ผู้เขียน หัวข้อ: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ  (อ่าน 47533 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #150 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 10:44:08 am »
ปัญหาการนอนกรน

26 พ.ย. 56 05.25 น.

-http://guru.sanook.com/26744/-

การนอนกรนถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ หากทางเดินหายใจโล่งดีไม่ควรมีเสียงกรนเกิดขึ้น
แต่อันตรายของการกรนจะมากหรือน้อย ขึ้นกับว่าสุขภาพของบุคคลนั้นเป็นอย่างไร และมีการหยุดหายใจ (Apnea) ร่วมด้วยหรือไม่
ดังนั้นเราจึงอาจแบ่งการนอนกรนได้เป็น ๒ ชนิดคือ

กรนธรรมดา (Habitual Snoring)

อาจเรียกว่า “กรนรำคาญ” ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ไม่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย
อันตรายของการกรนจึงเกิดจากการสร้างความรำคาญให้แก่คนข้างเคียง
จนในบางรายอาจถึงขั้นมีปัญหากับคู่สมรส ต้องแยกห้องนอน

กรนที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย (Obstructive Sleep Apnea)

เป็นชนิดที่มีอันตราย เนื่องจากในช่วงที่หยุดหายใจ ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในกระแสเลือดจะลดลงเป็นช่วงๆ ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น นอนไม่อิ่ม สะดุ้งตื่นบ่อยๆ ปวดศีรษะช่วงเช้า ง่วงนอนในตอนกลางวัน เผลอหลับในบ่อยๆ สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย และจากการศึกษาในปัจจุบันยังพบว่าผู้ที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วยในระดับรุนแรงจะมีอัตราการตายสูงกว่าประชากรทั่วไป และเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆที่สำคัญได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต


การรักษา

ขึ้นกับชนิดของการนอนกรน และระดับความรุนแรง
โดยถ้ามีการหยุดหายใจร่วมด้วย ไม่ควรปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจแบ่งการรักษาออกได้เป็น

1. การรักษาทั่วไป หลีกเลี่ยงสาเหตุเสริมต่างๆ ทำได้โดย ลดน้ำหนัก, ออกกำลังกาย, ปรับการนอน ไม่นอนหงาย, งดดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์, หลีกเลี่ยงยาบางประเภท รวมทั้งรักษาโรคที่เกี่ยวข้อง เช่น ภูมิแพ้ โรคในโพรงจมูก ซึ่งต้องรักษาก่อนที่จะไปรักษาโดยใช้วิธีอื่น

2. การรักษาโดยใช้เครื่องเพิ่มความดันของอากาศในช่องทางเดินหายใจ ซึ่งจะทำให้ช่องทางเดินหายใจถ่างกว้างออกจึงไม่เกิดเสียงขณะหายใจ และไม่เกิดการหยุดหายใจเครื่องมือดังกล่าวเรียกว่า Nasal CPAP (continuous positive airway pressure) การรักษาโดยใช้ Nasal CPAP นี้ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีในผู้ป่วยเกือบทุกรายหากผู้ป่วยสามารถทนใช้เครื่องได้ แต่ผู้ป่วยบางส่วนไม่สามารถทนใช้เครื่องได้เนื่องจากรู้สึกรำคาญที่ต้องใช้เครื่องขณะนอนหลับ

3. การผ่าตัด มีหลายวิธีขึ้นกับระดับความรุนแรง ความพอใจของผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งความชำนาญของแพทย์ผู้รักษา ตัวอย่างของการผ่าตัดได้แก่
- การผ่าตัดบริเวณต่อมทอนซิลและลิ้นไก่ เพื่อลดขนาดของเนื้อเยื่อบริเวณนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้นและการสั่นสะเทือนขณะหลับน้อยลงจึงลดเสียงกรนและลดการหยุดหายใจที่เกิดจากอุดกั้นของทางเดินหายใจ
- การใช้คลื่นความถี่สูง เพื่อลดขนาดของเนื้อเยื่อบริเวณ เพดานอ่อน, ลิ้นไก่, โคนลิ้น, ต่อมทอนซิล และทำให้เนื้อเยื่อกระชับขึ้น
- การผ่าตัดเพื่อลดความอ้วน เนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุของการกรนและการอุดกั้นทางเดินหายใจ แต่ควรพิจารณาเฉพาะในรายที่อ้วนมากๆเท่านั้น
- การผ่าตัดยืดขากรรไกรและแก้ไขโครงสร้างของใบหน้า ได้ประโยชน์ในรายที่การกรนเกิดจากโครงสร้างของใบหน้าผิดปกติ
- การเจาะคอ ใช้ในรายที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นแล้ว โดยเฉพาะในรายที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจรุนแรงและไม่สามารถใช้ Nasal CPAP ได้


ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #151 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2015, 07:31:02 am »
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการระบาด”ไวรัสเมอร์ส”

-http://ch3.sanook.com/51511/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%B2-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2-2-

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการระบาด”ไวรัสเมอร์ส” นาทีที่ 2.58

1.คนติดเชื้อ (ทั้งในตะวันออกกลางและเอเชีย) ไม่ใช่คนที่เดินตามท้องถนน ส่วนใหญ่ติดจากโรงพยาบาล อย่างน้อย 25 เคส ในเกาหลีใต้เป็นคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือ ใกล้ชิดกับชายที่ติดเชื้อคนแรก ซึ่งรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

2.ยังไม่มีข้อสรุปว่า ไวรัสแพร่กระจายได้อย่างไร แพร่มาทางอากาศหรือไม่ (ถ้าแพร่ทางอากาศได้ มันจะอ้อยอิ่งอยู่ในอากาศได้เป็นชั่วโมง) หรือไวรัสติดอยู่ตามผ้าปูเตียงหรือสิ่งของที่ผู้ป่วยใช้

3.การแพร่ระบาดในเกาหลีใต้ (ถ้าไม่นับในซาอุฯ) มีลักษณะต่างจากประเทศอื่น เพราะกระจายไปเยอะกว่า จริง ๆ แล้วมีหลายประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ หรือในยุโรป เช่น เนเธอแลนด์ แต่ประเทศเหล่านั้นไม่มีการแพร่กระจาย ติดกันอยู่แค่คนสองคน

ก่อนหน้าที่จะมีเคสเกาหลีใต้ มีความเชื่อว่าเมอร์ส ติดไม่ง่าย เพราะจะติดหรือส่งผลต่อระบบหายใจส่วนล่างของมนุษย์ซึ่งยากมากที่จะแพร่เชื้อไปสู่คนต่อไป แต่กรณีเกาหลีใต้ไม่เป็นเช่นนั้น

4.ยังมีข้อมูลหรือความรู้ไม่มากว่าไวรัสตัวนี้กลายพันธุ์ได้หรือไม่ ( แต่เป็นเรื่องปกติที่ไวรัสจะกลายพันุธ์) สำหรับ เคสเกาหลีใต้ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังมุ่งศึกษาตรงนี้ ที่อยากรู้คือ Genetic Order หรือการเรียงลำดับของยีนของเจ้าตัวที่แพร่ในเกาหลีใต้ ว่ามันมีหน้าตาอย่างไร ซึ่งตอนนี้เกาหลีใต้ได้ส่งตัวอย่างให้ห้องแลป ที่เนเธอแลนด์แล้ว

ลักษณะของการระบาดในเกาหลีใต้ เรียกว่า Super Spreading Event ซึ่งต่างจากการระบาดของประเทศอื่น ( ยกเว้นชาอุดิอาระเบีย)

วิธีป้องกันที่คนเกาหลีใต้กำลังรณรงค์กันอยู่ ได้แก่

1.หากมีอาการเหล่านี้ ให้ต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อไวรัสเมอร์ส คือ ไข้สูงเกิน 38 องศา ไอ หายใจติดขัด

2.ขณะไอหรือจาม ควรใช้กระดาษชำระหรือผ้าเช็ดหน้า

3.ควรล้างมือบ่อย ๆ

4.ไม่ควรใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสเมอร์ส

5.พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ต่างๆ เช่น อูฐ ค้างคาว แพะ

6.ไม่ควรดื่มนมอูฐที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ และ หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้ออูฐที่ปรุงไม่สุก

ขณะที่ สำนักข่าวที่ประเทศเกาหลี ก็ได้ออกคำแนะนำ ด้านการรับประทานอาหาร ที่จะสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเมอร์สโดยควรทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ ปลา นม และเต้าหู้ นอกจากนี้ อาหารที่เป็นที่นิยม อย่างกิมจิและถั่วนัตโตะ ก็ได้รับการแนะนำว่าควรทานด้วย รวมถึงยังควรเน้นทานผัก ผลไม้ เพื่อเสริมสร้างวิตามิน

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #152 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2015, 11:08:48 am »
ไวรัสเมอร์ส อาการแบบนี้ต้องสงสัย ป่วยแล้วรีบไปโรงพยาบาล

-http://health.kapook.com/view121897.html-

     ไวรัสเมอร์ส อาการแสดงของโรคมีอะไรบ้าง ที่ทำให้เราต้องฉุกคิดว่าอาจจะป่วย พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น ก่อนโรคไวรัสเมอร์สจะคร่าชีวิต

          ไวรัสเมอร์สดูเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิดเมื่อพบผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศไทยแล้ว แม้กระทรวงสาธารณสุขจะออกมายืนยันว่าไม่ใช่เรื่องน่าตื่นตระหนก เพราะพบผู้ป่วยได้เร็วและขณะนี้ยังไม่มีการระบาดในประเทศไทย แต่เราทุกคนจะเพิกเฉยเรื่องนี้ไม่ได้ ต้องรู้ว่า ไวรัสเมอร์ส คืออะไร โดยเฉพาะอาการที่ต้องสงสัยเข้าข่ายไวรัสเมอร์ส เพราะหากพบเจอขึ้นมาจะได้รักษาทัน


 ไวรัสเมอร์ส อาการเด่น ๆ มีอะไรบ้าง

          1. มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดทั่วไป หรือไข้หวัดใหญ่

          2. มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส

          3. มีอาการไอ หอบ หายใจลำบากตามความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน

          4. ผู้ป่วยประมาณ 30-40% จะมีอาการท้องเสีย มวนท้อง คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการเด่นชัดที่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดา

          5. มีอาการปอดบวม

          หากใครมีอาการในลักษณะนี้มากกว่า 2 ข้อขึ้นไป และมีประวัติเดินทางมาจากประเทศในตะวันออกกลาง หรือเคยสัมผัส อยู่ใกล้ชิดกับคนที่เดินทางมาจากตะวันออกกลาง ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที เพราะโรงพยาบาลมีเครื่องมือในการตรวจสอบได้ดีกว่าคลินิก ซึ่งถ้าใครไปช้าจนมีอาการรุนแรงแล้ว อาจเสียชีวิตได้จากอาการปอดอักเสบรุนแรง หรือไตวาย

 ไวรัสเมอร์ส ป้องกันเบื้องต้นอย่างไรดี

          การป้องกันไวรัสเมอร์สก็ไม่ต่างจากอาการไข้หวัดทั่วไป นั่นก็คือการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง และมีสุขอนามัยที่ดี อย่างเช่น
 
          1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อย ๆ หากไม่มีสบู่สามารถใช้เจลล้างมือได้

          2. หากมีอาการไอหรือจาม ให้ใช้ทิชชูหรือผ้า ปิดจมูกและปาก จากนั้นนำทิชชูทิ้งขยะ

          3. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสดวงตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือ

          4. หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์ อาทิ จูบ หรือการมีสัมพันธ์ร่วมกันกับคนที่มีอาการป่วย

          5. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่ต้องมีการสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ประตู หรือโทรศัพท์

          6. ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลาง

          7. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมาก

          8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง

          9. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือมีอาการปอดบวม

           10. หากมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค ควรดูแลสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่เลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เช่น ฟาร์ม ตลาด เป็นต้น

         11. หากเดินทางกลับจากประเทศแล้วมีอาการไข้และไอเกิน 2 วัน ขอให้รีบเดินทางมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที และแจ้งประวัติการเดินทางต่อแพทย์ด้วย


          อย่าเพิ่งตื่นตระหนกกับโรคไวรัสเมอร์ส แม้จะเป็นโรคที่ยังไม่มียาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อนี้ในการรักษา แต่ถ้าหากป่วยแล้วรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ก็สามารถรักษาตามอาการแบบประคับประคองจนกว่าการอักเสบในระบบทางเดินหายใจจะลดน้อยลงจนหายเป็นปกติได้


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #153 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2015, 08:02:47 pm »
อย.แนะรับมือ "ยุงลาย" ภัยร้ายหน้าฝน

-http://health.sanook.com/659/-

 ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า ขณะนี้ก้าวเข้าสู่ฤดูฝน เป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยวิธีเบื้องต้นที่จะป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก ต้องระมัดระวังไม่ให้โดนยุงกัด ซึ่งหนึ่งในวิธีป้องกันอย่างง่าย คือ การใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง ซึ่งนิยมใช้รูปแบบทาและฉีดพ่นผิวหนัง ออกฤทธิ์โดยการไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง จึงสามารถใช้ในการไล่ยุงแต่ไม่สามารถฆ่ายุงได้



ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.ebay.com/gds/Don-t-Let-Mosquitoes-Bug-You-This-Summer-/10000000205249210/g.html?roken2=ti.pU3RlcGhhbmllIFJvc2U=


          ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการไล่ยุง จัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านหรือทางสาธารณสุข ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ซึ่งวิธีการเลือกซื้อแตกต่างกันตามชนิดของสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีสาร DEET ,Icaridin ,Elthyl butylacetyl aminopropionate ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย.

          ดังนั้นควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ฉลากมีการแสดงเลขทะเบียน อย.วอส. ในกรอบเครื่องหมาย อย. และ แสดงระยะเวลาในการป้องกันยุง ส่วนผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีน้ำมันตะไคร้หอม หรือ citronella oil เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุง ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียน แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อ อย. จึงควรเลือกซื้อที่มีการแสดงเลขที่รับแจ้งบนฉลาก ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพควรมีฤทธิ์ในการไล่ยุงลายบ้านได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

          การใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้ยุงกัด แต่ควรใช้อย่างระมัดระวัง อ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ควรเก็บในที่มิดชิดห่างจากเด็ก อาหาร และ สัตว์เลี้ยง ปิดฝาให้สนิทและอย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟ หรือ ความร้อน ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี (ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์) สำหรับผลิตภัณฑ์ไล่ยุงประเภทแป้งหรือโลชั่น ห้ามนำไปทาแทนแป้งหรือโลชั่นทั่วไป ควรใช้เฉพาะจำเป็น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจำ

เนื้อหาโดย : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #154 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2015, 09:47:03 pm »
อย. เตือน! ชาสมุนไพร ไม่ใช่ยา รักษาโรคไม่ได้

-http://health.sanook.com/691/-




กรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวในสื่อ เกี่ยวกับชาสมุนไพร ที่อ้างว่าใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน อย. มีความห่วงใย ขอเตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณรักษาโรค เนื่องจาก ชาสมุนไพร จัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา จึงไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรค แนะผู้บริโภคเลือกซื้อชา สมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชา สมุนไพรที่ฉลากระบุเครื่องหมาย อย. พร้อมเลขทะเบียนในกรอบ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณี ที่มีการเผยแพร่ข่าวในสื่อ เกี่ยวกับชาสมุนไพร โฆษณาอ้างสรรพคุณว่าสามารถบรรเทาอาการของ โรคสะเก็ดเงินได้นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแล ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอเตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ คำโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรค ได้ เนื่องจากชาสมุนไพร จัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา จึง ไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรคชาสมุนไพร จัดเป็นอาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่อง ชาสมุนไพร ซึ่งกำหนดไว้ว่า สถานที่ผลิตหรือนำเข้า ต้องปฏิบัติตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ใน การผลิตและเก็บรักษาอาหารในส่วนของผลิตภัณฑ์ จะต้องผลิตจากส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ระบุไว้ใน บัญชีแนบท้ายประกาศฯ เรื่อง ชาสมุนไพร หรือตามรายชื่อที่ อย. ประกาศเพิ่มเติมเท่านั้น และ อนุญาตให้นำพืชสมุนไพรมาผ่านกรรมวิธีอย่างง่าย เฉพาะการทำแห้งและลดขนาดให้เล็กลงด้วยการ ตัด สับ หรือบดเท่านั้น เพื่อจุดมุ่งหมายในการบริโภคโดยการต้มหรือชงกับน้ำเท่านั้น ต้องไม่มี จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีสารเป็นพิษจากจุลินทรีย์ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช สารปนเปื้อน หรือสารพิษชนิดอื่นในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่มียาแผนปัจจุบันหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อ จิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษ การแสดงฉลากต้องมีข้อความภาษาไทย แสดงชื่อผลิตภัณฑ์ เลขสารบบอาหาร (อย.) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ/นำเข้า น้ำหนักสุทธิ ส่วนประกอบที่ สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนัก วันเดือนปีที่หมดอายุ หรือ วันเดือนปีที่อาหารยังมีคุณภาพ ข้อมูล สำหรับผู้แพ้อาหาร เป็นต้น และการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ถ้าเผยแพร่เฉพาะท้องถิ่นหรือจังหวัด สามารถ ยื่นขออนุญาตได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่หากเป็นการเผยแพร่ทั่วประเทศ จำเป็นต้องขอ อนุญาตต่อ อย. และต้องไม่มีการอ้างสรรพคุณในการบำบัด บรรเทารักษาหรือป้องกันโรค และไม่ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือหลอกลวงผู้บริโภค สำหรับโรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ การรักษาจึงต้องมีการวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ชาสมุนไพรไม่ สามารถช่วยให้หายจากโรคได้รองเลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร ด้วย การ อ่านฉลากอาหาร ก่อนซื้อควรสังเกตวันที่ผลิต วันที่ควรบริโภคก่อน สภาพภายนอกของ บรรจุภัณฑ์ต้องสมบูรณ์ ไม่มีรอยบุบหรือฉีกขาด มีการเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม และอย่า หลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างว่าสามารถให้ผลในการบำบัด บรรเทารักษาหรือป้องกันโรค หากผู้บริโภคพบ เห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ขอให้ร้องเรียนมา ได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือผ่าน Oryor Smart Application หรือ สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่กระทำผิดต่อไป

******* กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 18 มิถุนายน 2558 ข่าวแจก 76 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 0 2590 7117 , 7123โทรสาร 0 2591 8474 http://www.fda.moph.go.th

แหล่งข่าวโดย » สำนักสารนิเทศ

เนื้อหาโดย : Sanook!

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #155 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 05:04:47 pm »
โรคไข้สมองอักเสบเจอี มันมาพร้อมหน้าฝน !
โพสต์เมื่อ : 24 มิถุนายน 2558 เวลา 16:54:21
โรคไข้สมองอักเสบเจอี

-http://baby.kapook.com/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81-122362.html-


          โรคไข้สมองอักเสบเจอี มีพาหะสำคัญคือ ยุงรำคาญ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส และระบาดในช่วงฤดูฝน เกิดได้ทุกเพศทุกวัย พบมากที่สุดในเด็กช่วงอายุ 5 - 9 ขวบ วันนี้กระปุกดอทคอมมีเกร็ดความรู้เรื่อง โรคไข้สมองอักเสบเจอี มาฝากกัน และเพื่อความปลอดภัยควรพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนในเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ขวบ ขึ้นไป อ่านวิธีป้องกันเบื้องต้นจากนิตยสารบันทึกคุณแม่ กันเลยค่ะ ...

          จะว่าไปเผลอแป๊ปเดียวก็เข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการแล้ว ก่อนหน้าที่บ่นว่าร้อน ๆ ตอนนี้ก็ต้องลุกขึ้นมาเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับสวยเผ่นแล้วสินะ !!! ความพร้อมอย่างแรก ต้องบอกว่าอย่าลืมพกร่ม หรือชุดกันฝนเวลาออกจากบ้าน เพราะอากาศบ้านเราเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนตก ร่างกายก็จะกลายเป็น 3 วันดี 4 วันไข้ อย่าว่าแต่เด็ก ๆ จะเจ็บป่วยได้ง่ายเลย ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ เองก็เจ็บป่วยได้ง่ายไม่ต่างกัน

          โดยเฉพาะ "โรคไข้สมองอักเสบเจอี" ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Japanese encephalitis (JE) เนื่องจากพบการระบาดครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันได้พบโรคนี้ในประเทศแถบเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และตอนบนของทวีปออสเตรเลีย ส่วนประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค แต่จะพบมากที่สุดคือ ภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ที่การเลี้ยงสัตว์ตามไร่นาที่มีการเลี้ยงสุกร

          สุกรเป็นรังของโรคไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งจะระบาดในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน และยังเป็นที่มีเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้เป็นอย่างดี

          "โรคไข้สมองอักเสบเจอี" เกิดได้ทุกเพศทุกวัย และพบมากที่สุดในเด็กช่วงอายุ 5 - 9 ขวบ เป็นโรคที่มียุงรำคาญเป็นพาหะ และสุกรเป็นรังโรค เมื่อยุงไปกัดสุกรที่มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ไวรัสจะเพิ่มจำนวนในต่อมน้ำลายยุง และถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดขณะกัดคน ต่อมาเมื่อยุงไปกัดคนที่ไม่มีภูมิต้านทานโรค เชื้อไวรัสตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกาย โดยการระบาดของโรคมักเกิดกับสุกรก่อนที่จะมาสู่คน ซึ่งเชื้อเจอียังอาศัยอยู่ในสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง เช่น แพะ แกะ ลา หนู นก ค้างคาว ไก่ เป็ด เป็นต้น โดยไม่ทำให้สัตว์มีอาการผิดปกติ และมีระยะฟักตัว 1-2 สัปดาห์หลังถูกยุงกัด

          อาการของโรค... เมื่อได้รับเชื้อจะไม่แสดงอาการใด ๆ มีเพียง 1 ใน 300 คนเท่านั้นที่จะแสดงอาการ และหากมีอาการทางสมองแล้วจะมีโอกาสเสียชีวิต 10-20% หรือถ้าไม่เสียชีวิต เมื่อหายแล้ว 60% จะมีอาการทางสมอง และระบบประสาท เช่น อัมพาต ความจำเสื่อม โรคนี้รุนแรงที่สุดในบรรดาโรคไข้สมองอักเสบ ที่เกิดจากไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ เพราะไม่มียารักษา แต่ป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน

          โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย และคอแข็ง ปวดศีรษะมากขึ้น คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ตาพร่า กล้ามเนื้อกระดูก เป็นบางส่วน มือเท้าเกร็ง บางรายเป็นอัมพาตที่กล้ามเนื้อลูกตา หรือกล้ามเนื้อแขนขา ซึมในระยะ 24 - 48  ชั่วโมง ในรายที่เป็นรุนแรงจะไม่รู้สึกตัว และทำให้เสียชีวิตได้ ในระยะ 4 - 7 สัปดาห์ ในส่วนของการรักษาแพทย์จะรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้ยาลดไข้ ให้อาหารทางสายยาง ให้ยากันชัก ผลของการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

          สิ่งสำคัญ และจำเป็นที่สุดสำหรับ "โรคไข้สมองอักเสบเจอี" จึงเป็นเรื่องการป้องกันไม่ให้ยุงกัด เลี่ยงในการสัมผัสกับโรค กำจัดยุง และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงภายในบ้าน และบริเวณรอบบ้านให้หมดไป ตลอดจนหากต้องเดินทางไปพักค้างคืนนอกบ้านด้วยแล้วล่ะก็ ต้องเตรียมยากันยุงกัด รวมถึงไม่ควรนอนพักใกล้แหล่งรังโรค อย่างเช่นมีการเลี้ยงสุกรใกล้ ๆ ด้วย

          โรคไข้สมองอักเสเจอี เป็นโรคที่รักษายาก หรืออีกนัยหนึ่งคือเมื่อรักษาโรคหายแล้ว ใช่ว่าผลกระทบของอาการโรคที่เกิดขึ้นจะหมดตามไปด้วย เพราะในบางรายเมื่อหายจากโรคนี้แล้ว 60% จะมีอาการทางสมอง และระบบประสาท เช่น อัมพาต ความจำเสื่อม ดังนั้นพ่อแม่นอกจากจะระมัดระวังลูกน้อยเป็นอย่างดีแล้ว ขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังในส่วนของตนเองด้วย เบื้องต้นควรพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนในเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ขวบ และฉีดวัคซีนสำหรับผู้ต้องเดินทางไปในพื้นที่ระบาดตั้งแต่ 30 วันขึ้นไปด้วยอีกทางหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยสำหรับลูกน้อย และมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ ป้องกันไว้ดีกว่าแก้เป็นดีที่สุดนะคะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-http://www.mothersdigest.in.th/-
http://www.mothersdigest.in.th/
Vol.22 Issue 263 มิถุนายน 2558
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #156 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2015, 09:08:35 am »
หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมภาวะเสี่ยงในวัยทำงาน

-http://health.sanook.com/885/-



อธิบดีกรมการแพทย์เผยกลุ่มคนวัยทำงานเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมสูง ชี้สาเหตุมาจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม อายุที่เพิ่มมากขึ้น แนะปรับเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกายหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวได้

นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากสาเหตุสำคัญ คือ การสึกหรอตามอายุการใช้งาน เช่น การทำกิจกรรมซ้ำๆเป็นเวลานาน โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ การยกของหนัก และพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ซึ่งมีผลทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงบริเวณหมอนรองกระดูกน้อยลง นอกจากนี้วัยที่สูงขึ้นทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักตัว มีการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน ซึ่งจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้างกระดูกงอกหรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัวดังกล่าว กระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท ทำให้ปวดขา ชาขา ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเสื่อมและทรุดพบว่าถ้ามีการทรุดตัวมากขึ้นจะทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด หรือบางรายอาจทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน

อาการแสดงที่พบบ่อย คือ ปวดหลัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน มีอาการปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ทำให้เดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ถือเป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ถ้าทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาและอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขึ้น ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหลังและร้าวลงขา ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษา ส่วนใหญ่โรคนี้สามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ร่วมกับให้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น ชารอบก้น อั้นอุจจาระและปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้น้อย จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน แพทย์จะผ่าตัดเพื่อตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออกร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น

อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวแนะแนวทางป้องกันโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือ การใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ อย่านั่งอยู่กับที่นานติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอิริยาบถ ด้วยการ ลุก ยืน เดิน มีการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลัง และหน้าท้องให้แข็งแรงสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลังลงโดยการปรับท่านั่งให้หลังตรงหรือเดินตัวตรง ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักที่มากเกินไป เนื่องจากหลังจะต้องเป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวของคนเรา เมื่อมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การทำงานของกล้ามเนื้อหลังก็จะมากไปด้วยรวมทั้งงดการสูบบุรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้กระดูกพรุนและหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น

แหล่งข่าวโดย » ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์

เนื้อหาโดย : Sanook!



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #157 เมื่อ: มกราคม 21, 2016, 06:07:58 am »
ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต !
-http://health.kapook.com/view2522.html-

ดูรูปที่ 1

 ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย

โรคไข้เลือดออกต้องระวังยุงชนิดไหน

          ยุงลายเป็นพาหะตัวร้ายของโรคไข้เลือดออก ทางที่ดีที่จะป้องกันโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้น คือการป้องกันตัวเองและคนรอบข้างไม่ให้โดนยุงกัด โดยเฉพาะยุงลาย ถ้ากำจัดลูกน้ำยุงลายบริเวณรอบ ๆ บ้านได้จะยิ่งดี

 ยุงลายชอบกัดตอนไหน ช่วงไหนควรระวังพาหะไข้เลือดออก

          ยุงลายที่กัดเราแล้วจะทำให้เป็นโรคไข้เลือดออกมีเฉพาะยุงลายตัวเมียเท่านั้น เพราะยุงลายตัวเมียต้องการโปรตีนจากเลือดเพื่อสร้างไข่ และมักจะออกหาเหยื่อในช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน ฉะนั้นช่วงกลางวันจึงเป็นช่วงเวลาอันตรายที่ต้องเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัดมากที่สุด แต่ทั้งนี้ช่วงเวลาไหน ๆ ก็อย่ายอมให้ยุงมาดูดเลือดเลยน่าจะปลอดภัยกว่า

          ยุงกัดเพราะอะไร ระวังไว้ ก่อนป่วยไข้เลือดออก !

          มาดูกัน...ยุงชอบกัดคนประเภทไหน
ดูรูปที่ 2


 อาการของ ไข้เลือดออก

          อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ

          1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 องศาเซลเซียส มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน

          2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว

          3. ตับโต

          4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ

ตับอักเสบจากไข้เลือดออก อีกหนึ่งอาการที่ต้องระวัง

          อาการตับอักเสบอย่างรุนแรง สามารถพบได้ในผู้ป่วยไข้เลือดออกเช่นกัน โดยจะเกิดขึ้นกรณีที่เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายตับ หรือเกิดจากการที่ตับถูกทำลายเพราะการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นหากมีอาการไข้เลือดออกแล้วก็ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดหากเกิดอาการตับอักเสบจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที


ลักษณะตุ่มไข้เลือดออก

          ตุ่มโรคไข้เลือดออกจะคล้ายกับตุ่มยุงกัดทั่วตัว และใกล้เคียงกับผื่นจากโรคหัด แต่จะสังเกตได้ว่า ถ้าเป็นไข้เลือดออกจะไม่มีอาการไอหรือน้ำมูกไหล และจุดเลือดออกของโรคไข้เลือดออกจะไม่รู้สึกสากมือเหมือนโรคหัด และเวลากดดึงผิวหนังให้ตึงจะไม่จางหายไปเหมือนจุดถูกยุงกัดธรรมดา ซึ่งถ้ามีอาการตามนี้ร่วมกับมีไข้สูงตลอดเวลา ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วน

 ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ

          ระยะฟักตัวของไข้เลือดออกจะอยู่ในช่วง 3-5 วัน และอาการไข้เลือดออกสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

 ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง

          ผู้ป่วยจะมีไข้สูงฉับพลัน ไข้จะสูงค้างอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา โดยที่กินยาลดไข้ก็ยังบรรเทาไข้ไม่ได้ ร่วมกับอาการหน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และบางรายมีอาการอาเจียนเป็นพัก ๆ หรืออาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว และบางคนอาจมีอาการเจ็บคอ ไอเล็กน้อย ทว่าในระยะ 3 วันที่ป่วยตุ่มอาจยังไม่ขึ้นให้เห็นชัด ๆ

 ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก

          อาการนี้จะพบในช่วงระหว่างวันที่ 3-7 ของการป่วย และมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ป่วยจากเชื้อเด็งกีที่มีความรุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 ซึ่งระยะนี้ถือเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้ของผู้ป่วยจะเริ่มลดลง แต่กลับอาเจียน ปวดท้องบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เหงื่อแตก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นแผ่วแต่เร็ว และความดันต่ำ ซึ่งเป็นภาวะช็อก และหากไม่ได้รับการรักษาภายใน 1-2 วัน อาจทำให้เสียชีวิตได้

          นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น) เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดหรือสีกาแฟ ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งหากอยู่ในภาวะนี้อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น โดยหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเสียชีวิตภายใน 24-27 ชั่วโมง แต่หากผู้ป่วยสามารถประคองอาการให้ผ่านพ้นระยะนี้มาได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรคไข้เลือดออก

 ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว

          ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการช็อก หรือช็อกไม่รุนแรง และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของผู้ป่วยจะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและร่าเริงขึ้น เริ่มกินอาหารได้ โดยอาการจะดีขึ้นตามลำดับภายในช่วงระยะ 7-10 วันหลังจากผ่านพ้นระยะที่ 2 ของโรค

การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้นอย่างง่าย ๆ

          ใช้ยางหนังสติ๊กรัดเหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย ให้พอคลำชีพจรที่ข้อมือได้ รัดอยู่อย่างนั้นนาน 5 นาที และลองเอาเหรียญบาทกดทับที่บริเวณท้องแขน หากพบว่ามีจุดเลือดออก (จุดแดง) เกิดขึ้นที่บริเวณท้องแขนในตําแหน่งที่ใช้เหรียญกดทับเป็นจํานวนมากกว่า 10 จุด ก็นับว่าเสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออกสูงมาก ยิ่งถ้าหากมีไข้มาแล้ว 2 วัน ความเสี่ยงของโรคจะอยู่ประมาณ 80% เลยทีเดียว

เมื่อใดต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที

          เมื่อมีเลือดออกผิดปกติ อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม ไม่ดื่มน้ำ กระหายน้ำตลอดเวลา มีปัสสาวะออกน้อย

          เมื่อความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ตัวลาย เหงื่อออกโดยเฉพาะในช่วงไข้ลง


 แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก

           โรคไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้

          1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร

          2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด

          3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

          4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย

จะทราบได้อย่างไรว่าผู้ป่วยพ้นขีดอันตรายแล้ว

          ผู้ป่วยไข้เลือดออก หากมีอาการไข้ลดลง ภายใน 24-48 ชั่วโมง แล้วเริ่มกินอะไรได้ รู้สึกตัวดี ไม่ซึม แสดงว่าอาการพ้นขีดอันตรายแล้ว

 การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก

          เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก

          นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้

โรคไข้เลือดออก กับยาที่ควรหลีกเลี่ยง

          ในการรักษาของผู้ป่วยไข้เลือดออกควรจะใช้ยาพาราเซตามอลในการรักษาเท่านั้น และห้ามรับประทานยาในกลุ่มแอสไพริน ซึ่งได้แก่ยาแอสไพรินชนิดเม็ด หรือยาแอสไพรินแบบซองที่ขายทั่วไป และยาในกลุ่มไอบูโปรเฟน เนื่องจากยาทั้งสองชนิดนี้เป็นยาที่มีผลข้างเคียงรุนแรง คืออาจไปกัดกระเพาะทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะหรือลำไส้ ซึ่งทำให้เป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้


อาหารสำหรับผู้ป่วยไข้เลือดออก เป็นแล้วควรกินอะไร

          ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสและฟื้นฟูร่างกายได้รวดเร็ว โดยอาหารที่ควรรับประทานคือ ผักใบเขียว ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น มะนาว ส้ม เลมอน หรือเกรปฟรุต เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น และควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงด้วย เพื่อให้มีเรี่ยวแรงและสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดี

          นอกจากนี้อาหารที่รับประทานควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก น้ำผัก หรือน้ำผลไม้ แต่ทั้งนี้ที่สำคัญที่สุดก็คือการดื่มน้ำ เพราะการดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยให้ร่างกายขับสารพิษออกมาได้มากขึ้นนั่นเอง

ไข้เลือดออกห้ามกินอะไรบ้าง รู้แล้ว เลี่ยงให้ไกล

          นอกจากจะควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ แล้ว ผู้ป่วยไข้เลือดออกนั้นก็ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ ประเภทอาหารทอด หรือผัด และไม่ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดเพราะอาจจะทำให้แสบท้องและเกิดเลือดออกในกระเพาะได้ง่าย นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีแดง สีดำ หรือสีน้ำตาล เพราะสีของอาหารอาจจะทำให้การสังเกตอาการเลือดออกในปัสสาวะและอุจจาระเป็นไปได้ยากขึ้นอีกด้วย


เป็นไข้เลือดออกแล้วมีสิทธิ์เป็นซ้ำอีกได้ไหม

          เนื่องจากไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งในแต่ละปีจะมีการระบาดของสายพันธุ์ต่าง ๆ สลับกันไป หากผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกสายพันธุ์ใดไปแล้ว ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นตลอดชีวิต และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันข้ามไปยังสายพันธุ์อื่นได้ระยะหนึ่ง ก่อนภูมิคุ้มกันในสายพันธุ์อื่นจะหายไป ดังนั้น ผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้วก็ยังสามารถกลับมาเป็นได้อีกในสายพันธุ์ที่ต่างจากที่เคยเป็น แต่ทว่า การติดเชื้อครั้งที่ 2 มักจะมีอาการรุนแรงกว่าการป่วยครั้งแรก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคนเรามักติดเชื้อไม่เกิน 2 ครั้ง

การป้องกันโรค ไข้เลือดออก

          ทุกวันนี้ยังไม่มียาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง 

          15 วิธีป้องกันยุงกัดส่งตรงจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี



 การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management

          การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้ยุงมีการขยายพันธุ์

          แท็งก์น้ำ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่

          ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แท็งก์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน

          ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ

          หมั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธุ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

          ตรวจสอบรอบ ๆ บ้านว่ามีแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนหลังคามีแอ่งขังน้ำหรือไม่ หากมีต้องจัดการ

          ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง

          ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน

          หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ

วิธีกำจัดลูกน้ำยุงลาย
ดูรูปที่ 3

 การป้องกันส่วนบุคคล

          ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนยาว และกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง

          การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี

          การใช้กลิ่นกันยุง เช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ

          นอนในมุ้ง

          การควบคุมยุงโดยทางชีวะ

          เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

          ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุง ได้แก่ เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) และ Bacillus sphaericus (Bs)

          การใช้เครื่องมือดักจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนามบินของสิงคโปร์ แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธุ์ของยุง


 การใช้สารเคมีในการควบคุม

          ใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความชุกของยุงมากกว่าปกติ

          ใช้สารลดแรงตึงผิว เช่น ผงซักฟอก สบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน ฉีดพ่นกำจัดยุง เพราะสารดังกล่าวจะไปทำลายระบบการหายใจของแมลง ทำให้แมลงตายได้

          ใช้ "ทรายอะเบท" กำจัดยุงลาย โดยให้นำทรายอะเบท 1 กรัม ใส่ในภาชนะที่มีน้ำขัง (อัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร หรือ 20 กรัม) จะป้องกันไม่ให้เกิดลูกน้ำได้นานประมาณ 1-2 เดือนเลยทีเดียว ซึ่งหลังจากใช้เสร็จแล้วต้องเก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด รวมทั้งเก็บในที่เย็น แห้ง และมีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ

          การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปี แต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

การระบาดของไข้เลือดออก

          ช่วงเวลาการระบาดของโรคไข้เลือดออกสามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะระบาดมากในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมของทุกปี

สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก

          จากข้อมูลทางกระทรวงสาธารณสุขเผยว่า 8 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนมกราคม-18 สิงหาคม 2558 มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 51,500 ราย มากกว่าปี 2557 ถึง 2 เท่า และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 37 ราย โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดในภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กโต อายุระหว่าง 10-14 ปี โดยสาเหตุร้อยละ 80 เกิดจากถูกยุงลายที่อยู่ในบ้านกัด และส่วนที่เหลือคือถูกยุงลายที่อยู่ตามสวนกัด

          หากใครมีข้อสงสัย หรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก สามารถสอบถามได้ที่สายด่วน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) หมายเลขโทรศัพท์ 089-204-2255 ตลอด 24 ชั่วโมง

เห็นตัวเล็ก ๆ อย่างนี้ แต่ยุงคือฆาตกรอันดับหนึ่งของโลกเชียวนะ

ดูรูปที่ 4

          จากสถิติสัตว์ร้ายที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดในโลก 15 อันดับ ที่ gatesnotes บล็อกส่วนตัวของบิล เกตส์ ได้นำข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) รวมทั้งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มาสรุปให้ดูเมื่อปี 2014 จะเห็นว่า สัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่างยุง สามารถคร่าชีวิตมนุษย์เกือบล้านคนต่อปี ถือเป็นสัตว์ที่อันตรายกับสวัสดิภาพมนุษย์มากกว่าสัตว์ดุร้ายอย่างงูพิษหรือฉลามเสียอีก เอาเป็นว่าอย่ามัวเสียเวลาค่ะ มาไล่เรียง 15 สัตว์ตัวร้ายที่อาจเป็นภัยกับมนุษย์แบบเรียงตัวเลยดีกว่า

1. ยุง

          ด้วยความที่ยุงมีขนาดตัวเล็ก บินได้คล่องตัว มนุษย์เราจึงเสี่ยงกับเชื้อไวรัสที่ยุงเป็นพาหะนำมาทำร้ายเราได้ง่ายกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้มาลาเรีย ที่คร่าชีวิตมนุษย์กว่า 600,000 คนต่อปี และเป็นพาหะที่ทำให้มนุษย์ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งนอกจากโรคไข้มาลาเรียแล้ว เจ้ายุงที่มีมากกว่า 2,500 สายพันธุ์ ยังเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง และโรคสมองอักเสบอีกต่างหาก ซึ่งจากสถิติแล้ว ยุงที่มีพาหะของเชื้อไวรัสชนิดต่าง ๆ ได้คร่าชีวิตมนุษย์มากถึง 725,000 คนต่อปี

2. มนุษย์

          มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่ทำร้ายกันและกันเองมากเป็นอันดับที่ 2 โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้เสียชีวิตจากน้ำมือของคนด้วยกันเองถึงปีละ 475,000 คนต่อปีเลยทีเดียว

3. งู

          สัตว์เลื้อยคลานมีพิษร้ายอย่างงู รั้งอันดับ 3 ไปด้วยสถิติคร่าชีวิตมนุษย์ทั่วโลกกว่า 50,000 คนต่อปี

4. สุนัข (ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า)

          โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคอันตราย หากเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก ซึ่งได้คร่าคนไปกว่า 25,000 คนต่อปี

5. แมลงดูดเลือด

          พาหะนำโรคง่วงหลับมาคร่าชีวิตมนุษย์ปีละ 10,000 คนทั่วโลก

6. มวนเพชรฌฆาต

          แมลงชนิดนี้มีฉายาว่า ฆาตกรแบกศพ มักพบในประเทศมาเลเซีย และเป็นแมลงที่คร่าชีวิตมนุษย์มากถึงปีละ 10,000 คนเช่นกัน

7. หอยเชอร์รีหรือทากน้ำ

          ตัวการของโรคไข้สมองอักเสบ หากกินหอยชนิดนี้ดิบ ๆ ก็อาจได้รับเชื้อจนเพิ่มสถิติคร่าชีวิตคนจาก 10,000 คนต่อปีให้มากขึ้นได้

8. พยาธิไส้เดือน

          อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบคือ เจ้าพยาธิไส้เดือนนี่ล่ะ โดยจากสถิติแล้ว สัตว์ตัวเล็ก ๆ นี้คร่าคนไปกว่า 2,500 คนทั่วโลกเลยทีเดียว

9. พยาธิตัวตืด

          พาหะนำโรคพยาธิตัวตืด ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมาไม่ต่ำกว่า 2,000 คนต่อปี

10. จระเข้

          สัตว์ดุร้ายที่เราเข้าใจกันมา จริง ๆ แล้วมีสถิติคร่าชีวิตมนุษย์เพียง 1,000 คนต่อปี ทิ้งห่างสัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่างยุงมาไกลโข

11. ฮิปโปโปเตมัส

          แม้จะเป็นสัตว์ที่เราเห็นในสวนสัตว์ แต่ฮิปโปโปเตมัสก็แฝงอันตรายมากพอจะคร่าชีวิตมนุษย์ได้กว่า 500 คนต่อปี

12. ช้าง

          ด้วยความที่ช้างอยู่ในป่าเขาเป็นส่วนใหญ่ สถิติทำร้ายมนุษย์จนถึงขั้นเสียชีวิตจึงอยู่ที่ 100 คนต่อปีเท่านั้น

13. สิงโต

          เหตุผลเดียวกันกับช้างป่า สิงโตก็ทำร้ายมนุษย์ปีละ 100 คนโดยเฉลี่ยเช่นกัน

14. หมาป่า

          สถิติความร้ายกาจของหมาป่าอยู่ที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปปีละ 10 คนโดยเฉลี่ย ซึ่งอาจเป็นเพราะหมาป่าไม่ใช่สัตว์ที่อยู่ใกล้ตัวเรานัก

15. ฉลาม

          วายร้ายอย่างฉลามตามสถิติแล้วถูกจัดอันดับไว้ที่ 15 ด้วยสถิติคร่าชีวิตมนุษย์ 10 คนต่อปี

          จะเห็นได้ชัดเลยว่า สัตว์มีพิษหรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้จะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก อยู่ใกล้ ๆ หรือรอบตัวเรา ซึ่งก็เป็นช่องโหว่ที่ทำให้เราลืมระมัดระวังตัวเองจากวายร้ายเหล่านี้ิ จนเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิตให้ตัวเองโดยไม่รู้ตัว


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
Z NEWS
Articles of Health Care
PLOS MEDICINE
Nature
CrocBITE

-http://healthy.moph.go.th/index.php/2012-03-26-04-30-53/118-2012-06-25-02-16-13-
-http://www.tm.mahidol.ac.th/hospital/hospital-dengue-th.php-
-http://www.crocodile-attack.info/-
-http://journals.plos.org/plosmedicine/article?id=10.1371/journal.pmed.0050218-
-http://www.nature.com/nature/journal/v436/n7053/full/436927a.html-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #158 เมื่อ: มกราคม 21, 2016, 06:08:46 am »
ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต !
-http://health.kapook.com/view2522.html-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #159 เมื่อ: มกราคม 22, 2016, 10:09:02 pm »
กทม. เปิดพื้นที่ 10 เขต เสี่ยงไข้เลือดออกระบาดสูงมาก
-http://health.kapook.com/view139885.html-

กทม. เปิดพื้นที่ 10 เขต เสี่ยงไข้เลือดออกระบาดสูงมาก ชี้สถิติปี 2558 พบผู้ป่วยทั่วกรุง 28,177 ราย กำชับเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ประชาชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ลดความเสี่ยงการระบาด

              เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559 แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปี 2558 พบว่า มีผู้ป่วย 28,177 ราย เสียชีวิต 5 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบมีอาการป่วยมากที่สุด ได้แก่ อายุ 20-24 ปี รองลงมาคืออายุ 15-19 ปี และอายุ 10-14 ปี ซึ่งอัตราป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานครถือว่ามากเป็นอันดับที่ 5 จากทั้งประเทศที่มีผู้ป่วยรวม 142,925 ราย เสียชีวิต 141 ราย และถือเป็นอันดับที่ 1 เมื่อเทียบกับ 6 จังหวัดปริมณฑล

              อย่างไรก็ตามเมื่อดูจากสถิติการเกิดโรคไข้เลือดออกเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี มีการคาดการณ์ว่าในปี 2559 แนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะมีความรุนแรงขึ้น โดยในกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ซึ่งถูกจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงมาก 10 เขต ด้วยกัน คือ

             1. ลาดพร้าว
             2. จตุจักร
             3. ดินแดง
             4. วังทองหลาง
             5. บางกะปิ
             6. สวนหลวง
             7. ประเวศ
             8. วัฒนา
             9. บางพลัด
             10. ธนบุรี

พื้นที่ระดับความเสี่ยงสูง 12 เขต ได้แก่

             1. บางแค
             2. บางบอน
             3. จอมทอง
             4. บางกอกน้อย
             5. พญาไท
             6. ราชเทวี
             7. ห้วยขวาง
             8. บางซื่อ
             9. บางเขน
             10. สะพานสูง
             11. บึงกุ่ม
             12. พระโขนง

              ส่วนพื้นที่อื่น ๆ มีความเสี่ยงระดับปานกลาง และความเสี่ยงน้อย อย่างไรก็ตามถือว่าทุกพื้นที่และทุกคนมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไข้เลือดออกเช่นกัน โดยผู้ได้รับเชื้อ 100 คน จะมีเพียง 10 คนที่แสดงอาการ ส่วนอีก 90 คน จะไม่แสดงอาการและหายไปเองได้

               แพทย์หญิงวันทนีย์ ยังได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ทำความเข้าใจและให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทั่วพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการป้องกันไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามอาคารบ้านเรือน และที่สาธารณะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นไข้เลือดออก นอกจากนี้กรุงเทพมหานครจะดำเนินการผ่านโรงเรียนในสังกัด โดยขอให้นักเรียนทุกคนกลับไปทำลายแหล่งน้ำขังที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านเรือนของตนเอง อีกทั้งขอความร่วมมือประชาชนเฝ้าระวังไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการสอบถามข้อมูล หรือจัดกิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อให้สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตจากไข้เลือดออกให้ได้มากที่สุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรมประชาสัมพันธ์
-http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/WNSOC5901210010065-

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)