ผู้เขียน หัวข้อ: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ  (อ่าน 48074 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #160 เมื่อ: มกราคม 23, 2016, 06:39:30 pm »
ไวรัสซิกา โรคอันตรายไร้วัคซีนป้องกัน ภัยอีกขั้นจากยุงลาย
-http://health.kapook.com/view139846.html-

ไวรัสซิกา อีกหนึ่งโรคอันตรายที่มียุงลายเป็นพาหะ ที่น่ากลัวคือยังไร้วัคซีนป้องกัน เป็นแล้วอาจร้ายแรงถึงขั้นสมองผิดปกติ

ถ้าว่ากันถึงภัยจากยุงลายที่เรารู้จักกันดีอย่างไข้เลือดออกแล้ว ยังมีอีกความอันตรายหนึ่งที่น่ากลัวไม่แพ้กันนั้นก็คือ ไวรัสซิกา ซึ่งเป็นไวรัสที่อาจส่งผลต่อการทำงานของสมองได้ โดยช่วงปี 2558 มีการระบาดใน 14 ประเทศในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่การระบาดรุนแรงจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะที่เมื่อต้นปี 2559 เจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานนานาชาติเถาหยวน ของไต้หวัน ก็ตรวจพบชายไทยติดเชื้อนี้ ขณะกำลังเดินทางเข้าประเทศ จึงได้เวลาแล้วที่เราควรจะทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อไวรัสซิกากันแบบจริงจัง แม้จะยังไม่ใช้่เรื่องใกล้ตัว แต่ก็ไม่ควรละเลยด้วยประการทั้งปวงค่ะ

ไวรัสซิกา คืออะไร ?

ไวรัสซิกา หรือไข้ซิกา เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีซึ่งทั้งหมดล้วนมียุงลายเป็นพาหะ เชื้อไวรัสซิกาถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงวอก ที่ถูกนำมาป่าซิกาในประเทศยูกันดา เพื่อศึกษาไข้เหลือง เมื่อปี พ.ศ. 2490 และพบในคนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในประเทศในจีเรีย เชื่อไวรัสซิกาพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

สถานการณ์ของไวรัสซิกาในประเทศไทยและต่างประเทศ

จากการรายงานของขององค์การอนามัยโลกพบว่าเชื้อไวรัสซิกาได้ระบาดในแถบทวีปอเมริกาใต้อย่างหนักมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 โดยเฉพาะในประเทศบราซิลและโคลอมเบีย ซึ่งประเทศบราซิลถือเป็นประเทศที่มีการระบาดหนักที่สุดจนถึงขั้นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังพบเด็กทารกแรกเกิดติดเชื้อและมีความผิดปกติทางสมองเกือบ 4 พันราย ส่วนในประเทศโคลอมเบียมีการคาดการณ์ว่าการระบาดของไวรัสซิกาอาจทำให้มีผู้ป่วยถึง 600,000-700,000 คน ทางกระทรวงสาธารณสุขโคลอมเบียจึงออกประกาศแนะนำให้สตรีเลื่อนการตั้งครรภ์ออกไป 6-8 เดือนเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว

ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา ก็วิตกกังวลกับสถานการณ์การระบาดดังกล่าว จึงออกประกาศเตือนให้หญิงที่ตั้งครรภ์และบุคคลทั่วไปเลี่ยงการเดินทางไปยัง 14 ประเทศที่มีการระบาดของโรค ได้แก่ บราซิล โคลอมเบีย เอลซัลวาดอร์ เฟรนช์เกียนา กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส มาร์ตีนิก เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย ซูรินาม เวเนซุเอลา และเปอร์โตริโก เพื่อความปลอดภัยค่ะ

ไม่เพียงเท่านั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 กองควบคุมโรคของไต้หวัน ได้ออกมาประกาศว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา 1 ราย เป็นชายไทยที่เดินทางเข้าไปทำงานในไต้หวันผ่านทางสนามบินนานาชาติเถาหยวนเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2559 โดยได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสซิกาหลังจากเจ้าหน้าที่สนามบินพบว่าชายดังกล่าวมีไข้สูงผิดปกติจึงนำตัวไปตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด ส่วนผู้ร่วมเดินทางมาด้วยกันอีก 2 คน เมื่อตรวจแล้วก็ไม่พบเชื้อดังกล่าวแต่อย่างใด

สำหรับในประเทศไทย หลังจากพบการติดเชื้อของนักท่องเที่ยวหญิงจากประเทศแคนาดาเมื่อปี พ.ศ. 2556 ก็ยังไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่แต่อย่างใด แต่ยังคงมีการเฝ้าระวังการติดเชื้อจากกรมควบคุมโรคอยู่อย่างใกล้ชิด

ไวรัสซิกา โรคอันตรายไร้วัคซีนป้องกัน

ไวรัสซิกา ติดต่อได้อย่างไร

ไวรัสซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด และทั้งนี้ก็ยังไม่พบว่าสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้

ไวรัสซิกา อาการเป็นอย่างไร

องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ติดเชื้อราว 1 ใน 4 ที่จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังได้รับเชื้อ ซึ่งจะปรากฏอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว และปวดหัว อาการเหล่านี้ทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

แต่ถ้าหากปล่อยไว้ อาการอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ระบบการทำงานของสมองผิดปกติได้ ทั้งนี้หากเป็นผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ ซึ่งจะทำให้ทารกมีความผิดปกติที่ศีรษะ โดยจะมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ


ไวรัสซิกา รักษาอย่างไร

แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่โรคไวรัสซิกา ก็ยังเป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด ทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไวรัสอื่น ๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนมาก ๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานยาตามแพทย์สั่ง นอกจากนี้ก็ยังควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ อีกด้วย

ไวรัสซิกา ป้องกันได้อย่างไร

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดของโรคไวรัสซิกา หรือไข้ซิกาก็คืออย่าพยายามให้ยุงกัด อีกทั้งยังควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันโรคที่อาจมากับยุงลายนอกเหนือไวรัสซิกาได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง โรคไข้เวสต์ไนล์ และโรคชิคุนกุนยา นอกจากนี้ถ้าอยากทราบวิธีป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยวิธีธรรมชาติละก็ลองตามไปอ่านที่นี่ได้เลย 12 วิธีป้องกันยุงกัดส่งตรงจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี

ได้รู้จักกันมาขึ้นแล้วกับโรคไวรัสซิกา คราวนี้ก็อยู่ที่ตัวของเราเองนี่ล่ะค่ะที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดี ยิ่งถ้าหากใครที่ต้องเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดก็ควรใส่ใจสุขภาพให้มาก ไม่อยากเจ็บป่วยทีหลังก็อย่าชะล่าใจนะคะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Taiwan Centers for Disease Control
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
-krobkruakao.com-
World Health Organization
-paho.org-



ภาพจาก paho.org

ไวรัสซิกา โรคอันตรายไร้วัคซีนป้องกัน ภัยอีกขั้นจากยุงลาย
-http://health.kapook.com/view139846.html-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #161 เมื่อ: มกราคม 31, 2016, 08:37:24 pm »
5 สัญญาณอันตราย ไขมันอุดตันเส้นเลือด
-http://health.sanook.com/2557/-



ใครๆ ก็รู้ถึงอันตรายของโรคนี้ดี โดยเฉพาะคนอ้วนจะมีความเสี่ยงสูง แต่เมื่อไรเราถึงจะเริ่มรู้ตัวว่าเราอาจกำลังเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด Sanook! Health มิวิธีสังเกตตัวเองง่ายๆ มากฝากกันค่ะ

 

5 สัญญาณอันตราย ไขมันอุดตันเส้นเลือด

1. เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ไม่ว่าจะเดินขึ้นบันได เดินขึ้นเนิน หรือออกกำลังกายเบาๆ ก็เหนือย

2. เวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม

3. ปวดศีรษะมาก เมื่อลุกขึ้นจากที่นอน หรือลุกนั่งเร็วๆ

4. ใจสั่น ใจเต้นเร็ว ปลายมือปลายเท้าเย็น

5. แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ

 

ลักษณะอาการโดยทั่วไปจะคล้ายๆ กับโรคหัวใจ ที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตีบ เพราะมีเลือดไหลเวียนในหัวใจไม่เพียงพอ เลือดจึงไม่สามารถสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ และทำให้เรามีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายนั่นเอง

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด

1. น้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน

2. ทานอาหารที่มีไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกายเป็นจำนวนมากเกินไป และไม่ทานผัก

3. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

4. อายุมาก และเพศชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง

5. ประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดตีบ แตก หรือเบาหวาน ความดันไขมัน

6. สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์

7. มีภาวะเครียดจากการทำงาน และเรื่องอื่นๆ ไม่ค่อยขยับร่างกายในแต่ละวัน

 

ปัจจัยไหนที่เราหลีกเลี่ยงได้ ขอให้ทำเป็นประจำนะคะ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ควรลดไขมัน ทานผักให้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน ลดการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เท่านี้คุณก็ห่างไกลโรคไขมันอุดตันเส้นเลือดแล้วล่ะค่ะ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #162 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2016, 09:52:50 am »
สธ.แถลง "ไวรัสซิกา" ระบาดในไทย จับตาอาการ "ไข้-มีผื่น-ตาแดง-เมื่อย" เข้าข่าย!
-http://health.sanook.com/2581/-



กรมควบคุมโรคแถลงร่วม รพ.ภูมิพลฯ หลังข่าวคนหวั่นไวรัสซิการะบาดในไทย เหตุพบผู้ป่วยเพิ่มอีกราย ย้ำไม่ใช่โรคใหม่พบตั้งแต่ปี 2555 วอนอย่าแตกตื่น พร้อมออกประกาศเพิ่มเติม 2 ฉบับ จัด 4 กลุ่มเสี่ยงระวังพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญย้ำสังเกตอาการ “ไข้ – มีผื่น-ตาแดง-ปวดเมื่อย” อาจเข้าข่าย

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากข่าวพบคนไทยเดินทางไปไต้หวันติดเชื้อไวรัสซิกา และขณะนี้กำลังรักษาตัวอยู่ที่ไต้หวันนั้น ล่าสุดเกิดกระแสข่าวตื่นตระหนกว่า พบคนไทยติดเชื้อไวรัสดังกล่าวอีกเป็นรายที่ 2 ของประเทศไทย โดยรักษาตัวอยู่ที่รพ.ภูมิพลอดุลยเดช โดยที่กังวลคือ จะเกิดการระบาดในประเทศไทยหรือไม่ ขณะเดียวกันองค์การอนามัยโลกยังประกาศให้โรคนี้เข้าข่ายสถานการณ์ฉุกเฉิน

ล่าสุดเมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่กรมควบคุมโรค(คร.) ได้จัดแถลงข่าวด่วนภายหลังทราบข่าวประชาชนแตกตื่นเรื่องดังกล่าว โดยมี นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาและที่ปรึกษากรมควบคุมโรค และ พล.อ.ต.สันติ ศรีเสริมโภค เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เข้าร่วมแถลงข่าวครั้งนี้

พล.อ.ต.สันติ ศรีเสริมโภค เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า กรณีนี้ ไม่ใช่ผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทย แต่เป็นผู้ป่วยรายแรกของโรงพยาบาลภูมิพล เป็นชายไทยอายุประมาณ 20 กว่าปี เข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมาด้วยอาการไข้ มีผื่น ตาแดง เมื่อยตามเนื้อตัว จากการตรวจสอบยืนยันว่า เป็นไข้ซิกา ซึ่งให้การรักษาจนผู้ป่วยอาการดีขึ้น และออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 26 มกราคม อย่างไรก็ตาม ไม่ถือว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นพาหะ เพราะการแพร่โรคจะเป็นไข้ แต่รายนี้ไม่มี ที่สำคัญรายนี้ไม่มีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด อย่างไรก็ตาม ที่กังวลคือ ปัญหาทารกในครรภ์มารดาที่ติดเชื้อ โดยที่ต้องระวังคือช่วงตั้งครรภ์แรกๆ ประมาณ 12 สัปดาห์ จึงทำให้เกิดข้อกังวล แต่จริงๆ หญิงตั้งครรภ์ต้องดูแลสุขภาพตัวเองอยู่แล้ว

นพ.อำนวย กล่าวว่า ประเทศไทยพบร่องรอยโรคนี้ตั้งแต่ปี 2506 แต่พบผู้ป่วยรายแรกในปี 2555 ซึ่งตั้งแต่ปี 2555-2558 เฉลี่ย 2-5 ราย และทุกครั้งที่พบผู้ป่วยแต่ละรายก็จะหายได้เอง ไม่มีการแพร่ระบาดวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวลว่าโรคนี้จะมาในลักษณะข้ามประเทศ หรือ Case Import เพราะในประเทศก็พบเจอได้ เพียงแต่ควบคุมได้ โดย คร.มีมาตรการต่างๆ ทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การกำจัดยุงลาย ซึ่งใน 1-2 สัปดาห์จะมีกิจกรรมรณรงค์ครั้งใหญ่ร่วมกับทุกหน่วยงานเกี่ยวกับการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะโรค 3 โรค ได้แก่ ไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา (โรคไข้ปวดข้อยุงลาย) และซิกา นอกจากนี้ ก็มีคำแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีข้อกังวลเรื่องหญิงตั้งครรภ์ที่หากรับเชื้อจะส่งผลต่อทารกให้ศีรษะลีบแบน นพ.อำนวย กล่าวว่า จริงๆ หญิงตั้งครรภ์จะต้องดูแลตัวเองในทุกด้านมากกว่าคนทั่วไป แต่ในเรื่องนี้ก็มีมาตรการเฝ้าระวัง โดยจัดกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่ม มี 1.หญิงตั้งครรภ์ 2.ผู้ป่วยไข้ออกผื่น ที่มาสถานพยาบาลไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดต้องคัดกรองเป็นพิเศษ เพราะอาจเข้าข่ายอาการของซิกา 3. ทารกศีรษะเล็ก และ4. ผู้ป่วยปลายประสาทอักเสบ โดยกลุ่มอาการเหล่านี้จะบ่งบอกว่าเข้าข่ายโรคซิกาได้ และในกรณีหญิงตั้งครรภ์หากมีอาการไข้ ผื่นขึ้น ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อทำการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ

ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อกังวลว่า ยุงลายในประเทศไทยถือว่าเป็นพาหะนำโรคมากน้อยแค่ไหน นพ.อำนวยกล่าวว่า ได้มีการประสานภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในการติดตามเรื่องยุงว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ นอกจากนี้ คร.ยังได้ออกประกาศเพิ่มเติมอีก 2 ฉบับ จากฉบับแรกที่เกี่ยวกับประกาศเรื่องโรคไข้ซิกา ในเรื่องอาการ การดูแล เฝ้าระวังต่างๆ โดยประกาศใหม่ คือ 1. ประกาศสธ.เรื่องเพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญ โดยระบุว่าอาการสำคัญ ได้แก่ มีอาการไข้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ตาแดง บางรายอาจมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย โดยทั่วไปจะมีอาการป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ และ 2.ประกาศสธ.เรื่องเพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความ ระบุว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นโรคที่ต้องแจ้งความ อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจได้กำชับสถานพยาบาลในสังกัดให้คัดกรองกลุ่มเสี่ยงทั้ง 4 กลุ่มอย่างถี่ถ้วน ขณะเดียวกันได้มีการประชุมทางไกลผ่านระบบคอนเฟอเรนซ์กับนักระบาดวิทยาภาคสนามในระดับอาเซียนบวกสามด้วย

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า ผู้ป่วยไวรัสซิกา อาการไม่ได้รุนแรงมาก เพราะปกติจะหายเองได้ภายใน 7 วัน ส่วนที่เกิดการระบาดจนองค์การอนามัยโลกออกมาประกาศว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน เพราะเด็กที่คลอดออกมามีความพิการทางสมอง จึงต้องออกประกาศดังกล่าว โดยกำชับให้มีการดูแลหญิงตั้งครรภ์เป็นพิเศษ

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ได้มีการประสานไปยังราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ให้เฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีศีรษะเล็กว่า สัมพันธ์กับเชื้อซิกาหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้ และยังประสานไปยังราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบว่า มาด้วยสาเหตุอะไรด้วย เพื่อให้ข้อมูลรอบด้าน ทั้งนี้ อาการของโรคนี้คล้ายไข้เลือดออก กับชิคุนกุนยา มีไข้ ผื่น ปวดข้อ แต่ที่ต้องระวังในหญิงตั้งครรภ์ เพราะมีรายงานในบราซิล เนื่องจากพบว่าทารกแรกเกิดมีศีรษะเล็กประมาณ 3,000 คน ซึ่งพบสูงขึ้นมากจากปกติอัตรา 0.5 คนต่อประชากรทารกหมื่นคน พุ่งสูงขึ้นเป็นอัตรา 20 คนต่อประชากรทารกหมื่นคน เมื่อศึกษาจึงพบว่าเกี่ยวพันกับเชื้อซิกา จึงมีการเฝ้าระวังกันมาก

ผู้สื่อข่าวถามว่า หญิงตั้งครรภ์หากไปเจาะเลือดตรวจจะทราบว่าเด็กมีภาวะป่วยด้วยหรือไม่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ไม่สามารถตรวจหาเชื้อในทารกได้ เนื่องจากแอนติบอดีจะเหมือนกับไข้เด็งกี่ และไข้สมองอักเสบ จะต้องเจาะน้ำคร่ำจึงจะตรวจได้

อ่านเรื่องเกี่ยวกับไวรัสซิกาเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ภาพประกอบจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, istockphoto

เนื้อหาโดย : นสพ.มติชน

-----------------------------------


พบในไทย! ไวรัส Zika ติดต่อทางยุง อาการคล้ายไข้เลือดออก
-http://health.sanook.com/2353/-

เฟซบุ๊คเพจ “ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว” โพสอธิบายถึงเชื้อไวรัส Zika ที่พบการติดเชื้อในประเทศเปอร์โตริโก้ว่า สามารถติดต่อได้ผ่านยุงลาย คล้ายไข้เลือดออก และไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิกุนกุนยา) ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการ เช่น มีไข้ มีผื่นขึ้นตามตัว ตาแดง ปวดข้อ

ความรุนแรงของโรคนี้ ไม่ถึงขั้นทำให้เสียชีวิต แต่หลังพบการระบาดของเชื้อไวรัสตัวนี้ในบราซิล พบว่าเด็กที่เกิดขึ้นมาภายหลังศีรษะมีขนาดเล็กลงจำนวนมาก จึงสงสัยกันว่าเชื้อไวรัสตัวนี้อาจมีผลต่อเด็กในครรภ์ หากมารดาเป็นผู้ติดเชื้อ

นอกจากนี้ เมื่อปี 2557 พบนักท่องเที่ยวที่มาติดเชื้อนี้จากไทยไปคนหนึ่ง ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่าเชื้อไวรัสนี้สามารถพบในไทยได้ จังหวัดที่เคยพบผู้ติดเชื้อ Zika คือ ลำพูน เพชรบูรณ์ ศรีษะเกศ ราชบุรี สมุทรสาคร กระบี่ ภูเก็ต และกรุงเทพฯ

แต่ถึงกระนั้น สามารถป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อได้ง่ายๆ เพียงระวังไม่ให้โดนยุงกัดค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟศบุ๊ต ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว
ภาพประกอบจาก -medicalservices.nph.org-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #163 เมื่อ: เมษายน 12, 2016, 10:56:02 pm »
เตือนภัย! ระวังโรคที่มาพร้อมกับน้ำที่ไม่สะอาด ช่วงสงกรานต์
-http://health.sanook.com/3133/-


อหิวาตกโรคช่วงสงกรานต์นี้หลายคนอาจวางแผนไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ หรืออาจกลับบ้านที่ต่างจังหวัด แต่กิจกรรมที่บางครั้งเรามักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าเราจะอยากด้วยหรือไม่ก็ตาม คือการเล่นสาดน้ำกันนั่นเอง ถ้าน้ำที่ใช้เล่นกันมาจากก๊อกที่บ้านก็ดีไป แต่ถ้ามาจากแม่น้ำลำคลอง หรือแหล่งอื่นๆ ที่ไม่น่าไว้ใจ อาจทำให้เราเป็นโรคต่างๆ ได้ ดังนี้

 

1. โรคตาแดง

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มาจากมือ ผ้าเช็ด ผ้าเช็ดตัวที่ใช้ร่วมกับผู้ป่วย หรือความไม่สะอาดของการดูแลรักษาตาจากน้ำไม่สะอาด หรือน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ไม่ได้มาตรฐาน

อาการ : คันตา มีขี้ตามากผิดปกติ ร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาในตอนเช้า ตาขาวเป็นสีชมพู/แดง ปวดตา ตามัว เป็นต้น

 

2. โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง

สาเหตุ : หากผิวหนังเปื่อยจากการสัมผัสน้ำนานจนลอกเปื่อย จะเป็นจุดที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนังได้ง่ายขึ้น

อาการ : ผิวหนังแห้ง ลอก เป็นสะเก็ด หรือเปื่อยยุ่ย เป็นหลุมเล็กๆ หรือเป็นปื้นๆ แห้งๆ และมีกลิ่นเหม็น

 

3. โรคฉี่หนู (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของโรคฉี่หนู ที่นี่)

สาเหตุ : ติดเชื้อแบคทีเรีย leptospira จากมูลของสัตว์ต่างๆ เช่น หนู สุนัข โค กระบือ หมู แพะ แกะ ที่ไหลปนกับน้ำตามพื้น ตามท่อ แล้วเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลในร่างกายของเราระหว่างสัมผัสน้ำ

อาการ : เป็นไข้ ปวดศีรษะ  ปวดเกร็งตามขา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องเสีย ตาแดง และอาจไปถึงเยื่อบุสมองอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ

 

4. โรคอหิวาตกโรค

สาเหตุ : หากน้ำที่ใช้ไม่สะอาด มาจากแหล่งน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคที่ปนเปื้อนมาจากอุจจาระของผู้ป่วย และเข้าสู่ร่างกายจากการปนเปื้อนในน้ำดื่ม อาหาร หรือหากเผลอเข้าปาก หรือดื่ม อาจทำให้ติดโรคได้

อาการ : ปวดท้องบิด ท้องเสีย อุจจาระสีขาวเหมือนน้ำซาวข้าว กลิ่นเหม็นเหมือนคาวปลา กระหายน้ำ คอแห้ง ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ และอาจถึงขั้นเสียชีวิต

 

5. โรคไข้หวัด

สาเหตุ : ติดเชื้อไวรัสจากคนสู่คน หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอ บวกกับสัมผัสน้ำเย็น และอากาศร้อนๆ เป็นเวลานาน อาจเป็นไข้หวัดได้

อาการ : เป็นไข้ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ฯลฯ

 

ดังนั้น ช่วงสงกรานต์นี้ หากเล่นสาดน้ำ ควรใช้น้ำที่สะอาดเพียงพอ ไม่ใช้น้ำจากคลองที่ไม่น่าไว้ใจ ไม่ควรเล่นสาดน้ำนานเกินไป และหลังจากเล่นแล้วควรรีบอาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายค่ะ


ภาพประกอบจาก istockphoto

เนื้อหาโดย : Sanook!


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #164 เมื่อ: เมษายน 13, 2016, 02:30:43 pm »
4 โรคอันตราย ที่มาพร้อม “แดด” และ “อากาศร้อนอบอ้าว”
-http://health.sanook.com/2989/-



ถึงแม้ชาวไทยจะคุ้นแคยกับ 3 ฤดูในบ้านเรากันเป็นอย่างดีแล้ว (ฤดูร้อน ฤดูร้อนมาก และฤดูร้อนสุดๆ) แต่ยังไงเราก็ยังคงต้องระวังรักษาตัวเองจากแดดแรงๆ นี่กันอยู่ดี จะปล่อยให้ตัวเองถูกแดดเผา จนเป็นลมเป็นแล้ง หรือเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ถึงขั้นลมหมอนนอนเสื่อ หรือต้องพบแพทย์ก็คงไม่ดี

Sanook! Health จึงนำข้อมูลดีๆ จาก กระทรวงสาธารณสุข มาเตือนชาวสนุก! ให้ระวัง 4 โรคที่มาพร้อมกับแดดแรงๆ อากาศร้อนอบอ้าวนี่กันค่ะ

 

1. ลมแดด (ฮีทสโตรก)

หลายคนเริ่มคุ้นหูกับคำว่าฮีทสโตรกมากขึ้นกันแล้วใช่ไหมคะ ฮีทสโตรกเป็นชื่อภาษาอังกฤษของโรคลมแดด หรืออาการที่เป็รนลมจากอากาศร้อนจัด ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน ร่างกายอุณหภูมิสูงขึ้น บวกกับอาการขาดน้ำที่จะมาช่วยหล่อเลี้ยงร่างกาย และช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ นอกจากนี้เป็นเพราะเราสูญเสียน้ำจากร่างกายออกไปทางเหงื่อจำนวนมาก แล้วไม่ได้ดื่มน้ำเข้าสู่ร่างกายเพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายช็อคจากการขาดน้ำได้เหมือนกัน

 

2. เพลียแดด

เพลียแดดมีอาการคล้ายลมแดด แต่อาจจะยังไม่ถึงขั้นมีอาการชัก หรือเป็นลมล้มพับไปต่อหน้าต่อตาขนาดนั้น แต่ถึงอย่างไรอาการเพลียแดดก็อันตรายไม่แพ้ลมแดดเท่าไรหรอกค่ะ เพราะอาการเพลียแดด สามารถเป็นได้ตั้งแต่ปวดศีรษะ มึนหัว บานหมุน หน้ามืด อ่อนเพลีย หมดแรง คลื่นไส้ ถึงจะยังไม่หมดสติ แต่การขาดสติสัมปชัญญะไปบางส่วน อาจเกิดอันตรายระหว่างทำงาน หรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันอยู่ได้ เช่น เพลียแดดระหว่างทำงานกับเครื่องจักรกล หรือเพลียแดดระหว่างขับรถ น่ากลัวใช่ไหมล่ะ

 

3. ตะคริวแดด

ใครที่เป็นนักวิ่ง หรือชอบวิ่งออกกำลังกาย ไม่ว่าจะวิ่งตอนเช้า กลาววัน หรือเย็น ช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนจัดแบบนี้ อาจมีความจำเป็นที่จะต้องวิ่งกลางแดดอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นคุณอาจกำลังเสี่ยงต่ออาการ “ตะคริวแดด” ได้ค่ะ ซึ่งลักษณะอาการก็เหมือนกับตะคริวธรรมดาๆ กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง และรู้สึกปวด เจ็บในบริเวณที่เป็นตะคริวเป็นอย่างมากจนวิ่งต่อไปไม่ไหว อาการตะคริวที่พบมักเป็นช่วงขา แขน และหลัง หากมีอาการตะคริวแดดให่รีบหยุดวิ่ง อยู่นิ่งๆ แล้วค่อยๆ ดื่มน้ำ หรือดื่มน้ำผลไม้ เพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย และชดเชยน้ำ และเกลือแร่ที่เสียไป หากอาการตะคริวไม่ดีขึ้นภายใน 30 นาที- 2 ชั่วโมง ควรหยุดวิ่งไปเลย 1-2 วันค่ะ

 

4. ผิวหนังไหม้เกรียมแดด

สาวๆ คงไม่ปล่อยให้ตัวเองผิวหนังไหม้เกรียมง่ายๆ หรอก แต่ก็ไม่แน่ใจหากสาวๆ มีแพลนจะไปลัลล้าที่ชายทะเล บางครั้งความสวยของทะเล ความสนุกของกิจกรรมต่างๆ ที่ทะเล อาจทำให้เราลืมดูแลผิว หรือลืมไปว่ากลัวผิวคล้ำดำเสีย จนไม่ได้ทาครีมกันแดด ซึ่งต่อมาก็จะเป็นสาเหตุของผิวหนังไหม้เกรียมแดด ตอนผิวลอกบางคนก็แสบ บางคนก็ไม่แสบ แต่หากใครผิวแสบก็จะโชคร้ายหน่อย เพราะนอกจากผิวจะแดดจัด ผิวบางลงจากผิวลอกแล้ว ยังต้องวุ่นวายกับการหาครีมแก้ผิวไหม้มาทากันอีก ใครที่มีผิวแสบไหม้จากแดด นอกจากเจลเย็นๆ แก้ผิวไหม้ที่มีขายตามร้านต่างๆ แล้ว ว่านหางจระเข้ก็ช่วยทำให้ผิวดีขึ้นได้นะคะ ยิ่งว่านหางจระเข้แช่เย็นด้วย ยิ่งฟินเลยขอบอก

อากาศร้อนจัด เป็นสาเหตุของลมแดด เพลียแดด ตะคริวแดด และผิวหนังไหม้แดด

ทั้ง 4 โรค 4 อาการนี้ไม่ธรรมดาเลยใช่ไหมล่ะ ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำเพื่อหลีกเลี่ยงโรคที่มากับแดดร้อนจัดแบบนี้ คือ

-          ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี โปร่งสบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป

-          หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าหนาๆ หรือสีเข้ม

-          หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจัดนานๆ

-          ปกป้องร่างกายจากแดดด้วยการใส่หมวก กางร่ม สวมแว่นกันแดด และทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 สามารถทาทับเพิ่มเติมได้หากเหงื่อออก หรือว่ายน้ำ

-          อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ดื่มน่ำให้มากๆ ดื่มเรื่อยๆ เมื่อกระหายน้ำ

-          อย่าอยู่บริเวณที่มีอากาศร้อนอบอ้าว และอากาศไม่ถ่ายเทเป็นเวลานาน เช่น ตามบ้านไม้มุงหลังคาสังกะสี ในรถที่ตากแดดนานๆ

-          อย่าอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ใช้เวลาสัมผัสแสงแดดให้น้อยที่สุด หรือหากต้องทำงานกลางแสงแดดร้องเปรี้ยงจริงๆ ควรพักเข้ามาหลบอยู่ในที่ร่มบ้าง หรือทุกๆ ชั่วโมง

 

ร้อนนี้ ไม่ว่าใครก็ตามที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือใครที่วางแผนอยากไปเที่ยวทะเล เที่ยวภูเขา หรือสถานที่ต่างๆ อย่าลืมดูแลตัวเอง และคนรอบข้างให้ดีๆด้วยนะคะ สิ่งสำคัญมีแค่ 2 อย่าง คือระบายความร้อนจากร่างกายให้เร็วที่สุด และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เท่านี้จะร้อนแค่ไหน เราก็รอดปลอดภัยแน่นอน

 

ภาพประกอบจาก istockphoto

เนื้อหาโดย : Sanook!



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)