาการมากก็สายเกินไปเสียแล้ว

         การรักษาตนเองตั้งแต่ค้นพบโรคแต่แรก ใช้เงินน้อยกว่าการรอให้เป็นมาก ๆ แล้วมาไล่แก้ไล่รักษาหลายสิบเท่าครับ


8. ตัดค่าใช้จ่ายสินค้าที่ทำลายสุขภาพลง

         เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่คือสินค้าที่ทำลายสุขภาพอย่างหนัก ซึ่งนอกจากทำลายสุขภาพ มันยังกินเงินของเราอย่างมหาศาลอีกด้วย

         หากปกติเราสูบบุหรี่วันละซอง ในหนึ่งปี เราจะใช้เงินไปทั้งสิ้น 18,250 บาท (คิดที่บุหรี่ซองละ 50)
หากดื่มเบียร์วันละกระป๋อง ในหนึ่งปี เราจะใช้เงินไปทั้งสิ้นราว 10,950 บาท (คิดที่เบียร์ กระป๋องละ 30)
รวมเป็นเงิน 29,200 บาท ... ซึ่งหากนำเงินจำนวนนี้ไปซื้อกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งมีอัตราผลตอบแทน 3% ต่อปี คุณจะได้เงินเพิ่มมาอีก 876 บาท เป็น 30,076 บาท

         นี่ยังไม่นับถึงเงินที่คุณไม่ต้องเสียเพิ่มไปกับการเป็นโรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอ หรือตับแข็ง ไขมันเกาะตับอีกด้วย

         จะเห็นว่าเรื่องสุขภาพ หากเรามองให้เป็นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เพื่อวางแผนในชีวิตก็สามารถทำได้ ปรับเปลี่ยนอุปนิสัยและแนวคิดทางการเงินเพื่อสุขภาพของคุณในวันหน้านะครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #142 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2014, 08:54:24 am »
รู้เท่าทัน ก่อนจะหันมาใช้ ‘บัตรเครดิต’

- ไขปัญหาผู้บริโภค


-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/244665/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99+%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+%E2%80%98%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E2%80%99+-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-


เมื่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมก้าวสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง ความทันสมัยหรือกระแสวัตถุนิยม ถือเป็นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความฟุ้งเฟ้อ ความอยากมี อยากได้ ทำให้หลายคนหันไปพึ่งเงินพลาสติกอย่างบัตรเครดิต
วันเสาร์ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.

เมื่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมก้าวสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง ความทันสมัยหรือกระแสวัตถุนิยม ถือเป็นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความฟุ้งเฟ้อ ความอยากมี อยากได้ ทำให้หลายคนหันไปพึ่งเงินพลาสติกอย่างบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางในการกู้ยืมเงินสด และการผ่อนชำระสินค้า มาใช้ตอบสนองความต้องการของตน

ปัจจุบัน การใช้บริการบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อต่าง ๆ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะความสะดวกสบายที่สามารถรูดซื้อสินค้าโดยไม่ต้องใช้เงินสด หรือผ่อนชำระสินค้าโดยสามารถเลือกช่วงระยะเวลา และดอกเบี้ยได้หรือการกดเงินสดเป็นเงินหมุนเวียนเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ชื่นชอบความรวดเร็ว ทันใจ จึงหันมาเลือกใช้บริการมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายก็จัดทำโปรโมชั่นต่าง ๆ ออกมาเพื่อโฆษณา  เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาสมัครใช้บริการบัตรต่าง ๆ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

โดยส่วนมากจะนำเสนอสิทธิประโยชน์การใช้บริการตามห้างร้านต่าง ๆ แต่ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดที่จำเป็นเกี่ยวกับเงื่อนไขในสัญญา เช่น ค่าธรรมเนียมรายปี ค่าติดตามทวงถาม ค่าผิดนัดชำระหนี้ ที่เป็นข้อมูลสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้บริการบัตรเครดิต และบัตรสินเชื่อ

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคควรตระหนักในการเลือกใช้บริการบัตรเหล่านี้ คือ ศึกษาเงื่อนไขข้อตกลงการใช้บัตร ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการของผู้ให้บริการหลาย ๆ รายเปรียบเทียบกัน เช่น คิดค่าธรรมเนียมรายปี ค่าติดตามทวงถามหนี้ ค่าผิดนัดชำระหนี้ มากน้อยเพียงใดเป็นไปตามที่ ธปท.กำหนดไว้หรือไม่ รวมถึงข้อความที่ต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา แล้วจึงมาตรวจสอบเรื่องสิทธิประโยชน์การใช้บัตร และการเปรียบเทียบส่วนลดค่าใช้จ่ายที่จะตามมาจากการใช้บัตร สุดท้ายจึงมาพิจารณาของแถมต่าง ๆ ว่ามีเงื่อนไขอื่นแอบแฝงหรือไม่

บัตรเครดิตถือว่ามีประโยชน์หลายประการสำหรับผู้ที่มีระเบียบวินัยทางการเงิน  หากรู้จักวางแผนการใช้จ่ายอย่างถูกวิธี และไม่ใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น ในทางกลับกัน หากไม่มีการวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และไม่คำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ตลอดจนขาดความยับยั้งชั่งใจ ย่อมส่งผลให้เกิดภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้น

ฉะนั้น เราควรพึงตระหนักไว้ว่า “เมื่อเรานำเงินของผู้อื่นมาใช้ก่อน เราจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินนั้นคืน”.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #143 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2014, 04:28:01 pm »
สิ่งที่ผู้ใช้มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต

-http://money.kapook.com/view89986.html-




เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณฉัตรพงศ์ วัฒนจิรัฏฐ์ และคุณสุนิติ ถนัดวณิชย์ ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย

          บัตรเครดิตกับการใช้งานให้ถูกวิธี ยังมีอีกหลายคนที่ใช้งานบัตรเครดิตด้วยความเข้าใจผิด ดังนั้นวันนี้เราเลยมีสิ่งที่ผู้ใช้มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตมาบอกกัน

          การมีบัตรเครดิตเอาไว้ในครอบครอง กลายเป็นเรื่องสามัญที่คนทำงานส่วนใหญ่มักจะมีเอาไว้เพื่อความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอย แต่บางครั้งการมีบัตรเครดิตที่ใช้งานง่ายก็อาจทำให้ลืมใส่ใจในเรื่องสำคัญอย่างการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต หรืออาจจะยังเข้าใจผิด ๆ อยู่ ดังนั้นวันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำเอาบทความดี ๆ จาก คุณฉัตรพงศ์ วัฒนจิรัฏฐ์ และคุณสุนิติ ถนัดวณิชย์ ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย มาฝากให้ได้ทำความเข้าใจกันค่ะ

          ความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าและบริการ เมื่อมากับกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอาจทำให้เกิดนิสัยการใช้เงินเกินตัวได้ การใช้จ่ายเงินมากกว่าที่หามาได้นั้นเป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ก่อน จึงเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงกระทำ นอกจากนี้ยังเพิ่มภาระทางการเงินหากคุณไม่สามารถชำระหนี้ก้อนดังกล่าวแบบ เต็มจำนวนเมื่อครบกำหนด เพราะคุณจะต้องเสียดอกเบี้ยจ่ายและ/หรือค่าธรรมเนียม รวม ๆ กันแล้วอยู่ในอัตรา 20% ต่อปี ซึ่งอาจเป็นภัยเงียบใกล้ ๆ ตัวคุณได้

          สิ่งที่ผู้ใช้บัตรเครดิตมักจะเข้าใจผิด คือ วิธีการคำนวณดอกเบี้ยจ่ายของบัตรเครดิต ยกตัวอย่างเช่น รูดบัตรเครดิตเพื่อชำระค่าอาหาร และค่าซ่อมรถยนต์ไป จำนวน 25,000 บาท เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2554 คุณได้รับใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้



(รูปที่ 1)

          ยอดเงินถึงวันที่ 5 ส.ค. 54 (Billing Date)
     
          วันครบกำหนดชำระ 30 ส.ค. 54 (Payment Due Date)

          ยอดรวมที่ต้องชำระ 25,000 บาท (Outstanding Bal.)

          ยอดเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระ 2,500 บาท (Minimum Payment Due)

          ในวันที่ครบกำหนดชำระ คุณสามารถที่จะเลือกชำระเต็มจำนวน 25,000 บาท หรือ เลือกชำระขั้นต่ำเพียง 10% ของยอดเต็ม คือ 2,500 บาท โดยปกติแล้วบริษัทบัตรเครดิตมักเสนอให้จ่ายขั้นต่ำ 10% ของยอดฯ หากคุณเลือกจ่ายขั้นต่ำจะทำให้คุณชำระเงินมากขึ้นจาก "ดอกเบี้ย"

          ถ้าในกรณีนี้ คุณตัดสินใจที่จะชำระบางส่วน จำนวน 20,000 บาท และเป็นหนี้คงค้างจำนวน 5,000 บาท เมื่อคุณกลับมาคิด "ดอกเบี้ย" ที่ต้องจ่ายสำหรับเงินต้นคงเหลือจำนวน 5,000 บาท คุณอาจจะคิดว่าดอกเบี้ยจ่ายคงไม่เท่าไร แต่เมื่อรอบบัญชีถัดมา (5 ก.ย. 54) ดอกเบี้ยจ่ายที่พบอาจทำให้คุณตะลึง !! แทนที่คุณจะจ่ายดอกเบี้ยเพียง 19.17 บาท (อัตราดอกเบี้ยต่อปี (20%) x จำนวนวัน (30 ส.ค. – 5 ก.ย. 54) x เงินต้น (5,000 บาท)) แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ !!! คุณจะต้องจ่ายถึง 469.04 บาท ดังตารางคำนวณต่อไปนี้



(รูปที่ 2)

          สิ่งที่ทำให้ดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น มาจาก 2 ส่วน คือ ยอดหนี้ที่ใช้คิดดอกเบี้ย และจำนวนวันที่ใช้คำนวณดอกเบี้ย

          ปัจจัยแรก แน่นอนว่ายอดหนี้ที่ใช้คิดดอกเบี้ย ไม่ได้มีเพียงแต่ยอดหนี้คงเหลือนับจากวันครบกำหนดชำระเพียงอย่างเดียว (5,000 บาท) แต่คิดจากยอดหนี้เต็มจำนวนโดยคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่รูดซื้อสินค้าและบริการ

          ปัจจัยที่สอง คือจำนวนวันที่คิดดอกเบี้ย ซึ่งคิดตั้งแต่วันที่บันทึกจนกระทั่งถึงก่อนวันครบกำหนดชำระ 1 วัน โดยใช้ยอดหนี้ซื้อสินค้าหรือบริการเป็นเงินต้นในการคำนวณ (ส่วนที่ 1) และจำนวนวันที่คิดดอกเบี้ยยังคิดต่ออีก ในวันที่ครบกำหนดชำระจนกระทั่งถึงวันตัดยอดของรอบบัญชีถัดไป (5 ก.ย. 54) อาจจะกล่าวในทางเทคนิคได้ว่า คุณเปิดโอกาสให้ผู้ออกบัตรเครดิตคิดดอกเบี้ยในระยะปลอดดอกเบี้ยได้เต็มที่เลยทีเดียว ซึ่งรายละเอียดในการคำนวณดอกเบี้ยจะไม่ได้แสดงในใบเรียกเก็บหนี้ แต่จะแสดงอยู่ในข้อควรปฏิบัติและเงื่อนไขในการใช้บัตรเครดิต ซึ่งจะเป็นเอกสารแนบในใบเรียกเก็บในแต่ละเดือน



(รูปที่ 3)

          ถึงแม้บัตรเครดิตจะดูดเงินในกระเป๋าคุณได้ คุณก็สามารถควบคุมการใช้บัตรเครดิต อย่างระมัดระวังได้ วิธีที่ดีที่สุดในการใช้บัตรเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพ คือเมื่อตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว คุณต้องแน่ใจว่าจะมีเงินจ่ายเต็มจำนวนเมื่อครบกำหนด หรือพยายามจ่ายคืนให้เร็วที่สุด บัตรเครดิตจึงเป็นเหมือนดาบสองคม ดังนั้นควรใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวังด้วย



หมายเหตุ รูปที่ 1 , รูปที่ 2 และรูปที่ 3 ลิงค์จากเว็บกระปุก แต่หากไม่เห็นรูป ให้ดูจากรูปที่โหลดลงกระทู้ฯด้านล่าง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #144 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2014, 09:40:51 pm »
ดอกเบี้ยของธนาคารไหนดี ตรวจสอบได้ที่

-http://www.checkraka.com/-

-http://www.checkraka.com/price/saving-2-68/-

ติดตามได้ตามลิงค์ครับ

http://www.checkraka.com/price/saving-2-68/
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #145 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2014, 11:34:57 am »
มีเงินเหลือ จะเก็บ หรือลงทุนดีกว่ากัน?

-http://money.sanook.com/190849/%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99/-

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังลังเลใจว่าสุดท้ายแล้ว หากคุณมีเงินเหลือ คุณควรทำอย่างไรระหว่างลงทุน กับเก็บออม? คำตอบของคุณ อาจจะจบลงที่การทำทั้งสองอย่างเพื่อกระจายความเสี่ยงออกไป แตกระนั้นคำตอบของคุณก็ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายทางการเงินของคุณ บทความนี้เป็นเพียงคำแนะนำให้กับคุณในการวางแผนทางการเงินที่เหมาะกับคนแต่ละคนเท่านั้น

ออมเงิน กับ ลงทุน ต่างกันตรงไหนบ้าง?
ก่อนอื่นมาดูความต่างกันซักเล็กน้อย การออมคือการแบ่งรายได้ของคุณในแต่ละเดือน เพื่อออมไว้ จนได้เงินก้อนใหญ่ ซึ่งการออมส่วนมาก คุณทำเพื่อเป้าประสงค์หนึ่งๆ อาทิ ออมเพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ ออมเพื่อการศึกษาต่อ ออมเพื่อซื้อบ้าน หรือแบ่งไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เป็นต้น ส่วนการลงทุน คือ การมุ่งเป้าเพื่อทำให้เงินก้อนหนึ่งของคุณงอกเงย มากกว่าการออม ด้วยการซื้อผลิตภัณฑ์การเงินต่างๆ ในท้องตลาด อาทิ หุ้น พันธบัตร หรือ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ใครบ้างที่ควรออมเงิน?
ก่อนอื่นต้องบอกว่า การบริหารการเงินที่ดีนั้น เงินก้อนแรกที่คุณควรเก็บไว้เลยคือ กองทุนเงินฉุกเฉิน ซึ่งหมายถึง หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น อาทิ คุณป่วยกะทันหัน คุณตกงานกะทันหัน คุณยังสามารถดำรงชีวิตและหาเลี้ยงครอบครัวได้ โดยส่วนใหญ่คุณควรมีเงินก้อนนี้ไว้คิดเป็นจำนวน 3 เท่า ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือนของคุณ ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ไม่ใช่เพียงค่ากินอยู่ และสาธารณูปโภคเท่านั้น แต่รวมถึงค่างวดชำระหนี้สินด้วย อาทิ รถ บ้าน ส่วนถ้าถามว่าทำไมต้อง 3 เดือนนะ ต้องบอกว่า เป็นจำนวนเวลาที่ส่วนใหญ่หากเกิดปัญหาขึ้นมาจริงๆ จะเริ่มตั้งตัวและสามารถจัดการปัญหาได้

นอกจากนี้ หากคุณยังมีสิ่งอื่นที่สำคัญกว่าต้องจัดการ คุณยังไม่ควรออมเงิน อาทิ คุณมีหนี้สินจำนวนมาก ที่คุณมีดอกเบี้ยทบต้นที่งอกเงยตามหลอกหลอนทุกวัน คุณควรจัดการสิ่งเหล่านั้นก่อน ตัวอย่างที่สำคัญ เช่น หนี้บัตรเครดิต ที่คิดคุณเป็นรายวันนั่นเอง

หลังจากพิจารณาสองอย่างข้างต้นแล้ว คุณมีกองทุนฉุกเฉินแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณสามารถออมเงินได้ และควรออม โดยที่ควร คุณควรออมเงินประมาณ 10% ออกจากรายได้ทั้งหมด แต่ก่อนที่จะออม อย่าลืมตั้งเป้าหมายก่อนล่ะ ว่าคุณจะออมเพื่ออะไร เพราะมันจะทำให้คุณมีกำลังใจออมมากขึ้น และมีวินัยกับตัวเองมากขึ้น

คุณพร้อมที่จะลงทุนหรือไม่?
ไม่ต่างจากการออมมากนัก คุณควรจะรู้ว่า คุณจะลงทุนไปเพื่อจุดประสงค์อะไร และจุดประสงค์นั้นควรแบ่งเป็นสามอันหลักๆ ที่ต้องเลือกดังนี้

1. Short-term goal คือ แผนการที่คุณต้องใช้เงินก้อนนั้นในอีกไม่เกิน 5 ปี
2. Medium-term goal คือ แผนการที่คุณต้องใช้เงินก้อนนั้นในอีกไม่เกิน 5-10 ปี
3. Longer-term goal คือ แผนการที่คุณต้องใช้เงินก้อนนั้นในอีก 10 ปีขึ้นไป


สำหรับทางเลือกแรก เป้าระยะสั้น วิธีีที่ดีและปลอดภัยคือ การฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำ หรือพันธบัตรที่มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากว่า หากคุณนำเงินก้อนนั้นไปเล่นหุ้น ซึ่งมีความผันผวนมากหากดูกันที่ระยะสั้นไม่เกิน 5 ปี ซึ่งเมื่อครบ 5 ปี อาจทำให้คุณเสียเงินต้นบางส่วนไปได้ ส่วนทางเลือกที่ 2 นั้น ขยับขึ้นมาที่ 5-10 ปี การเล่นหุ้นอาจจะยังมีความเสี่ยง แต่ก็น้อยลง ขึ้นอยู่กับว่าคุณรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน ส่วนระยะยาวนั้น จะมีตัวเลือกให้คุณได้มากขึ้น ทั้งการเล่นหุ้น ที่มักเห็นผลกันที่ระยะยาว หรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือ ทองคำ ที่จะราคาสูงขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไปยาวๆ เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การบริหารความเสี่ยง หรือ การกระจายความเสี่ยงคือเรื่องสำคัญ นั่นหมายถึง การลงทุน ควรลงทุนในหลายๆ แบบ ไม่ใช่ลงเงินทั้งหมดในรูปแบบเดียว แต่ให้กระจายไปในหลายๆ ผลิตภัณฑ์นั่นเอง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับอายุของคุณด้วย หากคุณอายุขึ้นเลข 3 แล้วนั้น ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า สิ่งหนึ่งแน่ๆ ที่คุณควรมีคือ แผนการออมเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุ ส่วนใหญ่ที่นิยมทำคือ การลงทุนให้กองทุนบำนาญเป็นต้น
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #146 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2014, 11:48:30 am »
แชร์ประสบการณ์ออมเงินง่าย ๆ แบบคนธรรมดา

-http://money.kapook.com/view90845.html-




เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ Candy A สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

          วิธีเก็บเงินง่าย ๆ จะทำอย่างไรให้เก็บเงินได้ วันนี้เรามีประสบการณ์ออมเงินแบบคนธรรมดามาฝากกันค่ะ

          วิธีออมเงินสำหรับคนธรรมดาที่มีรายได้ไม่มากนัก อาจจะถูกมองเป็นเรื่องยากที่ต้องกระทบกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จนทำให้หลายคนไม่เหลือเงินสำหรับเก็บออมสักเท่าไหร่ แต่ทว่าการเก็บเงินให้เป็นกอบเป็นกำก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ยากอย่างที่คิดเสมอไป ถ้ารู้วิธีเก็บเงินง่าย ๆ แบบคนธรรมดา จากการแชร์ประสบการณ์ของ คุณ Candy A สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ซึ่งอาจทำให้คุณเปลี่ยนความคิดและมีเงินออมได้ง่ายขึ้นค่ะ

          แชร์ประสบการณ์การออมเงิน (ฉบับคนธรรมดา) โดย คุณ Candy A

          ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวก่อนนะคะ ดิฉัน อายุ 23 ปี  ปัจจุบันเพิ่งเริ่มทำงานได้ปีกว่า ฐานะทางบ้านไม่ได้ร่ำรวย พอมีพอกิน (แต่ไม่พอเก็บ) เราก็เลยต้องเริ่มเก็บด้วยตัวเอง และนี่เป็นที่มาของประสบการณ์ที่จะมาแชร์กันค่ะ

          หลาย ๆ คนคงจะเคยคิดว่าเราจะต้องออมเงินให้ได้เท่านั้น เท่านี้ แต่ทำไมนะ พอเอาเข้าจริง ๆ มันก็ไม่ได้ตามที่เราตั้งไว้ การออมเงิน เป็นเรื่องง่าย สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กยันแก่ แต่ต้องอาศัย "วินัย" เป็นอย่างมาก

          วันนี้ก็เลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์การออมเงิน จากสมัยเด็ก ๆ จนถึงปัจจุบัน โดยส่วนตัวดิฉันเป็นคนชอบออมเงินมาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ คุณแม่จะฝึกให้บริหารจัดการเงินเอง โดยสมัยประถม (ป.1-ป.2) จะให้เงินไปโรงเรียนวันละ 5-10 บาท แต่ห่ออาหารกลางวันไปทานที่โรงเรียน (ป.3-ป.6) คุณแม่จะให้เงินไปโรงเรียนเป็นสัปดาห์ สัปดาห์ละ 100 บาท (จันทร์-ศุกร์ 5 วัน  วันละ 20 บาท) คุณแม่จะแลกแบงก์ 20 ใหม่จากธนาคาร ที่มีเลขบนธนบัตรเรียงต่อกันไว้จำนวนหนึ่ง สิ่งที่จูงใจในการเก็บเงินตอนนั้นคือ อยากเก็บแบงก์ใหม่ไว้เอง ไม่อยากให้ใคร ตอนนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการออม



          สมัยนั้นข้าวที่โรงเรียน จานละ 5 บาท พิเศษ 7 บาท น้ำหวานแก้วละ 1 บาท (น้ำเปล่าฟรี) ผลไม้ ขนมอื่น ๆ ก็ 1-5 บาท ด้วยความที่หวงแบงก์ใหม่ เราจึงกินเฉพาะข้าวจานละ 5 กับน้ำเปล่า (ฟรี) แต่เหตุการณ์ที่ทำให้เสียเงินมันไม่ใช่ตอนนี้ แต่มันคือตอนหลังเลิกเรียน ที่จะมีบรรดาพ่อค้า แม่ค้า เอาอาหาร ขนม นม เนย มาขายบริเวณหน้าโรงเรียน เดินผ่านทีไรก็เป็นอันต้องเสียเงินทุกที จะปีนกำแพงออกทางอื่นก็ไม่ได้เพราะขาสั้น ตัวเตี้ย ไม่มีทักษะในการปีนอีก และด้วยความเป็นเด็กเห็นอะไรมันก็หักห้ามใจยาก เลยเสียเงินไปกับขนมตอนเย็น 5-10 บาท เกือบทุกวัน  สรุปแล้วช่วงนั้นก็เก็บเงินได้วันละนิดวันละหน่อย เหลือแบงก์ 20 ใหม่ สัปดาห์ละ 1-3 แบงก์ พอถึงวันศุกร์กลับมาบ้านมานั่งชื่นชมแบงก์ใหม่ ดีใจเหมือนกับมีเงินล้าน

          ชีวิตช่วงประถม วนเวียนอยู่กับเหรียญและแบงก์ พอสะสมได้เยอะ ๆ ก็จะให้พ่อพาไป ธนาคารสีชมพู เพื่อนำเงินไปฝาก แต่ตอนเด็กๆจะชื่นชมกับเงินที่จับต้องได้ มากกว่าตัวเลขในสมุดบัญชี ก็เลยไม่ค่อยเอาไปฝากสักเท่าไหร่ และมีครั้งหนึ่งเคยถามคุณแม่ว่า

          เรา : แม่คะ ธนาคารนี่ต้องมีตู้เก็บเงินแยก ๆ เป็นล็อก ๆ กี่อันคะ คนเค้าฝากตั้งเยอะตั้งแยะ เค้าเอาเก็บแยกกันหมดรึเปล่า
          แม่  : เปล่าจ้ะ เค้าไม่ได้แยกกัน เงินที่เอาไปฝากไว้ที่ธนาคาร เค้าจะเอารวมกันจ้า

          เรา  : แล้วเวลาที่เราไปเอาเงินออกมา เราจะได้เงินแบงก์ใหม่ที่เราเอาไปฝากไว้ไหมคะ

          แม่  : ไม่ได้จ้ะ เพราะเงินเรา เค้าจะหมุนเวียนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น แต่เค้าจะเอาเงินที่มีอยู่มาให้เราเวลาที่เราไปถอนเงินออกมา

          ตั้งแต่วันนั้นก็เลยไม่เอาแบงก์ใหม่ไปฝากธนาคารเลย เอาแต่เหรียญไปฝาก แบบว่ายกกระปุกออมสินลูกหมูไปนับฝากที่ธนาคารเลย



          เวลาล่วงเลยไปกว่า 6 ปี ที่เรียนชั้นประถม เราก็มานั่งนับเงิน อู๊ฮู้ว!!! เงินเยอะจัง มีตั้งหลายพันแหนะ นึกถึงแบงค์ 20 ใหม่ ๆ ที่เรียงกันเป็นปึก ๆ เห็นแล้วมันชื่นใจจริง ๆ เงินตั้งหลายพันเนี่ย ไม่ได้มาจากเงินที่คุณแม่ให้ไปโรงเรียนอย่างเดียวนะคะ เวลาไปเที่ยวคุณแม่ก็จะให้เงินติดตัวไว้เท่ากันกับพี่สาว ใครใช้หมดก็จะไม่ให้เพิ่ม ใครใช้เหลือก็ไม่เอาคืน สรุปว่าถ้าเหลือก็เก็บค่ะ ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นเวลาแห่งการเก็บเงิน อยากได้อะไรก็จะอดไว้ก่อน ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ซื้อ คิดอย่างเดียวคือ เสียดายเงิน !!!



          พอขึ้นชั้นมัธยม เข้าโรงเรียนประจำจังหวัดต้องเดินทางไป-กลับทุกวัน วันละ 40 กิโล และต้องนั่งรถโดยสารไป คุณแม่จึงให้เบี้ยเลี้ยงวันละ 60 บาท ค่าใช้จ่ายช่วงมัธยมจะเยอะกว่าประถมมาก ไหนจะค่าเดินทาง ค่าอาหารที่แพงขึ้น (และกินเยอะขึ้น) ค่าทำรายงาน ค่าจัดบอร์ด ค่าฉลองวันเกิดเพื่อน+ของขวัญ และอื่น ๆ อีกมากมาย

          จำได้ว่า ม.1 ค่ารถโดยสาร (ธรรมดา) 5 บาท, รถแอร์ 10 บาท (ราคานักเรียนนะคะ) และต้องต่อรถเมล์เข้าไปที่โรงเรียนอีก 5 บาท ซึ่งแต่ละวันตอนเช้าเราจะเลือกรถไม่ได้ เพราะมันเป็นทางผ่านของรถสายยาว คันไหนมาเราก็ต้องขึ้นคันนั้นเลย ถ้าหวังจะไปคันต่อไป แล้วรถมาไม่ทันเวลาก็คงต้องเข้าโรงเรียนสายและโดนทำโทษ โดยการวิ่งรอบสนามฟุตบอล ค่าอาหารกลางวัน ข้าวจานละ 12-20 บาท น้ำ 3-10 บาท

          พออยู่ ม.6 ค่าน้ำมันปรับขึ้นสูงมาก ทำให้ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว รถธรรมดา (พัดลม) 10-15 บาท รถแอร์ 15-20 บาท (อันนี้ราคานักเรียน ถ้าใส่ชุดอื่นนอกจากชุดนักเรียนราคาก็จะสูงขึ้นอีก) คุณแม่ก็เลยต้องขึ้นเบี้ยเลี้ยงให้เป็นวันละ 100 บาท

          ช่วงมัธยมเงินออมก็จะมาจากเงินเบี้ยเลี้ยงที่คุณแม่ให้ไปโรงเรียนในแต่ละวัน แต่ตอนนี้เริ่มไม่ได้แบงก์ใหม่แล้วนะคะ เริ่มจะสนใจการฝากเงินในธนาคาร เพราะได้ดอกเบี้ย (ถึงแม้มันจะน้อยนิดก็ตาม) เริ่มชื่นชมกับจำนวนเงินที่มากขึ้น ๆ ๆ ทุกวัน จะเน้นการฝากกับธนาคารโรงเรียน พอเห็นจำนวนเงินแบบมีเศษ เช่น 1,291 บาท เราก็อดไม่ได้ที่จะเอาเงินไปฝากให้มันไม่มีเศษ ก็ต้องไปฝากอีก 9 บาท เป็น 1,300 บาท รู้สึกดีตั้งแต่เลขหลักร้อยเริ่มเพิ่มขึ้น และจะขยันไปฝากมากขึ้น เมื่อตัวเลขหลักพันจะเพิ่มขึ้น เช่น 1,980 บาท ถึงแม้ทั้งเนื้อทั้งตัว (หักค่ารถกลับบ้านออก) จะเหลือแค่ 20 บาท ก็จะเอาไปฝาก เพื่อให้เป็น 2,000  บาท

          ตัวเลขก็ขยับขึ้น ๆ ๆ  เรื่อย ๆ จบชั้นมัธยม มีเงินออมราว ๆ 2-3 หมื่นบาท และมีรายได้เสริมอีกทางหนึ่งคือ การแข่งขัน ประกวดวิชาการต่าง ๆ เพราะการแข่งขันในระดับมัธยม มักจะมีเกียรติบัตร และเงินรางวัล ดิฉันก็เข้าร่วมทุกครั้งที่มีโอกาส ได้เงินมาไม่ต้องถามค่ะว่าเอาไปไหน คำตอบเดียวคือ ธนาคารโรงเรียนค่ะ

          ถึงช่วงนี้เงินออมขยับจากหลักสิบ เป็นหลักร้อย หลักพัน จนมาเป็นหลักหมื่นแล้วค่ะ ความคิดตอนนั้นคือ ห๊าาาาา !! ฉันจะเป็นเศรษฐีนีในอนาคต (มโนว่ายืนอยู่แล้วโยนเงินให้ลอยขึ้นไปในอากาศ เสมือนในหนังสมัยก่อนที่เศรษฐีเขาทำกัน)



          เงินเหรียญดิฉันก็เก็บนะคะ สมัยประถมก็จะเก็บโดยหยอดกระปุก ถ้ากระปุกเริ่มหนักก็แสดงว่าเงินเยอะขึ้น แต่ไม่เห็นว่าเงินในกระปุกมีเยอะแค่ไหน อีกอย่างแกะออกมานับยากมาก ต่อมาเลยเปลี่ยนวิธี โดยการออมใส่คอนโดเหรียญ (ลิ้นชักเล็ก)



          แต่ละชั้นก็จะมีเหรียญแตกต่างกันไป ชั้นแรก เป็นเหรียญสตางค์ ที่เก็บไว้ชั้นบนสุดเพราะเหรียญมีน้ำหนักเบาและมีจำนวนน้อยที่สุด


ชั้นที่ 2 เป็นเหรียญ 2 บาท
         

ชั้นที่ 3 เป็นเหรียญ 1 บาท
         

และชั้นที่ 4 เป็นเหรียญ 5 กับเหรียญ 10 บาท



          ส่วนเหรียญพิเศษอื่น ๆ ที่มีลวดลายแปลกตา หาได้ยาก ดิฉันก็จะเก็บใส่กล่องแยกเอาไว้ เพราะถ้าเอาไปปนกับเหรียญอื่น ๆ เผลอหยิบไปใช้เสียดายแย่เลย



          สมัยเรียนมหาวิทยาลัย (ดิฉันเรียนที่มหาวิทยาลัยของรัฐชื่อดังในภาคใต้  ซึ่งไกลจากบ้านด้วยระยะทางประมาณ 1500 กิโลเมตร) เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ต้องไปเผชิญชะตากรรมในต่างถิ่น ฟังดูเหมือนน่าสงสาร แต่จริง ๆ แล้วดิฉันเลือกเองค่ะ สละสิทธิ์มหาวิทยาลัยอื่น เพื่อที่จะได้มาอยู่ที่นี่ ไม่ได้อยากหนีอะไรนะคะ แต่อยากพิสูจน์ให้ทางบ้านเห็นว่า เราโตแล้ว รับผิดชอบตัวเองได้ อยู่ที่นั่นคุณแม่ส่งเงินให้เป็นรายเดือน ให้บริหารจัดการเองเช่นเคย โดยจะคำนวณจากมื้ออาหาร 3 มื้อ มื้อละ 50 บาท ซึ่งเด็กมหา'ลัย อย่างเรากินอิ่มแบบสบาย ๆ และให้เผื่อใช้จ่ายอย่างอื่นอีกนิดหน่อย โดยค่าเทอมและค่าหอพัก จะจ่ายรวบยอดทั้งเทอม ส่วนนี้ที่บ้านก็รับผิดชอบให้อีกเช่นเคย (เรานี่ช่างโชคดีอะไรเช่นนี้)

          ช่วงปี 1 เป็นช่วงที่ไม่ค่อยได้ใช้เงิน เพราะเวลาส่วนใหญ่ก็เรียน และทำกิจกรรม ไม่ค่อยได้ออกไปเที่ยวอะไรมาก อาหารในมหาวิทยาลัยก็มีให้เลือกหลากหลาย ราคาก็ถู๊ก ถูก (ข้าวราดแกง 1 อย่าง 12 บาท, 2 อย่าง 15 บาท, 3 อย่าง 17 บาท, ก๋วยเตี๋ยว 15 บาท, น้ำหวานแก้วละ 3-7 บาท) ที่ไปบ่อย ๆ ก็เห็นจะเป็นห้างสรรพสินค้าหน้ามหาวิทยาลัย ไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ ซึ่งแต่ละครั้งที่ไปดิฉันก็จะจดรายการสิ่งของที่ต้องซื้อ เพราะจะได้ไม่ตกหล่น ไม่ซื้อของเกินความจำเป็น และที่สำคัญไปเดินตากแอร์ (ก็ขึ้นชื่อว่าภาคใต้ มันก็มีแค่ 2 ฤดู คือร้อน กับร้อนมาก เราก็เลยต้องมีที่คลายร้อนเป็นธรรมดา)

          พอมาปี 1 เทอม 2 ดิฉันย้ายออกไปพักที่หอนอกมหาวิทยาลัย เนื่องจากดิฉันสร้างรกราก และสะสมสิ่งของต่าง ๆ มากมาย จนพื้นที่ในห้องแทบจะไม่มีที่เดิน เมื่อรวมของรูมเมทอีก 2 คน ยิ่งทำให้ห้องแคบไปถนัดตา ดิฉันได้ย้ายไปพักที่หอพักข้างมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถไป-มาได้อย่างสะดวก (ใช้รถจักรยานยนต์) ช่วงนั้นได้รถมาใหม่ ๆ เริ่มมีการออกไปสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ รู้ที่กิน ที่เที่ยว ที่ช็อป มากมาย ซึ่งแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น

          แต่คุณแม่ก็ใจดี ให้เบี้ยเลี้ยงเพิ่ม เป็นเดือนละ 9 พัน (ค่าห้อง รวม ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต 3,500 บาท ค่ากินค่าอยู่ 4,500 บาท (เฉลี่ยวันละ 150 บาท) และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก 1,000 บาท ช่วงนี้ดิฉันออมเงินจากการประหยัดค่าอาหาร โดยกินข้าว 2 มื้อ จากมหาวิทยาลัย มื้อเย็นซื้อน้ำเต้าหู้ หรือนม เป็นการลดน้ำหนักไปในตัว  ก็เหลือเก็บวันละหลายสิบบาท เดือนนึงก็เหลือเก็บประมาณ 1,000-2,500 บาท

          ปี 2 เริ่มหาอาชีพเสริม เพราะตั้งเป้าหมายให้ตัวเองว่า จบปี 4 ต้องเก็บเงินให้ได้หลักแสน เริ่มจากการเข้าไปติดต่อกับทางฝ่ายกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ขอทำงานพิเศษ ซึ่งโชคดีมากที่มหาวิทยาลัยของดิฉันมีกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษามีรายได้พิเศษเพิ่มเติมระหว่างเรียน

          ทั้งรับจ้างพิมพ์งาน สอนพิเศษ หรือให้ไปเป็นสตาร์ฟ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้น รวมไปถึงการที่เอกชนเข้ามาติดต่อ ขอแรงให้นักศึกษาไปช่วยงาน ซึ่งคิดค่าแรงเป็นงาน ๆ ไป อย่างรับจ้างพิมพ์งาน ถ้าเป็นการกรอกข้อมูล ก็จะคิดแผ่นละ 2 บาท หรือแล้วแต่ความยากของงาน

          เป็นสตาฟตามซุ้มงาน ไปคุมซุ้มเกมต่าง ๆ แนะนำวิธีเล่นเกมให้แก่ผู้เข้าชม ตั้งแต่เวลา บ่าย-เที่ยงคืน ได้ค่าจ้าง 900 บาท

          รับจ้างสอนพิเศษ ลูกอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ได้เดือนละ 3,000-5,000 บาท

          เป็นสตาฟในงานรับปริญญา ช่วยจัดแถวพี่ ๆ บัณฑิต ได้วันละ 300 บาท

          ถ้าว่างจากการเรียนดิฉันก็มักจะทำงานเหล่านี้เสมอ เพราะได้ทั้งเงิน และได้ทั้งเพื่อน ได้รู้จักเพื่อน ๆ จากคณะอื่น ๆ ตอนนั้นเรียกได้ว่าเดินไปทางไหนก็รู้จักเค้าไปหมด เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมาก ๆ หาเงินได้ด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก

          จำได้ว่าครั้งแรกรับจ้างพิมพ์งาน เค้าให้ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ดิฉันทำ 2 วันแล้วเอางานไปส่งให้กับอาจารย์ อาจารย์ก็เอ่ยปากชมว่าทำงานเร็ว และพิมพ์ไม่ผิดเลย ตอนนั้นได้ค่าจ้าง 300 บาท นั่งมองเงินแล้วน้ำตาไหล พูดกับตัวเองว่า เย้ ๆ เราหาเงินเองได้แล้ว เงินนั้นดิฉันเก็บใส่ซองไว้ไม่ใช้เลยค่ะ เสมือนว่าเงินก้อนแรกที่หามาเอง มันช่างน่าภูมิใจจนไม่รู้จะบรรยายยังไง

          ทุก ๆ วันดิฉันก็จะเข้าไปเว็บไซต์หางานกับทางมหาวิทยาลัย เมื่อตรงกับช่วงที่ดิฉันว่าง หรือช่วงเสาร์-อาทิตย์ ก็จะลงทำงานนั้นเกือบทุกงาน แต่บางทีก็คิดนะคะเพื่อน ๆ เค้าไปเที่ยว สนุกสนานกัน แต่เรามาทำงาน ไม่ได้ไปเที่ยว ก็มีช่วงนึงที่ไปเที่ยวบ้าง แต่ดิฉันพบว่าการไปเที่ยวนั้น ถ้าไม่รวมว่าได้พักผ่อนหย่อนใจ สังสรรค์กับเพื่อน ก็มีแต่การใช้เงิน แล้วเงินที่เราใช้ก็เป็นเงินที่เราอุตส่าห์ทำงานแลกมา

          หลังจากนั้น ไม่ค่อยออกไปไหนค่ะ ทำงาน และเรียนอย่างเดียว จนมีเงินเก็บครึ่งแสน ตอนนั้นนั่งดูเงินในบัญชี น้ำตาจะไหล  เราเกือบจะทำสำเร็จแล้ว  อีกครึ่งนึงเท่านั้น

          บางคนสงสัยว่าเอ๊ะ !! ดิฉันไม่ซื้อรองเท้า หรือเสื้อผ้า เหมือน ๆ ที่นักศึกษาคนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไปเขาทำเหรอ ตอบเลยค่ะว่าซื้อ ซื้อเยอะด้วย จำได้ว่าจบปี 4 มีรองเท้าเกือบ ๆ 40 คู่ เสื้อผ้าขนกลับบ้านสัก 2 กระสอบใหญ่ แต่เงินที่จะซื้อของพวกนี้ได้ ไม่ใช่เงินเก็บธรรมดา ๆ นะคะ จะต้องมีกฎเกณฑ์ ดิฉันบอกกับตัวเองว่า ถ้าเก็บเงินได้ครบทุก ๆ 5,000 บาท จะซื้อของขวัญให้กำลังใจตัวเอง ซึ่งดิฉันชอบใส่ส้นสูง ชอบแต่งตัว ก็เลยมีรองเท้าและเสื้อผ้าเยอะเลย

วิธีเก็บเงิน
นี่เป็นส่วนหนึ่งของรองเท้าสมัยเรียนค่ะ

          ช่วงปี 4 เป็นช่วงที่ต้องทำวิจัยและออกฝึกงานต่างจังหวัด ดิฉันจึงไม่ได้ทำงานเสริม แต่ช่วงที่ฝึกงาน เราทำงานสายสุขภาพ เวลาเราไปดูเคส แวะไปพูดคุย ดูแล รักษาเค้า เค้าก็จะให้สินน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นของขวัญบ้าง เงินเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง ด้วยความที่เราคุยเก่ง คนไข้ก็จะชอบและมีกำลังใจทุกครั้งที่ได้คุยกัน พอถึงวันที่เค้าจะได้กลับบ้าน ก็จะบอกให้ลูก ๆ หลาน ๆ เอาของมาฝากเต็มไปหมด บางคนเอาเงินใส่ซองมีตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน เราบอกไม่เป็นไรค่ะ ทำด้วยความเต็มใจ แค่หายดี กลับบ้านได้ หนูก็ดีใจแล้ว เขาก็บอกว่าไม่ได้ ไม่งั้นเค้าจะถือว่ารังเกียจเขา

          เราก็ต้องรับไว้ แต่ของขวัญและสินน้ำใจต่าง ๆ ดิฉันไม่เอาไปใช้แม้แต่บาทเดียว เก็บไว้มายังไงก็อยู่อย่างนั้น เอาไว้เป็นกำลังใจให้ตัวเอง ว่านี่แหละ คือผลตอบแทนของการทำหน้าที่ของเราอย่างดีที่สุด จนกระทั่งการเรียนระดับมหาวิทยาลัยจบลง วันนั้นดิฉันมานั่งดูเงินในบัญชี  โอ้ !!! พระเจ้า ฉันเก็บเงินได้เป็นแสนจริง ๆ ด้วย ดีใจ กระโดดโลดเต้นอยู่คนเดียว น้ำตาไหล เป็นความดีใจที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทั้งเรียนจบได้ใบปริญญามาฝากคุณพ่อคุณแม่ ทำตามเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้ได้

          ตอนแรกกะว่าจะเอาเงินไปดาวน์รถ แต่ไป ๆ มา ๆ ไม่เอาดีกว่า เสียดาย อุตส่าห์เก็บมาตั้งนาน แค่รถจักรยานยนต์ที่มีอยู่ก็พาเราไปไหนมาไหนได้ตั้งเยอะ ที่บ้านก็มีรถยนต์อยู่แล้ว มี 2 คัน แต่คุณพ่อขับเป็นแค่คนเดียว เดี๋ยวเราเอาคันเก่ามาขับก็ได้ ถ้าไปต่างจังหวัดก็นั่งรถโดยสารไป ก็ถึงเหมือนกัน แล้วเดี๋ยวนี้การคมนาคมขนส่งก็มีให้เลือกตั้งเยอะแยะ ปัจจุบันก็เลยล้มเลิกการซื้อรถไป

ทำงานเดือนแรก

          พอจบมาดิฉันก็ทำงานที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง เงินเดือนรวม ๆ แล้วประมาณ 1x,xxx บาท ที่โรงพยาบาลมีบ้านพักให้ (ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เยอะเลย) งานที่นั่นค่อยข้างหนัก เพราะจำนวนประชากรในอำเภอค่อยข้างเยอะ ประมาณ 9 หมื่นกว่าคน เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลแล้ว เจ้าหน้าที่ต้องทำงานเป็น 2 เท่าเลยค่ะ เพราะบุคลากรก็ไม่เพียงพอ แต่คนไข้น่ารักมากค่ะ พอมีผลไม้อะไรออกก็จะหิ้วมาฝากเสมอ ซื้อขนม ทำกับข้าวมาให้บ่อยมาก ยิ่งรู้ว่าเราเป็นคนต่างพื้นที่ ยิ่งเอาใจเราใหญ่เลย อยากให้เราอยู่ที่นี่นาน ๆ

          ค่าใช้จ่ายแทบจะไม่มีเลยค่ะ มีแค่ค่าอาหารบางมื้อเท่านั้น  ห้างสรรพสินค้าไม่ต้องพูดถึงค่ะ มีเซเว่นก็หรูแล้ว 2 ทุ่มปิดไฟนอน ออกไปข้างนอกก็เหมือนเข้าป่าค่ะ มืดมาก ๆ วงจรชีวิตก็ ตื่น-ไปทำงาน-กลับห้อง-นอน เป็นแบบนี้ทุกวัน

          เมื่อเงินเดือนเดือนแรกออก เราตัดสินใจ เอาเงินทั้งหมดแบ่งให้พ่อกับแม่คนละครึ่ง แล้วเราก็ใช้เงินออมที่เก็บมาเอา เพราะเชื่อว่าเงินเดือน เดือนแรก ถ้าให้พ่อกับแม่เราจะมีความเจริญรุ่งเรือง (เราอยากรุ่งเรืองมาก ก็เลยให้หมดเลยค่ะ) พ่อกับแม่ก็ปลื้มใจเป็นอย่างมาก พอผ่านไปได้ 3 วัน แม่บอกว่า แม่เก็บไว้แล้ว 3 วัน แม่ให้ลูกคืนเอาไว้ใช้ แต่พ่อเงียบไปเลยค่ะ ประมาณว่าไม่เคยมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น

          เนื่องจากที่ทำงานห่างจากบ้านประมาณ 300 กิโลเมตร ถ้าจะกลับบ้านก็ต้องให้พ่อมารับ พ่อให้โควตาเดือนละครั้ง เราก็กลับเกือบทุกเดือนเลยค่ะ แต่หลัง ๆ มาสงสารพ่อ เพราะต้องไป-กลับ 600 กิโลเมตร หลังจากทำงานเหนื่อย ๆ ก็ต้องขับรถมารับเรากลับบ้านอีก ก็เลยหาทางกลับบ้านเอง โดยนั่งรถโดยสาร 3 ต่อ

          เคยบอกคุณพ่อว่า เดือนนี้ไม่ต้องมารับนะคะ เดี๋ยวจะกลับเอง ปรากฎว่าออกจากที่ทำงาน 7 โมงเช้า ถึงบ้านเกือบ ๆ 6 โมงเย็น คือว่ารถจอดบ่อยมากค่ะ ซื้อพวงมาลัย ซื้อขนมครก จอดเข้าห้องน้ำ เติมน้ำมัน หลังจากนั้นมาคุณพ่อกับคุณแม่ก็ไม่ให้กลับบ้านเองอีกเลย คุณพ่อมารับค่าน้ำมันก็ไม่ต้องจ่ายเอง (ดีจัง) หลังจากเดือนแรกมาไม่ได้ให้เป็นเงินแล้วค่ะ เพราะท่านมีรายได้ประจำอยู่แล้ว ก็กลับไปเลี้ยงข้าวซื้อข้าวของเครื่องใช้เข้าบ้านให้แทน

          ทำงานที่โรงพยาบาลได้เกือบ ๆ ปี เราก็เปลี่ยนงานค่ะ มาทำเอกชนแทน ลักษณะงานก็เปลี่ยนไป ต้องปรับตัวนิดหน่อย ค่าตอบแทนสูงกว่ารัฐ ประมาณ 3 เท่า งานไม่ค่อยหนักเท่าไหร่ แต่เน้นการบริการมากกว่า การแบ่งหน้าที่ การจัดการดีกว่าที่เดิมค่ะ

          ช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนงาน เราต้องวางแผนการจัดงานเงินใหม่ เพราะรายได้เพิ่มขึ้น เราก็ต้องเก็บมากขึ้น ตอนที่ทำงานอยู่โรงพยาบาล เก็บเดือนละ 5,000-7,000 บาท (จากรายได้ หมื่นกว่าบาท) ตอนนี้รายรับประมาณ 4x,xxx บาท  เราเก็บโหดมากค่ะ หักไว้ 3 หมื่นบาท/เดือน ไว้เป็นเงินเก็บ ที่เหลือก็ใช้จ่าย เป็นค่าอาหาร ค่าห้องพัก ค่าน้ำมัน รวม ๆ แล้วก็ใช้ประมาณ หมื่นกว่าบาท

          ตอนนี้เข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ (ในภาคอิสาน) สิ่งยั่วยุ มันก็เยอะ ออกจากห้องเป็นต้องเสียเงิน เราก็เลยจัดการการใช้เงินโดยถอนแค่เดือนละ 1 ครั้ง (เท่าที่จะใช้) ต้องบอกก่อนว่าเราทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นประจำอยู่แล้ว เพื่อให้รู้ว่าเราใช้อะไรไปบ้าง เกินความจำเป็นหรือเปล่า แต่ตอนนี้มันอยู่ตัวแล้ว เราไม่ได้ทำบัญชีแล้วค่ะ เพราะคุมเงินอยู่แล้ว เงินที่ถอนมาเราเน้นแบงก์ 100 กับ แบงก์ 20 ค่ะ



          เนื่องจากเราต้องใช้เงินที่มีอยู่ในจำนวนที่จำกัด จึงต้องคุมเข้มหน่อย อยากสบายในอนาคตก็ต้องอดทน



          นี่คือปฏิทินเงินค่ะ วิธีใช้ง่ายมากค่ะ ถ้าวันนี้วันที่ 1 ก็หยิบซองเลข 1 ไปใช้ ใช้ตามวันเลยค่ะ วันละ 120 บาทที่คำนวณไว้ ใช้กินได้อิ่มหนำสำราญค่ะ ข้าวพิเศษ 3 มื้อยังได้เลย วันนึงก็ใช้ประมาณ 120 บาท  แต่เราซื้อข้าวถุงละ 8 บาท กับข้าว 25 บาท (ได้เยอะมาก) เราก็แบ่งทาน 2 มื้อ ประมาณ 10 โมงเช้า กับบ่าย 3 มื้อเย็นกินนมบ้าง ไม่กินบ้าง ลดหุ่นไปในตัว เราจะได้สวยและรวยมาก พอกลับห้องก็เอาเงินที่เหลือเก็บแยกไว้




นี่คือกล่องเก็บแบงก์ 20



          และนี่กล่องเก็บแบงก์ 100 ค่ะ เหรียญก็ใส่คอนโดเหรียญอีกเช่นเคย ไม่น่าเชื่อว่าเราเหลือเงินกลับห้องทุกวันค่ะ บางวันใช้แค่ 30 บาทเองนะ

          บางคนก็คงคิดว่า เอาออกไปแค่วันละ 120 บาท ถ้ามีเหตุฉุกเฉิน รถยางแตก หรือมีคนมาขายบ้านหลังละร้อย จะทำไงไม่เสียดายแย่เหรอ ดิฉันพกกระเป๋าสตางค์กับบัตร ATM ไว้ตลอดค่ะ เพียงแต่มันเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะใช้เท่านั้นเอง ถ้าไม่มีเหตุจำเป็น ก็ลืมไปซะว่ามีอยู่บนโลกนี้ ฮ่า ๆ




          นอกจากเหรียญแปลก ๆ ลวดลายแปลกตา เราก็ยังเก็บแบงก์หายาก หรือที่ไม่ผลิตแล้วด้วยนะคะ




          และอันนี้เป็นอีกวิธีที่ใช้เก็บเงินนะคะ แต่ไม่ได้ใช้ประจำ แล้วแต่โอกาสค่ะ สังเกตที่ตัวเลขของธนบัตรแต่ละใบนะคะ เราจะเก็บเลขตอง เลขสวย เลขที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง เช่น รหัสนักศึกษา วันเกิดปีเกิด ใบไหนเกี่ยวข้องเก็บหมดค่ะ ไม่ได้เอาไปซื้อหวยหรือลุ้นรางวัลแต่อย่างใดนะคะ เพียงแต่มันเป็นการเก็บอีกวิธีหนึ่ง เลขสวยเอาไปใช้แล้วเสียดาย เก็บไว้ดีกว่า แต่ยังไม่เคยได้เลขที่เป็นตัวเดียวกันทั้งหมดเลยนะคะ




          เงินติดกระเป๋าเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้ใช้ยามฉุกเฉินค่ะ ประหยัดอย่างเดียวไม่พอนะคะ ต้องรอบคอบด้วย ตอนนี้วิถีชีวิตก็เป็นแบบเดิมค่ะ ช่วงนี้กำลังจะหารายได้เสริม เราเคยศึกษาการเล่นหุ้น และการลงทุนอื่น ๆ มาตั้งแต่สมัยมัธยม ตอนนี้เพิ่งจะเริ่มลงมือ แบบค่อยเป็นค่อยไป ยังไงเดี๋ยวค่อยมาเล่าสู่กันฟังนะคะ ถ้าใครมีวิธีเด็ด ๆ ก็อย่าลืมมาแลกเปลี่ยนกันนะคะ แล้วเราจะรวยไปด้วยกัน เย้ ๆ ๆ
   

http://money.kapook.com/view90845.html
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #147 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2014, 11:50:13 am »
เป็นหนี้บัตรเครดิตถูกเชิญไปขึ้นศาล เสียประวัติการทำงานหรือไม่


-http://money.kapook.com/view89782.html-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก decha.com

           เป็นหนี้บัตรเครดิตถูกเชิญไปขึ้นศาล ควรจะทำอย่างไร และจะเสียประวัติการทำงานหรือไม่ อยากรู้มาไขข้อข้องใจกันเลย

           ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมพกพาบัตรเครดิตแทนเงินสด เนื่องจากสามารถใช้จ่ายได้อย่างสะดวกสบายและที่สำคัญยังสามารถสะสมแต้มได้รับของรางวัลมากมาย อ๊ะ ๆ แต่ถ้าหากใช้แบบไม่ยั้งคิดบัตรเครดิตก็อาจหนี้มหาศาลโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ แถมยังต้องขึ้นโรงขึ้นศาลอีกต่างหาก ซึ่งใครที่กำลังประสบปัญหานี้แต่ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร และกังวลว่าจะกระทบกับงานที่ทำหรือไม่ วันนี้เรามีข้อมูลจากเว็บไซต์ decha.com มาไขข้อข้องใจกันค่ะ

           คำถาม : คุณกุ้งขอคำปรึกษาเรื่องบัตรเครดิต ได้รับเอกสารจากบัตรเครดิตให้ไปขึ้นศาล ยอดหนี้ประมาณ 70,000 บาท อยากทราบว่าต้องทำยังไงต่อดีคะ และจะเสียประวัติมีผลกระทบกับงานที่ทำอยู่หรือไม่ จะถูกไล่ออกไหม ถ้ามีการผ่อนชำระหนี้หมดแล้วประวัติเสียจะลบหรือไม่คะ

           คำตอบ :

           1. ต้องดูว่ามีความสามารถในการชำระเงินหรือไม่ ถ้ามีความสามารถในการชำระหนี้ควรไปเจรจาที่ศาล ขอจ่ายงวดเดียวหรือ 2 งวด หรือขอลดยอดหนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อท่าน แต่ถ้าไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ไม่ต้องไปศาลเพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรกับท่าน

           2. การเป็นหนี้ไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว

           3. ประวัติการค้างชำระหนี้มีผลต่อการกู้ยืมเงินในอนาคตแน่นอน และชื่อของท่านอยู่ในเครดิตบูโร เป็นเวลา 3 ปี


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #148 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2014, 12:12:33 pm »
ประกันสังคม มาตรา 39 คืออะไร

-http://money.kapook.com/view90698.html-




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

            มาตรา 39 คืออะไร ประกันสังคมมาตรา 39 มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้างนั้น วันนี้ เรามีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝาก

            มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่ยังอยากส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมหลังผันตัวออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือมีเหตุให้ต้องหลุดออกจากงานเดิม แต่ยังต้องการคงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของประกันสังคมไว้ ว่าแต่ สิทธิ ประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 39 มีอะไรบ้าง ขึ้นทะเบียนประกันสังคม มาตรา 39 ต้องทำอย่างไร มีเอกสารอะไรประกอบ วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก


มาตรา 39 คืออะไร

            มาตรา 39 ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ระบุว่า

            “ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

            จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป

            ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง”

            เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเท่ากับบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน เมื่อได้สิ้นสุดความเป็นลูกจ้างของบริษัทที่เราเป็นลูกจ้าง ก็ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ หากเรายังมีความประสงค์จะรักษาสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนต่อก็สามารถทำได้ ด้วยการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเอง เพราะทางประกันสังคมต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกับ ตามนโยบายพื้นฐานที่ว่าด้วยการเฉลี่ยความสุขและทุกข์

 
ประกันสังคม มาตรา 39 ส่งครบแล้วได้อะไรบ้าง ?

            ผู้ประกันสังคมมาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนครบ จะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

            1. กรณีเจ็บป่วย
            2. กรณีทุพพลภาพ
            3. กรณีคลอดบุตร
            4. กรณีสงเคราะห์บุตร
            5. กรณีชราภาพ
            6. กรณีเสียชีวิต

 
สิทธิประโยชน์ มาตรา 39 มีอะไรบ้าง

            สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตน มาตรา 39 ได้ มี 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย  ทุพพลภาพ  คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต

1. สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ตามมาตรา 39

            1. กรณีเจ็บป่วยทั่วไป อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน แบ่งได้ 2 กรณี

                1.1 เจ็บป่วยปกติ ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

                1.2 เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุสำนักงาน ประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังนี้

โรงพยาบาลรัฐบาล

            ผู้ป่วยนอก

            สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น

            ผู้ป่วยใน

            สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้องและอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

โรงพยาบาลเอกชน

            กรณีผู้ป่วยนอก

            สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท

            สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกินครั้งละ 1,000 บาท ได้หากมีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศ ดังนี้

            การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด การฉีดสารต่อต้านพิษจากเชื้อบาดทะยัก

            การฉีดวัคซีนหรือเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเฉพาะเข็มแรก การตรวจอัลตร้าซาวด์

            กรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันในช่องท้อง การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด การขูดมดลูก

            กรณีตกเลือดหลังคลอดหรือตกเลือดจากการแท้งบุตร ค่าฟื้นคืนชีพและกรณีที่มีการสังเกตอาการในห้องสังเกตอาการตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป

            กรณีผู้ป่วยใน

            ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท

            ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท

            ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาลกรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท

            กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกินครั้งละ  8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด

            การฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์ไม่เกิน 4,000 บาท

            ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือเอกซเรย์ เบิกได้ในวงเงินไม่เกินรายละ 1,000 บาท

            กรณี มีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจคลื่นสมอง การตรวจอัลตร้าซาวด์ การสวนเส้นเลือดหัวใจและเอกซเรย์ การส่องกล้อง การตรวจด้วยการฉีดสี การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด

เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยมาตรา 39

            เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับการหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ในรอบปีปฏิทิน ถ้าผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน ตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้วต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินเรียกว่า "เงินทดแทนการขาดรายได้" ซึ่งผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วันในรอบปีหนึ่ง ๆ ก็จะจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่ กรณีผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จนกว่าสิทธิที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้นได้สิ้นสุด จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังกล่าวเท่ากับระยะเวลาที่คงเหลือ

ปัจจุบันกำหนดโรคเรื้อรังไว้ 6 รายการ ดังนี้

             1. โรคมะเร็ง
             2. โรคไตวายเรื้อรัง
             3. โรคเอดส์
             4. โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง เส้นเลือดสมองหรือกระดูกสันหลังอันเป็นเหตุให้เป็นอัมพาต
             5. ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อน
             6. โรคหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ต้องรักษาตัวนานติดต่อกันเกินกว่า 180 วัน ระหว่างการรักษาทำงานไม่ได้ให้ยื่นเรื่องขอมติคณะกรรมการการแพทย์
 
เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์

            แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 )

            บรับรองแพทย์

            หนังสือรับรองจากนายจ้าง

            สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

            สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ
   
            หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา

            สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) มี  9 ธนาคาร  ดังนี้

                ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB
                ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
                ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
                ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
                ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
                ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
                ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
                ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK
                ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

 
2. สิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ ตามมาตรา 39

            ทุพพลภาพ คือ การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจจนไม่สามารถทำงานได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด

            และผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้เป็นผู้ทุพพลภาพ และเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจนถึงขั้นทุพพลภาพเท่านั้น จึงจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์นี้ได้


สิทธิที่ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพจะได้รับ มีดังนี้

ค่ารักษาพยาบาล
 
            กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ สำหรับผู้ทุพพลภาพสามารถเข้าทำการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่เลือก หรือสถานพยาบาลของรัฐ ทั้งในกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทางสถานพยาบาลจะเป็นผู้มายื่นเรื่องเบิกกับทางสำนักงานประกันสังคม

            กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยนอกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท ผู้ป่วยใน จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท

            ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ ให้เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท

            ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพและเข้ารับการฟื้นฟูในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานของสำนักงานประกันสังคมจะมีค่าฟื้นฟูอีก 40,000 บาท

เงินทดแทนการขาดรายได้

            ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ค่าอวัยวะเทียม / อุปกรณ์ / อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค เช่น ค่าจ้างเฉลี่ย/เดือน 10,000 บาท ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย/เดือน 5,000 บาท

ค่าทำศพ

            กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตาย ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท

            เงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตายผู้มีสิทธิได้รับดังนี้

            ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยหนึ่งเดือนครึ่ง

            ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยห้าเดือน


หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณียื่นคำขอฯ เพื่ออนุมัติให้เป็นทุพพลภาพ)

            แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)

            ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพ

            สำเนาเวชระเบียน

            สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

            สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 9 ธนาคาร มีดังนี้

                ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB
                ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
                ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
                ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
                ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
                ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
                ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
                ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK
                ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)


หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับค่าอวัยวะเทียม/อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคกรณีทุพพลภาพ

            แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2 - 01)

            ใบเสร็จรับเงิน

            ใบรับรองแพทย์ (ให้แพทย์ระบุประเภทอวัยวะเทียม/อุปกรณ์ฯที่ใช้)

            สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

            หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม

 
หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ (กรณีผู้ทุพพลภาพเป็นผู้ยื่นเรือง)

            แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2- 01 หรือแบบคำขอรับบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพกองทุนประกันสังคม สปส. 2-01/3

            ใบรับรองแพทย์

            ใบเสร็จรับเงิน

            สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

            หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม


หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ (กรณีสถานพยาบาลเป็นผู้ยื่นเรื่อง)

            แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพกองทุนประกันสังคม(สำหรับสถานพยาบาล) สปส. 2-19

            ใบรับรองแพทย์

            ใบสรุป/ใบแสดงรายการค่ารักษาพยาบาล

            หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอรับเพิ่มเติม

 
สถานที่ยื่นเรื่อง

            สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สั่งจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ผู้ทุพพลภาพ


ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

            ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมเขต พื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมหลักฐาน

            เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐาน นัดตรวจร่างกายผู้ประกันตนเพื่อประเมินการสูญเสียโดยแพทย์ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม และเสนอคณะกรรมการการแพทย์เพื่อพิจารณาอนุมัติ

            สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ประกันตนที่ยื่นคำขอฯ

            พิจารณาสั่งจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต

            เงินสด / เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)

            ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ

            โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน 9 ธนาคาร มีดังนี้
                                   
                ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB
                ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
                ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
                ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
                ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
                ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
                ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
                ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK
                ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)


3. เงินค่าคลอดบุตร มาตรา 39

            กรณีคลอดบุตรผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 จะต้องนำส่งเงินสมทบครบ 7 เดือนภายใน 15 เดือน โดยคุณสามารถฝากครรภ์และคลอดบุตรที่โรงพยาบาลใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงพยาบาลตามบัตรฯ เมื่อคลอดบุตรแล้วให้นำเอกสารมาเบิกเงินหมาจ่ายค่าคลอด 13,000 บาท

            สำหรับผู้ประกันตนหญิงจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยต้องเตรียมเอกสารการเบิก สปส.2-01 พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน สูติบัตรตัวจริงและสำเนา แล้วนำมาเบิกได้ที่ สปส. พื้นที่ที่สะดวก ยกเว้นสำนักงานใหญ่


สิทธิประโยชน์การคลอดบุตรของมาตรา 39

            มาตรา 39 ได้ ค่าคลอดบุตรเท่าไร

            ผู้ประกันตน ตามาตรา 39 จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง และใช้สิทธิได้คนละไม่เกิน 2 ครั้ง

            เงินทดแทนกรณีคลอดบุตรมาตรา 39

            ผู้ประกันตน มาตรา 39 ที่ยื่นเบิกค่าคลอดบุตรแล้ว ก็สามารถยื่นขอเงินสงเคราะห์กรณีหยุดงาน เพื่อชดเชยการขาดรายได้ไปพร้อมกันด้วย โดยจะได้รับเงินจำนวน 1.5 เดือน (จะเบิกได้เฉพาะผู้ประกันตนที่ใช้สิทธิของแม่เท่านั้น) คำนวณจากเงินเดือน 3 เดือนสุดท้ายเฉลี่ยออกมาเป็นรายวัน โดยฐานเงินเดือนสูงสุดที่จะคำนวณคือ 15,000 บาท


หลักฐานที่ต้องใช้ในการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร มีดังนี้

            แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) (สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งควรเตรียมไปก่อนเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา)

            ต้นฉบับและสำเนาสูติบัตรของบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัติของคู่แฝดด้วย)

            สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีภรรยาของผู้ประกันตนคลอด) หากไม่มีทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

            บัตรประชาชนและสำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน

            เบิกค่าคลอดประกันสังคมมาตรา 39

            ในการขอเบิกเงินค่าคลอดบุตรนั้น ผู้ประกันตนจะต้องมายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น ซึ่งหากผู้ประกันตนไม่มารับภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน


4. สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร ตามมาตรา 39

            หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

            หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีสงเคราะห์บุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554)

            ซึ่งกรณีนี้ผู้มีสิทธิขอรับประโยชน์มีเพียงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นและบุตรมีอายุ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์

            เงื่อนไขที่ได้รับกรณีสงเคราะห์บุตร

            เงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 2 คน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้ เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)

            ผู้ประกันตนมี สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

            จดทะเบียนสมรสกับมารดาของบุตร

            จดทะเบียนรับรองบุตร

            ยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตร

            การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร

            เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ขวบปีบริบูรณ์

            บุตรเสียชีวิต

            ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น

            ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง


หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

            แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01)

            สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส

            สำเนาทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่าของผู้ประกันตน (กรณีจดทะเบียนหย่า) หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งเกิดจากคำสั่งศาลพิพากษาให้เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย

            สำเนาสูติบัตร พร้อมสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี

                ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
                ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
                ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
                ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
                ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
                ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
                ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
                ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
                ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

            ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

            ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด / สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 2 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอ ฯ ชุดเดียวกันได้)

            เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ

            สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

            พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน


5. สิทธิกรณีชราภาพ มาตรา 39

            ผู้ประกันตน มาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบครบถ้วน จะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จประกันสังคม และเงินบำนาญประกันสังคม

            บํานาญประกันสังคม มาตรา 39

            กรณีที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

            และในกรณีที่จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นทุก 12 เดือน

ตัวอย่าง : คุณ A เคยทำงานเป็นลูกจ้างได้รับเงินเดือน 20,000 บาท โดยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 180 เดือน ต่อมาลาออกจากงาน และสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 60 เดือน เนื่องจากคุณ A จ่ายเงินสมทบรวม 240 เดือน เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน คุณ A จะได้รับเงินบำนาญรายเดือน เดือนละ 1,320 บาท คำนวณได้ดังนี้

            ส่วนที่ 1 : 180 เดือนแรก เท่ากับ 4,800 บาท x 20% = 960 บาท

            ส่วนที่ 2 : 60 เดือนหลัง เท่ากับ 4,800 บาท x 1.5% x 5 ปี = 360 บาท

            รวมได้รับเงินบำนาญตลอดชีพ 960 + 360 = 1,320 บาทต่อเดือน

หมายเหตุ : ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 4,800 บาทต่อเดือน
 
            บําเหน็จประกันสังคม มาตรา 39

            ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพในกรณีที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน โดยจำนวนเงินที่ได้รับในฐานะที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39  คือ เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

ตัวอย่าง : คุณ A เคยทำงานเป็นลูกจ้างได้รับเงินเดือน 20,000 บาท โดยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 120 เดือน คิดเป็นเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 900 บาทต่อเดือน (คุณ A จ่าย 450 บาทต่อเดือน และนายจ้างจ่าย 450 บาทต่อเดือน) ต่อมาคุณ A ลาออกจากงาน และสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 30 เดือน คิดเป็นเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 4,800 x 6% = 288 บาทต่อเดือน เนื่องจากคุณ A จ่ายเงินสมทบรวม 150 เดือน (น้อยกว่า 180 เดือน) เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน คุณ A จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ คำนวณได้ดังนี้

            ส่วนที่ 1 : 120 เดือนแรก เท่ากับ 900 บาท x 120 เดือน = 108,000 บาท และผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินสมทบ 120 เดือน

            ส่วนที่ 2 : 30 เดือนหลัง เท่ากับ 288 บาท x 30 เดือน = 8,640 บาท และผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินสมทบ 30 เดือน

            สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน เมื่อลาออกจากงาน จะไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ แต่เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จะยังมีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ เมื่อยังเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ไม่ได้รับในส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบ)

            คำนวณมาตรา 39 เมื่ออายุครบ 55 ปี

            ผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุน จนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถคำนวณเงินออมกรณีชราภาพ ได้ดังนี้

            1. กรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน หรือ 1 ปี

            จะได้รับเงิน "บำเหน็จชราภาพ" ซึ่งเป็นเงินก้อนจำนวนเท่ากับเงินสมทบส่วนที่ส่งสมทบจริงกลับคืนไป

ยกตัวอย่าง : กรณีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ซึ่งสมทบเดือนละ 450 บาท หากสมทบ 10 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 450 คูณ 10  เท่ากับ 4,500 บาท

            2. กรณีส่งเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 15 ปี

            จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวนเท่ากับเงินสมทบ ส่วนที่ลูกจ้างส่งและนายจ่ายสมทบกลับคืนไปบวกดอกผลจากการลงทุนในช่วงเวลาที่ลูกจ้างส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตามที่ สปส. กำหนด

ยกตัวอย่าง : กรณีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนกรณีชราภาพ 10 ปี จะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 450 คูณ 2 คูณ 12 เดือน คูณ 10 ปี  คิดเป็นเงินประมาณ 108,000 บาท อาจจะได้มากกว่านี้หากรวมดอกผลจากการลงทุนของ สปส.

            3. กรณีส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

            จะได้รับเงิน "บำนาญชราภาพ" จ่ายเป็นรายเดือนและได้รับไปตลอดชีวิตโดยเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับคำนวณตามสูตรเท่ากับร้อยละ 20 ของเงินเฉลี่ย 60 เดือน หรือ 5 ปีสุดท้ายและทุก ๆ 12 เดือนที่สมทบเพิ่ม (คือนับตั้งแต่ปีที่ 16 เป็นต้นไป) จะได้รับโบนัสในส่วนเพิ่มเท่ากับร้อยละ 1.5 ของเงินเดือนเฉลี่ย

ยกตัวอย่าง : กรณีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไปและส่งเงินสมทบเข้ากองทุนกรณีชราภาพ 15  ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพจำนวน 15,000 คูณร้อยละ 20 เท่ากับ 3,000 บาทต่อเดือน หรือหากส่งเงินสมทบ 30 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพจำนวน 15,000 คูณร้อยละ 20  บวก 15,000 คูณ 15 ปีที่ส่งเงินสมทบเพิ่มคูณร้อยละ 1.5 เท่ากับ  3,000 บวก 3,375 เท่ากับ 6,375 บาทต่อเดือน   

 
6. สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต ตามมาตรา 39

            ผู้ประกันตนที่ถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน จะได้รับสิทธิประโยชน์ ตามมาตรา 39 เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน

            สำหรับหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต ตามมาตรา 39 มีรายละเอียด ดังนี้

            หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

            กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน

            ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย

            ผู้มีสิทธิได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ

            ผู้ประกันตนสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพคืนได้ภายใน 1 ปี (ดูรายละเอียดในกรณีชราภาพ)

            ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้

            ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป (36 เดือนขึ้นไป) จ่ายให้กับทายาทหรือผู้มี สิทธิ แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยหนึ่งเดือนครึ่ง ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยห้าเดือน

            ใครคือผู้จัดการศพ

            บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน กรณีไม่ได้ทำหนังสือระบุให้ใครเป็นผู้รับ จ่ายให้ผู้มีสิทธิตามกฎหมาย คือ

            คู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

            บุคคลอื่นที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

 
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย

            กรณีขอรับค่าทำศพ

            1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)

            2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง

            3. หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ

            4. สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง

            5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 9 ธนาคาร ได้แก่

                ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  KTB
                ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)  BAY
                ธนาคารกรุงเทพ  จำกัด (มหาชน)  BBL
                ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  SCB
                ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  KBANK
                ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)   TMB
                ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)  TBANK
                ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  IBANK
                ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (จำกัด)  CIMB  เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)

            กรณีขอรับเงินสงเคราะห์

            แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)

            สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมตัวจริงและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์

            สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)

            สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร

 
            การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน

            หนังสือมอบอำนาจ

            บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

            หนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานประกันสังคม

            การยื่นคำร้องขอรับค่าทำศพ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคม ทุกเขตพื้นที่และทุกทุก จังหวัดที่สะดวกในการยื่นคำร้อง


ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน :

            ผู้จัดการศพผู้มีสิทธิต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์ โดยมีหลักฐานครบถ้วน

            จ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ

            สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

            พิจารณาสั่งจ่าย

            เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้มีสิทธิ โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 9 ธนาคาร ได้แก่

            ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
            ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
            ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
            ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
            ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
            ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
            ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
            ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)


คุณสมบัติของผู้สมัครผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39

            1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน

            2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม


ขึ้นทะเบียนประกันสังคม มาตรา 39

            การยื่นใบสมัครผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ

            ผู้ประกันตนที่ประสงค์จะส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมด้วยตนเองโดยสมัครใจ โดยมีรายละเอียดการยื่นใบสมัคร ผู้ประกันตนมาตรา39 ดังนี้

            1. ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน

            2. สถานที่ยื่นใบสมัคร

                กรุงเทพฯ : ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง

                ภูมิภาค : ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา


หลักฐานการสมัครมาตรา 39

            1. แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)

            2. บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

 
เงินสมทบที่ต้องจ่ายให้ประกันสังคมตามมาตรา 39

            สำหรับเงินสมทบที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคม คือ เดือนละ 432 บาทต่อเดือน

 
วิธีการจ่ายเงินสมทบมาตรา 39

            ผู้ประกันตน สามารถจ่ายเงินสมทบมาตรา 39 ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11) หรือใช้วิธีหักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และการจ่ายด้วยเงินสดที่ธนาคาร ดังนี้

            1. หักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มี 5 ธนาคาร

                ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)   BAY
                ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)   KTB
                ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)   TBANK
                ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)   KBAK
                ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)   SCB
                ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)   TMB

หมายเหตุ : กรณีหักผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ขอรับหนังสือยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาที่เปิดบัญชี หรือ สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่) เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2557

            2. จ่ายด้วยเงินสดที่

                ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  BAY

                ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  KTB

                จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7- ELEVEN ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท สามารถจ่ายเงินสมทบได้ทุกสาขา

                จ่ายเป็นธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ พร้อมแบบส่งเงินสมทบ สปส. 1-11 ถึงสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา (กรณีจ่ายผ่านธนาณัติ แนะนำให้สอบถามเจ้าหน้าที่ด้วยว่า สั่งจ่าย ตู้ ป.ณ. ใด)

                จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ จะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท (มีผลบังคับใช้วันที่ 2 ธันวาคม 2556 เป็นต้นไป)

 
หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39

            1. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีหน้าที่ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน

            2. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีหน้าที่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงให้สำนักงานประกันสังคม ดังนี้

                กรณีเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ (สปส. 1-34)

                กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ต้องแจ้งทันทีพร้อมแนบสำเนาหลักฐาน

                กรณีประสงค์ลาออกหรือกลับเข้าทำงานและมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีตามแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 (สปส.1-21)


เช็กรายชื่อประกันสังคมมาตรา 39

            สำหรับผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 ที่อยากเช็กรายชื่อประกันสังคมมาตรา39 นั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หลังจากนั้น ก็ใส่หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลักของผู้ที่ต้องการค้นหาลงไป

 
หนังสือมอบอำนาจเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามมาตรา 39
 
            ในกรณีที่ผู้ประกันตน มาตรา  39 ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปรับเงินจากกองทุนเงินทดแทน ก็สามารถก็ทำหนังสือมอบอำนาจเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามมาตรา39 หรือทำเป็นหนังสือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมารับแทนเงินแทนตนได้

            โดยเอกสารที่ผู้ที่ได้มอบอำนาจให้เป็นผู้รับผลประโยชน์ ตามมาตรา 39 ประกอบด้วย

            ทำหนังสือมอบอำนาจหรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมารับแทน

            บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้มอบและผู้รับมอบ

            หนังสือมอบฉันทะหรือหนังสือมอบอำนาจ  (ไม่ต้องติดอากรแสตมป์)


ยกเลิกมาตรา 39

            ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน เมื่อใด

            1. ตาย

            2. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

            3. ลาออก

            4. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)

            5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)

 
ขาดส่งประกันสังคม มาตรา 39

            ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน จะถือว่า ได้สิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนแรกที่ขาดส่ง หรือกรณีที่ผู้ประกันตนให้หักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคารฯ แต่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอ ทำให้สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตนได้เช่นเดียวกัน


จะต้องแจ้งออกมาตรา 39

            กรณีผู้ประกันตน ที่ต้องการแจ้งออกมาตรา 39 สามารถไปแจ้งยกเลิกที่สำนักงานประกันสังคมที่สมัครไว้ได้ทันที หรือจะรอให้ทางนายจ้างยื่นแจ้งเข้าทำงานต่อประกันสังคมก็ได้ เพราะเมื่อนายจ้างไปแจ้งข้อมูลดังกล่าว ก็จะถือเป็นการยกเลิกมาตรา 39 ไปโดยปริยาย

 
แบบฟอร์มที่ผู้ประกันตนมาตรา 39 ควรรู้

            แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) คลิกที่นี่ -http://blog.homdee.com/wp-content/uploads/2013/08/39.pdf-

            แบบส่งเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส. 1-11) คลิกที่นี่-http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/money39.pdf-
-http://www.komchadluek.net/detail/20130314/153855/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html-

-http://k-expert.askkbank.com/Article/Pages/A2_095.aspx-

-http://www.sso.go.th/wpr/home.jsp-

-http://www.mol.go.th/employee/compensation_%20fund-

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #149 เมื่อ: มิถุนายน 24, 2014, 09:34:26 pm »
มาแนะนำเว็บไซด์ดีๆ  ที่สามารถเข้าไปเรียนรู้เรื่อง "การสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง"

ให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม

http://www.thaimutualfund.com/AIMC/index.jsp
-http://www.thaimutualfund.com/AIMC/index.jsp-



เว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

http://www.tsi-thailand.org/index.php
-http://www.tsi-thailand.org/index.php-





คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)